โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แม่น้ำดานูบ

ดัชนี แม่น้ำดานูบ

แม่น้ำดานูบ (Danube River) เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในสหภาพยุโรป และยาวเป็นอันดับสองของทวีปยุโรป (รองจากแม่น้ำวอลกา) มีต้นกำเนิดที่แถบป่าดำ (Black Forest; Schwarzwald) ในประเทศเยอรมนี เกิดจากแม่น้ำเล็กๆ สองสาย คือ Brigach และ Breg ซึ่งไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำดานูบที่เมือง Donaueschingen แม่น้ำดานูบไหลจากป่าดำไปทางทิศตะวันออกผ่านเมืองหลวงและเมืองสำคัญๆ ของประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออก ก่อนที่จะไหลผ่านดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูบ (Danube Delta) และแยกลงสู่ทะเลดำที่ประเทศโรมาเนียและยูเครน มีความยาวประมาณ 2,845 กม.

88 ความสัมพันธ์: บราติสลาวาบัมแบร์คชาวเคลต์บูดอบูดาเปสต์ชนอลามันน์พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียพันโนเนียกลุ่มภาษาเคลต์กองเรือรบเล็กดานูบการล่องเรือในแม่น้ำการท่องเที่ยวในประเทศโรมาเนียกิชกุนฮอล็อชภาษาโนไกภูมิศาสตร์ยุโรปมิลา โรดิโนรัฐโลเวอร์ออสเตรียราชอาณาจักรโรมาเนียรายชื่อสนธิสัญญารายชื่อแหล่งมรดกโลกในยุโรปตะวันออกรูเซรถไฟใต้ดินบูดาเปสต์ สาย 2ลอมบาร์ดลินซ์ลีเยพานาชาดอมอวีนอวลาดที่ 3 นักเสียบวัฒนธรรมลาแตนวูคอวาร์สมเด็จพระเจ้าคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนียสะพานพระราม 8สะพานโนวีโมสต์สะพานเอลิซาเบธสุลัยมานผู้เกรียงไกรสงครามสามสิบปีสนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล (ค.ศ. 1919)อักษรเวเนติกอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์อัตติลาอารามเมลค์อิงก็อลชตัทอุล์มฮอโลคอสต์จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสจักรวรรดิบัลแกเรียจักรวรรดิฮันธงชาติฮังการีทิสซอที่ราบพันโนเนียดราวาคลองเดินเรือสมุทร...คาลาราชีต้นสมัยกลางซัลทซ์คัมเมอร์กูทซิลิสตราประวัติศาสตร์สเปนประวัติศาสตร์ออสเตรียประเทศบัลแกเรียประเทศมอลโดวาประเทศสโลวาเกียประเทศฮังการีประเทศเยอรมนีปลาสเตอร์เจียนขาวปลาถ้ำนอวีซาดแม่น้ำยาโลมีตซาแม่น้ำยูรัลแม่น้ำวากแม่น้ำอีซาร์แม่น้ำปรุตแม่น้ำโขงแม่น้ำไรน์แม่น้ำเทราน์แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)โยฮันน์ ชเตราสส์ ที่หนึ่งโอซีเยกโดรเบตา-ทูร์นูเซเวรีนเบรียนทซ์เบลเกรดเบเลเนเรเกินส์บวร์คเวียนนาเสามาร์กุส เอาเรลิอุสเส้นทางการค้าเดชเตอัปเตอ-เต รอมือเน!เดอะบลูดานูบเซมุนเนินปราสาท1 E6 m ขยายดัชนี (38 มากกว่า) »

บราติสลาวา

ราติสลาวา (Bratislava) คือเมืองหลวงของประเทศสโลวาเกีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ มีประชากรประมาณ 427,000 คน บราติสลาวาตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสโลวาเกียบน 2 ฝั่งของแม่น้ำดานูบ มีอาณาเขตติดกับประเทศออสเตรียและประเทศฮังการี จึงเป็นเมืองหลวงแห่งเดียวในโลกที่มีอาณาเขตติดต่อกับ 2 ประเทศ เมืองนี้และเวียนนายังเป็นเมืองหลวง 2 แห่งที่ตั้งอยู่ใกล้กันมากที่สุดในยุโรป โดยตั้งอยู่ห่างกันไม่ถึง 60 กิโลเมตร บราติสลาวาเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของสโลวาเกีย เป็นที่ตั้งของทำเนียบประธานาธิบดี รัฐสภา และหน่วยงานภาครัฐต่างๆ และยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย พิพิธภัณฑ์ โรงละคร หอศิลป์ และสถาบันอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการศึกษา รวมทั้งสำนักงานใหญ่ของสถาบันทางธุรกิจและการเงินขนาดใหญ่ของสโลวาเกียจำนวนมาก ประวัติศาสตร์ของเมืองนี้ได้รับอิทธิพลจากหลายเผ่าพันธุ์ ได้แก่ ออสเตรีย เช็ก เยอรมัน ฮังการี ยิว และสโลวัก โดยในอดีตเป็นที่รู้จักในชื่อภาษาเยอรมันว่า Pressburg เคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรฮังการีภายใต้ Habsburg monarchy ระหว่าง พ.ศ. 2079-2326 และเคยเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ Slovak National Movement เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19 และเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาวสโลวัก ฮังกาเรียน และเยอรมันหลายแห่ง.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและบราติสลาวา · ดูเพิ่มเติม »

บัมแบร์ค

ัมแบร์ค (Bamberg) เป็นเมืองในแคว้นบาวาเรียในประเทศเยอรมนีที่ตั้งอยู่ในอัปเปอร์ฟรังโกเนียบนฝั่งแม่น้ำเรกนิทซ์ไม่ไกลจากจุดที่บรรจบกับแม่น้ำไมน์ บัมแบร์คเป็นเมืองเพียงไม่กี่เมืองในประเทศเยอรมนีที่มิได้ถูกทำลายโดยลูกระเบิดในสงครามโลกครั้งที่ 2 บัมแบร์คเป็นที่พำนักของชาวต่างประเทศเกือบ 7,000 คนรวมทั้งกว่า 4,100 คนที่เป็นทหารจากสหรัฐอเมริกา ชื่อเมือง “บัมแบร์ค” เชื่อว่ามีที่มาจากตระกูลบาเบนแบร์ก.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและบัมแบร์ค · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเคลต์

ริเวณที่ยังมีการใช้ภาษากลุ่มเคลต์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เคลต์ หรือ เซลต์ (Celts; หรือ) เป็นคำที่ใช้เรียกชนยุโรปที่เดิมพูดหรือยังพูดภาษากลุ่มเคลต์ (Celtic languages) นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้ในความหมายกว้าง ๆ ในการบรรยายผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเคลต์ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมเคลต์อยู่ เคลต์ในประวัติศาสตร์เป็นกลุ่มชนหลายกลุ่มในยุคเหล็กยุโรป อารยธรรมเคลต์ดั้งเดิมเริ่มก่อตั้งในสมัยต้นยุคเหล็กในตอนกลางของทวีปยุโรป (สมัยวัฒนธรรมฮัลล์ชตัทท์ที่ตั้งชื่อตามบริเวณที่เป็นออสเตรียปัจจุบัน) พอมาถึงปลายยุคเหล็ก (สมัยลาแตน) เคลต์ก็ขยายตัวไปในดินแดนต่าง ๆ ที่รวมทั้งทางตะวันตกที่ไปถึงไอร์แลนด์และคาบสมุทรไอบีเรีย ทางตะวันออกไปสุดที่กาเลเชีย (Galatia) (กลางอานาโตเลีย) และทางเหนือสุดที่สกอตแลนด์ หลักฐานแรกที่บ่งถึงภาษาเคลต์อยู่ในคำจารึกในภาษาเลพอนติค (Lepontic language) จากคริสต์ศตวรรษที่ 6 กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นยุโรปมีหลักฐานเฉพาะชื่อสถานที่ กลุ่มภาษาเคลต์เกาะ (Insular Celtic) ปรากฏในหลักฐานจากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในคำจารึกออกัม (Ogham inscription) อารยธรรมทางวรรณกรรมเริ่มด้วยการใช้ภาษาไอริชเก่าตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 วรรณกรรมไอริชสมัยต้น เช่น "Táin Bó Cúailnge" มีหลักฐานมาจนถึงฉบับแก้ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งหลังการขยายดินแดนของจักรวรรดิโรมันและสมัยการย้ายถิ่นฐาน (Migration Period) ของกลุ่มชนเจอร์แมนิกแล้ว อารยธรรมเคลต์ก็จำกัดอยู่แต่เพียงหมู่เกาะบริติช (ภาษาเคลต์เกาะ) และภาษาเคลต์ยุโรปก็หยุดใช้กันไปในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เคลต์เกาะที่ว่าหมายถึงดินแดนรอบทะเลไอริช รวมทั้งคอร์นวอลล์และบริตตานีบนสองฝั่งของช่องแคบอังกฤษ.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและชาวเคลต์ · ดูเพิ่มเติม »

บูดอ

ปราสาทบูดอ บูดอ (Buda) หรือ โอเฟิน (Ofen) เป็นพื้นที่ด้านตะวันตกของกรุงบูดาเปสต์ (บูดอเปชต์) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศฮังการี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำดานูบ ชื่อเมืองตั้งตามเบลดาประมุขชาวฮั่นที่มีเป็นภาษาฮังการีว่า "บูดอ" โรมันตั้งชื่อเมืองนี้ว่า "อากวินกุม" (Aquincum) บูดอมีเนื้อที่หนึ่งในสามของบูดาเปสต์ที่เป็นบริเวณที่เป็นป่าโปร่งและเนิน และมักจะเป็นบริเวณที่มีความเป็นอยู่ดีกว่าทางฝั่งตะวันออกแต่ก็ขึ้นอยู่กับบริเวณ สิ่งก่อสร้างที่สำคัญที่สุดที่เห็นได้เด่นชัดคือปราสาทบูดอบนเนินซิทาเดลลา (Citadella).

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและบูดอ · ดูเพิ่มเติม »

บูดาเปสต์

กรุงบูดาเปสต์มองจากมุมสูงทางทิศเหนือ "แป็ชต์" อยู่ทางฝั่งซ้ายและ "บูดอ" อยู่ทางฝั่งขวา; เกาะมาร์กาเรตอยู่ทางด้านหน้าของรูป ส่วนเกาะเซเปลอยู่ไกลออกไปทางด้านหลัง บูดาเปสต์ (Budapest; Budapest) เป็นเมืองหลวงของประเทศฮังการี และเป็นศูนย์กลางการปกครอง อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และการคมนาคมขนส่งของประเทศ มีประชากรมากกว่า 1.7 ล้านคน มีจำนวนลดลงจากกลางทศวรรษ 1980 ซึ่งมีประชากรถึง 2.07 ล้านคน บูดาเปสต์กลายเป็นเมืองเดี่ยวที่มีอาณาเขตครอบคลุมทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำดานูบหลังจากการรวมกันในพ.ศ. 2416 (ค.ศ. 1873) ของเมืองทางฝั่งขวา ได้แก่ เมืองบูดอ (Buda) และโอบูดอ (Óbuda) เข้ากับเมืองแป็ชต์ (Pest) ทางฝั่งซ้าย (ฝั่งตะวันออก) ปัจจุบันบูดาเปสต์เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและบูดาเปสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ชนอลามันน์

ริเวณที่ตั้งถิ่นฐานของอลามันน์และสมรภูมิของสงครามโรมัน-อลามันน์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 6 ชนอลามันน์ (Alamanni) หรือ ชาวชวาเบิน (Swabians) เดิมเป็นกลุ่มสหพันธ์ของกลุ่มชนเจอร์แมนิกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำไมน์ในเยอรมนีปัจจุบัน หลักฐานแรกที่กล่าวถึงชนกลุ่มนี้มาจากบันทึกถึงชน "อลามันนิคุส" (ละติน: Alamannicus) ที่สรุปกันว่าเขียนโดยจักรพรรดิคาราคัลลาผู้ปกครองจักรวรรดิโรมันระหว่างปี..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและชนอลามันน์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย

ระเจ้าฟรีดริชที่ 2 (เยอรมัน: Friedrich II.; อังกฤษ: Frederick II หรือ พระเจ้าฟรีดริชมหาราช (24 มกราคม ค.ศ. 1712 - 17 สิงหาคม ค.ศ. 1786 เป็นพระมหากษัตริย์ปรัสเซียจากราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น โดยทรงครองราชย์ระหว่างปีค.ศ. 1740 จนถึงปีค.ศ. 1786 พระองค์ทรงเป็นลำดับที่สามและ ‘กษัตริย์ในปรัสเซีย(King in Prussia)’ องค์สุดท้าย ก่อนที่จะฉลองพระอิสรยยศขึ้นเป็น ‘กษัตริย์แห่งปรัสเซีย(King of Prussia)’ หลังจากที่ได้รับดินแดนทางประวัติศาสตร์ดั้งเดิมของปรัสเซีย นอกจากนั้นก็ยังทรงดำรงตำแหน่งผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบวร์กในพระนามว่า “ฟรีดริชที่ 4” และทรงได้รับสมญานามว่า ‘พระเจ้าฟรีดริชมหาราช’ และมีพระนามเล่นว่า ‘เจ้าฟริทซ์แก่(der Alte Fritz)” พระเจ้าฟรีดริชทรงมีความสนพระทัยทางศิลปะตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์และทรงพยายามหนีจาการควบคุมจากพระบิดาครั้งหนึ่งแต่ไม่สำเร็จ พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 พระราชบิดาทรงเข้มงวดจนได้รับสมญานามว่า “กษัตริย์ทหาร” เมื่อยังทรงพระเยาว์ฟรีดริชทรงถูกบังคับให้ดูการประหารชีวิตอย่างทารุณของพระสหายที่ทรงรู้จักกันมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ในปีแรกทรงโจมตีจักรวรรดิออสเตรียและยึดครองบริเวณไซลีเซีย ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศโปแลนด์ปัจจุบันซึ่งเป็นดินแดนยึดครองที่มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานในการขยายดินแดนของปรัสเซียและเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ราชอาณาจักรปรัสเซีย ในบั้นปลายของชีวิตพระเจ้าฟรีดริชทรงรวมอาณาจักรต่าง ๆ ที่เคยเป็นราชรัฐเล็กของปรัสเซียเข้าด้วยกันรวมทั้งดินแดนที่ทรงได้มาจากการแบ่งแยกโปแลนด์ พระเจ้าฟรีดริชทรงเป็นผู้สนับสนุนการปกครองระบบที่มีพื้นฐานมาจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม ทรงติดต่อสื่อสารกับวอลแตร์ นักปรัชญาเป็นเวลาราวห้าสิบปี และมีความสนิทสนมกันมากแต่ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์ก็เต็มไปด้วยความขัดแย้งโดยตลอด พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ๆ คือการปรับปรุงระบบการบริหารราชการและข้าราชการ และยังทรงสนับสนุนเสรีภาพของการนับถือศาสนา ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปินและนักปรัชญา เมื่อสิ้นพระชนม์ร่างของพระองค์ถูกฝังอยู่ที่พระราชวังที่โปรดปรานที่วังซองส์ซูซิที่เมืองพอทสดัม เมื่อสิ้นพระชนม์ บัลลังก์ตกไปเป็นของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 พระราชนัดดาเพราะพระองค์เองไม่มีพระราชโอรส ฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 เป็นพระโอรสของเจ้าชายเอากุสท์ วิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย พระอนุชาของพระเจ้าฟรีดริชเอง.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

พันโนเนีย

ักรวรรดิโรมันในสมัยของจักรพรรดิเฮเดรียน (ปกครอง ค.ศ. 117-ค.ศ. 138) แสดงจังหวัดโรมันทางตอนกลางของแม่น้ำดานูบ: "อัปเปอร์พันโนเนีย" (ออสเตรียตะวันออก/สโลวีเนีย) และ "โลว์เออร์พันโนเนีย" (ฮังการีตะวันตก) และกองทหารโรมันสองกองที่ถูกส่งไปยังทั้งสองบริเวณนั้นในปี ค.ศ. 125 300px พันโนเนีย (Pannonia) เป็นจังหวัดโบราณแห่งหนึ่งของจักรวรรดิโรมันที่ทางตอนเหนือและตะวันออกมีแม่น้ำดานูบเป็นเขตแดน ติดต่อไปทางตะวันตกจนถึงนอริคัมและอิตาลีตอนเหนือ ทางด้านใต้เป็นดัลเมเชียและมีเชียตอนเหนือ พันโนเนียตั้งอยู่ในบริเวณที่ในปัจจุบันคือทางครึ่งตะวันตกของฮังการีและบางส่วนของออสเตรีย โครเอเชีย เซอร์เบีย สโลวีเนีย สโลวาเกีย และบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ปัจจุบันคำว่า "พันโนเนีย" มักจะใช้กับบริเวณที่เรียกว่าทรานส์ดานูเบียในฮังการี หรือที่ง่าย ๆ คือฮังการีทั้งประเท.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและพันโนเนีย · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเคลต์

กลุ่มภาษาเคลต์เป็นลูกหลานของภาษาเคลต์ตั้งเดิมหรือภาษาเคลต์ทั่วไปซึ่งเป็นภาษาในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน คำว่าเคลต์เป็นคำที่ประดิษฐ์โดย Edward Lhuyd เมื่อ..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและกลุ่มภาษาเคลต์ · ดูเพิ่มเติม »

กองเรือรบเล็กดานูบ

กองเรือรบเล็กดานูบ (Danube Flotilla) เป็นกองเรือของกองทัพเรือโซเวียตและกองเรือทะเลดำในช่วงแนวรบด้านตะวันออก กองเรือเล็กนี้ได้เริ่มปฏิบัติการในปี 1940 ถึง 1941 และกลับมาอีกครั้งใน 1944 ถึง 1945 โดยกองเรือรบเล็กดานูบจะปฏิบัติการในแม่น้ำดานูบและด้านที่ติดกับทะเลดำ กองเรือรบเล็กดานูบได้รวมปฏิบัติการสำคัญคือใน การรุกเบลเกรด การรุกบูดาเปสต์และการรุกเวียนนา จากความกล้าหาญกองเรือได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์คูตูซอฟ ขั้นที่สองในปี 1945 กองเรือรบเล็กดานูบ ได้ถูกยุบลงในปี 1960.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและกองเรือรบเล็กดานูบ · ดูเพิ่มเติม »

การล่องเรือในแม่น้ำ

การล่องเรือในแม่น้ำ (อังกฤษ: River cruise) คือ การเดินทางไปตามแม่น้ำภายในประเทศ มักจะจอดหยุดที่พักเรือ เนื่องจากการล่องเรือในแม่น้ำอยู่ภายในเมืองของประเทศนั้น.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและการล่องเรือในแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

การท่องเที่ยวในประเทศโรมาเนีย

คาเลียวิกตอรีเอ (ถนนแห่งชัยชนะ) ในบูคาเรสต์ การท่องเที่ยวในประเทศโรมาเนีย มุ่งเน้นไปที่ภูมิทัศน์และประวัติศาสตร์ของประเทศ โรมาเนียดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 9.33 ล้านคนในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและการท่องเที่ยวในประเทศโรมาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

กิชกุนฮอล็อช

กิชกุนฮอล็อช (Kiskunhalas) เป็นเมืองในเทศมณฑลบาช-กิชกุน (Bács-Kiskun) เทศมณฑลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศฮังการี.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและกิชกุนฮอล็อช · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโนไก

ษาโนไก หรือภาษาตาตาร์ โนไก เป็นภาษาที่ใช้พูดทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซีย แบ่งได้เป็นสำเนียงหลักสามสำเนียงคือ Qara-Nogay (โนไกเหนือหรือโนไกดำ), ใช้พูดในดาเกสถาน Nogai Proper, ใช้พูดใน Stavropol; และ Aqnogay (โนไกตะวันตกหรือโนไกขาว), ใช้พูดในบริเวณแม่น้ำกูบัน Qara-Nogay และNogai Proper มีลักษณะทางภาษาศาสตร์ใกล้เคียงกันแต่ Aqnogay มีลักษณะที่ต่างออกไป จัดอยู่ในภาษากลุ่มเคียปชัก-โนไก ของภาษากลุ่มเตอร์กิก สาขาเคียปชัก เช่นเดียวกับภาษาตาตาร์ ไครเมีย ภาษาการากัลปัก และภาษาคีร์กีซ.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและภาษาโนไก · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์ยุโรป

ูมิศาสตร์ยุโรป (Geography of Europe) คือลักษณะภูมิศาสตร์ต่าง ๆ ของทวีปยุโรปซึ่งเป็น 1 ใน 7 ทวีปบนโลกและเป็นคาบสมุทรตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียโดยการแบ่งปวีปยุโรปกับทวีปเอเชียทางตะวันออกนั้นจะใช้เทือกเขายูรัลในประเทศรัสเซียในการแบ่งเขตส่วนในตะวันออกเฉียงใต้นั้นยังไม่มีการกำหนดอย่างแน่ชัดแต่ส่วนมากจะใช้แม่น้ำยูรัล, แม่น้ำเอ็มบาและทะเลดำในการแบ่งเขต โดยจุดสิ้นสุดของทวีปเอเชียคือช่องแคบบอสพอรัสในประเทศตุรกี ส่วนการแบ่งเขตของทวีปยุโรปกับทวีปแอฟริกานั้นจะใช้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนโดยจุดที่ทวีปยุโรปใกล้กับทวีปแอฟริกามากที่สุดคือช่องแคบยิบรอลตาร์โดยมีความห่างกันเพียง 14.3 กิโลเมตรหรือ 8.9 ไมล์ ส่วนพรมแดนทางตะวันออกนั้นจะมีเทือกเขากลางสมุทรไอซ์แลนด์เป็นตัวแบ่งอาณาเขตระหว่างยุโรปกับอเมริกาเหนือ ส่วนประเทศไอซ์แลนด์ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอเมริกาเหนือกับยุโรปนั้นถือว่าอยู่ในทวีปยุโรปเพราะเหตุผลด้านวัฒนธรรมและมีพื้นที่ใกล้กับแผ่นดินใหญ่ของทวีปยุโรปมากกว่าแผ่นดินใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือถึง 2 เท่า นี้คือภาพถ่ายจากสถานนีอวกาศแห่งชาติโดยใช้กล้อง2ตัวโดยทางซ้ายมองไปทางเหนือและทางขวามองมาทางตรง.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและภูมิศาสตร์ยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

มิลา โรดิโน

ลงชาติบัลแกเรียในปัจจุบันมีชื่อว่า เพลง "มิลา โรดิโน" (Мила Родино) แปลว่า มาตุภูมิที่รัก เพลงนี้มีที่มาจากเนื้อร้องและทำนองของเพลง "กอร์ดา สตารา พลานินา" ("Gorda Stara Planina") ซึ่งประพันธ์โดย สเวตาน ราโดสลาวอฟ (Tsvetan Radoslavov) ในปี พ.ศ. 2428 ขณะที่เขาเดินทางไปร่วมรบในสงครามเซิร์บ-บัลแกเรียในปีนั้น เพลงนี้ได้รับการรับรองให้เป็นเพลงชาติของประเทศบัลแกเรียในปี พ.ศ. 2507 โดยที่ในส่วนของเนื้อร้องนั้นมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง ครั้งหลังสุดคือเมื่อปี พ.ศ. 2533.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและมิลา โรดิโน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐโลเวอร์ออสเตรีย

ลเวอร์ออสเตรีย (Lower Austria) หรือ นีเดอร์เอิสเทอร์ไรช์ (Niederösterreich) เป็นหนึ่งในรัฐ (Bundesländer) ของออสเตรีย ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและรัฐโลเวอร์ออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรโรมาเนีย

ราชอาณาจักรโรมาเนีย (Regatul României (เรกาตูล โรมือเน่); Kingdom of Romania) เป็นรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในยุโรปตะวันออก ที่อยู่ในระหว่าง 13 มีนาคม..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและราชอาณาจักรโรมาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสนธิสัญญา

การลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายในห้องกระจกของพระราชวังแวร์ซายในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รายชื่อสนธิสัญญา เป็นรายชื่อข้อตกลงทางประวัติศาสตร์ฉบับที่สำคัญ ระหว่างรัฐ กองทัพ รัฐบาล และกลุ่มชน.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและรายชื่อสนธิสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในยุโรปตะวันออก

รปตะวันออก.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและรายชื่อแหล่งมรดกโลกในยุโรปตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

รูเซ

รูเซ (Русе, Rusçuk, Ruse) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศบัลแกเรีย ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ บนฝั่งขวาของแม่น้ำดานูบ อยู่ตรงข้ามกับเมืองจูร์จูของประเทศโรมาเนีย อยู่ห่างจากเมืองหลวงของประเทศ กรุงโซเฟีย 300 กม.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและรูเซ · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟใต้ดินบูดาเปสต์ สาย 2

รถไฟใต้ดินบูดาเปสต์ สาย 2 (สายตะวันออก-ตะวันตก, สายสีแดง) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าสายที่ 2 ในกรุงบูดาเปสต์ วิ่งระหว่างสถานี Déli pályaudvar (ตะวันตก) และสถานี Örs vezér tere (ตะวันออก) ผู้โดยสารรายวัน 451,627 คน เป็นสายเดียวที่ลอดใต้แม่น้ำดานูบ และให้บริการในเขตบูดา เชื่อมต่อกับสาย 1 และ 3 ที่สถานีDeák Ferenc Square และจะเชื่อมต่อกับสาย 4 (ในอนาคต) ที่สถานี Keleti Pályaudvar หมวดหมู่:รถไฟใต้ดินบูดาเปสต์.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและรถไฟใต้ดินบูดาเปสต์ สาย 2 · ดูเพิ่มเติม »

ลอมบาร์ด

มงกุฎเหล็กแห่งลอมบาร์ดี right ลอมบาร์ด หรือ ลังโกบาร์ด หรือ ลองโกบาร์ด (Lombards หรือ Langobards หรือ Longobards, Langobardi) เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์เจอร์มานิคที่เดิมมาจากยุโรปเหนือและมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำดานูบ จากบริเวณนั้นลอมบาร์ดก็เข้ารุกรานจักรวรรดิไบแซนไทน์ในคาบสมุทธอิตาลีในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและลอมบาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ลินซ์

ลินซ์ ลินซ์ (Linz) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศออสเตรีย เป็นเมืองหลวงของรัฐอัปเปอร์ออสเตรีย ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ อยู่ห่างจากชายแดนสาธารณรัฐเช็กราว 30 กม.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและลินซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลีเยพานาชาดอมอวีนอ

ลีเยพานาชาดอมอวีนอ เป็นเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐโครเอเชีย โดยบทนำคือคำว่า Lijepa naša หมายถึง ความงดงามของข้า ใช้กันแพร่หลายในประเทศโครเอเชีย คำร้องต้นฉบับประพันธ์โดย อันทุน มีฮานอวิช (Antun Mihanović) ถูกตีพิมพ์ภายใต้ชื่อ "Horvatska domovina" ("Croatian homeland") ในปี 1835 เพลงเป็นผู้ประพันธ์โดย ยอซิป รุนยานิน (Josip Runjanin) ในปี 1846 บทเพลงได้เสร้จสิ้นลงตามที่เขียนไว้บนโน้ต และ ได้ประสานงานงานกับ วาโตรสลาฟ ลิชเติร์นเนกเกอร์ (Vatroslav Lichtenegger) ในปี 1861 และได้ไปดำเนินการเคารพเพลงชาติโครเอเชีย ในแต่ละปี มีความแตกต่างกัน เพลงชาติฉบับดั้งเดิมมี 15 บท รัฐสภาโครเอเชียยังมิได้รับรองการประกาศใช้เพลงชาติอย่างเป็นทางการ ในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและลีเยพานาชาดอมอวีนอ · ดูเพิ่มเติม »

วลาดที่ 3 นักเสียบ

วลาดที่ 3 เจ้าชายแห่งวาลาเคีย (ค.ศ. 1431–1476/7) หรือที่รู้จักโดยสกุล แดรกคิวลา พระองค์ทรงได้รับสมัญญาหลังสิ้นพระชนม์ว่า วลาดนักเสียบ (Vlad the Impaler; Vlad Țepeș) และทรงเป็นเจ้า (Voivode) ครองวาลาเคีย 3 สมัย ส่วนใหญ่ระหว่าง..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและวลาดที่ 3 นักเสียบ · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรมลาแตน

วัฒนธรรมลาแตน (La Tène culture) เป็นวัฒนธรรมยุคเหล็กของยุโรปที่ตั้งชื่อตามแหล่งโบราณคดีที่ลาแตนบนฝั่งเหนือของทะเลสาบเนอชาแตลในสวิตเซอร์แลนด์ที่เป็นที่พบสิ่งของมีค่าทางโบราณคดีจำนวนมากมายโดยฮันสลี ค็อพพ์ ในปี ค.ศ. 1857 วัฒนธรรมลาแตนเคลตสเครุ่งเรืองระหว่างปลายยุคเหล็ก (ตั้งแต่ปี 450 ก่อนคริสต์ศักราชมาจนถึงการพิชิตของโรมันใน ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช) ในบริเวณตะวันออกของฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนี สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย และฮังการี ทางตอนเหนือไปจรดกับวัฒนธรรมยาสตอร์ฟของเยอรมนีตอนเหนือ วัฒนธรรมลาแตนเจริญขึ้นมาจากวัฒนธรรมฮัลล์ชตัทท์ของยุคเหล็กตอนต้น โดยไม่มีการแบ่งแยกทางวัฒนธรรมที่เห็นได้ชัด และเป็นวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลพอประมาณจากเมดิเตอร์เรเนียนจากกรีกในภูมิภาคกอลก่อนสมัยโรมันและต่อมาอารยธรรมอีทรัสคัน การโยกย้ายศูนย์กลางของที่ตั้งถิ่นฐานเริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 4 โบราณวัตถุทางวัฒนธรรมของวัฒนธรรมลาแตนพบในบริเวณอันกว้างไกลที่รวมไปถึงบางส่วนของไอร์แลนด์และบริเตนใหญ่ (หมู่บ้านริมทะเลสาบกลาสตันบรีในอังกฤษเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับวัฒนธรรมลาแตน), ทางตอนเหนือของสเปน ภูมิภาคเบอร์กันดี และ ออสเตรีย สถานที่ฝังศพอันหรูหราก็เป็นเครื่องแสดงเครือข่ายของการค้าอันกว้างไกล เช่นเนินบรรจุศพวีซ์ในฝรั่งเศสซึ่งเป็นที่ฝังศพของสตรีสูงศักดิ์จากศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราชที่ถูกฝังพร้อมด้วยไหคอลดรอนสำริดที่ทำในกรีซ สินค้าออกของจากบริเวณวัฒนธรรมลาแตนไปยังบริเวณวัฒนธรรมเมดิเตอร์เรเนียนก็จะมีเกลือ ดีบุก ทองแดง อำพัน ขนแกะ หนัง ขนสัตว์ และทองคำ.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและวัฒนธรรมลาแตน · ดูเพิ่มเติม »

วูคอวาร์

วูคอวาร์ (Vukovar; Вуковар) เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของแขวงวูคอวาร์-ซีร์เมีย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำดานูบซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างภูมิภาคสลาโวเนียทางตะวันออกของโครเอเชียกับภูมิภาคย่อยบาชกาที่เป็นส่วนหนึ่งของวอยโวดีนาในเซอร์เบีย มีประชากรราวๆเกือบสามหมื่นคน ในอดีตวูคอวาร์เคยเป็นเมืองท่าริมแม่น้ำดานูบที่มีความเจริญเฟื่องฟูในระดับหนึ่ง หากแต่ในช่วงสงครามประกาศอิสรภาพของโครเอเชียได้ทำให้ฝ่ายชาวเซิร์บติดอาวุธในสลาโวเนียซึ่งต่อต้านรัฐบาลของโครเอเชียร่วมมือกับกองทัพร่วมของยูโกสลาเวียบุกเข้ามาทำลายล้างเมืองอย่างราบคาบและได้กระทำอาชญากรรมสงครามด้วยการสังหารชาวเมืองเชื้อสายโครแอทเป็นจำนวนมากในระหว่างสงคราม ทำให้วูคอวาร์ได้ชื่อว่าเป็นเมืองซึ่งได้รับความเสียหายมากที่สุดในสงครามการประกาศอิสรภาพของโครเอเชียและถือกันว่าเป็นเมืองที่ถูกทำลายเสียหายจากสงครามอย่างเลวร้ายที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สำหรับชาวโครเอเชียวูคอวาร์จึงมีฐานะเป็นนครวีรชนเทียบเท่าสตาลินกราดของสหภาพโซเวียต และทุกๆปีในวันที่ 18 พฤศจิกายน จะมีการวางพวงหรีดรำลึกถึงการแตกพ่ายของวูโควาร์ต่อฝ่ายชาวเซิร์บเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและวูคอวาร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย

มเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย (20 เมษายน พ.ศ. 2382 - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2457) ประสูติในพระอิศริยยศ เจ้าชายแห่งโฮเฮนโซลเลิร์น - ซิกมาริงเง็น ทรงครองราชย์เป็นเจ้าผู้ครองนครและสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรโรมาเนียตั้งแต..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและสมเด็จพระเจ้าคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพระราม 8

นพระราม 8 (Rama VIII Bridge) เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรเสาเดี่ยว ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 13 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และมูลนิธิชัยพัฒนาในปัจจุบัน) เขตบางพลัด บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและสะพานพระราม 8 · ดูเพิ่มเติม »

สะพานโนวีโมสต์

นโนวีโมสต์ มองจากปราสาทบราติสลาวา ปราสาทบราติสลาวาและวิหารเซนต์มาร์ติน มองจากสะพานโนวีโมสต์ สะพานโนวีโมสต์ (Nový Most แปลว่า สะพานใหม่) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำดานูบในเมืองบราติสลาวา เมืองหลวงของประเทศสโลวาเกีย ก่อสร้างในระหว่างปี..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและสะพานโนวีโมสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานเอลิซาเบธ

นเอลิซาเบธ (Erzsébet híd) เป็นสะพานแขวน ตั้งอยู่ที่อยู่กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี สร้างข้ามแม่น้ำดานูบ ระหว่างเมืองบูดา และเมืองเปสต์ สะพานตั้งอยู่ในส่วนที่แคบที่สุดของแม่น้ำดานูบในบริเวณเมืองบูดาเปส มีความยาวทั้งสิ้น 378.6 เมตร ความยาวระหว่างตอม่อ 290 เมตร ชื่อสะพานมาจากพระนามของดัชเชสเอลิซาเบธแห่งบาวาเรีย ซึ่งเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งออสเตรีย และสมเด็จพระราชินีแห่งฮังการี ผู้ซึ่งถูกลอบปลงพระชนม์ ในปี พ.ศ. 2441 ในปัจจุบันนี้มีอนุสาวรีย์ของพระนางตั้งอยู่บริเวณสะพาน.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและสะพานเอลิซาเบธ · ดูเพิ่มเติม »

สุลัยมานผู้เกรียงไกร

ลต่านสุลัยมานที่ 1 (ตุรกีออตโตมัน: سلطان سليمان اول‎) พระองค์เป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกว่า สุลัยมานผู้เกรียงไกร และเป็นที่รู้จักในโลกตะวันออกว่า สุลัยมานผู้ตรากฎหมาย ทรงเป็นประมุขของจักรวรรดิออตโตมันสมัยราชวงศ์ออสมันระหว่างปี ค.ศ. 1520 จนเสด็จสวรรคตเมื่อต้นเดือนกันยายนปี ค.ศ. 1566 เป็นสุลต่านพระองค์ที่ 10 และเป็นสุลต่านที่ทรงราชย์นานที่สุดของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นเวลานานถึง 46 ปี สุลต่านสุลัยมานเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1494 ที่ทราบซอนในประเทศตุรกี เป็นพระราชโอรสในสุลต่านเซลิมที่ 1 และฮาฟซา ฮาทุน (Hafsa Hatun) ทรงเสกสมรสตามกฎหมายกับร็อกเซลานา หรือเฮอร์เรมสุลต่าน พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อราววันที่ 5/6 กันยายน ค.ศ. 1566 ที่ Szigetvár ในประเทศฮังการีปัจจุบัน หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต พระราชโอรสของพระองค์กับเฮอร์เรมสุลต่านก็ขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่านเซลิมที่ 2 สุลต่านสุลัยมานเป็นพระมหากษัตริย์องค์สำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีบทบาทสำคัญไม่เพียงแต่ในจักรวรรดิออตโตมันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงททวีปยุโรปด้วย พระองค์มีพระบรมราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ทางการทหารและทางเศรษฐกิจ ทรงเป็นผู้นำทัพด้วยพระองค์เองในการสงครามหลายครั้งและทรงได้รับชัยชนะในสงครามหลายครั้งที่รวมทั้งต่อเบลเกรด โรดส์ และ ฮังการีเกือบทั้งหมด แต่มาทางพ่ายแพ้ในการล้อมกรุงเวียนนาในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและสุลัยมานผู้เกรียงไกร · ดูเพิ่มเติม »

สงครามสามสิบปี

งครามสามสิบปี (Thirty Years' War) (ค.ศ. 1618 - ค.ศ. 1648) สงครามสามสิบปีเป็นสงครามที่ก่อความเสียหายไว้มากที่สุดสงครามหนึ่งของประวัติศาสตร์ยุโรป สงครามส่วนใหญ่สู้รบกันในดินแดนเยอรมนีและมีผู้เข้าร่วมสงครามจากเกือบทุกประเทศในยุโรป อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในสงครามที่ยาวนานที่สุดครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ต้นเหตุของความขัดแย้งและจุดประสงค์ของผู้เข้าร่วมมีความซับซ้อนและมีเหตุผลในการทำสงครามของฝ่ายต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เมื่อเริ่มแรกการต่อสู้เกิดจากความขัดแย้งระหว่างโปรเตสแตนต์และโรมันคาทอลิกในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ความขัดแย้งการทางอำนาจทางการเมืองภายในจักรวรรดิก็เป็นส่วนสำคัญด้วย ในที่สุดสงครามก็ขยายออกไปเป็นความขัดแย้งของอาณาบริเวณต่างๆ ทั่วยุโรป สงครามสามสิบปีเป็นสงครามที่ต่อเนื่องมาจากสงครามความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสกับราชวงศ์ฮับส์บูร์กในการเป็นมหาอำนาจในยุโรปและในที่สุดก็บานปลายไปเป็นสงครามที่ไม่มีเหตุผลใดเกี่ยวข้องกับศาสนา การต่อสู้ส่วนใหญ่ในสงครามสามสิบปีเป็นการต่อสู้โดยกองทัพทหารรับจ้างที่ทำความเสียหายอย่างใหญ่หลวงมาสู่บริเวณที่มีการต่อสู้ และก่อให้เกิดความอดอยากและโรคระบาดจนส่งผลให้จำนวนประชากรของรัฐต่าง ๆ ในเยอรมนี กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ และอิตาลีลดลงไปเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังก่อให้เกิดการสูญเสียอำนาจในหลายบริเวณ ความขัดแย้งที่เป็นสาเหตุของการต่อสู้ก็ไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากนี้การที่สงครามมีค่าจ่ายทางการทหารเป็นจำนวนมาก ส่งผลทำให้รัฐที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ต้องล้มละลายในช่วงท้ายของสงคราม สงครามสามสิบปียุติลงด้วยสนธิสัญญามึนสเตอร์ (Treaty of Münster) ที่เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลี.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและสงครามสามสิบปี · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล (ค.ศ. 1919)

นธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล เป็นสนธิสัญญาที่ลงนามเมื่อวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1919 โดยพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งผู้เป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะในสงคราม กับสาธารณรัฐออสเตรียอีกฝ่ายหนึ่ง สนธิสัญญานี้ก็เช่นเดียวกับสนธิสัญญาแวร์ซายกับจักรวรรดิเยอรมันที่เป็นสนธิสัญญาที่มีเนื้อหาที่ร่างโดยสันนิบาตชาติ และผลก็มิได้รับการรับรองจากสหรัฐอเมริกา สนธิสัญญาประกาศการยุบเลิกจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี สาธารณรัฐใหม่ของออสเตรียประกอบด้วยบริเวณแอลป์ที่พูดภาษาเยอรมันของอดีตจักรวรรดิออสเตรีย, ยอมรับอิสรภาพของฮังการี, เชโกสโลวาเกีย, โปแลนด์ และรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ สนธิสัญญารวมการจ่ายค่าปฏิกรรมหรือค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากสงครามเป็นจำนวนมหาศาลโดยตรงต่อฝ่ายพันธมิตร ดินแดนในครอบครองของออสเตรียถูกลดลงไปเป็นเชโกสโลวาเกีย โปแลนด์ และยูโกสลาเวีย และดินแดนส่วนอื่นให้แก่อิตาลี และโรมาเนีย แต่เบอร์เกนแลนด์ที่เดิมเป็นของฮังการีกลับมาเป็นของออสเตรีย ข้อสำคัญของสนธิสัญญาระบุยับยั้งออสเตรียจากการเปลี่ยนสถานะภาพของความเป็นอิสรภาพ ที่หมายถึงสาธารณรัฐใหม่เยอรมันออสเตรียที่เป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนี ออสเตรียไม่สามารถเข้าทำการรวมตัวไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจหรือทางการเมืองร่วมกับเยอรมนีโดยมิได้รับความเห็นชอบกับสันนิบาตชาติ กองทัพออสเตรียถูกจำกัดจำนวนลงเหลือเพียงกองทหารอาสาสมัคร 30,000 คน นอกจากนั้นก็ยังมีข้อปลีกย่อยที่เกี่ยวกับการเดินเรือบนลำแม่น้ำดานูบ, การเปลี่ยนมือของระบบการรถไฟ และการแบ่งแยกจักรวรรดิออกเป็นรัฐอิสระย่อย ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและสนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล (ค.ศ. 1919) · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเวเนติก

อักษรเวเนติกเป็นอักษรของชาวเวเนติกที่อาศัยอยู่ทางชายฝั่งตอนเหนือของทะเลเอเดรียนในยุคโลหะ ราว 457 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงยุคจักรวรรดิโรมัน ภาษาละตินเรียกว่า “เวเนติ” ส่วนภาษากรีกเรียก “อีนิตอย” พบจารึกของชนกลุ่มนี้มากกว่า 200 ชิ้น อักษรนี้ใกล้เคียงกับอักษรอีทรัสคัน คาดว่าน่าจะมาจากอักษรกรีกและเป็นต้นแบบของอักษรฟูทาร์ก อักษรบางตัวมีหลายรูปแบบเพราะมาจากบริเวณที่ต่างกัน เสียง /f/ ใช้อักษรคู่ hvหรือ vh ซึ่งพบในอักษรอีทรัสคันและอักษรละตินรุ่นแรกๆด้วย เขียนจากขวาไปซ้ายแต่ก็เขียนจากซ้ายไปขวาได้เช่นเดียวกันโดยอักษรที่ใช้ในแต่ละทิศทางจะเป็นรูปในกระจกเงาซึ่งกันและกัน ในบางกรณี พบการเขียนในแนวสลับ ชาวเวเนติกถูกรวมเข้ากับจักรวรรดิโรมันและเลิกใช้อักษรเวเนติไปเมื่อราว..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและอักษรเวเนติก · ดูเพิ่มเติม »

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein, อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์; 14 มีนาคม พ.ศ. 2422 – 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2428 ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

อัตติลา

อัตติลา หรือที่ใช้อ้างอิงส่วนใหญ่ อัตติลาเดอะฮัน (Attila the Hun) (ค.ศ. 406 – ค.ศ. 453) เป็นจักรพรรดิชาวฮันผู้ครองจักรวรรดิฮัน (Hunnic Empire) ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มชนเผ่าต่างๆทั้ง ฮัน ออสโตรกอท อลานส์ และเผ่าอนารยชนอื่นๆ ในดินแดนยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ระหว่าง ค.ศ. 434 จนถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 453 ที่พระองค์ได้เสด็จสวรรคตลง ในรัชสมัยของพระองค์สามารถครอบครองดินแดนตั้งแต่ ประเทศเยอรมนีไปจนถึงแม่น้ำยูรัล และจากแม่น้ำดานูบไปจนถึงทะเลบอลติก กินพื้นที่มากกว่า 4 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นการครอบครองดินแดนที่มากที่สุดอาณาจักรหนึ่งในยุคมืด ในรัชสมัยการปกครองของอัตติลาทรงเป็นประมุขผู้สร้างความหวาดหวั่นและถือเป็นศัตรูที่อันตรายที่สุดแก่จักรวรรดิโรมันตะวันออกและจักรวรรดิโรมันตะวันตก พระองค์ทรงรุกรานคาบสมุทรบอลข่านถึงสองครั้ง แต่พระองค์ไม่สามารถรุกรานกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ และจากผลพวงของการพ่ายแพ้ในเปอร์เซีย ในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและอัตติลา · ดูเพิ่มเติม »

อารามเมลค์

แอบบีเมลค์ (Stift Melk, Melk Abbey) เป็นสำนักสงฆ์ของลัทธิเบ็นนาดิคตินของนิกายโรมันคาทอลิกที่ตั้งอยู่บนเนินเขาเหนือแม่น้ำดานูบเหนือเมืองเมลค์ในประเทศออสเตรีย แอบบีเมลค์เป็นที่ตั้งของสังฆมณฑลเมลค์ แอบบีเมลค์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1089 เมื่อลีโอโพลด์ที่ 2 มากราฟแห่งออสเตรียถวายปราสาทหลังหนึ่งของตนเองให้แก่นักบวชเบ็นนาดิคตินจากแอบบีแลมบาค ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ก็ได้มีการก่อตั้งสถานศึกษา และห้องสมุดของแอบบีไม่นานก็กลายมามีชื่อเสียงในด้านงานสะสมหนังสือวิจิตรเป็นจำนวนมาก โรงเขียนหนังสือของแอบบีก็เป็นสถานที่สำคัญในการผลิตหนังสือ ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 แอบบีกลายเป็นศูนย์กลางของขบวนการ “การปฏิรูปเมลค์” ซึ่งเป็นขบวนการที่พยายามฟื้นฟูการดำรงชีวิตแบบระบบสำนักสงฆ์ในออสเตรียและเยอรมนีตอนใต้ ในปัจจุบันตัวอาคารแบบบาโรกอันสง่างามที่เห็นสร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1702 ถึงปี ค.ศ. 1736 ตามแบบที่ออกโดยยาคอป พรันด์เทาเออร์ สิ่งที่น่าสนใจของแอบบีโดยเฉพาะคืองานจิตรกรรมฝาผนังโดยโยฮันน์ มิคาเอล โรทท์เมเยอร์ และห้องสมุดที่มีหนังสือวิจิตรของยุคกลางจำนวนมากมาย ที่รวมทั้งงานสะสมต้นฉบับดนตรีอันมีชื่อเสียง และจิตรกรรมฝาผนังโดยพอล โทรเกอร์ ความมีชื่อเสียงและความสำคัญทางด้านการให้การศึกษาของแอบบีทำให้เมลค์รอดจากการถูกยุบภายใต้สมเด็จพระจักรพรรดิโจเซฟที่ 2 เมื่อแอบบีออสเตรียอื่นๆ ต่างก็ถูกยึดและยุบกันไปตามๆ กันระหว่างปี ค.ศ. 1780 ถึงปี ค.ศ. 1790 และก็สามารถรอดมาได้จากการถูกทำลายอีกหลายครั้งต่อมา ที่รวมทั้งระหว่างสงครามนโปเลียน และระหว่างช่วงเวลาหลังจาก “การผนวกออสเตรีย” โดยนาซีที่เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1938 เมื่อสถานศึกษาและส่วนใหญ่ของแอบบีถูกยึดครองโดยรัฐ แอบบีได้รับสถานศึกษาคืนหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง และในปัจจุบันสถานศึกษาของแอบบีรับนักเรียนได้เกือบ 900 คนทั้งชายและหญิง.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและอารามเมลค์ · ดูเพิ่มเติม »

อิงก็อลชตัท

อิงก็อลชตัท (Ingolstadt) เป็นเมืองในรัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำดานูบ จากข้อมูลเมื่อวันที่ 31 มีนาคม..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและอิงก็อลชตัท · ดูเพิ่มเติม »

อุล์ม

วิหาร Ulm Münster ศูนย์กลางของเมืองอูล์ม มองจากวิหาร อุล์ม (Ulm) เป็นเมืองในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำดานูบ ห่างจากเมืองสตุ๊ทการ์ทไปทางตะวันออกประมาณ 90 กิโลเมตร มีวิหาร อูล์มเมอร์ มืนสเตอร์ (Ulm Münster) ที่มีชื่อเสียง ถือว่าเป็นโบสถ์ที่สูงที่สุดในโลกวัดได้ว่ามีความสูงถึง 161.53 เมตร.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและอุล์ม · ดูเพิ่มเติม »

ฮอโลคอสต์

"การเลือกสรร" ในค่ายกักกันเอาชวิทซ์ พฤษภาคม/มิถุนายน 1944; ผู้ที่ถูกส่งไปอยู่ทางขวา คือ ไปใช้แรงงานทาส ส่วนผู้ที่ถูกส่งไปทางซ้าย คือ ไปห้องรมแก๊ส จากภาพ เป็นชาวยิวฮังการีที่เพิ่งมาถึงค่าย ผู้ถ่าย คือ แอร์นสท์ ฮอฟมันน์หรือเบอร์นาร์ด วอลเตอร์แห่งหน่วยเอสเอส ฮอโลคอสต์, โฮโลคอสต์ (The Holocaust) หรือรู้จักในอีกชื่อว่า haShoah (ภาษาฮีบรู: השואה), Churben (ภาษายิดดิช: חורבן) เป็นพันธุฆาตชาวยิวในยุโรปประมาณ 6 ล้านคนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โครงการฆาตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐโดยเยอรมนี นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ทั่วทั้งดินแดนที่เยอรมนียึดครอง จากชาวยิว 9 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปก่อนฮอโลคอสต์ ประมาณสองในสามถูกสังหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กชาวยิวกว่า 1 ล้านคนถูกสังหารในฮอโลคอสต์ เช่นเดียวกับหญิงชาวยิวประมาณ 2 ล้านคน และชายชาวยิว 3 ล้านคน นักวิชาการบางส่วนเสนอว่า นิยามของฮอโลคอสต์ยังควรรวมถึงพันธุฆาตประชากรกลุ่มอื่นอีกหลายล้านคนของนาซี รวมทั้งชาวโรมานี นักคอมมิวนิสต์ เชลยศึกโซเวียต พลเรือนโปแลนด์และโซเวียต พวกรักเพศเดียวกัน ผู้ทุพพลภาพ พยานพระยะโฮวา และคู่แข่งทางการเมืองและศาสนาอื่น ๆ ไม่ว่ากลุ่มชาติพันธุ์เยอรมันหรือไม่ก็ตาม นิยามนี้เป็นนิยามที่สามัญที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 หากใช้นิยามนี้ จำนวนเหยื่อฮอโลคอสต์ทั้งสิ้นอยู่ระหว่าง 11 ถึง 17 ล้านคน เฮนรี ฟีแลนเดอร์นิยามฮอโลคอสต์ว่า "การสังหารหมู่มนุษย์ เพราะพวกเขาเป็นสมาชิกของกลุ่มที่นิยามทางชีวภาพ" หมายความว่า "พวกนาซีใช้นโยบายการกำจัดที่คงเส้นคงวาและครอบคลุมเฉพาะกับมนุษย์สามกลุ่ม ผู้พิการ ชาวยิวและพวกยิปซี" การเบียดเบียนและพันธุฆาตมีการดำเนินแบ่งเป็นขั้น มีกฎหมายหลายฉบับที่ดึงชาวยิวออกจากประชาสังคม ที่เห็นชัดที่สุดคือ กฎหมายเนือร์นแบร์ก ซึ่งใช้บังคับในเยอรมนีหลายปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้น มีการสร้างค่ายกักกันซึ่งผู้ถูกกักกันถูกบังคับให้ใช้แรงงานทาสกระทั่งเสียชีวิตด้วยการหมดแรงหรือโรค ที่ใดที่เยอรมนียึดครองดินแดนใหม่ในยุโรปตะวันออก หน่วยเฉพาะที่เรียกว่า ไอน์ซัทซกรุพเพน จะฆาตกรรมยิวและคู่แข่งทางการเมืองในการยิงหมู่ ผู้ยึดครองกำหนดให้ชาวยิวและโรมานีถูกจำกัดอยู่ในเกตโตที่แออัดยัดเยียดก่อนถูกขนส่งโดยรถสินค้าไปยังค่ายมรณะ ที่ซึ่ง หากพวกเขารอดชีวิตจากการเดินทาง จะถูกสังหารไปโดยมากในห้องรมแก.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและฮอโลคอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส

ักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส (Marcus Aurelius หรือ Marcus Aurelius Antoninus Augustus) (ราว 26 เมษายน ค.ศ. 121Augustan History, "Marcus Aurelius" – 17 มีนาคม ค.ศ. 180) มาร์กุส เอาเรลิอุสเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันระหว่างวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 161 ถึง ค.ศ. 169 โดยปกครองร่วมกับ ลูกิอุส เวรุส (Lucius Verus) พระอนุชาบุญธรรม จนเวรุสสิ้นพระชนม์ในปี 169; จากนั้นเอาเรลิอุสทรงปกครองต่อมาโดยลำพังพระองค์เองระหว่างปี ค.ศ. 169 ถึง ค.ศ. 177 และ ทรงปกครองร่วมกับ ก็อมมอดุส (Commodus) ผู้เป็นราชโอรสของพระองค์ ระหว่าง ค.ศ. 177 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 180 มาร์กุส เอาเรลิอุสเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของ “จักรพรรดิโรมันผู้ทรงคุณธรรมห้าพระองค์” (Five Good Emperors) และถือกันว่าเป็นนักปรัชญาลัทธิสโตอิก (Stoicism) คนสำคัญคนหนึ่ง เหตุการณ์สำคัญในสมัยการปกครองของมาร์กุส เอาเรลิอุสก็ได้แก่สงครามในเอเชียกับจักรวรรดิพาร์เธียน (Parthian Empire), และกับชนเผ่าเจอร์มานิคตามบริเวณพรมแดนโรมัน-เจอร์มานิคัส (LimesGermanicus) เข้าไปในกอลและข้ามแม่น้ำดานูบ และการปฏิวัติทางตะวันออกที่นำโดยอาวิเดียส คาสเซียส (Avidius Cassius) ที่ไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากความสามารถในการสงครามแล้วมาร์กุส เอาเรลิอุสก็ยังมีงานเขียน “Meditations” ที่เขียนเป็นภาษากรีกระหว่างที่ทำการรณรงค์ระหว่างปี..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิบัลแกเรีย

ักรพรรดิคอนแสตนติน ทิคห์แห่งบัลแกเรีย (Constantine Tikh of Bulgaria) และจักรพรรดินีไอรินา จักรวรรดิบัลแกเรีย (Bulgarian Empire, Българско царство) เป็นคำที่ใช้บรรยายสมัยประวัติศาสตร์บัลแกเรียในยุคกลางสองสมัยที่บทบาทสำคัญในยุโรปโดยเฉพาะในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ที่มักจะมีข้อขัดแย้งกับจักรวรรดิไบแซนไทน์ จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 และ จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 ถือว่าเป็นจักรวรรดิเดียวกันที่จักรวรรดิที่ 2 มาฟื้นฟูขึ้นหลังจากที่อยู่ภายใน้การปกครองของไบแซนไทน์อยู่ชั่วระยะหนึ่ง.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและจักรวรรดิบัลแกเรีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิฮัน

ักรวรรดิฮัน (Hunnic Empire) เป็นจักรวรรดิที่ก่อตั้งโดยชาวฮัน ฮันเป็นสมาพันธ์ของกลุ่มชนยูเรเชียที่ส่วนใหญ่อาจจะพูดภาษากลุ่มเตอร์กิกที่มีลักษณะอื่นที่มาจากภาษากลุ่มอื่นผสม ฮันที่มาจากทุ่งหญ้าสเตปป์ในเอเชียกลางเป็นกลุ่มชนที่มีความสามารถทางการใช้อาวุธที่ก้าวหน้ากว่าชนกลุ่มอื่นในช่วงเวลานั้นซึ่งทำให้สามารถเข้ารุกรานและยึดครองอาณาบริเวณต่างๆ ของชนเผ่าอื่น ได้เป็นจำนวนมหาศาล หลังจากกลางคริสต์ศตวรรษที่ 4 ชนฮันก็เริ่มอพยพเข้ามาในบริเวณยุโรปจากทางแม่น้ำวอลกา มาเริ่มการรุกรานโดยการโจมตีชนอาลานี (Alani) ผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่ราบระหว่างแม่น้ำวอลกาและแม่น้ำดอน หลังจากนั้นก็สามารถโค่นจักรวรรดิของออสโตรกอธที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำดอน และแม่น้ำนีสเตอร์ได้ ราวปี ค.ศ. 376 ฮันก็ได้รับชัยชนะต่อวิซิกอธผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณโรเมเนียปัจจุบันซึ่งก็เท่ากับมาถึงเขตแดนแม่น้ำดานูบของจักรวรรดิโรมัน การโยกย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่เข้ามาในยุโรปของฮันที่นำโดยอัตติลาเป็นการนำมาซึ่งความวุ่นวายทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลงทางชาติพันธุ์ครั้งสำคัญของยุโรป.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและจักรวรรดิฮัน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติฮังการี

งชาติฮังการี (Magyarország zászlaja) เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1957 มีทั้งหมด 3 สี คือ สีแดง,สีขาว และ สีเขียว โดยสีแดง หมายถึง เลือดของผู้รักชาติ สีขาว หมายถึง สันติภาพและแม่น้ำดานูบ สีเขียว หมายถึง ความหวังและธรรมชาติ ในประเทศฮังการี และเคยเป็นธงประจำสาธารณรัฐประชาชนฮังการี แบบสร้างธงชาติฮังการี.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและธงชาติฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ทิสซอ

แม่น้ำทิสซอ (Tisza หรือ Tisa) เป็นหนึ่งในแม่น้ำสายสำคัญในยุโรปกลาง ต้นน้ำอยู่ในเทือกเขาคาร์เพเทียน ไหลผ่านยูเครน ไหลไปทางตะวันตก เป็นส่วนหนึ่งของเส้นเขตแดนระหว่างประเทศยูเครนกับประเทศโรมาเนีย แล้วไหลไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านประเทศฮังการี เข้าไปทางเหนือของประเทศเซอร์เบีย ลงสู่แม่น้ำดานูบ แม่น้ำทิสซอมีพื้นที่รองรับน้ำ 156,087 ตร.กม.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและทิสซอ · ดูเพิ่มเติม »

ที่ราบพันโนเนีย

แผนที่แสดงที่ราบพันโนเนีย ที่ราบพันโนเนีย (Pannonian Plain) เป็นที่ราบในยุโรปกลางที่เกิดขึ้นเมื่อทะเลพันโนเนียในสมัยไพลโอซีนเหือดแห้งลง ที่ราบแพนโนเนียเป็นธรณีสัณฐานที่เปลี่ยนแปลงของระบบเทือกเขาแอลป์-หิมาลัย (Alpide belt) โดยมีแม่น้ำดานูบแบ่งที่ราบออกเป็นสองส่วน ที่ราบส่วนใหญ่ประกอบด้วยที่ราบฮังการีใหญ่ (Great Hungarian Plain) ทางตอนใต้และทางตะวันออก และที่ราบฮังการีน้อย (Little Hungarian Plain) ทางตะวันตกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและที่ราบพันโนเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ดราวา

แม่น้ำดราวา (Dráva; Drau; อิตาลี, โครเอเชียและสโลวีเนีย: Drava) เป็นแม่น้ำในทวีปยุโรป อยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางใต้ของทวีป มีต้นน้ำอยู่ที่ทิวเขาคาร์นิกแอลป์ ไหลไปทางตะวันออกผ่านเมืองรัฐทิโรลทางตะวันตกและรัฐคารินเทีย ผ่านทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสโลวีเนีย วกไปทางตะวันออกเฉียงใต้เข้าไปยังบริเวณเหนือสุดของประเทศโครเอเชียกับประเทศฮังการี แล้วไหลลงสู่แม่น้ำดานูบ ใกล้กับเมืองโอซีเยกของประเทศโครเอเชีย แม่น้ำสายนี้มีความยาว 707 กม.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและดราวา · ดูเพิ่มเติม »

คลองเดินเรือสมุทร

ลองปานามา คลองเดินเรือสมุทร (Ship canal) เป็นคลองที่วางแผนเอาไว้โดยเฉพาะเพื่ออำนวยความสะดวกแก่เรือที่ใช้มหาสมุทร ทะเล หรือทะเล.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและคลองเดินเรือสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

คาลาราชี

ลาราชี (Călărași) เป็นเมืองทางทิศใต้-ตะวันออกของประเทศโรมาเนีย ริมฝั่งแม่น้ำดานูบ อยู่ห่างจากชายแดนบัลแกเรียราว 12 กม.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและคาลาราชี · ดูเพิ่มเติม »

ต้นสมัยกลาง

ักรพรรดินีธีโอโดรา พระอัครมเหสีในจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ในงานโมเสกของคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายในมหาวิหารซันวีตาเล เมืองราเวนนา หนังสือสำหรับพิธีศาสนาจากคริสต์ศตวรรษที่ 8 (หอสมุดวาติกัน, Reg. Lat. 316. foll. 131v/132r) ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages) เป็นสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุโรป เริ่มขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันและดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณห้าร้อยปีโดยเริ่มตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 500 จนกระทั่งมาถึงราวปี ค.ศ. 1000 ต้นสมัยกลางสิ้นสุดแล้วจึงต่อด้วยสมัยกลางยุครุ่งโรจน.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและต้นสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ซัลทซ์คัมเมอร์กูท

ซัลทซ์คัมเมอร์กูท (Salzkammergut) เป็นเขตท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในประเทศออสเตรีย กินพื้นที่ตั้งแต่ทางตะวันออกของเมืองซาลซ์บูร์กขนานไปกับแหลมอัลไพน์และกลุ่มภูเขาเขาหินปูนด้านเหนือของเทือกเขาแอลป์ไปจรดที่หมู่เขาดัคชไตน์ ซัลทซ์คัมเมอร์กูทตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐอัปเปอร์ออสเตรีย, รัฐซาลซ์บูร์ก และรัฐสตีเรีย แม่น้ำสายหลักในพื้นที่นี้คือแม่น้ำทราอุนซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาย่อยของแม่น้ำดานูบ ซัลทซ์คัมเมอร์กูทได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกเมื่อปี..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและซัลทซ์คัมเมอร์กูท · ดูเพิ่มเติม »

ซิลิสตรา

ซิลิสตรา (Силистра, Dârstor; Silistra) เป็นเมืองท่า ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศบัลแกเรีย บนฝั่งทิศใต้ของแม่น้ำดานูบ ติดชายแดนของประเทศโรมาเนีย เมืองซิลิสตราเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดซิลิสตรา เป็นเมืองสำคัญด้านวัฒนธรรม อุตสาหกรรม การเดินทาง และการศึกษา ของบัลแกเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมืองเป็นที่ตั้งของค่ายของชาวโรมัน เป็นเมืองป้อมปราการที่สำคัญของชาวไบแซนไทน์และชาวบัลการ์ ตกอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ตกเป็นของบัลแกเรียใน..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและซิลิสตรา · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์สเปน

ตราสัญลักษณ์ของประเทศสเปน โบสถ์ซานตามารีอาเดลนารังโก เมืองโอเบียโด ภาคเหนือ อารามหลวงเอลเอสโกเรียล กรุงมาดริด ภาคกลาง พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ เมืองบาเลนเซีย ภาคตะวันออก ปราสาทอาลัมบรา เมืองกรานาดา ภาคใต้ ประวัติศาสตร์สเปน คือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับอาณาบริเวณส่วนใหญ่บนคาบสมุทรไอบีเรียในภูมิภาคยุโรปใต้ซึ่งมีพัฒนาการสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ผ่านยุครุ่งเรืองและยุคตกต่ำของจักรวรรดิสากลแห่งแรกของโลกจนกลายมาเป็นราชอาณาจักรสเปนในปัจจุบัน อันเป็นช่วงฟื้นฟูตนเองหลังสมัยการปกครองแบบเผด็จการของนายพลฟรังโกได้ผ่านพ้นไป มีอยู่หลายช่วงที่ประวัติศาสตร์การเมืองและการทหารของสเปนเต็มไปด้วยความวุ่นวายและความรุนแรง ส่วนใหญ่เกิดจากนโยบายและความพยายามที่จะจัดการกับความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และความคิดความเชื่อในดินแดนของตนนั่นเอง มนุษย์สมัยใหม่เข้ามาในคาบสมุทรไอบีเรียเป็นเวลานานกว่า 35,000 ปีมาแล้ว ตามมาด้วยคลื่นผู้รุกรานและผู้ตั้งอาณานิคมชนชาติต่าง ๆ ได้แก่ ชาวเคลต์ ชาวฟินิเชีย ชาวคาร์เทจ และชาวกรีกตลอดระยะเวลานับพัน ๆ ปี เมื่อถึงประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทั้งคาบสมุทรจึงตกเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐโรมัน ก่อนจะตกไปอยู่ภายใต้การปกครองจากชาววิซิกอท และในปี ค.ศ. 711 ชาวแอฟริกาเหนือซึ่งเป็นชาวมุสลิม (ชาวมัวร์) ก็เริ่มเข้ามามีอำนาจ ในที่สุดอาณาจักรอิสลามก็ได้รับการสถาปนาขึ้นบนคาบสมุทรแห่งนี้และยืนหยัดได้เป็นเวลาประมาณ 750 ปี ซึ่งพื้นที่ที่ชาวมุสลิมครอบครองนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อัลอันดะลุส แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ยังเป็นช่วงที่เรียกว่า "เรกองกิสตา" หรือการยึดดินแดนคืนของชาวคริสต์ซึ่งค่อย ๆ รุกลงไปทางใต้ เหตุการณ์เหล่านี้ดำเนินไปถึงจุดสิ้นสุดเมื่อชาวคริสต์สามารถพิชิตที่มั่นแห่งสุดท้ายของชาวมุสลิมที่กรานาดาได้ในปี ค.ศ. 1492 จากนั้นราชอาณาจักรและรัฐคาทอลิกต่าง ๆ บนคาบสมุทรไอบีเรียก็ได้พัฒนาขึ้น รวมทั้งราชอาณาจักรคาสตีลและราชอาณาจักรอารากอนด้วย ซึ่งการรวมกันของอาณาจักรทั้งสองนี้จะนำไปสู่ความเป็นปึกแผ่นของรัฐชาติสเปนในเวลาต่อมา ปี..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและประวัติศาสตร์สเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ออสเตรีย

ตราแผ่นดินของออสเตรียปัจจุบัน ประวัติศาสตร์ออสเตรีย ในช่วงก่อนปลายศตวรรษที่ 8 ประเทศออสเตรียมีชนชาติอพยพต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ได้แก่ ชนเผ่าเยอรมันที่ข้ามแม่น้ำดานูบลงมาทางตอนใต้ และชาวสลาฟที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ออสเตรีย จนสิ้นสุดศตวรรษที่ 8 ชาร์เลอมาญ (Charlemagne) ได้ก่อตั้งเขตชายแดนระหว่างแม่น้ำอินส์ แรบและดราวา เพื่อเป็นป้อมปราการ ป้องกันการรุกราน ของชาวเอวาร์ และภายหลังจากที่ชาวโรมันได้อพยพออกไป นักบวชชาวไอริชและสก็อตจึงได้เข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนา ในดินแดนบริเวณเทือกเขาอัลไพน์แห่งนี้ ราชวงศ์บาเบนแบร์ก (Babenberg) ของชาวบาวาเรียนได้เข้าปกครองออสเตรียในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและประวัติศาสตร์ออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบัลแกเรีย

ัลแกเรีย (България) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐบัลแกเรีย (Република България) เป็นประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีชายฝั่งบนทะเลดำไปทางตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับประเทศกรีซและประเทศตุรกีทางใต้ ประเทศเซอร์เบียและสาธารณรัฐมาซิโดเนียทางตะวันตก และประเทศโรมาเนียทางเหนือตามแม่น้ำดานูบบัลแกเรียเคยเป็นอาณานิคมของรัสเซี.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและประเทศบัลแกเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมอลโดวา

มอลโดวา (Moldova) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐมอลโดวา (Republica Moldova) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคยุโรปตะวันออก ตั้งอยู่ระหว่างประเทศโรมาเนียทางทิศตะวันตก และประเทศยูเครนทางทิศตะวันออก มีพรมแดนกับโรมาเนียตามแม่น้ำพรุต (Prut River) และแม่น้ำดานูบ (Danube River) ในอดีตพื้นที่ประเทศมอลโดวาอยู่ในอาณาบริเวณของราชรัฐมอลดาเวีย (Principality of Moldavia) ต่อมาถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซียในปี พ.ศ. 2355 และได้รวมกับดินแดนโรมาเนียอื่น ๆ เป็นประเทศโรมาเนียในปี พ.ศ. 2461 หลังจากเปลี่ยนผู้มีอำนาจเหนือดินแดนนี้ไปมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มอลโดวาก็ได้กลายเป็นดินแดนของสหภาพโซเวียตในชื่อสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลดาเวีย (Moldavian SSR) ระหว่างปี พ.ศ. 2488-2534 จนในที่สุดก็ได้ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2534.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและประเทศมอลโดวา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสโลวาเกีย

ลวาเกีย (Slovakia; Slovensko) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสโลวัก (Slovak Republic; Slovenská republika) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับเช็กเกีย ทางเหนือติดต่อกับโปแลนด์ ทางตะวันออกติดต่อกับยูเครน ทางใต้ติดต่อกับฮังการี และทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับออสเตรีย เมืองใหญ่ที่สุดของประเทศคือเมืองหลวงบราติสลาวา ปัจจุบันสโลวาเกียเป็นรัฐสมาชิกรัฐหนึ่งของสหภาพยุโรป และได้เปลี่ยนสกุลเงินของประเทศจากกอรูนาสโลวักมาเป็นยูโรเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและประเทศสโลวาเกีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฮังการี

ังการี (Hungary, Magyarország มอยอโรรฺซาก) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปกลางที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตทิศเหนือจรดประเทศสโลวาเกีย ทิศตะวันออกจรดประเทศโรมาเนียและประเทศยูเครน ทิศใต้จรดประเทศเซอร์เบียและประเทศโครเอเชีย ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศสโลวีเนียและทิศตะวันตกจรดประเทศออสเตรีย เมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของประเทศคือเมืองบูดาเปสต์ ชื่อประเทศฮังการีในภาษาฮังการี แปลว่า "ประเทศของชาวม็อดยอร์" (Country of the Magyars) ประเทศฮังการีมีพื้นที่ 93,030 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีอาณาเขตเพียงร้อยละ 28 ของพื้นที่ราชอาณาจักรฮังการีเดิมก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยพื้นที่ปัจจุบันนับเป็นอันดับที่ 110 ของโลก โดยมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบในที่ราบพันโนเนีย และมีประชากร 9,919,128 คน นับเป็นอันดับที่ 90 ของโลก ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวม็อดยอร์ ใช้ภาษาฮังการีเป็นภาษาราชการซึ่งเป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฟินแลนด์ และภาษามอลต.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและประเทศฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสเตอร์เจียนขาว

ปลาสเตอร์เจียนขาว (Beluga, European sturgeon, Giant sturgeon, Great sturgeon; Белуга-แปลว่า สีขาว) ปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Acipenseridae มีลักษณะลำตัวยาว ส่วนของหางเหมือนปลาฉลาม มีเกล็ดเป็นหนามแหลม ๆ เรียงเป็นแถวอยู่บนลำตัว ปลายปากเรียวแหลม ช่องปากอยู่ด้านล่างของลำตัวมีหนวดขนาดเล็กหลายเส้นรอบ ๆ ปากไว้รับสัมผัส ส่วนหลังมีสีดำอมเทา ส่วนท้องและขอบครีบต่าง ๆ มีสีขาว เมื่อยังเล็กส่วนท้องจะมีสีขาว ส่วนขอบของครีบมีสีขาว พื้นลำตัวมีสีเทาและหนามบนหลังมีสีขาว จึงเป็นที่มาของชื่อ ปลาสเตอร์เจียนขาว นับเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่มาก เมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 5 เมตร น้ำหนักถึง 900 กิโลกรัม และมีบันทึกว่าพบใหญ่ที่สุดถึง 9 เมตร นับเป็น 2 เท่าตัวของความยาวปลาฉลามขาว ด้วยซ้ำจึงจัดว่าเป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ในธรรมชาติพบการแพร่กระจายในเขตหนาวของทวีปยุโรป เช่น ทะเลดำ, ทะเลสาบแคสเปียน และทะเลเอเดรียติก หากินอยู่ตามพื้นน้ำโดยใช้หนวดสัมผัส อาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ใน..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและปลาสเตอร์เจียนขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาถ้ำ

ำพวกปลาคาราซิน (Characidae) พบในตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปลาถ้ำ (Cave fish) คือปลาที่อาศัยอยู่ในถ้ำที่มืดมิด โดยมากจะเป็นปลาที่มีผิวหนังสีขาวซีดเผือกและตาบอดหรือตาเล็กมากเนื่องจากไม่ได้ใช้สายตาให้เป็นประโยชน์เลย เพราะแสงสว่างส่องเข้าไปไม่ถึง ปลาถ้ำจะมีระบบนิเวศน์และพฤติกรรมของตัวเองโดยเฉพาะ แตกต่างจากปลาที่พบทั่วไป ซึ่ง ปลาถ้ำสามารถพบได้ในถ้ำทุกภูมิภาคของโลก ในส่วนของทวีปยุโรป เพิ่งจะมีการค้นพบปลาถ้ำเป็นครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและปลาถ้ำ · ดูเพิ่มเติม »

นอวีซาด

ทัศนียภาพเมืองนอวีซาด นอวีซาด (Novi Sad) เป็นเมืองในประเทศเซอร์เบีย และเป็นเมืองหลวงของจังหวัดปกครองตนเองวอยวอดีนา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำดานูบ ทางตอนเหนือของประเทศ มีพื้นที่ 1,105 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 341,625 คน หมวดหมู่:เมืองในประเทศเซอร์เบีย.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและนอวีซาด · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำยาโลมีตซา

แม่น้ำยาโลมีตซา (râul Ialomiţa; Ialomița River) เป็นแม่น้ำทางใต้ของประเทศโรมาเนีย ต้นน้ำเกิดจากภูเขาบูเชจี ไหลไปทางใต้และตะวันออก ลงสู่แม่น้ำดานูบ มีความยาว 417 กม.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและแม่น้ำยาโลมีตซา · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำยูรัล

นดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำยูรัลมีลักษณะยาวและเรียวคล้ายกับตีนนก แม่น้ำยูรัล (Ural River) เป็นแม่น้ำที่ไหลจากประเทศรัสเซียถึงประเทศคาซัคสถานซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป โดยไหลลงมาจากทางใต้ของเทือกเขายูรัลและสิ้นสุดที่ทะเลสาบแคสเปียน โดยแม่น้ำสายนี้มีความยาวประมาณ 2428 กิโลเมตร และมีความยาวเป็นอันดับ 3 ของทวีปยุโรป รองจากแม่น้ำวอลกาและแม่น้ำดานูบ น้ำในแม่น้ำยูรัลไหลลงสู่ทะเลสาบแคสเปียนในประเทศคาซัคสถาน ซึ่งร้อยละ 70 ของน้ำในแม่น้ำยูรัลได้มาจากการละลายของหิมะ ส่วนที่เหลือมาจากปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงสู่แม่น้ำ ต้นกำเนิดของแม่น้ำยูรัลเกิดจากเทือกเขายูรัลซึ่งมีความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เป็นเส้นแบ่งทวีประหว่างยุโรปกับเอเชีย ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำยูรัล (Ural delta) มีลักษณะยาว และเรียวคล้ายกับตีนนก (bird’s foot) ซึ่งการแสดงการสะสมตัวของตะกอนในลักษณะนี้สามารถบอกได้ว่า เกิดจากอิทธิพลการไหลของแม่น้ำเป็นหลัก และได้รับอิทธิพลจากคลื่นเล็กน้อย ซึ่งบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปีในสหรัฐอเมริกามีลักษณะแบบนี้เช่นกัน การสะสมของตะกอน (sediment supply) โดยปกติปริมาณตะกอนรวมประมาณ 310 g/m³ ส่วนในฤดูน้ำหลากจะมีปริมาณตะกอนเพิ่มขึ้นจนถึง 2400 g/m³ และในฤดูหนาวจะมีปริมาณตะกอนต่ำสุดประมาณ 0.5 g/m³.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและแม่น้ำยูรัล · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำวาก

แม่น้ำวาก (Váh; Waag; Vág; Wag) เป็นแม่น้ำสายยาวสุดของประเทศสโลวาเกีย มีความยาว 406 กิโลเมตร ไหลผ่านทางทิศเหนือและตะวันตกของสโลวาเกีย ก่อนที่จะไหลลงแม่น้ำดานูบที่เมืองคอมาร์นอ.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและแม่น้ำวาก · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำอีซาร์

อีซาร์ (Isar) เป็นแม่น้ำในรัฐบาวาเรียของประเทศเยอรมนีและรัฐทิโรลของประเทศออสเตรีย มีต้นกำเนิดจากเขาคาร์เวนเดิลของเทือกเขาแอลป์ในรัฐทิโรล และไหลเข้าสู่ประเทศเยอรมนีบริเวณเทศบาลมิทเทนวัลด์ และไหลผ่านนครมิวนิกและเมืองลันด์สฮูท ก่อนที่จะเข้าสู่เขตแม่น้ำดานูบบริเวณเมืองเดงเงนดอร์ฟ รวมระยะทางทั้งหมด 295 กิโลเมตร ถือเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นลำดับสี่ในรัฐบาวาเรีย รองจากแม่น้ำดานูบ, แม่น้ำอินน์ และ แม่น้ำเมน ถือเป็นแม่น้ำสายย่อยของแม่น้ำดานูบที่มีความสำคัญเป็นลำดับสองรองจากแม่น้ำอินน์ หมวดหมู่:แม่น้ำในประเทศเยอรมนี หมวดหมู่:แม่น้ำในประเทศออสเตรีย.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและแม่น้ำอีซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำปรุต

แม่น้ำปรุต (Прут) เป็นแม่น้ำในยุโรปตะวันออก มีต้นน้ำอยู่ที่เทือกเขาคาร์เพเทียน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศยูเครน ไหลไปทางตะวันออกเฉียงใต้ตามพรมแดนด้านตะวันออกของประเทศโรมาเนีย ลงสู่แม่น้ำดานูบใกล้เมืองเรนี ใต้เมืองกาลัตซีลงไป ห่างจากทะเลดำ 121 กิโลเมตร แม่น้ำมีความยาวรวม 953 กม.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและแม่น้ำปรุต · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง (မဲခေါင်မြစ်; ແມ່ນ້ຳຂອງ; ទន្លេដ៏ធំ; Mê Kông) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านบริเวณที่ราบสูงทิเบตและมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ผ่านประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งหมด 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ หลานชางเจียง (จีนตัวย่อ: 澜沧江, จีนตัวเต็ม: 瀾滄江) แปลว่า "แม่น้ำที่มีความเชี่ยวกราก" และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่าและประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่าแม่น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญและพบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงได้แก่ ปลาบึก.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำไรน์

แผนที่แดงเส้นทางแม่น้ำจากเทือกเขาแอลป์สู่ทะเลเหนือ ไรน์ (Rhine; Rein; Rhein; Rhin; Rijn) เป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดในทวีปยุโรป มีความยาวทั้งสิ้น 1,230 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับสองรองจากแม่น้ำดานูบ มีต้นน้ำจากเทือกเขาแอลป์ ไหลผ่านประเทศสวิตเซอร์แลนด์, ลิกเตนสไตน์, ออสเตรีย, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, ลักเซมเบิร์ก, เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ไปออกทะเลเหนือ แม่น้ำไรน์เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งทางน้ำที่สำคัญ สามารถขนสินค้าเข้าสู่ภายในแผ่นดินยุโรปได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังมีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์และภูมิศาสตร์ในการเป็นเส้นแบ่งเขตแดนที่สำคัญของยุโรป ร ร ร ร ร ร ร หมวดหมู่:แม่น้ำในทวีปยุโรป.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและแม่น้ำไรน์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเทราน์

เทราน์ (Traun) เป็นแม่น้ำในรัฐอัปเปอร์ออสเตรียของประเทศออสเตรีย มีต้นน้ำไหลมาจากทิวเขาโทเทิสในรัฐสตีเรีย ไหลผ่านทะเลสาบสองแห่งอันได้แก่ทะเลสาบฮัลชตัทและทะเลสาบเทราน์ในแหล่งมรดกโลกซัลทซ์คัมเมอร์กูท ก่อนไปบรรจบกับแม่น้ำดานูบบริเวณเมืองลินซ์ ก่อนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 แม่น้ำสายนี้เป็นเส้นทางคมนาคมเพียงเส้นทางเดียวที่จะไปถึงหมู่บ้านฮัลชตัท เทราน์.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและแม่น้ำเทราน์ · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ ชเตราสส์ ที่หนึ่ง

ันน์ ชเตราสส์ ที่หนึ่ง โยฮันน์ สเตร๊าสส์ ที่หนึ่ง (เยอรมัน: Johann Strauß - หรือที่รู้จักกันในนามของ โยฮันน์ สเตร๊าสส์ ซีเนียร์ เกิดเมื่อวันที่14 มีนาคม พ.ศ. 2347 เสียชีวิตเมื่อวันที่25 กันยายน พ.ศ. 2392) เป็นคีตกวีชาวออสเตรีย ผลงานที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักได้แก่เพลงวอลซ์ และเพื่อทำให้เพลงประเภทนี้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น โยเซฟ แลนเนอร์ จึงได้ (โดยไม่ตั้งใจ) จัดตั้งมูลนิธิขึ้นเพื่อให้บุตรชายของเขาสืบสานอาณาจักรดนตรีต่อไป อย่างไรก็ดี บทเพลงของเขาที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดเห็นจะได้แก่ ราเด็ตสกี้มาร์ช (ตั้งชื่อตามโยเซฟ ราเด็ตสกี้ ฟอน ราเด็ตส์) ในขณะที่เพลงวอลซ์ที่เลื่องชื่อที่สุดของเขาได้แก่ Lorelei Rhine Klänge โอปุส 154.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและโยฮันน์ ชเตราสส์ ที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

โอซีเยก

อซีเยก (Osijek; Eszék; Esseg) คือเมืองใหญ่อันดับที่สี่ของประเทศโครเอเชีย ตั้งอยู่ในภูมิภาคทางทิศตะวันออกของโครเอเชียที่เรียกว่าสลาโวเนีย (Slavonija; Slavonia) ใกล้กับชายแดนประเทศฮังการีและประเทศเซอร์เบีย มีแม่น้ำดราวาเป็นแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านเมือง ได้รับการยกย่องอย่างไม่เป็นทางการว่าเป็นเมืองหลวงของภูมิภาคสลาโวเนีย ด้านประวัติศาสตร์โอซีเยกมีอายุยืนยาวติดต่อกันมากว่า 800 ปี ผ่านการปกครองจากหลายอาณาจักรทั้งราชอาณาจักรฮังการี, อาณาจักรออตโตมัน, ฮับส์บูร์ก, ออสเตรีย-ฮังการี รวมถึง ยูโกสลาเวีย ในช่วงทศวรรษที่ 90 โอซีเยกเป็นหนึ่งในเมืองซึ่งได้รับความเสียหายมากที่สุดในสงครามการประกาศอิสรภาพของโครเอเชีย ทำให้เมืองซึ่งเคยเฟื่องฟูในฐานะเมืองอุตสาหกรรมหลักแห่งนึงของรัฐโครเอเชียในสหพันธรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียประสบกับปัญหาความซบเซาทางเศรษฐกิจ แม้กระทั่งทุกวันนี้ก็ยังไม่ฟื้นตัวดีนัก ปัจจุบันนี้ด้วยประชากรราวๆ 108,000 คน โอซีเยกจึงเป็นศูนย์กลางการปกครองของเขตโอซีเยก-บารานยา เป็นที่ตั้งของสนามบินเพียงแห่งเดียวในภูมิภาคสลาโวเนียตะวันออก มีความสำคัญในฐานะศูนย์รวมความเจริญทางเศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม ศาสนา การคมนาคม และการท่องเที่ยว.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและโอซีเยก · ดูเพิ่มเติม »

โดรเบตา-ทูร์นูเซเวรีน

รเบตา-ทูร์นูเซเวรีน (Drobeta; Szörényvár, Szörénytornya; Северин; Дробета-Турну Северин/Drobeta-Turnu Severin) เป็นเมืองในเมเฮดินต์ซีเคาน์ตี ประเทศโรมาเนีย ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำดานูบ ทางใต้ของโกรกธารไอร์ออนเกต เมืองมีประชากร 86,475 คน (ค.ศ. 2011) โดยเพิ่มขึ้นจาก 18,628 คน ในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและโดรเบตา-ทูร์นูเซเวรีน · ดูเพิ่มเติม »

เบรียนทซ์

รียนทซ์ (Brienz) เป็นหมู่บ้านและเทศบาลในรัฐแบร์นของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งอยู่ทางตะวันออกติดกับทะเลสาบเบรียนทซ์ จากหมู่บ้านแห่งนี้สามารถมองเห็นทิวเขาชวาทซ์ฮอร์นซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านได้ บริเวณนี้ปรากฎการตั้งรกรากมาตั้งแต่ยุคหินใหม่และยุคสัมฤทธิ์ ซึ่งในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวเคลต์ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในหุบเขาแอลป์บริเวณริมแม่น้ำโรน แม่น้ำไรน์ และแม่น้ำดานูบ ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ชาวโรมันก็ได้พิชิตดินแดนในแถบนี้และเข้าตั้งถิ่นฐาน อย่างไรก็ตาม อารยธรรมของโรมันในแถบนี้ได้ถูกทำลายลงโดยชนอลามันน์ในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและเบรียนทซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เบลเกรด

ลเกรด (Belgrade) หรือ เบออกรัด (Београд) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเซอร์เบีย มีการตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในบริเวณนี้ตั้งแต่สมัยก่อนยุคประวัติศาสตร์ เมื่อ 5,700-4,800 ปีก่อนคริสต์ศักราช จุดเริ่มต้นของเมืองถูกก่อตั้งโดยชาวเคลต์กลุ่ม Scordisci ในศตวรรษที่สามก่อนศริสตศักราช ก่อนจะกลายมาเป็นที่ตั้งของเมืองโรมันในนาม Singidunum นับแต่อดีตมาเบลเกรดเป็นป้อมปราการที่สำคัญให้แก่ชนกลุ่มต่างๆตลอดระยะเวลากว่าสองพันปี ถูกทำลายแล้วสร้างกลับขึ้นมาใหม่หลายสิบครั้ง ด้วยประชาการกว่า 1,600,000 คน ปัจจุบันนี้ เบลกราดก็ถือเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศที่อดีตเคยรวมตัวกันเป็นยูโกสลาเวีย เป็นที่ตั้งของสนามบินที่เพียงแห่งเดียวในการเดินทางเข้าสู่เซอร์เบีย นับได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา การคมนาคมและการท่องเที่ยวของประเท.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและเบลเกรด · ดูเพิ่มเติม »

เบเลเน

ลเน เบเลเน (Белене) เป็นเมืองในจังหวัดเพลเวน ทางตอนเหนือของประเทศบัลแกเรีย เมืองตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำดานูบใกล้กับเมืองสวีชตอฟ ในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและเบเลเน · ดูเพิ่มเติม »

เรเกินส์บวร์ค

รเกินส์บวร์ค (Regensburg; (Castra-Regina; Řezno; Ratisbonne; older English: Ratisbon)) เป็นนครทางใต้-ตะวันออกของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำดานูบ แม่น้ำนาบ และแม่น้ำเรเกิน มีประชากรมากกว่า 140,000 คน เรเกินส์บวร์คเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 4 ของรัฐบาวาเรีย ถัดจากมิวนิก เนือร์นแบร์ก เอาก์สบูร์ก เมืองเป็นศูนย์กลางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของบาวาเรียตะวันออก ศูนย์กลางของเมืองยุคกลาง ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและเรเกินส์บวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

เวียนนา

วียนนา (Vienna) หรือ วีน (Wien) เป็นเมืองหลวงของประเทศออสเตรีย และเป็นชื่อเขตการปกครองในออสเตรียด้วย เวียนนาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในออสเตรีย เป็นศูนย์กลางทั้งเศรษฐกิจและการปกครอง มีประชากรประมาณ 1.8 ล้านคน มีแม่น้ำดานูบไหลผ่าน เวียนนายังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานในสหประชาชาติหลายแห่ง เช่น United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) และองค์กรระดับนานาชาติหลายแห่ง เช่น โอเปก (OPEC).

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและเวียนนา · ดูเพิ่มเติม »

เสามาร์กุส เอาเรลิอุส

มาร์กุส เอาเรลิอุส (Columna Centenaria Divorum Marci et Faustinae, Colonna di Marco Aurelio, Column of Marcus Aurelius) เป็นคอลัมน์ดอริคที่ประกอบด้วยลายสลักภาพนูนเป็นเกลียวรอบลำเสาที่สร้างขึ้นเป็นเกียรติแก่จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสตามแบบเสาไตรยานุส เสามาร์กุส เอาเรลิอุสยังคงตั้งอยู่ที่ตั้งดั้งเดิมที่จัตุรัสโคลอนนาก่อนหน้าวังคีกีในกรุงโรมในประเทศอิตาลี.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและเสามาร์กุส เอาเรลิอุส · ดูเพิ่มเติม »

เส้นทางการค้า

้นทางการค้า (trade route) คือเส้นทางที่ในเครือข่ายที่บ่งว่าเป็นเส้นทางและจุดหยุดพักที่ใช้ในการขนส่งสินค้าไปยังตลาดที่อยู่ในดินแดนที่ไกลออกไปจากต้นแหล่งที่ผลิตสินค้ามาก เส้นทางการค้าแต่ละเส้นทางก็จะประกอบด้วยถนนสายหลัก (Arterial road) ที่อาจจะมีเครือข่ายย่อยๆ ที่ใช้เป็นเส้นทางการค้าและการคมนาคมมาบรรจบ ในประวัติศาสตร์ช่วงตั้งแต่ปี 1532 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

เดชเตอัปเตอ-เต รอมือเน!

"เดชเตอัปเตอ-เต รอมือเน" (Deșteaptă-te, române!) เป็นชื่อของเพลงชาติโรมาเนียในปัจจุบัน ชื่อดังกล่าวมีความหมายว่า "ตื่นเถิดเจ้า, ชาวโรมาเนีย" บทร้องเป็นผลงานกวีนิพนธ์ของ อันเดรย์ มูเรชานู (Andrei Mureșanu, ค.ศ. 1816–1863) ทำนองมาจากเพลงยอดนิยมของชาวโรมาเนีย ซึ่งแหล่งข้อมูลส่วนมากกล่าว ทำนองนี้ถูกเลือกมาใช้ประกอบบทกวีดังกล่าวโดย เกออร์เก้ อูเคเนสคู (Gheorghe Ucenescu) บทเพลงถูกเขียนขึ้นและพิมพ์เผยแพร่ในช่วงการปฏิวัติต่อต้านราชวงศ์ฮับสบูรก์ในปี ค.ศ. 1848 โดยเริ่มเผยแพร่ครั้งแรกในชื่อ "อุน ราซูเนต" ("Un răsunet" - "เสียงสะท้อน") และได้ถูกนำไปขับร้องครั้งแรกในช่วงปลายเดือนมิถุนายนปีเดียวกันในถนนสายต่างๆ ของจตุรัสเชอี (Şcheii Braşovului) เมืองบาร์ชอฟ (Brașov) เพลงนี้จึงได้รับการยอมรับให้เป็นเพลงแห่งการปฏิวัติในเวลาไม่นาน และได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "เดชเตอัปเตอ-เต รอมือเน!" นับตั้งแต่นั้นมา เพลงนี้ ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงเสรีภาพและความรักชาติ ก็ได้ถูกนำไปขับร้องในเหตุขัดแย้งสำคัญครั้งต่างๆ ของชาวโรมาเนีย อันรวมถึงการปฏิวัติต่อต้านการปกครองของนิโคไล เซาเชสคู ในปี ค.ศ. 1989 หลังการปฏิวัติ เพลงนี้ได้กลายเป็นเพลงชาติโรมาเนียแทนที่เพลง "เทร็ย คูลอรี" ("Trei culori" - "ไตรรงค์") อันเป็นเพลงชาติในสมัยระบอบคอมมิวนิสต์ ปัจจุบันวันที่ 29 กรกฎาคม เป็น "วันเพลงชาติ" (Ziua Imnului național) เป็นวันหยุดราชการของประเทศโรมาเนีย เพลงนี้ยังเคยใช้ในวาระสำคัญในสมัยสาธารณรัฐประชาธิปไตยมอลเดเวีย ซึ่งดำรงอยู่ในช่วงสั้นๆ ระหว่างปี..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและเดชเตอัปเตอ-เต รอมือเน! · ดูเพิ่มเติม »

เดอะบลูดานูบ

หน้าปกของชีทมิวสิก โน้ตท่อนแรกของ ''The Blue Danube'' พร้อมลายเซ็นของชเตราสส์ เดอะบลูดานูบ (The Blue Danube) เป็นชื่อที่รู้จักกันทั่วไปของ An der schönen blauen Donau op.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและเดอะบลูดานูบ · ดูเพิ่มเติม »

เซมุน

ซมุน (Zemun.; Земун.) เป็นแขวงย่อย 1 ในทั้งหมด 17 แขวงซึ่งประกอบกันเข้าเป็นเขตปกครองพิเศษใต้อำนาจการปกครองของกรุงเบลเกรด โดยอยู่ทางทิศตะวันตกของใจกลางกรุงเบลเกรดข้ามแม่น้ำซาวาไปทางฝั่งซ้ายและมีแม่น้ำดานูบเป็นเส้นแบ่งเขตของแขวงเซมุนออกจากแขวงปาลิลูลาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แต่เดิมมา ประวัติศาสตร์ของเซมุนนั้นเป็นเมืองซึ่งแยกออกจากเบลเกรดโดยสิ้นเชิง เคยเป็นเมืองชายแดนระหว่างรัฐมาหลายยุค โดยเฉพาะความสำคัญที่สุดของเซมุนในหน้าประวัติศาสตร์คือช่วงตั้งแต่หลังสนธิสัญญาเบลเกรดในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและเซมุน · ดูเพิ่มเติม »

เนินปราสาท

ซิสเตอรงที่ตั้งอยู่เหนือตัวเมืองที่ตั้งอยู่ต่ำลงมารอบ ๆ ปราสาท โวบ็อง ซิทาเดลลาที่ตั้งอยู่บนเนินเหนือแม่น้ำดานูบที่บูดาเปสต์ในฮังการี เนินปราสาท (citadel) คือป้อมปราการสำหรับป้องกันเมือง บางครั้งก็จะมีปราสาทรวมอยู่ด้วย หรือบางครั้งก็อาจจะหมายถึงบริเวณที่สูงที่สุดของตัวเมือง ในภาษาอังกฤษคำว่า "citadel" มีรากจากภาษาละตินเช่นเดียวกับคำว่า "city" ว่า "civis" ที่แปลว่า "พลเมือง" ในระบบป้อมปราการที่มีมุขป้อมยื่นออกไป เนินปราสาทคือส่วนที่มั่นคงที่สุดของระบบ บางครั้งก็จะตั้งลึกเข้าไปจากกำแพงนอกและมุขป้อม แต่ก็มักจะมีส่วนหนึ่งที่ติดกับกำแพงด้านนอกเพื่อเป็นการประหยัดการสร้างกำแพงใหม่สำหรับตัวสิ่งก่อสร้างหลัก เนินปราสาทจะเป็นระบบการป้องกันขั้นสุดท้ายถ้าข้าศึกสามารถบุกเข้าในปราสาทจากกำแพงชั้นต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่รอบนอกได้ นอกจากนั้นในยุคกลาง "เนินปราสาท" เป็นคำที่ใช้เรียกส่วนที่สามของปราสาทที่มีกำแพงที่สูงกว่ากำแพงอื่น ๆ ของเมือง ซึ่งเป็นที่มั่นสุดท้ายของระบบการป้องกันก่อนที่จะถึงตัวหอกลาง โครงสร้างที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ทราบที่ใช้เป็นเนินปราสาทสร้างในสมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเมื่อเนินปราสาทถือว่าเป็นศูนย์กลางของการบริหาร แต่วัตถุประสงค์ของโครงสร้างก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แม้ว่าโครงสร้างที่พบที่ซากโมเฮนโจ-ดาโร (ภาษาสินธี: मोइन जो दड़ो) หรือ "เนินมรณะ" จะเป็นโครงสร้างที่มีกำแพงล้อมรอบ แต่ก็ไม่เป็นที่ชัดแจ้งว่าจะเป็นกำแพงที่สร้างขึ้นเพื่อการป้องกันการโจมตีจากข้าศึกหรือไม่ ข้อสันนิษฐานข้อหนึ่งคือเป็นกำแพงที่สร้างขึ้นเพื่อเปลี่ยนทิศทางการไหลของกระแสน้ำท่วม ในสมัยกรีกโบราณ เนินปราสาทอะโครโพลิสตั้งเด่นอยู่บนเนินสูงที่มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้แต่ไกล อะโครโพลิสแห่งเอเธนส์ประกอบด้วยสถานที่สำหรับหลบภัย และ ที่มั่น ที่เป็นที่เก็บเสบียงและอาวุธ, เทวสถานสำหรับเทพเจ้า และ พระราชวัง อะโครโพลิสที่มีชื่อเสียงที่สุดคืออะโครโพลิสแห่งเอเธนส์ แต่อะโครโพลิสเป็นองค์ประกอบของการสร้างเมืองแทบทุกเมืองในสมัยกรีกโบราณ เช่นอะโครโพลิสแห่งคอรินท์ (Acrocorinth) ที่มีชื่อเสียงว่ามีระบบป้อมปราการที่มั่นคงที่แข็งแรง ในสมัยต่อมาเมื่อกรีซปกครองโดยจักรวรรดิละติน องค์ประกอบนี้ก็ได้รับการนำไปใช้โดยผู้ปกครองใหม่โดยมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกัน เนินปราสาทมีชื่อเรียกกันไปต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาคเช่น "เครมลิน" (kremlin) ในรัสเซีย หรือ "อัลกาซาร์" (alcázar) ในคาบสมุทรไอบีเรีย ในเมืองในยุโรปคำว่า "citadel" และ "city castle" มักจะใช้สลับความหมายกันได้ หรือบางครั้งก็อาจจะใช้คำว่า "tower" แทนได้เช่น ทาวเวอร์ออฟลอนดอน หรือ ทาวเวอร์ออฟเดวิดในเยรูซาเลม ในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ โดยเฉพาะในยุคกลาง เนินปราสาทที่มีระบบการป้องกันทางการทหารอิสระจากกำแพงเมืองเป็นระบบการป้องกันขั้นสุดท้ายของข้าศึกที่มาล้อมเมือง เมืองจะเสียก็ต่อเมื่อเสียเนินปราสาท เช่นในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและเนินปราสาท · ดูเพิ่มเติม »

1 E6 m

ำหรับการเปรียบเทียบอันดับของขนาด (อังกฤษ: orders of magnitude) หน้านี้เป็นเป็นรายชื่อความยาวตั้งแต่ 1 Mm (1,000 กม.) ถึง 10 Mm (10,000 กม.) (106 และ 107 ม.) ---- ความยาวน้อยกว่า 106 เมตร ----.

ใหม่!!: แม่น้ำดานูบและ1 E6 m · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Danube

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »