โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาปรากฤต

ดัชนี ภาษาปรากฤต

ษาปรากฤต (Prakrit) เป็นภาษาโบราณกลุ่มหนึ่งในอินเดียสมัยโบราณ จัดอยู่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (อินเดีย-ยุโรป)ในสาขาย่อย ภาษากลุ่มอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) โดยมากจะจัดเป็นภาษาที่มีวิวัฒนาการในกึ่งกลาง ระหว่างภาษาโบราณกับภาษาสมัยใหม่ ที่เรียก ภาษาปรากฤตนี้ ไม่ได้หมายจำเพาะไปที่ตัวภาษาหนึ่งภาษาใด แต่เป็นการเรียกภาษากลุ่มหนึ่งในระดับภาษาถิ่น และเป็นการยากที่จะระบุให้ชัดว่าภาษาปรากฤตคืออย่างไร และนักวิชาการด้านภาษาอินเดียก็ยังมีความเห็นไม่ลงรอยกัน บ้างก็ว่าหมายถึงภาษาถิ่นอินเดียยุคใหม่ รวมทั้งในยุคกลาง หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ภาษาอื่นนอกเหนือจากภาษาสันสกฤตและภาษาพระเวท บ้างก็ว่าหมายถึงภาษาอินเดียยุคใหม่ ที่วิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤตยุคกลาง นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอว่า ภาษาปรากฤตคือภาษาถิ่นของภาษาสันสกฤต และยังมีความเห็นว่า ภาษาบาลี ก็อาจจัดอยู่ในกลุ่มภาษาปรากฤตก็ได้ หลักฐานภาษาปรากฤตที่เก่าแก่ที่สุด คือจารึกอโศก บนเสาอโศก ที่พระเจ้าอโศกมหาราชรับสั่งให้สร้างขึ้น โดยใช้อักษรพราหมี ทว่าไม่ปรากฏว่ามีการใช้ภาษาปรากฤตในงานวรรณกรรมอย่างกว้างขวาง แต่กลับมีการใช้ในรูปของภาษาพูด ดังจะพบได้จากบทละครภาษาสันสกฤต ที่ให้ตัวละครในวรรณะสูงพูดภาษาสันสกฤต ขณะที่วรรณะต่ำจะพูดภาษาปรากฤต หรือภาษาอปรภรัมศะ คำว่า ปรากฤต ในภาษาสันสกฤต นั้น หมายถึง ธรรมชาติ ปกติ ดั้งเดิม หรือท้องถิ่น ฯลฯ นักภาษาศาสตร์จึงสันนิษฐานว่า ภาษาปรากฤต น่าจะหมายถึงภาษาที่มีวิวัฒนาการโดยธรรมชาติตามกระบวนการทางภาษา ซึ่งตรงข้ามกับภาษา สันสกฤต ที่หมายถึง ขัดเกลาแล้ว อันเป็นภาษาที่ได้รับการวางระเบียบกฎเกณฑ์โดยนักปราชญ์ ในแง่ของไวยากรณ์แล้ว ภาษาปรากฤตมีความซับซ้อนน้อยกว่าภาษาสันสกฤตอย่างมาก ไม่มีทวิพจน์ มีการกน้อยกว่า และมีการแจกกริยาที่ง่ายกว่า และคำศัพท์ทั้งหมดในภาษาปรากฤตก็มาจากต้นกำเนิดในภาษาอินเดียโบราณ ภาษาอรรธมคธีเป็นรูปแบบโบราณของภาษามคธี ซึ่งใช้ในการเขียนเอกสารทางศาสนาเชน และมักเป็นตัวแทนของภาษาปรากฤต นักไวยากรณ์ของภาษาปรากฤตจะแสดงไวยากรณ์ของภาษาอรรธมคธีก่อน เพราะฉะนั้นในการเรียนภาษาปรากฤต มักจะเริ่มด้วยภาษาอรรธมคธี.

32 ความสัมพันธ์: บาลี (แก้ความกำกวม)พระเจ้าอโศกมหาราชกลุ่มภาษาอินโด-อารยันกษัตริย์ภาษาบาลีภาษาพระเวทภาษากงกณีภาษามราฐีภาษามหาราษฏรีภาษามัลดีฟส์ภาษามณีปุระพิษณุปุระภาษามคธภาษาสันสกฤตภาษาฮินดูสตานีภาษาฮินดีภาษาทมิฬภาษาซากาภาษาซูเมอร์ภาษาโอริยาภาษาเบงกาลีภาษาเตลูกูมหายานราชวงศ์โมริยะรายชื่อภาษาสัทธรรมปุณฑรีกสูตรสุชิน ทองหยวกสุชีพ ปุญญานุภาพอักษรพราหมีจักรวรรดิศุงคะจักรวรรดิสาตวาหนะจักรวรรดิปาละปราณี ฬาพานิช

บาลี (แก้ความกำกวม)

ลี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและบาลี (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอโศกมหาราช

ระเจ้าอโศกมหาราช (अशोकः; พ.ศ. 240 - พ.ศ. 312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) เป็นจักรพรรดิอินเดียโบราณแห่ง ราชวงศ์โมริยะ หรือเมารยะผู้ปกครอง อนุทวีปอินเดีย เกือบทั้งหมดพระองค์เป็นราชนัดดา (หลาน) ของผู้ก่อตั้งราชวงศ์เมารยะคือ พระเจ้าจันทรคุปต์ ผู้สร้างหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียโบราณและจันทรคุปต์สละทั้งหมดแล้วบวชเป็นนักบวชเชน พระเจ้าอโศกเป็นหนึ่งในจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของอินเดียพระองค์ขยายจักรวรรดิของพระเจ้าจันทรคุปต์และครอบครองเหนือดินแดนตั้งแต่ทางทิศตะวันตกคือพื้นที่ ประเทศอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันขยายออกไปทางทิศตะวันออกถึงบังกลาเทศ เป็นพื้นที่ครอบคลุมอนุทวีปของชาวอินเดียทั้งหมดยกเว้นพื้นที่ที่เป็น รัฐทมิฬนาฑู ในปัจจุบัน คาร์นาตากาและรัฐเกรละ เมืองหลวงของจักรวรรดิคือเมืองปาฏลีบุตร (ในแคว้นมคธปัจจุบันนี้คือเมืองปัฏนะ)พร้อมด้วยเมืองหลวงต่างจังหวัดคือเมือง ตักศิลา และเมืองอุชเชน หรือ อุชเชนี ในครั้งพุทธกาล ประมาณ..

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและพระเจ้าอโศกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน

ตที่มีผู้พูดกลุ่มภาษาอินโดอารยัน กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน เป็นสาขาย่อยของกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน จากรายงานใน..

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน · ดูเพิ่มเติม »

กษัตริย์

กษัตริย์ (क्षत्रिय กฺษตฺริย; khattiya ขตฺติย; ปรากฤต:khatri) เป็นวรรณะหนึ่งในสังคมชาวฮินดู (อีก 4 วรรณะที่เหลือคือพราหมณ์ แพศย์ และศูทร).

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและกษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพระเวท

ษาพระเวท (Vedic Sanskrit) เป็นคำที่ใช้เรียกภาษาของชาวอารยันในยุคเริ่มแรก (ก่อนพ.ศ. 43) ซึ่งเป็นภาษาที่ชาวอารยันใช้เขียนคัมภีร์พระเวทและเป็นต้นตระกูลของภาษาอื่นๆในอินเดีย กล่าวคือเมื่อชาวอารยันติดต่อกับสมาคมกับชาวพื้นเมืองเดิมในอินเดียทำให้เกิดการปะปนกันของภาษาจนวิวัฒนาการเป็นภาษาปรากฤต เช่น ภาษามคธี ภาษาอรรธมคธี ภาษาเศารเสนี ภาษามหาราษฏระ ในยุคนี้เอง นักปราชญ์ชาวอารยันที่ยังใช้ภาษาพระเวทอยู่นั้นเห็นว่า หากปล่อยไว้ภาษาของตนจะปะปนกับภาษาอื่นจนเสียความบริสุทธิ์ของภาษาไป จึงมีการจัดระเบียบภาษาพระเวทขึ้นใหม่โดยวางกฎเกณฑ์ให้เป็นระบบ ตำราไวยากรณ์ที่มีชื่อเสียงคืออัษฏาธยายีของปาณินิ ภาษาที่จัดระเบียบแล้วนี้เรียกภาษาสันสกฤต ส่วนภาษาปรากฤตทั้งหลายนั้นได้วิวัฒนาการมาเป็นภาษาที่ใช้ในอินเดียปัจจุบัน เช่น ภาษาฮินดี ภาษามราฐี ภาษาคุชราต ภาษาเบงกาลี ภาษาปัญจาบ ภาษาอูรดู ภาษาพาชตู ภาษาสิงหล เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและภาษาพระเวท · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากงกณี

ษากงกณี(อักษรเทวนาครี: कोंकणी; อักษรกันนาดา:ಕೊಂಕಣಿ; อักษรมาลายาลัม:കൊംകണീ; อักษรโรมัน: Konknni) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยัน โดยมีคำศัพท์จากภาษาดราวิเดียนปนอยู่ด้วย ได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่นหลายภาษา ทั้งภาษาโปรตุเกส ภาษากันนาดา ภาษามราฐี ภาษาเปอร์เซีย และภาษาอาหรับ มีผู้พูดประมาณ 7.6 ล้านคน http://www.ethnologue.com/show_language.asp?code.

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและภาษากงกณี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามราฐี

ษามราฐี (मराठी) เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลอินเดีย-ยุโรป หรืออินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) ที่พูดกันในประเทศอินเดีย และใช้เป็นประจำรัฐอย่างเป็นทางการของรัฐมหาราษฏระและรัฐใกล้เคียง โดยใช้อักษรที่เรียกว่า อักษรเทวนาครี นอกจากนี้ภาษามราฐียังเป็นหนึ่งใน 18 ภาษาประจำชาติอย่างเป็นทางการของอินเดียด้วย โดยมีผู้ใช้เกือบร้อยล้านคน เฉพาะในรัฐมหาราษฏระ มีผู้ใช้ภาษามราฐีราว 90 ล้านคน ทั้งยังนับเป็นภาษาหนึ่งที่มีประวัติยาวนาน จารึกภาษามราฐีที่เก่าที่สุด พบครั้งแรกในรัฐกรณาฏกะ เป็นจารึก ของอินเดีย สันนิษฐานจารึกไว้เมื่อประมาณ 1,300 ปีที่แล้ว.

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและภาษามราฐี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามหาราษฏรี

ษามหาราษฏรี (Maharashtri; ภาษามราฐี: महाराष्ट्री प्राकृत) เป็นภาษาในอินเดียยุคกลางและยุคโบราณ พัฒนามาจากภาษาสันสกฤต เคยใช้พูดในบริเวณที่เป็นรัฐมหาราษฏระและส่วนอื่นๆของอินเดีย เป็นต้นกำเนิดของภาษามราฐี รวมทั้งภาษากอนกานี ภาษามัลดีฟส์และภาษาสิงหล จัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง และเป็นภาษาปรากฤตที่ใช้ในบทละครและแพร่หลายที่สุดด้วย โดยเฉพาะบทละครของกาลิทาสใช้พูดตั้งแต่ทางเหนือจากมัลวาและราชปุตนะไปจนถึงกฤษณะและบริเวณแม่น้ำตุงคภัทรทางใต้ ภาษามหาราษฏระเป็นหนึ่งในภาษาปรากฤตที่เข้ามามีบทบาทเมื่อเลิกใช้ภาษาสันสกฤตในการติดต่อสื่อสาร โดยแพร่หลายในช่วง..

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและภาษามหาราษฏรี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามัลดีฟส์

ษามัลดีฟส์ (Maldivian language) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันและเป็นภาษาราชการของประเทศมัลดีฟส์ มีคนพูดประมาณ 300,000 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมัลดีฟส์ รวมทั้งภาษามาห์ล (Mahl dialect) ที่ใช้ในลักษทวีป ซึ่งเป็นดินแดนสหภาพของอินเดีย เรียกชื่อต่างกันด้วยเหตุผลทางการเมือง ภาษาที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของภาษามัลดีฟส์มีหลายภาษา โดยเฉพาะภาษาอาหรับ ที่เข้ามาพร้อมกับศาสนาอิสลาม รวมทั้ง ภาษาสิงหล ภาษามาลายาลัม ภาษาฮินดี ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเปอร์เซีย ภาษาโปรตุเกส และ ภาษาอังกฤษ คาดว่าภาษามัลดีฟส์และภาษาสิงหลสืบมาจากภาษาเดียวกัน ซึ่งได้สูญพันธุ์ไป เมื่อเกิดภาษาใหม่ 2 ภาษาในช่วงประมาณ..

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและภาษามัลดีฟส์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามณีปุระพิษณุปุระ

ษามณีปุระพิษณุปุระ (ইমার ঠার/বিষ্ণুপ্রিয়া মণিপুরী) เป็นภาษาในกลุ่มอินโด-อารยัน พูดในบางส่วนของแคว้นอัสสัม, ตรีปุระ, มณีปุระในประเทศอินเดีย และบางส่วนของบังกลาเทศ และพม่าต่างจากภาษามณีปุระหรือภาษาไมไตที่เป็นตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม.

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและภาษามณีปุระพิษณุปุระ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามคธ

ษามคธ (อ่านว่า มะ-คด บางครั้งเรียก มาคธี, มคธี หรือ มคฮี) เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาโภชปุรีและภาษาไมถิลีจัดอยู่ในกลุ่มของภาษาพิหาร ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีผู้พูด 13 ล้านคนในเขตมคธของรัฐพิหารและบริเวณใกล้เคียงอื่นๆรวมถึงบางบริเวณในรัฐเบงกอลตะวันตก เขียนด้วยอักษรเทวนาครี ระบบเสียงใกล้เคียงกับภาษาฮินดีและพอจะเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษาฮินดีหรือภาษาพิหารอื่นๆ มีนิทานและเพลงพื้นบ้านมาก เชื่อกันว่ารูปแบบโบราณของภาษามคธคือภาษาที่ใช้พูดในสมัยพุทธกาลและในราชอาณาจักรมคธ พุทธศาสนาเถรวาทใช้ภาษาบาลีซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของภาษามคธโบราณ ยังมีภาษาที่อยู่ระหว่างภาษาบาลีกับภาษามคธ เรียกว่า ภาษาอรธมาคธี (แปลว่า ภาษากึ่งมคธ) ซึ่งใช้ในคัมภีร์ของศาสนาเชน ความต่างของภาษามคธกับภาษาอรธมาคธี อยู่ในรูปแบบเดียวกับความต่างจากภาษาบาลี ภาษามคธยังเป็นชื่อของภาษาปรากฤตที่ใช้ในการแสดงละคร และเป็นภาษาที่ใช้พูดในรัฐพิหารในยุคกลาง เป็นต้นกำเนิดของภาษาเบงกาลี ภาษาโอริยาและภาษาพิหาร.

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและภาษามคธ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮินดูสตานี

ภาษาฮินดูสตานี (เทวนาครี: हिन्दुस्तानी; อาหรับ: ہندوستانی) เป็นคำที่เกิดในสมัยที่อังกฤษครอบครองอินเดียและปากีสถาน โดยอังกฤษนำภาษาฮินดีกับภาษาอูรดูมารวมกันแล้วให้ชื่อว่าฮินดูสตานี เขียนได้ทั้งอักษรไกถี อักษรเทวนาครี และอักษรอาหรับ แต่คำศัพท์และไวยากรณ์ของสองภาษานั้นแตกต่างกันมาก เนื่องจากภาษาฮินดีได้รับอิทธิพลมาจากภาษาสันสกฤตและภาษาปรากฤต แต่ภาษาอูรดูได้รับอิทธิพลมาจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ ในทางภาษาศาสตร์จึงไม่ถือว่าเป็นภาษาใหม่ ปัจจุบันยังคงแยกเป็นภาษาฮินดีซึ่งเป็นภาษาทางการของอินเดีย และภาษาอูรดูซึ่งเป็นภาษาทางการของปากีสถาน ฮินดูสตานี.

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและภาษาฮินดูสตานี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮินดี

ษาฮินดีเป็นภาษาที่พูด ส่วนใหญ่ในประเทศอินเดียเหนือและกลาง เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อยู่ในกลุ่มย่อย อินโด-อิหร่าน มีวิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤต ในสาขาอินโด-อารยันกลาง ของยุคกลาง และมีวิวัฒนาการทางอ้อมจากภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดีได้นำคำศัพท์ชั้นสูงส่วนใหญ่มาจากภาษาสันสกฤต นอกจากนี้ เนื่องจากอิทธิพลของชาวมุสลิมในอินเดียเหนือ ภาษาฮินดียังมีคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ และ ภาษาตุรกี เป็นจำนวนมาก และในที่สุดได้ก่อให้เกิดภาษาอูรดูขึ้น สำหรับภาษา"ฮินดีมาตรฐาน" หรือ "ฮินดีแท้" นั้น มีใช้เฉพะการสื่อสารที่เป็นทางการ ขณะที่ภาษาซึ่งใช้ในชีวิตประจำวันในพื้นที่ส่วนใหญ่นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในภาษาถิ่นย่อย ของภาษาฮินดูสตานี ในแง่ความสัมพันธ์ทางภาษาศาสตร์นั้น ภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ถือว่าเป็นภาษาเดียวกัน แตกต่างตรงที่ ภาษาฮินดีนั้นเขียนด้วยอักษรเทวนาครี (Devanāgarī) ขณะที่ภาษาอูรดูนั้น เขียนด้วยอักษรเปอร์เซียและอาหรั.

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและภาษาฮินดี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาทมิฬ

ษาทมิฬ (தமிழ்) เป็นหนึ่งใน ตระกูลภาษาดราวิเดียน เป็นหนึ่งในภาษาคลาสสิกของโลก วรรณกรรมภาษาทมิฬได้มีมาเป็นเวลา 2,500 ปีแล้ว และเป็นภาษาคลาสสิกภาษาแรกที่มีพัฒนาการเขียนแบบเฉพาะสำหรับบทกวี เสียง "l" ในคำว่า "Tamil" ออกเสียง "คล้าย" กับ "ร" กล่าวคือ ออกเสียงโดยให้ปลายลิ้นส่วนล่างติดกับเพดานปาก และมักจะเขียนเป็น "zh" ในอักษรโรมัน (ตรงกับเสียง j ในภาษาฝรั่งเศส ส่วนภาษาไทยไม่มีเสียงที่เทียบได้ตรง) เชื่อว่าอักษร 'ழ' ซึ่งพบใน 'தமிழ்' (ทมิฬ) มีการออกเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่พบในภาษาอื่น ๆ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ อักษรทมิฬ.

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและภาษาทมิฬ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซากา

ษาซากา เป็นภาษากลุ่มอิหร่านที่ตายแล้ว เคยใช้พูดในมณฑลซินเจียง ประเทศจีน มีสองสำเนียง แบ่งตามเมืองที่ใช้พูดคือ โคตานและตุมซุก คำยืมจากภาษาปรากฤตที่พบมากในภาษาโตชาเรียน คาดว่าเป็นคำยืมจากสำเนียงโคตานของภาษานี้.

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและภาษาซากา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซูเมอร์

ษาซูเมอร์ (Sumerian language) เป็นภาษาพูดของชาวซูเมอร์ในเมโสโปเตเมียตอนใต้เมื่อประมาณ 3,457 ปีก่อนพุทธศักราช ภาษานี้ถูกแทนที่ด้วยภาษาแอกแคดเมื่อราว 1,257 ปีก่อนพุทธศักราช แต่ยังคงใช้เป็นภาษาทางศาสนา วรรณคดีและวิทยาศาสตร์ในเมโสโปเตเมียจนถึงราว..

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและภาษาซูเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโอริยา

ภาษาโอริยา (Oriya, ଓଡ଼ିଆ oṛiā) เป็นภาษาที่ใช้ในรัฐโอริศาของอินเดีย และเนื่องจากมีการอพยพของแรงงาน รัฐคุชราต ก็มีคนพูดภาษาโอริยาพอสมควรด้วย (เมืองสุรัตเป็นเมืองที่มีคนพูดภาษาโอริยามากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของอินเดีย) และเป็นภาษาราชการของอินเดียด้วย ภาษาโอริยาเป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียน สาขาอินโด-อารยัน และคาดว่าน่าจะพัฒนามาจากภาษาปรากฤตที่ใช้พูดในอินเดียเมื่อ 1,500 ปีก่อน มีลักษณะคล้ายกับภาษาเบงกาลี ภาษาไมถิลี และภาษาอัสสัม เป็นภาษาที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียน้อยที่สุดในบรรดาภาษาในอินเดียเหนือด้วยกัน แต่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธและศาสนาเชนมาก เขียนด้วยอักษรโอริยา อโอริยา.

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและภาษาโอริยา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเบงกาลี

ษาเบงกาลี (বাংলা, บังคลา) เป็นภาษาที่พูดโดยประชากรของประเทศบังคลาเทศ และรัฐเบงกอลตะวันตกในประเทศอินเดีย ที่ติดกับบังคลาเทศ นอกจากนี้ยังมีชุมชนของคนที่พูดภาษาเบงกอลที่ใหญ่พอควรในรัฐอัสสัม (อีกรัฐในอินเดีย ติดกับทั้งรัฐเบงกอลตะวันตกและประเทศบังคลาเทศ) และในประชากรที่อพยพไปทางตะวันตกและตะวันออกกลาง รูปแบบมาตรฐานของภาษานี้เรียกว่า cholit bhaashaa: จลิตภาษา เป็นภาษาย่อยที่พูดกันมากที่สุด มีแบบมาจาก "Calcutta Bengali" (ภาษาเบงกอลที่พูดในเมืองกัลกัตตา) ในประเทศบังกลาเทศ เขียนด้วยอักษรเบงกาลี ในภาษาอังกฤษ Bengali ใช้เรียกทั้งภาษาและคนที่พูดภาษานี้ ในภาษาเบงกาลีเองเรียกภาษาว่า Bangla: บังคลา (বাঙলা), ซึ่งเป็นคำที่เริ่มใช้มากขึ้นในภาษาอังกฤษ ส่วนในภาษาบังคลา ชาวเบงกอลเรียกว่า Bangali: บางกาลี (বাংলা) ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมเนียมของชาวเบงกาลีเรียกว่า Bengal: เบงกอล ในภาษาอังกฤษ และ Bongo: บองโก Banga: บางกา หรือ Bangla: บังคลา ในภาษาเบงกาลี "Bangadesh: บางกาเทศ" และ "Bangladesh: บังคลาเทศ" เป็นคำที่ใช้เรียกภูมิภาคของชาวเบงกอลก่อนที่จะมีการแยกเป็นสองส่วน คือ เบงกอลตะวันตก (West Bengal หรือ Poshchim Bongo: ปอจิม บองโก หรือ ประจิมบังกา) ซึ่งได้กลายเป็นรัฐของอินเดีย และส่วนตะวันออก (เบงกอลตะวันออก: East Bengal หรือ Purbo Bongo: ปูร์โบ บองโก หรือ บูรพาบังกา) กลายเป็นประเทศบังคลาเทศ เนื่องจากมีผู้ใช้ภาษาเบงกาลีมากกว่า250ล้านคนทั่วโลก ชีค ฮาซินา วาเจด นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ เสนอเมื่อ เดือนกันยายน..

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและภาษาเบงกาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเตลูกู

ษาเตลูกู (Telugu తెలుగు) อยู่ในตระกูลภาษาดราวิเดียน แต่มีอิทธิพลพอสมควรจากภาษากลุ่มอินโด-อารยันภายใต้ตระกูล อินโด-ยุโรเปียนและเป็นภาษาราชการของรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ของอินเดีย ภาษาเตลูกูเป็นตระกูลภาษาดราวิเดียนที่มีผู้พูดมากที่สุด เป็นภาษาที่พูดเป็นอันดับ 2 รองจากภาษาฮินดี และเป็นหนึ่งใน 22 ภาษาราชการของอินเดีย เขียนด้วยอักษรเตลูกู ชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรียกภาษาเตลูกูว่า ภาษาอิตาลีของโลกตะวันออก (Italian of the East) เนื่องจากทุกคำในภาษาเตลูกูลงท้ายด้วยเสียงสระ แต่เชื่อว่านักสำรวจชาวอิตาลี นิกโกเลาะ ดา กอนตี (Niccolò Da Conti) ได้คิดวลีนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15.

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและภาษาเตลูกู · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โมริยะ

มริยะ (เขียนตามภาษาบาลี) หรือ เมารยะ (เขียนตามภาษาสันสกฤต: मौर्य, เมารฺย) เป็นจักรวรรดิซึ่งมีเนื้อที่กว้างใหญ่และมีอิทธิพลมากที่สุดจักรวรรดิหนึ่งในอินเดีย ปกครองโดยราชวงศ์โมริยะ (मौर्य राजवंश, เมารฺย ราชวํศ) ตั้งแต..

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและราชวงศ์โมริยะ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาษา

รายชื่อภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกเรียงตามลำดับตัวอักษร.

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

สัทธรรมปุณฑรีกสูตร

ัทธรรมปุณฑรีกสูตร ฉบับอักษรฮันจา (อักษรจีนที่ใช้ในประเทศเกาหลี) สมัยราชวงศ์โครยอ เขียนขึ้นราว ค.ศ. 1340 สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (सद्धर्मपुण्डरीकसूत्र) เป็นพระสูตรที่สำคัญในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนิกชนมหายานโดยเฉพาะในประเทศเอเชียตะวันออก เป็นสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าเทศนาในช่วง 8 ปีสุดท้ายก่อนปรินิพพาน สมัยแห่งการบันทึกพระสูตรเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกนั้นไม่มีมติที่แน่นอน ซึ่งการค้นพบต้นฉบับของสัทธรรมปุณฑริกสูตรในหลายสถานที่จากหลากหลายภูมิภาค สัทธรรมปุณฑริกสูตรมีการแปลเป็นหลายภาษา และมีการคัดลอกต้นฉบับตลอดช่วงเวลาอันยาวนาน อันเป็นข้อพิสูจน์ว่าสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนจำนวนมากในหลากหลายเชื้อชาติ โดยมีการค้นพบต้นฉบับภาษาต่าง ๆ อันได้แก่ สันสกฤต บาลี คานธารี โขตาน ซากา โตคาเรียน ซอกเดีย อุยกูร์เก่า ทิเบต จีน มองโกเลีย แมนจู ซีเซี่ย(ตันกัต) เกาหลี เวียดนาม เป็นต้น ตัวอย่างของสะสมจากสถาบันต้นฉบับภาษาตะวันออกแห่งสมาคมวิทยาศาสตร์รัสเซียมีต้นฉบับคัมภีร์ภาษาสันสกฤต คัดลอกด้วยตัวอักษรพราหมีเตอร์กีสถานใต้ ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8-9 ต้นฉบับแปลภาษาจีน คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ต้นฉบับแปลภาษาอุยกูร์เก่า คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในปัจจุบันมีการแปลเป็นภาษา อังกฤษ อิตาเลียน เกาหลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ไทย ลาว กรีก สเปน เป็นต้น วินเตอร์นิตซ์ได้เสนอความเห็นว่า พระนาคารชุนได้อ้างถึงข้อความจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตรอยู่หลายตอน เพราะฉะนั้นต้นฉบับเดิมย่อมต้องมีอยู่แล้วใน..

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและสัทธรรมปุณฑรีกสูตร · ดูเพิ่มเติม »

สุชิน ทองหยวก

น ทองหยวก อดีตพระมหาสุชิน สุชิโน วัดกันมาตุยาราม เกิดที่จังหวัดนครปฐม เป็นศิษย์สำคัญคนหนึ่งของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ และอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ที่มีความสามารถในด้านภาษาสันสกฤต เป็นผู้ที่รับผิดชอบในการสอนภาษาสันสกฤตและภาษาปรากฤต ให้พระนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 20 ปี เคยมีบทบาทในการร่วมจัดทำ พจนานุกรมพุทธศาสนาจีน-สันสกฤต-อังกฤษ-ไทย ร่วมกับคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย วัดโพธิ์แมนคุณาราม และเป็นผู้แปลงานชิ้นสำคัญในโลกทางปรัชญาของฝ่ายมหายานได้คือหนังสือชื่อ The Central Philosophy of Buddhism (ในชื่อภาษาไทยคือ ปรัชญามาธยมิก) ซึ่งเป็นหนังสือที่ใช้อ่านศึกษาพุทธปรัชญาโดยเฉพาะปรัชญาของท่าน นาคารชุน อย่างกว้างขวางเป็นภาษาไทยได้สำเร็.

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและสุชิน ทองหยวก · ดูเพิ่มเติม »

สุชีพ ปุญญานุภาพ

ีพ ปุญญานุภาพ (13 เมษายน พ.ศ. 2460 — 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543) เป็นนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับทั้งจากพุทธศาสนิกชนและคณะสงฆ์ไทยอย่างกว้างขวาง ในฐานะที่สมบูรณ์ด้วยวิชาความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างเยี่ยมยอด หาใครเทียมได้ยาก ในเวลาเดียวกัน ก็มีความประพฤติที่ดีงาม สุภาพอ่อนโยน ระหว่างที่ท่านเคยบวชเป็นพระอยู่ในชื่อว่า สุชีโว ภิกขุ ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด เพราะประการแรก ท่านเชี่ยวชาญพระพุทธศาสนาเป็นเลิศ ประการที่สอง ท่านรอบรู้วิชาการสมัยใหม่อย่างเยี่ยม ประการที่สาม ท่านเป็นพระภิกษุไทยรูปแรกที่บรรยายธรรมเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้เกิดการติดต่อระหว่างชาวพุทธในต่างประเทศกับประเทศไทย แม้ว่าท่านจะมีภาระงานมากมาย แต่ท่านก็เป็นนักเขียน ที่ผลิตงานเขียน ทั้งในรูปหนังสือและตำราเผยแพร่ความรู้ด้านพุทธศาสนา รวมทั้งนวนิยายอิงธรรมะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังเป็นผู้บุกเบิกทำพจนานุกรมศัพท์พระพุทธศาสนาอีกด้วย อาจารย์สุชีพได้ถึงแก่กรรมลง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและสุชีพ ปุญญานุภาพ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรพราหมี

อักษรพราหมี อักษรพราหมี (อ่านว่า พราม-มี) เป็นต้นกำเนิดของอักษรในอินเดียมากมาย รวมทั้งอักษรเขมรและอักษรทิเบตด้วย พบในอินเดียเมื่อราว..

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและอักษรพราหมี · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิศุงคะ

ักรวรรดิศุงคะ (शुंग राजवंश, Sunga Empire หรือ Shunga Empire) เป็นราชวงศ์มคธที่ปกครองทางตอนกลางเหนือและตะวันออกของอินเดีย และบางส่วนของทางตะวันตกเฉียงเหนือที่ปัจจุบันคือปากีสถานตั้งแต่ราว 185 ปีก่อนคริสต์ศักราชมาจนถึง 73 ปีก่อนคริสต์ศักราช จักรวรรดิศุงคะก่อตั้งขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโมริยะ เมืองหลวงตั้งอยู่ที่ปาตลีบุตร ต่อมาพระมหากษัตริย์เช่นพระเจ้าภคภัทระ (Bhagabhadra) ก็ทรงตั้งราชสำนักที่วิทิศา ระหว่างสมัยของจักรวรรดิศุงคะเป็นสมัยของการสงครามทั้งกับต่างประเทศและกับศัตรูภายในท้องถิ่น.

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและจักรวรรดิศุงคะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิสาตวาหนะ

ตวาหนะ (Satavahana หรือ Andhras) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจากชุนนระ (ปูเน), ประทิศฐาน (ไพธาน) ในรัฐมหาราษฏระ และ กรีมนคร (Karimnagar) ในรัฐอานธรประเทศทางตอนใต้และตอนกลางของอินเดีย ราวตั้งแต่ 230 ก่อนคริสต์ศักราช แม้ว่าเวลาที่สิ้นสุดลงของสาตวาหนะจะยังคงเป็นปัญหาแต่จากการประมาณโดยทั่วไปแล้วจักรวรรดิสาตวาหนะรุ่งเรืองอยู่เป็นเวลา 450 ปีมาจนถึงราวปี ค.ศ. 220 ราชวงศ์สาตวาหนะได้ชื่อว่าเป็นผู้สร้างความสงบในจักรวรรดิ และหยุดยั้งการเข้ามาของชาวต่างประเทศหลังจากการเสื่อมโทรมของจักรวรรดิโมร.

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและจักรวรรดิสาตวาหนะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิปาละ

ักรวรรดิปาละ (Pala Empire) เป็นจักรวรรดิที่ปกครองบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชียใต้ ปาละมักจะได้รับการบรรยายโดยศัตรูว่าเป็น “ประมุขแห่งกวาดา” (Gaur, West Bengal) คำว่า “ปาละ” ในภาษาเบงกอล (পাল pal) แปลว่า “ผู้พิทักษ์” และใช้เป็นสร้อยพระนามของกษัตริย์ทุกพระองค์ ปาละเป็นผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานและลัทธิตันตระ พระเจ้าโคปาละทรงเป็นกษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์ผู้ขึ้นครองราชย์ในปี..

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและจักรวรรดิปาละ · ดูเพิ่มเติม »

ปราณี ฬาพานิช

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ปราณี ฬาพาณิช เป็นนักวิชาการทางบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความชำนาญภาษาสันสกฤตและภาษาปรากฤตเป็นพิเศษ.

ใหม่!!: ภาษาปรากฤตและปราณี ฬาพานิช · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ปรากฤต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »