โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟีลิปอัครทูต

ดัชนี ฟีลิปอัครทูต

ฟีลิปอัครทูต (Philip the Apostle) เป็นอัครทูตคนหนึ่งของพระเยซู คริสต์ศาสนิกชนเชื่อสืบกันมาว่าเขาได้เผยแผ่ศาสนาในประเทศกรีซ ประเทศซีเรีย และฟริเจีย จนถึงแก่กรรมเพราะถูกตรึงกางเขนที่เมืองเฮียราโพลิส ในปี..

9 ความสัมพันธ์: บารโธโลมิวอัครทูตพระเยซูมรณสักขีในศาสนาคริสต์อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรันอัครทูตอาหารค่ำมื้อสุดท้าย (เลโอนาร์โด)ซีโมนเศโลเทโธมัสอัครทูต3 พฤษภาคม

บารโธโลมิวอัครทูต

รโธโลมิวอัครทูต (Bartholomew the Apostle; Βαρθολομαίος (Bartholomaios)) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เสียชีวิตที่ประเทศอาร์มีเนีย บารโธโลมิวเป็นหนึ่งในอัครทูตของพระเยซู ชื่อ “บารโธโลมิว” มาจากภาษาแอราเมอิก “bar-Tôlmay” (תולמי‎‎‎‎‎-בר‎‎) หมายความว่า “ลูกของโทลเม” (โทเลมี) หรืออาจจะเป็น “ลูกของคนไถนา” บางครั้งก็เชื่อกันว่าเป็นนามสกุลมากกว่าจะเป็นชื่อตัวEncyclopedia Britannica, micropedia.

ใหม่!!: ฟีลิปอัครทูตและบารโธโลมิวอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: ฟีลิปอัครทูตและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

มรณสักขีในศาสนาคริสต์

การทรมานของนักบุญเอรัสมุส โดยเดียริค เบาท์ ราวปี ค.ศ. 1458 ในศาสนาคริสต์ มรณสักขี (martyr) หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนที่ถูกทรมานจนตายหรือถูกฆ่าหรือถูกลงโทษให้ประหารชีวิตเพราะความเชื่อ ในศาสนาคริสต์ยุคแรกมีผู้ถูกทรมานและฆ่าด้วยความทรมานต่างๆเช่นถูกขว้างด้วยก้อนหินให้ตาย ถูกตรึงกางเขน ถูกเผาทั้งเป็น และอื่น ๆ คำว่า “martyr” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “พยาน” การฆ่าเช่นนี้เป็นผลจากการพยายามกำจัดคริสต์ศาสนิกชนอย่างเป็นทางการ (การเบียดเบียนทางศาสนา) เช่นในสมัยจักรวรรดิโรมันก่อนที่คริสต์ศาสนาจะเป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมาย คริสต์ศาสนิกชนคนแรกที่เป็นมรณสักขีคือนักบุญสเทเฟนที่บันทึกไว้ใน ถูกขว้างด้วยก้อนหินจนถึงแก่ชีวิตเพราะศรัทธาในพระเยซูว่าเป็นพระเมสสิยาห์ และยังคงมีคริสต์ศาสนิกชนอีกหลายคนที่ถูกฆ่านอกจากนักบุญสเทเฟน ตามที่นักบุญเปาโลอัครทูตกล่าวว่ามีการขู่จะฆ่าสาวกของพระเยซูในเวลานั้นหลายครั้ง ในคริสต์ศตวรรษต่อมาก็มีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนอย่างเป็นทางการอีกหลายครั้งเช่นในระหว่างการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตหรือเป็น “พวกนิยมพระสันตะปาปา” (Papists).

ใหม่!!: ฟีลิปอัครทูตและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน

อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน ในพระสันตะปาปา (Arcibasilica Papale di San Giovanni in Laterano) หรือรู้จักกันทั่วไปในชื่อ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน (Basilica di San Giovanni in Laterano) หรือเรียกอย่างสั้นว่า มหาวิหารลาเตรัน เป็นมหาวิหารเอกในกรุงโรมและเป็นอาสนวิหารประจำตำแหน่งมุขนายกแห่งกรุงโรม นับเป็นมหาวิหารที่เก่าแก่ที่สุดและมีตำแหน่งสูงสุดในบรรดามหาวิหารเอกทั้งสี่แห่งในกรุงโรม และมีสถานะเป็นโบสถ์แม่ของโบสถ์ทั้งปวงในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน เป็นมหาวิหารที่เก่าแก่มากที่สุดและมีความอาวุโสสูงสุดในบรรดามหาวิหารเอกทั้งสี่ในพระสันตะปาปาซึ่งทั้งหมดตั้งอยู่ในโรม มีลำดับศักดิ์อยู่เหนือแม้กระทั่งมหาวิหารนักบุญเปโตร และเป็นเพียงอาสนวิหารเพียงแห่งเดียวในโลกที่มีฐานะเป็น อัครมหาวิหาร และเนื่องจากเป็นอาสนวิหารที่เก่าแก่ที่สุด จึงได้รับการยกย่องให้เป็นอาสนวิหารแม่ของศาสนจักรโรมันคาทอลิก หัวหน้าพระคนบัจจุบันคือ พระคาร์ดินัลอากอสตีโน วัลลี ซึ่งเป็นคาร์ดินัลใหญ่แห่งมุขมณฑลโรม ในขณะที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสเป็นแคนันกิตติมศักดิ์ (honorary canon) ประจำมหาวิหารฯ โดยตำแหน่ง ซึ่งตำแหน่งแคนันกิตติมศักดิ์นี้เป็นตำแหน่งที่สืบทอดในหมู่ประมุขแห่งฝรั่งเศสมาตั้งแต่สมัยของพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ด้านหน้าบริเวณทางเข้า มีศิลาจารึกเป็นภาษาละตินขนาดใหญ่ว่า Clemens XII Pont Max Anno V Christo Salvatori In Hon SS Ioan Bapt et Evang ซึ่งแปลอย่างย่อได้ว่า "สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 12 ในปีที่ 5 แห่งสมณสมัย ได้ทรงอุทิศอาคารหลังนี้แก่พระคริสต์เจ้าผู้ช่วยให้รอด ด้วยเกียรติของนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาและนักบุญยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร" หรือมีความหมายก็คือ เดิมดี มหาวิหารแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่พระเยซู และในหลายศตวรรษต่อมาก็ประกาศร่วมอุทิศให้แก่นักบุญยอห์นทั้งสอง คือยอห์นผู้ให้บัพติศมาและยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร อัครมหาวิหารฯตั้งอยู่ในกรุงโรม แต่อยู่นอกเขตแดนของนครรัฐวาติกันประมาณ 4 กิโลเมตรไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ แม้จะไม่ได้อยู่ในวาติกัน แต่อัครมหาวิหารแห่งนี้มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในฐานะสมบัติของสันตะสำนัก จากผลของสนธิสัญญาลาเตรัน..

ใหม่!!: ฟีลิปอัครทูตและอัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน · ดูเพิ่มเติม »

อัครทูต

ระเยซูและอัครทูต อัครทูตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 59 (Apostles; Ἀπόστολος, apostolos แปลว่า "ผู้ถูกส่งออกไป" เช่น ข่าวสารหรือตัวแทน) ตามพระวรสารสหทรรศน์และธรรมเนียมทางศาสนาคริสต์ใช้หมายถึงอัครสาวกสิบสองคน ที่พระเยซูทรงเลือก ตั้งชื่อ และฝึกเพื่อจะได้ส่งออกไปทำการประกาศข่าวดี หลังจากยูดาส อิสคาริโอท ทรยศต่อพระเยซู อัครสาวกที่เหลือภายใต้การนำของซีโมนเปโตรจึงจับฉลากเลือกมัทธีอัสซึ่งติดตามพระเยซูมาตั้งต้นขึ้นมาเป็นอัครทูตแทน ฉะนั้นเมื่อถึงเทศกาลเพนเทคอสต์ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จลงมาประทับกับสาวกของพระเยซู จำนวนอัครทูตจึงมีสิบสองคนเท่าเดิม.

ใหม่!!: ฟีลิปอัครทูตและอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

อาหารค่ำมื้อสุดท้าย (เลโอนาร์โด)

อาหารค่ำมื้อสุดท้าย หรือ The Last Supper ในภาษาอังกฤษ และ Il cenacolo หรือ L'ultima cena ในภาษาอิตาลี เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่เลโอนาร์โด ดา วินชี วาดให้แก่ดยุกลูโดวีโก สฟอร์ซา ผู้อุปถัมภ์เขา ภาพเป็นเหตุการณ์ตามพระวรสารภาพเกี่ยวกับอาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซูกับอัครทูต ก่อนที่จะทรงถูกนำไปตรึงกางเขน ภาพวาดนี้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เนื่องจากถูกวาดด้วยปูนเปียกบนผนัง ภาพวาดนี้ยังถือว่าเป็นภาพวาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเลโอนาร์โด ดา วินชี ที่ยังคงสภาพให้มองเห็นได้ในปัจจุบัน และยังถือได้ว่าเป็นหนึ่งในบรรดาจิตรกรรมที่รู้จักกันอยู่ทั่วโลก ภาพวาดนี้ยังเป็นแกนสำคัญของการเดินเรื่องราวของนวนิยายชื่อดังของโลก รหัสลับดาวินชี ที่มีเนื้อหาระบุว่า เลโอนาร์โด ดา วินชี ได้แฝงปริศนาความลับไว้ในภาพโดยแสดงถึงสาวกหญิงใกล้ชิดผู้หนึ่งซึ่งมีสัมพันธ์กับพระเยซู ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวได้รับการคัดค้านจากศาสนาจักรคาทอลิกอย่างรุนแรง.

ใหม่!!: ฟีลิปอัครทูตและอาหารค่ำมื้อสุดท้าย (เลโอนาร์โด) · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมนเศโลเท

ซีโมนเศโลเท (Σίμων ο Ζηλωτής) หรือซีโมนผู้ร้อนรน (Simon the Zealot) หรือซีโมน พรรคชาตินิยม (Simon the Canaanite) เป็นหนึ่งในอัครทูตของพระเยซู เสียชีวิตราว..

ใหม่!!: ฟีลิปอัครทูตและซีโมนเศโลเท · ดูเพิ่มเติม »

โธมัสอัครทูต

มัสอัครทูต (Απόστολος Θωμάς อะโปสโตโลส ธอมัส) เป็นนักบุญและมรณสักขีในคริสต์ศาสนา เสียชีวิตเมื่อราว..

ใหม่!!: ฟีลิปอัครทูตและโธมัสอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

3 พฤษภาคม

วันที่ 3 พฤษภาคม เป็นวันที่ 123 ของปี (วันที่ 124 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 242 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฟีลิปอัครทูตและ3 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ฟิลลิปสาวกฟิลลิปอัครสาวกนักบุญฟิลลิปสาวกนักบุญฟิลลิปอัครสาวก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »