โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พอลินีเชีย

ดัชนี พอลินีเชีย

นแดนพอลินีเชีย พอลินีเชีย หรือ พอลินีเซีย (Polynesia) คือภูมิภาคที่อยู่ในเขตโอเชียเนีย มหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อมองจากแผนที่จะเห็นพื้นที่เป็นรูปสามเหลี่ยมหรือที่เรียกกันว่าสามเหลี่ยมโพลินีเซียน สำหรับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของภูมิภาคนี้ มีความเจริญสูงสุดในบรรดาภูมิภาคในโอเชียเนียทั้งหมด ซึ่งมีจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่หลายจักรวรรดิ มีวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่นการเต้นรำเป็นต้น ภูมิภาคนี้ประกอบด้วยดินแดนและประเทศทั้งหมด 4 ประเทศ 8 ดินแดน คือ.

46 ความสัมพันธ์: บรรพศิลป์ชาวพอลินีเซียพิธีราชาภิเษกในโอเชียเนียกระปรอดเล็กกัวดัลคะแนลกุ้งมังกรเจ็ดสีมหาสมุทรแปซิฟิกมันเทศมาร์กาเร็ต มีดยุคแห่งการสำรวจราชอาณาจักรตาฮีตีรายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ริกิชิลักเมวัฒนธรรมแลพีตาวงศ์นกกระทุงสกุลพุดสกุลนมตำเลียหมู่เกาะซามัวหมู่เกาะแปซิฟิกหยาดน้ำค้าง (สกุล)หอยสังข์มะระหนูจี๊ดออสตราเลเซียอิกัวนาผจญภัยตำนานหมู่เกาะทะเลใต้จักรวรรดิตูอีโตงาทุเรียนข้าหลวงหลังลายดินแดนของสหรัฐอเมริกางูสมิงทะเลปากดำตูอาโมตัสตูอิ มานูอา เอลิซาลาซาไวอีประวัติศาสตร์หมู่เกาะแปซิฟิกประเทศชิลีประเทศตองงาประเทศตูวาลูประเทศซามัวปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มนูเมอาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงโมไอโอเชียเนียเฟรนช์พอลินีเชียเกาะแคโรไลน์

บรรพศิลป์

ัณฑ์เทอร์ราค็อตตาอินเดีย, นิวเดลี, อินเดียhttp://cities.expressindia.com/fullstory.php?newsid.

ใหม่!!: พอลินีเชียและบรรพศิลป์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวพอลินีเซีย

วพอลินีเซีย (Polynesians) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาพอลินีเซียและอาศัยอยู่ในพอลินีเซีย (ฮาวาย ตาฮิตี ซามัว รวมไปถึงพวกมาวรีในนิวซีแลนด์).

ใหม่!!: พอลินีเชียและชาวพอลินีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

พิธีราชาภิเษกในโอเชียเนีย

ระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถซาโลเต ตูโปอูที่ 3 แห่งตองงาและวิเลียมี ตังกิ ไมเลฟีฮี พระราชสวามี ในรูปแบบพิธีตามอย่างวัฒนธรรมยุโรป แวดล้อมด้วยข้าราชการที่แต่งตัวแบบยุโรป วันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1918 พิธีราชาภิเษกในโอเชียเนีย เป็นพิธีที่มีความเกี่ยวเนื่องในประวัติศาสตร์ของประเทศในโอเชียเนีย ที่เคยมีระบอบราชาธิปไตยโดยถูกยกเลิกไปแล้ว และประเทศที่ยังคงมีสถาบันกษัตริย์อยู๋ พิธีราชาภิเษกแบบดั้งเดิมของพระมหากษัตริย์ในโอเชียเนียยังคงมีลักษณะในรูปแบบชนเผ่า ตามประเพณีของชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิม ก่อนที่พิธีราชาภิเษกในบางประเทศจะถูกแปรเปลี่ยนไปตามอิทธิพลของวัฒนธรรมยุโรป และการเผยแพร่ของคริสต์ศาสนา ที่เข้ามาแทนที่ศาสนาและประเพณีของชนเผ่าพื้นเมือง เช่น ในกรณีของราชอาณาจักรตองงาและราชอาณาจักรฮาวาย พิธีราชาภิเษกของภูมิภาคโอเชียเนียสามารถแบ่งตามประเทศได้ดังนี้.

ใหม่!!: พอลินีเชียและพิธีราชาภิเษกในโอเชียเนีย · ดูเพิ่มเติม »

กระปรอดเล็ก

กระปรอดเล็ก (basket fern) เป็นเฟินอิงอาศัยในสกุลกระแตไต่ไม้ (Drynaria) กระจายพันธุ์ในประเทศพม่า ไทย อินโดจีน มาเลเซีย จีน โพลีนีเซีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกเฉียงใต้ พบตามคาคบไม้สูง ในป่าดิบชื้น หรืออยู่ตามโขดหินที่เปียกชื้น ในป่าเปิดตามแนวลำธารน้ำตก มักพบเจริญเติบโตอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ขนาดรัศมีใหญ่ได้มากกว่า 1 เมตร ในประเทศไทยมีชื่อพื้นเมืองอื่นดังนี้ กระปรอกหัวหิน (จันทบุรี) กูดตั่ง (เชียงใหม่) กูดเฟือย (เหนือ) กูดไม้ (เหนือ) กูดหางม้า (แม่ฮ่องสอน) กูดอ้อม (เหนือ)เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ใหม่!!: พอลินีเชียและกระปรอดเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

กัวดัลคะแนล

กัวดัลคะแนล (Guadalcanal) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะโซโลมอน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก นักเดินเรือชาวสเปนชื่อ อัลบาโร เด เมนดาญา เดินเรือมาพบเกาะนี้ใน..

ใหม่!!: พอลินีเชียและกัวดัลคะแนล · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งมังกรเจ็ดสี

กุ้งมังกรเจ็ดสี หรือ กุ้งมังกรหัวเขียว หรือ กุ้งหัวโขนเขียว (Painted spiny lobster) เป็นกุ้งมังกรชนิดหนึ่ง ส่วนของกระดองมีลวดลายสีเขียว, สีขาวและสีน้ำเงิน ลำตัวเป็นสีน้ำเงินหรือสีเขียว มีแถบสีขาวและสีดำพาดขวางลำตัว ขาเดินมีเส้นสีขาวพาดตามยาว ส่วนต้นของหนวดคู่ที่ 2 เป็นสีชมพู อาศัยอยู่ตามแนวโขดหิน ที่ระดับความลึกไม่เกิน 16 เมตร ในกระแสน้ำค่อนข้างเชี่ยว ในเวลากลางวันจะหลบอยู่ตามซอกหินหรือที่กำบังโผล่มาเฉพาะส่วนหนวดและตา ในเวลากลางคืนถึงจะออกจากที่กำบังมาหากิน มีความยาวประมาณ 20–30 เซนติเมตร และพบยาวที่สุดถึง 40 เซนติเมตร กุ้งมังกรเจ็ดสี พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในกระแสน้ำอุ่นของมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ตั้งแต่ทะเลแดง, อ่าวเปอร์เซีย, แอฟริกาตะวันออก, ทะเลอาหรับ, อินเดีย, พม่า, ไทย จนถึงอินโดนีเซีย, ทะเลญี่ปุ่น, ไมโครนีเซีย, โพลีนีเซีย และออสเตรเลีย กุ้งมังกรเจ็ดสี เป็นกุ้งมังกรอีกชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทานกัน ในประเทศไทยมีราคาซื้อขายจากชาวประมงที่ลงอวนจับกิโลกรัมละ 1,500 บาท และยังเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงามได้อีกด้ว.

ใหม่!!: พอลินีเชียและกุ้งมังกรเจ็ดสี · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: พอลินีเชียและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

มันเทศ

ต้นมันเทศในไร่ หัวมันเทศสีม่วงที่พบในเอเชีย มันเทศ (sweet potato) เป็นพืชหัวเกรียนใต้ดินเถาเลื้อยราบไปบนพื้นดิน ปลูกเป็นพืชไร่ มีเนื้อสีหลายสีตามสายพันธุ์ ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น เถา ใบ หัว นิยมนำมารับประทานโดย ต้ม หรือ เผา ทำเป็นอาหารคาวหวาน ส่วนผสมของอาหารสำหรับเด็ก ใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น.

ใหม่!!: พอลินีเชียและมันเทศ · ดูเพิ่มเติม »

มาร์กาเร็ต มีด

มาร์กาเร็ต มีด มาร์กาเร็ต มีด (Margaret Mead) (16 ธันวาคม 1901 – 15 พฤศจิกายน 1978) เป็นนักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมชาวอเมริกัน เธอเขียนสารคดีและเป็นผู้พูดในสื่อมวลชนอยู่เสมอในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึง 1970 เธอเป็นทั้งผู้ทำให้สายตาแบบมานุษยวิทยาเป็นที่รู้จักทั่วไปในวัฒนธรรมอเมริกันและวัฒนธรรมตะวันตกสมัยใหม่ และเป็นนักวิชาการมานุษยวิทยาที่ได้การนับถือ แม้จะมีการโต้แย้งก็ตาม.

ใหม่!!: พอลินีเชียและมาร์กาเร็ต มีด · ดูเพิ่มเติม »

ยุคแห่งการสำรวจ

แห่งการสำรวจ หรือ ยุคแห่งการค้นพบ (Age of Exploration หรือ Age of Discovery) เป็นช่วงระยะเวลาในประวัติศาสตร์โลกที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่ชาวยุโรปออกเดินทางไปสำรวจทางทะเลในโลกที่กว้างออกไปจากตัวทวีปยุโรปเองโดยมีจุดประสงค์เพื่อหาคู่ค้าขายใหม่ และโดยเฉพาะเพื่อการแสวงหาสินค้าเพื่อสนองความต้องการของตลาดตามต้องการ สินค้าที่เป็นที่ต้องการกันมากในยุโรปในขณะนั้นคือทอง เงิน และ เครื่องเทศ ยุคแห่งการสำรวจประจวบกับช่วงที่ชาวยุโรปตะวันตกเริ่มใช้เข็มทิศในการกำหนดและระบุเส้นทาง, การใช้วิธีการเดินเรือเดินทะเลแบบใหม่, การมีแผนที่ใหม่ และความก้าวหน้าทางดาราศาสตร์ ความก้าวหน้าเหล่านี้ช่วยในการแสวงหาเส้นทางการค้าขายใหม่ไปยังเอเชียโดยเลี่ยงอุปสรรคถ้าการใช้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของมหาอำนาจที่เป็นปฏิปักษ์ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่วิวัฒนาการขึ้นสำหรับการเดินทางทางทะเลคือเรือชนิดใหม่สองแบบที่ออกแบบโดยโปรตุเกส--เรือคาร์แร็ค (Carrack) และ เรือคาราเวล (Caravel) ที่วิวัฒนาการมาจากการออกแบบเรือในยุคกลางที่ใช้ในการเดินเรือในทะเลเหนือและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เรือสองชนิดนี้เป็นเรือสองชนิดแรกที่ให้ความปลอดภัยพอที่จะฝ่าคลื่นฝ่าลมในมหาสมุทรแอตแลนติกได้เมื่อเทียบกับเรือรุ่นก่อนหน้านั้นที่ใช้กันเฉพาะในบริเวณที่คลื่นลมไม่รุนแรงเทียบเท่ากับการเดินทางกลางมหาสมุทร.

ใหม่!!: พอลินีเชียและยุคแห่งการสำรวจ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรตาฮีตี

ราชอาณาจักรตาฮีตี ก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้าโปมาเรที่ 1 ด้วยความช่วยเหลือของมิชชันนารีอังกฤษและพ่อค้ายุโรป โดยได้รวบรวมหมู่เกาะต่างๆ เข้าด้วยกัน และก่อตั้งเป็นราชอาณาจักร ต่อมาในสมัยของพระเจ้าโปมาเรที่ 2 อาณาจักรก็เริ่มก้าวหน้า มีความรุ่งเรืองและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น แต่อาณาจักรก็ต้องเผชิญกับการล่าอาณานิคมเช่นเดียวกันกับดินแดนโปลินีเซียอื่น ๆ เช่น ราอีอาเตอา, ฮูอาฮีเน, บอราบอรา, ฮาวาย, ซามัว, ตองกา, ราโรตองกา และนีอูเอ ในศตวรรษที่ 19 ตาฮีตีต้องตกเป็นรัฐอารักขาของฝรั่งเศสในปี..

ใหม่!!: พอลินีเชียและราชอาณาจักรตาฮีตี · ดูเพิ่มเติม »

รายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้

การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้เป็นระบบการจำแนกห้องสมุดประกอบด้วย 10 หมวดใหญ่ (class) แต่ละหมวดใหญ่แบ่งเป็นสิบหมวดย่อย (division) แต่ละหมวดย่อยมีสิบหมู่ย่อย (section) ตัวอย่างเช่น หมวดใหญ่ 600 ("เทคโนโลยี") มีหมวดย่อย 630 ("เกษตรกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง") ซึ่งมีหมู่ย่อย 636 ("การเลี้ยงสัตว์") ในทางปฏิบัติ มีทั้งหมด 99 จาก 100 หมวดย่อยและ 908 จาก 1000 หมู่ย่อย เนื่องจากบางส่วนเลิกใช้แล้วหรือยังไม่กำหน.

ใหม่!!: พอลินีเชียและรายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ · ดูเพิ่มเติม »

ริกิชิ

ซโลฟา เอฟ.

ใหม่!!: พอลินีเชียและริกิชิ · ดูเพิ่มเติม »

ลักเม

ปสเตอร์การแสดงรอบปฐมทัศน์ มารี แวน แซนด์ รับบท ลักเม ลักเม (Lakmé) เป็นอุปรากรภาษาฝรั่งเศสความยาว 3 องก์ โดยลีโอ ดีลิบีส แต่งบทร้องโดย Edmond Gondinet และ Philippe Gille ดัดแปลงจากเรื่อง Rarahu ou Le Mariage de Loti (1880) นวนิยายอัตชีวประวัติของปีแอร์ โลตี (1850 - 1923) เรื่องราวความรักและชู้สาวของนายทหารเรือฝรั่งเศสชื่อ Julien Viaud (เป็นชื่อจริงของผู้เขียน) กับหญิงสาวพื้นเมืองตาฮิติชื่อ ราราฮู ต่อมาผู้เขียนได้เปลี่ยนชื่อตัวเป็นภาษาพอลินีเซียว่า โลตี ลีโอ ดีลิบีสได้เปลี่ยนชื่อตัวละคร และสถานที่จากในนวนิยาย ตัวพระเอกเป็นนายทหารอังกฤษในบริติชราชของอินเดีย ชื่อ เจอรัลด์ ตัวนางเอกชื่อ ลักเม เป็นลูกสาวของนักบวชพราหมณ์ชื่อ นิลขันธ์ (Nilakantha) ดีลิบีสแต่งอุปรากรเรื่องนี้ในช่วงปี..

ใหม่!!: พอลินีเชียและลักเม · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรมแลพีตา

ริเวณที่มีการค้นพบเครื่องปั้นดินเผาของวัฒนธรรมแลพีตา วัฒนธรรมแลพีตา (Lapita Culture) เป็นกลุ่มบุคคลหรือวัฒนธรรมในยุคก่อนประวัติศาสตร์ในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งดำรงอยู่ในช่วงระยะเวลาประมาณ 1600 ปีก่อนคริสตกาลถึง 500 ปีก่อนคริสตกาล นักโบราณคดีเชื่อว่าชาวแลพีตาเป็นบรรพบุรุษและเป็นจุดกำเนิดของวัฒนธรรมทั้งในภูมิภาคพอลินีเซีย ไมโครนีเซีย และบางพื้นที่ของเมลานีเซีย ลักษณะของวัฒนธรรมแลพีตาเป็นการขยายพื้นที่อยู่อาศัยในหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่ไม่เคยมีใครอยู่อาศัยมาก่อน ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายการอยู่อาศัยอย่างกว้างขวาง การปั้นเครื่องปั้นดินเผา การแพร่กระจายของการใช้หินออปซีเดียน รวมไปถึงการแพร่กระจายของกลุ่มภาษาโอเชียเนีย ชาวแลพีตาอาจเป็นกลุ่มคนที่มีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในการนำทางและการเดินเรือในสมัยนั้น จากการเดินทางหาเกาะสำหรับการอยู่อาศัยในหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่กว้างใหญ่ ทายาทของชาวแลพีตาคือคนในกลุ่มพอลินีเซียในปัจจุบันที่ลงหลักปักฐานตั้งแต่ฮาวายจนถึงเกาะอีสเตอร์ นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่าผู้คนในวัฒนธรรมแลพีตาอาจเคยเดินทางถึงทวีปอเมริกาใต้.

ใหม่!!: พอลินีเชียและวัฒนธรรมแลพีตา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกกระทุง

นกกระทุง หรือ นกเพลิแกน (Pelican) เป็นวงศ์ของนกน้ำขนาดใหญ่วงศ์หนึ่ง ในอันดับนกกระทุง (Pelecaniformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pelecanidae เป็นนกที่มีลำตัวขนาดใหญ่ (125-165 เซนติเมตร) มีลักษณะเด่น คือ จะงอยปากใหญ่ ปากบนแบน ปลายจะงอยปากงอเป็นขอ ปากล่างมีถุงใต้คางแผ่จนถึงคอโดยไม่มีขนปกคลุม รูจมูกเล็กอยู่บริเวณร่องปากซึ่งยาวตลอดทางด้านข้างของจะงอยปากบน ปีกใหญ่และกว้าง ขนปลายปีกเส้นที่ 2 นับจากด้านนอกยาวที่สุด หางสั้น ปลายหางตัด ขณะบินคอจะหดสั้น ขาอ้วนและสั้น แข้งด้านข้างแบน ทางด้านหน้าปกคลุมด้วยเกล็ดแบบร่างแห มีฟังผืดนิ้วแบบตีนพัดเต็ม เป็นนกหาปลาที่กินปลา โดยการใช้ถุงใต้คางช้อนปลาในน้ำ หรือบินลงในน้ำแล้วพุ่งจับ ทำรังเป็นกลุ่มด้วยวัสดุจากกิ่งไม้ ปกติทำรังบนพื้นดิน แต่บางครั้งก็ทำรังบนต้นไม้ วางไข่ครั้งละ 1-4 ฟอง สีเปลือกไข่เหมือนสีผงชอร์คปกคลุม ลูกนกแรกเกิดเป็นลูกอ่อนเดินไม่ได้ ไม่มีขนปกคลุม ขนมีสีชมพูโดยปกติ เป็นนกที่หากินและอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำและชายทะเล นอกจากจะกินปลาแล้ว นกกระทุงในบางครั้งยังมีพฤติกรรมกินไข่นกหรือลูกนกตัวอื่นเป็นอาหาร ตลอดจนนกในวัยโตเต็มที่เช่น นกพิราบ เป็นอาหารได้ด้วย พบกระจายพันธุ์เกือบทั่วโลก ยกเว้นทางซีกโลกทางเหนือ, นิวซีแลนด์ และโพลีนีเซีย แบ่งออกได้แค่สกุลเดียว (บางข้อมูลแบ่งเป็น 2 สกุล) 8 ชนิด ในประเทศไทยเพียงชนิดเดียว.

ใหม่!!: พอลินีเชียและวงศ์นกกระทุง · ดูเพิ่มเติม »

สกุลพุด

กุลพุด หรือ Gardenia เป็นสกุลของพืชมีดอกที่มีสมาชิก 142 สปีชีส์ อยู่ในวงศ์เข็ม หรือ Rubiaceae เป็นพืชพื้นเมืองในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของแอฟริกา เอเชียใต้ ออสเตรเลีย และพื้นที่ในแถบมหาสมุทร เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ดอกออกเป็นกลุ่ม สีขาวหรือเหลือง.

ใหม่!!: พอลินีเชียและสกุลพุด · ดูเพิ่มเติม »

สกุลนมตำเลีย

กุลนมตำเลีย หรือ Hoya เป็นสกุลของพืชในวงศ์นมตำเลีย มี 200–300 สปีชีส์ในเขตร้อน ส่วนใหญ่เป็นพืชพื้นเมืองในเอเชีย ได้แก่ อินเดีย จีน ไทย มาเลเซีย, และ อินโดนีเซีย และยังพบใน ฟิลิปปินส์ โพลีเนเซีย นิวกินี และ ออสเตรเลี.

ใหม่!!: พอลินีเชียและสกุลนมตำเลีย · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะซามัว

หมู่เกาะซามัว เป็นกลุ่มเกาะครอบคลุมพื้นที่ 3,030 ตารางกิโลเมตรในแปซิฟิกใต้ตอนกลาง เป็นส่วนหนึ่งของพอลินีเซีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคโอเชียเนียอีกทอดหนึ่ง ประชากรหมู่เกาะซามัวมีประมาณ 250,000 คน โดยใช้ภาษากลางร่วมกัน ตลอดจนมีวัฒนธรรมและรูปแบบการปกครองพื้นเมืองแบบเดียวกัน เนื่องจากการล่าอาณานิคม หมู่เกาะและประชากรซามัวจึงถูกแบ่งแยกโดยอำนาจตะวันตก ปัจจุบัน หมู่เกาะมีสองเขตอำนาจควบคุม (jurisdiction) คือ ประเทศเอกราชซามัวในซีกตะวันตกของหมู่เกาะ และดินแดนอเมริกันซามัว ซึ่งประกอบด้วยหมู่เกาะทางตะวันออก ภูมิภาคทั้งสองนี้แบ่งแยกโดยมหาสมุทรกว้าง 64 กิโลเมตร ชาวซามัวส่วนใหญ่เป็นสายเลือดพอลินีเซียพันธุ์แท้และเป็นหนึ่งในประชากรพอลินีเซียที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใน..

ใหม่!!: พอลินีเชียและหมู่เกาะซามัว · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะแปซิฟิก

3 กลุ่ม ของหมู่เกาะแปซิฟิก หมู่เกาะแปซิฟิก (Pacific Islands) ประกอบด้วยเกาะเล็กเกาะใหญ่ราว 20,000 ถึง 30,000 เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ในบางครั้งอาจเรียกว่าโอเชียเนีย ถึงแม้ว่าโอเชียเนีย อาจหมายถึงออสตราเลเซียและกลุ่มเกาะมลายู หมู่เกาะแปซิฟิกประกอบด้วย 3 กลุ่มใหญ่ คือ ไมโครนีเซีย เมลานีเซีย และพอลินีเซี.

ใหม่!!: พอลินีเชียและหมู่เกาะแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

หยาดน้ำค้าง (สกุล)

หยาดน้ำค้าง (Sundew) เป็นพืชกินสัตว์สกุลใหญ่สกุลหนึ่ง ในวงศ์หญ้าน้ำค้าง มีประมาณ 194 ชนิด สามารถล่อ จับ และย่อยแมลงด้วยต่อมเมือกของมันที่ปกคลุมอยู่ที่ผิวใบ โดยเหยื่อที่จับได้จะใช้เป็นสารเสริมทดแทนสารอาหารที่ขาดไป พืชในสกุลหยาดน้ำค้างมีหลายรูปแบบและหลายขนาดต่างกันไปในแต่ละชนิด สามารถพบได้แทบทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา ชื่อวิทยาศาสตร์ของหยาดน้ำค้าง คือ Drosera มาจากคำในภาษากรีก δρόσος: "drosos" แปลว่า "หยดน้ำ หรือ น้ำค้าง" รวมทั้งชื่อในภาษาอังกฤษ "sundew" กลายมาจาก ros solis ซึ่งเป็นภาษาละตินแปลว่า "น้ำตาพระอาทิตย์" โดยมีที่มาจากเมือกบนปลายหนวดแต่ละหนวดที่แวววาวคล้ายน้ำค้างยามเช้า ในประเทศไทยพบหยาดน้ำค้างอยู่ 3 ชนิดคือ จอกบ่วาย (Drosera burmannii Vahl), หญ้าน้ำค้าง (Drosera indica L.) และ หญ้าไฟตะกาด (Drosera peltata Sm.).

ใหม่!!: พอลินีเชียและหยาดน้ำค้าง (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

หอยสังข์มะระ

หอยสังข์มะระ (Murex shell, Ramose murex, Branched murex) เป็นหอยฝาเดียวจำพวกหอยสังข์ จัดอยู่ในวงศ์หอยหนาม เป็นหอยฝาเดียวขนาดกลางที่มีเปลือกหนา ด้านปากมีหนามยื่นยาวออกไปและมีร่องลึก บนเปลือกมีหนามจำนวน 3 แถว เรียงตัวตามความยาว หนามแต่ละอันพับเป็นราง ปลายไม่แหลมและไม่แผ่แบน โดยแถวที่อยู่ขอบด้านนอกมีแง่ยื่นออกไปทางด้านข้างมากกว่าแถวอื่น ช่องเปิดปากกว้าง ความยาวเปลือกประมาณ 25 เซนติเมตร พื้นผิวเปลือกสีขาว พบอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง ใต้เขตน้ำขึ้น-น้ำลง พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในเขตอินโด-แปซิฟิก และพบถึงยังแอฟริกาใต้, ทะเลแดง, อ่าวโอมาน, มอริเชียส, อ่าวไทย, โปลินีเซีย, ตอนใต้ของญี่ปุ่น, นิวแคลิโดเนีย และรัฐควีนส์แลนด์ ในออสเตรเลีย เป็นหอยที่นิยมนำเนื้อมารับประทาน และเปลือกใช้ในการทำเครื่องประดับเพื่อความสวยงาม.

ใหม่!!: พอลินีเชียและหอยสังข์มะระ · ดูเพิ่มเติม »

หนูจี๊ด

หนูจี๊ด (อังกฤษ: Polynesian rat, Pacific rat; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rattus exulans) เป็นหนูชนิดหนึ่งในวงศ์ Muridae วงศ์ย่อย Murinae เป็นหนูที่มีขนาดเล็กที่สุดที่อยู่ในสกุล Rattus มีขนสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ ขนชั้นนอกแข็ง หางมีสีดำเรียบสนิทมีความยาวกว่าความยาวลำตัวและหัวรวมกันเสียอีก และไม่มีขน ส่วนท้องสีขาว มีความยาวลำตัวและหัว 10.5 เซนติเมตร หางยาว 12.8 เซนติเมตร น้ำหนัก 36 กรัม ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 4 คู่ 2 คู่แรกอยู่ที่หน้าอก อีก 2 คู่อยู่ที่หน้าท้อง สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี โดยตั้งท้องนานประมาณ 21-22 วัน ตกลูกครั้งละ 7-12 ตัว ปีหนึ่งสามารถออกลูกได้ราว 5-6 ครอก อายุขัยมากที่สุดที่พบประมาณ 6 ปี หนูจี๊ด เป็นหนูที่สามารถพบได้ทั่วไปตามบ้านเรือน พื้นที่เกษตรกรรมเช่น โรงนา, ยุ้งฉาง แต่กลับไม่พบในที่นา และสามารถพบได้ในป่าและถ้ำ เป็นหนูที่มีพฤติกรรมว่องไวมาก ทำรังโดยไม่ขุดรู สามารถปีนป่ายและกระโดดได้เก่ง สามารถไต่ไปตามเส้นลวดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางแคบ ๆ ได้เป็นระยะทางหลายเมตร โดยใช้หางที่ยาวนั้นช่วยทรงตัวและเกาะเกี่ยว ว่ายน้ำเก่ง กินอาหารได้แทบทุกชนิด และกินอาหารตามที่มนุษย์กินได้ด้วย โดยกินมากเป็นน้ำหนักประมาณ 10 เท่าของน้ำหนักตัวต่อวัน พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์จนถึงภูมิภาคออสตราเลเชีย, โอเชียเนีย จนถึงฮาวายและโพลินีเซีย โดยมีชื่อเรียกในภาษาเมารีว่า kiore จัดเป็นหนูชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ตามบ้านเรือนเช่นเดียวกับ หนูท้องขาว (R. rattus) และหนูบ้าน (R. norvegicus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน.

ใหม่!!: พอลินีเชียและหนูจี๊ด · ดูเพิ่มเติม »

ออสตราเลเซีย

แผนที่ออสตราเลเซีย ออสตราเลเซีย (Australasia) คือชื่อที่ใช้เรียกภูมิภาคโอเชียเนีย กล่าวคือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะใกล้เคียงในมหาสมุทรแปซิฟิก ผู้คิดคำนี้ขึ้น คือ ชาร์ล เดอ บรอส (Charles de Brosses) ซึ่งระบุไว้ในหนังสือประวัติการสำรวจซีกโลกใต้ (Histoire des navigations aux terres australes) เมื่อ..

ใหม่!!: พอลินีเชียและออสตราเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

อิกัวนา

อิกัวนา (อังกฤษและiguana) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าในสกุล Iguana ในวงศ์อิกัวนา (Iguanidae) และในวงศ์ย่อย Iguaninae พบกระจายพันธุ์ในเม็กซิโก, อเมริกากลาง รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ในภูมิภาคแคริบเบียนและพอลินีเซีย กิ้งก่าสกุลนี้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในเชิงวิทยาศาสตร์เมื่อปี..

ใหม่!!: พอลินีเชียและอิกัวนา · ดูเพิ่มเติม »

ผจญภัยตำนานหมู่เกาะทะเลใต้

ผจญภัยตำนานหมู่เกาะทะเลใต้ หรือ โมอาน่า (อังกฤษ: Moana) เป็นภาพยนตร์เพลงแอนนิเมชั่นสามมิติแนวแฟนตาซีคอมเมดี้และผจญภัย ในปี..

ใหม่!!: พอลินีเชียและผจญภัยตำนานหมู่เกาะทะเลใต้ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิตูอีโตงา

ักรวรรดิตูอีโตงา เป็นจักรวรรดิหนึ่งที่มีอำนาจยิ่งใหญ่มากในเขตโอเชียเนีย โดยจักรวรรดินี้ก่อตั้งขึ้นราวปี ค.ศ. 950 โดยพระเจ้าอะโฮเออิตู แต่เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 - 15 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยของจักรพรรดิโมโมและจักรพรรดิตูอิตาตูอิ ซึ่งสามารถขบายอำนาจได้ตั้งแต่ นีอูเอ ถึงติโกเปีย จักรวรรดินี้เคยขยายอาณาเขตได้ไกลที่สุดถึงรัฐแยปของไมโครนีเซีย มีเมืองหลวงสำคัญของจักรวรรดิที่มูอา ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะโตงาตาปู โดยมีพระมหากษัตริย์ปกครองมาจาก 3 ราชวงศ์ และตั้งแต่คริสศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา จักรวรรดิตูอีโตงามีราชวงศ์ปกครองจักรวรรดิพร้อมกันถึง 3 ราชวงศ์ในเวลาเดียวกัน ในปัจจุบันนักวิจัยได้พยายามค้นคว้าถึงบทบาทของจักรวรรดิในการค้าทางทะเล รวมไปถึงอิทธิพลของจักรวรรดิในบริเวณต่างๆ แต่ยังคงขาดหลักฐานเชิงประจักษ์"The Pacific Islands: An Encyclopedia," edited by Lal and Fortune, p. 133.

ใหม่!!: พอลินีเชียและจักรวรรดิตูอีโตงา · ดูเพิ่มเติม »

ทุเรียน

ทุเรียน เป็นไม้ผลในวงศ์ฝ้าย (Malvaceae) ในสกุลทุเรียน (Durio) (ถึงแม้ว่านักอนุกรมวิธานบางคนจัดให้อยู่ในวงศ์ทุเรียน (Bombacaceae) ก็ตาม) เป็นผลไม้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้วันดี กฤษณพันธ์, สมุนไพรน่ารู้, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 3..

ใหม่!!: พอลินีเชียและทุเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ข้าหลวงหลังลาย

้าหลวงหลังลาย เป็นเฟิร์นชนิดหนึ่งในวงศ์ Aspleniaceae พบในเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนใต้ของออสเตรเลีย รัฐฮาวาย โพลีนีเซีย เกาะคริสต์มาส ประเทศอินเดีย และทางตะวันออกของทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: พอลินีเชียและข้าหลวงหลังลาย · ดูเพิ่มเติม »

ดินแดนของสหรัฐอเมริกา

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: พอลินีเชียและดินแดนของสหรัฐอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

งูสมิงทะเลปากดำ

งูสมิงทะเลปากดำ (Black banded sea snake, Brown-lipped sea krait) เป็นงูทะเลที่มีพิษร้ายแรงต่อระบบกล้ามเนื้อ ที่พบได้ในประเทศไทย มีความยาวได้ถึง 2 เมตร จึงจัดเป็นทะเลที่ใหญ่ที่สุดด้วยที่พบได้ในน่านน้ำไทย ลำตัวเป็นสีเทา หรือเทาเหลืองลายเป็นปล้องหรือลักษณะคล้ายชายธงขว้างตามตัว หัวมีขนาดเล็ก ส่วนหางเล็กเหมือนส่วนหัว ใช้สำหรับว่ายน้ำ ปกติจะใช้ชีวิตอยู่ในทะเลตลอดทั้งชีวิต แต่ก็สามารถคลานขึ้นมาบนชายหาดได้บ้าง เพราะมีเกล็ดส่วนท้องมีค่อนข้างกว้างอย่างน้อยประมาณครึ่งหนึ่งของความกว้างลำตัว สามารถใช้คลานได้ โดยมักอาศัยหากินปลาตามแนวปะการังใกล้ชายฝั่งที่เป็นบริเวณน้ำตื้น แต่เมื่อวางไข่จะขึ้นมาวางไข่บนบกในที่ ๆ เงียบสงบ เช่น ในโพรงถ้ำ โดยในน่านน้ำไทยจะพบที่อ่าวไทย สำหรับในต่างประเทศพบได้ที่ศรีลังกา, พม่า, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, โพลินีเซีย, ฟิจิ, ไต้หวัน, อ่าวเบงกอล, ปาปัวนิวกินี, นิวแคลิโดเนีย, หมู่เกาะโซโลมอน.

ใหม่!!: พอลินีเชียและงูสมิงทะเลปากดำ · ดูเพิ่มเติม »

ตูอาโมตัส

ตูอาโมตัส หรือ กลุ่มเกาะตูอาโมตู (Îles Tuamotu, หรือชื่อทางการคือ Archipel des Tuamotu) เป็นกลุ่มเกาะในดินแดนเฟรนช์โปลินีเซีย อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ส่วนใหญ่เป็นเกาะปะการังวงแหวน มีเกาะเล็ก ๆ รวมกันประมาณ 80 เกาะ เป็นแนวเกาะปะการังวงแหวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมพื้นที่ขนาดราวยุโรปตะวันตก เปโดร เฟร์นันเดส เด เกย์รอส นักเดินเรือชาวโปรตุเกสเดินเรือให้แก่กษัตริย์สเปนมาพบบางส่วนของกลุ่มเกาะนี้ใน..

ใหม่!!: พอลินีเชียและตูอาโมตัส · ดูเพิ่มเติม »

ตูอิ มานูอา เอลิซาลา

ตูอิ มานูอา เอลิซาลา ตูอิ มานูอา เอลิซาลา Tui Manuʻa Elisala (ประมาณ 2442) ทรงเป็นผู้ปกครองดินแดนตูอิมานูอา ในช่วงประมาณพ.ศ. 2442 ตำแหน่งตูอิมานูอาถือเป็นตำแหน่งที่เก่าแก่ที่สุดในแถบดินแดนซามัวและโพลีนีเซีย หมวดหมู่:ผู้ปกครองซามัว.

ใหม่!!: พอลินีเชียและตูอิ มานูอา เอลิซาลา · ดูเพิ่มเติม »

ซาไวอี

ซาไวอี (Savaiʻi) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและมีจุดสูงสุดของประเทศซามัวและกลุ่มเกาะซามัว และเป็นเกาะใหญ่สุดในโพลินีเซีย นอกเหนือจากฮาวายและนิวซีแลนด์ เกาะมีประชากร 43,142 คน (ค.ศ. 2006) ถือเป็น 24% ของประชากรทั้งประเท.

ใหม่!!: พอลินีเชียและซาไวอี · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์หมู่เกาะแปซิฟิก

ประวัติศาสตร์หมู่เกาะแปซิฟิก เป็นประวัติศาสตร์หมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิก ชาวโพลินีเซียมีความเจริญสูงสุดโดยเฉพาะประเทศตองกาและประเทศซามัว ซึ่งเจริญมากจนมีการสร้างขึ้นเป็นอาณาจักร สำหรับชาวเมลานีเซียความเจริญมากสุดอยู่ที่ประเทศฟิจิและหมู่เกาะโซโลมอน และมีสังคมแบบชนเผ่า สังเกตได้ในประเทศปาปัวนิวกินีซึ่งมีชนเผ่ากว่า 100 ชนเผ่า ส่วนภูมิภาคไมโครนีเซียก็มีประชากรอาศัยกันอยู่อย่างช้านานแบบชนเผ่า บางแห่งเป็นรัฐ แว่นแคว้นหรืออาณาจักร ในประเทศออสเตรเลียมีชาวอบอริจินส์อาศัยอยู่นานถึง 40000 - 50000 ปี สำหรับประเทศนิวซีแลนด์มีชาวมาวรีอาศัยอยู.

ใหม่!!: พอลินีเชียและประวัติศาสตร์หมู่เกาะแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศชิลี

ลี (Chile ชีเล) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐชิลี (Republic of Chile; República de Chile) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาใต้ มีเนื้อที่ติดชายฝั่งทะเลยาวระหว่างเทือกเขาแอนดีสกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีอาณาเขตจรดประเทศอาร์เจนตินาทางทิศตะวันออก จรดโบลิเวียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และจรดเปรูทางทิศเหนือ ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกของประเทศมีความยาว 6,435 กิโลเมตร ซีไอเอ ชิลีมีดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยครอบครองหมู่เกาะควนเฟร์นันเดซ เกาะซาลาอีโกเมซ หมู่เกาะเดสเบนตูราดัส และเกาะอีสเตอร์ในโพลินีเซีย ชิลียังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนในแอนตาร์กติกาด้ว.

ใหม่!!: พอลินีเชียและประเทศชิลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตองงา

ตองงา (อังกฤษและTonga) มีชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรตองงา (Kingdom of Tonga; Puleʻanga Fakatuʻi ʻo Tonga ปูเลอางา ฟากาตูอีโอโตงา) เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคพอลินีเชีย ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างประเทศนิวซีแลนด์กับรัฐฮาวายของสหรัฐอเมริกา โดยทะเลอาณาเขตทางตะวันตกติดกับประเทศฟิจิ ส่วนทางตะวันออกติดกับหมู่เกาะคุก นีวเว และอเมริกันซามัว ในขณะที่ทางทิศเหนือติดกับหมู่เกาะวาลิสและฟูตูนา ประเทศซามัว และอเมริกันซามัว ชื่อประเทศในภาษาตองงาแปลว่าทิศใต้ นอกจากนี้ประเทศนี้ได้รับฉายาว่า หมู่เกาะมิตรภาพ จากกัปตันเจมส์ คุก ประเทศตองงาเป็นประเทศขนาดเล็กมีเนื้อที่เพียง 747 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 189 ของโลก หมู่เกาะตองงาประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ประมาณ 169 เกาะ โดยมีเพียง 36 เกาะเท่านั้นที่มีผู้อยู่อาศัย เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะโตงาตาปู ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองคือนูกูอาโลฟา เกาะส่วนใหญ่ของตองงาเป็นเกาะที่เกิดจากการทับถมของปะการัง ประชากรของตองงามีทั้งสิ้น 103,036 คน นับเป็นอันดับที่ 192 ของโลก สันนิษฐานว่ามนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยในตองงาครั้งแรกเมื่อ 826 ± 8 ปีก่อนคริสตกาล ตองงาเริ่มก่อตั้งอาณาจักรเป็นของตนเองในปี..

ใหม่!!: พอลินีเชียและประเทศตองงา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตูวาลู

ตูวาลู (ตูวาลูและTuvalu) หรือเดิมเป็นที่รู้จักกันในชื่อ หมู่เกาะเอลลิซ (Ellice Islands) เป็นประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ชื่อประเทศแปลว่า "แปดยืนยง" (Eight Standing Together) ในภาษาตูวาลู นอกจากนครรัฐวาติกันแล้ว ตูวาลูเป็นประเทศอิสระที่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก เนื่องจากมีความสูงต่ำ (สูงสุดคือ 5 เมตร) เกาะที่ประกอบเป็นประเทศนี้ อาจจะเกิดปัญหาถ้าระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้า ประชากรอาจจะอพยพไปที่ประเทศนิวซีแลนด์หรือเกาะนีอูเอซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ที่เป็นปกครองตนเองแต่ขึ้นกับนิวซีแลนด์ที่ไม่มีปัญหาจากการเพิ่มของระดับน้ำทะเล แต่มีประชากรน้อยลง.

ใหม่!!: พอลินีเชียและประเทศตูวาลู · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซามัว

รัฐเอกราชซามัว (ซามัว: Malo Sa‘oloto Tuto'atasi o Sāmoa; Independent State of Samoa) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ซามัว (ซามัว: Sāmoa; Samoa) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยหมู่เกาะอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ชื่อในอดีตคือ เยอรมันซามัว ระหว่างปี พ.ศ. 2443 ถึง พ.ศ. 2457 และ ซามัวตะวันตก ระหว่างปี พ.ศ. 2457 ถึง พ.ศ. 2540.

ใหม่!!: พอลินีเชียและประเทศซามัว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้ม

ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้ม (Midas blenny, Persian blenny) ปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตั๊กแตนหิน (Blenniidae) เป็นปลาจำพวกปลาตั๊กแตนหิน หรือปลาเบลนนี่ มีลักษณะคล้ายปลาบู่ แต่ปากมีขนาดเล็ก เหนือตามีเส้นเป็นติ่งสั้น ๆ ไม่มีเกล็ด ครีบท้องเป็นเส้น ครีบหลังตอนเดียว ครีบหางมีลักษณะเหมือนพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ตามีสีน้ำเงินอมฟ้า ครีบหลังเป็นสีเหลืองทองขอบฟ้า ตอนหลังสีเหลืองทอง ส่วนท้องสีชมพู มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 12 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแนวปะการัง อาศัยอยู่ตามซอกหิน กินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์น้ำขนาดเล็ก กระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ทะเลแดงจนถึงโพลีนีเซีย ในน่านน้ำไทยเป็นปลาที่พบได้ไม่บ่อย พบได้เฉพาะฝั่งทะเลอันดามัน เป็นปลาอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: พอลินีเชียและปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้ม · ดูเพิ่มเติม »

นูเมอา

นูเมอา (Nouméa) เป็นเมืองหลวงของนิวแคลิโดเนีย ซึ่งเป็นดินแดนในเขตโอเชียเนียของประเทศฝรั่งเศส มีพื้นที่ 45.7 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 97,579 คนจากข้อมูลสำมะโนประชากรปี..

ใหม่!!: พอลินีเชียและนูเมอา · ดูเพิ่มเติม »

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี ร่องรอยของมนุษย์ในสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตและสร้างสังคม-วัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียงได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่ง ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้องค์การยูเนสโกจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก.

ใหม่!!: พอลินีเชียและแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง · ดูเพิ่มเติม »

โมไอ

รูปปั้นโมไอจำนวน 15 ตัว ที่อาฮูโตงารีกี (Ahu Tongariki) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะ หันหลังให้ทะเล ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ในคริสต์ทศวรรษ 1990 โดยนักโบราณคดีชื่อ เกลาดีโอ กริสตีโน (Claudio Cristino) โมไอ (ราปานูอี: mo‘ai; moái) คือ รูปปั้นหินซึ่งมีรูปร่างคล้ายมนุษย์และส่วนศีรษะมีขนาดใหญ่เด่นชัด โมไอถูกพบมากกว่า 600 ตัว กระจายอยู่ทั่วเกาะอีสเตอร์ อุทยานแห่งชาติราปานูอี ประเทศชิลี โมไอเกือบทั้งหมดที่พบนั้นถูกแกะสลักมาจากหินก้อนเดียว แต่บางตัวก็มีของประดับลักษณะคล้ายหมวกหรือมวยผมซึ่งเรียกว่า "ปูเกา" (pukao) เป็นชิ้นต่างหากอยู่บนศีรษะ โมไอเกือบทั้งหมดถูกแกะสลักมาจากเหมืองหินที่ปล่องภูเขาไฟราโนรารากู (Rano Raraku) ซึ่งเป็นที่ที่พบโมไออยู่กว่า 400 ตัว อยู่ในกระบวนการแกะสลักซึ่งใกล้เสร็จสมบูรณ์ จากการค้นพบรูปปั้นที่ยังแกะสลักอยู่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ นั้น ทำให้มีการสันนิษฐานว่าเหมืองหินได้ถูกทิ้งร้างไปอย่างกะทันหัน นอกจากนั้นในการค้นพบ โมไอเกือบทั้งหมดอยู่ในสภาพล้มนอน ซึ่งเชื่อว่าชาวพื้นเมืองบนเกาะเป็นผู้ทำให้มันล้ม ลักษณะที่เด่นชัดของโมไอ คือ ส่วนหัว แต่ก็มีโมไอหลายตัวซึ่งมีส่วนหัวไหล่, แขน และลำตัว ซึ่งเป็นโมไอที่พบหลังจากถูกฝังมานานนับปี ความหมายและวัตถุประสงค์ของการสร้างโมไอนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดและมีการสันนิษฐานกันไปต่าง ๆ นานา ข้อสันนิษฐานที่แพร่หลายมากที่สุดข้อหนึ่ง คือ รูปปั้นโมไอถูกแกะสลักโดยชาวโปลินีเซียซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะนี้เมื่อกว่า 1,000 ปีมาแล้ว ข้อสันนิษฐานนี้เชื่อว่า พวกโปลินีเซียอาจสร้างโมไอขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ หรืออาจจะเป็นผู้ซึ่งมีความสำคัญ ณ สมัยนั้น หรืออาจจะเป็นสัญลักษณ์แสดงสถานะของครอบครัว เห็นได้ชัดว่าการสร้างโมไอ (ขนาดทั่วไปสูงประมาณ 3.5 เมตร หนัก 20 ตัน) นั้นต้องลงทุนลงแรงและใช้เวลาเป็นอย่างมาก หลังจากสร้างเสร็จแล้วยังต้องเคลื่อนย้ายรูปปั้นไปยังตำแหน่งที่ต้องการ การขนย้ายโมไอซึ่งหนักและใหญ่นั้นทำอย่างไรก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยชาวพื้นเมืองของเกาะนั้นมีความเชื่อว่า โมไอนั้นเดินได้เอง ในตำนานของเกาะนั้นกล่าวถึงหัวหน้าเผ่าซึ่งเสาะหาที่ตั้งบ้านใหม่ และเขาได้เลือกหมู่เกาะอีสเตอร์ หลังจากที่หัวหน้าเผ่าตายไป เกาะก็ได้ถูกแบ่งให้เหล่าลูกชายของเขาเพื่อให้เป็นหัวหน้าเผ่าใหม่ เมื่อหัวหน้าเผ่าคนใดตายไปก็มีการนำโมไอไปตั้งไว้ ณ สุสาน ชาวเกาะทั้งหลายเชื่อว่ารูปปั้นโมไอจะรักษาจิตวิญญาณของหัวหน้าเผ่าเหล่านั้นไว้ เพื่อให้นำสิ่งดี ๆ มาสู่เกาะ เช่น ฝนตก พืชพรรณสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ตำนานนี้อาจมีการบิดเบือนไปจากความจริงเนื่องจากได้มีการเล่าสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน.

ใหม่!!: พอลินีเชียและโมไอ · ดูเพิ่มเติม »

โอเชียเนีย

อเชียเนีย (Oceania) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มของหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก การใช้ในวงแคบ หมายถึง หมู่เกาะพอลินีเซีย (รวมนิวซีแลนด์) หมู่เกาะเมลานีเซีย (รวมนิวกินี) และหมู่เกาะไมโครนีเซีย การใช้ในวงกว้างจะรวมออสเตรเลียเข้าไปด้วย และอาจรวมถึงกลุ่มเกาะมลายู บางทีนำไปใช้ในความหมายที่รวมเอาเกาะอื่นๆ เข้าไว้ เช่น ญี่ปุ่นและหมู่เกาะอาลิวเชียน แต่พบน้อยมาก "โอเชียเนีย" หมายถึง กลุ่มประเทศและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทวีปออสเตรเลียซึ่งเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุด เนื้อที่ราว 7.7 ล้านตารางกิโลเมตร เล็กกว่าทวีปเอเชียถึง 6 เท่า ประกอบด้วย ผืนแผ่นดินที่เป็นที่ตั้งของประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ และหมู่เกาะพอลินีเซีย หมู่เกาะไมโครนีเซีย หมู่เกาะเมลานีเซีย ทวีปออสเตรเลีย-โอเชียเนีย เป็นกลุ่มของหมู่เกาะจำนวนมากนับพันเกาะ อย่างไมโครนีเซียมีในครอบครองกว่า 600 เก.

ใหม่!!: พอลินีเชียและโอเชียเนีย · ดูเพิ่มเติม »

เฟรนช์พอลินีเชีย

ฟรนช์พอลินีเชีย (French Polynesia; Polynésie française; ตาฮีตี: Pōrīnetia Farāni) เป็นดินแดนของฝรั่งเศสในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ มีฐานะเป็น "overseas collectivity" พร้อมกับ "overseas country" ซึ่งเป็นตำแหน่งเฉพาะตัว ประกอบด้วยกลุ่มเกาะหลายเกาะในภูมิภาคโพลินีเซีย เกาะที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ตาฮีตีในหมู่เกาะโซไซตี ซึ่งยังเป็นเกาะที่มีผู้อยู่อาศัยมากที่สุดและเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของดินแดน (ปาเปเอเต) อีกด้วย และแม้จะไม่ได้อยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่เกาะกลีแปร์ตอนก็ถูกบริหารโดยเฟรนช์พอลินีเชี.

ใหม่!!: พอลินีเชียและเฟรนช์พอลินีเชีย · ดูเพิ่มเติม »

เกาะแคโรไลน์

กาะแคโรไลน์ (Caroline Island) หรือ แคโรไลน์อะทอลล์ (Caroline Atoll) บ้างเรียก เกาะมิลเลนเนียม (Millennium Island) และ เกาะเบสซีซา (Beccisa Island) เป็นเกาะปะการังวงแหวนไร้คนอาศัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะไลน์ใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง ชาวยุโรปพบเกาะนี้ครั้งแรกเมื่อประมาณ..

ใหม่!!: พอลินีเชียและเกาะแคโรไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Polynesiaพอลินีเซียโพลินีเซียโพลีนีเซียโพลีเนเซียโปลินีเซียโปลีนีเซีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »