โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเวท

ดัชนี พระเวท

ระเวท คัมภีร์ในศาสนาฮินดู หน้าหนึ่งจากอาถรรพเวท พระเวท (वेद) โดยทั่วไปถือว่าเป็นคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู หากกล่าวโดยเฉพาะลงไป หมายถึง บทสวดต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเชื่อของชาวอินโดอารยัน หรืออาจเรียกได้ว่าศาสนาพราหมณ์ฮินดู โดยมีการรวบรวมเป็นหมวดหมู่ในชั้นหลัง คำว่า “เวท” นั้น หมายถึง ความรู้ มาจากธาตุ “วิทฺ” (กริยา รู้) คัมภีร์พระเวท ประกอบด้วยคัมภีร์ 4 เล่ม ได้แก่ ฤคเวทใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า สามเวทใช้สำหรับสวดในพิธีกรรมถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้า ยชุรเวทว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชายัญและบวงสรวงต่างๆ และ อาถรรพเวท ใช้เป็นที่รวบรวมคาถาอาคมหรือเวทมนตร์ นักประวัติศาสตร์จำนวนมาก ถือว่า พระเวท เป็นส่วนที่เก่าที่สุดที่เหลืออยู่ สำหรับส่วนที่ใหม่สุดของพระเวท น่าจะมีอายุราวพุทธกาล และส่วนที่เก่าสุด ราว 1,000 ปีก่อนพุทธกาล แต่นักภารตวิทยาเชื่อว่า เนื้อหาของคัมภีร์เหล่านี้น่าจะได้มีการท่องจำกันมาก่อนการบันทึกเป็นเวลานานมากแล้ว ซึ่งมีหลักฐานจากลักษณะทางภาษา และปริบททางสังคมต่าง.

38 ความสัมพันธ์: พระพรหมพระพิรุณพระกฤษณะพระมหากัจจายนะพระวักกลิพระสารีบุตรพระสุรัสวดีพระผู้สร้างพระนางสิริมหามายาพระโคตมพุทธเจ้าพราหมณ์พราหโมสมาชกลุ่มภาษาอินโด-อารยันกันดั้มดับเบิลโอภาษาพระเวทภาษาอเวสตะภควัทคีตาภความหีศาสกะมีมางสายชุรเวทราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สันวิวรณ์ศาสนาพุทธกับทฤษฎีวิวัฒนาการศาสนาฮินดูศาสนาแบบอินเดียสามเวทอักษรครันถะจารวากคัมภีร์ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ประวัติศาสตร์อินเดียปรัชญานกกาเหว่าแม่น้ำบีอาสโยนี (ภาษาสันสกฤต)เวทเวทางคศาสตร์

พระพรหม

ระพรหม (ब्रह्मा; Brahma; బ్రహ్మ) เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท พระพรหมมีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์ หรือ ห่าน พระชายา คือ พระสุรัสวดี เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้ ในคัมภีร์มัตสยาปุราณะเล่าว่า พระพรหมเดิมทีมีถึงห้าพักตร์ การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมให้ได้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้ และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ พราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์, กษัตริย์ เกิดจากอก, แพศย์เกิดจากส่วนท้อง และศูทรเกิดจากเท้า ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำราพรหมชาติ ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม ตำราพุทธลักษณะที่ฤษีแต่งไว้ก็มาจากพรหม เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืนและได้รู้เห็นเรื่องราวต่างๆอยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่างๆนั้นเองพราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงาม แม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือโหราศาสตร์จีน ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลังๆ ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกัน ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร" และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่" โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร 4" เป็นต้น.

ใหม่!!: พระเวทและพระพรหม · ดูเพิ่มเติม »

พระพิรุณ

ระพิรุณ หรือ พระวิรุณ หรือ พระวรุณ (वरुण) เป็นเทพเจ้าแห่งฝน ตามคติของศาสนาฮินดู เป็นโลกบาลทิศประจิม (ทิศตะวันตก) มีผิวสีขาวผ่อง ถือบ่วงบาศและอาโภค ทรงจระเข้เป็นพาหนะ (หรือนาค หรือมกร) ในหนังสือพระนลคำหลวง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวระบุว่า พิรุณเป็นนามของพระสุริยะ เป็นลูกนางอทิติ เป็นเทพแห่งความเป็นธรรม พระพิรุณยอมรู้ว่าผู้ใดทำอะไร ย่อมรู้ว่าผู้ใดกะพริบตากี่ครั้ง ใครทำบาป เมื่อมีผู้ทำบาปพระพิรุณจักใช้บ่วงคล้องผู้นั้นไปหาพญายมราชเพื่อนำไปลงทัณฑ์ ในพระเวทเรียก "เจ้าฟ้าอันอยู่ทั่วไป" ภายหลังได้ฉายาว่า "สินธุปติ" แปลว่า "เจ้าน้ำทั่วไป" ในมหาภารตะ พระพิรุณเป็นบุตรพระฤๅษีกรรทม พรหมบุตร พระพิรุณในความเชื่อของคนไทยว่าเป็นผู้ให้ฝน ให้น้ำ ถือพระขรรค์ ทรงพญานาค หรือมกร เป็นพาหนะ จึงเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับการเกษตร อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

ใหม่!!: พระเวทและพระพิรุณ · ดูเพิ่มเติม »

พระกฤษณะ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย วัดพระศรีมหามาริอัมมันที่ประเทศสิงคโปร์ทั้งองค์ พระกฤษณะ (कृष्णLord Krishna) เป็นเทวะองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์-ศาสนาฮินดูโดยถือว่ารูปแบบอวตารของพระวิษณุ และเป็นตัวดำเนินเรื่องสำคัญในมหากาพย์เรื่อง "มหาภารตะ" มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ของประเทศอินเดียและยังทรงเป็นต้นกำเนิดของคัมภีร์ภควัทคีตาหนึ่งในคัมภีร์สำคัญของคัมภีร์พระเวททั้งเป็นพระเจ้าสูงสุดของนิกายฮเรกฤษณ.

ใหม่!!: พระเวทและพระกฤษณะ · ดูเพิ่มเติม »

พระมหากัจจายนะ

รูปปั้นของพระมหากัจจายนะหรือพระสังกัจจายน์ พระมหากัจจายนะ (มหากจฺจายน, มหากาตฺยายน) เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในพระอสีติมหาสาวกของพระโคตมพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร ในประเทศไทยนอกจากชื่อตามภาษาบาลีแล้ว ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ "พระสังกัจจายน์" หรือ "พระสังกระจาย" พระมหากัจจายนะเกิดในตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่งในกรุงอุชเชนี ได้ศึกษพระเวทตามอย่างตระกูลพราหมณ์ทั้งหลาย ท่านเป็นศิษย์ของอสิตดาบสแห่งเขาวินธัย (ผู้ทำนายว่าเจ้าชายสิทธิตถะจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหรือพระพุทธเจ้าในอนาคต) พระมหากัจจายนะพร้อมด้วยมิตรอีก 7 คนได้อาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมเทศนา และได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในระหว่างฟังธรรมนั้นเอง หลังจากนั้นท่านจึงทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธเจ้า และได้เผยแผ่ศาสนาพุทธอยู่ในแคว้นอวันตีจนมีผู้เข้ามาเป็นสาวกในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ในสัทธรรมปุณฑรีกสูตร บรรพที่ 6 ว่าด้วยการพยากรณ์ ได้กล่าวถึงพุทธพยากรณ์ว่า พระมหากัจจายนะ พระสุภูติ พระมหากัสสปะ และพระมหาโมคคัลลานะ (ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น) หลังจากได้สดับพระสูตรนี้แล้ว จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต.

ใหม่!!: พระเวทและพระมหากัจจายนะ · ดูเพิ่มเติม »

พระวักกลิ

ระวักกลิ เป็นพระอรหันต์สาวกองค์หนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า ทรงยกย่องท่านเป็นเอตทัคคะในฝ่ายสัทธาธิมุต (ผู้พ้นจากกิเลสได้ด้วยศรัทธา).

ใหม่!!: พระเวทและพระวักกลิ · ดูเพิ่มเติม »

พระสารีบุตร

ระสารีบุตร (ศฺริปุตฺร; สาริปุตฺต) เป็นพระภิกษุชาวอินเดีย ผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระโคตมพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศกว่าพระภิกษุทั้งปวงในด้านสติปัญญา นอกจากนี้ พระสารีบุตรยังมีคุณธรรมในด้านความกตัญญู และการบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่พุทธศาสนาอีกด้วย จึงมีคำยกย่องภิกษุรูปนี้ว่าเป็น "ธรรมเสนาบดี" (แม่ทัพธรรม) คู่กับพระพุทธเจ้าที่เป็น "ธรรมราชา" พระสารีบุตรเกิดเมื่อใดไม่ปรากฏ แต่นิพพานเมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนกฤติกา (เดือนสิบสอง) ก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน.

ใหม่!!: พระเวทและพระสารีบุตร · ดูเพิ่มเติม »

พระสุรัสวดี

ระสุรัสวตี เทวีอักษรศาสตร์(ตราสัญลักษณ์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระสุรัสวดี หรือ พระสรัสวดี (सरस्वती สรสฺวตี) เป็นเทพสตรีในศาสนาฮินดู ทรงอุปถัมภ์ความรู้, ศิลปะ, ดนตรี, ปัญญา และการเรียนรู้Kinsley, David (1988).

ใหม่!!: พระเวทและพระสุรัสวดี · ดูเพิ่มเติม »

พระผู้สร้าง

ระยาห์เวห์ทรงสร้างอาดัม พระผู้สร้าง (Creator) หมายถึง พระเป็นเจ้า (ตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม) หรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ (ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม) ที่มีอำนาจบันดาลให้โลก (ทั้งเอกภพและจักรวาล) เกิดขึ้น.

ใหม่!!: พระเวทและพระผู้สร้าง · ดูเพิ่มเติม »

พระนางสิริมหามายา

มายาเทวี (मायादेवी) หรือ สิริมหามายา เป็นพระมารดาของพระโคตมพุทธเจ้า พระศาสดาแห่งศาสนาพุทธ และเป็นพระเชษฐภคินีของพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา Buddhist Goddesses of India by Miranda Shaw (Oct 16, 2006) pages 45-46History of Buddhist Thought by E. J. Thomas (Dec 1, 2000) pages เอกสารทางพุทธศาสนาระบุว่า พระนางสิริมหามายาสวรรคตหลังประสูติการพระโคตมพุทธเจ้าได้เพียง 7 วัน เพราะสงวนครรภ์ไว้แด่พระโพธิสัตว์เพียงพระองค์เดียว หลังจากนั้นพระองค์จึงจุติบนสวรรค์ตามคติฮินดู-พุทธ ส่วนพระราชกุมารนั้นได้รับการอภิบาลโดยพระนางมหาปชาบดีโคตมี พระขนิษฐาที่ต่อมาได้เป็นอัครมเหสีในพระเจ้าสุทโธทนะ พระนาม "มายา" เป็นคำสันสกฤตมีความหมายว่า "ภาพลวงตา" บ้างออกพระนามเป็นมหามายา (महामाया, มายาผู้ยิ่งใหญ่) หรือมายาเทวี (मायादेवी, มายาผู้เป็นนางกษัตริย์).

ใหม่!!: พระเวทและพระนางสิริมหามายา · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: พระเวทและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พราหมณ์

ราหมณ์ (อักษรเทวนาครี: ब्राह्मण) เป็นวรรณะหนึ่งในแนวคิดศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น วิปฺระ, ทฺวิช, ทฺวิโชตฺตมะ หรือ ภูสร เป็นต้น พราหมณนั้นเป็นวรรณะหนึ่งในสี่วรรณะของสังคมอินเดีย เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ ในคัมภีร์ ไตรเวทพิธีกรรม จารีต ประเพณี ศิลปะวัฒนธรรม และคติความเชื่อต่าง ๆ ให้สืบทอดต่อไป หรือไม่สืบทอดก็ได้โดยใช้ชีวิตตามปกติชนคนธรรมดาทั่วไป คงไว้ให้ผู้ใดในตระกูลสืบทอดแทน เป็นผู้มีสิทธิ์เลือก แบ่งแยกเป็นนิกายคือ พวกไศวนิกาย จะถือเพศ นุ่งขาว ห่มขาว ไว้มวยผม ถือศีล จริยาวัตรของพราหมณ์ มีครอบครัวได้ อยู่บ้าน หรือ เทวะสถาน ประจำลัทธิ นิกายแห่งตน อีกนิกายหนึ่งคือ ไวษณวะนิกาย จะไว้ผมเปียหรือมวยผม ถือเพศพรหมจรรย์ กินมังสวิรัติ ไม่ถูกต้องตัวสตรีเพศ นุ่งห่มสีขาว หรือสีต่าง ๆตามวรรณะนิกาย และอาศัยอยูในเทวสถาน ในการบวชเป็นพราหมณ์หลวง จะต้องได้รับความยินยอมจากที่ประชุมพราหมณ์ ในทำเนียบพราหมณ์หลวง โดยผู้บวชจะนำของมาถวายพราหมณ์ผู้ใหญ่ แล้วพราหมณ์ผู้ใหญ่จะมอบสายสิญจน์รับพราหมณ์ใหม่ หรือทวิชาติ ซึ่งหมายถึงการเกิดครั้งที่ 2 ซึ่งการบวชพราหมณ์ไม่ได้มีกฎปฏิบัติจำนวนมากเหมือนกับการบวชพระ โดยถือศีล 5 เป็นศีลปฏิบัติ สามารถแต่งกายสุภาพเหมือนผู้ชายทั่วไปในเวลาปกติ และสวมเครื่องแบบเป็นเสื้อราชปะแตนและโจงกระเบนสีขาวในยามประกอบพิธีกรรม รวมถึงสามารถมีภรรยาเพื่อมีทายาทสืบตระกูลพราหมณ์ต่อไปได้ กระนั้นก็ยังมีข้อห้ามบางประการที่พราหมณ์ไม่สามารถทำได้ อาทิ ห้ามรับประทานเนื้อวัว ปลาไหล และงูต่างๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบริวารของเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และห้ามตัดแต่งผม ต้องไว้ผมยาวแล้วมุ่นเป็นมวยไว้ที่ท้ายทอย เพราะตามหลักศาสนาเชื่อว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของเทวดา สำหรับกิจประจำวันที่พราหมณ์ต้องทำ คือนมัสการพระอาทิตย์ตามเวลาเช้า กลางวัน เย็น เพื่อเป็นการนำจิตวิญญาณกลับไปสู่พรหม กล่าวคือ การไหว้พระอาทิตย์จะนำแสงสว่างให้เกิดในปัญญานำไปสู่การหลุดพ้น และจะมีการสาธยายพระเวท ซึ่งถือเป็นคัมภีร์หลักในศาสนาพราหมณ์ ประกอบด้วย ฤคเวท ใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า สามเวท ใช้สำหรับสวดในพิธีกรรมถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้า ยชุรเวท ว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชายัญและบวงสรวงต่างๆ และ อาถรรพเวท ใช้เป็นที่รวบรวมคาถาอาคมหรือเวทมนตร์ ปฏิบัติต่อเทพด้วยความศรัทธา ปัจจุบันพราหมณ์หลวงจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับ พระราชพิธีต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ ในการอัญเชิญพระผู้เป็นเจ้าและทวยเทพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มาเป็นสักขีในการกระทำพิธีนั้นๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่องค์พระมหากษัตริย์ ราชบัลลังก์ และบ้านเมือง โดยงานพระราชพิธีจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ งานประจำปี ได้แก่ งานเฉลิมพระชนมพรรษา วันฉัตรมงคล วันพืชมงคล การเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต เป็นต้น และงานตามวาระ อาทิ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปีที่แล้ว เป็นต้น หน้าที่ของพราหมณ์หลวงคือการรักษาวัฒนธรรมในการประกอบพระราชพิธีถวายตามโอกาสต่างๆ แต่ก็สามารถรับประกอบพิธีอื่นๆ ที่นอกเหนือจากงานพระราชพิธีได้ เรียกว่า รัฐพิธี เป็นงานที่ถูกเชิญมาจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น วางศิลาฤกษ์ ยกเสาเอก งานวันเกิด งานตัดจุก ตั้งศาลพระภูมิ ซึ่งจะมีเงินทักษิณามอบให้พราหมณ์ตามศรัทธา ทั้งนี้ ปัจจุบันมีตระกูลพราหมณ์ที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายงานพระราชพิธี หรือที่เรียกกันว่า พราหมณ์หลวง ซึ่งสืบสายมาจากบรรพบุรุษทั้งสิ้น 7 ตระกูล ได้แก่ สยมภพ โกมลเวทิน นาคะเวทิน วุฒิพราหมณ์ ภวังคนันท์ รัตนพราหมณ์ และรังสิพราหมณกุล.

ใหม่!!: พระเวทและพราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

พราหโมสมาช

ทเพนทรนาถ ฐากุร ผู้ก่อตั้งพราหโมสมาช พราหโมสมาช (Brahmo Samaj; ব্রাহ্ম সমাজ Bramho Shômaj) หมายถึงสมาคมเพื่อการบูชาพระเจ้าอย่างแท้จริง เป็นสมาคมของผู้นับถือศาสนาฮินดู จัดตั้งขึ้นที่กัลกัตตาเมื่อ..

ใหม่!!: พระเวทและพราหโมสมาช · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน

ตที่มีผู้พูดกลุ่มภาษาอินโดอารยัน กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน เป็นสาขาย่อยของกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน จากรายงานใน..

ใหม่!!: พระเวทและกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน · ดูเพิ่มเติม »

กันดั้มดับเบิลโอ

มบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น 1 ในซีรีส์ กันดั้ม เริ่มออกอากาศครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ถึง 29 มีนาคม พ.ศ. 2551 มีความยาวทั้งหมด 25 ตอน และมีกำหนดการที่จะออกอากาศซีซันที่ 2 ต่อ หลังจากเว้นระยะเวลาไปช่วงหนึ่ง ส่วนในประเทศไทย โมบิลสูทกันดั้มดับเบิลโอ วางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี-ดีวีดีลิขสิทธิ์ โดย DEXโดยกันดั้มภาคนี้เป็นกันดั้มภาคสุดท้ายที่ทางDEXจัดจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี.

ใหม่!!: พระเวทและกันดั้มดับเบิลโอ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพระเวท

ษาพระเวท (Vedic Sanskrit) เป็นคำที่ใช้เรียกภาษาของชาวอารยันในยุคเริ่มแรก (ก่อนพ.ศ. 43) ซึ่งเป็นภาษาที่ชาวอารยันใช้เขียนคัมภีร์พระเวทและเป็นต้นตระกูลของภาษาอื่นๆในอินเดีย กล่าวคือเมื่อชาวอารยันติดต่อกับสมาคมกับชาวพื้นเมืองเดิมในอินเดียทำให้เกิดการปะปนกันของภาษาจนวิวัฒนาการเป็นภาษาปรากฤต เช่น ภาษามคธี ภาษาอรรธมคธี ภาษาเศารเสนี ภาษามหาราษฏระ ในยุคนี้เอง นักปราชญ์ชาวอารยันที่ยังใช้ภาษาพระเวทอยู่นั้นเห็นว่า หากปล่อยไว้ภาษาของตนจะปะปนกับภาษาอื่นจนเสียความบริสุทธิ์ของภาษาไป จึงมีการจัดระเบียบภาษาพระเวทขึ้นใหม่โดยวางกฎเกณฑ์ให้เป็นระบบ ตำราไวยากรณ์ที่มีชื่อเสียงคืออัษฏาธยายีของปาณินิ ภาษาที่จัดระเบียบแล้วนี้เรียกภาษาสันสกฤต ส่วนภาษาปรากฤตทั้งหลายนั้นได้วิวัฒนาการมาเป็นภาษาที่ใช้ในอินเดียปัจจุบัน เช่น ภาษาฮินดี ภาษามราฐี ภาษาคุชราต ภาษาเบงกาลี ภาษาปัญจาบ ภาษาอูรดู ภาษาพาชตู ภาษาสิงหล เป็นต้น.

ใหม่!!: พระเวทและภาษาพระเวท · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอเวสตะ

ษาอเวสตะ (Avestan language) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของชาวอิหร่านโบราณ มีอายุไล่เลี่ยกับ ภาษาพระเวท หรือ ภาษาไวทิกะ ซึ่งเป็นภาษาบันทึกคัมภีร์พระเวทของฝ่ายอินเดีย ภาษาอเวสตะเป็นภาษาที่บันทึกความเชื่อทางศาสนาของคนอิหร่านโบราณที่เก่าแก่ที่สุดของชาตินี้ ใช้ในบทสวดมนต์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ภาษาอเวสตะจัดอยู่ในตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป สาขาย่อยอินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน)เป็นภาษากลุ่มอิหร่านที่เก่าสุดเท่าที่มีหลักฐาน เช่นเดียวกับภาษาเปอร์เซียโบราณ เขียนด้วยอักษรอเวสตะ ภาษานี้แบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือ.

ใหม่!!: พระเวทและภาษาอเวสตะ · ดูเพิ่มเติม »

ภควัทคีตา

หนังสือภควัทคีตาฉบับภาษาสันสกฤต คัดลอกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระกฤษณะสำแดงร่างเป็นพระนารายณ์ ขณะสอนอนุศาสน์ภควัทคีตาแก่อรชุน ภควัทคีตา (สันสกฤต: भगवद्गीता, อ่านว่า "พะ-คะ-วัด-คี-ตา") เป็นชื่อคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู โดยเฉพาะสำหรับนิกายไวษณพหรือผู้ที่ยกย่องพระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นพระเจ้าสูงสุด ชื่อคัมภีร์ ภควัทคีตา (ภควตฺ + คีตา) แปลว่า "บทเพลง (หรือลำนำ) แห่งพระผู้เป็นเจ้า" นำเรื่องราวส่วนหนึ่งมาจากมหากาพย์มหาภารตะ ประกอบด้วยบทกวี 700 บท.

ใหม่!!: พระเวทและภควัทคีตา · ดูเพิ่มเติม »

ภควา

วา (भगवा) หรือ ภควานฺ (भगवान्) เป็นสมัญญาของพระเจ้าในศาสนาแบบอินเดีย โดยพุทธศาสนิกชนใช้คำนี้หมายถึงพระพุทธเจ้า ชาวฮินดูลัทธิไวษณพใช้หมายถึงองค์อวตารของพระวิษณุ (เช่น พระกฤษณะ) ลัทธิไศวะใช้หมายถึงพระศิวะJames Lochtefeld (2000), "Bhagavan", The Illustrated Encyclopedia of Hinduism, Vol.

ใหม่!!: พระเวทและภควา · ดูเพิ่มเติม »

มหีศาสกะ

นิกายมหิสาสกวาท หรือ นิกายมหีศาสกะ เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่หลักฐานฝ่ายบาลีกล่าวว่าแยกมาจากเถรวาท ส่วนหลักฐานฝ่ายสันสกฤตกล่าวว่าแยกมาจากนิกายสรวาสติวาท อาจารย์ผู้เป็นต้นกำเนิดของนิกายนี้เป็นพราหมณ์ เมื่อมาบวชได้นำหลักธรรมในพระเวทมาผสมกับพระพุทธพจน์ แพร่หลายทางภาคตะวันตกและภาคใต้ของอินเดีย โดยเฉพาะแคว้นอวันตี วนวาสี มหาสมณฑล เกรละ และมีอิทธิพลในลังกาด้วย พระพุทธชีวะได้แปลวินัยของนิกายนี้เป็นภาษาจีน หลักธรรมของนิกายนี้มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากนิกายอื่นๆ หลายประการ เช่น ไม่มีอันตรภพ ผู้สำเร็จอรหันต์แล้วไม่เสื่อมแต่พระโสดาบันเสื่อมได้ การบูชาสถูปเจดีย์ได้บุญน้อย การถวายทานให้คณะสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานมีผลมากกว่าถวายทานต่อพระพุทธเจ้าองค์เดียว เป็นต้น.

ใหม่!!: พระเวทและมหีศาสกะ · ดูเพิ่มเติม »

มีมางสา

ลัทธิมีมางสา (Mīmāṃsā; ภาษาสันสกฤต: मीमांसा) เป็นปรัชญาในศาสนาฮินดู คำว่ามีมางสาหมายถึงการสอบสวนซึ่งปรัชญานี้มาจากการสอบสวนเกี่ยวกับพระเวทโดยเน้นส่วนที่เป็นมันตระและพราหมณะของพระเวท ลัทธินี้เริ่มต้นโดยไชมิณิ ซึ่งเป็นผู้แต่งคัมภีร์มีมางสาสูตร ต่อมา ประภากระและกุมาริละ ภัฏฏะ ได้นำมาพัฒนาต่อจนแตกเป็นสองสำนัก ปรัชญามีมางสาเป็นพหุสัจจนิยม ถือว่าความจริงแท้มีทากมาย คัมภีร์พระเวทเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงเป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด สิ่งที่พระเวทบอกว่าควรถือเป็นธรรม สิ่งที่พระเวทบอกว่าไม่ควร ถือเป็นอธรรม ธรรมจะนำมาซึ่งความสุข มี 4 ระดับคือ เกิดจากทรัพย์สิน เกิดจากการบำรุงกามคุณทั้งห้า ความสงบใจ และการหลุดพ้นไปจากอำนาจของกิเลส ปรัชญานี้ถือว่าชีวาตมันหรืออัตตาเป็นอมตะ และมีจำนวนมากเป็นอนันตะ หรือนับไม่ถ้วน ร่างกายเป็นพาหนะของชีวาตมัน โลกและสิ่งต่างๆในโลกเกิดจากปัจจัยตามธรรมชาติไม่ใช่การสร้างของพระเจ้า โลกจะดำรงอยู่ตลอดไป โดยไม่มีพระเจ้ามาทำลายได้.

ใหม่!!: พระเวทและมีมางสา · ดูเพิ่มเติม »

ยชุรเวท

รเวท (สันสกฤต ยชุรฺเวท, यजुर्वेद) เป็นหนึ่งในสี่แห่งคัมภีร์พระเวทในศาสนาพราหมณ์ฮินดู มาจากศัพท์ ยชุสฺ (บทสวดด้วยพิธีกรรม) และ เวท (ความรู้) ประมาณกันว่าประพันธ์ขึ้นเมื่อราว 1,400 - 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนหลักของคัมภีร์นี้เรียกว่า "ยชุรเวทสัมหิตา" มีคาถา หรือมันตระ ที่จำเป็นแก่การกระทำพิธีสังเวยตามความเชื่อในศาสนาสมัยพระเวท และมีการเพิ่มเติมคำอธิบายว่าด้วยการประกอบพิธีต่าง.

ใหม่!!: พระเวทและยชุรเวท · ดูเพิ่มเติม »

ราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน

ราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน (Ralph Waldo Emerson, พ.ศ. 2346-2425) กวีและนักเขียนบทความ เกิดที่เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและเริ่มชีวิตด้วยการเป็นครู ต่อมาเมื่อ..

ใหม่!!: พระเวทและราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน · ดูเพิ่มเติม »

วิวรณ์

อห์นแห่งปัทมอสกำลังเขียนหนังสือวิวรณ์ตามที่ได้รับการเปิดเผยจากพระเจ้า ภาพวาดโดยเฮียโรนิมัส บอส ในศาสนาแบบเทวนิยมและเทววิทยา วิวรณ์ (revelation) หมายถึง การที่สิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น เทวดา พระเป็นเจ้า ได้เปิดเผยความจริงหรือความรู้สำคัญบางประการแก่มนุษย์ หลาย ๆ ศาสนาเชื่อว่า คัมภีร์ของตนมาจากการวิวรณ์ของพระเจ้าหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ชาวยิวเชื่อว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานคัมภีร์โทราห์ที่ภูเขาซีนาย ชาวมุสลิมเชื่อว่าอัลลอฮ์ได้ประทานคัมภีร์อัลกุรอานแก่นบีมุฮัมมัดเป็นคำ ๆ ทีละอักษร ส่วนศาสนาฮินดูก็ถือว่าพระเวทเป็น “อเปารุเษยะ” (ไม่ใช่ฝีมือมนุษย์) แต่บรรดาฤๅษีได้สดับฟังจากพระเจ้ามาโดยตรง จึงเรียกว่า "ศรุติ" (สิ่งที่ได้ฟังมา) คริสต์ศาสนิกชนก็เชื่อว่าคัมภีร์ไบเบิลทั้งพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ในศาสนาอับราฮัม วิวรณ์จึงถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นการแสดงถึงเจตจำนงและพระญาณสอดส่องของพระเจ้าต่อมนุษย์ ในพันธสัญญาใหม่มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ "หนังสือวิวรณ์" เป็นส่วนสุดท้ายของคัมภีร์ไบเบิล กล่าวถึงวันสิ้นโลกและการพิพากษาครั้งสุดท้.

ใหม่!!: พระเวทและวิวรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธกับทฤษฎีวิวัฒนาการ

นื่องจากไม่มีหลักสำคัญทางพุทธศาสนาที่ค้านกับทฤษฎีวิวัฒนาการ ชาวพุทธเป็นจำนวนมากยอมรับหลักวิทยาศาสตร์ข้อนี้ได้ แต่คำถามเกี่ยวกับความที่โลก (เอกภพ) มีที่สุดหรือไม่มีที่สุด เที่ยงหรือไม่เที่ยง โดยทั่วไปเป็นปัญหาในปัญหา 10 อย่างที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ เพราะไม่เป็นประโยชน์ต่อข้อปฏิบัติให้ถึงมรรคผลนิพพาน เพราะเหตุนั้น ชาวพุทธบางพวกไม่ใส่ใจในปัญหาเหล่านี้ว่ามีประโยชน์เพื่อการพ้นทุกข์ทั้งของตนและผู้อื่น ส่วนองค์ทะไลลามะทรงปฏิเสธวิวัฒนาการที่มาจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติว่า ซึ่งเป็นคำกล่าวที่มีนักวิชาการอธิบายว่า องค์ทะไลลามะได้ตรัสเช่นนี้ก็เพราะว่า การเวียนว่ายตายเกิดนั้นเป็นผลของกรรม ตามหลักของศาสนาพุท.

ใหม่!!: พระเวทและศาสนาพุทธกับทฤษฎีวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: พระเวทและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาแบบอินเดีย

นาแบบอินเดีย (Indian religions) คือศาสนาที่มีต้นกำเนิดในอนุทวีปอินเดีย ได้แก่ ศาสนาฮินดู ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ และศาสนาซิกข์Adams, C. J.,, Encyclopædia Britannica, 2007.

ใหม่!!: พระเวทและศาสนาแบบอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

สามเวท

มเวท (ภาษาสันสกฤต: सामवेद, sāmaveda, จากคำว่า สามานฺ "บทเพลง" + เวท "ความรู้"), เป็นคัมภีร์พระเวทอันดับที่สอง (ตามลำดับที่ถือโดยทั่วไป) ในบรรดาพระเวททั้งสี่ นับเป็นคัมภีร์ฮินดูที่สำคัญและเก่าแก่มาก เนื้อหาส่วนที่เก่าแก่ที่สุด มีอายุราว 1,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีความสำคัญและความเก่าแก่รองจากคัมภีร์ฤคเวท เนื้อหาประกอบด้วยรวมบทสวด (สังหิตา) และร้อยกรองอื่นๆ โดยนำมาจากฤคเวท (ยกเว้น 75 บท) เพื่อใช้เป็นบทร้องสวดเป็นทำนองตามพิธีกรรม เรียกว่า "สามคาน" สวดโดยนักบวชที่เรียกว่า "อุทคาตา" ขณะทำพิธีคั้น กรอง และผสมน้ำโสม เพื่อถวายเทพเจ้.

ใหม่!!: พระเวทและสามเวท · ดูเพิ่มเติม »

อักษรครันถะ

อักษรครันถะ (เทวนาครี ग्रन्थ หมายถึง "หนังสือ" หรือ "จารึก") หรือ อักษรคฤนถ์ หรือ อักษรคฤณถ์ พัฒนามาจากอักษรพราหมี เริ่มปรากฏเมื่อราว..

ใหม่!!: พระเวทและอักษรครันถะ · ดูเพิ่มเติม »

จารวาก

รวาก (Cārvāka; चार्वाक) หรือโลกายัต เป็นปรัชญาที่มีมาก่อนพุทธกาล ไม่ปรากฏผู้ตั้งคัมภีร์หรือสาวก ที่ทราบว่ามีลัทธินี้อยู่ เพราะมีกล่าวถึงในคัมภีร์ของศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ และศาสนาเชน แนวความเชื่อของลัทธินี้ถือว่าสิ่งที่เป็นจริงจะต้องรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส สิ่งที่อยู่นอกเหนือประสาทสัมผัสเช่น โมกษะ นิพพาน บุญบาป ไม่มีอยู่จริง ไม่เชื่อถือคัมภีร์พระเวท เพราะถือว่าเป็นคัมภีร์ที่พวกพราหมณ์แต่งขึ้นเพื่อมอมเมาประชาชน สรรพสิ่งเกิดจากการรวมตัวของธาตุสี่คือดิน น้ำ ลม ไฟ การตายคือการที่ธาตุทั้งสี่แยกตัวออกจากกัน จิตวิญญาณ อาตมัน โลกหน้าไม่มีจริง ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า จุดหมายของลัทธิจารวากคือความสุขของเนื้อหนังหรือทางประสาทสัมผัส ซึ่งถือว่าเป็นความสุขที่ดีที่สุด การทำดีคือการกระทำที่นำความสุขมาให้.

ใหม่!!: พระเวทและจารวาก · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์

ัมภีร์ (religious text; holy writ; holy books; scripture; scriptures) หมายถึง ตำราที่ยกย่องหรือนับถือว่าสำคัญทางศาสนาหรือโหราศาสตร์ เป็นต้น.

ใหม่!!: พระเวทและคัมภีร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์

ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ เป็นนักวิชาการทางบูรพคดีศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล เคยมีผลงานเขียนทั้งบทกวีและบทความตามสื่อมวลชนมาระยะหนึ่งก่อนจะปักหลักทำงานสอนและวิจัยในวิชาชีพที่ถนัดอย่างจริงจังในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พระเวทและปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อินเดีย

ประวัติศาสตร์อินเดีย อารยธรรมอินเดีย อารยธรรมอินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองและมีอายุเก่าแก่ไม่แพ้อารยธรรมแหล่งอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1.

ใหม่!!: พระเวทและประวัติศาสตร์อินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: พระเวทและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

นกกาเหว่า

นกกาเหว่า หรือ นกดุเหว่า (Asian koel) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกคัคคู (Cuculidae) พบในเอเชียใต้ จีน เอเชียอาคเนย์รวมทั้งประเทศไทย เป็นญาติใกล้ชิดกับ E. melanorhynchus (black-billed koel) และกับ E. orientalis (Pacific koel) โดยทั้งสองบางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ย่อยของ E. scolopaceus เป็นญาติใกล้ชิดกับ E. melanorhynchus (black-billed koel) และกับ E. orientalis (Pacific koel) โดยทั้งสองบางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ย่อยของ E. scolopaceus เป็นนกปรสิตที่วางไข่ให้กาและนกอื่น ๆ เลี้ยง เป็นนกจำพวกคัคคูที่ไม่เหมือนพันธุ์อื่น ๆ เพราะโดยมากกินผลไม้ (frugivore) เมื่อเติบใหญ่ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ชื่อว่า "กาเหว่า" และชื่ออื่น ๆ อีกหลายภาษารวมทั้งชื่ออังกฤษว่า "koel" เป็นชื่อเลียนเสียงนก เป็นนกที่ใช้เป็นสัญลักษณ์อย่างมากมายในวรรณกรรมอินเดี.

ใหม่!!: พระเวทและนกกาเหว่า · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำบีอาส

แผนที่แม่น้ำบีอาส แม่น้ำบีอาส (Beas River; ब्यास; ਬਿਆਸ) เป็นแม่น้ำทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย เป็นหนึ่งในแม่น้ำใหญ่ทั้งห้าสาย (ปัญจนที) ของภูมิภาคปัญจาบและเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำสินธุ มีความยาวรวม 470 กิโลเมตร (290 ไมล์) มีพื้นที่ลุ่มน้ำกว้างถึง 20,303 ตารางกิโลเมตร (7,839 ตารางไมล์) แม่น้ำบีอาสมีต้นน้ำอยู่ทางทิศใต้ของช่องเขาโรห์ตัง (Rohtang Pass) ในเทือกเขาหิมาลัย รัฐหิมาจัลประเทศ ตัดผ่านเขตมัณฑี (Mandi) และเข้าเขตกางครา (Kangra) ก่อนจะอ้อมเนินเขาศิวาลิกในเมืองโหศยารปุระ (Hoshiarpur) และไหลผ่านเป็นพรมแดนระหว่างเมืองอมฤตสาร์กับเมืองกปูรถลา (Kapurthala) ไปบรรจบกับแม่น้ำสตลุชที่พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองกปูรถลา แม่น้ำบีอาสเป็นแม่น้ำสายหนึ่งในสนธิสัญญาแม่น้ำสินธุ ซึ่งเป็นข้อตกลงด้านทรัพยากรน้ำระหว่างอินเดียกับปากีสถาน ในพระเวทเรียกแม่น้ำบีอาสว่า "อรชิกิยา" (Arjikiya) อินเดียโบราณเรียก "วิปาศา" (Vipasha) และกรีกโบราณเรียก "ฮิฟาซิส" (Hyphasis) ในปีที่ 326 ก่อนคริสต์ศักราช หลังการต่อต้านของกองทหาร พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชทรงกำหนดให้แม่น้ำสายนี้เป็นพรมแดนด้านตะวันออกสุดของจักรวรรดิของพระองค์ และทรงสั่งให้สร้างแท่นบูชาสิบสองแห่งเพื่อระลึกถึงการขยายพระราชอำนาจ ช่วงศตวรรษที่ 20 แม่น้ำบีอาสมีบทบาทในด้านการชลประทานและการผลิตไฟฟ้าจากกระแสน้ำ มีการสร้างเขื่อนสองแห่งคือเขื่อนพอง (Pong Dam) และเขื่อนแพนโดห์ (Pandoh Dam) เพื่อใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน..

ใหม่!!: พระเวทและแม่น้ำบีอาส · ดูเพิ่มเติม »

โยนี (ภาษาสันสกฤต)

หินโยนีใน Cát Tiên sanctuary ประเทศเวียดนาม โยนี หรือ โยนิ (योनि) เป็นภาษาสันสกฤตหมายถึงอวัยวะเพศหญิง ตรงข้ามกับลึงค์ คำนี้มีหลายความหมายตามบริบท เช่น มดลูก สถานที่เกิด เกสรตัวเมีย ฐานรองรับ แหล่งที่มา ต้นกำเนิด น้ำพุ บ้าน รัง เพนียด แหล่งเก็บรักษา ที่นั่ง ปัญญ.

ใหม่!!: พระเวทและโยนี (ภาษาสันสกฤต) · ดูเพิ่มเติม »

เวท

วท อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระเวทและเวท · ดูเพิ่มเติม »

เวทางคศาสตร์

วทางคศาสตร์ หรือเวทางค์ คือ คัมภีร์ชุดหนึ่งของศาสนาพราหมณ์ ว่าด้วยวิชาประกอบการศึกษาพระเวท มีหกคัมภีร์ คือ 1.

ใหม่!!: พระเวทและเวทางคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

वेदคัมภีร์พระเวท

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »