โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าไซรัสมหาราช

ดัชนี พระเจ้าไซรัสมหาราช

พระเจ้าไซรัสที่ 2 แห่งเปอร์เซีย (Cyrus II of Persia, کوروش, คูรูฌ) หรือพระคริสตธรรมเรียก ไซรัสกษัตริย์ของเปอร์เซีย (Cyrus king of Persia) หรือมักเรียกกันว่า พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great; ประสูติราวปีที่ 600 หรือ 576 ก่อนคริสตกาล, สวรรคตเมื่อ 4 ธันวาคม ปีที่ 530 ก่อนคริสตกาล) เป็นปฐมกษัตริย์แห่งจักรวรรดิอาคีเมนิด (Achaemenid Empire) ซึ่งพระองค์ทรงผนวกขึ้นจากอารยรัฐแถบตะวันออกใกล้แต่เดิม และทรงขยายจนเจริญกว้างขวางกระทั่งทรงมีชัยเหนือเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียกลางส่วนใหญ่ ยุโรปบางส่วน และคอเคซัส (Caucasus) ด้วย พระองค์จึงเฉลิมนามรัชกาลว่า "พระมหาราชผู้เป็นพระเจ้ากรุงเปอร์เซีย พระเจ้ากรุงอันชัน พระเจ้ากรุงมีเดีย พระเจ้ากรุงแบบาลอน พระเจ้ากรุงซูเมอร์กับแอแกด พระเจ้าแว่นแคว้นทั้งสี่แห่งแผ่นดินโลก" ในราวปีที่ 539 ถึง 530 ก่อนคริสตกาล พระองค์ยังได้ตราจารึกทรงกระบอก เรียก "กระบอกพระเจ้าไซรัส" (Cyrus Cylinder) มีเนื้อหาซึ่งถือกันว่าเป็นประกาศสิทธิมนุษยชนฉบับต้น ๆ ของโลกด้วย หมวดหมู่:บุคคลในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์อาร์เคเมนิด หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์เปอร์เซีย.

21 ความสัมพันธ์: ชาวเปอร์เซียพระวิหารในกรุงเยรูซาเลมพระเจ้าดาไรอัสที่ 3กลุ่มชนอิหร่านภาษาฮีบรูภาษาเปอร์เซียรายชื่อธงในประเทศอิหร่านรายพระนามฟาโรห์รายพระนามพระมหากษัตริย์ที่ได้รับสมัญญานามมหาราชรายพระนามพระมหากษัตริย์เปอร์เซียสงครามกรีก-เปอร์เซียจักรวรรดิอะคีเมนิดจักรวรรดิเปอร์เชียธงชาติอิหร่านดาไรอัสมหาราชประเทศอิสราเอลประเทศอิหร่านแม่น้ำดิยาลาเมสสิยาห์เศรุบบาเบล559 ปีก่อนคริสตกาล

ชาวเปอร์เซีย

วเปอร์เซีย (Persian people) เป็นกลุ่มชาติพันธ์ในกลุ่มชนอิหร่านที่พูดภาษาเปอร์เซียและส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอิหร่าน.

ใหม่!!: พระเจ้าไซรัสมหาราชและชาวเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม

ระวิหารในมโนทัศน์ในหนังสือเอสเซเคียล 40-47 พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม (Temple in Jerusalem) หรือพระวิหารศักดิ์สิทธิ์ (Holy Temple; בית המקדש (Bet HaMikdash.

ใหม่!!: พระเจ้าไซรัสมหาราชและพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าดาไรอัสที่ 3

ระสาทิสลักษณ์ของพระเจ้าดาไรอัสที่ 3 พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย (Darius III of Persia, 380 – กรกฎาคม 330 ปีก่อนคริสตกาล) พระนามเดิม อาร์ตาชาตา (Artashata) ตามที่กรีกเรียกก่อนจะเปลี่ยนเป็นดาไรอัสในภายหลัง.

ใหม่!!: พระเจ้าไซรัสมหาราชและพระเจ้าดาไรอัสที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนอิหร่าน

ูมิศาสตร์การกระจายของภาษากลุ่มอิหร่าน กลุ่มชนอิหร่าน (Iranian peoples) เป็นกลุ่มชาติพันธ์ของตระกูลอินโด-ยูโรเปียนที่ตั้งถิ่นฐานส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณที่ราบสูงอิหร่าน โดยผู้พูดภาษาอยู่ในตระกูลภาษากลุ่มอิหร่านและชาติพันธุ์ของสังคมที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันเช่นชาวเปอร์เซีย, ชาวออสเซเตีย, ชาวเคิร์ด, ชาวปาทาน, ชาวทาจิก, ชาวบาโลช, และZaza People Lurs.

ใหม่!!: พระเจ้าไซรัสมหาราชและกลุ่มชนอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: พระเจ้าไซรัสมหาราชและภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปอร์เซีย

ษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (فارسی Farsi, ฟอร์ซี ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน), ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กร.

ใหม่!!: พระเจ้าไซรัสมหาราชและภาษาเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศอิหร่าน

ตารางข้างล่างนี้แสดงภาพธงต่างๆที่ใช้ในประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน.

ใหม่!!: พระเจ้าไซรัสมหาราชและรายชื่อธงในประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามฟาโรห์

ทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับราชวงศ์และฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณ ตั้งแต่สมัยก่อนราชวงศ์ต้น เมื่อ 3100 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงสิ้นสมัยราชวงศ์ทอเลมีเมื่ออียิปต์กลายเป็นมณฑลแห่งโรมัน อยู่ภายใต้อำนาจจักรพรรดิออกุสตุสใน 30 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: พระเจ้าไซรัสมหาราชและรายพระนามฟาโรห์ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์ที่ได้รับสมัญญานามมหาราช

มหาราช (The Great) เป็นชื่อต่อท้ายพระนามของกษัตริย์หรือผู้ปกครองที่ได้ทำภารกิจอย่างมากมายช่วยเหลือผู้คนทั้งด้านการรบ การแก้ไขปัญหาภายในประเทศ การรักษาเอกราชของประเทศ คงไว้ด้วยความยุติธรรมอันเป็นแบบอย่างที่ดี ในกลุ่มคนที่พูดภาษานั้น ๆ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น "มหาราช" เขียนไว้ที่ท้ายพระนาม.

ใหม่!!: พระเจ้าไซรัสมหาราชและรายพระนามพระมหากษัตริย์ที่ได้รับสมัญญานามมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์เปอร์เซีย

แผนที่รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ (c. 850).

ใหม่!!: พระเจ้าไซรัสมหาราชและรายพระนามพระมหากษัตริย์เปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกรีก-เปอร์เซีย

งครามกรีก-เปอร์เซีย (Greco-Persian Wars) หรือ สงครามเปอร์เซีย เป็นชุดความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิอะคีเมนิด (เปอร์เซีย) กับนครรัฐกรีก เกิดขึ้นระหว่างปีที่ 499–449 ก่อนคริสตกาล จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งเกิดจากการพิชิตภูมิภาคไอโอเนียของพระเจ้าไซรัสมหาราชในปีที่ 547 ก่อนคริสตกาลและต่อมาแต่งตั้งทรราชขึ้นปกครอง ต่อมาในปีที่ 499 ก่อนคริสตกาล อริสตาโกรัส ผู้ปกครองไมลีตัสที่มีเปอร์เซียหนุนหลัง นำกำลังเข้ายึดเกาะนักซอสแต่ล้มเหลว อริสตาโกรัสจึงปลุกปั่นให้ชาวกรีกในเอเชียน้อยก่อกบฏต่อเปอร์เซียและนำไปสู่การกบฏไอโอเนีย นอกจากนี้อริสตาโกรัสยังร่วมมือกับเอเธนส์และอีรีเทรียเผาเมืองซาร์ดิส เมืองหลวงของภูมิภาคของเปอร์เซียในปีที่ 498 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิดาไรอัสมหาราชจึงส่งกองทัพเข้าสู้รบจนในปีที่ 494 ก่อนคริสตกาล ฝ่ายเปอร์เซียรบชนะฝ่ายกบฏที่ยุทธการที่ลาเด ฝ่ายกบฏถูกปราบลงในปีต่อมา เพื่อป้องกันการกบฏครั้งใหม่และการแทรกแซง รวมถึงลงโทษการกระทำของเอเธนส์และอีรีเทรีย จักรพรรดิดาไรอัสจึงทำสงครามต่อเพื่อพิชิตกรีซทั้งหมด ฝ่ายเปอร์เซียเริ่มบุกกรีซในปีที่ 492 ก่อนคริสตกาล และประสบความสำเร็จในการยึดเธรซและมาซิดอน ต่อมาในปีที่ 490 ก่อนคริสตกาล กองทัพเปอร์เซียข้ามทะเลอีเจียน ยึดซิคละดีสและทำลายอีรีเทรีย แต่พ่ายแพ้ให้กับกองทัพเอเธนส์ในยุทธการที่มาราธอน เมื่อจักรพรรดิดาไรอัสเสด็จสวรรคตในปีที่ 486 ก่อนคริสตกาล เซอร์ซีส พระราชโอรส ได้นำกำลังบุกกรีซอีกครั้ง ชัยชนะที่ช่องเขาเทอร์มอพิลีทำให้ฝ่ายเปอร์เซียสามารถยึดและเผาทำลายเอเธนส์ อย่างไรก็ตาม กองเรือเปอร์เซียพ่ายแพ้อย่างหนักในยุทธนาวีที่ซาลามิส และปีต่อมาพ่ายแพ้ในยุทธการที่พลาตีอา จึงเป็นการสิ้นสุดการบุกครองของฝ่ายเปอร์เซีย หลังจากนั้นกองทัพกรีกฉวยโอกาสนำกองเรือเข้าโจมตีฝ่ายเปอร์เซียต่อในยุทธนาวีที่มิเคลีและขับไล่ทหารเปอร์เซียออกจากเซสทอสและบิแซนเทียม การกระทำของแม่ทัพพอสซาเนียสในยุทธการที่บิแซนเทียมทำให้เกิดความบาดหมางในหมู่นครรัฐกรีกและสปาร์ตาและก่อให้เกิด "สันนิบาตดีเลียน" ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรต่อต้านฝ่ายเปอร์เซียที่นำโดยเอเธนส์ ฝ่ายสันนิบาตทำสงครามกับฝ่ายเปอร์เซียต่อเป็นเวลา 30 ปี หลังชัยชนะที่แม่น้ำยูรีมีดอนในปีที่ 466 ก่อนคริสตกาล เมืองในภูมิภาคไอโอเนียก็เป็นอิสระจากเปอร์เซีย แต่ความพ่ายแพ้ของฝ่ายสันนิบาตในการกบฏที่อียิปต์ทำให้การสงครามกับเปอร์เซียหยุดชะงัก การรบครั้งต่อ ๆ มาประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย หลักฐานทางประวัติศาสตร์บางแห่งชี้ว่าในปีที่ 449 ก่อนคริสตกาล ทั้งสองฝ่ายได้ทำสนธิสัญญาสันติภาพคัลลิอัส ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามกรีก-เปอร์เซี.

ใหม่!!: พระเจ้าไซรัสมหาราชและสงครามกรีก-เปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอะคีเมนิด

ักรวรรดิอะคีเมนียะห์ หรือ จักรวรรดิเปอร์เชียอะคีเมนียะห์ (Achaemenid Empire หรือ Achaemenid Persian Empire, هخامنشیان) (550–330 ก.ค.ศ.) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของเกรตเตอร์อิหร่านที่ตามมาจากจักรวรรดิมีเดีย ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิอะคีเมนียะห์มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7.5 ล้านตารางกิโลเมตร ที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และเป็นจักรวรรดิที่วางรากฐานของระบบการปกครองจากศูนย์กลางSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty) จักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชครอบคลุมอาณาบริเวณสามทวีปที่รวมทั้งดินแดนในอัฟกานิสถาน และ ปากีสถาน, บางส่วนของเอเชียกลาง, อานาโตเลีย, เธรซ, บริเวณริมฝั่งทะเลดำส่วนใหญ่, อิรัก, ตอนเหนือของซาอุดีอาระเบีย, จอร์แดน, ปาเลสไตน์, เลบานอน, ซีเรีย และอียิปต์ไปจนถึงลิเบีย จักรวรรดิอะคีเมนียะห์เป็นศัตรูของนครรัฐกรีกในสงครามกรีซ-เปอร์เชีย เพราะไปปล่อยชาวยิวจากบาบิโลเนีย และในการก่อตั้งให้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษาราชการ และพ่ายแพ้ต่ออเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 330 ก่อนคริสต์ศักราช ความสำคัญทางประวัติศาสตร์โลกของจักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชก็คือกาวางรากฐานที่ได้รับความสำเร็จของระบบการบริหารการปกครองจากศูนย์กลาง และของรัฐบาลที่มีปรัชญาในการสร้างประโยชน์ให้แก่มวลชนSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty).

ใหม่!!: พระเจ้าไซรัสมหาราชและจักรวรรดิอะคีเมนิด · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเปอร์เชีย

ักรวรรดิเปอร์เชีย (Persian Empire) คือจักรวรรดิและอาณาจักรต่างๆในประวัติศาสตร์ของเปอร์เชียที่ปกครองต่อเนื่องกันมาในบริเวณที่ราบสูงอิหร่าน, ถิ่นกำเนิดของเปอร์เชีย และไกลไปทางเอเชียตะวันตก, เอเชียใต้, เอเชียกลาง และ บริเวณคอเคซัส จักรวรรดิเปอร์เชียจักรวรรดิแรกก่อตั้งภายใต้จักรวรรดิมีเดีย (728–559 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หลังจากการโค่นจักรวรรดิอัสซีเรียด้วยความช่วยเหลือของบาบิโลเนีย จักรวรรดิเปอร์เชียอคีเมนียะห์ (550–330 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และมารุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าดาไรอัสมหาราช และ พระเจ้าเซอร์ซีสมหาราช — ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นศัตรูคนสำคัญของรัฐกรีกโบราณ (ดู สงครามกรีก-เปอร์เชีย) บริเวณที่ตั้งเดิมอยู่ในบริเวณที่ในปัจจุบันรู้จักกันว่าจังหวัดพาร์ส (จังหวัดฟาร์ส) ในประเทศอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิเปอร์เชียก่อตั้งภายใต้พระเจ้าไซรัสมหาราชผู้ทรงยึดจักรวรรดิจากชนมีดีส (Medes) และทรงขยายดินแดนออกไปทางตะวันออกกลางที่รวมทั้งดินแดนของบาบิโบเนีย, อัสซีเรีย, ฟินิเซีย และ ลิเดีย หลังจากนั้นพระเจ้าแคมไบซีสที่ 2 แห่งเปอร์เชีย (Cambyses II of Persia) พระราชโอรสในพระเจ้าไซรัสก็ทรงดำเนินนโยบายการขยายดินแดนต่อไปยังอียิปต์ จักรวรรดิอคีเมนียะห์มาสิ้นสุดลงระหว่างสงครามอเล็กซานเดอร์มหาราช แต่ก็มาฟื้นตัวอีกครั้งในรูปของจักรวรรดิพาร์เธียน และ จักรวรรดิซาสซานิยะห์ แห่ง อิหร่าน ที่ตามมาด้วยยุคประวัติศาสตร์หลังศาสนาอิสลามของจักรวรรดิต่างๆ เช่น จักรวรรดิทาฮิริยะห์, จักรวรรดิซาฟาริยะห์, จักรวรรดิไบอิยะห์, จักรวรรดิซามานิยะห์, จักรวรรดิกาสนาวิยะห์, จักรวรรดิเซลจุค และ จักรวรรดิควาเรซเมีย มาจนถึงอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิต่างๆ ที่รุ่งเรืองต่อเนื่องกันมาในเกรตเตอร์อิหร่าน ก่อนเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: พระเจ้าไซรัสมหาราชและจักรวรรดิเปอร์เชีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติอิหร่าน

งชาติสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ลักษณะเป็นธงสามสี รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 4 ส่วน ยาว 7 ส่วน ภายในแบ่งเป็นแถบสีเขียว สีขาว และสีแดงตามแนวนอน ความกว้างแต่ละแถบเท่ากัน กลางธงมีรูปตราแผ่นดินสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ส่วนที่ถัดจากแถบสีขาวทั้งด้านบนและด้านล่างนั้น มีอักษรอาหรับเป็นข้อความ "อัลลอหุ อักบัร" เรียงซ้ำกันไปตามขอบแถบสีขาว รวม 22 ครั้ง ประกาศใช้ตามกฎหมายเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2523.

ใหม่!!: พระเจ้าไซรัสมหาราชและธงชาติอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ดาไรอัสมหาราช

ระเจ้าดาไรอัสที่ 1 หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ดาไรอัสมหาราช ทรงเป็นกษัตริย์เปอร์เซียองค์ที่ 2 ต่อจาก พระเจ้าไซรัสมหาราช เป็นพระโอรสของเจ้าชายองค์หนึ่งใน ราชวงศ์อคีเมนียะห์ โดยทรงครองราชย์เมื่อ 522 ปี ก่อน..

ใหม่!!: พระเจ้าไซรัสมหาราชและดาไรอัสมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิสราเอล

ประเทศอิสราเอล (Israel; יִשְׂרָאֵל; إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (State of Israel; מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศThe Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament.

ใหม่!!: พระเจ้าไซรัสมหาราชและประเทศอิสราเอล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: พระเจ้าไซรัสมหาราชและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำดิยาลา

แม่น้ำดิยาลา (Diyala River; نهر ديالى; سیروان) เป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำไทกริส มีความยาวรวม 445 กิโลเมตร (277 ไมล์) มีต้นน้ำอยู่ที่เมืองฮามาดานในเทือกเขาซากรอส ทางตะวันตกของประเทศอิหร่าน ไหลผ่านเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศอิรักและอิหร่านเป็นระยะทาง 32 กิโลเมตร (19.8 ไมล์) ก่อนจะรวมกับแม่น้ำไทกริสที่ทางใต้ของกรุงแบกแดด แม่น้ำดิยาลาปรากฏอยู่ในบันทึก "ฮิสทอรี" (Histories) ที่เขียนโดยเฮอรอโดทัส โดยเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า "กินเดส" (Gyndes) เขาบันทึกว่าพระเจ้าไซรัสมหาราชทรงมีพระบัญชาให้กั้นแม่น้ำสายนี้ด้วยการสร้างพนังกั้นน้ำ 360 แห่ง เพื่อเป็นการลงโทษที่ทำให้ม้าศักดิ์สิทธิ์สีขาวของพระองค์จมน้ำที่นี่ ภายหลังแม่น้ำสายนี้ไหลผ่านได้อีกครั้งหลังพนังกั้นน้ำถูกทรายทับถม ในปีที่ 693 ก่อนคริสต์ศักราช แม่น้ำดิยาลาเป็นสนามรบในยุทธการที่แม่น้ำดิยาลา (Battle of Diyala River) ระหว่างชาวอัสซีเรียกับชาวเอลาม ชาวเคิร์ดและชาวเปอร์เซียเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า "ซีร์วาน" (Sirwan) ซึ่งมีความหมายว่า "แม่น้ำที่ส่งเสียงดังกึกก้อง" ปัจจุบัน ประเทศอิหร่านมีโครงการสร้างเขื่อนดาร์ยัน (Daryan Dam) ใกล้เมืองดาร์ยันในจังหวัดเคอร์มันชาห์ (Kermanshah Province) โดยมีจุดประสงค์เพื่อการชลประทานพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้และผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนประเทศอิรักใช้เขื่อนดาร์บันดิคัน (Darbandikhan Dam) ในการชลประทานและผลิตกระแสไฟฟ้าจากช่วงต้นแม่น้ำ ส่วนใช้เขื่อนเฮมริน (Hemrin Dam) ในช่วงปลายแม่น้ำด้วยจุดประสงค์เดียวกัน นอกจากนี้ยังมีการสร้างทำนบดิยาลา (Diyala Weir) เพื่อใช้ในการชลประทานพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงแบกแ.

ใหม่!!: พระเจ้าไซรัสมหาราชและแม่น้ำดิยาลา · ดูเพิ่มเติม »

เมสสิยาห์

ระเมสสิยาห์ (Messiah; מָׁשִיַח มาซียาห์; ܡܫܝܚܐ; Μεσσίας; مشيح) หมายถึง พระผู้ช่วยให้รอดตามความเชื่อในกลุ่มศาสนาอับราฮัม ได้แก่ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ในคัมภีร์ฮีบรูของศาสนายูดาห์ พระเมสสิยาห์ หมายถึง พระมหากษัตริย์หรือมหาปุโรหิต ซึ่งได้รับแต่งตั้งด้วยการเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ พระเมสสิยาห์อาจไม่ใช่ชาวยิวเสมอไป เช่น พระเจ้าไซรัสมหาราช ผู้ปลดปล่อยชาวยิวจากการเป็นเชลยก็ถือว่าเป็นพระเมสสิยาห์ด้วย ต่อมาความหมายของเมสสิยาห์เปลี่ยนไป ใช้หมายถึงกษัตริย์ยิวผู้ปกครองโลกในยุคสุดท้ายไปตลอดชั่วนิรันดร์ ตามความเชื่อและอวสานวิทยาของชาวยิว พระเมสสิยาห์จะเป็นคนในเชื้อสายดาวิดและได้เป็นผู้นำของชาวยิวในอนาคต ตลอดจนทั้งโลกในยุคพระเมสสิยาห์ คำว่า เมสสิยาห์ ตรงกับภาษากรีกว่า คริสตอส ซึ่งแปลว่า พระคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนจึงใช้คำนี้เป็นสมัญญานามของพระเยซู เพราะเชื่อว่าพระผู้ช่วยให้รอดที่คัมภีร์ฮีบรูหรือคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมได้กล่าวถึงนั้น คือ พระเยซูคริสต์ ในตำราหะดีษของศาสนาอิสลามก็ระบุว่าอีซา (เยซู) บุตรนางมัรยัม (มารีย์) ก็คือนบีและมะซีฮ์ (เมสสิยาห์) ที่พระเป็นเจ้าทรงส่งมาช่วยวงศ์วานอิสราเอลตามพันธสัญญา และเชื่อว่าท่านจะกลับมายังโลกอีกครั้งพร้อมกับอิมามมะฮ์ดี และร่วมกันกำจัดมะซีห์ อัด-ดัจญาล (ศัตรูของพระคริสต์)http://muttaqun.com/dajjal.html.

ใหม่!!: พระเจ้าไซรัสมหาราชและเมสสิยาห์ · ดูเพิ่มเติม »

เศรุบบาเบล

รุบบาเบล เศรุบบาเบล (זְרֻבָּבֶל) หรือ เชชบัสซาร์ คือชาวเปอร์เซียเชื้อสายยิวซึ่งถูกกล่าวถึงในคัมภีร์ไบเบิล เป็นบุตรของเชอัลทิเอล,พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิมและใหม่ ฉบับมาตรฐาน 2011 เขาเป็นผู้ว่าราชการมณฑลเยหุตเมดินทาของจักรวรรดิอะคีเมนิด หรือก็คือพื้นที่ส่วนที่เป็นอาณาจักรยูดาห์ในอดีตแต่มีพื้นที่เล็กกว่า ในปีแรกของรัชสมัยพระเจ้าไซรัสแห่งเปอร์เซีย พระองค์ทรงอนุญาตให้พวกยิวซึ่งถูกกวาดต้อนเป็นเชลยในบาบิโลนกลับไปยังแผ่นดินของตน เศรุบบาเบลได้เป็นผู้นำของพวกยิวคณะแรกจำนวน 42,360 คนเดินทางกลับมาอิสราเอล เศรุบบาเบลยังมีส่วนสำคัญในการสร้างพระวิหารที่สองขึ้นที่เนินพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม ตามที่พระยาเวห.

ใหม่!!: พระเจ้าไซรัสมหาราชและเศรุบบาเบล · ดูเพิ่มเติม »

559 ปีก่อนคริสตกาล

15 ปีก่อนพุทธศักราช ใกล้เคียงกับ ก่อน..

ใหม่!!: พระเจ้าไซรัสมหาราชและ559 ปีก่อนคริสตกาล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Cyrus the Greatจักรพรรดิไซรัสมหาราชไซรัสกษัตริย์ของเปอร์เซีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »