โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พยาบาลศาสตร์

ดัชนี พยาบาลศาสตร์

ลโดยทั่วไปจะมีสีขาว สำหรับชุดพยาบาลในบางวัฒนธรรมอาจใช้สีอื่น การพยาบาล หรือ พยาบาลศาสตร์ (nursing) ตามความหมายที่ ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ได้ให้ไว้ หมายถึง กิจกรรมการช่วยเหลือผู้ป่วย เพื่อให้อยู่ในสภาวะที่จะต่อสู้การรุกรานของโรคได้อย่างดีที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ทั้งร่างกายและจิตใจ เช่นเดียวกับความหมายของการพยาบาลที่เสนอโดย เวอร์จิเนีย เฮนเดอร์สัน ได้แก่ การพยาบาลคือการช่วยเหลือบุคคล (ทั้งยามปกติและยามป่วยไข้) ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ หรือส่งเสริมการหายจากโรค (หรือแม้กระทั่งการช่วยให้บุคคลได้ไปสู่ความตายอย่างสงบ) ซึ่งบุคคลอาจจะปฏิบัติได้เองในสภาวะที่มีกำลังกาย กำลังใจ และความรู้เพียงพอ และเป็นการกระทำที่จะช่วยให้บุคคลกลับเข้าสู่สภาวะที่ช่วยตนเองได้โดยไม่ต้องรับการช่วยเหลือนั้น โดยเร็วที.

37 ความสัมพันธ์: ฟลอเรนซ์ ไนติงเกลพ.ศ. 2509พยาบาลกรอบมาตรฐานคุณวุฒิกระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)การฝึกงานการวิจัยทางการพยาบาลการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมการปฏิบัติอิงหลักฐานการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการโดย สกว.การปริทัศน์เป็นระบบมหาวิทยาลัยกลาสโกว์มหาวิทยาลัยราชธานีมหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานีมหาวิทยาลัยวอชิงตันมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งปอร์ตูอาเลเกรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์มหาวิทยาลัยเทกซัส อาร์ลิงตันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟยะมะโมะโตะ ยะเอะโกะรายชื่อสาขาการศึกษาระดับปริญญาเอก (สหรัฐอเมริกา)รายชื่อคณะพยาบาลศาสตร์ในประเทศไทยรายการสาขาวิชารางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลวิทยาลัยสตรีฮะกุโฮวิทยาศาสตร์สุขภาพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์สำนักงานราชบัณฑิตยสภาอันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยจินดา ศิริมานนท์ความเจ็บปวดคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล

ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) (เครื่องราชอิสริยาภรณ์ OM, เข็มกาชาดหลวง) (12 พฤษภาคม พ.ศ. 2363 - 13 สิงหาคม พ.ศ. 2453) ได้รับการขนานนามและเป็นที่รู้จักว่า "สุภาพสตรีแห่งดวงประทีป" (Lady of the Lamp) เนื่องจากภาพลักษณ์ติดตาของผู้คนที่เห็นกิจวัตรการตรวจดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บแม้ยามค่ำคืน และถือว่าเป็นผู้บุกเบิกด้านพยาบาลศาสตร์ยุคใหม่ ยกระดับวิชาชีพพยาบาล นอกจากนี้ยังมีบทบาทผลักดัน การพัฒนาด้านสถิติศาสตร.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และฟลอเรนซ์ ไนติงเกล · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2509

ทธศักราช 2509 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1966 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และพ.ศ. 2509 · ดูเพิ่มเติม »

พยาบาล

ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล นางพยาบาลที่มีชื่อเสียงของโลก พยาบาล (อาจเรียกว่า นางพยาบาล หรือ บุรุษพยาบาล) เป็นวิชาชีพที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วย พยาบาลพบได้ทั่วไปทำงานตามโรงพยาบาล คลินิก หรือสถานพยาบาลอื่น ๆ พยาบาลเป็นวิชาชีพที่ก่อนจะปฏิบัติงานจะต้องผ่านการสอบขึ้นทะเบียนความรู้จากสภาการพยาบาลก่อนจึงจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์ โดยพยาบาลสามารถที่จะดูแลผู้ป่วยได้ตามหลักการพยาบาลที่ได้เรียนมา เป็นเวลา 4 ปีสำหรับพยาบาลวิชาชีพ และสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลมีมากมายในประเทศไทยทั้งที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและเอกชน พยาบาลในปัจจุบันมักจะสวมชุดพยาบาลที่เป็นสีขาว หรือมีสีขาว และสวมหมวกที่มีลักษณะเฉพาะตัว อย่างไรก็ตาม พยาบาลในบางประเทศ หรือในบางวัฒนธรรมอาจใช้ชุดพยาบาลสีอื่น.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และพยาบาล · ดูเพิ่มเติม »

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (Thailand Qualifications Framework) นิยมย่อว่า ทีคิวเอฟ (TQF) เป็นกรอบงานสำหรับใช้เป็นฐานในการถ่ายโอนหน่วยกิตของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย จัดทำโดยวิธีการควบคุมคุณภาพการสอน พัฒนาโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิของไทยพัฒนามาจากแนวคิด National Qualifications Framework ที่เป็นระบบควบคุมคุณภาพสำหรับการถ่ายโอนหน่วยกิต ของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักร เป้าหมายในอนาคตของทีคิวเอฟเพื่อให้นักศึกษาในประเทศกลุ่มอาเซียนสามารถถ่ายโอนหน่วยกิตกันได้ โดยในปัจจุบันมีอยู่สามประเทศที่เข้าร่วมโครงการนี้คือ ประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย และ ประเทศอินโดนีเซีย ทีคิวเอฟมีกระแสการคัดค้านจากนักวิชาการหลายท่าน รวมถึงการร่วมลงชื่อคัดค้านกว่า 400 คน.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)

กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีหน้าที่ส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมทางการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาวิชาชีพ ให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษา เน้นให้นิสิตนักศึกษามีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้นทั้งในท้องถิ่นและสถาบันเปิด เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้บริการแก่สังคม พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษให้ได้เรียนและแสดงออกในทางที่เหมาะสม.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และกระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

การฝึกงาน

การฝึกงานอบชนมปังในสมัยกลาง การฝึกงาน เป็นการให้ทำงานตามสถานที่ทำงานต่างที่เราสมัครไว้ โดยเป็นการให้ทดลองงานเพื่อเรียนรู้งานก่อนที่จะรับเข้าทำงาน ส่วนมากแล้วจะเป็นการตกลงระหว่างนายจ้างและผู้ฝึกงาน โดยมีความสมัครใจและตกลงกันในเรื่องอื่นๆแล้วแต่จะตกลงกัน โดยมากแล้วจะไม่มีการให้ค่าตอบแทน จนกว่าจะได้เป็นพนักงานเต็มตัว นอกจากนี้ การฝึกงานในปัจจุบันยังถูกถือเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในระดับอุดมศึกษาบางสาขาวิชา เช่น สาขาวิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ คหกรรมศาสตร์ การบริหาร การบริการ เป็นต้น.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และการฝึกงาน · ดูเพิ่มเติม »

การวิจัยทางการพยาบาล

การวิจัยทางการพยาบาล (Nursing research) เป็นการวิจัยที่ให้หลักฐานใช้สำหรับสนับสนุนปฏิบัติการพยาบาล โดยการพยาบาล เป็นขอบเขตที่อิงหลักฐานของปฏิบัติการ ซึ่งได้รับการพัฒนาตั้งแต่ยุคของฟลอเรนซ์ ไนติงเกล มาจนถึงปัจจุบัน โดยมีพยาบาลเป็นจำนวนมากเป็นผู้ทำการวิจัยในมหาวิทยาลัย ตลอดจนในการกำหนดการบริการสุขภาพ การศึกษาพยาบาลให้ความสำคัญต่อการใช้หลักฐานจากการวิจัยเพื่อที่จะหาเหตุผลสำหรับการจำแนกปฏิบัติทางการพยาบาล ในประเทศอังกฤษและประเทศเวลส์ ทางสภาอาจกำหนดให้พยาบาลกระทำอย่างสมเหตุสมผลก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าการแทรกแซงของพวกเธอจะได้รับการสนับสนุนโดยการวิจัยหรือไม่ การวิจัยทางการพยาบาลส่วนใหญ่อยู่ในสองขอบเขต ซึ่งได้แก่.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และการวิจัยทางการพยาบาล · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

pmc.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิบัติอิงหลักฐาน

การปฏิบัติอิงหลักฐาน (Evidence-based practice, ตัวย่อ EBP) เป็นวิธีปฏิบัติทางคลินิกหลายสาขา ที่เพิ่มความนิยมขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่เริ่มขึ้นในปี..

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และการปฏิบัติอิงหลักฐาน · ดูเพิ่มเติม »

การประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการโดย สกว.

ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้เริ่มจัดการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ตั้งแต..

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการโดย สกว. · ดูเพิ่มเติม »

การปริทัศน์เป็นระบบ

การปริทัศน์เป็นระบบ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ review ว่า "การปริทัศน์" และของ systematic ว่า "-เป็นระบบ" (systematic review) เป็นการปริทัศน์สิ่งตีพิมพ์หลาย ๆ งานที่พุ่งความสนใจไปยังประเด็นปัญหาหนึ่งทางการวิจัย มีจุดประสงค์เพื่อจะหา ประเมิน เลือกสรร และรวบรวมหลักฐานงานวิจัยมีคุณภาพทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหานั้น ๆ การปริทัศน์ผลงานการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) เป็นกระบวนการที่ขาดไม่ได้ทางแพทยศาสตร์อาศัยหลักฐาน (evidence-based medicine) ความเข้าใจในเรื่องการปริทัศน์อย่างเป็นระบบและวิธีการดำเนินงานปริทัศน์จริง ๆ เริ่มกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้มีอาชีพเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล นอกจากจะเป็นงานเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลระดับรายบุคคลแล้ว การปริทัศน์อย่างเป็นระบบอาจจะรวบรวมข้อมูลของการทดลองทางคลินิก การรักษาพยาบาลในระดับกลุ่มชน การรักษาพยาบาลทางสังคม ผลที่ไม่พึงประสงค์จากการรักษาพยาบาล และการประเมินผลทางเศรษฐกิจ.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และการปริทัศน์เป็นระบบ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยกลาสโกว์

มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (อังกฤษ: The University of Glasgow; ละติน: Universitatis Glasguensis) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1451 เป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในสามมหาวิทยาลัยในเมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร มีชื่อเสียงในด้านการสอนและการวิจัย และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยโบราณของสก็อตแลนด์ และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในสหราชอาณาจักร มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ถูกก่อตั้งขึ้นอาณัติจากพระสันตปาปานิโคลัสที่ห้าโดยพระประสงค์ของพระเจ้าเจมส์ที่สอง เพื่อให้สก็อตแลนด์มีมหาวิทยาลัยสองแห่งเช่นเดียวกันกับอังกฤษที่มีอ็อกซฟอร์ดและเคมบริดจ์ ซึ่งทำให้กลาสโกว์เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดอันดับสี่ในสหราชอาณาจักร และยังเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับเงินบริจาคมากเป็นอันดับสี่ในบริเทนรองจากอ็อกซฟอร์ด เคมบริดจ์ และเอดินเบอระ อีกด้วย มหาวิทยาลัยกลาสโกว์นั้นมีสัดส่วนนักเรียนต่างชาติค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยประมาณครึ่งหนึ่งเป็นคนในกลาสโกว์เอง อีก 40% เป็นนักเรียนจากเมืองต่างๆภายใน UK มีเพียงประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์ที่มาจากต่างชาติ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์นั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของ UK มาหลายศตวรรษ เช่นเดียวกับเอดินเบอระและเซนต์แอนดรูส์ กลาสโกว์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกใน UK ที่ก่อตั้งภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ และ ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยนอกเขตลอนดอนที่มีคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร เมืองกลาสโกว์นั้นมีอัตราส่วนวิศวกรต่อประชากรสูงมากเป็นอันดับสามของโลก มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ได้ให้กำเนิดนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกเป็นจำนวนมาก อาทิ ลอร์ดเคลวิน – หนึ่งในผู้พัฒนากฎข้อสองของเทอร์โมไดนามิคส์ และภายหลังได้รับเกียรติให้นำชื่อไปให้เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิเคลวิน เจมส์ วัตต์ – ผู้พัฒนากลจักรไอน้ำจนก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักร จอห์น โลกี แบรด – ผู้ประดิษฐ์โทรทัศน์ โจเซฟ ลิสเตอร์ – หนึ่งในผู้ริเริ่มการผ่าตัดแบบสมัยใหม่ และ โจเซฟ แบลค – นักเคมีที่มีผลงานมากมายรวมไปถึงการค้นพบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ฯลฯ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ยังมีชื่อเสียงทางด้านสังคมศาสตร์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าด้านวิศวกรรมศาสตร์เลยแม้แต่น้อย กลาสโกว์นั้นถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของยุคแสงสว่างอย่างแท้จริง ศาสตราจารย์ฟรานซิส ฮัทชิสัน แห่งมหาวิทยาลัยกลาสโกว์เป็นผู้ริเริ่มทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utilitarian principle) ซึ่งเป็นหนึ่งในทฤษฎีพื้นฐานภายใต้เศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก (Classical Economics) อดัม สมิธ ศิษย์เก่าที่โด่งดังที่สุดของมหาวิทยาลัยกลาสโกว์นั้นได้ผสมผสานทฤษฎีนี้ผนวกกับแนวคิดของเดวิด ฮูม (นักปรัชญาชาวเอดินเบอระ) ก่อให้เกิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ เศรษฐศาสตร์การเมือง และทฤษฎีการค้าเสรี ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของโลกอย่างมหาศาลมาจนถึงยุคปัจจุบัน.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยราชธานี

มหาวิทยาลัยราชธานี เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ตั้งอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีวิทยาเขต 1 แห่ง ที่จังหวัดอุดรธานี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยมีชื่อว่า "วิทยาลัยเทคโนโลยีราชธานี" และได้เปลี่ยนสถานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชธานี" เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2546.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และมหาวิทยาลัยราชธานี · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี  (อังกฤษ: Ratchathani University, UdonThani Campus) เป็นวิทยาเขต ในกำกับของมหาวิทยาลัยราชธานี ซึ่งตั้งอยู่ที่ จังหวัดอุดรธานี.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และมหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยวอชิงตัน

มหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington) หรือรู้จักในชื่อ ยูดับ (UW) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่รัฐวอชิงตัน เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในบริเวณชายฝั่งตะวันตกของประเทศ มหาวิทยาลัยวอชิงตันมี 3 วิทยาเขต โดยวิทยาเขตที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่เมืองซีแอทเทิล และวิทยาเขตอื่นอยู่ที่เมืองทาโคมา และโบเธลล์ มหาวิทยาลัยก่อตั้งเมื่อ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1861 มหาวิทยาลัยวอชิงตันมีชื่อเสียงอย่างมากในด้านการแพทย์และการพยาบาล และในด้านอื่น ๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และมหาวิทยาลัยวอชิงตัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งปอร์ตูอาเลเกร

มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งปอร์ตูอาเลเกร (Universidade Federal de Ciências da Saúde de Porto Alegre; อักษรย่อ: UFCSPA) เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาของรัฐ และทำการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพซึ่งตั้งอยู่ในปอร์ตูอาเลเกร ประเทศบราซิล มหาวิทยาลัยได้รับการก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งปอร์ตูอาเลเกร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (ื่อย่อ: ม., STOU) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแบบไม่จำกัดรับจำนวน (มหาวิทยาลัยเปิด) แห่งเดียวของประเทศไทย และเป็นมหาวิทยาลัยเปิดโดยใช้ระบบการศึกษาทางไกลแห่งเดียวในประเทศไทย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดตั้งขึ้นเพื่อขยายและกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ประชาชน มีลักษณะเป็นมหาวิทยาลัยในระบบเปิด ดำเนินการดำเนินการสอนโดยใช้ระบบการสอนทางไกลซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" ตามพระนามกรมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นรูปพระแสงศรสามองค์ นำมาประกอบกับเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ กรุงสุโขทัย เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงลงพระปรมาภิไธยใน พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พุทธศักราช 2521 มหาวิทยาลัยจึงกำหนดวันที่ 5 กันยายน ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีแบบมหาวิทยาลัยเปิดโดยรับนักศึกษาไม่จำกัดจำนวน ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเปิดการศึกษาถึงระดับดุษฎีบัณฑิตในบางสาขาวิชา โดยมีการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาเหมือนมหาวิทยาลัยปิดทั่วไป มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชไม่มีชั้นเรียนตามปกติเหมือนมหาวิทยาลัยทั่วไป แต่ดำเนินการสอนโดยใช้ระบบการสอนทางไกล ซึ่งจัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากเอกสารชุดวิชาจากสื่อสารสนเทศต่าง ๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดไว้ให้นักศึกษา เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อต่าง ๆ เป็นต้น ผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในอดีต ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แต่ในปัจจุบันสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจนถึงปัจจุบัน ภายหลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศที่ 1/2560 เข้าควบคุมมหาวิทยาลั.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์

ห้องสมุดในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University ตัวย่อ JHU) หรือเรียกอย่างย่อว่า ฮอปกินส์ เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในสหรัฐอเมริกา ริเริ่มก่อตั้งโดยประธานาธิบดี เดวิด คอยต์ กิลแมน ตั้งอยู่ที่เมืองบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) โดยมีการเปิดการเรียนการสอบในหลายระดับ มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีประมาณ 4,500 คน และในระดับสูงกว่าระดับปริญญาตรี 15,000 คน จอนส์ ฮอปกินส์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่ใช้รูปแบบการจัดการศึกษาแบบมหาวิทยาลัยในเยอรมนี และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้การสัมมนาแทนการสอนโดยการบรรยายเพียงอย่างเดียว รวมทั้งเป็นมหาวิทยาลัยอเมริกันแห่งแรกที่จัดให้มีวิชาเอก (major) แทนหลักสูตรศิลปศาสตร์ทั่วไป ดังนั้นจอนส์ ฮอปกินส์จึงเป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยวิจัยขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งใน 14 สมาชิกก่อตั้งสมาคมมหาวิทยาลัยอเมริกัน หรือ Association of American Universities จากสถิติของกองทุนวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation) ของสหรัฐอเมริกา จอนส์ ฮอปกินส์เป็นมหาวิทยาลัยที่ครองอันดับ 1 ในด้านการใช้งบประมาณการวิจัยและพัฒนาในสาขาวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นเวลา 30 ปีต่อเนื่องกันและเป็นสถาบันที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จอห์น ฮอปกินส์ มีชื่อเสียงในด้านการแพทย์ สาธารณสุข และ การพยาบาล โดยได้รับการจัดอันดับจากยูเอสนิวส์ในอันดับต้นของประเทศหลายครั้ง นอกจากนั้นจอนส์ฮอปกินส์ยังมีสถาบันชั้นนำระดับโลกในสาขาอื่น อาทิ สถาบันด้านการดนตรีพีบอดี (Peabody Institute) และด้านการระหว่างประเทศ (The Paul H. Nitze School of Advanced International Studies หรือ SAIS) จนถึงพ.ศ. 2552 มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์จำนวน 33 คนที่ได้รับรางวัลโนเบล.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทกซัส อาร์ลิงตัน

(Latin for "Cultivated mind is the guardian genius of democracy") | established.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และมหาวิทยาลัยเทกซัส อาร์ลิงตัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (อังกฤษ: Suranaree University of Technology; อักษรย่อ: มทส.) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 โดยได้มีการยกฐานะจาก "วิทยาลัยสุรนารี" ในสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ทำการจัดการเรียนการสอนครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ใน 7 สำนักวิชาและ 1 สถาบันสมทบ โดยมีหลักสูตรในระดับปริญญาตรี 32 หลักสูตร ปริญญาโท 34 หลักสูตร และปริญญาเอก 28 หลักสูตร (ข้อมูลในปีการศึกษา 2553) นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคณาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกคิดเป็นร้อยละสูงที่สุดในประเทศไทย (ร้อยละ 80.21) และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผลงานวิจัยต่อหัวคณาจารย์สูงที่สุดในประเทศไท.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ

มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ (Case Western Reserve University หรือ CASE หรือ CWRU หรือ CASE WESTERN) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่เน้นทางด้านการวิจัย ตั้งอยู่ในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2510 จากการรวมกันของสองสถาบันการศึกษาอันได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีเคส (Case Institute of Technology) ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2423 โดยนาย ลีโอนาร์ท เคส จูเนียร์ (Leonard Case Jr) กับ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ (Western Reserve University) ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2369 มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีนักศึกษาประมาณ 10,000 คน แบ่งเป็น นักศึกษาปริญญาบัณฑิต 4,386 คน นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 5,640 คน และอาจารย์ประจำ 3,055 คน และเจ้าหน้าที่ 3,402 คน สำหรับปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยประจำปีคือ 968 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้รับเงินบริจาคประจำปีคือ 138.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ได้รับเงินบริจาคมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นทางด้านการวิจัยเป็นอย่างมาก โดยตามรายงานประจำปี.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และมหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

ยะมะโมะโตะ ยะเอะโกะ

มะโมะโตะ ยะเอะโกะ (1 ธันวาคม ค.ศ. 1845 - 14 มิถุนายน ค.ศ. 1932) หรือ นิอิจิมะ ยะเอะ เป็นสตรีที่มีช่วงชีวิตอยู่ในปลายยุคเอะโดะ หรือ บะกุมะสึ จนถึงยุคเมจิ ยะมะโมะโตะ ยะเอะโกะ เกิดเมื่อค.ศ. 1845 ที่แคว้นไอซุ จังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน เป็นธิดาของซะมุไรยะมะโมะโตะ คมปะชิ ผู้มีอาชีพเป็นครูสอนการยิงปืนอยู่ในแคว้นไอซุ ตระกูลยะมะโมะโตะนี้อ้างการสืบเชื้อสายจากยะมะโมะโตะ คันซุเกะ ทหารเอกคนสนิทของทะเกะดะ ชิงเง็น นางยะเอะโกะมีพี่ชายคือ ยะมะโมะโตะ คะกุมะ ในช่วงวัยเยาว์นางยะเอะมีความสนใจในการใช้อาวุธปืนซึ่งผิดแปลกไปจากสตรีในยุคสมัยเดียวกัน ต่อมาคะกุมะผู้เป็นพี่ชายเดินทางไปศึกษาวิทยาการตะวันตกที่เมืองเอะโดะ ได้แนะนำให้นางยะเอะรู้จักกับคะวะซะกิ โชโนะซุเกะ ซึ่งนางยะเอะได้สมรสกับนายโชโนะซุเกะเมื่อค.ศ. 1865 ในช่วงสงครามโบะชิง (Boshin War) หลังจากที่เข้ายึดนครเอะโดะได้แล้ว ทัพฝ่ายพระจักรพรรดิได้รุกคืบขึ้นมาทางเหนือ เข้าโจมตีเมืองไอซุอันเป็นฐานที่มั่นสำคัญของฝ่ายสนับสนุนโชกุน เกิดเป็นยุทธการไอซุ (Battle of Aizu) ขึ้นในค.ศ. 1868 นางยะเอะได้ตัดสินใจปลงผมแต่งตัวเป็นชายถือปืนเข้าร่วมรบในการปกป้องปราสาทไอซุวะกะมะซึ (Aizuwakamatsu Castle) ในยุทธการครั้งนี้เมืองไอซุถูกทัพฝ่ายพระจักรพรรดิเข้ายึดครองในที่สุด คมปะชิบิดาของนางยะเอะเสียชีวิตในที่รบ และนายโชโนะซุเกะผู้เป็นสามีถูกจับเป็นเชลยศึก หลังจากสงครามแล้วนางยะเอะได้เดินทางไปยังเมืองเกียวโต เพื่อเยี่ยมและดูแลพี่ชายนายคะกุมะซึ่งถูกกุมตัวในฐานะเชลยศึกอยู่ นางยะเอะได้พบกับนายโจเซฟ ฮาร์ดี นีซีมา (Joseph Hardy Neesima) หรือ นิอิจิมะ โจ มิชชันนารีชาวญี่ปุ่น นางยะเอะเข้ารีตคริสต์ศาสนาและสมรสใหม่กับนายนิอิจิมะเมื่อค.ศ. 1876 นางยะเอะได้ร่วมกับนายนิอิจิมะผู้เป็นสามีในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยโดชิชะ (Dōshisha University) นายนิอิจิมะผู้เป็นสามีคนที่สองเสียชีวิตลงเมื่อค.ศ. 1890 หลังจากนั้นนางยะเอะได้ผันตนเองมาสู้ด้านการพยาบาลและเข้าทำงานในสภากาชาดญี่ปุ่น (Japanese Red Cross) ในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (First Sino-Japanese War) นางยะเอะได้เข้าทำงานที่เมืองฮิโระชิมะในฐานะนางพยาบาลช่วยเหลือทหารญี่ปุ่นที่ได้รับบาดเจ็บในสงคราม ด้วยคุณงามความชอบทำให้นางยะเอะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ (Order of the Precious Crown) จากสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิเมื่อค.ศ. 1896 ในค.ศ. 1904 นางยะเอะได้เข้าช่วยเหลือทหารบาดเจ็บอีกครั้งในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น นางยะเอะถึงแก่กรรมในปีค.ศ. 1932 ด้วยอายุ 86 ปี ที่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และยะมะโมะโตะ ยะเอะโกะ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสาขาการศึกษาระดับปริญญาเอก (สหรัฐอเมริกา)

รายชื่อสาขาการศึกษาระดับปริญญาเอก (List of fields of doctoral studies) นี้จัดทำขึ้นโดย "ศูนย์วิจัยความเห็นแห่งชาติ" (Opinion Research Center หรือ NORC) ที่ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกาจากการสำรวจปริญญาเอกที่มีผู้จบการศึกษารายปี โดยจัดทำให้กับมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และหน่วยงานของรัฐบาลกลางอีกหลายหน่วยงานในสหรัฐฯ ทั้งหมดนี้คือสายวิชาการศึกษาระดับปริญญาเอกที่เน้นการวิจัยที่มุ่งสู่ปริญญาดุษฎีบัณฑิตปรัชญา (Doctor of Philosophy หรือ Ph.D.) และการศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Education Ed.D 1หรือ D.Ed) ที่เปิดสอนในสหรัฐฯ ซึ่งในปีการศึกษา 2547-2548 พบว่าร้อยละ 90.3 ของปริญญาเอกที่เน้นการวิจัยจำนวน 43,354 ปริญญาในสหรัฐฯ ปริญญาเป็น Ph.D. และร้อยละ 7.0 เป็น Ed.D. การศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิชาชีพ (professional doctorates) เช่น แพทยศาสตร์ (Doctor of Medicine - M.D.) และปริญญาเอกด้านกฎหมาย (Juris Doctor - J.D.) ไม่นับรวมในรายชื่อนี้.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และรายชื่อสาขาการศึกษาระดับปริญญาเอก (สหรัฐอเมริกา) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อคณะพยาบาลศาสตร์ในประเทศไทย

รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยที่เปิดสอนวิชาพยาบาลศาสตร.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และรายชื่อคณะพยาบาลศาสตร์ในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายการสาขาวิชา

รายชื่อสาขาวิชา หรือ สาขาการศึกษา (Field of study) หมายถึงสาขาความรู้ หรือ การวิจัยที่เปิดสอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คำว่า สาขาวิชา ได้รับการนิยามและยอมรับโดย วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และโดยสมาคมผู้รู้ (learned societies) และโดยภาควิชาหรือคณะวิชาที่บุคคลผู้อยู่ในสาขาวิชานั้นๆ สังกัด โดยปกติ สาขาการศึกษาต่างๆ มักมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชาแตกออกไป เส้นแบ่งระหว่างสาขาย่อยมักยังมีความคลุมเครือและมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ในยุโรปสมัยกลางซึ่งขณะนั้นยังมีการแบ่งคณะวิชาออกเป็น 4 คณะหรือสายวิชา ได้แก่เทววิทยา การแพทย์ ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และศิลปะ โดยคณะวิชาหลังมีสถานะไม่สูงเท่า 3 สาขาแรก การแบ่งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสมัยนั้นมีรากสืบทอดมาจากขบวนการแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร (Secularization) ของมหาวิทยาลัยซึ่งเกิดขึ้นราวสมัยกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2390 - พ.ศ. 2440) โดยได้เพิ่มวิชาภาษาศาสตร์ที่ไม่ใช่คลาสสิก วรรณคดี และวิชาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและวิศวกรรมศาสตร์เสริมเข้าไปในหลักสูตรแบบประเพณีโบราณ ในต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2475) ได้มีการเพิ่มสาขาวิชาใหม่ๆ เช่น การศึกษา สังคมวิทยา และจิตวิทยา ในมหาวิทยาลัยต่างๆ และในช่วงประมาณ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2523) ได้เกิดปรากฏการณ์ "การระเบิด" ของสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เน้นเนื้อหาเฉพาะเจาะจง เช่น สื่อศึกษา สตรีศึกษา และชนผิวดำศึกษา สาขาใหม่ๆ เหล่านี้จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับอาชีพและวิชาชีพต่างๆ เช่น การพยาบาล การจัดการโรงพยาบาล การราชทัณฑ์ และหลังสุดก็ได้เห็นสาขาวิชาที่เป็นลักษณะ "สหสาขาวิชา" เช่น ชีวเคมี และ ธรณีฟิสิกส์เกิดเพิ่มขึ้นและได้รับการยอมรับว่าสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวางขึ้น เครื่องหมายดอกจัน * แสดงเป็นหมายเหตุว่าสาขาวิชานั้นยังเป็นที่ถกเถียงถึงสถานภาพว่าควรนับไว้ในสายวิชาใด เช่น วิชามานุษยวิทยา และวิชาภาษาศาสตร์ควรจัดไว้ในกลุ่มสังคมศาสตร์ หรือ มนุษยศาสตร์ เป็นที่สังเกตได้ว่าบางท่าน โดยเฉพาะนักทฤษฎีวิจารณ์มักให้ความสำคัญในการบ่งชี้การจัดกลุ่มที่เข้มงวดในทุกสายวิชา รวมทั้งความชัดเจนของโครงสร้างของแนวคิดโดยรวมของแต่ละวิชาซึ่งยังเป็นถกเถียงได้มากสำหรับบางคน.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และรายการสาขาวิชา · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล

หรียญรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เป็นรางวัลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชานุสรณ์แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ผู้ทรงบำเพ็ญประโยชน์ต่อวงการแพทย์ การสาธารณสุข การพยาบาล การเภสัชกรรม ทันตศึกษา การประมง กองทัพเรือ และการศึกษาของประเทศ เป็นคุณูปการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับการแพทย์ของประเทศไทย ทรงทำนุบำรุงโรงเรียนราชแพทยาลัย และโรงพยาบาลศิริราชให้ทันสมัย ทั้งทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลไทย ในการเจรจากับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์ ให้มาช่วยเหลือปรับปรุงการแพทย์ของไทย เป็นการวางรากฐานให้การแพทย์ของไทย เจริญรุ่งเรืองทัดเทียมอารยประเทศในปัจจุบัน จนได้รับการถวายพระสมัญญานามว่า องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย และองค์บิดาแห่งการสาธารณสุขของไทย เป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณให้พระเกียรติยืนยง อยู่ในแผ่นดินนี้และแผ่ขจรขจายไปทั่วโลก.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัยสตรีฮะกุโฮ

วิทยาลัยสตรีฮะกุโฮ (白鳳女子短期大学 Hakuhō joshi tanki daigaku; Hakuho Women's College) เป็นอนุวิทยาลัยเอกชน ตั้งอยู่ที่เมืองโอจิ จังหวัดนะระ ประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1998 ซึ่งเดิมเป็นโรงเรียนที่ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1984.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และวิทยาลัยสตรีฮะกุโฮ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์สุขภาพ

วิทยาศาสตร์สุขภาพ คือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ วิทยาศาสตร์สุขภาพสามารถแบ่งออกได้ 2 ส่วน ส่วนแรก คือ การศึกษา วิจัย และความรู้ที่เกี่ยวกับสุขภาพ ส่วนที่ 2 คือ การนำความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสุขภาพ, รักษาโรค และทำความเข้าใจการทำงานของร่างกายมนุษย์และสัตว์ งานวิจัยด้านนี้วางอยู่บนฐานของชีววิทยา, เคมี และฟิสิกส์ รวมไปถึงความรู้ด้านสังคมศาสตร์ เช่น สังคมวิทยาการแพท.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ตราจารย์ (พิเศษ) พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (ประสูติ: 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฉบับกาญจนาภิเษก,; สิ้นพระชนม์: 2 มกราคม พ.ศ. 2551 โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร) เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา) เป็นสมเด็จพระเชษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็นสมเด็จพระราชปิตุจฉาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีโครงการในพระอุปถัมภ์หลายร้อยโครงการ ทั้งด้านการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การแพทย์และการสาธารณสุข การต่างประเทศ การศาสนา และอื่น ๆ กับทั้งยังมีพระปรีชาสามารถด้านการเขียน ด้านการกีฬา และด้านการถ่ายภาพ พระองค์มีพระอาการผิดปกติเกี่ยวกับพระนาภี และได้เข้าประทับรักษาพระอาการประชวร ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช จนกระทั่งวันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 02:54 นาฬิกา สิริพระชนมายุ 84 พรรษ.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

อันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยในที่นี้ เป็นการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยโดยหน่วยงานของไทยเอง และนิตยสารของต่างประเทศ สำหรับหน่วยงานของไทย ในปี พ.ศ. 2549 นี้ ทางกระทรวงศึกษาธิการได้จัดให้มีการจัดลำดับมหาวิทยาลัยรัฐในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดย 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) สำหรับในต่างประเทศได้มีการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกจากทั้ง นิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ นิตยสารเอเชียวีก บริษัท แควกเควเรลลี ไซมอนด์ส จำกัด, CWTS, CWUR ฯลฯ รวมทั้งการจัดอันดับความเป็นอิเล็กทรอนิกส์และการเข้าถึงเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยจากเว็บไซต์เว็บโอเมตริกซ์ โดยมหาวิทยาลัยในประเทศไทยบางส่วนได้ถูกเสนอชื่อเข้าไปในนั้น ในขณะที่บางลำดับเช่นจาก มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวถง ไม่มีรายชื่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยแต่อย่างใ.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และอันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

จินดา ศิริมานนท์

นดา ศิริมานนท์ (6 ธันวาคม พ.ศ. 2460 - 26 เมษายน พ.ศ. 2556) นักเขียนชาวไทย เป็นภริยาและเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการทำงานของ สุภา ศิริมานนท์ นักหนังสือพิมพ์แนวหน้าของไทย จินดา ศิริมานนท์ มีนามเดิมว่า จินดา สุนทรโรหิต เป็นบุตรสาวของหลวงสุภาเทพ (โต สุนทรโรหิต) ยกระบัตร์ศาลอุทธรณ์ จบการศึกษาด้านการพยาบาล พบกับสุภา ศิริมานนท์ และแต่งงานกันเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2486 จินดา ช่วยงานการทำหนังสือของสุภามาโดยตลอด ช่วง..

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และจินดา ศิริมานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

ความเจ็บปวด

วามเจ็บปวด (Pain) เป็นความทุกข์ทางกายที่เกิดเพราะสิ่งเร้าที่รุนแรงหรืออันตราย แต่เพราะมันเป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน ที่เป็นอัตวิสัย การนิยามมันจึงเป็นเรื่องยาก องค์การมาตรฐานสากล International Association for the Study of Pain (IASP) ได้กำหนดนิยามที่ใช้อย่างกว้างขวางว่า "ความเจ็บปวดเป็นประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสและทางอารมณ์ ที่สัมพันธ์กับโอกาสหรือการเกิดขึ้นจริง ๆ ของความเสียหายในเนื้อเยื่อ หรือที่บอกโดยใช้คำซึ่งกล่าวถึงความเสียหายเช่นนั้น" Derived from ในการวินิจฉัยทางการแพทย์ ความเจ็บปวดพิจารณาว่าเป็นอาการของโรคที่เป็นเหตุ ความเจ็บปวดปกติจะจูงใจให้บุคคลถอยตัวออกจากสถานการณ์ที่ทำให้เสียหาย ให้ปกป้องรักษาอวัยวะที่บาดเจ็บเมื่อกำลังหาย และให้หลีกเลี่ยงประสบการณ์คล้าย ๆ กันในอนาคต ความเจ็บปวดโดยมากจะหายไปเองเมื่อหมดสิ่งเร้าอันตรายและเมื่อแผล/การบาดเจ็บหายดี แต่ก็อาจคงยืนต่อไปได้ ความเจ็บปวดบางอย่างสามารถเกิดแม้เมื่อไม่มีสิ่งเร้าอันตราย ไม่มีความเสียหาย และไม่มีโรค ในประเทศพัฒนาแล้ว ความเจ็บปวดเป็นเหตุสามัญที่สุดให้คนไข้หาหมอ มันเป็นอาการสามัญที่สุดในโรคต่าง ๆ และสามารถบั่นทอนคุณภาพและความเป็นอยู่ในชีวิตของคนไข้ ยาแก้ปวดธรรมดา ๆ ใช้ได้ในกรณี 20-70% ปัจจัยทางจิตอื่น ๆ รวมทั้งการได้ความช่วยเหลือจากสังคม การสะกดจิต ความตื่นเต้น หรือเครื่องล่อความสนใจต่าง ๆ มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อความทุกข์เนื่องจากความเจ็บปว.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และความเจ็บปวด · ดูเพิ่มเติม »

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (Faculty of Nursing Burapha University) เป็นคณะในมหาวิทยาลัยบูรพาซึ่งทำการสอนวิชาความรู้ด้านการพยาบาลศาสตร์ โดยเริ่มก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา · ดูเพิ่มเติม »

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นคณะวิชาลำดับที่ 11 ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและคณะวิชาลำดับที่ 3 ของทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ต่อจากคณะเภสัชศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ตามลำดับ ในระยะแรกตั้งเป็นโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ ในปี..

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี · ดูเพิ่มเติม »

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2544 โดยเป็นการรวมภาควิชาที่รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนระดับปรีคลินิก (Pre-clinic) ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพทุกสาขาเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนระดับปรีคลินิก และให้การสนับสนุนงานวิจัยกับอาจารย์และนิสิตในคณะกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัย ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การแพท.

ใหม่!!: พยาบาลศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Nursingการพยาบาล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »