โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 782

ดัชนี พ.ศ. 782

ทธศักราช 782 ใกล้เคียงกั.

4 ความสัมพันธ์: ยุคยะโยะอิวุยก๊กจักรพรรดิเว่ยหมิงโจฮอง

ยุคยะโยะอิ

อิ - ราว 300ปี ก่อนคริสต์ศักราช - ค.ศ. 250 วัฒนธรรมยาโยอิ ได้รับอิทธิพลมาจาก การอพยพเข้ามาของคนจากผืนแผ่นดินใหญ่สู่หมู่เกาะญี่ปุ่น เรียกได้ว่าชาวญี่ปุ่นเป็นผู้ที่สามารถดัดแปลง เลียนแบบ ในการรับเอาวัฒนธรรมอื่นทุกๆอย่างที่สูงกว่าตน มาใช้อย่างได้ผลดีต่อสังคม ผู้คนตั้งถิ่นฐานทางตะวันตกและตะวันออกของประเทศ - เริ่มเรียนรู้การเพาะปลูกข้าว วิชาช่าง เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยทองสัมฤทธิ์และเหล็ก เช่น เครื่องมือเพาะปลูก ดาบ กระจกเงา - เครื่องปั้นดินเผายาโยอิ ใช้แกนหมุนในการขึ้นรูป เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยโลหะและหินขัด - ชาวจีนเรียกแผ่นดินญี่ปุ่นว่า แผ่นดินของวา (วา แปลว่า แคระ) - ใน ค.ศ. 57 เจ้าเมืองแผ่นดินวา ได้รับตราประจำตำแหน่งทำด้วยทอง เขียนไว้ว่า “เจ้าเมืองแผ่นดินวาของฮั่น” หลังจากส่งเครื่องบรรณาการให้แก่ฮ่องเต้เมืองฮั่น - ศาสนาสมัยแรกของชาวญี่ปุ่นคือ ชินโต หรือ “ทางของเทพเจ้า” เป็นศาสนาที่สักการบูชาเทพเจ้า ซึ่งได้แก่ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือบรรพบุรุษในตำนาน (สถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาชินโต ในสมัยนั้น) - ตอนต้นของศตวรรษแรก แผ่นดินวานี้แบ่งออกเป็นรัฐต่างๆน้อยใหญ่ประมาณ 100 กลุ่มชนด้วยกัน แต่ในศตวรรษต่อไปนั้นจำนวนรัฐลดเหลือเพียง 30 กลุ่มชน อยู่รวมกันภายใต้การคุ้มครองของราชินีองค์หนึ่ง นามว่า พระนางฮิมิโกะ ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ทางศาสนามากกว่าเป็นประมุขทางการเมือง พระนางทำหน้าที่เป็นคนทรงและประกอบเวทมนตร์คาถาให้ประชาชน ส่วนประมุขทางการเมืองยังเป็นจักรพรรดิ - ใน ค.ศ. 239 พระนางฮิมิโกะ ผู้ครองอาณาจักรยามาไท ส่งเครื่องบรรณาการไปยังเมืองเว่ย ของจีน - ช่วงศตวรรษที่3 มีการอพยพของคนจากแผ่นดินใหญ่ผ่านทางเกาหลีเข้ามายังญี่ปุ่น.

ใหม่!!: พ.ศ. 782และยุคยะโยะอิ · ดูเพิ่มเติม »

วุยก๊ก

วุยก๊ก หรือ เฉาเวย (พินอิน: Cáo Wèi) จัดเป็นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ในระหว่างปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 808 (ปี ค.ศ. 220-265) วุยก๊กครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นราชวงศ์วุยโดยพระเจ้าโจผีและได้สถาปนาโจโฉเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์วุย, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: พ.ศ. 782และวุยก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเว่ยหมิง

ระเจ้าโจยอย เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ผู้ครองวุยก๊กรุ่นที่ 3 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าโจผี พระราชนัดดาในพระเจ้าโจโฉ ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 769 ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าโจผี พระราชบิดา ด้วยวัยเพียง 21 พรรษา เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเว่ยหยวงซง (元仲) เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว พระเจ้าโจยอยนับได้ว่า เป็นผู้นำที่เข้มแข็งทีเดียว เนื่องด้วยขงเบ้งเมื่อทราบข่าวว่า พระเจ้าโจผีสิ้นพระชนม์แล้ว โจยอย ราชบุตรขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุน้อย จึงยกทัพบุกขึ้นเหนือมา พระองค์ทรงส่งสุมาอี้เป็นแม่ทัพใหญ่ไปรบกับขงเบ้ง อันเป็นการเปิดโอกาสให้สุมาอี้ได้แสดงฝีมือประชันกับขงเบ้งด้วย ซึ่งต่อมาทั้งคู่เป็นคู่ปรับที่ปรับมือกันมาตลอด ต่อมา ขงเบ้งได้ใช้แผนปล่อยข่าวลือในราชธานีลกเอี๋ยงว่า สุมาอี้คิดเป็นกบฏ เพราะต้องการให้พระเจ้าโจยอยปลดสุมาอี้ออกจากตำแหน่ง ซึ่งที่สุดก็เป็นไปตามแผนของขงเบ้ง จนกระทั่ง ขงเบ้งยกทัพบุกวุยก๊กอีกครั้ง พระเจ้าโจยอยทรงคิดไม่ตกว่า ใครจะรับมือกับขงเบ้งได้ ที่สุดมีผู้เสนอว่า ควรคืนตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ให้สุมาอี้ จึงทรงคืนตำแหน่งให้สุมาอี้โดยไม่วิตกกังวลใด ๆ อีก สุมาอี้ซึ่งอยู่นอกเมืองทราบข่าวนี้ซาบซึ้งเป็นอย่างมาก ถึงกับกราบแผ่นดินคาราวะและเอ่ยปากว่า ทรงเป็นจักรพรรดิที่ทรงพระปรีชาโดยแท้ นอกจากนี้แล้ว พระเจ้าโจยอยยังออกนำทัพด้วยพระองค์เอง ในการศึกครั้งนี้ด้วย เนื่องจากซุนกวน กษัตริย์ง่อก๊กได้ร่วมมือกับขงเบ้ง ยกทัพเปิดศึกสองสมรภูมิกับทางวุยก๊ก โดยพระเจ้าโจยอยได้เสด็จนำทัพวุยไปรับศึกฝ่ายง่อที่เมืองหับป๋า และทรงพระปรีชาสามารถรบชนะทัพง่อได้ ทำให้แผนตีกระหนาบของขงเบ้งและซุนกวนต้องล้มเหลวลง ฝ่ายสุมาอี้ซึ่งตั้งทัพรับมือขงเบ้งอยู่ในอีกแนวศึก ได้ใช้นโยบายไม่ออกรบแม้ขงเบ้งยั่วยุต่าง ๆ นานา ผิดกับแม่ทัพนายกองหลายคนของวุยก๊กที่ขัดเคืองใจกับการยั่วยุและอยากจะออกรบ แม้สุมาอี้จะมีคำสั่งเด็ดขาดห้ามออกไป แต่ก็รู้ดีว่านานวันเข้าคำสั่งอาจจะไม่ได้ผลเต็มที่ สุมาอี้จึงมีหนังสือกราบบังคมทูลไปยังพระเจ้าโจยอย พร้อมอธิบายถึงเหตุผลที่ไม่ออกรบ ด้วยต้องการให้พระองค์มีพระบรมราชโองการมาสั่งห้ามออกรบ ซึ่งพระเจ้าโจยอยก็ตอบสนองความต้องการของสุมาอี้โดยทันที เมื่อพระบรมราชโองการมาถึง บรรดานายทหารที่อยากรบทั้งหมดนั้นจึงต้องปฏิบัติตามโดยดุสดี ซึ่งการที่สุมาอี้ตั้งทัพไม่ออกรบนี้ เป็นอุบายของสุมาอี้ที่ต้องการทำศึกยืดเยื้อ บังคับให้ทัพจ๊กก๊กต้องถอยไปเอง ซึ่งท้ายที่สุดขงเบ้งก็สิ้นชีวิตกลางสนามรบ ส่งผลให้ทัพจ๊กก๊กต้องถอยกลับในเวลาต่อมาจริง ๆ กล่าวได้ว่าด้วยการผสานใจร่วมมือของพระเจ้าโจยอยผู้เป็นนาย ซึ่งรู้ใจบ่าว คือสุมาอี้ เป็นอย่างดีนั้น ได้ช่วยรักษาให้วุยก๊กผ่านพ้นวิกฤติการณ์การสงครามครั้งนั้นไปได้ พระเจ้าโจยอย สิ้นพระชนม์ในวันที่ 22 มกราคม ปี พ.ศ. 782 ด้วยพระชนมายุ 34 พรรษา รวมระยะเวลาครองราชย์ 13 ปี ด้วยพระโรคที่รุมเร้าและสติวิปลาส เนื่องจากติดพระสนมองค์ใหม่และสั่งประหารพระมเหสีองค์เก่าสิ้น และเป็นโจฮอง ราชบุตรเพียงคนเดียวขึ้นครองราชย์แทน ซึ่งราชสกุลวุยจะตกต่ำต่อไปเรื่อ.

ใหม่!!: พ.ศ. 782และจักรพรรดิเว่ยหมิง · ดูเพิ่มเติม »

โจฮอง

พระเจ้าโจฮอง (เฉาฟาง) เป็นพระราชโอรสเลี้ยงในพระเจ้าโจยอย มีฉายาว่าหลันชิง ไม่ทราบว่าเป็นบุตรใครมาแต่เดิม ขึ้นเสวยราชย์ต่อจากพระเจ้าโจยอยเมื่อพระชนมายุ 8 พรรษา โดยมีชื่อโจซอง บุตรโจจิ๋นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระเจ้าโจฮองทรงมีนิสัยดื้อด้าน มัวเมาแต่สุรานารี เมื่อเสวยราชย์ได้ 10 ปี สุมาอี้ทำรัฐประหารฆ่าโจซองเสีย แล้วตั้งตัวเป็นสมุหนายก คุมอำนาจไว้ทั้งหมด ครั้นสุมาอี้สิ้นชีพ สุมาสูยึดอำนาจสืบต่อไปและ รุกรานพระเจ้าโจฮองหนักมือขึ้น พระเจ้าโจฮองทรงพระราชดำริจะโค่นอำนาจของสุมาสู แต่สุมาสูจับแผนการได้ จึงถอดเสียราชบัลลังก์ตั้งให้เป็นฉีอ๋อง (ในสามก๊กไทยเรียกว่าเจอ่อง) ออกไปอยู่เสียหัวเมืองบ้านนอก อยู่ในราชสมบัติ 15 ปี ระหว่าง พ.ศ. 782 (ค.ศ. 239) ถึง พ.ศ. 797 (ค.ศ. 254) หมวดหมู่:วุยก๊ก.

ใหม่!!: พ.ศ. 782และโจฮอง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 239

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »