โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดิเว่ยหมิง

ดัชนี จักรพรรดิเว่ยหมิง

ระเจ้าโจยอย เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ผู้ครองวุยก๊กรุ่นที่ 3 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าโจผี พระราชนัดดาในพระเจ้าโจโฉ ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 769 ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าโจผี พระราชบิดา ด้วยวัยเพียง 21 พรรษา เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเว่ยหยวงซง (元仲) เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว พระเจ้าโจยอยนับได้ว่า เป็นผู้นำที่เข้มแข็งทีเดียว เนื่องด้วยขงเบ้งเมื่อทราบข่าวว่า พระเจ้าโจผีสิ้นพระชนม์แล้ว โจยอย ราชบุตรขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุน้อย จึงยกทัพบุกขึ้นเหนือมา พระองค์ทรงส่งสุมาอี้เป็นแม่ทัพใหญ่ไปรบกับขงเบ้ง อันเป็นการเปิดโอกาสให้สุมาอี้ได้แสดงฝีมือประชันกับขงเบ้งด้วย ซึ่งต่อมาทั้งคู่เป็นคู่ปรับที่ปรับมือกันมาตลอด ต่อมา ขงเบ้งได้ใช้แผนปล่อยข่าวลือในราชธานีลกเอี๋ยงว่า สุมาอี้คิดเป็นกบฏ เพราะต้องการให้พระเจ้าโจยอยปลดสุมาอี้ออกจากตำแหน่ง ซึ่งที่สุดก็เป็นไปตามแผนของขงเบ้ง จนกระทั่ง ขงเบ้งยกทัพบุกวุยก๊กอีกครั้ง พระเจ้าโจยอยทรงคิดไม่ตกว่า ใครจะรับมือกับขงเบ้งได้ ที่สุดมีผู้เสนอว่า ควรคืนตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ให้สุมาอี้ จึงทรงคืนตำแหน่งให้สุมาอี้โดยไม่วิตกกังวลใด ๆ อีก สุมาอี้ซึ่งอยู่นอกเมืองทราบข่าวนี้ซาบซึ้งเป็นอย่างมาก ถึงกับกราบแผ่นดินคาราวะและเอ่ยปากว่า ทรงเป็นจักรพรรดิที่ทรงพระปรีชาโดยแท้ นอกจากนี้แล้ว พระเจ้าโจยอยยังออกนำทัพด้วยพระองค์เอง ในการศึกครั้งนี้ด้วย เนื่องจากซุนกวน กษัตริย์ง่อก๊กได้ร่วมมือกับขงเบ้ง ยกทัพเปิดศึกสองสมรภูมิกับทางวุยก๊ก โดยพระเจ้าโจยอยได้เสด็จนำทัพวุยไปรับศึกฝ่ายง่อที่เมืองหับป๋า และทรงพระปรีชาสามารถรบชนะทัพง่อได้ ทำให้แผนตีกระหนาบของขงเบ้งและซุนกวนต้องล้มเหลวลง ฝ่ายสุมาอี้ซึ่งตั้งทัพรับมือขงเบ้งอยู่ในอีกแนวศึก ได้ใช้นโยบายไม่ออกรบแม้ขงเบ้งยั่วยุต่าง ๆ นานา ผิดกับแม่ทัพนายกองหลายคนของวุยก๊กที่ขัดเคืองใจกับการยั่วยุและอยากจะออกรบ แม้สุมาอี้จะมีคำสั่งเด็ดขาดห้ามออกไป แต่ก็รู้ดีว่านานวันเข้าคำสั่งอาจจะไม่ได้ผลเต็มที่ สุมาอี้จึงมีหนังสือกราบบังคมทูลไปยังพระเจ้าโจยอย พร้อมอธิบายถึงเหตุผลที่ไม่ออกรบ ด้วยต้องการให้พระองค์มีพระบรมราชโองการมาสั่งห้ามออกรบ ซึ่งพระเจ้าโจยอยก็ตอบสนองความต้องการของสุมาอี้โดยทันที เมื่อพระบรมราชโองการมาถึง บรรดานายทหารที่อยากรบทั้งหมดนั้นจึงต้องปฏิบัติตามโดยดุสดี ซึ่งการที่สุมาอี้ตั้งทัพไม่ออกรบนี้ เป็นอุบายของสุมาอี้ที่ต้องการทำศึกยืดเยื้อ บังคับให้ทัพจ๊กก๊กต้องถอยไปเอง ซึ่งท้ายที่สุดขงเบ้งก็สิ้นชีวิตกลางสนามรบ ส่งผลให้ทัพจ๊กก๊กต้องถอยกลับในเวลาต่อมาจริง ๆ กล่าวได้ว่าด้วยการผสานใจร่วมมือของพระเจ้าโจยอยผู้เป็นนาย ซึ่งรู้ใจบ่าว คือสุมาอี้ เป็นอย่างดีนั้น ได้ช่วยรักษาให้วุยก๊กผ่านพ้นวิกฤติการณ์การสงครามครั้งนั้นไปได้ พระเจ้าโจยอย สิ้นพระชนม์ในวันที่ 22 มกราคม ปี พ.ศ. 782 ด้วยพระชนมายุ 34 พรรษา รวมระยะเวลาครองราชย์ 13 ปี ด้วยพระโรคที่รุมเร้าและสติวิปลาส เนื่องจากติดพระสนมองค์ใหม่และสั่งประหารพระมเหสีองค์เก่าสิ้น และเป็นโจฮอง ราชบุตรเพียงคนเดียวขึ้นครองราชย์แทน ซึ่งราชสกุลวุยจะตกต่ำต่อไปเรื่อ.

36 ความสัมพันธ์: กลศึกสามก๊กกองซุนก๋งกองซุนเอี๋ยนกากุ๋ยกุยห้วยมอซือม้าเจ๊กยุคสามก๊กรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก (จ)รายชื่อตัวละครสมมติในยุคสามก๊กรายพระนามจักรพรรดิจีนลำดับเหตุการณ์สำคัญในสามก๊กวุยก๊กศึกอู่จั้งหยวนสามก๊กสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)สุมาอี้อองลองอุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลงจักรพรรดิเสี้ยวหมินจูกัดกิ๋นจูกัดเหลียงจงฮิวจงป้าตันกุ๋นซินผีโจหลี่โจหุ้นโจฮองโจฮิวโจผีโจจิ๋นเบ้งตัดเอียนสีเปียนสี

กลศึกสามก๊ก

กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ พระเจ้าหองจูเปียนเสียอำนาจ กลยุทธ์สาวงาม เตียวเสี้ยนลวงตั๋งโต๊ะให้ลุ่มหลง กลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำ ลิโป้บาดหมางใจกับตั๋งโต๊ะ กลยุทธ์ทุกข์กาย อุยกายใช้อุบายเผาทัพเรือโจโฉ กลยุทธ์จูงแพะติดมือ จูกัดเหลียงลวงเกาฑัณฑ์จากโจโฉ กลศึกสามก๊ก (Thirty-Six Stratagems) เป็นการรวบรวมกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำศึกสงครามที่ปรากฏในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสามก๊กมีการทำศึกสงครามมากมายหลายครั้งเพื่อแย่งชิงอำนาจและความเป็นใหญ่ การนำกำลังทหารและไพร่พลจำนวนมากการบุกโจมตีและยึดครองเมืองหรือสถานที่ต่าง ๆ หรือทางการทูตต่างแดนในการเจรจาต่อรองผูกสัมพันธ์ไมตรีกับแคว้นอื่น การต่อสู้ทางด้านสติปัญญาและกุศโลบายในการแสดงแสนยานุภาพแก่ศัตรู การปกครองไพร่พลรวมทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา การทหาร การเมือง การเศรษฐกิจ การบริหารปกครองบ้านเมือง หรือแม้นแต่การใช้คนอย่างถูกต้อง ในสามก๊กทุกสิ่งล้วนแต่เป็นการนำเอาทรัพยากรทุกอย่างที่มีเพื่อนำมาใช้ในการทำศึกสงคราม สงครามสามก๊กนั้นมีบ่อยครั้งที่กำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลน้อยกว่ากลับเอาชนะกำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือกลยุทธ์ในด้านยุทธศาสตร์และการชำนาญภูมิศาสตร์สถานที่ในการทำศึกสงครามกลศึกสามก๊ก ตำราพิชัยสงครามรูปธรรมที่มีชีวิต,หลี่ปิ่งเอี้ยน ซุนจิ้ง ผู้ค้นคว้า, บุญศักดิ์ แสงระวี แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทย, สำนักพิมพ์สุขภาพใจ,..

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและกลศึกสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

กองซุนก๋ง

กองซุนก๋ง มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากงซุนกง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊กเป็นบุตรชายของกองซุนตู้เจ้าเมืองเลียวตั๋ง และเป็นน้องชายของกองซุนของซึ่งต่อมาสืบทอดตำแหน่งเจ้าเมืองเลียวตั๋งต่อจากกองซุนตู้.

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและกองซุนก๋ง · ดูเพิ่มเติม »

กองซุนเอี๋ยน

กองซุนเอี๋ยน มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากงซุนยวน (เสียชีวิต ค.ศ. 238) มีชื่อรองว่าเหวินอี้ เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นบุตรชายของกองซุนของ ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองเลียวตั๋งแทนพ่อที่เสียชีวิต กองซุนเอี๋ยน ยกทัพ 10 หมื่นรุกบุกเข้ามายังตงหงวนเพื่อตีเมืองลกเอี๋ยงของโจยอย โจยอยส่งสุมาอี้ไปกำราบ สุมาอี้ใช้กลยุทธ์จับตัวกองซุนเอี๋ยนได้ แต่ถึงแม้กองซุนเอี๋ยนจะยอมสวามิภักดิ์ แต่สุมาอี้ก็ไม่สนใจแล้งก็สั่งประหารกองซุนเอี๋ยน.

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและกองซุนเอี๋ยน · ดูเพิ่มเติม »

กากุ๋ย

กากุ๋ย (Jia Kui, ค.ศ. 174 — ค.ศ. 228) มีชื่อรองว่า เหลียงเต้า เป็นเสนาธิการแห่งวุยก๊กถึง 3 สมั..

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและกากุ๋ย · ดูเพิ่มเติม »

กุยห้วย

กุยห้วย (Guo Huai) หรือ กวยหวย (ชื่อในสามก๊กฉบับพระยาคลัง) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและกุยห้วย · ดูเพิ่มเติม »

มอซือ

มอซือ หรือ จักรพรรดินีเหมา (Empress Mao; สิ้นพระชนม์ 22 กันยายน 237) พระนามเดิม ไม่ทราบ ฐานันดรศักดิ์ จักรพรรดินีหมิงเต้า จักรพรรดินีแห่ง วุยก๊ก ระหว่าง ยุคสามก๊ก ของจีนพระนางอภิเษกกับ พระเจ้าเว่ยหมิง หรือ พระเจ้าโจยอย จักรพรรดิองค์ที่ 2 ของวุยก๊ก.

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและมอซือ · ดูเพิ่มเติม »

ม้าเจ๊ก

ม้าเจ๊ก (Ma Su;; ค.ศ. 190 — ค.ศ. 228) เป็นหนึ่งในที่ปรึกษาหรือกุนซือและแม่ทัพคนหนึ่งของจ๊กก๊ก.

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและม้าเจ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสามก๊ก

แผ่นที่แสดงอาณาเขตของแต่ละก๊กในปี พ.ศ. 805 (Wei-วุย) (Wu-ง่อ) (Shu-จ๊ก) สามก๊ก (ค.ศ. 220–280; Three Kingdoms) เป็นไตรภาคีระหว่างรัฐวุย (魏) จ๊ก (蜀) และง่อ (吳) หลังการหมดอำนาจโดยพฤตินัยของราชวงศ์ฮั่นในจีน นำสู่การเริ่มหกราชวงศ์ (六朝) แต่ละรัฐปกครองโดยจักรพรรดิซึ่งอ้างการสืบราชสันตติวงศ์โดยชอบจากราชวงศ์ฮั่น ในความหมายทางวิชาการอย่างเคร่งครัด ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อตั้งรัฐวุยใน..

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

ลในยุคสามก๊ก แสดงรายชื่อของบุคคลในประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก รายชื่อนี้แสดงชื่อไทย อังกฤษ และจีน ของแต่ละคน บุคคลเหล่านี้นำไปสู่วรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊ก เนื่องจากสามก๊กภาษาไทย อ่านชื่อคนด้วยสำเนียงฮกเกี้ยน แต่ภาษาอังกฤษอ่านแบบภาษาจีนกลาง การออกเสียงจึงไม่เหมือนกัน.

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก (จ)

ต่อไปนี้เป็นรายชื่อของบุคคลในประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊กที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยตัวอักษร จ รายชื่อนี้แสดงชื่อตามสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ชื่อในภาษาจีนกลาง ชื่อในอักษรโรมัน และชื่อเขียนเป็นตัวอักษรจีน กรณีเป็นชื่อบุคคลที่ไม่ปรากฏในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) จะแสดงเฉพาะชื่อในภาษาจีนกลาง ชื่อในอักษรโรมัน และชื่อเขียนเป็นตัวอักษรจีน.

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก (จ) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครสมมติในยุคสามก๊ก

รายชื่อตัวละครสมมติในยุคสามก๊ก แสดงรายชื่อของบุคคลที่เป็นตัวละครสมมติที่ปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก รายชื่อประกอบด้วยตัวละครสมมติที่ปรากฏในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์จีนเรื่องสามก๊กของล่อกวนตง (คือเป็นตัวละครที่แต่งเสริมขึ้นมา ไม่ปรากฏชื่อในหลักฐานทางประวัติศาสตร์) และชื่อของตัวละครสมมติที่ปรากฏในแหล่งอื่นที่อิงประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ชื่อตัวละครที่ปรากฏในวรรณกรรม สามก๊ก เรียงตามลำดับตามการปรากฏชื่อในวรรณกรรม แบ่งตามตอนที่ปรากฏชื่อครั้งแรก (ในรายชื่อนี้แบ่งตอนของวรรณกรรมสามก๊ก เป็น 120 ตอนตามวรรณกรรมฉบับภาษาจีน ต่างจากสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ที่แบ่งเป็น 87 ตอน).

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและรายชื่อตัวละครสมมติในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดิจีน

รายพระนามจักรพรรดิจีน รวมถึงรัชทายาทของประเทศจีนที่มีชื่อต่างๆ จากยุคโบราณ จนถึงราชวงศ์ชิง การปกครองมักจะถือกรรมสิทธิ์คือ กษัตริย์ (Chinese: 王 Wáng) มีการแบ่งแยกจีนในรัฐต่อสู้กันแยกเป็นสัดส่วน รายพระนามจักรพรรดิจีน มี ดังนี้ สำหรับลิงก์เหล่านี้เพื่อดูว่าเหล่าราชวงศ์มีความสัมพันธ์กัน ไดแก่ พระราชตระกูลของจักรพรรดิจีนในยุคโบราณ → พระราชตระกูลของจักรพรรดิจีนในช่วงต้น → พระราชตระกูลของจักรพรรดิจีนในช่วงกลาง → พระราชตระกูลของจักรพรรดิจีนในช่วงปล.

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและรายพระนามจักรพรรดิจีน · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในสามก๊ก

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในสามก๊ก แสดงลำดับเหตุการณ์ในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์จีนเรื่องสามก๊ก โดยเรียงลำดับตามเหตุการณ์ในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) และระบุปีที่เกิดเหตุการณ์เป็นพุทธศักราช (พ.ศ.) เหตุการณ์บางเหตุการณ์อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แต่มีระบุไว้ในวรรรณกรรม.

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและลำดับเหตุการณ์สำคัญในสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

วุยก๊ก

วุยก๊ก หรือ เฉาเวย (พินอิน: Cáo Wèi) จัดเป็นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ในระหว่างปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 808 (ปี ค.ศ. 220-265) วุยก๊กครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นราชวงศ์วุยโดยพระเจ้าโจผีและได้สถาปนาโจโฉเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์วุย, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและวุยก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ศึกอู่จั้งหยวน

ึกอู่จั้งหยวน (Battle of Wuzhang Plains) เป็นหนึ่งในศึกสงครามในสามก๊ก จากวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊ก เกิดขึ้นในระหว่างเดือนเมษายนถึงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 234 บริเวณที่ราบอู่จั้ง ในมณฑลส่านซี ศึกอู่จั้งหยวนเป็นหนึ่งในศึกสงครามการบุกทางเหนือของขงเบ้ง โดยมีขงเบ้งและสุมาอี้เป็นแม่ทัพ ซึ่งผลของศึกอู่จั้งหยวนคือวุยก๊กเป็นฝ่ายชนะ จ๊กก๊กแตกพ่ายถอยหนีและเป็นการบัญชาการสงครามครั้งสุดท้ายของขงเบ้ง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและศึกอู่จั้งหยวน · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)

มพี่น้องร่วมสาบานแห่งสวนท้อ เตียวหุย (ซ้าย) เล่าปี่ (กลาง) กวนอู (ขวา) ในสามก๊กฉบับละครโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี ภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด "สามก๊ก" เป็นภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้นโดย สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเริ่มถ่ายทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ทีมงานสร้างภาพยนตร์ชุดนี้มีผู้กับกับระดับยอดเยี่ยมของจีนเป็นผู้กำกับ มีการการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญสาขาด้านต่างๆ จากทั่วประเทศ และด้วยความสนับสนุนกล้องของประเทศญี่ปุ่นใช้ในการถ่ายทำ โดยภาพยนตร์โทรทัศน์ชุดนี้นับว่าเป็นสื่อภาพยนตร์สามก๊กที่สมบูรณ์ที่สุด ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 84 ตอน ความยาวตอนละ 44 นาที ภาพยนตร์โทรทัศน์ชุดนี้ได้รับการนำเข้ามาฉายในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อกลางปี พ.ศ. 2537 ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โดยบริษัทมีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด เวลาประมาณ 22.00 น. และทางช่องเอ็มวีทีวี วาไรตี้ แชนแนล เมื่อต้นปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · ดูเพิ่มเติม »

สุมาอี้

มาอี้ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ ซือหม่าอี้ ตามสำเนียงกลาง (司马懿; Sima Yi; ค.ศ. 179-251) นายทหารคนสำคัญของวุยก๊ก หลังยุคที่โจโฉสิ้นไปแล้ว เป็นคู่ปรับที่สำคัญของขงเบ้ง และเป็นผู้ที่วางรากฐานให้กับทายาทผู้สืบทอดตระกูลจนได้รวบรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียว กลายเป็นพระจักรพรรดิ์องค์ใหม่ และก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์จิ้น อันเป็นการสิ้นสุดยุคสามก๊กที่ดำเนินมานานถึง 111 ปี สามชั่วอายุคน.

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและสุมาอี้ · ดูเพิ่มเติม »

อองลอง

อองลอง (Wang Lang) มีชื่อรองว่า จิ่งซิง เป็นผู้คงแก่เรียน รับราชการมาตั้งแต่พระเจ้าเหี้ยนเต้ ราชวงศ์ฮั่น ถึงรัชสมัยพระเจ้าโจยอยแห่งวุยก๊ก เมื่อขงเบ้งบุกวุยก๊กครั้งที่ 1 เมื่อแฮหัวหลิมแตกพ่ายไป โจจิ๋นได้รับการตั้งให้เป็นแม่ทัพไปรบกับขงเบ้ง อองลองได้ติดตามไปด้วยในตำแหน่งกุนซือ อองลองอาสาจะพูดกับขงเบ้งให้ขงเบ้งยกทัพกลับ วันต่อมา ทัพโจจิ๋นกับขงเบ้งมาประจันหน้ากัน อองลองได้พูดเกลี้ยกล่อมให้ขงเบ้งยกทัพกลับไป แต่ขงเบ้งกลับด่าอองลองถึงความอกตัญญูของอองลองต่อราชวงศ์ฮั่น จนอองลองเจ็บใจตกม้าตาย ขณะอายุได้ 76 ปี แต่ในประวัติศาสตร์มิได้มีการบันทึกถึงการตายของอองลองด้วยคำด่าของขงเบ้งดังกล่าว คาดว่าเป็นเพียงเรื่องแต่ง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและอองลอง · ดูเพิ่มเติม »

อุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง

อุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง (Incident at Gaoping Tombs) ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นใน วุยก๊ก ช่วงปลาย ยุคสามก๊ก เมื่อ..

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและอุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเสี้ยวหมิน

จักรพรรดิเสี้ยวหมินแห่งราชวงศ์โจว หรือ เสี้ยวหมินตี้ (Xiaomindi) (ค.ศ. 542 - 557) จักรพรรดิองค์แรกแห่งราชวงศ์เป่ยโจว ทรงพระนามเดิมว่า อี้ว์เหวินจู (Yuwen Jue) ประสูติเมื่อ ค.ศ. 542 (พ.ศ. 1085) โดยทรงเป็นบุตรชายของ อี้ว์เหวินไท่ (Yuwen Tai) ขุนพลแห่ง ราชวงศ์เป่ยฉี เมื่อพระชนม์ได้เพียง 15 พรรษา ก็ทรงขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์แรกของเป่ยโจว ทรงพระนามว่า จักรพรรดิเสี้ยวหมินตี้ (ค.ศ. 557) แต่ทรงครองราชย์ได้ไม่นาน ก็ถูก อี้ว์เหวินหู (Yuwen Hu) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ปลดออกจากราชสมบัติและวางยาพิษปลงพระชนม์ อี้ว์เหวินหู ได้สถาปนาองค์ชายอี้ว์เหวินหยู ซึ่งเป็นพระเชษฐา ขึ้นเป็น จักรพรรดิโจวหมิงตี้ หมวดหมู่:จักรพรรดิราชวงศ์เป่ยโจว หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์ขณะทรงพระเยาว์ หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ถูกปลงพระชนม์ หมวดหมู่:เสียชีวิตจากยาพิษ.

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและจักรพรรดิเสี้ยวหมิน · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดกิ๋น

จูกัดกิ๋น (Zhuge Jin) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นพี่ชายแท้ ๆ คนโตของขงเบ้ง รับราชการเป็นขุนนางฝ่ายบุ๋นอยู่กับ ซุนกวน ในตอนต้นของศึกเซ็กเพ็ก ระหว่างที่ขงเบ้งมาที่กังตั๋งเพื่อยุยงให้ซุนกวนและจิวยี่ออกรบ เพราะทัพของโจโฉยกมาตั้งที่ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำแยงซีเกียง โดยมีเจตนาเพื่อจะมายึดครองกังตั๋ง จูกัดกิ๋นได้เกลี่ยกล่อมให้ขงเบ้งมาสวามิภักดิ์กับซุนกวนด้วยเหตุผลที่ว่าเพื่อพี่น้องจะได้อยู่ร่วมกัน แต่ก็ไม่สำเร็จ กลับเป็นฝ่ายโดนขงเบ้งเกลี้ยกล่อมมาให้มาฝ่ายเล่าปี่เสียเอง และหลังจากที่เล่าปี่ยึดเสฉวนได้แล้ว ซุนกวนได้สั่งให้จูกัดกิ๋นไปทวงเกงจิ๋วที่เล่าปี่เคยสัญญาไว้ว่า "ถ้ายึดเสฉวนเมื่อไหร่จะยกเกงจิ๋วให้ทันที" เล่าปี่ได้ยกเมืองคืนไป 3 เมือง คือเมือง เลงเหลง, ฮุยเอี๋ยงและเตียงสา โดยเล่าปี่ได้ให้หนังสือถึงกวนอูเพื่อให้กวนอูคืนเมืองทั้งสาม แต่เมื่อจูกัดกิ๋นไปถึงเกงจิ๋วกวนอูกับไม่ยอมคืนสามเมืองให้ จึงกลับหาซุนกวน ซุนกวนจึงต่อว่าจูกัดกิ๋นว่า "ท่านวิ่งกลับมาครั้งนี้ก็ด้วยอุบายของขงเบ้งทั้งสิ้น" ในตอนที่ขงเบ้งยกทัพบุกเขากิสานครั้งที่ 5 ได้มีหนังสือไปยังพระเจ้าซุนกวนเพื่อให้ยกทัพง่อก๊กไปตีวุยก๊กด้วยเป็นการประสานการโจมตีพร้อมกัน ก็เป็นจูกัดกิ๋นและลกซุนเป็นแม่ทัพใหญ่ที่ยกไป ร้อนถึงพระเจ้าโจยอยต้องยกทัพมาเองจากลกเอี๋ยงเพื่อต้านทัพ เพราะสุมาอี้ แม่ทัพใหญ่ก็ติดพันศึกอยู่กับขงเบ้งที่เขากิสาน ท้ายที่สุดทัพของพระเจ้าโจยอยก็ได้รับชัยชนะทำเอาขงเบ้งถึงกับตกใจ จูกัดกิ๋นมีบุตรชายชื่อจูกัดเก๊ก ซึ่งภายหลังได้เป็นราชครูและแม่ทัพใหญ่ของง่อก๊กในรัชสมัยพระเจ้าซุนเหลียง แทนจูกัดกิ๋นผู้เป็นบิดา จูกัดกิ๋นเสียชีวิตในปี พ.ศ. 784 รวมอายุได้ 67 ปี จูกัดกิ๋น จูกัดกิ๋น.

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและจูกัดกิ๋น · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและจูกัดเหลียง · ดูเพิ่มเติม »

จงฮิว

งฮิว (Zhong Yao, ค.ศ. 151 — ค.ศ. 230) มีชื่อรองว่า เหวียนฉาง เป็นขุนนางในสมัย ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็น ราชครูแห่งวุยก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก จงฮิวเกิดเมื่อ..

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและจงฮิว · ดูเพิ่มเติม »

จงป้า

งป้า มีชื่อรองว่า เซวียนเกา เป็นบุคคลใน ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อ..

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและจงป้า · ดูเพิ่มเติม »

ตันกุ๋น

ตันกุ๋น (Chen Qun) เป็นเสนาบดีแห่งวุยก๊ก เดิมรับราชการอยู่กับเล่าปี่และลิโป้ที่เมืองชีจิ๋ว แต่ภายหลังที่โจโฉบุกโจมตีชีจิ๋ว ได้เข้าสวามิภักดิ์กับโจโฉ ตันกุ๋นเคยเป็นผู้แนะนำให้โจโฉคิดตั้งตนเป็นฮ่องเต้เสียเอง แต่โจโฉบอกว่าถึงแม้สวรรค์จะลิขิตให้เขามีตำแหน่งสูงกว่า แต่ตัวเขาจะอยู่เป็นแค่วุยอ๋องก็พอใจแล้ว หลังจากโจโฉเสียชีวิต โจผีบุตรชายของโจโฉขึ้นดำรงตำแหน่งวุยอ๋องแทน ตันกุ๋นได้เป็นคนต้นคิดที่บังคับให้พระเจ้าเหี้ยนเต้สละราชสมบัติให้กับโจผี และเป็นผู้ร่างสาส์นประกาศสละราชสมบัติ ตันกุ๋นจึงมีส่วนในการสถาปนาอาณาจักรวุย หลังจากการเสียชีวิตของพระเจ้าโจผี พระเจ้าโจยอยขึ้นครองบัลลังก์ ตัวเขา สุมาอี้ กับโจจิ๋น ได้ช่วยรวมกันบริหารประเทศและให้คำแนะนำแก่พระเจ้าโจยอย ตามคำสั่งเสียของพระเจ้าโจผีก่อนสวรรคต เขาได้ร่วมในการปราบกบฏกองซุนเอี๋ยน เขาถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 236 ว่ากันว่าเขาอาจจะเป็นบรรพบุรุษของพระถังซัมจั๋ง หมวดหมู่:วุยก๊ก หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและตันกุ๋น · ดูเพิ่มเติม »

ซินผี

ซินผี (?-?) เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงใน ยุคสามก๊ก โดยเป็นที่ปรึกษาของ วุยก๊ก แต่เดิมซินผีเป็นที่ปรึกษาให้กับ อ้วนเสี้ยว ขุนศึกผู้ทรงอิทธิพลทางภาคเหนือแต่หลังจากอ้วนเสี้ยว พ่ายแพ้ต่อ โจโฉ ใน ศึกกัวต๋อ เมื่อปี ค.ศ. 200 ซินผีจึงได้ย้ายมาเป็นที่ปรึกษาให้กับวุยก๊กโดยเป็นที่ปรึก ษาของ โจสิด บุตรชายคนที่ 3 ของ โจโฉ และจักรพรรดิองค์ที่ 2 ของ ราชวงศ์วุย คือ พระเจ้าโจยอย หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หมวดหมู่:สามก๊ก หมวดหมู่:วุยก๊ก.

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและซินผี · ดูเพิ่มเติม »

โจหลี่

หลี่ หรือ เฉาหลี่ (Cao Li; ? — 229) องค์ชายแห่ง วุยก๊ก ใน ยุคสามก๊ก ของจีนพระองค์เป็นพระราชโอรสของ พระเจ้าโจผี ปฐมจักรพรรดิแห่ง วุยก๊ก ส่วนพระมารดาของพระองค์คือ พระสนมสฺวี พระสนมในพระเจ้าโจผี องค์ชายโจหลี่สิ้นพระชนม์เมื่อ..

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและโจหลี่ · ดูเพิ่มเติม »

โจหุ้น

หุ้น (Cao Xun, ค.ศ. 231 — ค.ศ. 244) องค์ชายจาก วุยก๊ก ใน ยุคสามก๊ก เป็นพระโอรสบุญธรรมองค์ใหญ่ใน พระเจ้าโจยอย จักรพรรดิองค์ที่ 2 แห่งวุยก๊กและเป็นพระเชษฐาของ พระเจ้าโจฮอง จักรพรรดิองค์ที่ 3 พระเจ้าโจยอยได้สถาปนาโจหุ้นขึ้นเป็น เจ้าชายแห่งฉิน (Prince of Qin) เมื่อวันที่ 23 กันยายน..

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและโจหุ้น · ดูเพิ่มเติม »

โจฮอง

พระเจ้าโจฮอง (เฉาฟาง) เป็นพระราชโอรสเลี้ยงในพระเจ้าโจยอย มีฉายาว่าหลันชิง ไม่ทราบว่าเป็นบุตรใครมาแต่เดิม ขึ้นเสวยราชย์ต่อจากพระเจ้าโจยอยเมื่อพระชนมายุ 8 พรรษา โดยมีชื่อโจซอง บุตรโจจิ๋นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระเจ้าโจฮองทรงมีนิสัยดื้อด้าน มัวเมาแต่สุรานารี เมื่อเสวยราชย์ได้ 10 ปี สุมาอี้ทำรัฐประหารฆ่าโจซองเสีย แล้วตั้งตัวเป็นสมุหนายก คุมอำนาจไว้ทั้งหมด ครั้นสุมาอี้สิ้นชีพ สุมาสูยึดอำนาจสืบต่อไปและ รุกรานพระเจ้าโจฮองหนักมือขึ้น พระเจ้าโจฮองทรงพระราชดำริจะโค่นอำนาจของสุมาสู แต่สุมาสูจับแผนการได้ จึงถอดเสียราชบัลลังก์ตั้งให้เป็นฉีอ๋อง (ในสามก๊กไทยเรียกว่าเจอ่อง) ออกไปอยู่เสียหัวเมืองบ้านนอก อยู่ในราชสมบัติ 15 ปี ระหว่าง พ.ศ. 782 (ค.ศ. 239) ถึง พ.ศ. 797 (ค.ศ. 254) หมวดหมู่:วุยก๊ก.

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและโจฮอง · ดูเพิ่มเติม »

โจฮิว

ว (อังกฤษ:Cao Xiu,จีนตัวเต็ม:曹休,จีนตัวย่อ:曹休; พ.ศ. 717-771) ขุนพลผู้รับใช้ โจโฉ โดยเขามีศักดิ์เป็นหลานของโจโฉ ต่อมาเมื่อโจโฉสิ้นชีพลงในปี..220 (พ.ศ. 763) เขาจึงรับใช้บุตรชายของโจโฉคือโจผีซึ่งต่อมาสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระเจ้าโจผี ต่อมาเมื่อพระเจ้าโจผีบุกง่อก๊กในปี..222 (พ.ศ. 765) เขาจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพใหญ่ในการพิชิตตะวันออก หลังจากพระเจ้าโจผีสิ้นพระชนม์ลงในปี..226 (พ.ศ. 769) เขาก็ยังรับใช้พระเจ้าโจยอยพระราชโอรสในพระเจ้าโจผีสืบต่อมาแต่รับราชการได้อีกเพียง 2 ปีก็ถึงแก่กรรมเมื่อ..

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและโจฮิว · ดูเพิ่มเติม »

โจผี

ระเจ้าโจผี หรือ เฉาพี พระนามรอง จื่อหวน เป็นพระโอรสองค์รองในพระเจ้าโจโฉ ได้สืบต่อตำแหน่ง วุยอ๋อง และอำนาจต่อหลังจากโจโฉสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ภายหลังจึงได้ล้มล้างราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ปราบดาภิเษกเป็นปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์เว่ย (วุยก๊ก) ทรงพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเว่ยเหวินตี้ (- จักรพรรดิแห่งเว่ย) ในปี พ.ศ. 763 โจผีนั้นเป็นบุตรคนรอง แต่ก็ได้มีบทบาทในการสืบทอดอำนาจจากโจโฉ เนื่องจากบุตรชายคนโต คือ โจงั่ง ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังอายุน้อยในการติดตามโจโฉไปทำสงคราม ในนิยายสามก๊กได้ โจโฉได้กล่าวถึงโจผี ว่าเป็นคนมีปัญญา จิตใจหนักแน่น โอบอ้อมอารีย์ จึงสมควรจะเป็นสืบทอดอำนาจของตน โจผีเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแต่งกลอน กาพย์กวี เช่นเดียวกับโจโฉผู้บิดา และยังได้เคยติดตามบิดาออกไปทำสงครามบ่อยครั้ง ตั้งแต่ยังเยาว์ โจผีมีภรรยาหลวง คือนางเอียนสี ซึ่งได้ตัวมาเมื่อครั้งที่โจโฉทำสงครามกัวต๋อกับตระกูลอ้วน นางเอียนสีนั้นเป็นสาวงามที่มีชื่อว่า เป็นหญิงงามแห่งแผ่นดินทางเหนือ และยังเป็นภรรยาม่ายของอ้วนฮี บุตรชายของอ้วนเสี้ยว คู่ศึกของโจโฉ จึงย่อมถือเป็นเชลยศึก แต่โจผีก็ได้รับนางมาตกแต่งเป็นภรรยาหลวง ในขณะนั้นโจผีอายุได้ 17 ปี ขณะที่นางเอียนสีอายุมากกว่า คือ 22 ปี ซึ่งภายหลังเมื่อโจผีได้ขึ้นครองราชย์ ก็ได้สถาปนานางเป็นฮองเฮา เนื่องจากการที่โจผีขึ้นครองราชย์ สถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ จึงทำให้ซุนกวนและเล่าปี่ต้องสถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ตามไปด้วย ก่อให้เกิดสภาพของสามก๊กอย่างแท้จริง พระเจ้าโจผีเมื่อได้ปราบดาภิเษกเป็นฮ่องเต้ในเบื้องแรกนั้นก็ได้ทรงดำริจะทำการกวาดล้างศัตรูทุกคน รวมไปถึงพระอนุชา คือ โจสิด ซึ่งมีสติปัญญา และฝีมือในเชิงการกวี เช่นเดียวกับพระองค์ และเคยเป็นคู่แข่งในการแต่งตั้งรัชทายาทของโจโฉด้วย แต่โจสิดสามารถเอาตัวรอดได้ โดยการแต่งโคลงมีใจความว่า ต้นถั่วเผาต้นถั่ว ในกระทะถั่วร้องไห้ กำเนิดจากรากเดียวกัน เหตุไฉนคิดทำลาย มีความหมายถึง การที่พี่น้องซึ่งมาจากจุดกำเนิดเดียวกัน กลับต้องมาสังหารเข่นฆ่ากัน ด้วยเหตุใด ทำให้พระเจ้าโจผีสะเทือนพระทัย และไม่อาจสังหารพระอนุชาได้ ซึ่งโคลงบทกวีที่โจสิดแต่งขึ้นเพื่อเอาชีวิตรอดนี้มีชื่อเสียงมาก พระเจ้าเว่ยเหวินตี้ โจผี เป็นฮ่องเต้ที่ครองราชย์ในระยะอันสั้นเพียง 7 ปี เท่านั้น ก็ทรงพระประชวร และเสด็จสวรรคต ในปี พ.ศ. 769 สิริรวมพระชนมายุได้ 39 พรรษ.

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและโจผี · ดูเพิ่มเติม »

โจจิ๋น

๋น (Cao Zhen) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ขุนพลคนสำคัญแห่งวุยก๊ก เป็นญาติของโจโฉ มีชื่อรองว่าจื่อตัน ซื่อสัตย์สุจริต มีนิสัยกล้าหาญ และเหี้ยมโหด ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับทหารในสนามรบอย่างใกล้ชิด บางครั้งค่าใช้จ่ายในกองทัพไม่พอ ก็เอาทรัพย์สินส่วนตัวออกจับจ่ายใช้สอย ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ต้าซือหม่า (เสนาบดีว่าการกลาโหม).

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและโจจิ๋น · ดูเพิ่มเติม »

เบ้งตัด

้งตัด (Meng Da) เป็นขุนนางคนหนึ่งในสามก๊ก มีนิสัยกลับกลอก เป็นคนหลายนาย เป็นเพื่อนสนิทของเตียวสงและหวดเจ้ง ตอนแรกเริ่ม เบ้งตัดเป็นขุนนางของเล่าเจี้ยงเจ้าแคว้นเสฉวน ต่อมาเตียวสงคิดจะช่วยเหลือเล่าปี่ยึดครองเสฉวน จึงสมคบกับหวดเจ้งและเบ้งตัดในการช่วยเล่าปี่ ถึงแม้เตียวสงจะถูกเล่าเจี้ยงสังหารก่อนที่การจะสำเร็จ แต่หวดเจ้งและเบ้งตัดก็ได้ช่วงเหลือเล่าปี่จนได้ขึ้นครองเสฉวนแทนเล่าเจี้ยง ต่อมา เบ้งตัดถูกส่งไปรักษาซ้างหยง (ในสามก๊กฉบับไทยใช้ว่า ซงหยง ซึ่งไปซ้ำกับอีกเมืองหนึ่ง) พร้อมกับเล่าฮอง เมื่อกวนอูเสียทีลิบองต้องเสียเมืองเกงจิ๋ว กวนอูได้ส่งเลียวฮัวไปขอความช่วยเหลือจากเบ้งตัดและเล่าฮอง แต่ทั้งสองไม่ให้ความช่วยเหลือ ต่อมา กวนอูถูกลิบองจับตัวได้และถูกประหาร เบ้งตัดกลัวความผิดที่ตนมีส่วนทำให้กวนอูตายจึงหนีไปสวามิภักดิ์ต่อโจผี ส่วนเล่าฮองได้กลับมาหาเล่าปี่ และถูกเล่าปี่ประหาร หลังจากพระเจ้าเล่าปี่สวรรคต ขงเบ้งได้ออกศึกภาคใต้ปราบเบ้งเฮ็กสำเร็จ จึงยกทัพบุกวุยก๊ก เวลานั้น เบ้งตัดได้เปลี่ยนใจกลับมาสวามิภักดิ์ต่อจ๊กก๊กโดยส่งจดหมายมาขอสวามิภักดิ์ถึงขงเบ้ง และบอกว่าจะร่วมมือกับขงเบ้งเข้าตีลกเอี๋ยงของพระเจ้าโจยอย เพื่อลบล้างความผิดที่เคยก่อไว้ แต่ซินหงีและซินต๋ำ ขุนนางในเมืองส้างหยงที่จงรักภักดีต่อวุยก๊ก ได้ส่งจดหมายลับถึงสุมาอี้ บอกแผนการของเบ้งตัด สุมาอี้จึงยกทัพไปส้างหยงเพื่อปราบเบ้งตัด ในศึกครั้งนี้ ซิหลงต้องสิ้นชีพในการรบ แต่ในที่สุดเบ้งตัดก็ถูกสังหารโดยซินต๋ำ รูปเบ้งตัดจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและเบ้งตัด · ดูเพิ่มเติม »

เอียนสี

อียนสี (Zhen Ji) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ฮองเฮาแห่งวุยก๊ก มีชีวิตอยู่ระหว่าง..

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและเอียนสี · ดูเพิ่มเติม »

เปียนสี

ปียนสี (Empress Dowager Bian) ภรรยาของโจโฉและเป็นพระราชมารดาของ พระเจ้าเว่ยเหวิน หรือ พระเจ้าโจผี ปฐมจักรพรรดิแห่ง ราชวงศ์วุย นางเปียนสีเกิดเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม..

ใหม่!!: จักรพรรดิเว่ยหมิงและเปียนสี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระเจ้าโจยอยพระเจ้าเว่ยหมิงจักรพรรดิเว่ยหมิงตี้โจยอย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »