โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 2226

ดัชนี พ.ศ. 2226

ทธศักราช 2226 ใกล้เคียงกั.

34 ความสัมพันธ์: พระนิชิกังพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกสพระเจ้าจอห์นที่ 3 โซบีสกีแห่งโปแลนด์พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปนการล้อมกรุงเวียนนามะกิโนะ นะริซะดะมาเรีย ฟรานซิสกาแห่งซาวอย สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสมาเรีย เทเรสแห่งสเปน พระราชินีแห่งฝรั่งเศสยุทธการที่เวียนนาราชวงศ์สหราชอาณาจักรราชวงศ์ฮาพส์บวร์ครายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษรายพระนามพระมหากษัตริย์โปรตุเกสรายพระนามพระประมุขทิเบตรายพระนามเจ้าผู้ครองราชรัฐลักเซมเบิร์กวัดเสลารัตนปัพพะตารามสงครามออตโตมันในยุโรปสงครามโปแลนด์-ออตโตมัน (ค.ศ. 1683-1699)ฌ็อง-บาติสต์ กอลแบร์จาง จวีเจิ้งธงชาติบราซิลทฤษฎีบทเล็กของแฟร์มาทะไลลามะดัชเชสมาเรีย อันนา วิกตอเรียแห่งบาวาเรียประเทศฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1683แสงจักรราศีแองกวิลลาโมริโอกะเจ้าชายยูจีนแห่งซาวอยเจ้าชายจอร์จแห่งเดนมาร์ก12 กันยายน29 สิงหาคม

พระนิชิกัง

ระนิชิคัน (ค.ศ. 1665 - ค.ศ. 1726) หรือ พระนิชิคัน โชนิน เป็นประมุขสงฆ์ของพุทธศาสนานิกายนิชิเรนโชชู เป็นผู้ที่ทำให้พุทธธรรมของพระนิชิเรนไดโชนิน มีความเจริญรุ่งเรือง นอกเหนือจากพระนิกโคโชนินและพระนิชิโมขุโชนินแล้ว พระนิชิคันโชนินนับว่าเป็นประมุขสงฆ์อันดับ 1 ของการศรัทธาที่ขึ้นตรงต่อพระนิชิเรนไดโชนิน พระนิชิคันโชนินเป็นพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในฐานะเป็น บรรพบุรุษแห่งการฟื้นฟูพุทธธรรม กล่าวคือ หลังจากที่พระนิชิเรนไดโชนินดับขันธ์แล้วประมาณ 400 ปี ท่านก็ได้เป็นผู้ทำลายคำสอนต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่นที่บิดเบือนไปจากพุทธธรรมของพระนิชิเรนไดโชนิน ท่านได้ชี้ชัดให้เห็นถึงความถูกต้องของพุทธธรรมของพระนิชิเรนไดโชนินทั้งภายในและภายนอกนิกาย แล้วยังได้จัดให้มีการศึกษาที่ถูกต้องโดยกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของพระนิชิเรนไดโชนิน ดังนั้น ท่านได้สมญานามว่า ท่านคันที่เคารพยิ่ง มาตั้งแต่สมัยนั้น ท่านได้รับการยกย่องว่ามีความศรัทธาและผลงานที่ยิ่งใหญ่ ในปี ค.ศ. 2010 พระนิชิคันโชนินครบการประสูติ 345 ปีแล้ว.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และพระนิชิกัง · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Charles II of England; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660 รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านพิวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายแองกลิคันไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชปฏิญญาพระคุณการุญในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679 ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การลอบวางแผนโพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลการกีดกัดต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุกแห่งยอร์กพระอนุชาของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุกแห่งยอร์กขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การลอบวางแผนไรย์เฮาส์” ที่จะปลงพระองค์เองและดยุกแห่งยอร์กในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร พระเจ้าชาลส์ไม่มีพระราชโอรสธิดากับพระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซา เพราะพระนางทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระราชโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มพิวริตัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Louis XIV de France; หลุยส์กาโตร์ซเดอฟร็องส์, 5 กันยายน พ.ศ. 2181 – 1 กันยายน พ.ศ. 2258) หรือเรียกว่า หลุยส์มหาราช (Louis le Grand; หลุยส์ เลอ กร็อง) หรือ สุริยกษัตริยาธิราช (le Roi Soleil) เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสและนาวาร์ ทรงครองราชย์เมื่อมีพระชนมายุได้เพียง 5 ชันษา เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 ของราชวงศ์บูร์บงแห่งราชวงศ์กาเปเตียง เสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2186 และทรงครองราชย์นานถึง 72 ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในยุโรป และในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์เป็นช่วงที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้นำทางด้านศูนย์กลางการรวมอำนาจของแผ่นดิน พระเจ้าหลุยส์เริ่มบริหารประเทศด้วยตัวของพระองค์เองเมื่อปี พ.ศ. 2204 หลังจากการเสียชีวิตของหัวหน้าคณะรัฐมนตรีของพระองค์นั่นก็คือ พระคาดินัล เมเซริน ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดของเทวสิทธิราชย์ ถึงต้นกำเนิดกษัตริย์ผู้มีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศต่อพระเจ้าหลุยส์มาอย่างต่อเนื่อง การทำงานของพระองค์ได้สร้าง อำนาจรัฐ ภายใต้การควบคุมของเมืองหลวง พระองค์ทรงพยายามที่จะขจัดเศษของระบบศักดินา ที่คงอยู่ในฝรั่งเศสและเต็มไปด้วยสมาชิกของชนชั้นสูงสังคม ที่อาศัยอยู่อย่างฟุ่มเฟือยภายในพระราชวังแวร์ซายของพระองค์ (เดิมเป็นกระท่อมล่าสัตว์ของพระบิดาของพระเจ้าหลุยส์) และทรงประสบความสำเร็จในการปลอบสมาชิกเหล่าขุนนางได้จำนวนมากที่มีส่วนร่วมในฟรอนด์ ซึ่งเกิดจากการจลาจลของชนกลุ่มน้อยของพระเจ้าหลุยส์ โดยวิธีการดังกล่าวทรงได้กลายเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและรวมระบอบของระบบกษัตริย์ในฝรั่งเศสที่ทนกว่าจะมีการการปฏิวัติฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สวรรคตก่อนที่จะถึงวันครบรอบพระราชสมภพครบ 77 พรรษา และพระราชปนัดดาของเขาก็ครองราชย์สืบต่อเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 โดยในรัชสมัยอันยาวยาวนานของพระองค์ ทรงมีรัชทายาทต่อราชบัลลังก์มาแล้วกว่า 3 พระองค์ ได้แก่ พระราชโอรสของพระองค์ หลุยส์ โดแฟ็งใหญ่แห่งฝรั่งเศส, พระโอรสในของโดแฟ็งใหญ่ ได้แก่ หลุยส์ โดแฟ็งน้อย, และพระโอรสองค์โตในโดแฟ็งน้อย ได้แก่ เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งเบรอตาญ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส

ระเจ้าอาฟงซูที่ 6 (Afonso VI; 21 สิงหาคม พ.ศ. 2186 - 12 กันยายน พ.ศ. 2226) เป็นพระมหากษัตริย์โปรตุเกสและอัลเกรฟลำดับที่ 22 และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์บรากังซา พระองค์ทรงได้พระสมัญญานามว่า "ผู้ชนะ" (o Vitorioso).

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และพระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอห์นที่ 3 โซบีสกีแห่งโปแลนด์

ระเจ้าจอห์นที่ 3 โซบีสกีแห่งโปแลนด์ (Jan III Sobieski; John III Sobieski) (17 สิงหาคม ค.ศ. 1629 – 17 มิถุนายน ค.ศ. 1696) เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีความสำคัญของเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียแห่งราชวงศ์โซบีสกี ผู้ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 1674 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1696 พระเจ้าจอห์นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์และแกรนด์ดยุกแห่งลิทัวเนีย การครองราชสมบัติเป็นเวลายี่สิบสองปีของพระองค์เป็นรัชสมัยที่บ้านเมืองมีความมั่นคงที่เป็นที่ต้องการหลังจากสภาวะอันปั่นป่วนของความวุ่นวายที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นที่เกิดขึ้นในสมัยของความระส่ำระสายของเครือจักรภพ (Deluge) และการลุกฮือคเมลนิทสกี (Khmelnytsky Uprising) พระเจ้าจอห์นเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่นิยมของประชาชน และทรงเป็นนักการทหารผู้มีความสามารถ โดยเฉพาะในการต่อสู้อย่างกล้าหาญและเมื่อทรงได้รับชัยชนะต่อออตโตมันเติร์กในยุทธการเวียนนาในปี ค.ศ. 1683 ชัยชนะครั้งนี้ทำให้ทรงได้รับสมญานามจากเติร์กว่าเป็น “สิงห์แห่งลิทัวเนีย”.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และพระเจ้าจอห์นที่ 3 โซบีสกีแห่งโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน

ระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน (Felipe V de España, Philip V II of Spain, filippo v di spagna, philippe v roi d'espagne) (19 ธันวาคม ค.ศ. 1683 - 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1746) เป็นพระราชโอรสของเจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส และดัชเชสมาเรีย อันนา วิกตอเรียแห่งบาวาเรีย ประสูติ ณ พระราชวังแวร์ซายส์ และเป็นพระราชนัดดาใน พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงขึ้นครองราชย์ ในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และพระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมกรุงเวียนนา

การปิดล้อมกรุงเวียนนา (Siege of Vienna) (27 กันยายน-14 ตุลาคม ค.ศ. 1529) การปิดล้อมกรุงเวียนนาในปี ค.ศ. 1529 เป็นความพยายามครั้งแรกโดยจักรวรรดิออตโตมันที่นำโดยสุลต่านสุลัยมานเพื่อที่จะยึดกรุงเวียนนาในออสเตรีย การปิดล้อมเมืองครั้งนี้ถือเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอำนาจของจักรวรรดิออตโตมันซึ่งกำลังขยายถึงจุดสูงสุด ซึ่งมีอาณาเขตขยายมาจนถึงบริเวณยุโรปกลาง หลังจากนั้นความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันก็ยืดเยื้อยาวนานออกไปกว่า150ปี และในที่สุดจึงกลายเป็นยุทธการเวียนนาในปีค.ศ. 1683 ซึ่งเป็นการเริ่มมหาสงครามตุรกี (Great Turkish War) โดยมหาอำนาจยุโรปในการพยายามกำจัดออตโตมันออกจากยุโรปกลาง การล้อมครั้งนี้จบลงด้วยความล้มเหลวของฝ่ายออตโตมันในการพยายามยึดที่มั่นสำคัญของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในขณะนั้น และเป็นจุดเปลี่ยนทิศทางของชัยชนะในยุโรปตะวันออกและยุโรปกลางของจักรวรรดิออตโตมันที่ได้รับชัยชนะมาตลอดก่อนหน้านั้น ซึ่งรวมถึงการได้ฮังการีตะวันออกเฉียงใต้มาเป็นอาณาจักรในบริวารในยุทธการโมเฮ็คส์ (Battle of Mohács) เหตุการณ์ครั้งนี้มักกล่าวกันว่าเป็นจุดที่เริ่มนำความตกต่ำมาสู่จักรวรรดิออตโตมันที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นมหาอำนาจทางการทหารทั้งในยุโรปและเอเชีย และเป็นการพ่ายแพ้ทำความอัปยศให้แก่ออตโตมันในการมาพ่ายแพ้ต่อกองกำลังที่เล็กกว่าและมีประสิทธิภาพด้อยกว่า นักประวัติศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่าจุดประสงค์หลักของสุลต่านสุลัยมานในการล้อมกรุงเวียนนาในปี ค.ศ. 1529 เป็นการแสดงอำนาจเหนือฮังการี เพราะด้านตะวันตกของฮังการีที่เรียกว่ารอยัลฮังการีที่ยังดำรงความเป็นอิสระจากออตโตมันอยู่ นอกจากนั้นการตัดสินใจเข้าโจมตีเวียนนาหลังจากการยุติการรณรงค์ในยุโรปของออตโตมันไปเป็นเวลานานทำให้คาดกันว่าเป็นการโจมตีแบบฉวยโอกาสหลังจากที่ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดในฮังการี ส่วนนักวิชาการผู้อื่นก็ตั้งทฤษฎีว่าการปราบปรามฮังการีเป็นเพียงบทนำของการเริ่มการเข้ามารุกรานยุโรปตามที่ได้วางแผนไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และการล้อมกรุงเวียนนา · ดูเพิ่มเติม »

มะกิโนะ นะริซะดะ

มะกิโนะ นะริซะดะ (牧野成貞 Makino Narisada, ?-8 กรกฎาคม ค.ศ. 1712) เป็น ไดเมียว และเป็นพ่อตาของ โทะกุงะวะ สึนะโยะชิ โชกุนคนที่ 5 ของ ตระกูลโทะกุงะว.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และมะกิโนะ นะริซะดะ · ดูเพิ่มเติม »

มาเรีย ฟรานซิสกาแห่งซาวอย สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส

้าหญิงมาเรีย ฟรานซิสกาแห่งซาวอย(มาเรีย ฟรานซัวส์ เอลิซาเบธ; 21 มิถุนายน พ.ศ. 2189 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2226) ทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งซาวอยและสมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส เป็นพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าอัลฟองโซที่ 6 แห่งโปรตุเกสและเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าเปโดรที่ 2 แห่งโปรตุเก.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และมาเรีย ฟรานซิสกาแห่งซาวอย สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

มาเรีย เทเรสแห่งสเปน พระราชินีแห่งฝรั่งเศส

มาเรีย เทเรสแห่งสเปน ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสใน พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2181 หมวดหมู่:ราชินีแห่งฝรั่งเศส หมวดหมู่:เจ้าหญิงสเปน หมวดหมู่:ราชวงศ์บูร์บง หมวดหมู่:ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก หมวดหมู่:เจ้าหญิงโปรตุเกส หมวดหมู่:ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่เป็นสตรี.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และมาเรีย เทเรสแห่งสเปน พระราชินีแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เวียนนา

ทธการเวียนนา (Schlacht am Kahlenberg, İkinci Viyana Kuşatması, Battle of Vienna) เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 11 ถึง 12 กันยายน ค.ศ. 1683 หลังจากเวียนนาถูกล้อมโดยจักรวรรดิออตโตมันอยู่เป็นเวลาสองเดือน ยุทธการเวียนนาเป็นการต่อสู้ระหว่างสันนิบาตศักดิ์สิทธิ์กับฝ่ายจักรวรรดิออตโตมันและรัฐบริวารไม่ไกลจากเนินเขาคาห์เลนแบร์กในเวียนนา ยุทธการเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างอำนาจของราชวงศ์ฮับส์บวร์กในยุโรปกลาง กองทัพเวียนนานำโดยเอิร์นสท์ รืดิเกอร์ กราฟ ฟอน สตาร์เฮมแบร์กภายใต้การบังคับบัญชาของสมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ชัยชนะของยุทธการใหญ่เป็นของฝ่ายกองทัพโปแลนด์, ออสเตรีย และ เยอรมัน ภายใต้การนำของพระมหากษัตริย์โปแลนด์พระเจ้าจอห์นที่ 3 โซบีสกี ในการต่อสู้กับกองทัพของจักรวรรดิออตโตมันและกองทัพของรัฐบริวารที่นำโดยมหาเสนาบดีปาชาคารา มุสตาฟา ตามความเห็นบางความเห็นกล่าวว่ายุทธการครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนแปลงของสงครามออตโตมัน-ฮับส์บวร์กซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐอำนาจต่างๆ ในยุโรปกลางกับจักรวรรดิออตโตมันที่ดำเนินมาร่วมสามร้อยปี อีกความเห็นหนึ่งก็ว่าเป็นลมหายใจเฮือกสุดท้ายของจักรวรรดิออตโตมันที่เมื่อถึงจุดนั้นก็เป็นช่วงที่ขยายตัวจนเกินตัวอยู่แล้ว สิบหกปีหลังจากการที่ยุทธการสิ้นสุดลงราชวงศ์ฮับส์บวร์กแห่งออสเตรียก็เริ่มเข้ามามีอำนาจทางตอนใต้ของฮังการี และ ทรานซิลเวเนียที่เดิมอยู่ภายใต้อำนาจของออตโตมัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และยุทธการที่เวียนนา · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์สหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จออกสีหบัญชร ณ พระราชวังบักกิงแฮม เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ราชวงศ์สหราชอาณาจักร ประกอบด้วยพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรและพระประยูรญาติใกล้ชิด บางครั้งจึงแตกต่างจากคำเรียกทางการในประเทศสำหรับราชวงศ์ สมาชิกในราชวงศ์อยู่ใน หรืออภิเษกสมรสเข้ามาในราชวงศ์วินด์เซอร์ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ทรงเปลี่ยนชื่อมาจากราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา เมื่อปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และราชวงศ์สหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค (Haus de Habsburg) (House of Habsburg, บางครั้งเขียนว่า Hapsburg) เป็นราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดราชวงศ์หนึ่งในทวีปยุโรป ราชวงศ์นี้ได้ปกครองประเทศสเปนและประเทศออสเตรีย รวมเวลาทั้งหมดถึง 6 ศตวรรษ แต่ที่รู้จักกันดีมากที่สุดคือ การปกครองในตำแหน่งของ จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หลังจากได้มีการสถาปนาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา พระราชวงศ์นี้ได้ปกครองรัฐและประเทศต่าง ๆ ถึง 1,800 รั.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ

ต่อไปนี้คือรายพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และประเทศในเครือจักรภพ สำหรับรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะซึ่งประกอบกันเป็นสหราชอาณาจักรปัจจุบันดู รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษและรายพระนามพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และรายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์โปรตุเกส

รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกส พระอิศริยยศเริ่มขึ้นตั้งแต่โปรตุเกสประกาศอิสรภาพจากราชอาณาจักรเลออน ภายใต้การนำของอัลฟอนโซ เฮนริเก ผู้ซึ่งประกาศตั้นตนเป็นกษัตริย์แห่งโปรตุเกสในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และรายพระนามพระมหากษัตริย์โปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระประมุขทิเบต

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และรายพระนามพระประมุขทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามเจ้าผู้ครองราชรัฐลักเซมเบิร์ก

ประเทศลักเซมเบิร์กปกครองโดยเจ้าผู้ครองราชรัฐซึ่งมีฐานันดรศักดิ์เป็นเคานต์ ดยุก และแกรนด์ดยุก ตามลำดับ ในอดีตเป็นรัฐนี้ส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเยอรมนีและจากนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จนกระทั่งได้ปกครองตนเองในปี พ.ศ. 2358.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และรายพระนามเจ้าผู้ครองราชรัฐลักเซมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

วัดเสลารัตนปัพพะตาราม

วัดเสลารัตนปัพพะตาราม หรือ วัดไหล่หิน วัดเสลารัตนปัพพะตาราม (140px) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดไหล่หิน หรือ วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน และในบางครั้งชาวบ้านรุ่นก่อนๆ เรียกว่า วัดป่าหิน หรือ วัดม่อนหินแก้ว เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่ ดร.ฮันส์ เพนธ์ ได้พบคัมภีร์ใบลานที่เก่าแก่ที่สุดของวัด ระบุจุลศักราช 833 หรือ พ.ศ. 2014 ตำนานของวัดกล่าวไว้ว่า ช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 ในสมัยของพระมหาป่าเกสรปัญโญ เป็นระยะที่มีการก่อสร้างและบูรณะเสนาสนะต่างๆ มากมาย เนื่องจากท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีผู้นับถือมากมาย เล่ากันว่าครั้งที่ท่านธุดงค์ไปถึงเชียงตุง ท่านได้มอบกะลาซีกหนึ่งให้ชายคนหนึ่ง จากนั้นท่านก็กลับมาลำปาง โดยไม่ได้บอกชายผู้นั้นว่าท่านอยู่ที่ใด ต่อมาชายคนนั้นได้ตามมาหาท่านจนพบที่วัดไหล่หิน แล้วนำกะลามาประกอบเข้าเป็นหนึ่งเดียว ชายคนดังกล่าวเกิดความศรัทธาแรงกล้า ได้ขอบูรณะวัดและก่อสร้างวิหารหลังที่เห็นปัจจุบ้นขึ้นในปี พ.ศ. 2226.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และวัดเสลารัตนปัพพะตาราม · ดูเพิ่มเติม »

สงครามออตโตมันในยุโรป

งครามออตโตมันในยุโรป (Ottoman wars in Europe) เป็นสงครามของจักรวรรดิออตโตมันที่ต่อสู้ในยุโรปที่บางครั้งก็เรียกว่า “สงครามออตโตมัน” หรือ “สงครามตุรกี” โดยเฉพาะในตำราที่เขียนในยุโรปในสมัยโบราณ “สงครามออตโตมันในยุโรป” แบ่งออกเป็นห้าสมัยที่รวมทั้ง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และสงครามออตโตมันในยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโปแลนด์-ออตโตมัน (ค.ศ. 1683-1699)

งครามโปแลนด์-ออตโตมัน (ค.ศ. 1683-1699) เป็นสงครามโปแลนด์-ออตโตมันครั้งที่สาม หรือ สงครามสันนิบาตศักดิ์ศิทธิ์ ที่ใช้โดยฝ่ายโปแลนด์ หรือ ในความขัดแย้งที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสงครามตุรกี ความขัดแย้างเริ่มขึ้นด้วยชัยชนะของโปแลนด์ในยุทธการเวียนนาในปี ค.ศ. 1683 และจบลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาคาร์โลวิทซ์, การได้ดินแดนเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียที่เสียไปในสงครามโปแลนด์-ออตโตมันก่อนหน้านั้นคืนมา (สงครามโปแลนด์-ออตโตมัน (ค.ศ. 1672–ค.ศ. 1676)) สงครามครั้งนี้เป็นสงครามครั้งสุดท้ายระหว่างเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียและจักรวรรดิออตโตมัน แต่แม้ว่าโปแลนด์จะได้รับชัยชนะเหตุการณ์นี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการเสื่อมอำนาจของไม่แต่จักรวรรดิออตโตมัน แต่ของเครือจักรภพด้วย ซึ่งตั้งแต่นั้นมาก็มิได้มีบทบาทนอกเขตแดนของราชอาณาจักรของตนเอง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และสงครามโปแลนด์-ออตโตมัน (ค.ศ. 1683-1699) · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง-บาติสต์ กอลแบร์

็อง-บาติสต์ กอลแบร์ ฌ็อง-บาติสต์ กอลแบร์ (Jean-Baptiste Colbert; 29 สิงหาคม พ.ศ. 2162 - 6 กันยายน พ.ศ. 2226) เป็นเลขานุการส่วนตัวของมาซาแร็ง เข้ามาอยู่ในกรุงปารีสตั้งแต่ยังเยาว์ และได้รับราชการในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ภายในเวลา 22 ปี กอลแบร์ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงถึง 8 กระทรวง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และฌ็อง-บาติสต์ กอลแบร์ · ดูเพิ่มเติม »

จาง จวีเจิ้ง

ง จวีเจิ้ง (ชาตะ: 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1525, เทศมณฑลเจียงหลิง มณฑลหูเป่ย์; มตะ: 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1582, กรุงปักกิ่ง) เป็นมหาอำมาตย์ (Grand Secretary) แห่งราชวงศ์หมิงของประเทศจีน ในรัชศกหลงชิ่งและว่านลี.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และจาง จวีเจิ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติบราซิล

งชาติบราซิล (Bandeira do Brasil) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีเขียว กลางธงมีรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสีเหลือง ภายในรูปดังกล่าวมีวงกลมสีน้ำเงิน บรรจุรูปแผนที่ของกลุ่มดาวขนาดต่างๆ กลางวงกลมนั้นมีแถบสีขาวพาดผ่าน บรรจุข้อความเขียนด้วยตัวอักษรโรมันพิมพ์ใหญ่สีเขียวว่า "Ordem e Progresso" (แปลว่า "ความเป็นระเบียบและความก้าวหน้า") ธงนี้ในบางครั้ง มักมีการเรียกชื่อว่า Auriverde ซึ่งแปลว่า " (ธง) สีทองและเขียว" แบบธงชาติซึ่งเป็นต้นแบบของธงที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 โดยแนวคิดของการออกแบบธงชาติเป็นผลงานร่วมกันของ ไรมุนโด เทย์เซย์รา เมนเดส (Raimundo Teixeira Mendes) มิเกล เลมอส (Miguel Lemos) และมานูเอล เปอร์เรย์รา เรย์ส์ (Manuel Pereira Reis) ส่วนการออกแบบธง ดำเนินการโดย เดซิโอ วิลาเรส (Décio Vilares).

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และธงชาติบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีบทเล็กของแฟร์มา

ทฤษฎีบทเล็กของแฟร์มา (Fermat's little theorem) กล่าวว่า ถ้า p เป็นจำนวนเฉพาะแล้ว สำหรับจำนวนเต็ม a ใด ๆ จะได้ว่า หมายความว่า ถ้าเลือกจำนวนเต็ม a มาคูณกัน p ครั้ง จากนั้นลบด้วย a ผลลัพธ์ที่ได้จะหารด้วย p ลงตัว (ดูเลขคณิตมอดุลาร์) p\mid a^p-a ทฤษฎีบทนี้กล่าวอีกแบบหนึ่งได้ว่า ถ้า p เป็นจำนวนเฉพาะ และ a เป็นจำนวนเต็มที่เป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์กับ p แล้ว จะได้ว.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และทฤษฎีบทเล็กของแฟร์มา · ดูเพิ่มเติม »

ทะไลลามะ

ทะไลลามะ (ทิเบต: ཏཱ་ལའི་བླ་མ་, taa la’i bla ma, จีนตัวเต็ม: 達賴喇嘛; จีนตัวย่อ: 达赖喇嘛; พินอิน: Dálài Lǎmā) เป็นตำแหน่งประมุขหัวหน้าคณะสงฆ์ในพุทธศาสนานิกายมหายานแบบทิเบตเกลุก (นิกายหมวกเหลือง) เป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณสูงสุดของชาวทิเบต ทะไลลามะ มาจากภาษามองโกเลีย dalai แปลว่า มหาสมุทร และภาษาทิเบต བླ་མ ་bla-ma แปลว่า พระชั้นสูง (ทะไลลามะ บางครั้งหรือนิยมออกเสียว่า ดาไลลามะ) ตามประวัติศาสตร์ของทิเบต เชื่อว่าองค์ทะไลลามะเป็นอวตารในร่างมนุษย์ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และเมื่อองค์ทะไลลามะองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ไป จะกลับชาติมาประสูติใหม่เป็นองค์ทะไลลามะองค์ต่อไป โดยเรทิงรินโปเช ซึ่งเป็นพระสงฆ์ระดับรองลงมาจะเป็นผู้ใช้นิมิตสรรหาเด็กคนที่เชื่อว่าเป็นทะไลลามะกลับชาติมาเกิด ปัจจุบัน ดาไลลามะ เป็นองค์ที่ 14 ชื่อ เทนซิน เกียตโซ(Tenzin Gyatso)..

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และทะไลลามะ · ดูเพิ่มเติม »

ดัชเชสมาเรีย อันนา วิกตอเรียแห่งบาวาเรีย

ัชเชสมาเรีย อันนา วิกตอเรียแห่งบาวาเรีย, โดฟินแห่งฝรั่งเศส (ประสูติ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1660 — สิ้นพระชนม์ 20 เมษายน ค.ศ. 1690) พระชายาในเจ้าชายหลุยส์ เลอกร็องโดฟิน รัชทายาทของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่ง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และดัชเชสมาเรีย อันนา วิกตอเรียแห่งบาวาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1683

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1683 ในประเทศฝรั่ง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และประเทศฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1683 · ดูเพิ่มเติม »

แสงจักรราศี

แสงจักรราศี บนท้องฟ้าตะวันออกก่อนแสงอรุณยามเช้า ในภาพจะมองเห็นดาวศุกร์กับกระจุกดาวเปิด M44 ด้วย แสงจักรราศี (zodiacal light) คือแสงสว่างเรืองรองจางๆ เป็นโครงรูปสามเหลี่ยมหยาบๆ ที่ปรากฏบนท้องฟ้ายามค่ำคืนหลังจากที่แสงสนธยาของตะวันตกดินลับฟ้าไปแล้ว โดยปรากฏอยู่ในแนวเส้นสุริยวิถี ในเขตซีกโลกเหนือตอนกลางจะสามารถมองเห็นแสงจักรราศีได้ดีที่สุดในช่วงเย็นของฤดูใบไม้ผลิทางท้องฟ้าทิศตะวันตก หลังจากที่แสงอาทิตย์อัสดงจางหายไปหมด หรือในฤดูใบไม้ร่วงยามเช้ามืดทางท้องฟ้าตะวันออกก่อนที่แสงอรุณจะมาถึง แสงจักรราศีมีลักษณะจางมากเพราะมีแสงอื่นรบกวนเช่น แสงจันทร์ หรือมลภาวะทางแสงอื่นๆ ปรากฏการณ์นี้มีการสังเกตและตรวจสอบเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1683 โดยนักดาราศาสตร์ชื่อ จิโอวานนี โดเมนิโก คาสสินี ต่อมาได้รับการอธิบายเป็นครั้งแรกโดย นิโคลัส ฟาชิโอ เดอ ดุยล์เลียร์ ในปี ค.ศ. 1684.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และแสงจักรราศี · ดูเพิ่มเติม »

แองกวิลลา

แองกวิลลา (Anguilla) เป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในทะเลแคริบเบียน หนึ่งในกลุ่มเกาะที่อยู่ทางเหนือสุดของหมู่เกาะลีเวิร์ดในภูมิภาคเลสเซอร์แอนทิลลิส แองกวิลลาประกอบด้วยเกาะหลักแองกวิลลายาว 26 กิโลเมตร (16 ไมล์) กว้าง 5 กิโลเมตร (3 ไมล์) และกลุ่มเกาะเล็ก ๆ ซึ่งไม่มีคนอาศัยอย่างถาวร เมืองหลักของดินแดนแห่งนี้คือเดอะแวลลีย์ (The Valley) มีเนื้อที่รวมทั้งหมด 102 ตารางกิโลเมตร (39.4 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 13,500 คน (พ.ศ. 2549).

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และแองกวิลลา · ดูเพิ่มเติม »

โมริโอกะ

มืองโมริโอกะ เป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดอิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น เมืองโมริโอกะมีพื้นที่ 489.15 ตารางกิโลเมตร ณ ค.ศ. 2008 มีจำนวนประชากร 300,740 คน คิดเป็นความหนาแน่นประชากร 588.11 คนต่อตารางกิโลเมตร เมืองโมริโอกะก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1597 โดยนัมบุ โนบูนาโอะ (南部信直 Nanbu Nobunao) ไดเมียวคนที่ 26 ของตระกูลนัมบุ (南部氏 Nanbu-shi) เพื่อให้เป็นเมืองหลวงของแคว้นนัมบุ (南部藩 Nanbu han) โดยได้สร้างปราสาทโมริโอกะไว้ ต่อมาใน ค.ศ. 1655 แคว้นนัมบุได้ถูกแบ่งเป็น 2 แคว้น ได้แก่ แคว้นโมริโอกะ (盛岡藩 Morioka han) และแคว้นฮาชิโยเนะ (八戸藩 Hachinohe han) และใน ค.ศ. 1683 ชื่อของเมืองถูกเปลี่ยนตัวอักษรจาก 盛岡 เป็น 森岡 (แต่ยังคงอ่านว่า "โมริโอกะ" เหมือนเดิม) เมื่อประชากรของเมืองครบ 36,000 คน เมืองโมริโอกะได้รับการยกให้เป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดอิวาเตะในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 เมืองโมริโอกะและภูเขาอิวาเตะ หมวดหมู่:เมืองในจังหวัดอิวาเตะ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และโมริโอกะ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายยูจีนแห่งซาวอย

้าชายยูจีนแห่งซาวอย หรือ เจ้าชายเออแฌนแห่งซาวัว-คารินยอง (Eugen von Savoyen; Eugène de Savoie-Carignan); Prince Eugene of Savoy) (18 ตุลาคม ค.ศ. 1663 - 21 เมษายน ค.ศ. 1736) เจ้าชายยูจีนแห่งซาวอยเป็นแม่ทัพผู้มีชื่อเสียงและมีสมรรถภาพที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตรยุโรป เจ้าชายยูจีนแห่งซาวอยประสูติที่ปารีสจากพระบิดามารดาที่เป็นเจ้านายซาวอย เจ้าชายยูจีนเจริญพระชันษาขึ้นมาในราชสำนักฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เดิมพระองค์มีพระประสงค์จะดำเนินอาชีพเป็นนักบวชแต่เมื่อมีพระชนม์ได้ 19 ก็หันไปสนใจกับอาชีพการเป็นทหาร เมื่อถูกปฏิเสธโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จากการเข้ารับราชการในกองทัพฝรั่งเศส เจ้าชายยูจีนก็ทรงย้ายไปออสเตรียและหันไปสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ฮับส์บวร์ก เจ้าชายยูจีนแห่งซาวอยรับราชการอยู่หกสิบปีภายใต้จักรพรรดิฮับส์บวร์กสามพระองค์ – จักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 1, จักรพรรดิโจเซฟที่ 1 และ จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 สงครามครั้งแรกที่เจ้าชายยูจีนทรงมีส่วนร่วมคือการสงครามต่อต้านการล้อมกรุงเวียนนาของออตโตมันเติร์กในยุทธการเวียนนาใน ค.ศ. 1683 และต่อมาสงครามสันนิบาตศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาสงครามตุรกี ก่อนที่จะเข้าร่วมในสงครามเก้าปีพร้อมกับลูกพี่ลูกน้องวิคเตอร์ อมาเดอุสที่ 2 ดยุคแห่งซาวอย แต่ชื่อเสียงของเจ้าชายยูจีนมามั่นคงเมื่อได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อออตโตมันในยุทธการเซนทาในปี ค.ศ. 1697 จากนั้นก็มีชื่อเสียงเพิ่มขึ้นระหว่างสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนเมื่อไปทำการเป็นพันธมิตรกับจอห์น เชอร์ชิลล์ ดยุคแห่งมาร์ลบะระห์ที่ได้รับชัยชนะต่อฝรั่งเศสในยุทธการเบล็นไฮม์, ยุทธการอูเดอนาร์ด และ ยุทธการมาลพลาเคต์ จากนั้นก็ไปได้รับความสำเร็จในฐานะแม่ทัพของกองทัพของพระจักรพรรดิทางตอนเหนือของอิตาลี โดยเฉพาะในยุทธการตูรินในปี ค.ศ. 1706 เมื่อความขัดแย้งกับจักรวรรดิออตโตมันเริ่มขึ้นอีกครั้งในสงครามออสเตรีย-ตุรกี ค.ศ. 1716-1718 เจ้าชายยูจีนก็ทรงสามารถปราบปรามข้าศึกศัตรูได้ในยุทธการเปโตรวาราดิน และ ยุทธการเบลเกรด ตลอดคริสต์ทศวรรษ 1720 อิทธิพลและความสามารถทางการทูตของของเจ้าชายยูจีนก็สามารถสร้างความมั่นคงให้แก่จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปัญญาขัดแย้งต่างๆ ที่เกี่ยวกับการสืบราชบัลลังก์ แต่ในบั้นปลายของชีวิตความเหนื่อยร้าและสุขภาพทางจิตที่เปราะบางทำให้พระองค์ไม่ทรงประสบความสำเร็จในฐานะผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุดในการพยายามยุติสงครามสืบราชบัลลังก์โปแลนด์ได้ แต่กระนั้นในออสเตรีย ชื่อเสียงของเจ้าชายยูจีนก็ไม่มีผู้ใดเทียมได้ ความเห็นเกี่ยวกับบุคลิกของเจ้าชายยูจีนอาจจะแตกต่างกันไป แต่ก็ไม่มีผู้ใดที่จะค้านความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่พระองค์ทรงป้องกันจักรวรรดิฮับส์บวร์กจากถูกกลืนไปเป็นของฝรั่งเศส และทรงหยุดยั้งการรุกรานมาทางตะวันตกของจักรวรรดิออตโตมัน และปลดปล่อยยุโรปกลางจากการยึดครองของออตโตมันที่ดำเนินมาเป็นเวลาร้อยห้าสิบปี นอกจากนั้นเจ้าชายยูจีนก็ยังทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะคนสำคัญ เจ้าชายยูจีนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1736 เมื่อมีพระชนมายุได้ 72 พรรษ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และเจ้าชายยูจีนแห่งซาวอย · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายจอร์จแห่งเดนมาร์ก

อร์จแห่งเดนมาร์ก เจ้าชายพระราชสวามี (Prince George of Denmark) (2 เมษายน ค.ศ. 1653 - 28 ตุลาคม ค.ศ. 1708) เจ้าชายจอร์จแห่งเดนมาร์กประสูติเมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1653 ที่โคเปนเฮเกนในประเทศเดนมาร์ก เป็นพระโอรสองค์ที่สามของพระเจ้าเฟรดเดอริคที่ 3 แห่งเดนมาร์กและพระราชินีโซฟี อมาลี (Sophie Amalie of Brunswick-Lüneburg) เป็นพระสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ ระหว่างวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1702 ถึงวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1708 เจ้าชายจอร์จสิ้นพระชนม์เมื่อ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1708 ที่พระราชวังเค็นซิงตัน ประเทศอังกฤษ พระศพตั้งอยู่ที่แอบบีเวสต์มินสเตอร.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และเจ้าชายจอร์จแห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

12 กันยายน

วันที่ 12 กันยายน เป็นวันที่ 255 ของปี (วันที่ 256 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 110 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และ12 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

29 สิงหาคม

วันที่ 29 สิงหาคม เป็นวันที่ 241 ของปี (วันที่ 242 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 124 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2226และ29 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 1683

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »