โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 2042

ดัชนี พ.ศ. 2042

ทธศักราช 2042 ใกล้เคียงกั.

21 ความสัมพันธ์: บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเตพระสนมชางบิน แห่งอันซาน ตระกูลอันพระนางจิรประภาเทวีพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศสการคืนพระชนม์ของพระคริสต์ (ราฟาเอล)มหาวิหารบัมแบร์กมินสค์ราชวงศ์สุพรรณภูมิสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504)สงครามดอกกุหลาบอันเดรอา กริตติอาสนวิหารปามีเยอเมริโก เวสปุชชีจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีจูลีโอ โรมาโนประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสประวัติศาสตร์รัสเซียแอนน์แห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสโกลด สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสเพอร์คิน วอร์เบ็คเอ็ดเวิร์ด แพลนทาเจเน็ท เอิร์ลแห่งวอริคที่ 17

บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเต

นักบุญมินิอัสแห่งฟลอเรนซ์ทางขวาของพระเยซู โดยมีคำจารึกว่า: "S. MINIATUS REX ERMINIE" บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเต (Basilica di San Miniato al Monte) เป็นบาซิลิกาที่ตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ทางตอนกลางของประเทศอิตาลี ตัวบาซิลิกาตั้งอยู่บนเนินที่สูงที่สุดของเมืองฟลอเรนซ์ บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเตได้ชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ในทัสเคนี บาซิลิกาตั้งอยู่ติดกับสำนักสงฆ์ลัทธิโอลิเวทันส์ที่จะมองเห็นเมื่อขึ้นบันไดไปยังบาซิลิกา นักบุญมินิอัสแห่งฟลอเรนซ์ หรือมินาส (Մինաս, Miniato) เดิมเป็นเจ้าชายชาวอาร์มีเนียผู้รับราชการเป็นทหารในกองทัพโรมันภายใต้จักรพรรดิเดซิอัส มินิอัสถูกประณามว่าเป็นผู้นับถือคริสต์ศาสนาหลังจากที่ไปเป็นนักพรต และถูกนำตัวมาปรากฏต่อหน้าจักรพรรดิ ผู้กำลังตั้งค่ายอยู่หน้าประตูเมืองฟลอเรนซ์ พระจักรพรรดิมีพระบรมราชโองการให้โยนมินิอัสให้สัตว์ป่ากินในสนามกีฬา แต่เมื่อปล่อยเสือดำเข้าไป เสือดำก็ไม่ยอมทำร้ายมินิอัส มินิอัสจึงถูกตัดหัวต่อหน้าพระจักรพรรดิ กล่าวกันว่ามินิอัสไม่ได้เสียชีวิตทันทีแต่ก้มลงยกหัวของตนขึ้นมา แล้วประคองหัวข้ามแม่น้ำอาร์โน จากนั้นก็เดินขึ้นเนินมอนส์ฟิโอเรนตินัสไปยังที่อาศัย ต่อมาก็ได้มีการสร้างสักการะสถานตรงจุดนี้ และเมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ก็มีชาเปลขึ้นแล้ว การก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้เริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1013 โดยสังฆราชอาลิบรันโด โดยการอุปถัมภ์ของสมเด็จพระจักรพรรดิไฮนริคที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเตเริ่มด้วยการเป็นสำนักสงฆ์ของลัทธิเบ็นนาดิคติน จากนั้นก็เปลี่ยนมือไปเป็นของลัทธิคลูนี และในปี ค.ศ. 1373 ก็ตกไปเป็นของลัทธิโอลิเวตันผู้ซึ่งยังคงใช้คริสต์ศาสนสถานนี้อยู่ นักบวชของสำนักสงฆ์มีชื่อเสียงในการทำสุรา, น้ำผึ้ง และ ชาสมุนไพรที่ขายในร้านที่ตั้งอยู่ติดกับวัด ด้านหน้าวัดที่ทำด้วยหินอ่อนเป็นลวดลายเรขาคณิตอาจจะเริ่มทำขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2042และบาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเต · ดูเพิ่มเติม »

พระสนมชางบิน แห่งอันซาน ตระกูลอัน

ระสนมชางบิน เป็นหนึ่งในสามพระสนมเอกที่ พระเจ้าจุงจง ทรงโปรดปรานและเป็นพระอัยยิกาของ พระเจ้าซอนโจ ประสูติเมื่อปี ค.ศ. 1499 ได้เข้าถวายตัวเมื่อปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2042และพระสนมชางบิน แห่งอันซาน ตระกูลอัน · ดูเพิ่มเติม »

พระนางจิรประภาเทวี

ระนางจิรประภาเทวี (ครองราชย์ พ.ศ. 2088–2089) หรือ มหาเทวีจิรประภา (110px) เป็นพระอัครมเหสีในพระเมืองเกษเกล้า พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 12 แห่งอาณาจักรล้านนาสืบต่อจากพระราชสวามี ซึ่งในรัชกาลของพระนางหัวเมืองฝ่ายเหนือเกิดการระส่ำระสายเนื่องจากบ้านเมืองเกิดการแย่งอำนาจระหว่างขุนนางกับเจ้านาย บ้านเมืองอ่อนแอมีศึกสงครามขนาบทั้งทิศเหนือและใต้ ทั้งกองทัพพม่า และอยุธยา ซึ่งตรงกับรัชสมัย สมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยาที่ยกทัพมาถึงเชียงใหม่ พระนางปกครองบ้านเมืองเพียงแค่เพียงปีเศษก็ได้สละราชบัลลังก์แก่ สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระราชนัดดา (หลานยาย) ซึ่งเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์โพธิสารราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง และภายหลังพระองค์และพระราชนัดดาได้เสด็จไปประทับในนครหลวงพระบางและมิได้นิวัติกลับมายังนครเชียงใหม่อีกเลยตลอดปลายพระชนม์ชี.

ใหม่!!: พ.ศ. 2042และพระนางจิรประภาเทวี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส (François Ier) (12 กันยายน ค.ศ. 1494 ถึง 31 มีนาคม ค.ศ. 1547) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสตั้งแต่ ค.ศ. 1515 ถึงค.ศ. 1547 พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ พระองค์แรกของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาฝรั่ง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2042และพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

การคืนพระชนม์ของพระคริสต์ (ราฟาเอล)

ูบทความหลักที่ พระเยซูคืนชีพ พระเยซูคืนชีพ หรือ พระเยซูคืนชีพคินแนร์ด (ตามชื่อลอร์ดคินแนร์ดเจ้าของเดิม) (ภาษาอังกฤษ: Resurrection of Christ หรือ The Kinnaird Resurrection) เป็นจิตรกรรมที่เขียนโดยราฟาเอลจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เซาเปาลูในประเทศบราซิล ราฟาเอลเขียนภาพ “พระเยซูคืนชีพ” ระหว่างปี ค.ศ. 1499 ถึงปี ค.ศ. 1502 และอาจจะเป็นภาพหนึ่งในบรรดาภาพแรกๆ ที่ราฟาเอลเขียน อาจจะเป็นภาพบนส่วนหนึ่งของฐานแท่นบูชา (predella) แต่ไม่ทราบว่าสำหรับแท่นบูชา แต่ก็มีผู้เสนอว่าอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของ แท่นบูชาบารอนชิ (Baronci altarpiece) ซึ่งเป็นงานแรกที่มีหลักฐานว่าเป็นงานจ้างชิ้นแรก.

ใหม่!!: พ.ศ. 2042และการคืนพระชนม์ของพระคริสต์ (ราฟาเอล) · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารบัมแบร์ก

มหาวิหารบัมแบร์ก (Bamberger Dom) มีชื่อเป็นทางการว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรและนักบุญจอร์จ (Bamberger Dom St. Peter und St. Georg) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกประจำอัครมุขมณฑลบัมแบร์ก ตั้งอยู่ที่เมืองบัมแบร์ก ในประเทศเยอรมนี สถาปัตยกรรมของมหาวิหารที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมานเนสก์ตอนปลายโดยมีหอสี่หอ มหาวิหารแรกก่อสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1004 โดยจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่สร้างเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1012 และได้รับการเสกเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1012 ต่อมาถูกเพลิงไหม้ไปบางส่วนในปี ค.ศ. 1081 มหาวิหารใหม่สร้างโดยออทโทแห่งบัมแบร์ก และได้รับการเสกอีกครั้งในปี ค.ศ. 1111 ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 มหาวิหารก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์และต่อเติมใหม่จนเป็นรูปทรงเป็นแบบปลายสมัยโรมานเนสก์ที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2042และมหาวิหารบัมแบร์ก · ดูเพิ่มเติม »

มินสค์

ริเวณจัตุรัสแห่งชัยชนะในกรุงมินสค์ มินสค์ (Minsk; Мінск; Минск) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศเบลารุส ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสวิสลาช (Svislach) และแม่น้ำเนียมีฮา (Niamiha) ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 280.4 เมตร กรุงมินสค์เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของเครือรัฐเอกราช (CIS) ในที่เป็นฐานะเมืองหลวงของประเทศ ยังมีสถานะการบริหารพิเศษและยังเป็นศูนย์กลางการบริหารของจังหวัดมินสค์และเขตมินสค์อีกด้วย ในปี ค.ศ. 2006 กรุงมินสค์มีประชากรประมาณ 1,780,000 คน และมีนายมีคาอิล ปัฟลอฟ (Mikhail Pavlov) เป็นนายกเทศมนตรี หลักฐานยุคแรกเริ่มสุดที่กล่าวถึงมินสค์นั้นย้อนไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 (ค.ศ. 1067) ในปี ค.ศ. 1242 มินสค์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของราชรัฐลิทัวเนีย (Grand Duchy of Lithuania) และได้รับอภิสิทธิ์เมืองในปี ค.ศ. 1499 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1569 เมืองนี้ได้เป็นเมืองหลวงของมินสค์วอยวอดชิป (Minsk Voivodship) ในเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย ต่อมาถูกผนวกเข้ากับรัสเซียในปี ค.ศ. 1793 ซึ่งเป็นผลจากการแบ่งแยกโปแลนด์ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1919-1991 มินสค์เคยมีฐานะเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย (Byelorussian SSR) ก่อนสหภาพโซเวียตล่มสล.

ใหม่!!: พ.ศ. 2042และมินสค์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

ราชวงศ์สุพรรณภูมิ หรือ ราชวงศ์สุวรรณภูมิ เป็นราชวงศ์ที่ 2 ที่ได้ครองอาณาจักรอยุธยา ราชวงศ์สุพรรณภูมิมีอายุรวม 199 ปี.

ใหม่!!: พ.ศ. 2042และราชวงศ์สุพรรณภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504)

งครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504) หรือ สงครามอิตาลีครั้งที่ 2 หรือ สงครามอิตาลีของหลุยส์ที่ 12 หรือ สงครามชิงเนเปิลส์ (Italian War of 1499–1504 หรือ Second Italian War หรือ Louis XII's Italian War หรือ War over Naples) เป็นส่วนหนึ่งของมหาสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1494-1559) ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1499 จนถึง ค.ศ. 1504 สงครามอิตาลีครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นการต่อสู้ระหว่างพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสและพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งสเปนโดยมีผู้สนับสนุนในจากมหาอำนาจในอิตาลี หลังจากสงครามอิตาลีครั้งที่ 1 พระเจ้าหลุยส์ก็ทรงดำเนินความพยายามในการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของอาณาจักรดยุคแห่งมิลานและราชอาณาจักรเนเปิลส์ต่อไป ในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2042และสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504) · ดูเพิ่มเติม »

สงครามดอกกุหลาบ

ที่ตั้งสำคัญในสงครามดอกกุหลาบ สงครามดอกกุหลาบ (Wars of the Roses) เป็นชุดสงครามราชวงศ์ที่ผู้สนับสนุนราชวงศ์แพลนแทเจเนตสองสายที่เป็นคู่แข่งชิงราชบัลลังก์อังกฤษกัน ได้แก่ ราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์ก (ซึ่งสัญลักษณ์ตราประจำตระกูล คือ ดอกกุหลาบสีแดงและสีขาวตามลำดับ) ทั้งสองฝ่ายรบกันเป็นช่วงห่าง ๆ กันระหว่างปี 1455 ถึง 1485 แม้จะมีการสู้รบที่เกี่ยวข้องอีกทั้งก่อนหน้าและหลังช่วงนี้ สงครามดังกล่าวเป็นผลจากปัญหาทางสังคมและการเงินหลังสงครามร้อยปี ชัยชนะบั้นปลายเป็นของผู้เรียกร้องเชื้อสายแลงแคสเตอร์ค่อนข้างห่าง เฮนรี ทิวดอร์ ผู้กำราบพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ยอร์ก และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมสองราชวงศ์ หลังจากนั้น ราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษและเวลส์เป็นเวลา 117 ปี เฮนรีแห่งโบลิงโบรกทรงก่อตั้งราชวงศ์แลงแคสเตอร์ขณะทรงราชย์ในปี 1399 เมื่อทรงถอดพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 พระภราดร (ลูกพี่ลูกน้อง) จากราชสมบัติ พระราชโอรส พระเจ้าเฮนรีที่ 5 ยังทรงรักษาการอยู่ในราชสมบัติของตระกูลไว้ได้ แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี 1422 พระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทายาทของพระองค์ เป็นทารก การอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของราชวงศ์แลงแคสเตอร์สืบมาจากจอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์ พระราชโอรสที่ยังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สามในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 สิทธิในราชบัลลังก์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ถูกริชาร์ด ดยุคแห่งยอร์คคัดค้าน ผู้สามารถอ้างว่าสืบเชื้อสายจากไลโอเนลแห่งแอนต์เวิร์ป และเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์กพระราชโอรสที่ยังมียังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สองและสี่ในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ริชาร์ดแห่งยอร์ค ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญของรัฐหลายตำแหน่ง ทะเลาะกับราชวงศ์แลงแคสเตอร์สำคัญ ๆ ในราชสำนักและกับมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู พระมเหสีในพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แม้เคยเกิดการปะทะกันด้วยอาวุธระหว่างผู้สนับสนุนราชวงศ์ยอร์กและแลงแคสเตอร์มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่การสู้รบเปิดเผยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1455 ที่ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 1 ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คนที่โดดเด่นหลายคนเสียชีวิต แต่ทายาทที่เหลือยังพยาบาทกับริชาร์ด แม้จะมีการฟื้นฟูสันติภาพชั่วคราว มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู ดลให้ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คัดค้านอิทธิพลของเอิร์ลแห่งยอร์ค การสู้รบดำเนินต่ออย่างรุนแรงขึ้นในปี 1459 เอิร์ลแห่งยอร์คและผู้สนับสนุนของพระองค์ถูกบีบให้หนีออกนอกประเทศ แต่ผู้สนับสนุนที่โดดเด่นที่สุดของพระองค์คนหนึ่ง เอิร์ลแห่งวอริก บุกครองอังกฤษจากกาเลและสามารถจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้ที่ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน เอิร์ลแห่งยอร์คเสด็จกลับประเทศและเป็นผู้พิทักษ์อังกฤษ (Protector of England) แต่ทรงถูกปรามมิให้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ มาร์กาเร็ตและอภิชนแลงแคสเตอร์ผู้ไม่ยอมปรองดองประชุมกำลังทางเหนือของอังกฤษ และเมื่อเอิร์ลแห่งยอร์คเคลื่อนทัพขึ้นเหนือไปปราบ พระองค์กับเอ็ดเวิร์ด พระราชโอรสพระองค์ที่สอง ถูกปลงพระชนม์ทั้งคู่ที่ยุทธการเวคฟีลด์ในเดือนธันวาคม 1460 กองทัพแลงแคสเตอร์รุกลงใต้และจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้อีกในยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 2 แต่ไม่สามารถยึดครองกรุงลอนดอนไว้ได้ และถอยกลับไปทางเหนือในเวลาต่อมา พระราชโอรสองค์โตของเอิร์ลแห่งยอร์ค เอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งมาร์ช ได้รับการประกาศเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 พระองค์ระดมกองทัพราชวงศ์ยอร์คและได้ชัยเด็ดขาดที่ยุทธการที่โทว์ทันเมื่อเดือนมีนาคม 1461 หลังการลุกขึ้นต่อต้านของแลงแคสเตอร์ทางเหนือถูกกำราบในปี 1464 และพระเจ้าเฮนรีถูกจับเป็นเชลยอีกครั้ง พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทะเลาะกับเอิร์ลแห่งวอริก สมญา "ผู้สร้างกษัตริย์" (Kingmaker) ผู้สนับสนุนและที่ปรึกษาหลักของพระองค์ และยังแตกแยกกับพระสหายหลายคน และกระทั่งพระบรมวงศานุวงศ์ โดยทรงสนับสนุนตระกูลของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ซึ่งมีอำนาจขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งพระองค์ทรงอภิเษกสมรสด้วยอย่างลับ ๆ ทีแรก เอิร์ลแห่งวอริกพยายามยกน้องชาย จอร์จ ดยุกแห่งแคลเรนซ์ เป็นพระมหากษัตริย์ แล้วจึงฟื้นฟูพระเจ้าเฮนรีที่ 6 กลับสู่ราชสมบัติ จากนั้นสองปี พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ทรงได้รับชัยชนะสมบูรณ์อีกครั้งที่บาร์เนต (เมษายน 1471) ที่ซึ่งเอิร์ลแห่งวอริกถูกสังหาร และทูกสบรี (พฤษภาคม 1471) ที่ซึ่งเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ ทายาทแลงแคสเตอร์ ถูกประหารชีวิตหลังยุทธการ พระเจ้าเฮนรีถูกปลงพระชนม์ในหอคอยลอนดอนหลายวันจากนั้น ยุติลำดับการสืบราชสันตติวงศ์โดยตรงของแลงแคสเตอร์ จากนั้น บ้านเมืองค่อนข้างสงบอยู่พักหนึ่ง จนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตกะทันหันในปี 1483 ริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์ พระอนุชาที่ยังมีพระชนมชีพของพระองค์ ทีแรกเคลื่อนไหวเพื่อกันมิให้ตระกูลวูดวิลล์ที่ไม่เป็นที่นิยมของพระมเหสีหม้ายของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเข้าร่วมในรัฐบาลระหว่างที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 พระราชโอรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ยังทรงพระเยาว์ จึงยึดราชบัลลังก์เป็นของตน โดยอ้างว่า การสมรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เฮนรี ทิวดอร์ พระญาติห่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์แลงแคสเตอร์ผู้รับสืบทอดการอ้างสิทธิ์มาด้วย ชนะพระเจ้าริชาร์ดที่บอสเวิร์ธฟิลด์ในปี 1485 พระองค์ราชาภิเษกเป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมและประสานราชวงศ์ทั้งสอง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2042และสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

อันเดรอา กริตติ

หลุมฝังศพของเขาในเมืองเวนิส อันเดรอา กริตติ(Andrea Gritti) (ค.ศ. 1455 - ค.ศ. 1538) เป็นดยุกแห่งเวนิสประมุขของสาธารณรัฐเวนิส ระหว่างปี ค.ศ. 1523 จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1538 อันเดรอา กริตติเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1455 ที่บาร์โดลิโนไม่ไกลจากเวโรนาในประเทศอิตาลีปัจจุบัน กริตติใช้เวลาส่วนใหญ่ในสมัยต้นในคอนสแตนติโนเปิลดูแลผลประโยชน์ให้แก่เวนิส ในปี ค.ศ. 1499 กริตติก็ถูกจำคุกในข้อหาเป็นสายลับแต่รอดจากการถูกประหารชีวิตเพราะความที่เป็นมิตรกับวิเซียร์ (vizier) และถูกปล่อยตัวอีกหลายปีต่อมา เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เวนิสก็เสียดินแดนเกือบทั้งหมดที่มีบนแผ่นดินอิตาลี กริตติมีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเสียดินแดน ในปี ค.ศ. 1509 หลังจากการพ่ายแพ้ในยุทธการอักนาเดลโลกริตติก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพของกองทัพเวนิสในเตรวิโซ และสามารถยึดปาดัวคืนมาได้ และสามารถต่อต้านสมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในปี ค.ศ. 1510 หลังจากการเสียชีวิตของนิโคโล ดิ พิติกลิอาโนกริตติก็เป็นผู้บังคับบัญชากองทัพเวนิสทั้งหมดแต่ถูกบังคับให้ถอยโดยกองทัพที่รุกเข้ามาของฝรั่งเศส กริตติได้รับเลือกให้เป็นดยุกแห่งเวนิสในปี ค.ศ. 1523 และได้ลงนามในสนธิสัญญากับสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นการยุติความเกี่ยวข้องของเวนิสในสงครามอิตาลี กริตติพยายามรักษาความเป็นกลางของเวนิสระหว่างความขัดแย้งระหว่างจักรพรรดิคาร์ลและพระเจ้าฟรองซัวส์แห่งฝรั่งเศส และพยายามหันความสนใจของทั้งสองพระองค์ไปยังการหยุดยั้งการขยายตัวของจักรวรรดิออตโตมันในฮังการี แต่กริตติก็ไม่สามารถหยุดยั้งสุลต่านสุลัยมานแห่งจักรวรรดิออตโตมันจากการโจมตีคอร์ฟูในปี ค.ศ. 1537ได้ ซึ่งทำให้เวนิสต้องเข้าสงครามกับจักรวรรดิออตโตมัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2042และอันเดรอา กริตติ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารปามีเย

อาสนวิหารปามีเย (Cathédrale de Pamiers) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญอ็องตอแน็งแห่งปามีเย (Cathédrale Saint-Antonin de Pamiers) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก อันเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลปามีเย กูเซอร็อง และมีร์ปัว ตั้งอยู่ที่เมืองปามีเย จังหวัดอาเรียฌ แคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสำคัญประจำเมือง คือ นักบุญอ็องตอแน็ง อาสนวิหารปามีเยได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1906.

ใหม่!!: พ.ศ. 2042และอาสนวิหารปามีเย · ดูเพิ่มเติม »

อเมริโก เวสปุชชี

อนุสาวรีย์อเมริโก เวสปุชชีที่ฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี อเมริโก เวสปุชชี (Amerigo Vespucci; 9 มีนาคม พ.ศ. 1997 — 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2055) เป็นนักสำรวจ นักเดินเรือ และนักทำแผนที่ชาวอิตาลีที่เป็นคนชี้กระจ่างว่าส่วนที่ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เคยมาสำรวจมานั้นไม่ใช่เป็นแผ่นดินส่วนหนึ่งของเอเชีย หากแต่เป็นแผ่นดินใหม่ หลังจากนั้นก็ได้ตั้งชื่อทวีปเป็นอเมริกาเพื่อเป็นการให้เกียรติกับ อเมริโก เวสปุชชี ในการชี้แนะอย่างถูกต้อง (อเมริโกนั้นเป็นภาษาละติน แต่เพราะในภาษาอังกฤษนั้นเรียกว่าอเมริกา).

ใหม่!!: พ.ศ. 2042และอเมริโก เวสปุชชี · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

การแต่งงานของเวอร์จินแมรี” ภาพ “พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (Italian Renaissance painting) คือสมัยประวัติศาสตร์ของจิตรกรรมที่เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เกิดขึ้นในบริเวณของประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นแบ่งการปกครองเป็นอาณาบริเวณต่างๆ จิตรกรในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีแม้ว่าจะขึ้นอยู่กับราชสำนักหรือสำนัก หรือเมือง แต่ก็มีโอกาสได้ท่องเที่ยวอย่างกว้างไกลไปทั่วอิตาลี และมักจะได้รับฐานะเป็นทูตในการเผยแพร่อิทธิพลความคิดทั้งทางศิลปะและปรัชญา เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและโดยเฉพาะในสาขาจิตรกรรมก็คือเมืองฟลอเรนซ์ที่อ่านประกอบได้ในบทความ “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา”, ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี และ “สถาปัตยกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา” จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีแบ่งเป็นสี่สมัย.

ใหม่!!: พ.ศ. 2042และจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

จูลีโอ โรมาโน

ูลีโอ โรมาโน (Giulio Romano) (ราว ค.ศ. 1499 - 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1546) เป็นจิตรกรและสถาปนิกสมัยเรอเนซองส์ชาวอิตาลีผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง จูลีโอ โรมาโนเป็นลูกศิษย์คนสำคัญของราฟาเอล ลักษณะการเขียนแบบเรอเนซองส์สูงของจูลีโอมีส่วนช่วยในการวางพื้นฐานของงานศิลปะยุคต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เรียกว่าแมนเนอริสม์ งานเขียนเส้นของจูลีโอเป็นงานที่เป็นที่นิยมของนักสะสม ซึ่งมาร์คานโตนิโอ ราอิมอนดินำไปแกะพิมพ์เป็นการทำให้เป็นการเผยแพร่งานแบบอิตาลีไปทั่วยุโรป.

ใหม่!!: พ.ศ. 2042และจูลีโอ โรมาโน · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสเป็นดินแดนที่เคยอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันมาก่อน โดยรู้จักกันในชื่อของชนเผ่า หรือแคว้นกอล ซึ่งเป็นกลุ่มชนเผ่าขนาดใหญ่ที่พูดภาษาเคลท์ ในช่วงท้ายก่อนที่จักรวรรดิโรมันจะล่มสลายลง ดินแดนกอลถูกรุกรานจากทั้งการโจมตีของกลุ่มอนารยชนและการอพยพของกลุ่มคนเร่ร่อน โดยเฉพาะชาวแฟรงก์เชื้อสายเจอร์มานิค พระมหากษัตริย์แฟรงก์นามว่า โคลวิสที่ 1 ได้ทรงรวบรวมดินแดนส่วนมากของกอลภายใต้การปกครองของพระองค๋ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 นับเป็นจุดเริ่มต้นของอิทธิพลชาวแฟรงก์ในภูมิภาคนี้ที่ดำเนินต่อไปอีกหลายร้อยปี อำนาจของแฟรงก์ดำเนินมาถึงจุดสูงสุดในช่วงของพระเจ้าชาร์เลอมาญ ราชอาณาจักรฝรั่งเศสยุคกลางก็ได้ถือกำเนิดขึ้นจากการเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งทางทิศตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงของชาร์เลอมาญ ซึ่งรู้จักกันในนาม ฟรังเกียตะวันตก และเพิ่มพูนอิทธิพลของตนขึ้นเรื่อยมาภายใต้การปกครองของตระกูลกาแปซึ่งก่อตั้งโดยอูก กาแปในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2042และประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์รัสเซีย

ประวัติศาสตร์รัสเซีย เริ่มต้นขึ้นเมื่อชาวสลาฟตะวันออกก่อตั้งจักรวรรดิเคียฟรุส และรับเอาศาสนาคริสต์มาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ในปี พ.ศ. 1531 ในปีพ.ศ. 1783 อาณาจักรคีวานรุสล่มสลายโดยการรุกรานจากจักรวรรดิมองโกล หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 มอสโกได้ค่อยพัฒนาเป็นศูนย์กลางของศิลปะและวัฒนธรรมทีละน้อย ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 รัฐมอสโกได้เป็นใหญ่ในจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งได้มีการขยายอาณาเขตถึงโปแลนด์ ทางด้านตะวันออกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก จนถึงสมัยพระเจ้าซาร์อีวานที่ 3 ในปี พ.ศ. 2023 พระองค์หยุดส่งเครื่องบรรณาการให้มองโกเลีย และประกาศเอกราชไม่เป็นเมืองขึ้นของมองโกเลียอีกต่อไป หลังจากการเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่งผลให้รัสเซียเผชิญปัญหาในการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรม ความเป็นอยู่ประชาชนลำบากแร้นแค้น กำลังทหารและเศรษฐกิจรัสเซียเข้าขั้นวิกฤต ในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์จึงได้ก่อการปฏิวัติขึ้นในปี พ.ศ. 2460 นำไปสู่การก่อตั้งสหภาพโซเวียต เป็นประเทศแรกของโลกที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง สหภาพโซเวียตกลายมาเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกคู่กับสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามเย็น ในสมัยนั้น นโยบายของสหภาพโซเวียตได้เน้นการป้องกันประเทศและพัฒนาด้านอุตสาหกรรม แต่การเน้นพัฒนาทหารขนานใหญ่ ส่งผลทำให้เศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง ต่อมา เมื่อมิคาอิล กอร์บาชอฟ ขึ้นสู่อำนาจ เขาได้เริ่มนโยบายปฏิรูปด้านต่าง ๆ ทำให้สหภาพโซเวียตล่มสลายใน พ.ศ. 2534 สาธารณรัฐต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียจึงแยกตัวออกมาเป็นเป็นสหพันธรัฐรัสเซียในปัจจุบัน โดยที่รัสเซียได้รับสถานภาพตามกฎหมายในเวทีระหว่างประเทศมาจากสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: พ.ศ. 2042และประวัติศาสตร์รัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

แอนน์แห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

แอนน์แห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (Anne de Bretagne; ภาษาเบรตอง: Anna Vreizh;Anne of Brittany) (25 มกราคม ค.ศ. 1477 - 9 มกราคม ค.ศ. 1514) แอนน์แห่งบริตานีเป็นสมเด็จพระราชินีในสมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ระหว่างวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1488 ถึงวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1514; ในพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1491 ถึงวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1498 และในพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1499 ถึงวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1514 แอนน์ประสูติเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1477 ที่นองซ์ในฝรั่งเศสเป็นพระธิดาของฟรองซัวส์ที่ 2 ดยุกแห่งบริตานี และมาร์กาเร็ตแห่งฟัวซ์ ดัชเชสแห่งบริตานี (Margaret of Foix) เมื่อพระบิดาเสียชีวิตแอนน์ก็เป็นดัชเชสแห่งบริตานีอย่างเต็มตัว และเป็นเคานเทสแห่งนองซ์, มงท์ฟอร์ต และริชมงท์ และไวท์เคานเทสแห่งลีมอชส์ ซึ่งทำให้ทรงเป็นสตรีผู้มีอำนาจและฐานะมั่งคั่งที่สุดในยุโรป.

ใหม่!!: พ.ศ. 2042และแอนน์แห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

โกลด สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

ลดแห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (Claude of France) (14 ตุลาคม ค.ศ. 1499 - 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1524) โคลดแห่งบริตานีเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสในพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1514 ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1524 โคลดแห่งบริตานีประสูติเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1499 เป็นพระธิดาองค์โตในพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส และพระราชินีแอนน์ โคลดทรงมีบรรดาศักดิ์เป็นดัชเชสแห่งบริตานีต่อจากพระราชมารดา และเป็นพระราชมารดาของพระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส ฉะนั้นจึงเป็นพระอัยกีของพระเจ้าแผ่นดินสามพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์วาลัว.

ใหม่!!: พ.ศ. 2042และโกลด สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

เพอร์คิน วอร์เบ็ค

อร์คิน วอร์เบ็ค (Perkin Warbeck) (? - (23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1499) เพอร์คิน วอร์เบ็คเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 วอร์เบ็คอ้างตนว่าเป็นริชาร์ดแห่งชรูว์สบรี ดยุคแห่งยอร์คที่ 1 (Richard of Shrewsbury, 1st Duke of York) พระราชโอรสองค์รองในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ วอร์เบ็คมาจากตระกูลเฟล็มมิงเกิดที่ตูร์เนราวปี ค.ศ. 1474 “เพอร์คิน วอร์เบ็ค” ของตำนานเดิมอ้างตนว่าเป็นลูกของข้าราชการฝรั่งเศส จอห์น เดอ แวร์เบ็คก์ และ แค็ทเธอริน เดอ ฟาโร เพราะการที่ไม่ทราบชะตากรรมของริชาร์ดแห่งชรูว์สบรีผู้ที่เป็นหนึ่งในเจ้าฟ้าสองพระองค์ทีถูกนำไปจำขังในหอคอยแห่งลอนดอน (นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าริชาร์ดเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1483) การอ้างของวอร์เบ็คจึงมีผู้เชื่ออยู่บ้างแต่จะเชื่อจริงหรือมีความต้องการแอบแฝงที่จะโค่นราชบัลลังก์ของพระเจ้าเฮนรีก็ไม่เป็นที่ทราบ นักประวัติศาสตร์กล่าวว่ากรณีของวอร์เบ็คทำให้พระเจ้าเฮนรีหมดเงินไปกว่า 13,000 ปอนด์ (ราว 6.4 ล้านปอนด์ในปี ค.ศ. 2007) ซึ่งเป็นการดึงพระราชทรัพย์จากท้องพระคลังที่มีปัญหาอยู่แล้ว.

ใหม่!!: พ.ศ. 2042และเพอร์คิน วอร์เบ็ค · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดเวิร์ด แพลนทาเจเน็ท เอิร์ลแห่งวอริคที่ 17

อ็ดเวิร์ด แพลนทาเจเน็ท เอิร์ลแห่งวอริคที่ 17 (Edward Plantagenet, 17th Earl of Warwick) (25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1475 - 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1499) เอ็ดเวิร์ดเป็นบุตรของจอร์จ แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งแคลเรนซ์ที่ 1 และอิสซาเบลลา แพลนทาเจเน็ท ดัชเชสแห่งแคลเรนซ์ และเป็นผู้อาจจะมีสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษทั้งในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 และ สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7.

ใหม่!!: พ.ศ. 2042และเอ็ดเวิร์ด แพลนทาเจเน็ท เอิร์ลแห่งวอริคที่ 17 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 1499

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »