โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 2013

ดัชนี พ.ศ. 2013

แผนที่ทวีปยุโรปเมื่อ ค.ศ. 1470 พุทธศักราช 2013 ใกล้เคียงกั.

43 ความสัมพันธ์: บาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์บานพับภาพเปรูเจียพ.ศ. 2026พ.ศ. 2041พระนางเชงสอบูพระเจ้าชาร์ลที่ 8 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษการล่าสัตว์ในป่า (อูเชลโล)การเสด็จสู่แดนผู้ตายภาพเหมือนของชายกับเหรียญโคสิโมผู้อาวุโส (บอตติเชลลี)ภาพเหมือนของชายหนุ่ม (บอตติเชลลี-พิตติ)มัททีอัส กรือเนวัลด์มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษยุทธการลูส-โคทฟิล์ดราชวงศ์ราชวงศ์ยอร์กราชวงศ์แลงคัสเตอร์รายพระนามพระมหากษัตริย์สวีเดนรายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษวิลเลียม วอลเลซสมเด็จพระราชินีนาถสังฆนายกแห่งนิชิเร็งโชชูสงครามดอกกุหลาบจอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์จักรวรรดิตูอีโตงาจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีธงชาติสวิตเซอร์แลนด์คาเมนไรเดอร์เกิลส์ตูอิฮาอะตากาเลาอาซีควินท์ประวัติศาสตร์อังกฤษประเทศจีนใน ค.ศ. 1470แอนน์ เนวิลล์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)เอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์กเจ้าชายในหอคอยเจ้าเสือหยาดฟ้าเซ็สโซและคัมปะกุเปตรึส คริสตึส15 พฤษภาคม

บาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์

ลจิตรกรรมสัญลักษณ์แฝงคติจาก “ตำนานแห่งความรัก” ของพระเจ้าเรเน (King Rene’s Livre du cueur d'amour esprit) บาเธเลมี ฟาน เอค (ภาษาอังกฤษ: Barthelemy van Eyck หรือ Barthélemy d’Eyck หรือ van Eyck หรือ d' Eyck) (ค.ศ. 1420 - ก่อน ค.ศ. 1470) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุคเนเธอร์แลนด์ตอนต้นคนสำค้ญของประเทศเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ผู้ทำงานอาจจะเป็นในบริเวณเบอร์กันดีในประเทศฝรั่งเศส บาเธเลมี แวน เอคมีความสำคัญในการเขียนภาพเขียน, จุลจิตรกรรม (Miniature) และภาพสำหรับ หนังสือวิจิตร ฟาน เอคสร้างผลงานระหว่างปี ค.ศ. 1440 ถึงปี ค.ศ. 1469 และอาจจะเป็นญาติกับ ยาน ฟาน เอค แม้ว่างานที่เหลืออยู่จะไม่สามารถบอกได้แน่นอนว่าเป็นงานของบาเธเลมี ฟาน เอค แต่นักประพันธ์ร่วมสมัยกล่าวว่าฟาน เอคเป็นศิลปินผู้มีชื่อเสียงของสมัยนั้น และมักจะยอมรับว่างานชิ้นสำคัญๆ เป็นงานของฟาน เอค โดยเฉพาะเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นคนคนเดียวกับผู้ที่รู้จักกันในนามว่า “ครูบาแห่งการประกาศของเทพแห่งเอ็กซ์” (Master of the Aix Annunciation) ในฐานะเป็นผู้วาดบานพับภาพ และ “ครูบาแห่งเรเนแห่งอองชู” (Master of René of Anjou) ผู้วาดภาพสำหรับหนังสือวิจิตร นอกจากนั้นก็ยังเชื่อกันว่าฟาน เอคคือ “ครูบาแห่งแสงเงา” ซึ่งเป็นผู้วาดภาพบางภาพใน “หนังสือประจำชั่วโมงดยุคแห่งแบร์รี” (Très Riches Heures du Duc de Berry).

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และบาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์ · ดูเพิ่มเติม »

บานพับภาพเปรูเจีย

นพับภาพเปรูเจีย หรือ บานพับภาพของนักบุญแอนโทนี (ภาษาอังกฤษ: Polyptych of Perugia หรือ Polyptych of St. Anthony) เป็นบานพับภาพที่เขียนโดยเปียโร เดลลา ฟรานเชสกาจิตรกรสมัยสมัยเรอเนซองส์ชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งอุมเบรีย, เปรูเจียในประเทศอิตาลี “บานพับภาพเปรูเจีย” เป็นงานที่เขียนเสร็จในปี ค.ศ. 1470 เดิมเขียนสำหรับสำนักสงฆ์ซานอันโตนิโอ ดา ปาโดวาในเปรูเจีย อาจจะเป็นปีหลังจากที่เปียโรกลับมาจากโรม เป็นภาพพระแม่มารีและพระบุตรบนบัลลังก์ขนาบด้วยนักบุญสองข้าง ทางซ้ายเป็น นักบุญแอนโทนีแห่งปาดัวและนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ ทางขวาเป็น นักบุญฟรานซิสแห่งอาซิซิและนักบุญเอลิซาเบธแห่งฮังการี เหนือภาพหลักเป็นภาพการประกาศของเท.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และบานพับภาพเปรูเจีย · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2026

ทธศักราช 2026 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และพ.ศ. 2026 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2041

ทธศักราช 2041 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และพ.ศ. 2041 · ดูเพิ่มเติม »

พระนางเชงสอบู

ระนางเชงสอบู (ရှင်စောပု,; သေဝ်စါဝ်ပေါအ်; อักษรโรมัน: Shin Sawbu; ในราชาธิราชฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ถอดเสียงเป็น แสจาโป) หรือ พระนางพระยาท้าว, ตละเจ้าปุ, พระนางพญาท้าว, ตละเจ้าท้าว และ นางพระยาตละเจ้าท้าว (ဗညားထောဝ်; อักษรโรมัน: Binnya Thau) เป็นกษัตริย์หญิงแห่งอาณาจักรมอญเพียงพระองค์เดียวที่ปกครองชาวมอญเป็นเวลา 17 ปี (พ.ศ. 1996 - 2013) และถือเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์ฟ้ารั่วองค์สุดท้ายที่ปกครองอาณาจักรมอญ พระองค์เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าราชาธิราช หลังจากพระเจ้าราชาธิราชเสด็จสวรรคต ได้มีกษัตริย์สืบต่อมาอีกหลายพระองค์จนสิ้นรัชทายาทที่เป็นบุรุษ จึงได้ยกพระนางขึ้นปกครองแทน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และพระนางเชงสอบู · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาร์ลที่ 8 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส (Charles VIII of France หรือรู้จักกันในภาษาCharles VIII l'Affable) (30 มิถุนายน ค.ศ. 1470 - 7 เมษายน ค.ศ. 1498) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์วาลัวส์ ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1483 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1498 รัชสมัยของพระองค์เป็นรัชสมัยของการรณรงค์ในสงครามอิตาลีซึ่งเป็นสงครามใหญ่ของต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1470 ที่วังอังบัวส์ในประเทศฝรั่งเศส พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์เดียวที่รอดมาได้ในพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศส และ พระราชินีชาร์ล็อตต์ พระเจ้าชาร์ลส์เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาเมื่อพระชนมายุได้ 13 พระสุขภาพพลานามัยของพระองค์ไม่สมบูรณ์นักและทรงได้รับการบรรยายว่าไม่มีพระลักษณะนิสัยที่เหมาะสมกับการปกครองแผ่นดิน ระหว่างที่ยังทรงพระเยาว์หน้าที่การเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ตกไปเป็นของพระเชษฐภคินีแอนน์แห่งฝรั่งเศส ดัชเชสแห่งบูร์บองผู้ทรงเป็นสตรีผู้มีความเฉลียวฉลาดและความสามารถที่ทรงได้รับการบรรยายโดยพระราชบิดาว่าทรงเป็น “ผู้ที่บ้าน้อยที่สุดในฝรั่งเศส” แอนน์แห่งฝรั่งเศสและสามีปิแยร์ที่ 2 ดยุคแห่งบูร์บองทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์จนปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และพระเจ้าชาร์ลที่ 8 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ (Edward IV of England) (28 เมษายน ค.ศ. 1442 – 9 เมษายน ค.ศ. 1483) เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและลอร์ดแห่งไอร์แลนด์ในราชวงศ์ยอร์ก พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1442 – 9 เมษายน ที่รูออง ในประเทศฝรั่งเศส เป็นบุตรคนที่ 2 ของริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์กและเซซิลี เนวิลล์ ดัชเชสแห่งยอร์ก ได้อภิเษกกสมรสกับเอลิซาเบธ วูดวิลล์ และครองราชย์ครั้งแรกระหว่างวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1461 – 2 ตุลาคม ค.ศ. 1470 และอีกครั้งหนึ่งระหว่างวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1471 จนสวรรคตเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1483 ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ในประเทศอังกฤษ พระบรมศพอยู่ที่เซนต์จอร์จส์แชเปิล ใน พระราชวังวินด์เซอร.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษ (Edward V of England) (4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1470– ราว ค.ศ. 1483) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ยอร์คของราชอาณาจักรอังกฤษ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ (Henry VI of England) (6 ธันวาคม ค.ศ. 1421 – 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1471) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์แลงคาสเตอร์ของราชอาณาจักรอังกฤษและฝรั่งเศส สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม..

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

การล่าสัตว์ในป่า (อูเชลโล)

การล่าสัตว์ในป่า หรือ การล่าสัตว์ยามค่ำ หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า การล่าสัตว์ (The Hunt in the Forest หรือ The Hunt by Night หรือ The Hunt) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยเพาโล อูเชลโลจิตรกรคนสำคัญชาวอิตาลีของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แอชโมเลียน, อ๊อกซฟอร์ดในสหราชอาณาจักร ภาพ “การล่าสัตว์ในป่า” ที่เขียนโดยเพาโล อูเชลโลราวปี ค.ศ. 1470 เป็นภาพแรกๆ ที่เริ่มการใช้การเขียนแบบทัศนมิติของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่เนื้อหาเป็นภาพของผู้ล่าสัตว์, ม้า, สุนัข และ กวาง ที่ค่อยกลืนหายเข้าไปในความมืดของป่าที่ไกลออกไป ภาพนี้เป็นภาพสุดท้ายเท่าที่ทราบที่เขียนโดยอูเชลโลก่อนที่จะมาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1475.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และการล่าสัตว์ในป่า (อูเชลโล) · ดูเพิ่มเติม »

การเสด็จสู่แดนผู้ตาย

การเสด็จสู่แดนผู้ตาย (Descensus Christi ad Inferos, Harrowing of Hell) เป็นหลักความเชื่อหนึ่งในเทววิทยาคริสเตียนตามหลักข้อเชื่อของอัครทูตและหลักข้อเชื่ออะทาเนเซียนที่กล่าวว่า “พระเยซูเสด็จสู่แดนผู้ตาย” ซึ่งเป็นนรกภูมิแบบหนึ่งตามความเชื่อของชาวยิว แต่เพราะความที่ขาดการอ้างอิงที่ชัดแจ้งในบทบันทึกทางศาสนาทำให้ความเชื่อนี้ยังยังคงเป็นที่ถกเถียงและตีความแตกต่างกันอยู.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และการเสด็จสู่แดนผู้ตาย · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนของชายกับเหรียญโคสิโมผู้อาวุโส (บอตติเชลลี)

หมือนของชายกับเหรียญโคสิโมผู้อาวุโส (ภาษาอังกฤษ: Portrait of a Man with a Medal of Cosimo the Elder) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิที่ฟลอเร็นซ์ในประเทศอิตาลี ซานโดร บอตติเชลลีเขียนภาพ “ภาพเหมือนของชายกับเหรียญโคสิโมผู้อาวุโส” ระหว่างปี ค.ศ. 1474 ถึงปี ค.ศ. 1475 เมื่อบอตติเชลลีเขียนภาพเสร็จก็จะเห็นอิทธิพลของอันโตนิโอ พอลลาอูโล (Antonio Pollaiuolo) ได้อย่างชัดเจนและในการใช้ความอ่อนไหวของเส้นที่ทำให้เห็นความกระวนกระวายของความรู้สึกที่ออกมาจากภาพ ชายที่เป็นแบบไม่ทราบกันว่าเป็นใครแต่เป็นภาพเหมือนที่ไม่เหมือนภาพเหมือนใดในสมัยต้นเรอเนซองส์ ผู้นั่งแบบมองตรงมายังผู้ชมภาพในมือถือเหรียญที่เป็นภาพด้านข้างของโคสิโม เดอ เมดิชิผู้ที่เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1464 บอตติเชลลีทำตัวเหรียญด้วยพลาสเตอร์หล่อปิดทอง ภาพเหมือนเป็นภาพครึ่งตัวที่ฉากหลังเป็นภูมิทัศน์กว้างไกลที่เห็นแม่น้ำอยู่ลิบๆ ที่สว่างซึ่งเป็นลักษณะการเขียนแบบเฟล็มมิช ศีรษะของตัวแบบอยู่เหนือขอบฟ้าโดยมีแสงส่องจากทางด้านซ้ายของภาพทำให้เน้นใบหน้าที่คมคาย เงาเข้มทางด้านข้างของใบหน้าอยู่ใกล้กับผู้ชมภาพ ฝีมือวาดมือที่ไม่ค่อยดีนักแสดงให้เห็นว่ายังเป็นการทดลองเขียนและเป็นภาพเหมือนภาพแรกๆ ของภาพเหมือนที่เขียนในอิตาลีที่รวมการวาดมือในภาพด้วย เหรียญที่ระลึกของโคสิโมสร้างระหว่างปี ค.ศ. 1465 ถึงปี ค.ศ. 1470 ซึ่งทำให้เกิดการสันนิษฐานกันไปต่างๆ ว่าผู้นั่งเป็นแบบเป็นใครแต่ก็ยังสรุปไม่ได้ว่าจะเป็นญาติสนิทหรือผู้สนับสนุนตระกูลเมดิชิ (ภาพเป็นของงานสะสมชิ้นหนึ่งของคาร์ดินัลคาร์โล เดอ เมดิชิ) หรืออาจจะเป็นน้องชายของบอตติเชลลีผู้เป็นช่างทองและช่างทำเหรียญของตระกูลเมดิชิก็ได้ นักวิชาการบางคนเสนอว่าอาจจะเป็นบอตติเชลลีเองเพราะใบหน้าแบบคล้ายคลึงกับภาพเหมือนตนเองในภาพ “การประสูติของพระเยซู” ที่บาซิลิกาซานตามาเรียโนเวลลาที่ฟลอเรนซ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และภาพเหมือนของชายกับเหรียญโคสิโมผู้อาวุโส (บอตติเชลลี) · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนของชายหนุ่ม (บอตติเชลลี-พิตติ)

หมือนของชายหนุ่ม (Portrait of Young Man) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่วังพิตติที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ภาพ “ภาพเหมือนของชายหนุ่ม” ที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีราวระหว่างปี ค.ศ. 1470 ถึงปี ค.ศ. 1475 เป็นภาพที่เดิมมีการถกเถียงกันว่าผู้ใดเป็นผู้เขียนอยู่เป็นเวลานานจนในที่สุดจึงตกลงกันว่าเป็นงานเขียนของบอตติเชลลี ซึ่งเป็นภาพเหมือนภาพแรกของท่าสามส่วนสี่ของศิลปะตะวันตก.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และภาพเหมือนของชายหนุ่ม (บอตติเชลลี-พิตติ) · ดูเพิ่มเติม »

มัททีอัส กรือเนวัลด์

ยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร สันนิษฐานกันมานานว่าเป็นภาพเหมือนตนเองของมัททีอัส กรือเนวัลด์ มัททีอัส กรือเนวัลด์ (Matthias Grünewald หรือ Mathis หรือ Gothart หรือ Neithardt) ราว ค.ศ. 1470 - 31 สิงหาคม ค.ศ. 1528 เป็นจิตรกรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญของประเทศเยอรมนีของคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพเกี่ยวกับคริสต์ศาสนาผู้ละทิ้งการเขียนภาพเรอเนซองส์แบบคลาสสิกไปเป็นการเขียนที่มีการแสดงออกของศิลปะในช่วงปลายสมัยกลางของยุโรปกลาง เป็นไปได้ว่ากรือเนวัลด์ดำเนินงานเขียนภายที่ห้องเขียนภาพในอาชัฟเฟินบูร์กเมื่อปล..

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และมัททีอัส กรือเนวัลด์ · ดูเพิ่มเติม »

มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

มาร์กาเร็ตแห่งอองชู สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ (อังกฤษ: Margaret of Anjou) (23 มีนาคม ค.ศ. 1430 – 25 สิงหาคม ค.ศ. 1482) มาร์กาเร็ตแห่งอองชูประสูติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1430 ที่ปองต์-อา-มูซองในแคว้นลอร์แรนในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระธิดาของ เรอเนแห่งอองชู และ อิสซาเบลลาดัชเชสแห่งลอร์แรน (Isabella, Duchess of Lorraine) มาร์กาเร็ตแห่งอองชูทรงเสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ และทรงได้รับการราชาภิเษกเป็นพระราชินีเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1445 ทรงดำรงพระราชอิศริยยศเป็นพระราชินีระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1445 ถึงวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1461 และอีกครั้งหนึ่งระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1470 ถึงวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1471 มาร์กาเร็ตแห่งอองชูสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1482 ที่อองชูในประเทศฝรั่งเศส มาร์กาเร็ตทรงเป็นผู้นำกองทัพของแลงคาสเตอร์ในสงครามดอกกุหลาบหลายครั้ง; และเพราะการที่พระสวามีมีพระอาการเหมือนคนเสียสติเป็นพัก ๆ มาร์กาเร็ตจึงแทบจะกลายเป็นผู้ปกครองราชอาณาจักรในนามของพระสวามี ในเดือนพฤษภารมปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการลูส-โคทฟิล์ด

ทธการลูส-โคทฟิล์ด (Battle of Losecoat Field) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1470 ใกล้เอ็มพิงแงมในรัทแลนด์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยโรเบิร์ต เวลล์ส บารอนวิลเลอบีเดอเอเรสบีที่ 8 และฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ ผลของยุทธการครั้งนี้ยอร์คเป็นฝ่ายได้รับชัยชน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และยุทธการลูส-โคทฟิล์ด · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์

ราชวงศ์ (Dynasty) คือ ลำดับของผู้ปกครองจากตระกูลเดียวกันOxford English Dictionary, "dynasty, n." Oxford University Press (Oxford), 1897.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และราชวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ยอร์ก

อกกุหลาบขาว สัญลักษณ์ราชวงศ์ยอร์คWarsoftheroses.com, Wars of the Roses - http://www.warsoftheroses.com/york.cfmhttp://www.warsoftheroses.com/york.cfm ราชวงศ์ยอร์ค (House of York) เป็นสาขาหนึ่งของ ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท ของ อังกฤษ ราชวงศ์ยอร์คเป็นฝ่ายตรงข้ามของ ราชวงศ์แลงคาสเตอร์ ใน สงครามดอกกุหลาบ ซึ่งเป็น สงครามกลางเมือง ในการแย่ง ราชบัลลังก์อังกฤษ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อ ราชอาณาจักรอังกฤษ และ ราชอาณาจักรเวลส์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชื่อของราชวงศ์ตั้งตามชื่อ เอ็ดมันด์ แลงลีย์ พระราชโอรสองค์ที่สี่ใน พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ผู้มีตำแหน่งเป็นดยุคแห่งยอร์ค สัญลักษณ์ของราชวงศ์แลงคาสเตอร์คือดอกกุหลาบขาวแห่งยอร์ค พระเจ้าเฮนรีที่ 7 ทรงยุติการแย่งราชบัลลังก์ใน สงครามดอกกุหลาบ ระหว่างราชวงศ์แลงคาสเตอร์กับราชวงศ์ยอร์คโดยการเสกสมรสกับ เอลิซาเบธ แห่งยอร์ค พระราชธิดาของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และตั้งราชวงศ์ใหม่ที่เรียกว่า “ราชวงศ์ทิวดอร์” กษัตริย์ราชวงศ์ยอร์ค ของอังกฤษ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และราชวงศ์ยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์แลงคัสเตอร์

'''ราชวงศ์แลงคัสเตอร์'''Warsoftheroses.com, Wars of the Roses - House of Lancasterhttp://www.warsoftheroses.com/lancaster.cfm ราชวงศ์แลงคัสเตอร์ (House of Lancaster) เป็นสาขาหนึ่งของราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทของอังกฤษ ราชวงศ์แลงคัสเตอร์เป็นฝ่ายหนึ่งในสงครามดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นสงครามกลางเมืองในการแย่งราชบัลลังก์อังกฤษ และมีผลกระทบกระเทือนต่อราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรเวลส์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชื่อของราชวงศ์ตั้งตามชื่อจอห์นแห่งกอนท์ พระราชโอรสของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ผู้มีตำแหน่งเป็นดยุคแห่งแลงคัสเตอร์ สัญลักษณ์ของราชวงศ์แลงคัสเตอร์คือ ดอกกุหลาบแดงแห่งแลงคัสเตอร์ ศัตรูของราชวงศ์แลงคัสเตอร์คือราชวงศ์ยอร์ค ความเป็นคู่แข่งระหว่างแลงคัสเตอร์กับยอร์ค ซึ่งกลายมาเป็นมลฑลสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ แต่อย่างไม่เป็นทางการ เช่น การแข่งกีฬาประจำปีระหว่างสองมหาวิทยาลัยแลงคัสเตอร์ และ มหาวิทยาลัยยอร์ค ที่เรียกว่า “การแข่งขันกีฬาดอกกุหลาบ” (Roses Tournament) ราชวงศ์แลงคัสเตอร์มาสิ้นสุดลงในศึกทูคสบรี (Battle of Tewkesbury) ในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และราชวงศ์แลงคัสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์สวีเดน

ตราแห่งสวีเดน พระมหากษัตริย์สวีเดน (Monarki i Sverige) เป็นประมุขของราชอาณาจักรสวีเดนมายาวนาน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันประเทศสวีเดนมีการปกครองเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและองค์กษัตริย์เองมิได้มีพระราชอำนาจทางการเมือง กระนั้นก็ยังทรงเป็นสถาบันสูงสุดรวมถึงได้รับความเคารพจากสังคมของราชอาณาจักรสวีเดนมาโดยตลอด ในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และรายพระนามพระมหากษัตริย์สวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ

ต่อไปนี้คือรายพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และประเทศในเครือจักรภพ สำหรับรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะซึ่งประกอบกันเป็นสหราชอาณาจักรปัจจุบันดู รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษและรายพระนามพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และรายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษ

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม วอลเลซ

ซอร์ วิลเลียม วอลเลซ (William Wallace; Uilleam Uallas; Norman French: William le Waleys) (ประมาณ พ.ศ. 1813 - 23 สิงหาคม พ.ศ. 1848) เป็นอัศวินและผู้รักชาติชาวสก็อต ผู้นำการต่อต้านการครอบครองสกอตแลนด์โดยอังกฤษระหว่างสงครามอิสรภาพของสกอตแลนด์ เซอร์ วิลเลียม วอลเลซได้รับการยกย่องเป็นวีรบุรุษในประวัติศาสตร์ของสก็อตแลนด์ เซอร์ วิลเลียม วอลเลซ เป็นแรงดลใจในงานกวีนิพนธ์ชื่อ "The Acts and Deeds of Sir William Wallace, Knight of Elderslie" โดยนักดนตรีเร่รอนในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชื่อ "แฮรี่ผู้ตาบอด" (Blind Harry) ซึ่งภาพยนตร์ฮอลลีวูดเรื่อง Braveheart..

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และวิลเลียม วอลเลซ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถ

มเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์ในระบอบราชาธิปไตยแบบรัฐสภา สมเด็จพระราชินีนาถ (Queen Regnant) คือ พระมหากษัตริย์หญิงผู้ครองราชสมบัติด้วยสิทธิ์ของพระองค์เอง ต่างจาก "สมเด็จพระราชินี" (Queen Consort) ซึ่งเป็นพระมเหสีในพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัติ และไม่ทรงมีอำนาจในการบริหารราชกิจของบ้านเมืองอย่างเป็นทางการใด ๆ โดยหลักการแล้ว พระมหากษัตริย์มีทั้ง "สมเด็จพระราชาธิบดี" (King Regnant) และ "พระมหากษัตริย์พระราชสวามี" (King Consort) แต่เกิดขึ้นได้ยาก และมีการใช้พระอิสริยยศเพียงสองครั้งในประวัติศาสตร์ราชวงศ์อังกฤษ ระบอบราชาธิปไตยในปัจจุบันที่ให้สมเด็จพระราชินีนาถทรงครองราชบัลลังก์ พระสวามีของพระองค์จะไม่ได้มีพระอิสริยยศเป็นพระราชา แต่เป็นเพียงแค่ชั้นเจ้าชายเท่านั้น พระราชสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ และพระสวามีคนที่สองของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสก็อตแลนด์ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชสวามีในอาณาจักรของพระองค์เอง แต่ไม่เป็นที่ชื่นชอบของพสกนิกรและการอภิเษกสมรสกินเวลาเพียงไม่นาน พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ และพระราชินีนาถแห่งชาวสก็อต ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี พระมหากษัตริย์ที่ปกครองร่วมกันเป็น พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ ที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ และที่ 1 แห่งไอร์แลนด์ แต่ถือเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองร่วมกันครั้งเดียว และเป็นทางการที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ แต่หลังจากนั้นมา พระสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถในประเทศอังกฤษได้รับการสถาปนาเป็น "เจ้าชายพระราชสวามี" (Prince Consort) (มีเพียงคนเดียวที่ได้รับการแต่งตั้งพระอิสริยยศนี้อย่างเป็นทางการคือ เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย) การเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระราชินีนาถจะเกิดขึ้นเมื่อลำดับการสืบราชบัลลังก์เอื้ออำนวย วิธีการสืบราชสมบัติ (เป็นพระมหากษัตริย์ หัวหน้าเผ่า ฯลฯ) และรวมถึงการแต่งตั้ง (พระมหากษัตริย์ในรัฐสภา หรือ คณะมนตรีแต่งตั้งรัชทายาท) การให้สิทธิพระโอรสธิดาตามลำดับการประสูติก่อนที่สุด (primogeniture) การให้สิทธิพระโอรสธิดาตามลำดับการประสูติหลังที่สุด (ultimogeniture) ขอบเขตในการสืบราชสมบัติอาจยึดจากสายทางพระชนก สายทางพระชนนีหรือทั้งสองฝ่าย หรือที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น (เมื่อถึงคราวจำเป็น) มาจากการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิในการสืบราชสมบัติโดยตามเพศ อาจจะให้ทั้งชายและหญิง จำกัดแต่เพศชายเท่านั้น หรือจำกัดแต่เพศหญิงเท่านั้น การสืบราชบัลลังก์ที่เป็นแบบแผนมากที่สุดตั้งแต่สมัยกลางตอนปลายตลอดจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นแบบการให้สิทธิพระราชโอรสก่อนพระราชธิดา (male-preference primogeniture) กล่าวคือ ลำดับการสืบราชบัลลังก์อยู่ในบรรดาพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ตามลำดับการประสูติก่อนแล้วจึงตามมาด้วยของพระราชธิดา ในบางอาณาจักรทางประวัติศาสตร์ห้ามมิให้มีการสืบราชสมบัติโดยผู้หญิงหรือผ่านทางเชื้อสายของผู้หญิง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางแห่งที่ยังคงยึดถือหลักเกณฑ์นี้ตามกฎหมายแซลิก ดังตัวอย่างเช่น สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนเธอร์แลนด์เป็นแกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก แต่เมื่อกษัตริย์ดัตช์พระองค์สุดท้ายเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2433 และสืบราชบัลลังก์ต่อมาโดยพระราชธิดา กฎหมายแซลิกจึงไม่ยอมให้ลักเซมเบิร์กยอมรับพระองค์ในฐานะเป็นแกรนด์ดัชเชสผู้ปกครองตามพระราชสิทธิของพระองค์เอง เช่นเดียวกับตอนที่ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ พระองค์ไม่ได้เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งแฮโนเวอร์ด้วย ถึงแม้ว่าสมเด็จพระปิตุลาธิราชของพระองค์ทรงเคยเป็นกษัตริย์ของทั้งสองประเทศมาก่อน ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประเทศสวีเดน นอร์เวย์ เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ได้แก้ไขพระราชบัญญัติการสืบราชบัลลังก์จากการให้สิทธิพระราชโอรสก่อนพระราชธิดามาเป็นมีสิทธิสืบราชสมบัติเท่ากันตามลำดับการประสูติโดยไม่จำกัดเรื่องเพศ ในบางกรณี การเปลี่ยนแปลงอาจยังไม่ส่งผลอะไรมากมายจนกว่ารุ่นต่อจากรุ่นปัจจุบันเกิดขึ้นมา เพื่อหลีกเลี่ยงการยึดตำแหน่งของบุคคลที่อยู่ในลำดับการสืบราชบัลลังก์มาก่อน โดยเฉพาะในพระอิสริยยศพิเศษ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และสมเด็จพระราชินีนาถ · ดูเพิ่มเติม »

สังฆนายกแห่งนิชิเร็งโชชู

ระนิชิเนียว โชนิง สังฆนายกรูปปัจจุบันแห่งนิชิเรนโชชู ในนิกายนิชิเร็งโชชู สังฆนายก เป็นตำแหน่งของผู้นำและประมุขสุงสุดของนิกาย ซึ่งมีสานุศิษย์อยู่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย มีผู้นับถือส่วนมากในประเทศ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน กานา มาเลเซีย บราซิล ศรีลังกา และประเทศไทย สังฆนายกรูปปัจจุบันคือ พระนิชิเนียว โชนิง สังฆนายกรูปที่ 68.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และสังฆนายกแห่งนิชิเร็งโชชู · ดูเพิ่มเติม »

สงครามดอกกุหลาบ

ที่ตั้งสำคัญในสงครามดอกกุหลาบ สงครามดอกกุหลาบ (Wars of the Roses) เป็นชุดสงครามราชวงศ์ที่ผู้สนับสนุนราชวงศ์แพลนแทเจเนตสองสายที่เป็นคู่แข่งชิงราชบัลลังก์อังกฤษกัน ได้แก่ ราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์ก (ซึ่งสัญลักษณ์ตราประจำตระกูล คือ ดอกกุหลาบสีแดงและสีขาวตามลำดับ) ทั้งสองฝ่ายรบกันเป็นช่วงห่าง ๆ กันระหว่างปี 1455 ถึง 1485 แม้จะมีการสู้รบที่เกี่ยวข้องอีกทั้งก่อนหน้าและหลังช่วงนี้ สงครามดังกล่าวเป็นผลจากปัญหาทางสังคมและการเงินหลังสงครามร้อยปี ชัยชนะบั้นปลายเป็นของผู้เรียกร้องเชื้อสายแลงแคสเตอร์ค่อนข้างห่าง เฮนรี ทิวดอร์ ผู้กำราบพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ยอร์ก และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมสองราชวงศ์ หลังจากนั้น ราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษและเวลส์เป็นเวลา 117 ปี เฮนรีแห่งโบลิงโบรกทรงก่อตั้งราชวงศ์แลงแคสเตอร์ขณะทรงราชย์ในปี 1399 เมื่อทรงถอดพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 พระภราดร (ลูกพี่ลูกน้อง) จากราชสมบัติ พระราชโอรส พระเจ้าเฮนรีที่ 5 ยังทรงรักษาการอยู่ในราชสมบัติของตระกูลไว้ได้ แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี 1422 พระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทายาทของพระองค์ เป็นทารก การอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของราชวงศ์แลงแคสเตอร์สืบมาจากจอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์ พระราชโอรสที่ยังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สามในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 สิทธิในราชบัลลังก์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ถูกริชาร์ด ดยุคแห่งยอร์คคัดค้าน ผู้สามารถอ้างว่าสืบเชื้อสายจากไลโอเนลแห่งแอนต์เวิร์ป และเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์กพระราชโอรสที่ยังมียังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สองและสี่ในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ริชาร์ดแห่งยอร์ค ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญของรัฐหลายตำแหน่ง ทะเลาะกับราชวงศ์แลงแคสเตอร์สำคัญ ๆ ในราชสำนักและกับมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู พระมเหสีในพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แม้เคยเกิดการปะทะกันด้วยอาวุธระหว่างผู้สนับสนุนราชวงศ์ยอร์กและแลงแคสเตอร์มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่การสู้รบเปิดเผยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1455 ที่ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 1 ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คนที่โดดเด่นหลายคนเสียชีวิต แต่ทายาทที่เหลือยังพยาบาทกับริชาร์ด แม้จะมีการฟื้นฟูสันติภาพชั่วคราว มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู ดลให้ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คัดค้านอิทธิพลของเอิร์ลแห่งยอร์ค การสู้รบดำเนินต่ออย่างรุนแรงขึ้นในปี 1459 เอิร์ลแห่งยอร์คและผู้สนับสนุนของพระองค์ถูกบีบให้หนีออกนอกประเทศ แต่ผู้สนับสนุนที่โดดเด่นที่สุดของพระองค์คนหนึ่ง เอิร์ลแห่งวอริก บุกครองอังกฤษจากกาเลและสามารถจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้ที่ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน เอิร์ลแห่งยอร์คเสด็จกลับประเทศและเป็นผู้พิทักษ์อังกฤษ (Protector of England) แต่ทรงถูกปรามมิให้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ มาร์กาเร็ตและอภิชนแลงแคสเตอร์ผู้ไม่ยอมปรองดองประชุมกำลังทางเหนือของอังกฤษ และเมื่อเอิร์ลแห่งยอร์คเคลื่อนทัพขึ้นเหนือไปปราบ พระองค์กับเอ็ดเวิร์ด พระราชโอรสพระองค์ที่สอง ถูกปลงพระชนม์ทั้งคู่ที่ยุทธการเวคฟีลด์ในเดือนธันวาคม 1460 กองทัพแลงแคสเตอร์รุกลงใต้และจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้อีกในยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 2 แต่ไม่สามารถยึดครองกรุงลอนดอนไว้ได้ และถอยกลับไปทางเหนือในเวลาต่อมา พระราชโอรสองค์โตของเอิร์ลแห่งยอร์ค เอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งมาร์ช ได้รับการประกาศเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 พระองค์ระดมกองทัพราชวงศ์ยอร์คและได้ชัยเด็ดขาดที่ยุทธการที่โทว์ทันเมื่อเดือนมีนาคม 1461 หลังการลุกขึ้นต่อต้านของแลงแคสเตอร์ทางเหนือถูกกำราบในปี 1464 และพระเจ้าเฮนรีถูกจับเป็นเชลยอีกครั้ง พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทะเลาะกับเอิร์ลแห่งวอริก สมญา "ผู้สร้างกษัตริย์" (Kingmaker) ผู้สนับสนุนและที่ปรึกษาหลักของพระองค์ และยังแตกแยกกับพระสหายหลายคน และกระทั่งพระบรมวงศานุวงศ์ โดยทรงสนับสนุนตระกูลของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ซึ่งมีอำนาจขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งพระองค์ทรงอภิเษกสมรสด้วยอย่างลับ ๆ ทีแรก เอิร์ลแห่งวอริกพยายามยกน้องชาย จอร์จ ดยุกแห่งแคลเรนซ์ เป็นพระมหากษัตริย์ แล้วจึงฟื้นฟูพระเจ้าเฮนรีที่ 6 กลับสู่ราชสมบัติ จากนั้นสองปี พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ทรงได้รับชัยชนะสมบูรณ์อีกครั้งที่บาร์เนต (เมษายน 1471) ที่ซึ่งเอิร์ลแห่งวอริกถูกสังหาร และทูกสบรี (พฤษภาคม 1471) ที่ซึ่งเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ ทายาทแลงแคสเตอร์ ถูกประหารชีวิตหลังยุทธการ พระเจ้าเฮนรีถูกปลงพระชนม์ในหอคอยลอนดอนหลายวันจากนั้น ยุติลำดับการสืบราชสันตติวงศ์โดยตรงของแลงแคสเตอร์ จากนั้น บ้านเมืองค่อนข้างสงบอยู่พักหนึ่ง จนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตกะทันหันในปี 1483 ริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์ พระอนุชาที่ยังมีพระชนมชีพของพระองค์ ทีแรกเคลื่อนไหวเพื่อกันมิให้ตระกูลวูดวิลล์ที่ไม่เป็นที่นิยมของพระมเหสีหม้ายของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเข้าร่วมในรัฐบาลระหว่างที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 พระราชโอรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ยังทรงพระเยาว์ จึงยึดราชบัลลังก์เป็นของตน โดยอ้างว่า การสมรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เฮนรี ทิวดอร์ พระญาติห่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์แลงแคสเตอร์ผู้รับสืบทอดการอ้างสิทธิ์มาด้วย ชนะพระเจ้าริชาร์ดที่บอสเวิร์ธฟิลด์ในปี 1485 พระองค์ราชาภิเษกเป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมและประสานราชวงศ์ทั้งสอง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์

อห์นแห่งกอนท์ ดยุคแห่งแลงคาสเตอร์ที่ 1 (John of Gaunt, 1st Duke of Lancaster) (6 มีนาคม ค.ศ. 1340 - 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1399) จอห์นแห่งกอนท์เป็นสมาชิกในราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทเป็นพระโอรสองค์ที่สามของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษและพระราชินีฟิลลิปปา และเป็นพี่ชายของเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุคแห่งยอร์คที่ 1ผู้เป็นต้นราชสกุลยอร์ค ชื่อ “ก้อนท์” มาจากชื่อเมืองที่เกิด “เก้นท์” ในประเทศเบลเยียมปัจจุบัน ที่เรียกว่า “กอนท์” ในภาษาอังกฤษ จอห์นแห่งกอนท์มีฐานะร่ำรวยพอที่จะสนับสนุนการปกครองโดยเสียงส่วนน้อยของหลานพระเจ้าริชาร์ดที่ 2และต่อมาเมื่อมีเหตุการณ์คับขันในอังกฤษ จอห์นแห่งกอนท์เป็นต้นราชสกุลแลงคาสเตอร์ ผู้สิบเชื้อสายจากจอห์นแห่งกอนท์รวมทั้ง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และจอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิตูอีโตงา

ักรวรรดิตูอีโตงา เป็นจักรวรรดิหนึ่งที่มีอำนาจยิ่งใหญ่มากในเขตโอเชียเนีย โดยจักรวรรดินี้ก่อตั้งขึ้นราวปี ค.ศ. 950 โดยพระเจ้าอะโฮเออิตู แต่เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 - 15 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยของจักรพรรดิโมโมและจักรพรรดิตูอิตาตูอิ ซึ่งสามารถขบายอำนาจได้ตั้งแต่ นีอูเอ ถึงติโกเปีย จักรวรรดินี้เคยขยายอาณาเขตได้ไกลที่สุดถึงรัฐแยปของไมโครนีเซีย มีเมืองหลวงสำคัญของจักรวรรดิที่มูอา ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะโตงาตาปู โดยมีพระมหากษัตริย์ปกครองมาจาก 3 ราชวงศ์ และตั้งแต่คริสศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา จักรวรรดิตูอีโตงามีราชวงศ์ปกครองจักรวรรดิพร้อมกันถึง 3 ราชวงศ์ในเวลาเดียวกัน ในปัจจุบันนักวิจัยได้พยายามค้นคว้าถึงบทบาทของจักรวรรดิในการค้าทางทะเล รวมไปถึงอิทธิพลของจักรวรรดิในบริเวณต่างๆ แต่ยังคงขาดหลักฐานเชิงประจักษ์"The Pacific Islands: An Encyclopedia," edited by Lal and Fortune, p. 133.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และจักรวรรดิตูอีโตงา · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

การแต่งงานของเวอร์จินแมรี” ภาพ “พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (Italian Renaissance painting) คือสมัยประวัติศาสตร์ของจิตรกรรมที่เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เกิดขึ้นในบริเวณของประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นแบ่งการปกครองเป็นอาณาบริเวณต่างๆ จิตรกรในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีแม้ว่าจะขึ้นอยู่กับราชสำนักหรือสำนัก หรือเมือง แต่ก็มีโอกาสได้ท่องเที่ยวอย่างกว้างไกลไปทั่วอิตาลี และมักจะได้รับฐานะเป็นทูตในการเผยแพร่อิทธิพลความคิดทั้งทางศิลปะและปรัชญา เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและโดยเฉพาะในสาขาจิตรกรรมก็คือเมืองฟลอเรนซ์ที่อ่านประกอบได้ในบทความ “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา”, ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี และ “สถาปัตยกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา” จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีแบ่งเป็นสี่สมัย.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์

งชาติสวิตเซอร์แลนด์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมจัตุรัสพื้นสีแดง กลางธงมีรูปกากบาทสีขาว โดยความยาวของกากบาทแต่ละด้านนั้นเท่ากัน นับได้ว่าเป็นธงชาติของ 1 ใน 2 ประเทศที่ใช้ธงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส (อีกธงหนึ่งคือธงชาตินครรัฐวาติกัน) ธงนี้เป็นธงที่ใช้ทั่วไปบนบก ส่วนธงเรือของสวิตเซอร์แลนด์นั้น ใช้ธงลักษณะอย่างเดียวกัน แต่เปลี่ยนสัดส่วนธงเป็นกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

คาเมนไรเดอร์เกิลส์

มนไรเดอร์ GIRLS เป็นวงไอดอลญี่ปุ่นรูปแบบแดนซ์ยูนิต จากค่าย Avex Trax จุดประสงค์ของการก่อตั้งเพื่อฉลองครบรอบ40ปี มาสค์ไรเดอร์ ซีรีส์ ในปีค.ศ. 2011 โดยแต่ละสมาชิกจะมีคาแร็คเตอร์มาจากมาสค์ไรเดอร์ของแต่ละคน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และคาเมนไรเดอร์เกิลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ตูอิฮาอะตากาเลาอา

ราชวงศ์ตูอิฮาอะตากาเลาอา (Tui Haatakalaua) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิตูอีโตงาร่วมกับราชวงศ์ตูอีโตงาและตูอิกาโนกูโปลู ราชวงศ์ตูอิฮาอะตากาเลาอาสถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าเกาอูลูโฟนูอาตูอีโตงาพระองค์ที่ 24 โดยแต่งตั้งพระอนุชาของพระองค์คือเจ้าชายโมอูงาโมตูอาขึ้นเป็นตูอิฮาอะตากาเลาอาพระองค์แรก ราชวงศ์นี้ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือตูอีโตงาบริหารราชการแผ่นดินและปกป้องตูอีโตงาจากการถูกลอบปลงพระชนม์ซึ่งเกิดขึ้นมายาวนานหลายรัชกาล อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมาราชวงศ์ตูอิฮาอะตากาเลาอาเริ่มมีบทบาททางการปกครอง โดยลดอำนาจตูอีโตงาลงและเนรเทศตูอีโตงาหลายพระองค์ไปอยู่ซามัวเพื่อสร้างฐานอำนาจของตน ในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ราชวงศ์ตูอิฮาอะตากาเลาอาได้ตั้งตำแหน่งตูอิกาโนกูโปลูเพื่อช่วยเหลือในการบริหารราชการของจักรวรรดิ โดยพระเจ้าโมอูงาโอโตงา ตูอิฮาอะตากาเลาอาพระองค์ที่ 6 แต่งตั้ง เจ้าชายงาตา พระราชโอรสองค์แรกของพระองค์อันประสูติแด่พระชายาชาวซามัวขึ้นเป็นตูอิกาโนกูโปลูพระองค์แรก ซึ่งในระยะเวลาต่อมาราชวงศ์ตูอิกาโนกูโปลูจะมีอำนาจเหนือราชวงศ์ตูอิฮาอะตากาเลาอา การสืบราชสมบัติในราชวงศ์ตูอิฮาอะตากาเลาอาจะไม่ได้สืบต่อจากพ่อสู่ลูกเหมือนกับตูอีโตงาและตูอิกาโนกูโปลู แต่สืบทอดผ่านการคัดสรรสมาชิกในราชวงศ์ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดให้ขึ้นเป็นตูอิฮาอะตากาเลาอาพระองค์ต่อไป.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และตูอิฮาอะตากาเลาอา · ดูเพิ่มเติม »

ซีควินท์

ซีควินท์ เป็นวงบอยแบนด์สัญชาติไทย ประกอบด้วยสมาชิก ฟลุค - จิระ ด่านบวรเกียรติ, เบสท์ - นัฐพล วีระอนันตวัฒน์, แบงค์ - วีระชัย ลีฬหาทร, พิชญ์ - พิชญ์ กาไชย และ โยชิ - นิมิต มนัสพล ซึ่งใช้เวลาฝึกซ้อมและทำงานก่อนที่จะออกผลงานชุดแรก 2 ปี จึงได้ผลงานชุด ซีควินท์ ในปี 2008 คำว่า ซีควินท์ (C-Quint) คือตัวอักษร C ย่อมาจากบุคลิกลักษณะของพวกเขา ฟลุค คือ Chief (ความเป็นผู้นำสูง), เบสท์ เป็น Cheer (ชอบเล่นกีฬาและมีความร่าเริงสดใส), แบงค์ คือ Chic (แฟชั่น เสื้อผ้า), พิชญ์ เป็น Cool (ใช้ชีวิตและความรอบรู้ในหลายด้าน) และโยชิ คือ Charm (คุยเก่ง ยิ้มง่าย และเข้ากับทุกคน) ส่วนคำว่า Quint มาจาก quinto ในภาษาละติน แปลว่า 5 เปิดตัวด้วยเพลงเร็วที่ชื่อ "ต่อให้โลกหยุดหมุน" จังหวะแบตเทิลบีต และต่อด้วยเพลงช้า "หน้าไม่อาย" ต่อมาในปี 2009 เบสท์ได้ประกาศลาออกจากวงซีควินท์ ทำให้ซีควินท์เหลือ 4 คน และในปีเดียวกันนั้น ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 2 มีชื่อว่า "Hybrid" มีเพลงเร็วคือ "Play Girl" และเพลงช้าอย่าง "อาการนอกใจ" และ "ฉันดีไม่พอ (ใช่ไหม)" ต่อมาปี 2012 ได้มีผลงานเพลง รวมศิลปิน Turn Me On รักไม่ยาก: 9MC YAAK ซึ่งมี (โยชิ - พิชญ์ - กราฟ - ปั้นจั่น - บิ๊ก - โด่ง - จูน - แพน - แอปเปิ้ล).

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และซีควินท์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อังกฤษ

อังกฤษ เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุด และมีประชากรมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในสหราชอาณาจักร ประวัติศาสตร์อังกฤษเริ่มขึ้นเมื่อมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เมื่อหลายพันปีมาแล้ว ภูมิภาคที่ปัจจุบันคืออังกฤษภายในสหราชอาณาจักรเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นีอันเดอร์ธอลราว 230,000 ปีมาแล้ว ขณะที่มนุษย์โฮโมเซเพียนซึ่งเป็นมนุษย์สมัยใหม่เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานราว 29,000 ปีมาแล้ว แต่การอยู่ต่อเนื่องกันโดยตลอดเริ่มขึ้นราว 11,000 ปีมาแล้วในปลายยุคน้ำแข็ง ในบริเวณภูมิภาคนี้ยังมีร่องรอยของมนุษย์สมัยต่างๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เริ่มตั้งแต่ยุคหินกลาง, ยุคหินใหม่ และ ยุคสำริด เช่น สโตนเฮนจ์ และเนินดินที่เอฟบรี ในยุคเหล็กอังกฤษก็เช่นเดียวกับบริเตนทั้งหมดทางใต้ของเฟิร์ธออฟฟอร์ธเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชนเคลต์ที่เป็นกลุ่มชนที่เรียกว่า บริเตน (Briton) หรือเผ่าเบลแจ ในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และประวัติศาสตร์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีนใน ค.ศ. 1470

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1470 ในประเทศจีน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และประเทศจีนใน ค.ศ. 1470 · ดูเพิ่มเติม »

แอนน์ เนวิลล์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

แอนน์ เนวิลล์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: Anne Neville) (11 มิถุนายน ค.ศ. 1456 – 16 มีนาคม ค.ศ. 1485) แอนน์ เนวิลล์ประสูติเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1456 ปราสาทวอริค ในราชอาณาจักรอังกฤษ ทรงเป็นธิดาของริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 และแอนน์ เนวิลล์ เคานทเตสแห่งวอริคที่ 16 แอนน์ทรงเสกสมรสครั้งแรกกับเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์ ก่อนที่จะมาเสกสมรสกับริชาร์ด ดยุคแห่งกลอสเตอร์เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1472ที่แอบบีเวสต์มินสเตอร์ มีพระราชโอรสด้วยกันพระองค์หนึ่ง--เอ็ดเวิร์ดแห่งมิดเดิลแฮม เจ้าชายแห่งเวลส์ (Edward of Middleham, Prince of Wales) แอนน์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1485 เมื่อพระชนมายุได้ 29 พรรษ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และแอนน์ เนวิลล์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)

ลน์ (LINE) เป็นโปรแกรมเมสเซนเจอร์ ที่ญี่ปุ่นซื้อมาจาก Naver Corporation ของเกาหลีhttp://www.cnbc.com/2016/07/13/japanese-messaging-app-line-will-keep-close-ties-to-korean-internet-giant-naver.html ที่มีความสามารถใช้งานได้ทั้งโทรศัพท์มือถือที่มีระบบปฏิบัติการไอโอเอส, แอนดรอยด์, วินโดวส์โฟน ล่าสุดสามารถใช้งานได้บนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และแมคโอเอสได้แล้ว ด้วยความที่มีลูกเล่นมากมาย สามารถคุย ส่งรูป ส่งไอคอน ส่งสติกเกอร์ ตั้งค่าคุยกันเป็นกลุ่ม ฯลฯ ทำให้มีผู้ใช้งานโปรแกรมนี้เป็นจำนวนมาก ชาวไทยนิยมใช้เป็นอันดับสองรองจากญี่ปุ่น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และไลน์ (โปรแกรมประยุกต์) · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์ก

ตราประจำตัวเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุคแห่งยอร์คที่ 1 เอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุคแห่งยอร์คที่ 1 (ภาษาอังกฤษ: Edmund of Langley, 1st Duke of York) (5 มิถุนายน ค.ศ. 1341 ถึง 1 สิงหาคม ค.ศ. 1402 เป็นสมาชิกในราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท เป็นพระโอรสองค์ที่ 4 รองจากจอห์นแห่งกอนท์ ดยุคแห่งแลงคาสเตอร์ที่ 1 (เป็นต้นราชสกุลแลงคาสเตอร์) ของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษและพระราชินีฟิลลิปปาแห่งเอโนลต์ ชื่อ “แลงลีย์” มาจากชื่อเมืองที่เกิด “คิงส์ แลงลีย์” ในมลฑลฮาร์ดฟอร์ดเชอร์ เมื่อเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์มีอายุได้ 21 ปีก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็น เอิร์ลแห่งเคมบริดจ์ และเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1385 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นดยุคแห่งยอร์ค เอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์เป็นต้นราชสกุลยอร์ค จนเมื่อริชาร์ดแห่งโคนิสเบิร์ก เอิร์ลแห่งเคมบริดจ์ลูกชายคนเล็กของเอ็ดมันด์แต่งงาน ผู้สนับสนุนราชสกุลยอร์ค จึงเริ่มอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ในสงครามดอกกุหลาบ ผู้สิบเชื้อสายจากเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์รวมทั้ง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายในหอคอย

“เจ้าชายสองพระองค์เอ็ดเวิร์ดและริชาร์ดในหอคอยในปี ค.ศ. 1483” โดยจอห์น เอเวอเรทท์ มิเลย์ (ค.ศ. 1878) เจ้าชายแห่งหอคอย (Princes in the Tower) คือเจ้าฟ้าสองพระองค์ -- เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด (4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1470 - ค.ศ. 1483?) และพระอนุชาริชาร์ดแห่งชรูว์สบรี ดยุคแห่งยอร์คที่ 1 (17 สิงหาคม ค.ศ. 1473 - ค.ศ. 1483?)-- ผู้เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ และ พระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ เจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์ถูกประกาศว่าเป็นพระราชโอรสนอกสมรสตามพระราชบัญญัติของรัฐสภาที่ออกในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และเจ้าชายในหอคอย · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าเสือหยาดฟ้า

้าเสือหยาดฟ้า หรือ เจ้าหลวงเสือยาดฟ้า หรือเดิมชื่อ มาชุ โกฮาอิน เป็นพระอนุชาของสุพุงเมือง ขึ้นครองราชย์สืบมา พระองค์ทรงรับพระนามฮินดูว่า "อุทัยยาทิตยะ สิงห์" และอภิเษกสมรสกับมเหสีของพระเชษฐาผู้ล่วงลับไปแล้ว ในรัชกาลของพระองค์ มีผู้คิดแผนการประทุษร้ายหลายครั้ง เมื่อตอนพระองค์สิ้นพระชนม์ครั้งหนึ่ง และอีกครั้งหนึ่งเมื่อทรงครองราชย์ใหม่ ๆ แต่แผนการนั้นถูกจับได้เสียก่อน ผู้คบคิดก่อการร้ายถูกจับได้ทั้งหมด แต่ส่วนมากได้รับพระราชทานอภัยโทษ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และเจ้าเสือหยาดฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

เซ็สโซและคัมปะกุ

งราชวงศ์สำหรับผู้สำเร็จราชการ ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เซ็สโซ เป็นยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สำหรับจักรพรรดิที่ยังทรงพระเยาว์เกินกว่าจะปกครองก่อนที่พระองค์จะเจริญพรรษาพอที่จะปกครองประเทศ เซ็สโซจะว่าราชการแทน และ คัมปะกุ เป็นตำแหน่งผู้สำเร็จราชการสำหรับจักรพรรดิที่ทรงเจริญพระชนพรรษาแล้ว โดยอ้างว่าพระจักรพรรดิทรงไม่รู้เรื่องงานบริหารประเทศ จึงต้องให้คัมปะกุ คอยช่วยบริหารจัดการ ตลอดสมัยเฮอัง อำนาจการบริหารประเทศอยู่ในสองตำแหน่งนี้ คือ เซ็สโซ และคัมปะกุตลอด 500 ปี ผูกขาดโดยคนของตระกูลฟุจิวะระ และสายย่อยของตระกูลนี้ตลอด โดยเราจะเรียกตระกูลเหล่านี้ว่า เซ็สกัง หรือตระกูลผู้สำเร็จราชการนั่นเอง ภายหลังจากสมัยเฮอังอำนาจอยู่ในมือของรัฐบาลทหาร โดยโชกุนปกครองประเทศแทน โดยผู้สำเร็จราชการของโชกุนจะเรียกว่า ชิกเก็ง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และเซ็สโซและคัมปะกุ · ดูเพิ่มเติม »

เปตรึส คริสตึส

ปตรึส คริสตึส (Petrus Christus; ราว ค.ศ. 1410/ค.ศ. 1420 - ราว ค.ศ. 1475/ค.ศ. 1476) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในสมัยจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมสีน้ำมันในหัวข้อที่เกี่ยวกับศิลปะคริสเตียนและการเขียนภาพเหมือน เปตรึส คริสตึสเกิดเมื่อราวระหว่างปีค.ศ. 1410-ค.ศ. 1420 ที่เมืองบาร์เลอ-แฮร์โตค (Baarle-Hertog) ใกล้กับแอนต์เวิร์ปในประเทศเบลเยียมปัจจุบัน คริสตึสทำงานส่วนใหญ่ที่บรูชตั้งแต่ปี ค.ศ. 1444 เป็นที่เชื่อกันมานานแล้วว่าคริสตึสเป็นลูกศิษย์และทำงานต่อจากยัน ฟัน ไอก์ งานบางชิ้นก็สับสนกันว่าเป็นงานของฟัน ไอก์ เมื่อฟัน ไอก์เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1441 คริสตึสก็รับช่วงทำโรงฝึกงานต่อและซื้อสัญชาติในปี ค.ศ. 1444 สามปีหลังจากที่ฟัน ไอก์เสียชีวิต อันที่จริงแล้วคริสตึสก็ควรจะได้สัญชาติหลังจากที่ทำงานในโรงฝึกงานของฟัน ไอก์ มาได้หนึ่งปีและหนึ่งวันตามธรรมเนียม หรืออาจจะว่าได้ว่าแม้ว่าจะเป็นผู้รับช่วงต่อในการเขียนภาพแบบบรูช แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นลูกศิษย์ และอันที่จริงแล้วจากการค้นคว้าเมื่อไม่นานมานี้พบว่าคริสตึสเป็นจิตรกรอิสระที่มีผลงานที่แสดงว่ามีอิทธิพลจากศิลปินหลายคนรวมทั้งดีร์ก เบาตส์, โรเบิร์ต กัมปิน และโรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และเปตรึส คริสตึส · ดูเพิ่มเติม »

15 พฤษภาคม

วันที่ 15 พฤษภาคม เป็นวันที่ 135 ของปี (วันที่ 136 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 230 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2013และ15 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 1470

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »