โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ผิวตรา (มุทราศาสตร์)

ดัชนี ผิวตรา (มุทราศาสตร์)

ผิวตรา (Tincture) ในภาษามุทราศาสตร์ “ผิวตรา” เป็นองค์ประกอบของการให้คำนิยามตราอาร์มหรือธงที่หมายถึงสีที่ใช้หรือลักษณะของผิวของตรา ผิวตราแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มๆ ที่มีสีอ่อนเรียกว่า “โลหะ”, กลุ่มๆ ที่มีสีแก่เรียกว่า “สี”, กลุ่มๆ ที่มีสีต่างจากสีหลักเรียกว่า “สีเพี้ยน” (stains), กลุ่ม “ขนสัตว์” (furs), กลุ่ม “ธรรมชาติ” (proper หรือ natural) สีกลุ่มหลังเป็นสีที่พบตามธรรมชาติ กฎพื้นฐานสองสามข้อของมุทราศาสตร์คือผิวตราในกลุ่มเดียวกันจะไม่ใช้ด้วยกันเช่นสีทองและสีเงินจะไม่ใช้ด้วยกันเพราะทั้งสองสีเป็นสีในกลุ่ม “โลหะ” แต่ผิวตราจากต่างกลุ่มกันใช้ด้วยกันได้ เช่นผิวตราจากกลุ่ม “ขนสัตว์” ใช้กันได้กับผิวตราจากกลุ่ม “ธรรมชาติ” เป็นต้น กฎเหล่านี้บรรยายในบทความกฎของผิวตรา กลุ่ม “สีเพี้ยน” มาเริ่มใช้กันในยุคกลางตอนปลายแต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าใดนักเพราะไม่ตรงกับปรัชญาของการใช้สีของมุทราศาสตร์ที่เน้นการใช้ภาพที่เด่นและสีที่สด ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาก็เกิดความนิยมที่ค่อนข้างแปลกที่จับคู่ระหว่างสีตรากับดาวเคราะห์ อัญมณี ดอกไม้ สัญลักษณ์โหราศาสตร์ หรืออื่นๆ แต่ก็เลิกทำกันไปและถือกันว่าเป็นเรื่องนอกขอบเขตของมุทราศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็เริ่มมีการใช้ “ภูมิทัศน์” และผิวตรากลุ่มสี “ธรรมชาติ” โดยเฉพาะในการประยุกต์ตรา โดยเฉพาะในมุทราศาสตร์เยอรมันมากกว่าในมุทราศาสตร์อังกฤษ แต่ความนิยมนี้ก็เช่นกันถือว่าทำให้คุณค่าของมุทราศาสตร์ลดลง.

19 ความสัมพันธ์: พื้นตรา (มุทราศาสตร์)พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)การแบ่งโล่ (มุทราศาสตร์)กางเขนไขว้สีชมพูผิวหนังสีทอง (มุทราศาสตร์)สีดำ (มุทราศาสตร์)สีน้ำเงิน (มุทราศาสตร์)สีแดง (มุทราศาสตร์)สีเขียว (มุทราศาสตร์)สีเงิน (มุทราศาสตร์)หยด (มุทราศาสตร์)ตราอาร์มตราแผ่นดินของเบลเยียมซาลาแมนเดอร์ (สิ่งมีชีวิตในตำนาน)นิยามของตราน้ำเงิน (แก้ความกำกวม)แพรประดับ (มุทราศาสตร์)เรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์

พื้นตรา (มุทราศาสตร์)

ื้นตรา (Field) ในมุทราศาสตร์พื้นตราคือสีพื้นของตราอาร์ม ที่มักจะประกอบด้วยผิวตรา หนึ่งหรือสองสีที่อาจจะเป็น (สี หรือ โลหะ) หรือ ขนสัตว์ (Heraldic fur) พื้นตราอาจจะแบ่งเป็นช่องตรา (Division of the field) ที่อาจจะเป็นลักษณะลวดลาย (Variation of the field) ในบางกรณีที่ไม่บ่อยนักพื้นตราหรือช่องตราจะไม่มีรงคตรา แต่จะเป็นภูมิทัศน์ พื้นตราที่เป็นภูมิทัศน์ถือกันโดยนักมุทราศาสตร์ว่าไม่ถูกต้องตามหลักมุทราศาสตร์และทำให้ลดค่าลง เพราะเป็นขัดกับหลักมุทราศาสตร์ที่ว่าตราต้องเป็นลวดลายที่ง่าย เป็นรูปที่มีสีจัด และไม่อาจจะนำมาจากคำนิยามได้ ตัวอย่างดังกล่าวก็ได้แก่ตราอาร์มของเคานท์เซซาเร ฟานี ที่ตรงกับคำนิยามของตราที่ว่า "sky proper" หรือตราของอินเวอราเรย์ และสภาดิสตริคท์คอมมินิตี้ในสกอตแลนด์มีพื้นตราเป็น "คลื่นทะเล".

ใหม่!!: ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และพื้นตรา (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)

ู่ประดับ หรือ ประดับหลัง (Mantling หรือ lambrequin) ในมุทราศาสตร์ “พู่ประดับ” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็น ที่มีลักษณะเหมือนพู่ที่ผูกติดกับหมวกเกราะที่ตั้งอยู่เหนือโล่ภายในตราและเป็นฉากหลังของโล่ ในการบรรยายพู่ประดับมักจะกล่าวว่าเป็นสิ่งที่ใช้สำหรับการป้องกัน (มักจะทำด้วยผ้าลินนิน) ที่ใช้โดยอัศวินบนหมวกเกราะ ประการที่สองเพื่อเป็นการช่วยลดความรุนแรงเมื่อถูกโจมตี ซึ่งทำให้วาดเป็นชายขาดเป็นริ้ว มีแต่ในบางกรณีที่เป็นผ้าทั้งชิ้นที่ปรากฏบนตราของนักบวชที่ใช้หมวกเกราะและพู่ประดับเพื่อแสดงว่านักบวชมิได้เข้าต่อสู้ในการรบ โดยทั่วไปแล้วพู่ประดับจะนิยามว่า “mantled x, doubled” “y”(“พู่ประดับ ก สองด้าน ข”) ผ้าที่ใช้เป็นพู่มีสองด้านที่มักจะใช้สีที่เป็นที่เป็นสีหลักของตราหรือสีประจำเหล่า (ดูรายละเอียดการใช้สีในบทความผิวตรา) แต่ก็มีบางกรณีที่มิได้เป็นไปตามกฎที่ว่านี้หรือด้านหน้าอาจจะมีสองสีที่นิยามว่า “per pale of x and y”(“ ผ่ากลาง สี ก และ สี ข”) หรือทั้งด้านนอกและในจะผ่ากลางเป็นสองสี และบางครั้งก็จะแบ่งต่างไปจากการผ่ากลาง แต่ก็มีไม่มากนัก และที่มีบ้างคือการใช้ผ่ากลางที่เป็นผิวตราโลหะสองชนิด หรือพู่ประดับทั้งหมดเป็นสีเดียว พู่ประดับของ Black Loyalist Heritage Society เป็นพู่ที่เป็นเอกลักษณ์ที่เป็นพู่ที่ประกอบด้วยขนสัตว์สองนอกและใน (เออร์มินบุด้วยเออร์มิน) ตราแผ่นดินของแคนาดาพู่ประดับสองสีแดงและขาวหรือ “argent doubled gules” หรือ “พื้นขาว ด้านหลังสีแดง” ที่เป็นใบเมเปิล ตราอาร์มของหลวงเช่นตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรหรือตราประจำพระองค์ของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะมีนิยามพู่ประดับว่า “Or, lined ermine” หรือ “พื้นทอง, บุเออร์มิน” ซึ่งเป็นลักษณะที่สงวนไว้สำหรับพระมหากษัตริย์ ซิริล วูดส์ บารอนแห่งสเลนมีพู่ประดับที่นิยามว่า “tasselled Gold” หรือ “พู่ประดับปลายเป็นพู่สีทอง” ในสมัยแรกของการออกแบบเครื่องยอดก่อนที่จะมีแพรประดับ ก็มีการใช้จุลมงกุฎและมาลา (chapeau) และสิ่งตกแต่งก็จะต่อเนื่องลงมาที่นิยามว่า “continued into the mantling” หรือ “ต่อลงมาเป็นพู่ประดับ” ซึ่งยังคงใช้กันมากในเยอรมนี ไฟล์:Grosses_Wappen_Celle.png|พู่ประดับเป็นริ้วสองด้านสองสีของเซลเลอในเยอรมนี ไฟล์:Wappen Pirna.png|พู่ประดับสองสีของแพร์นาในเยอรมนี ไฟล์:Royal Coat of Arms of the United Kingdom.svg|พู่ประดับทองและเออร์มินของตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ไฟล์:Duke of Argyll coat of arms.svg|พู่ประดับเออร์มินของตราของดยุคแห่งอาร์กาล์ย ไฟล์:Wappen-wenkheim.png|พู่ประดับทั้งชิ้นที่ไม่เป็นริ้ว ไฟล์:Coat of arms of Canada (1921-1957).svg|พู่ประดับที่ไม่ใช่ผ้าของตราแผ่นดินของแคนาดา ไฟล์:Escudo de Quilpué.svg|พู่ประดับที่ไม่ใช่ผ้าแต่เป็นเถาองุ่นของ Quilpué ในชิลี ไฟล์:Coat of arms of Bahrain.svg|พู่ประดับไม่มีหมวงของตราแผ่นดินของบาห์เรน ไฟล์:Coat_of_Arms_of_Russian_Empire.svg|ตราแผ่นดินของรัสเซีย ไฟล์:ArmesADN3.png|พู่ประดับทางศาสน.

ใหม่!!: ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และพู่ประดับ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

การแบ่งโล่ (มุทราศาสตร์)

การแบ่งโล่ หรือ แบ่งโล่ (Division of the field) เป็นศัพท์ที่ใช้ในมุทราศาสตร์ที่หมายถึงทรงการแบ่งโล่บนตราอาร์มออกเป็นส่วนหรือช่องต่างๆ พื้นตราของโล่อาจจะแบ่งออกเป็นบริเวณที่มากกว่าสองบริเวณที่แต่ละบริเวณอาจจะมีผิวตราที่ต่างกัน ที่มักจะดำเนินตามลักษณะของเรขลักษณ์ การแบ่งแต่ละวิธีก็จะมี นิยามต่างกันไปที่ใช้ศัพท์คล้ายคลึงกับศัพท์ที่ใช้ในเรขลักษณ์ เช่นโล่ที่แบ่งตามเรขลักษณ์ทรงจั่วบ้านก็จะได้รับนิยามว่า “per chevron” หรือ “แบ่งจั่ว” ตามลักษณะแถบจั่วที่ใช้ในเรขลักษณ์ จุดประสงค์ของการแบ่งตราก็มีหลายประการๆ หนึ่งอาจจะเพื่อสร้างความแตกต่างระหว่างตราที่คล้ายคลึงกัน หรือเพื่อ “การรวมตรา” (marshalling) ที่หมายถึงการรวมตราอาร์มมากกว่าสองตราขึ้นไปเป็นตราเดียว หรือ เพียงเพื่อเป็นสร้างความสวยงามให้กับตรา “เส้นแบ่ง” (Line) ที่ใช้ก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเส้นตรง และเส้นที่ใช้แต่ละแบบก็จะมีนิยามที่เฉพาะเจาะจงที่ใช้โครงสร้างของศัพท์เช่นเดียวกับเรขลักษณ์ นอกจากนั้นการแบ่งก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเส้นตรงเสมอไป แต่อาจจะเป็นลายหยักต่างๆ คล้ายกับที่ใช้ในเรขลักษณ.

ใหม่!!: ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และการแบ่งโล่ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

กางเขนไขว้

“กางเขนไขว้” หรือ “กางเขนนักบุญแอนดรูว์” กางเขนไขว้ หรือ กางเขนนักบุญแอนดรูว์ (Saltire หรือ Saint Andrew's Cross หรือ crux decussata (ไม่ใช้ในมุทราศาสตร์)) เป็นภาษามุทราศาสตร์และธัชวิทยาที่เป็นเครื่องหมายกางเขนที่มีลักษณะคล้ายอักษร “X” ซึ่งเป็นลักษณะของกางเขนที่เชื่อกันว่าใช้ในการตรึงนักบุญแอนดรูว์ กางเขนไขว้ปรากฏบนธงชาติสกอตแลนด์, ธงชาติจาเมกา และในธง, ตราอาร์ม และ ตราประทับ และใช้ในเครื่องหมายจราจร นอกจากนั้นแล้วทรงของกางเขนไขว้ก็ยังประยุกต์ไปต่างๆ เช่นที่ใช้บนธงกางเขนแห่งเบอร์กันดีที่ใช้โดยสเปนระหว่าง..

ใหม่!!: ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และกางเขนไขว้ · ดูเพิ่มเติม »

สีชมพูผิวหนัง

ตราอาร์มของลิโมจในฝรั่งเศส: ''De gueules, au chef de Saint Martial de'' carnation'', orné à l'antique d'or, ombré de sable, entre deux lettres gothiques d'or S et M; au chef d'azur, chargé de trois fleurs de lis d'or.'' สีชมพูผิวหนัง หรือ สีคาร์เนชัน (Carnation) เป็นภาษามุทราศาสตร์ (Heraldry) ที่บรรยายลักษณะของผิวตรา ที่เป็นสีชมพูผิวหนังของชาวยุโรปที่เป็นสีชมพูอ่อน ที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มผิวตราหลัก ผิวตรานี้ไม่ใช้ในมุทราศาสตร์อังกฤษแต่ใช่บ่อยบนแผ่นดินใหญ่ยุโรปโดยเฉพาะในฝรั่งเศสที่นำมาจากการใช้ในตราอาร์มของเยอรมนี.

ใหม่!!: ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และสีชมพูผิวหนัง · ดูเพิ่มเติม »

สีทอง (มุทราศาสตร์)

ีทองทางซ้าย หรือ ลายประ ตราแผ่นดินของนอร์เวย์ สีทอง หรือ ออร์ (Or (heraldry)) เป็นภาษามุทราศาสตร์ (Heraldry) ที่บรรยายลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีทอง ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีอ่อนที่เรียกว่ากลุ่ม “โลหะ” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ (engraving) “ทอง” ก็จะเป็นลายประที่เป็นจุดห่างจากกันเท่าๆ กัน “ออร์” มักจะปรากฏเป็นสีเหลือง แต่บางทีก็ใช้ทองคำเปลวถ้าเป็นภาพในหนังสือวิจิตร หรืออาจจะจารึกด้วยอักษรย่อ “Or (heraldry)” ของคำว่า “Or (heraldry)” คำว่า “Or” มาจากภาษาฝรั่งเศส ว่า “Or” ที่แปลว่า “ทอง” บางครั้งก็จะใช้คำว่า “Gold” แทนที่จะใช้คำว่า “Or” ในการให้นิยามของตรา บางครั้งเพื่อป้องกันการใช้คำว่า “Or” ซ้ำกันหลายครั้ง หรือเพราะเป็นคำที่นิยมใช้กันเมื่อทำการบันทึก หรือเจ้าหน้าที่ผู้บันทึกนิยามอาจจะนิยมใช้คำว่า “Gold” มากกว่า อักษร “O” ของ “Or” มักจะสะกดด้วยอักษรตัวใหญ่ เช่นในคำนิยาม Gules, a fess Or (พื้นตราสีแดง, แถบขวางสีทอง) เพื่อไม่ให้สับสนกับคำว่า “or” (ที่แปลว่าหรือ) ที่เป็นคำสันธานในภาษาอังกฤษ รงคตราสีทองเป็นสัญลักษณ์ของ.

ใหม่!!: ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และสีทอง (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

สีดำ (มุทราศาสตร์)

“Sable (heraldry)” สีดำทางซ้าย หรือ ตารางทางขวา สีดำ (Sable) เป็นภาษามุทราศาสตร์ที่บรรยายลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีดำ ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีหนักที่เรียกว่า “สี” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ “ดำ” ก็จะเป็นตาราง หรืออาจจะจารึกด้วยอักษรย่อ “sa.” ของคำว่า “Sable” ชื่อสีตรามาจากขนสีดำของตัวเซเบิล ผิวตราสีดำเป็นสัญลักษณ์ของ.

ใหม่!!: ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และสีดำ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำเงิน (มุทราศาสตร์)

“Azure” สีน้ำเงินทางซ้าย หรือ ขีดตามแนวนอนทางขวา สีน้ำเงิน หรือ เอเชอร์ (Azure) เป็นภาษามุทราศาสตร์ (Heraldry) ที่บรรยายลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีน้ำเงิน ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีหนักที่เรียกว่า “สี” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ (engraving) “เอเชอร์” ก็จะเป็นขีดตามแนวนอน หรืออาจจะจารึกด้วยอักษรย่อ “az.” หรือ “b.” ของคำว่า “Azure” คำว่า “Azure” มาจากภาษาเปอร์เซีย “لاژورد” (lazhward) ซึ่งเป็นชื่อสถานที่ที่เป็นที่รู้จักกันว่ามีแหล่งหินที่มีสีน้ำเงินเข้มที่ปัจจุบันเรียกว่าหินลาพิส ลาซูไล (lapis lazuli หรือ หินจาก lazhward) คำนี้เข้ามาในภาษาภาษาฝรั่งเศสเก่าในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และแผลงไปใช้ในการบรรยายสีของผิวตราของตราอาร์ม “Azure” ที่แปลว่า “น้ำเงิน” ในภาษามุทราศาสตร์ “Azure” แปลง่ายๆ ว่า “สีน้ำเงิน” คำแรกใช้โดยขุนนางนอร์มันผู้พูดภาษาฝรั่งเศส คำหลังที่เพียงแต่เรียกชื่อสีใช้โดยชนสามัญชาวแองโกล-แซ็กซอน “สีน้ำเงิน” เป็นสีที่ใช้กันมากบนอาวุธและธง นอกไปจากสีน้ำเงินมาตรฐานแล้วก็ยังมีสีน้ำเงินอ่อนที่เรียกว่า “สีท้องฟ้า” (bleu celeste) ทั้งสองสีต่างก็มิได้มีการระบุระดับความอ่อนแก่ของสีอย่างแน่นอน แต่ “สีน้ำเงิน” จะใช้เป็นสีที่เข้มกว่า “สีท้องฟ้า” มาก ผิวตราสีน้ำเงินเป็นสัญลักษณ์ของ.

ใหม่!!: ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และสีน้ำเงิน (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

สีแดง (มุทราศาสตร์)

กูลสสีแดงทางซ้าย หรือ แถวเส้นดิ่งทางขวา สีแดง หรือ กูลส (Gules) เป็นภาษามุทราศาสตร์ (Heraldry) ที่หมายถึงลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีแดง ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีหนักที่เรียกว่า “สี” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ (engraving) “กูลส” ก็จะเป็นแถวเส้นดิ่งหรือ บริเวณที่จารึกด้วยอักษรย่อ “gu.” ของคำว่า “Gules” คำว่า “Gules” มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า ว่า “goules” หรือ “gueules” ที่แปลว่า “คอหอย” ที่หมายถึงปากของสัตว์ ปากและคอหอยมีสีแดงฉะนั้นจึงเป็นคำที่ใช้เรียกสี นักประพันธ์ทางมุทราศาสตร์เชื่อกันมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้วว่าคำว่า “Gules” มาจากภาษาเปอร์เซีย “gol” หรือ “กุหลาบ” ที่เข้ามาในยุโรปทางสเปนมุสลิมหรืออาจจะนำกลับมาโดยนักรบครูเสดที่เดินทางกลับมาจากตะวันออกกลาง แต่เบร้าท์กล่าวว่าไม่มีหลักฐานใดที่สนับสนุนข้อเสนอนี้ ในเครื่องอิสริยาภรณ์โปแลนด์ “กูลส” เป็นสีที่นิยมใช้เป็นพื้นตรามากที่สุด ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราวครึ่งหนึ่งของตราอาร์มของขุนนางในโปแลนด์ใช้พื้นตราสีแดงโดยมี เครื่องหมาย (Charge) ที่เป็นสีขาว หนึ่งหรือสองเครื่องหมายบนพื้น รงคตราสีแดงเป็นสัญลักษณ์ของ.

ใหม่!!: ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และสีแดง (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

สีเขียว (มุทราศาสตร์)

“Vert” สีเขียวทางซ้าย หรือ ขีดทแยงทางขวา สีเขียว (Vert) เป็นภาษามุทราศาสตร์ที่บรรยายลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีเขียว ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีหนักที่เรียกว่า “สี” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ “Vert” ก็จะเป็นขีดทแยงจากมุมซ้ายบนลงมายังมุมขวาล่าง หรืออาจจะจารึกด้วยอักษรย่อ “vt.” ของคำว่า “Vert” คำว่า “Vert” มาจากภาษาฝรั่งเศส ที่แปลว่า “เขียว” ในมุทราศาสตร์ฝรั่งเศสผิวสีนี้เรียกว่า “Sinople” ตั้งแต่อย่างน้อยก็ราวปี..

ใหม่!!: ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และสีเขียว (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

สีเงิน (มุทราศาสตร์)

“Argent” สีเงินทางซ้าย หรือ ว่าง ตราของเมือง Santiago do Cacém ที่แสดงความแตกต่างระหว่างสีขาวและสีเงิน สีเงิน (Argent) เป็นภาษามุทราศาสตร์ที่บรรยายลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีเงินหรือบางครั้งก็เรียกว่าสีขาว ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีอ่อนที่เรียกว่า “โลหะ” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ “เงิน” ก็จะเป็นบริเวณที่ทิ้งว่างไม่มีลวดลาย หรืออาจจะจารึกด้วยอักษรย่อ “ar.” ของคำว่า “Argent” คำว่า “Argent” มาจากภาษาลาติน ว่า “argentum” ที่มาจากภาษากรีก “Αργυρος” ที่แปลว่า “เงิน” หรือ “โลหะสีขาว” ในการสร้างตราอาร์มในสมัยโบราณบริเวณที่ระบุว่าเป็นสีเงินอาจจะทำด้วยแผ่นเงิน แต่เมื่อเวลาผ่านไปเงินที่ใช้ก็มีปฏิกิริยากับอากาศและเปลี่ยนเป็นสีที่คร่ำลง ฉะนั้นบางครั้งจึงเป็นการยากที่จะตีความหมายของตราในสมัยโบราณที่มีส่วนที่เป็นสีดำว่าเป็นสีดำ (sable) หรือเป็นสีเงิน.

ใหม่!!: ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และสีเงิน (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

หยด (มุทราศาสตร์)

ตราอาร์มของโคโลญ หยด หรือ หยาด(Goutte) ในมุทราศาสตร์ “หยด” เป็นองค์ประกอบในกลุ่มเครื่องหมายที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็นมีลักษณะเหมือนหยดน้ำ ที่มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่าที่แปลว่า “หยดเล็ก” ชนิดของ “หยด” อาจจะนิยามด้วยผิวตรา เช่น “goutte argent” (“หยดเงิน”) หรืออาจจะใช้ชื่อเฉพาะสำหรับหยดชนิดต่างๆ เช่น “goutte d'eau” (“หยดน้ำ”) ลักษณะของผิวตราจะบ่งความหมายของ “หยด” ในการออกแบบตราอาร์มในยุคกลางและยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาทรงหยดจะเป็นหยักอ่อนเช่นที่แสดงในภาพ แต่ในสมัยต่อมาทรงจะเรียบขึ้น อ้วนขึ้น และสมส่วนกันทั้งสองข้าง ในการใช้สมัยแรกๆ หยดจะประไปทั่วโล่ที่เรียกว่า “goutty” หรือ “gutty” (“ประหยด” (gouttée)) จนในสมัยต่อมาเท่านั้นที่หยดกลายมาเป็น “เครื่องหมาย” ที่เป็นของตนเอง.

ใหม่!!: ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และหยด (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ตราอาร์ม

ตราแผ่นดินของหลายประเทศมีลักษณะเป็นตราอาร์ม ดังเช่นภาพตราแผ่นดินของประเทศในสหภาพยุโรป ตราอาร์ม (Coat of arms, เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า armorial achievement หรือ armorial bearings, เรียกอย่างย่อว่า arms) ในธรรมเนียมของทวีปยุโรป เป็นสัญลักษณ์ซึ่งออกแบบขึ้นสำหรับบุคคลหรือคณะบุคคล อันมีการดัดแปลงใช้ในหลายลักษณะ พัฒนามาจากตราประจำตัวของอัศวินในยุโรปสมัยโบราณเพื่อจำแนกพวกของตนออกจากพวกของศัตรู สามัญชนในยุโรปภาคพื้นทวีปอาจใช้ตราอาร์มเป็นสัญลักษณ์ได้เช่นกัน แต่เรียกชื่อชนิดตราต่างออกไปว่า Burgher arms ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ของประเทศไทย ได้ให้นิยามของคำว่า "อาร์ม" ไว้ดังนี้ ตราอาร์มนั้นต่างจากตราประทับ (seal) และตราสัญลักษณ์ (emblem) ตรงที่มีการให้คำอธิบายอย่างเป็นทางการโดยมีศัพท์เฉพาะของตนเอง ซึ่งเรียกโดยรวมในภาษาอังกฤษว่า Blazon หรือเทียบเป็นภาษาไทยว่า นิยามของตรา ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 21 ตราอาร์มได้มีการนำไปใช้กับสถาบันต่างๆ เช่นมหาวิทยาลัย ตราของแต่ละแห่งจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและปกป้องสิทธิการใช้งาน การใช้ตราดังว่ามานี้ยังรวมถึงการใช้เป็นเครื่องหมายราชการประจำชาติหลายประเทศ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือใช้เป็น "ตราแผ่นดิน" นั่นเอง ศิลปะในการออกแบบ การแสดงให้ปรากฏ การอธิบาย และการบันทึกตราอาร์ม เรียกว่า heraldry อันอาจแปลเป็นภาษาไทยตามสำนวนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ว่า "มุทราศาสตร์".

ใหม่!!: ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และตราอาร์ม · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของเบลเยียม

ตราแผ่นดินของเบลเยียม (Coat of arms of Belgium) เป็นตราอาร์มของประเทศเบลเยียมที่เริ่มใช้เป็นตราประจำชาติเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1837 ตราแผ่นดินประกอบด้วยสิงโตเบลเยียม (Leo Belgicus) ตามมาตรา 193 (เดิมมาตรา 125) ของรัฐธรรมนูฐเบลเยียมที่ระบุว่า ชาติเบลเยียมใชสีแดง, เหลือง และ ดำเป็นสีประจำชาติ และตราอาร์มมีสิงโตเบลเยียมพร้อมด้วยคำขวัญ 'ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนำมาซึ่งความแข็งแกร่ง' (UNITY MAKES STRENGTH) พระราชประกาศที่ออกเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1837 ระบุรูปทรงของตราอาร์มโดยบรรยายทั้งตรามหาจลัญจกรณ์ และตราประทับของราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และตราแผ่นดินของเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ซาลาแมนเดอร์ (สิ่งมีชีวิตในตำนาน)

มพ์แกะไม้จากคริสต์ศตวรรษที่ 16 กล่าวว่าเป็นซาลาแมนเดอร์โดย เอ็ม.พี. ฮอลล์ ซาลาแมนเดอร์ (Salamander) การบรรยายซาลาแมนเดอร์ก็เช่นเดียวสัตว์ที่มีจริงที่นักเขียนในสมัยโบราณจะให้คำบรรยายอุปมานิทัศน์ของลักษณะอย่างเลิศลอยในสัตวตำนาน (Bestiary) ของยุคกลาง และเมื่อไม่นานมานี้นักเขียนบางคนก็สรุปว่าซาลาแมนเดอร์ในตำนานเป็นสัตว์ที่แตกต่างจากซาลาแมนเดอร์ที่มีอยู่จริง ความคิดนี้แพร่หลายในหมู่สิ่งลึกลับ คำบรรยายของลักษณะรูปทรงของซาลาแมนเดอร์ในตำนานคล้ายกับซาลาแมนเดอร์ธรรมชาติ ที่มีรูปทรงคล้ายกิ้งก่า แต่มักจะมีความเกี่ยวข้องกับไฟโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับธาตุไฟ ซาลาแมนเดอร์ในตำนานเป็นสัตว์ที่ปรากฏในตำนานคลาสสิก ตำนานยุคกลาง และตำนานยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา และเป็นสัตว์ที่นิยมใช้กันเป็นเครื่องหมายในตราอาร์มหรือตราแผ่นดิน.

ใหม่!!: ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และซาลาแมนเดอร์ (สิ่งมีชีวิตในตำนาน) · ดูเพิ่มเติม »

นิยามของตรา

นิยามของตรา (Blazon) ในด้านการศึกษาทางด้านมุทราศาสตร์ และ ธัชวิทยา “Blazon” หรือ “นิยามของตรา” คือคำบรรยายอย่างเป็นทางการของลักษณะของตรา ที่ส่วนใหญ่เป็นการบรรยายตราอาร์ม หรือ ธง ที่สามารถทำให้ผู้สร้างสามารถสร้างตรา, ธง หรือ เครื่องหมายได้ตามความต้องการอย่างถูกต้อง ฉะนั้นรูปลักษณะและองค์ประกอบของตราอาร์ม หรือ ธงตามหลักแล้วไม่ใช่เป็นการบรรยายโดยการใช้รูป แต่จะเป็นการบรรยายโดยตัวอักษร (แต่ในสมัยปัจจุบัน จะมีการให้นิยามเพิ่มเติมและบรรยายอย่างเจาะจงกว่าที่เป็นมาด้วยรายละเอียดทางเรขาคณิต) “นิยามของตรา” ใช้ภาษาเฉพาะทางในการเขียนนิยามตั้งแต่หลักการวางตำแหน่งของคำบรรยาย การใช้คำกิริยา ไปจนถึงหลัก และลำดับการเขียนคำบรรยายของแต่ละส่วนที่ย่อยออกไป เช่นคำแรกที่พบในการบรรยายตราคือชื่อผิวตรา ที่หมายถึงสีหรือผิวของพื้นตรา เช่น “Azure...” ซึ่งหมายความว่า “ (พื้นตรา) น้ำเงิน” ผู้อ่านที่เข้าใจหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยามจะทราบว่า “Azure...” เป็นสีของพื้นตราโดยไม่ต้องมีคำว่า “Field” ที่แปลว่าพื้นตรานำหน้าคำว่า “Azure...” เพราะตำแหน่งการวางคำเป็นไปตามหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยาม นอกจากโครงสร้างการวางลำดับการบรรยายและการใช้ไวยากรณ์แล้ว นิยามของตราในมุทราศาสตร์ก็ยังใช้คำศัพท์ที่เป็นศัพท์เฉพาะกิจเช่นคำว่า “Charge” ที่หมายถึง “เครื่องหมาย” บน “พื้นตรา” (Field) หรือคำว่า “Attitude” ที่หมายถึง “ลักษณะการวางท่า” ของมนุษย์หรือสัตว์ที่ปรากฏบนตรา นอกจากตราอาร์ม หรือ ธง แล้ว “นิยามของตรา” ก็อาจจะใช้ในการบรรยายลักษณะของสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่น ตรายศ (badge), แถบคำขวัญ (banner) และ ตราประทั.

ใหม่!!: ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และนิยามของตรา · ดูเพิ่มเติม »

น้ำเงิน (แก้ความกำกวม)

น้ำเงิน สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และน้ำเงิน (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

แพรประดับ (มุทราศาสตร์)

แพรประดับ (Torse) ในมุทราศาสตร์ “แพรประดับ” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็นที่มีลักษณะเหมือนมาลาที่ทำด้วยผ้าบิดเป็นเกลียวบนหมวกเกราะและเครื่องยอด ที่ใช้รัดพู่ประดับ (mantling) ให้อยู่กับที่ “แพรประดับ” ก็เช่นเดียวกับพู่ประดับหมวกเกราะจะเป็นสองสีที่เป็นคู่สีเดียวกัน ที่ทำจากสายริบบิ้นสองสายบิดเป็นเกลียวเข้าด้วยกันที่เป็นสี (Tincture) เดียวกับสีหลักของโล่ซึ่งเป็นสีประจำเหล่า “แพรประดับ” มักจะเรียกว่า “มาลาประดับ” (Wreath) “แพรประดับ” บางครั้งก็จะใช้ถือโดยนักรบครูเสดเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งที่ได้รับจากสตรีที่เป็นที่รักเมื่อจากไปสงคราม คล้ายกับผ้าเช็ดหน้าไว้ผูกรอบหมวกเกราะ หรือผูกตรงรอยต่อระหว่างหมวกกับเครื่องยอดเช่น “On a wreath of the colours x and y…” (“บนมาลาประดับเป็นสี ก และ ข”) แพรประดับของตราแผ่นดินของแคนาดานิยามว่า “On a wreath of the colours Argent and Gules, a lion passant guardant Or” (“บนมาลาประดับเป็นสีขาวและสีแดง, สิงโตยืนยกเท้าหน้าสีทอง”) “แพรประดับ” นอกจากนั้นแพรประดับก็ยังใช้ในการตกแต่งสัตว์ในมุทราศาสตร์ที่อาจจะแต่งเป็นมงกุฎหรือเป็นมาลัยคล้องคอ ไฟล์:Lev vyskakujici.svg|สิงโตครึ่งตัวบนแพรประดับ ไฟล์:Coat of arms of Canada (1921-1957).svg|ตราแผ่นดินของแคนาดา ไฟล์:30FARegtCOA.jpg|ตราอาร์มของ 30th Field Artillery Regiment Coat Of Arms ของสหรัฐอเมริกา ไฟล์:Chadderton Urban District Council - coat of arms.png|ตราของอดีตเทศบาลเมืองแชดเดอร์ทันในอังกฤษ ไฟล์:Coat of arms of Northwest Territories.svg|ตราของ Northwest Territories ในแคน.

ใหม่!!: ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และแพรประดับ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

เรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์

รขลักษณ์ หรือ เรขลักษณ์มาตรฐาน (Ordinary หรือ honourable ordinary) ในมุทราศาสตร์ “เรขลักษณ์” คือองค์ประกอบหนึ่งของตราอาร์มที่เป็นรูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ ที่อยู่ในกรอบของเส้นตรงและแล่นจากด้านหนึ่งของตราไปยังอีกด้านหนึ่ง หรือจากตอนบนลงมายังตอนล่างของโล่ นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มเครื่องหมายที่เรียกว่า “เรขลักษณ์พิเศษ” (subordinary) ที่ให้ความสำคัญรองลงมาโดยนักวิชาการทางมุทราศาสตร์บางคน แต่เครื่องหมายในกลุ่มนี้ก็ใช้กันมานานพอกับเรขลักษณ์มาตรฐาน เรขลักษณ์มาตรฐานตามทฤษฎีแล้วจะใช้เนื้อที่หนึ่งในสามของโล่ แต่ตามความเป็นจริงแล้วก็จะใช้เนื้อที่แตกต่างกันไป นอกจากเมื่อเรขลักษณ์เป็นสิ่งเดียวที่ใช้เป็นเครื่องหมาย เช่นในตราแผ่นดินของออสเตรียก็จะมีขนาดต่างออกไป คำว่า “เรขลักษณ์มาตรฐาน” และคำว่า “เรขลักษณ์พิเศษ” เป็นคำที่สร้างความขัดแย้งในหมู่นักมุทราศาสตร์ เพราะเป็นการใช้เรขลักษณ์ที่ไม่มีมาตรฐานและการใช้ก็ไม่ตรงกัน ฉะนั้นการใช้คำทั้งสองจึงไม่ได้รับการสนับสนุนโดยนักวิชาการทางด้านมุทราศาสตร์ อาร์เธอร์ ชาร์ลส์ ฟ็อกซ์-เดวีส์ (Arthur Charles Fox-Davies) ในหนังสือ Complete Guide to Heraldry (คู่มือมุทราศาสตร์ฉบับสมบูรณ์) ที่เขียนในปี..

ใหม่!!: ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Tincture (heraldry)ผิวตรา (อิสริยาภรณ์)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »