โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาเล็บมือนาง

ดัชนี ปลาเล็บมือนาง

ปลาเล็บมือนาง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crossocheilus reticulatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Garrinae มีรูปร่างลำตัวเพรียว หัวเล็ก ปากเล็กอยู่ด้านล่างของจะงอยปากและมีแผ่นหนังคลุม มีหนวดสั้น 1 คู่ เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินอมเหลือง มีลายสีคล้ำที่ขอบเกล็ด โคนครีบหางมีจุดสีดำเห็นชัดเจน ครีบใสสีเหลืองเรื่อ มีขนาดความยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ใหญ่สุด 17 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูงใหญ่ตามแก่ง ช่วงฤดูฝนมีการย้ายถิ่นเข้าสู่ทุ่งน้ำหลาก อาหารได้แก่ ตะไคร่น้ำ แพลงก์ตอน และสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก อาศัยตามแม่น้ำสายหลักและแก่ง แหล่งน้ำหลาก เป็นปลาที่พบบ่อย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปลาเล็บมือนาง ยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า "ปลาสร้อยดอกยาง".

5 ความสัมพันธ์: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปวงศ์ปลาตะเพียนปลาส่อปลาจิ้งจอกปลาเลียหิน

รายชื่อชื่อปลาทั่วไป

นี่คือรายชื่อชื่อปลาทั่วไป แต่ละชื่ออาจหมายถึงสปีชีส์หรือสกุลเดียว หรือปลาหลายชนิดพร้อมกันก็ได้ นี่เป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ ดูเพิ่มเติมได้ที่ หมวดหมู่ปล.

ใหม่!!: ปลาเล็บมือนางและรายชื่อชื่อปลาทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะเพียน

วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชน.

ใหม่!!: ปลาเล็บมือนางและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาส่อ

ปลาส่อ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Crossocheilus (/ครอส-โซ-ไคล-อัส/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในวงศ์ย่อย Garrinae มีรูปร่างโดยทั่วไป คือ เป็นปลาขนาดเล็ก ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีลำตัวเรียวยาวทรงกลม หัวสั้นเป็นรูปกระสวย ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม มีหนวดอยู่ 1 คู่ ลักษณะสำคัญ คือ มีหนังที่จะงอยปากเชื่อมติดกับริมฝีปากบน ริมฝีปากบนและล่างไม่ติดกัน บนจะงอยปากมีรูเล็ก ๆ และตุ่มเล็ก ๆ เรียงกันเป็นแถว ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน และก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายไม่แข็ง ขอบเรียบ ครีบหลังยกสูง อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มักอาศัยอยู่ในลำธารและแหล่งน้ำเชี่ยว รวมถึงแม่น้ำสายใหญ่ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ กินอาหารจำพวก ตะไคร่น้ำหรือสาหร่ายบนโขดหิน หรือแมลงน้ำและแพลงก์ตอนขนาดเล็กต่าง ๆ หลายชนิดจะมีแถบสีดำพาดลำตัวในแนวนอน โดยปลาในสกุลนี้ มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาเล็บมือนาง" หรือ "ปลาสร้อยดอกยาง" เป็นต้น เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่นและเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีประโยชน์ในการเก็บกินเศษอาหารหรือตะไคร่น้ำภายในตู้เลี้ยง และยังนำไปในกิจการฟิชสปาหรือสปาปลาแทนที่ปลาเลียหินที่มีลักษณะและพฤติกรรมคล้ายคลึงกันได้อีกด้ว.

ใหม่!!: ปลาเล็บมือนางและปลาส่อ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจิ้งจอก

ปลาจิ้งจอก (Siamese algae eater, Siamese flying fox) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Garrinae มีรูปร่างลำตัวเพรียวทรงกระบอก หัวเรียว ตาเล็ก ปากเล็ก มีหนวดสั้น 1 คู่ มีแผ่นหนังคลุมด้านริมฝีปากบน ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนเหลือบทอง และมีแถบสีคล้ำพาดยาวจากหัวถึงกลางครีบหาง ครีบสีจาง ครีบหางเว้าลึก มีขนาดความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ใหญ่สุด 16 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ในแม่น้ำสายใหญ่และลำธาร โดยเฉพาะที่เป็นแก่งและมีพรรณไม้หนาแน่น ในประเทศไทยพบเฉพาะที่ภาคใต้ที่เดียวเท่านั้น กินอาหารได้แก่ อินทรียสารและสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก เป็นปลาที่พบชุกชุมบางฤดูกาล มีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและนำไปทำเป็นฟิชสปาเช่นเดียวกับปลาในสกุล Garra.

ใหม่!!: ปลาเล็บมือนางและปลาจิ้งจอก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเลียหิน

ปลาเลียหิน (Stone-lapping fishes, Garras, Doctor fishes) คือชื่อสามัญเรียกโดยรวมของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Garra (/การ์-รา/) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และอยู่ในวงศ์ย่อย Labeoninae เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ลำตัวยาว หลังโค้งเล็กน้อย สันท้องแบนราบ จะงอยปากยาว ปลายทู่ และมีตุ่มเหมือนเม็ดสิวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตัวผู้ริมฝีปากหนาและมีตุ่มเม็ดสิวที่อ่อนนุ่มอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่มีร่องระหว่างริมฝีปากกับกระดูกขากรรไกร ริมฝีปากล่างแผ่ออกกว้างเป็นแผ่น ขอบหน้าเรียบ ใช้ในการยึดเกาะกับของแข็ง มีหนวด 1-2 คู่ ครีบอกและครีบครีบท้องอยู่ในแนวระดับสันท้อง ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน และก้านครีบเดี่ยวไม่แข็ง ครีบก้นสั้นมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน เส้นข้างลำตัวตรง มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่เป็นฝูง ในแหล่งน้ำไหลเชี่ยวบริเวณน้ำตกหรือลำธารในป่า เพื่อดูดกินตะไคร่น้ำหรือสาหร่ายหรืออินทรีย์วัตถุต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย พบมากกว่า 90 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบด้วยหลายชนิด เช่น G. fuliginosa, G. notata, G. cambodgiensis, G. fasciacauda เป็นต้น นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม เพื่อให้ดูดกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือและทำความสะอาดตู้เลี้ยง นอกจากนี้แล้วในปัจจุบัน ปลาเลียหินยังนิยมใช้ในธุรกิจสปา แบบที่เรียกว่า "ฟิชสปา" โดยให้ผู้ใช้บริการแช่เท้าและขาลงในอ่างน้ำ และให้ปลาเลียหินมาดูดกินผิวหนังชั้นผิวกำพร้าเพื่อกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว เพื่อเป็นการสร้างเซลล์ผิวใหม่อีกด้วย โดยในน้ำลายของปลาเลียหินจะมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่กระตุ้นในการสร้างเซลล์ผิวใหม่ซึ่งปลาเลียหินที่นิยมใช้กันคือ ชนิด G. rufa และ G. sp.

ใหม่!!: ปลาเล็บมือนางและปลาเลียหิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Crossocheilus reticulatusเล็บมือนาง (ปลา)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »