เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วงศ์ปลาตะเพียน

ดัชนี วงศ์ปลาตะเพียน

วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชน.

สารบัญ

  1. 253 ความสัมพันธ์: บัว (แก้ความกำกวม)บึงละหานบึงโขงหลงชีริ เด็ดหัวใจยอดจารชนมังกรจีนมาห์เซียร์ริชาร์ด ดอว์กินส์ลำปำวงศ์ย่อยปลาซิววงศ์ย่อยปลาเลียหินวงศ์ปลาฟันสุนัขวงศ์ปลาสร้อยน้ำผึ้งวงศ์ปลาหมอสีวงศ์ปลาหมูกระโดงสูงวงศ์ปลาอินซีเน็ตวงศ์ปลาคาราซินสกุลบาร์โบดีสสกุลบาร์โบนีมัสสกุลพุนชัสสกุลพุนทิกรุสสกุลรัสบอร่าสกุลลาบิโอบาร์บุสสกุลลาเบโอสกุลสหยัดเรียสกุลซีสโทมัสสกุลปลาหัวโตสกุลแซกโกสกุลโลโบคีลอสสกุลเพเธียสกุลเดสโมพุนชัสหมึก (แก้ความกำกวม)หม่ำ (แก้ความกำกวม)หลวงมัศยจิตรการ (ประสพ ตีระนันทน์)อันดับปลาตะเพียนอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อฮิปโปโปเตมัสปลาบัวปลาบาร์บปลาบิทเทอร์ลิ่งปลาบ้าปลาบ้า (สกุล)ปลาพรมปลาพลวง (สกุล)ปลาพลวงชมพูปลาพลวงหินปลาพลวงถ้ำปลาพลวงทองปลากระมังปลากระมังครีบสูงปลากระสูบ... ขยายดัชนี (203 มากกว่า) »

บัว (แก้ความกำกวม)

ัว อาจหมายถึง.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและบัว (แก้ความกำกวม)

บึงละหาน

ึงละหาน เรือประมง ณ บึงละหานบึงละหาน เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติมีเนื้อที่กว้างใหญ่ เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 4 ของประเทศไทย 18,181 ไร่ เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และยังมีระบบนิเวศที่ดี บึงละหานได้รับเลือกให้เข้าอยู่ในทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติของไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 เรื่อง ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติของประเทศไทย และมาตรการการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระดับนานาชาติ(Ramsar Site)ต่อสำนักงานเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกภาคีของอนุสัญญาแรมซาร์(Ramsar Convention) อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในการเป็นถิ่นที่อยู่ของนกน้ำ (The Convention on Wetlands of International Importance, especially as Waterfowl Habitat.) และเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 มีมติคณะรัฐมนตรี การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 บึงละหานจึงยังไม่ได้อยู่ในทะเบียนรายชื่อของสำนักงานเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ แต่เพื่อเป็นการอนุรักษ์แหล่งเพาะพันธ์และอนุบาลสัตว์น้ำจึงมีการกำหนดจุดอนุรักษ์จำนวน 2 จุด คือบริเวณศาลเจ้าพ่อหาญคำและบริเวณวิจัยประมงน้ำจืดจังหวัดชัยภูมิ และขอความร่วมมือชาวประมงไม่ให้จับสัตว์น้ำในบริเวณจุดอนุรักษ์ดังกล่าว.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและบึงละหาน

บึงโขงหลง

ึงโขงหลง (Bueng Khong Long) เป็นบึงน้ำจืดในจังหวัดบึงกาฬ มีพื้นที่ครอบคลุมเขตอำเภอเซกาและอำเภอบึงโขงหลง.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและบึงโขงหลง

ชีริ เด็ดหัวใจยอดจารชน

ีริ เด็ดหัวใจยอดจารชน ชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์แอ๊คชั่นสัญชาติเกาหลีใต้เรื่อง Shiri (ฮันกึล: 쉬리, ระบบกระทรวงวัฒนธรรมเกาหลี 2000: Swiri, ระบบแมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์: Swiri) นำแสดงโดย ฮัน ซุคยู, ชอย มินซิก, ยุนจิน คิม, ซอง คังโฮ บทภาพยนตร์และกำกับการแสดงโดย กัง เจกิว.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและชีริ เด็ดหัวใจยอดจารชน

มังกรจีน

วาดมังกรจีนโบราณ มังกรจีน (อักษรจีนตัวเต็ม: 龍; อักษรจีนตัวย่อ: 龙; พินอิน: lóng; ฮกเกี้ยน: เล้ง; ไทยถิ่นเหนือ: ลวง) เป็นสัญลักษณ์โดดเด่นอันหนึ่งของจักรพรรดิและวัฒนธรรมจีน มีลักษณะที่มาจากสัตว์หลาย ๆ ชนิดผสมผสานกัน ลักษณะลำตัวยาวเหมือนงู มีเขี้ยวขนาดใหญ่หนึ่งคู่อยู่ที่บริเวณขากรรไกรด้านบน มีหนวดยาวลักษณะเหมือนกับไม้เลื้อย และมีแผงคอเหมือนกับของสิงโตอยู่บน คอ, คาง และข้อศอก มีเกล็ดสีเขียวเข้มทั่วทั้งบริเวณลำตัวรวมทั้งสิ้น 117 เกล็ด ซึ่งเกล็ดมังกรจำนวน 81 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยางซึ่งเป็นเกล็ดที่มีความดี เกล็ดมังกรจำนวน 36 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยินซึ่งจะเป็นเกล็ดที่มีความชั่ว ลักษณะเขาของมังกรจะมีสันหลังทอดยาวไปตามหลังและหาง เป็นหนามยาวและสั้นสลับกัน มีขา 4 ขาและกรงเล็บแข็งแรง เกล็ดของมังกรจีนนั้น จะมีลักษณะเฉพาะเปลี่ยนไปตามแต่ละชนิดของมังกร ตั้งแต่สีเขียวเข้มจนถึงสีทอง หรือบางแหล่งกล่าวกันว่า มังกรจีนนั้นมีหลายสี เช่น สีน้ำเงิน สีดำ สีขาว สีแดง สีเขียว หรือสีเหลือง แต่ในกรณีของมังกรชนิด chiao หลังของมังกรจะเป็นสีเขียว บริเวณด้านข้างเป็นสีเหลือง และใต้ท้องเป็นสีแดงเข้ม มังกรจีนชนิดหนึ่งจะมีปีกที่ด้านข้างของลำตัว และสามารถที่จะเดินบนน้ำได้ แต่สำหรับมังกรจีนอีกชนิดหนึ่งเมื่อสะบัดแผงคอไปข้างหน้าและข้างหลัง จะทำให้เกิดเสียงที่ฟังดูเหมือนกับเสียงขลุ่ย มังกรจีนจะมีโหนกอยู่บนหัวซึ่งทำให้สามารถบินได้ เรียกโหนกที่อยู่บนหัวว่า ch’ih muh แต่ถ้ามังกรจีนตัวใดไม่มีโหนกที่บริเวณหัว จะกำคทาเล็ก ๆ ที่เรียกว่า po-shan ซึ่งสามารถทำให้มังกรลอยตัวในอากาศได้(ปัจจุบัน ประเทศทางตะวันตก ก็เพิ่งเจอ วัตถุลึกลับบางอย่างสามารถลอยในอากาศได้เป็นระยะเวลาสั้นๆ) ในประเทศจีนคนโบราณมีความเชื่อกันว่ามังกรคือสัตว์ที่ทรงพลังและศักดิ์สิทธิ์แห่งฟ้าและดิน ได้รับการกล่าวกันว่ามีความเป็นมิตร มากกว่าความร้ายกาจ เป็นสัญลักษณ์ที่นำมาซึ่งความสุข และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง พบได้ใน แม่น้ำและทะเลสาบ ชอบที่จะอยู่ท่ามกลางสายฝน มังกรได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างกฎแห่งความใจบุญ และเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่กษัตริย์ในราชวงศ์ชิง กษัตริย์จะนั่งบนบัลลังก์มังกร เดินทางโดยเรือมังกร เสวยอาหารบนโต๊ะมังกร และบรรทมบนเตียงมังกร.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและมังกรจีน

มาห์เซียร์

ปลาพลวงหิน (''Neolissochilus stracheyi'') ที่น้ำตกเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี ปลาเวียนทอง (''Tor putitora'') วัยอ่อน ซึ่งเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มมาห์เซียร์ มาห์เซียร์ (Mahseers), มหาศีร์ (महाशीर) หรือ มหาสีร์ (महासीर) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดขนาดใหญ่จำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในสกุล Tor, Neolissochilus และ Naziritorโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสกุล Tor ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มาห์เซียร์เป็นปลาที่กระจายพันธุ์ในเขตร้อนของทวีปเอเชียตั้งแต่มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เอเชียใต้ จนถึงอิหร่าน ตลอดจนอนุทวีปอินเดียMenon AGK, 1992.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและมาห์เซียร์

ริชาร์ด ดอว์กินส์

ริชาร์ด ดอว์กินส์ ริชาร์ด ดอว์กินส์ (Richard Dawkins) นักชีววิทยาและนักเขียนชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง มีชื่อเต็มว่า คลินตัน ริชาร์ด ดอว์กินส์ (Clinton Richard Dawkins) เกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและริชาร์ด ดอว์กินส์

ลำปำ

ลำปำ อาจหมายถึง.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและลำปำ

วงศ์ย่อยปลาซิว

วงศ์ย่อยปลาซิว (Danionin) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ซึ่งถือเป็นวงศ์ใหญ่ มีสมาชิกต่าง ๆ ในวงศ์นี้ทั่วโลกมากกว่า 2,000 ชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Danioninae ปลาในวงศ์ย่อยนี้ มักมีขนาดเล็ก โดยเรียกในชื่อสามัญว่า ปลาซิว หรือ ปลาแปบ มีลักษณะโดยทั่วไป คือ ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีเงิน สันท้องกลมไม่เป็นสัน หรือบางชนิดสันท้องคม ส่วนหัวมักอยู่ในแนวเฉียงกับลำตัว ส่วนใหญ่มีปมที่ปลายของขากรรไกรล่าง หรือบางชนิดไม่มี ปากเฉียงขึ้นหรืออยู่ในตำแหน่งตรง มีฟันในหลอดคอ 1-3 แถว ก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังไม่แข็ง ปกติมีจำนวนก้านครีบที่แตกปลาย 7 ก้าน มักอยู่ในตำแหน่งทางด้านท้ายของลำตัวหรือหลังจุดเริ่มต้นของครีบท้อง บางชนิดไม่มีหนวด บางชนิดมีหนวด มีซอกเกล็ดเฉพาะที่ฐานของครีบท้อง เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์โค้งลงทางด้านล่างและสิ้นสุดต่ำกว่ากึ่งกลางคอดหาง ตามข้อมูลของมหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดให้ปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้มีทั้งหมด 30 สกุล (ดูในตาราง) แต่ตามข้อมูลของผู้ช่วยศาสตราจารย์ อภินันท์ สุวรรณรักษ์ แห่งคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดให้มีสกุลเพิ่มเติมขึ้นมาอีก ซึ่งเป็นปลาที่สามารถพบได้ในประเทศไทย ได้แก่ Aaptosyax, Aspidoparia, Boraras, Brachydanio, Leptobarbus, Macrochirichthys, Opsariichthys, Oxygaster และThryssocypris ทั้งนี้เนื่องจากจำนวนวงศ์ย่อยของปลาในวงศ์ปลาตะเพียนนี้ ยังไม่มีข้อยุติแน่นอน โดยนักมีนวิทยาและนักอนุกรมวิธานในแต่ละท่าน ก็จะจัดแตกต่างกันออกไป เช่น วอลเตอร์ เรนโบธ ได้แบ่งวงศ์ย่อยออกเป็นทั้งสิ้น 4 วงศ์ย่อย เมื่อปี ค.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและวงศ์ย่อยปลาซิว

วงศ์ย่อยปลาเลียหิน

วงศ์ย่อยปลาเลียหิน (Algae eater, Stone lapping) เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ Cyprinidae หรือวงศ์ปลาตะเพียน ซึ่งเป็นวงศ์ใหญ่ ในอันดับปลากินพืช (Cypriniformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Labeoninae (/ลา-เบ-โอ-นี-เน/) โดยรวมแล้ว ปลาในวงศ์ย่อยนี้ มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวทรงกระบอก ครีบหลังยกสูงและไม่มีก้านครีบแข็ง ลักษณะสำคัญ คือ ปากจะงุ้มลงด้านล่าง มีริมฝีปากบนหนาและแข็ง ในบางสกุลจะมีตุ่มเล็ก ๆ คล้ายสิวกระจายอยู่บนนั้น ในหลายชนิดมีหนวดอยู่ 1 คู่ โดยเป็นปลาที่ใช้ปากในการดูดกินตะไคร่น้ำ, สาหร่าย และแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็ก บริเวณพื้นน้ำหรือโขดหิน, ตอไม้ ใต้น้ำ เป็นอาหาร มักพบกระจายพันธุ์ทั้งในลำธารน้ำเชี่ยว และแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มักอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง ขนาดแตกต่างกันออกไปตั้งแต่เพียงไม่เกิน 10 เซนติเมตร จนถึงเกือบ 1 เมตร กระจายพันธุ์ทั่วไปทั้งทวีปเอเชียและแอฟริก.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและวงศ์ย่อยปลาเลียหิน

วงศ์ปลาฟันสุนัข

วงศ์ปลาฟันสุนัข (อังกฤษ: Dogteeth characin, Saber tooth fish, Vampire characin) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Cynodontidae (/ไซ-โน-ดอน-ทิ-ดี้/) มีรูปร่างทั่วไป คล้ายกับปลาแปบ ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ที่พบในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ แต่มีรูปร่างใหญ่กว่ามาก มีส่วนหัวใหญ่และเชิดขึ้นบริเวณปาก ตาโต ลำตัวแบนข้างมาก ส่วนท้องเป็นสันคม เรียวยาว ครีบท้องเรียวยาว ครีบหางแผ่เป็นแผ่นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ปากกว้างและเฉียงลง มีปากมีฟันแหลมคมเป็นซี่ ๆ เห็นชัดเจน โดยเฉพาะฟันคู่ล่างที่เรียวยาวมาก เห็นได้ชัดเจน ทั้งนี้จะสั้นหรือยาวเพียงใดขึ้นอยู่กับสกุล และชนิด ซึ่งฟันคู่นี้เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกขึ้นใหม่ได้ กรามปากทั้งบนและล่างสามารถเก็บฟันที่ยื่นยาวนี้ได้สนิท มีรูปร่างแบนข้างและเพรียวมาก ทำให้สามารถกลับตัวได้อย่างรวดเร็วเมื่ออยู่ในน้ำ เกล็ดเล็กละเอียดมาก พื้นลำตัวส่วนมากเป็นสีเงินแวววาว พบตามแม่น้ำสายใหญ่ในประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ ชอบอยู่รวมเป็นฝูง ล่าเหยื่อด้วยการโฉบกินปลาขนาดเล็กกว่าตามผิวน้ำ ว่องไวมากเมื่อล่าเหยื่อ มีทั้งหมด 5 สกุล พบในขณะนี้ราว 14 ชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ Hydrolycus armatus ที่เมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 60 เซนติเมตร นิยมตกเป็นเกมกีฬา มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า "พาราย่า" (Paraya) และนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามด้วย ซึ่งมักมีนิสัยขี้ตกใจเมื่อเลี้ยงในตู้.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและวงศ์ปลาฟันสุนัข

วงศ์ปลาสร้อยน้ำผึ้ง

วงศ์ปลาสร้อยน้ำผึ้ง เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อว่า Gyrinocheilidae เป็นวงศ์ปลาที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นปลาที่มีรูปร่างเรียวทรงกระบอก แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวค่อนข้างใหญ่ ตาเล็ก ปากอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก ไม่มีฟันในลำคอ ไม่มีหนวด ครีบอกและครีบท้องอยู่ในแนวเดียวกับสันท้อง และมีลักษณะสำคัญ คือมีช่องเล็ก ๆ อยู่ด้านบนสุดของช่องเหงือก ริมฝีปาก มีลักษณะเป็นแผ่นดูดรูปกลมใช้ดูดกินตะไคร่น้ำตามพื้นหิน และ ทราย แล้วหายใจโดยใช้น้ำผ่านเข้าช่องเปิดด้านบนฝาปิดเหงือก แล้วออกมาทางด้านข้าง แทนที่จะใช้ปากสูบน้ำเข้าอย่างปลาทั่ว ๆ ไป และมีถุงลมขนาดเล็ก เดิมที นักมีนวิทยาได้เคยจัดปลาในวงศ์นี้ให้อยู่วงศ์เดียวกันกับวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มาก่อน ปลาที่พบในวงศ์นี้มีด้วยกันทั้งหมด 3 ชนิด และมีเพียงสกุลเดียว สำหรับในประเทศไทยพบ 2 ชนิด คือ ปลาสร้อยน้ำผึ้ง (Gyrinocheilus aymonieri) และ ปลามูด (G.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและวงศ์ปลาสร้อยน้ำผึ้ง

วงศ์ปลาหมอสี

วงศ์ปลาหมอสี (Cichlids) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากกว่า 1,000 ชนิด นับเป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสาม รองมาจากวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlidae (/ซิค-ลิด-เด/) ชื่อสามัญในภาษาไทยนิยมเรียกว่า "ปลาหมอสี" ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่จึงมักมีชื่อขึ้นต้นว่า "ปลาหมอ" ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีลักษณะหลายหลากแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของถิ่นกำเนิด ปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด แต่มีบางชนิดพบในน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้พบมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีประมาณ 900 และ 290 ชนิดตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีบางชนิดพบได้ในตอนล่างของทวีปอเมริกาเหนือ อีกสี่ชนิดพบในตะวันออกกลาง และอีกสามชนิดพบในอินเดีย ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีความสำคัญต่อมนุษย์ในหลายลักษณะ ปลาบางชนิด เช่น ปลานิล จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ในขณะที่ปลาอีกหลายชนิดเป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาเทวดา, ปลาปอมปาดัวร์ และ ปลาออสการ์ เป็นต้น.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและวงศ์ปลาหมอสี

วงศ์ปลาหมูกระโดงสูง

วงศ์ปลาหมูกระโดงสูง (Sucker, Chinese sucker, American sucker) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดกระดูกแข็ง ในอันดับปลาตะเพียน (Cypriformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Catostomidae (มาจากภาษากรีก คำว่า "kata" หมายถึง "ล่าง" และ "stoma" หมายถึง "ปาก") มีลักษณะโดยรวมคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) หรือ วงศ์ปลาสร้อยน้ำผึ้ง (Gyrinocheilidae) ที่อยู่ในอันดับเดียวกัน มีลักษณะร่วม คือ มี ปากอยู่ด้านล่างของส่วนหัว ริมฝีปากหนา มีความแตกต่างไปจากปลาวงศ์อื่นในอันดับเดียวกัน คือ มีแถวฟันในคอหอยเพียงแถวเดียวเท่านั้น มีความยาวเต็มที่ประมาณ 60-90 เซนติเมตร แต่ส่วนใหญ่จะมีความยาวน้อยกว่านั้น เป็นปลาที่หากินตามพื้นท้องน้ำ โดยหากินอาหารจำพวก ตะไคร่น้ำหรือสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น หนอนแดง, ไส้เดือนน้ำ, กุ้ง หรือ แมลงน้ำต่าง ๆ เป็นต้น พบกระจายพันธุ์ส่วนมากในทวีปอเมริกาเหนือ และพบบางส่วนในประเทศจีน แบ่งออกได้เป็น 13 สกุล 68 ชนิด มีหลายชนิด หลายสกุลที่สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและวงศ์ปลาหมูกระโดงสูง

วงศ์ปลาอินซีเน็ต

วงศ์ปลาอินซีเน็ต (Prochilodus, Flannel-mouth characin) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Prochilodontidae (/โพร-ชิ-โล-ดอน-ทิ-ดี/) ปลาในวงศ์นี้มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) กล่าวคือ มีรูปร่างแบนข้าง ผอมเพรียว เกล็ดมีสีเงินแวววาว มีลายแถบสีคล้ำ ดวงตากลมโต ปากมีขนาดเล็ก ริมฝีปากหนา โดยเฉพาะปากบน และสามารถขยับไปมาได้ตลอด ฟันมี 2 แถวและมีขนาดเล็ก ครีบหางและครีบหลังในบางสกุลมีลายแถบสีดำ มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแม่น้ำและแหล่งน้ำจืดของทวีปอเมริกาใต้ เช่น แม่น้ำอเมซอนและสาขา เป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ โดยใช้ปากที่ขยับไปมาได้ตลอดเวลานั้นตอดหาอาหารกินตามพื้นท้องน้ำ และวัสดุใต้น้ำต่าง ๆ ผสมพันธุ์และวางไข่ได้ครั้งละ 100,000 ฟอง มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 30 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดถึง 80 เซนติเมตร นับเป็นปลาเศรษฐกิจที่นิยมบริโภคกันในท้องถิ่น อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะในสกุล Semaprochilodus หรือที่รู้จักกันดีในแวดวงปลาสวยงามว่า "อินซีเน็ต" โดยนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาที่ใช้ทำความสะอาดตู้เลี้ยง เพราะเป็นปลาที่ใช้ปากตอดเศษอาหารและตะไคร่น้ำได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีความสวยงามอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า ปลาชนิดนี้ควรเลี้ยงคู่กับปลาอะโรวาน่าหรือปลามังกร เพราะมีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า "เฟยหง" (จีนตัวเต็ม: 飛鳳) เมื่อเลี้ยงคู่กันแล้วจะเปรียบเสมือนหงส์คู่มังกร มีทั้งหมด 21 ชนิด 3 สกุล.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและวงศ์ปลาอินซีเน็ต

วงศ์ปลาคาราซิน

วงศ์ปลาคาราซิน (Characins, Tetras) หรือ วงศ์ปลาตะเพียนกินเนื้อ เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่งที่เดิมอยู่จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) แต่ว่าปลาในวงศ์นี้เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร หลายสกุล หลายชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Characidae โดยถือเป็นวงศ์หลักของปลาในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) สามารถแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีกหลายวงศ์ มีหลายร้อยชนิด นิยมอยู่รวมเป็นฝูง โดยปลาที่มีขนาดเล็ก เช่น ปลานีออน (Paracheirodon innesi) มักจะมีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ เรียกรวม ๆ กันว่า "ปลาเตตร้า" เป็นต้น พบกระจายอยู่ทั่วไปทั้งทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และทวีปอเมริกาใต้ เป็นวงศ์ปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจคือ ใช้บริโภค ซึ่งปลาที่รู้จักกันในแง่นี้ก็คือ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) เป็นต้น และนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและวงศ์ปลาคาราซิน

สกุลบาร์โบดีส

กุลบาร์โบดีส เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Barbodes (/บาร์-โบ-ดีส/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คำว่า Barbodes มาจากภาษาละตินคำว่า barbus หมายถึง "หนวดปลา" และภาษากรีกคำว่า oides หมายถึง "เหมือนกับ" หรือ "คล้ายกับ" มีลักษณะสำคัญ คือ เมื่อยังเป็นลูกปลาวัยอ่อนจะมีแต้มกลมเรียงกันในแนวด้านข้างลำตัว 3-5 แต้ม ซึ่งรวมทั้งแต้มบริเวณคอดหาง และมีแต้มที่จุดเริ่มต้นของครีบหลัง ก้านครีบแข็งมีขอบเป็นซี่จักรแข็ง เกือบทุกชนิดมีหนวดบนขากรรไกรบนสองคู่ ยกเว้นในบางชนิด มีเกล็ดที่มีท่อในแนวเส้นข้างลำตัว 22-32 เกล็.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและสกุลบาร์โบดีส

สกุลบาร์โบนีมัส

กุลบาร์โบนีมัส (Tinfoil barb) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Barbonymus (/บาร์-โบ-นี-มัส/) มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธานคือ มีครีบหลังที่มีก้านครีบเดี่ยวที่ขอบจักเป็นฟันเลื่อย ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ปากล่างมีร่องระหว่างริมปากกับกระดูกขากรรไกร ฐานครีบก้นยาวประมาณร้อยละ 90 ของหัว จะงอยปากไม่มีตุ่มเม็ดสิว มีหนวด 2 คู่ โดยแบ่งเป็นริมฝีปากบน 1 คู่ และมุมปาก 1 คู่ ปลาที่อยู่ในสกุลนี้มีทั้งหมด 10 ชนิด เป็นปลาที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด สกุลนี้ได้รับการตั้งชื่อในปี ค.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและสกุลบาร์โบนีมัส

สกุลพุนชัส

ปลาตะเพียนหน้าแดง (''Sahyadria denisonii'') ซึ่งเดิมเคยอยู่ในสกุลนี้ แต่ปัจจุบันแยกอยู่ในสกุล ''Sahyadria''Raghavan, R., Philip, S., Ali, A.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและสกุลพุนชัส

สกุลพุนทิกรุส

กุลพุนทิกรุส เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โดยใช้ชื่อสกุลว่า Puntigrus เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและสกุลพุนทิกรุส

สกุลรัสบอร่า

กุลรัสบอร่า เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ซึ่งตั้งชื่อโดย ปีเตอร์ บลีกเกอร์ ในปี ค.ศ. 1859 ใช้ชื่อสกุลว่า Rasbora (/รัส-บอ-รา/) มีลักษณะโดยรวม คือ ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้าน และก้านครีบแขนง 7 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน ปากแคบ มีปุ่มในปากล่าง ไม่มีหนวด และจุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่กึ่งกลางลำตัว มีการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำของทวีปแอฟริกา, ทวีปเอเชีย พบตั้งแต่เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเอเชียตะวันออก มีสมาชิกในสกุลนี้จำนวนมาก โดยในประเทศไทยจะเรียกปลาในสกุลนี้รวม ๆ กันว่า "ปลาซิว" มีอยู่หลายชนิด สำหรับในประเทศไทย ปลาที่ได้ชื่อว่าปลาซิว คือ ปลาที่อยู่ในสกุลนี้มากที่สุด มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการใช้บริโภคกันในท้องถิ่นและการเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม โดยอาจเรียกทับศัพท์ตามชื่อวิทยาศาสตร์ไปว่า รัสบอร่า โดยรวบรวมปลาได้จากการจับทีละมาก ๆ จากธรรมชาติและเพาะขยายพันธุ์ได้เองในที่เลี้ยง อีกทั้งยังถือเป็นห่วงโซ่อาหารเบื้องต้นตามธรรมชาติอีกด้วย เนื่องจากปลาในสกุลนี้มีขนาดเล็กและกินพืชเป็นอาหาร จึงมักตกเป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำขนาดใหญ่กว่าเสมอ แต่ในปัจจุบัน ได้มีการแบ่งแยกเป็นสกุลใหม่ ได้แก่ Kottelatia 1 ชนิด, Boraras 5 ชนิด, Breviora 2 ชนิด, Microrasbora 7 ชนิด และ Trigonostigma 4 ชน.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและสกุลรัสบอร่า

สกุลลาบิโอบาร์บุส

ลาบิโอบาร์บุส เป็นสกุลของปลาสร้อยจำพวกหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โยฮัน กุนราด ฟัน ฮัสเซิลต์ ได้ตั้งสกุลนี้ขึ้นเมื่อปี..

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและสกุลลาบิโอบาร์บุส

สกุลลาเบโอ

กุลลาเบโอ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดที่อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ลำตัวยาว แบนข้างมากในบางชนิด บางชนิดแบนข้างน้อย จะงอยปากยื่นยาว บางชนิดจะงอยปากทู่ บางชนิดจะงอยปากแหลม ส่วนใหญ่ปลายจะงอยปากจะปกคลุมด้วยรูเล็ก ๆ และตุ่มเม็ดสิวเล็ก ๆ ใต้จะงอยปากมีติ่งเนื้อยื่นออกมาทั้งสองข้างอยู่หเนือขากรรไกรบน ริมฝีปากบนและล่างหนา หนวดที่ปลายจะงอยปากมักยาวกว่าหนวดที่มุมปากบน แต่ไม่ยาวมากนัก ความยาวของหนวดเมื่อเทียบกับเส้นผ่าศูนย์กลางตาแล้วมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบท้องยาวกว่าส่วนหัว ก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังมีขอบเรียบและไม่เป็นหนามแข็ง ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 10-12 ก้าน มีขนาดแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่มีขนาดไม่ถึงหนึ่งฟุตจนถึงเกือบ ๆ หนึ่งเมตร มักหากินโดยแทะเล็มตะไคร่น้ำ, สาหร่าย หรืออินทรียสารต่าง ๆ บริเวณโขดหินหรือใต้ท้องน้ำ พบทั้งทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พบแล้วมากกว่า 100 ชนิด นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและรับประทานเป็นปลาเศรษฐกิจ โดยที่ปลาสกุลนี้มีความใกล้เคียงกับสกุล Epalzeorhynchos มาก โดยที่หลายชนิด เช่น L.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและสกุลลาเบโอ

สกุลสหยัดเรีย

กุลสหยัดเรีย เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Sahyadria ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) คำว่า Sahyadria มาจากคำว่า "Sahyadri" (สหยัดรี) ซึ่งเป็นชื่อท้องถิ่นของเทือกเขาเวสเทิร์นกาตส์ ในภาคตะวันตกของอินเดีย ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของปลาในสกุลนี้ จัดเป็นปลาที่พบได้เฉพาะถิ่น ปัจจุบัน จำแนกออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่Raghavan, R., Philip, S., Ali, A.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและสกุลสหยัดเรีย

สกุลซีสโทมัส

กุลซีสโทมัส เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Systomus (/ซีส-โท-มัส/) เป็นปลาพื้นเมืองที่พบได้ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย เป็นปลาที่มีขอบท้ายก้านครีบแข็งของครีบหลังมีซี่จักรแข็งแรง ริมฝีปากเรียบบาง มีหนวดที่ริมฝีปากบนสองคู่ เกล็ดในแนวเส้นข้างลำตัวพัฒนาเป็นท่อสมบูรณ์จำนวนระหว่าง 27-34 เกล็ด เกล็ดบนลำตัวแต่ละเกล็ดมีฐานเกล็ดสีดำ แลดูเหมือนลายตามยาวจาง ๆ มีแต้มกลมรี ตามแนวยาวที่ฐานครีบหาง หลายชนิดมีจุดกลมสีดำบริเวณจุดเริ่มต้นของครีบหลัง มักพบแถบสีดำบริเวณขอบบนและล่างของครีบหาง หน้า 68, ตะเพียน Update, "คุยเฟื่องเรื่องปลาไทย" โดย อ.ชัยวุฒิ กรุดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและสกุลซีสโทมัส

สกุลปลาหัวโต

กุลปลาหัวโต (Silver carp, Bighead carp) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืด 3 ชนิด ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาที่ต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนแถบแม่น้ำฮวงโหและแม่น้ำสาขา ได้แก.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและสกุลปลาหัวโต

สกุลแซกโก

กุลแซกโก (Freshwater minnow, Trout minnow) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Zacco (/แซก-โก/) หมายถึง "ดาบของจักรพรรดิลีโอที่ใช้โดยชาวแซ็กซอน" มีรูปร่างเรียวยาว ลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาน้ำหมึก หรือปลาสะนาก มีความคล่องแคล่วว่องไวปราดเปรียว พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีทั้งหมด 7 ชน.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและสกุลแซกโก

สกุลโลโบคีลอส

กุลโลโบคีลอส เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในสกุล Lobocheilos ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในวงศ์ย่อยปลาเลียหิน (Labeoninae) เผ่า Banganini มีลักษณะสำคัญ คือ ลำตัวค่อนข้างยาว ปากอยู่ด้านล่าง ริมปากทั้งบนและล่างเรียบ ปากล่างขยายเป็นแผ่นเนื้อหนาแผ่คลุมกระดูกขากรรไกร บนจะงอยปากมีรูเล็ก ๆ และมีตุ่มสิวเป็นกระจุกหรือเรียงกันเป็นแถว ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 8–10 ก้าน ก้านครีบเดี่ยวไม่เป็นหนามแข็ง มีหนวดที่มุมปาก 1 คู่ เป็นสกุลที่มีสมาชิกมาก ในประเทศไทยพบได้ถึง 12 ชน.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและสกุลโลโบคีลอส

สกุลเพเธีย

กุลเพเธีย เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Pethia ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) คำว่า Pethia มาจากภาษาสิงหลคำว่า pethia หมายถึง สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เช่น ปลาตะเพียนขนาดเล็ก ๆ ส่วนใหญ่เป็นปลาที่พบได้ในประเทศอินเดีย รวมถึงพม่า มีลักษณะสำคัญ คือ เป็นปลาขนาดเล็กที่มีสีสันสดใส มีก้านครีบแข็งที่ครีบหลัง ที่ขอบด้านท้ายเป็นซี่จักรแข็งแรง ไม่มีหนวดที่ขากรรไกรคู่หน้า ส่วนคู่หลังอาจพบหรือไม่พบแล้วแต่ชนิด ริมฝีปากบาง เกล็ดที่มีท่อเส้นข้างลำตัวอาจไม่พบตลอดแนวเกล็ดด้านข้างจำนวน 19-24 เกล็ด ในบางชนิด ครีบหลังอยู่กึ่งกลางลำตัวล้ำแนวจุดเริ่มต้นของครีบท้อง มักมีจุดกลมรีในแนวยาวบริเวณคอดหาง และแต้มกลมเหนือแนวครีบอก.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและสกุลเพเธีย

สกุลเดสโมพุนชัส

กุลเดสโมพุนชัส (Striped barb, Banded barb) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Desmopuntius (/เดส-โม-พุน-ชัส/) คำว่า Desmopuntius มาจากภาษากรีกคำว่า δεσμωτες (desmotes) แปลว่า "นักโทษ" หรือ "เชลย" และคำว่า Puntius ซึ่งเป็นชื่อสกุลเก่า มีความหมายถึง ลวดลายบนตัวปลาที่เหมือนชุดนักโทษ มีลักษณะเด่นทางกายภาค คือ ขอบด้านท้ายของก้านครีบแข็งที่ครีบหลังเป็นซี่จักร ริมฝีปากบาง มีหนวดสองคู่เห็นชัดเจน เกล็ดในแนวข้างลำตัวมีท่อเรียงกันสมบูรณ์ถึงฐานครีบหางจำนวนระหว่าง 25-27 เกล็.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและสกุลเดสโมพุนชัส

หมึก (แก้ความกำกวม)

หมึก อาจหมายถึง.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและหมึก (แก้ความกำกวม)

หม่ำ (แก้ความกำกวม)

หม่ำ เป็นภาษาปากมีความหมายถึง การรับประทาน หรือการกิน โดยมากเป็นคำใช้หลอกล่อเด็ก ๆ ให้รับประทานอาหาร โดยมักพูดว่า "หม่ำ ๆ".

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและหม่ำ (แก้ความกำกวม)

หลวงมัศยจิตรการ (ประสพ ตีระนันทน์)

หลวงมัศยจิตรการ เป็นอดีตนักวิชาการประมง และนักวาดภาพปลาและสัตว์น้ำเพื่อการศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในอดีต หลวงมัศยจิตรการ มีชื่อจริงว่า ประสพ ตีระนันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและหลวงมัศยจิตรการ (ประสพ ตีระนันทน์)

อันดับปลาตะเพียน

อันดับปลาตะเพียน หรือ อันดับปลากินพืช (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cypriniformes, Carp, Barb, Loach, Minnow, Chinese suckerfish, Garra) เป็นอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปลาตะเพียน, ปลาทอง, ปลาคาร์ป, ปลาซิว เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ Cyprinidae มีลักษณะโดยรวมคือ ลำตัวมีเกล็ด ส่วนใหญ่แบนข้าง สันท้องกลมหรือเป็นสันคม ไม่มีหนามที่สันท้อง ตาไม่มีหนังคลุม ปากมีหลายตำแหน่งทั้งอยู่ตรงด้านหน้า เฉียงขึ้น หรืออยู่ทางด้านล่าง บางชนิดยืดหดได้เล็กน้อย บางชนิดมีลักษณะคล้ายปากดูด ส่วนใหญ่ไม่มีฟันบนขากรรไกรหรือบางชนิดที่มีก็มีไม่เกิน 8 ซี่ รอยต่อส่วนปลายของขากรรไกรล่างมีปมยื่นออกมาเรียกว่า ซิมไซซีล นอบ ริมฝีปากบางอาจมีหรือไม่มีติ่งเนื้อ บางชนิดไม่มีริมฝีปาก ไม่มีหนามใต้ตา หรือหน้าตา ช่องเปิดเหงือกกว้างกระดูกโอเพอร์เคิล เจริญดี มีหนวด 1-2 คู่ หรือไม่มี ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายของครีบหลังอาจแข็ง หรือไม่แข็ง อาจมีหยักด้านในหรือไม่มี ไม่มีครีบไขมัน มีฟันที่หลอดคอ 1-3 แถว ขอบปากเป็นกระดูกพรีแมคซิลลา ขากรรไกรบนยืดหดได้ บางชนิดครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว มีครีบหลังตอนเดียว ถุงลมมีขนาดค่อนข้างใหญ่ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นสองตอน ไม่ถูกแผ่นกระดูกปกคลุมไว้ เป็นปลาที่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภูมิภาคของโลก ทั้งอเมริกาเหนือ, ทวีปยูเรเชียและทวีปเอเชีย มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ พบในน้ำจืดมากกว่าทะเล ส่วนใหญ่เป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหาร ไม่มีกระเพาะอาหาร แต่ก็มีหลายชนิดที่กินเนื้อหรือแพลงก์ตอน เป็นปลาที่มนุษย์คุ้นเคยมานานเพราะใช้เป็นอาหาร นอกเหนือจากปลาในวงศ์ Cyprinidae แล้ว ยังมีปลาในวงศ์อื่นอีกที่อยู่ในอันดับนี้ประมาณ 5-6 วงศ์ ได้แก.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและอันดับปลาตะเพียน

อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อ

อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อ เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน และอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทางภาคเหนือของไทย มีเนื้อที่ประมาณ 305,000 ไร่ (ประมาณ 511 ตารางกิโลเมตร หรือ 200 ตารางไมล์) ลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวเทือกเขาแดนลาวสลับเป็นลูกคลื่นต่อเนื่องไปจนจรดชายแดนไทย–พม่าทางด้านทิศเหนือ ด้วยภูมิประเทศที่ติดต่อกับแนวป่าในประเทศพม่า ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำทำให้มีน้ำตกหลายสายที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากมาย สิ่งที่น่าสนใจได้แก่ ถ้ำปลา ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยผา ตำบลห้วยผา ห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร สามารถเดินทางไปชมได้ทุกฤดูกาล บริเวณโดยรอบเป็นลำธารและป่าเขา ถ้ำปลาตั้งอยู่บริเวณเชิงเขามีลักษณะเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่กว้างประมาณ 2 เมตร ลึก 1.50 เมตร ภายในแอ่งน้ำมีน้ำไหลออกจากถ้ำใต้ภูเขาอยู่ตลอดเวลา และมีปลาขนาดใหญ่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก คือ ปลาพลวงหิน หรือปลามุง หรือปลาคัง ซึ่งเป็นปลาที่มีเกล็ดขนาดใหญ่ในวงศ์เดียวกันกับปลาคาร์ป และถึงแม้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีใครจับไปรับประทานหรือทำอันตราย เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นปลาเจ้า หากใครนำไปรับประทานแล้วจะต้องมีอันเป็นไป โดยภายในถ้ำมีรูปปั้นฤๅษีอยู่เป็นเทพารักษ์ผู้ปกปักรักษาถ้ำและปลา นอกจากนี้แล้วยังมีปลาชนิดอื่น ๆ เช่น ปลากระแห, ปลาช่อนงูเห่า อีกสถานที่หนึ่งคือ น้ำตกผาเสื่อ เป็นน้ำตกที่ไหลมาจากน้ำตกแม่สะงาในพม่า เป็นน้ำตกขนาดกลางสูงประมาณ 10 เมตร กว้าง 15 เมตรในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำไหลเต็มหน้าผากว้างทำให้ดูมีรูปร่างคล้ายเสื่อปูลาด จึงเป็นที่มาของชื่อน้ำตกผาเสื่อส่วนในฤดูแล้งจะมีน้ำน้อย แต่ก็มีถือว่าเป็นน้ำตกที่มีน้ำตลอดปี แม้จะสามารถมองเห็นหินที่สวยงามเหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจแต่ทางอุทยานไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำเพราะน้ำค่อนข้างเชี่ยวและเป็นเหวลึกช่วงที่เหมาะสมจะไปท่องเที่ยวคือเดือนกรกฎาคม–กันยายน น้ำตกผาเสื่อตั้งอยู่ในเขตตำบลหมอกจำแป่ ห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 26 กิโลเมตร นอกจากนี้แล้วยังมีพรรณไม้ต่าง ๆ รวมถึงสัตว์ป่าต่าง ๆ เช่น กระทิง, เลียงผา, เก้ง, ชะมด, หมูป่า, เหยี่ยว และนกปรอ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อ

ฮิปโปโปเตมัส

ปโปโปเตมัส หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ฮิปโป (Hippopotamus; Hippo) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินพืชชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์กีบคู่ จัดอยู่ในวงศ์ฮิปโปโปเตมัส (Hippopotamidae) โดยเป็นสัตว์เพียง 1 ใน 2 ชนิดของวงศ์นี้ที่ยังสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน (อีกชนิดนั้นคือ ฮิปโปโปเตมัสแคระ (Choeropsis liberiensis) ที่พบในป่าดิบชื้นของแอฟริกาตะวันตก) ชื่อ "ฮิปโปโปเตมัส" มาจากภาษากรีกคำว่า ἵππος (hippos) หมายถึง "ม้า" และ ποταμός (potamos) หมายถึง "แม่น้ำ" รวมแล้วหมายถึง "ม้าแม่น้ำ" หรือ "ม้าน้ำ" (ἱπποπόταμος) เนื่องจากมีส่วนหัวคล้ายม้ามาก โดยเฉพาะยามเมื่ออยู่ในน้ำ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและฮิปโปโปเตมัส

ปลาบัว

ปลาบัว ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Labeo dyocheilus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากา (L. chrysophekadion) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีส่วนหัวโตกว่า และมีจะงอยปากหนายื่นออกที่ปลายมีตุ่มเล็ก ๆ กระจัดกระจาย ปากค่อนข้างกว้างและเป็นรูปโค้งอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก โดยมีส่วนหนังด้านบนคลุม ตามีขนาดเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านบน มีหนวดสั้น ๆ 2 คู่ ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังเล็ก ไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหางเว้าลึก ปลาวัยอ่อนมีสีเงินวาว โคนหางมีจุดสีดำเห็นชัดเจน ขนาดโดยเฉลี่ย 50 เซนติเมตร หากินโดยแทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่ายที่เกาะตามโขดหินหรือลำธารที่น้ำไหลเชี่ยว เป็นปลาที่พบน้อย พบตั้งแต่แม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำโขง พบได้น้อยที่แม่น้ำเจ้าพระยา ปลาบัวมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "หว้าซวง", "สร้อยบัว" หรือ "ซวง" ในเขตแม่น้ำเพชรบุรีเรียก "งาลู".

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาบัว

ปลาบาร์บ

ปลาบาร์บ (Barb) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดหลายชนิด ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสกุล Barbus และPuntius โดยในอดีตถูกเรียกรวมกันในวงศ์ย่อย Barbinae โดยที่อาจมีบางวงศ์ย่อยได้ถูกยกให้ออกไปเป็นวงศ์ต่างหาก เช่น Labeoninae และปลาขนาดเล็กหลายชนิดในทวีปแอฟริกาอาจได้รับการจำแนกออกเป็นวงศ์ย่อยใหม่ รากศัพท์คำว่า "barb" เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกปลาทั่วไปในวงศ์ปลาตะเพียนในภาษายุโรป มาจากภาษาละตินคำว่า barba ที่แปลว่า "เครา" หรือ "หนวด" โดยอ้างอิงมาจากหนวดของปลาที่ปรากฏอยู่ที่มุมปากในหลายชน.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาบาร์บ

ปลาบิทเทอร์ลิ่ง

ปลาบิทเทอร์ลิ่ง (Bitterlings) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กในสกุล Rhodeus (/โร-ดี-อัส/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในวงศ์ย่อย Acheilognathinae เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก โดยคำว่า Rhodeus ที่ใช้เป็นชื่อวิทยาศาสตร์เป็นภาษากรีก หมายถึง "ดอกกุหลาบ" เนื่องจากส่วนใหญ่มีลำตัวสีแดงหรือชมพูเหมือนสีกลีบกุหลาบ โดยเฉพาะช่วงโคนหางและช่วงท้องในปลาตัวผู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูการวางไข่เพื่อดึงดูดใจปลาตัวเมีย พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดในแหล่งน้ำที่มีสภาพเย็นตั้งแต่แม่น้ำเนวาในรัสเซีย, แม่น้ำโรนในฝรั่งเศส และหลายแม่น้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยพบกระจายพันธุ์ในภาคพื้นยุโรปเพียงแค่ 2 ชนิดหน้า 82-86, Rosy Bitterling "ลูกน้อย (ใน) หอยกาบ" โดย สุริศา ซอมาดี.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาบิทเทอร์ลิ่ง

ปลาบ้า

ปลาบ้า ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ มีรูปร่างยาว ลำตัวค่อนข้างกลม หัวโต นัยน์ตาค่อนข้างโต ปากกว้างมีหนวดขนาดเล็ก 2 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนของหลังสีดำปนเทา ท้องสีขาวจาง ครีบหางสีแดงสดหรือชมพู ครีบอื่นสีแดงจาง ๆ มีขนาดความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 80 เซนติเมตร อาหารได้แก่ เมล็ดพืช, แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ปลาบ้าอาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำโขง, แม่น้ำน่าน, แม่น้ำมูล รวมถึงลำธารในป่าดงดิบ มักอยู่รวมเป็นฝูง โดยปลาชนิดนี้จะกินลูกลำโพงหรือลูกกระเบาเข้าไป แล้วสะสมพิษในร่างกาย เมื่อมีผู้นำไปกินจึงมีอาการมึนเมา อันเป็นที่มาของชื่อ จึงไม่เป็นที่นิยมรับประทานมากนัก แต่ที่มาเลเซียนิยมรับประทานมาก จนได้ชื่อว่า "ปลาสุลต่าน" มีฤดูวางไข่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 15-18 ชั่วโมง ปลาบ้ายังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไป เช่น "ปลาอ้ายบ้า", "ปลาพวง" ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาโพง" นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยมีชื่อเรียกเฉพาะในแวดวงว่า "ปลาแซมบ้า".

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาบ้า

ปลาบ้า (สกุล)

ปลาบ้า (Leptobarbus) เป็นสกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะที่สำคัญทางอนุกรมวิธาน คือ มีหัวกว้าง มีหนวดยาว 2 คู่ ปากค่อนข้างกว้าง มุมปากอยู่หน้านัยน์ตา เกล็ดมีขนาดปานกลาง เส้นข้างลำตัวอยู่ต่ำกว่าแนวกลางลำตัว ไปสิ้นสุดลงที่ส่วนล่างของโคนหาง ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 7 ก้าน และที่ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน เป็นปลาที่กินพืช โดยเฉพาะเมล็ดพืชเป็นอาหาร สกุลปลาบ้ามีทั้งหมด 4 ชนิด พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศไทย ไปจนถึงเกาะบอร์เนียว และเกาะสุมาตรา นับเป็นปลาจำพวกปลาซิวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ สำหรับในประเทศไทยพบเพียงแค่ชนิดเดียว.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาบ้า (สกุล)

ปลาพรม

ปลาพรม หรือ ปลาพรมหัวเหม็น (Greater bony-lipped barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลปลาสร้อยนกเขา มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 60 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยทั่วไป คือ 40 เซนติเมตร มีลำตัวกว้างและแบนข้าง หลังโค้ง ท่อนหางสั้น เกล็ดมีขนาดเล็ก ลำตัวมีเทาปนเงิน ลำตัวตอนเหนือครีบอกมีลายสีดำจาง ๆ ขวางลำตัวเป็นลักษณะเด่น นัยน์ตาเป็นสีแดง พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำ, คลอง หรืออ่างเก็บน้ำ ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค เป็นปลาที่หากินรวมกันเป็นฝูง ใช้ปากแทะตะไคร่น้ำตามโขดหินหรือตอไม้ใต้น้ำเป็นอาหารหลัก รวมทั้งกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น กุ้งหรือแมลง เป็นอาหารด้วย โดย ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ นักมีนวิทยาชาวอเมริกันได้บันทึกไว้ว่า การตกปลาชนิดนี้ใช้เบ็ดเกี่ยวที่เป็นข้าวสุกปั้นเป็นก้อนกลม หรือใช้กุ้ง หรือแมลงตกในแม่น้ำเจ้าพระยา เหตุที่ได้ชื่อว่า "พรมหัวเหม็น" เนื่องจากเนื้อมีกลิ่นเหม็นคาวเหม็นเขียว โดยเฉพาะส่วนหัว แต่กระนั้นก็ตามส่วนเนื้อลำตัวก็ยังใช้ประกอบอาหารได้ดีทั้งอาหารสดและทำเป็นปลาแห้ง นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาพรม

ปลาพลวง (สกุล)

ปลาพลวง เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดกลางที่ค่อนข้างไปทางใหญ่สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Neolissochilus (/นี-โอ-ลิส-โซ-คิล-อัส) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) สกุลนี้ถูกแยกออกจากสกุลปลาเวียน (Tor spp.) ในปี ค.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาพลวง (สกุล)

ปลาพลวงชมพู

ปลาพลวงชมพู (Khela mahseer, Semah mahseer, River carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาเวียน (T. tambroides) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่ลำตัวเพรียวและเป็นทรงกระบอกมากกว่า ส่วนหัวค่อนข้างมน ริมฝีปากหนา ปากกว้างเล็กน้อย ใต้คางมีติ่งเนื้อสั้น ๆ มีหนวด 2 คู่เห็นชัดเจน ตาอยู่ค่อนไปทางด้านบนหัว เกล็ดมีขนาดใหญ่ ครีบหลังมีก้านแข็ง 1 อัน ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นสั้น ลำตัวด้านบนมีสีคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีเงินเหลือบชมพูหรือทอง ครีบสีคล้ำ ด้านท้องสีขาว มีขนาดความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบ 35 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่แม่น้ำตาปีไปจนถึงมาเลเซีย โดยอาศัยอยู่ในลำธารหรือแม่น้ำที่มีฝั่งเป็นป่าร่มครึ้มรวมถึงบริเวณน้ำตก พบมากโดยเฉพาะในน้ำตกฮาลา-บาลา ภายในอุทยานแห่งชาติฮาลา-บาลา จังหวัดยะลา เป็นปลาที่มีรสชาติดี เป็นที่ขึ้นชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดยะลา มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 2,000 บาท และในฮ่องกงอาจมีราคาสูงถึง 5,000 บาท นับเป็นปลาที่มีราคาแพงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน อีกทั้งยังจัดว่าเป็นปลาตระกูลปลาพลวงหรือปลาเวียนเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่รับประทานทั้งเกล็ดได้หน้า 7, ปลาพลวงชมพู เลี้ยงได้...กิโลละ 2 พัน.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาพลวงชมพู

ปลาพลวงหิน

ปลาพลวงหิน หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ปลาพลวง (Mahseer barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวยาว ด้านข้างแบน มีเกล็ดขนาดใหญ่ หัวเล็ก มีหนวด 2 คู่ อยู่ปากบนและมุมปาก ครีบหางเว้าเป็นแฉกลึก กระโดงหลังค่อนข้างสูงมีก้านแข็ง 1 อัน ครีบหูมีขนาดเล็ก ครีบท้องและครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ลำตัวมีสีน้ำตาล ปนเขียว สีของปลาชนิดนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม บางแหล่งอาจจะมีสีน้ำตาลปนดำเข้ม มีแถบสีคล้ำพาดกลางลำตัวตามยาวไปใกล้โคนหาง ด้านท้องสีจาง ขนาดโดยประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1.5 เมตร อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่นับ 100 ตัวขึ้นไป ตามแม่น้ำขนาดใหญ่ที่มีน้ำใสสะอาด เช่น บริเวณแหล่งน้ำเชิงภูเขา หรือตามลำธารน้ำตกต่าง ๆ ทั่วประเทศ อาหารได้แก่ เมล็ดพืชต่าง ๆ เป็นปลาใหญ่ที่มักไม่มีใครนำมารับประทาน เนื่องจากทานไปแล้วเกิดอาการมึนเมา จึงเชื่อว่าเป็นปลาเจ้า แต่ความจริงแล้ว ปลาชนิดนี้ได้สะสมพิษจากเมล็ดพืชที่รับประทานเข้าไปในร่างกาย เช่นเดียวกับกรณีของปลาบ้า (Leptobarbus hoevenii) มีการรวบรวมลูกปลาจากธรรมชาติเพื่อขายส่งเป็นปลาสวยงาม รูปวาด ปลาพลวงหิน มีชื่อเรียกต่างออกไปตามภาษาถิ่นเช่น ภาคเหนือเรียก "ปลาพุง" หรือ "ปลามุง" บางพื้นที่เรียกว่า "ปลาจาด", "ปลายาด" หรือ "ปลาโพ" เป็นต้น และมีชื่อเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า "หญาเปอลา" ในประเทศไทยสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถพบปลาพลวงได้เป็นจำนวนมาก ได้แก่ น้ำตกตาดหลวง จังหวัดน่าน, น้ำตกพลิ้ว และ น้ำตกลำนารายณ์ จังหวัดจันทบุรี, อุทยานถ้ำปลาและอุทยานถ้ำธารลอด จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาพลวงหิน

ปลาพลวงถ้ำ

ปลาพลวงถ้ำ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Neolissochilus subterraneus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาพลวง (N.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาพลวงถ้ำ

ปลาพลวงทอง

ปลาพลวงทอง (Golden mahseer, Gold soro brook carp) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในกลุ่มปลามาห์เซียร์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Neolissochilus soroides อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะคล้ายปลาพลวงหิน (N.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาพลวงทอง

ปลากระมัง

ปลากระมัง (Smith's barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลาตะเพียนทั่วไป แต่ลำตัวแบนข้างกว่ามาก มีครีบหลังยกสูง ก้านครีบอันแรกและครีบก้นเป็นรอยหยัก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงิน ครีบท้องและครีบอกสีเหลืองอ่อน ครีบหางเว้าลึก ตาโต หัวมนกลม ไม่มีหนวด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30-45 เซนติเมตร พบในแม่น้ำและแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย นิยมใช้เนื้อบริโภคเหมือนปลาตะเพียนทั่วไป และพบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ปลากระมัง ยังมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ ด้วย เช่น "มัง" ที่บึงบอระเพ็ด "วี" ที่เชียงราย "เหลี่ยม" หรือ "เลียม" ที่ปากน้ำโพ ขณะที่ภาคใต้เรียก "แพะ" และภาคอีสานเรียก "สะกาง".

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลากระมัง

ปลากระมังครีบสูง

ปลากระมังครีบสูง (Sicklefin barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระมังชนิดอื่น ๆ เพียงแต่ปลากระมังครีบสูง มีครีบหลังที่แหลมและยกสูงกว่า มีขนาดประมาณ 40 เซนติเมตร พบเฉพาะแม่น้ำโขง ที่เดียวเท่านั้น เป็นปลาที่พบน้อย ใช้บริโภคในท้องถิ่น และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกเป็นภาษาอีสานว่า "สะกางเกสูง" หรือ "สะกาง".

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลากระมังครีบสูง

ปลากระสูบ

ปลากระสูบ (Hampala barb, Jungle perch) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Hampala (/แฮม-พา-ลา/) ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นในชวา มีรูปร่างโดยรวม คือ มีส่วนหัวใหญ่ ปากกว้าง มุมปากยาวถึงขอบตา มีหนวดที่มุมปากบนหนึ่งคู่ มีฟันที่ลำคอสามแถว ครีบหลังมีก้านครีบแขนงแปดก้าน เกล็ดเป็นแบบขอบบางเรียบ บนลำตัวมีจุดหรือเส้นขีดสีดำเห็นได้ชัดเจน ซึ่งอาจแปรเปลี่ยนไปได้ตามช่วงวัย และแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด ขนาดโตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 60-70 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 20-30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เป็นปลาที่กินปลาด้วยกันขนาดเล็กเป็นอาหาร นิยมอยู่เป็นฝูง ออกล่าเหยื่อพร้อม ๆ กัน จึงเป็นที่นิยมของนักตกปลา มีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า "ปลากระสูบ" หรือ "ปลาสูบ" หรือ "ปลาสูด" ในบางท้องถิ่น.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลากระสูบ

ปลากระสูบสาละวิน

ปลากระสูบสาละวิน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hampala salweenensis อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) รูปร่างคล้ายปลากระสูบขีด (H.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลากระสูบสาละวิน

ปลากระสูบจุด

ปลากระสูบจุด (Eye-spot barb, Spotted hampala barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะรูปร่างค่อนข้างยาว แบนข้างเล็กน้อย หัวยาว ปากกว้างมาก มีหนวดสั้น 1 คู่ที่ริมฝีปาก ครีบหลังค่อนข้างเล็ก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ตัวมีสีเงิน ด้านหลังสีคล้ำอมน้ำตาล ด้านท้องสีจาง ด้านข้างลำตัวมีจุดสีคล้ำข้างละหนึ่งดวง ครีบมีสีแดงเรื่อ ครีบหางมีสีแดงไม่มีแถบสีคล้ำ เป็นปลาที่พบได้เฉพาะที่ภาคอีสานของไทย ในต่างประเทศพบได้เฉพาะประเทศลาวและกัมพูชาเท่านั้น มีขนาดประมาณ 25 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 35 เซนติเมตร ชื่อวิทยาศาสตร์ dispar เป็นภาษาละตินหมายถึง "ไม่เหมือน" หรือ "ซึ่งแตกต่างกัน" อันหมายถึงสัณฐานที่แตกต่างจากปลากระสูบขีด (H.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลากระสูบจุด

ปลากระสูบขีด

ปลากระสูบขีด หรือ ปลากระสูบขาว (Hampala barb, Tranverse-bar barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระสูบจุด (H.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลากระสูบขีด

ปลากระแห

ฝูงปลากระแหที่ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุพรรณบุรี ปลากระแห เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfeldii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนทอง (B.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลากระแห

ปลากระโห้

ปลากระโห้ (Siamese giant carp, Giant barb) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอีกด้วย โดยเฉลี่ยมักมีขนาดประมาณ 1.5 เมตร แต่พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร หนักได้ถึง 150 กิโลกรัม ในอดีต เกล็ดปลากระโห้สามารถนำมาทอดรับประทานเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อ ปลากระโห้ จัดเป็นปลาประจำกรุงเทพมหานครของกรมประมง.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลากระโห้

ปลากระโห้อินเดีย

ปลากระโห้อินเดีย หรือ ปลากระโห้เทศ หรือ ปลากระโห้สาละวิน (Calta, Indian carp; কাতল) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายปลากระโห้ (Catlocarpio siamensis) ที่พบได้เฉพาะในประเทศไทย เว้นแต่ปลากระโห้อินเดียมีหนวด 1 คู่ เหนือริมฝีปาก นัยน์ตาพองโตกว่าและมีฟันที่ลำคอสองแถว สีลำตัวก็อ่อนกว่าอย่างเห็นได้ชัด จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Gibelion ขนาดเมื่อโตเต็มที่ได้ 182 เซนติเมตร น้ำหนัก 38.6 กิโลกรัม ซึ่งเล็กกว่าปลากระโห้มาก พบได้ในภูมิภาคเอเชียใต้ตอนบน เช่น รัฐอัสสัมในอินเดีย, ปากีสถาน, เนปาล, บังกลาเทศ จนถึงพม่า ปลากระโห้อินเดียได้ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยเช่นเดียวกับ ปลานวลจันทร์เทศ (Cirrhinus cirrhosus) และปลายี่สกเทศ (Labeo rohita) เนื่องจากเป็นปลาที่พบในแหล่งเดียวกัน เพื่อพัฒนาให้เป็นปลาเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต แต่ปรากฏว่าผลการเพาะเลี้ยงนั้น ปลากระโห้อินเดียกระทำได้ยากกว่าปลาอีก 2 ชนิดนั้น จึงเป็นที่นิยมและหายากได้ยากกว.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลากระโห้อินเดีย

ปลากะทิ

ปลากะทิ เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclocheilichthys heteronema ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาชนิดหนึ่งที่อยู่ในสกุล Cyclocheilichthys.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลากะทิ

ปลากา

ปลาการาชบัณฑิตยสถาน.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลากา

ปลาการ์ร่า รูฟา

ปลาการ์ร่า รูฟา หรือ ปลาด็อกเตอร์ ฟิช (Doctor fish) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกปลาเลียหินชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ปลาการ์ร่า รูฟา มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร เป็นปลาพื้นเมืองของภูมิภาคตะวันออกกลาง แถบประเทศตุรกี โดยอาศัยอยู่ในบ่อน้ำร้อนหรือลำธารที่มีอุณหภูมิค่อนข้างสูง (ประมาณ 35 องศาเซลเซียส) โดยปกติแล้วปลาการ์ร่า รูฟา จะหาอาหารใต้น้ำกิน ซึ่งได้แก่ สาหร่ายและตะไคร่น้ำ แต่ด้วยอุณหภูมิน้ำที่สูงทำให้อาหารอื่น ๆ สำหรับปลาจึงมีอยู่อย่างจำกัด เมื่อเทียบกับแหล่งน้ำโดยทั่วไป ดังนั้น เมื่อมีผู้ที่ลงไปแช่น้ำในบ่อน้ำร้อนเหล่านี้ ปลาการ์ร่า รูฟาจึงมาแทะเล็มผิวหนังชั้นนอกของผู้ที่ลงแช่เป็นอาหารแทน ก่อให้เกิดความรู้สึกสบาย อันเป็นที่มาของการทำสปาประเภท ฟิชสปา หรือ มัจฉาบำบัด มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ โดยสถาบันทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยเวียนนา พบว่า การให้ปลาการ์ร่า รูฟา แทะเล็มผิวหนังช่วยบำบัดโรคผิวหนังบางชนิดได้ที่ไม่มียารักษา โดยพบว่าเมื่อปลากัดกินผิวหนัง ที่เป็นเกล็ด หรือขุย อันเนื่องมาจากอาการของโรค ของผู้ป่วยออกไป เป็นการเปิดโอกาสให้ผิวหนังได้สัมผัสกับรังสียูวี ในระดับที่ลึกลงไป ทำให้ผิวหนังมีพัฒนาการเติบโตได้ดีขึ้น“Doctor fish”.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาการ์ร่า รูฟา

ปลากาแดง

ปลากาแดง ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epalzeorhynchos frenatum อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลากาแดง

ปลาฝักพร้า

วามหมายอื่น: สำหรับปลาชนิดอื่นที่เป็นปลาน้ำเค็ม ดูได้ที่ ปลาดาบลาว ปลาฝักพร้า (Freshwater wolf herring, Sword minnow, Long pectoral-fin minnow; カショーロバルブ) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะลำตัวยาวและแบนข้างคล้ายมีดดาบ ท้องเป็นสันแคบ ตาโต ปากกว้างเฉียงขึ้นด้านบน ปลายปากล่างโค้งเข้าเล็กน้อยคล้ายตะขอ ลำตัวสีเงินวาว ครีบใส ครีบอกใหญ่และยาวแหลม ครีบท้องและครีบหลังเล็ก แต่ครีบก้นมีฐานครีบยาว ครีบหางเว้าลึกและปลายมน โคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ ขนาดประมาณ 20-60 เซนติเมตร จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Macrochirichthys เป็นปลาล่าเหยื่อ มักหากินบริเวณใกล้ผิวน้ำ เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็วมาก อาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็กจำพวกปลาซิวและแมลง พบในแหล่งน้ำหลากและแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลาง, ภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง ในภาคใต้พบเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกเท่านั้น และพบได้จนถึงประเทศอินโดนีเซีย เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำสะอาด ปัจจุบันอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ เพราะสภาพแวดล้อมที่อยู่ถูกทำลายไปประกอบกับปริมาณปลาที่พบในธรรมชาติมีน้อยมาก จึงไม่ทำให้เป็นที่นิยมในการประมง ปลาฝักพร้า ยังมีชื่อเรียกอื่นที่เรียกต่างออกไป เช่น "ปลาท้องพลุ", "ปลาดาบลาว", "ปลาดาบญวน", "ปลาโกร๋ม" เป็นต้น.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาฝักพร้า

ปลามะไฟ

ปลามะไฟ (Stoliczkae's barb) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวทรงสี่เหลี่ยมป้อมเล็กน้อย หัวสั้น ตาและปากมีขนาดเล็ก ไม่มีหนวด เกล็ดใหญ่ ลำตัวสีเงิน เหนือครีบอกและโคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ ตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีสีแดงเหลือบบนลำตัว ครีบใสมีสีแดงแต้ม และมีแถบสีคล้ำเล็กน้อย เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมตัวเป็นฝูงในแหล่งน้ำลำธารที่ไหลเชี่ยวบนภูเขาในลุ่มแม่น้ำสาละวินและลุ่มแม่น้ำโขง แต่ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะมีนิสัยดุร้าย และมีอาณาเขตของตนเอง เป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกในวงการปลาสวยงามว่า "ปลาตะเพียนจุด", นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาเสือภูเขา" หรือ "ปลามุมหมาย" นอกจากนี้แล้วปลามะไฟยังมีความคล้ายคลึงกันมากกับปลาอีกชื่อหนึ่งในสกุลเดียวกัน คือ P.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลามะไฟ

ปลามูดหลังจุด

ปลามูดหลังจุด (Tenasserim garra) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10-20 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายกับปลามูดหน้านอ (G.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลามูดหลังจุด

ปลามูดหน้านอ

ปลามูดหน้านอ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Garra fuliginosa อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 18-20 เซนติเมตร โดยพบขนาดใหญ่สุดถึง 30 เซนติเมตร มีลักษณะลำตัวสั้นทรงกระบอก หัวโตและแบนราบที่ด้านล่าง ด้านหน้าของหัวเว้า และมีโหนกยื่นออกเป็นตุ่มแหลม เหมือนปากที่มีฟันเป็นซี่ ๆ ซึ่งตามจริงแล้วมันมีปากจริงเป็นแบบปากดูดอยู่ด้านล่าง ลำตัวสีคล้ำอมเขียวอ่อน ข้าวแก้มมีสีส้มแดง ท้องสีจางอมส้ม ครีบอกแผ่ออกทางแนวราบ ครีบหางเว้าลึก อาหารของปลามูดหน้านอคือ สาหร่ายและตะไคร่น้ำตามก้อนหินและท่อนไม้ใต้น้ำ โดยมักใช้ปากดูดเกาะติดกับสิ่งที่มีสาหร่ายและตะไคร่น้ำ ปลามูดหน้านอมักอาศัยอยู่ในลำธารน้ำไหลแรงและมีพื้นเป็นกรวดหิน บางแหล่งนิยมรับประทานปลามูดหน้านอ ในวัยที่เป็นลูกปลามักนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปลามูดหน้านอมีชื่ออื่น ๆ อีกว่า "มูด", "ปากจระเข้", "งาลู่"(กะเหรี่ยง), "มูดพม่า".

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลามูดหน้านอ

ปลาม่อน

ปลาม่อน หรือ ปลามอน หรือ ปลาม่ำ เป็นปลาน้ำจืดในสกุล Scaphiodonichthys ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะที่สำคัญ คือ ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวที่ขอบจักเป็นฟันเลื่อย และมีก้านครีบแขนง 7-12 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ปากล่างบางคล้ายเล็บมือมนุษย์ จะงอยปากทู่ ปากเล็ก มุมปากอยู่ด้านหน้านัยน์ตา โดยคำว่า Scaphiodonichthys (/สะ-แค-ฟิ-โอ-ดอน-ทิค-ทีส/) เป็นภาษากรีก skaphe (σκάφος) หมายถึง "เรือ" odous (οδούς) หมายถึง "ฟัน" และ ichthys (Ιχθύς) หมายถึง "ปลา" จำแนกออกได้เป็น 3 ชนิด พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่และจีนตอนล่าง.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาม่อน

ปลาม่ำพม่า

ปลาม่ำพม่า ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน มีรูปร่างและพฤติกรรมเหมือนกับปลาหม่น หรือปลาม่อน (S.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาม่ำพม่า

ปลาม้าลาย

ปลาม้าลาย (Zebra danio, Zebrafish) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวเรียวยาว มีสีที่ลำตัวเป็นสีเหลือบน้ำเงิน สลับด้วยสีเขียวมะกอกดำจำนวน 3 เส้น เป็นแนวยาวตลอดลำตัวจนถึงส่วนหางทำให้มองเห็นลักษณะลวดลายคล้ายม้าลาย อันเป็นลักษณะเด่น อันเป็นที่มาของชื่อเรียก บริเวณใต้ปากมีหนวดอยู่จำนวน 2 เส้น มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5 เซนติเมตร มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียทางทิศตะวันออก มีพฤติกรรมอยู่รวมตัวกันเป็นฝูง ว่ายหากินและอาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำ มีความว่องไว ปราดเปรียวมาก มักจะว่ายน้ำอยู่ตลอดเวลา ตัวเมียมีลำตัวป้อมและสั้นกว่าตัวผู้ เป็นปลาที่สวยงามชนิดหนึ่ง จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำเช่นเดียวกับปลาซิวชนิดอื่น ๆ มีการเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว โดยไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 2-3 วัน ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์อย่างหลากหลาย มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีเครื่องครีบยาวกว่าปกติ และมีการศึกษาด้านพันธุกรรมของปลา จนสามารถผลิตออกมาเป็นปลาเรืองแสงได้ โดยใช้เป็นต้นแบบในการศึกษาพัฒนาการของตัวอ่อนสัตว์มีกระดูกสันหลังและลักษณะต่าง ๆ อีกทั้งยังใช้เป็นดัชนีชี้วัดมลพิษต่าง ๆ ในแหล่งน้ำอีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ปลาม้าลายยังมีความสำคัญในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวคือ ด้วยความที่ขณะที่เป็นตัวอ่อนหรือเอมบริโอ ปลาม้าลายจะมีลำตัวใส นักวิทยาศาสตร์ทางด้านชีววิทยาเซลล์จึงใช้ในการศึกษาและทดลองแทนมนุษย์ เนื่องจากจากการศึกษาพบว่า ปลาม้าลายมีระบบอวัยวะภายในต่าง ๆ คล้ายกับมนุษย์ เช่น สมอง, หัวใจ, ตับและไต และลำดับจีโนมแสดงให้เห็นว่าภายในลำตัวมียีนที่ก่อให้เกิดในมนุษย์มากถึงร้อยละ 84 โดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ในออสเตรเลีย ได้ทำการศึกษาวิจัยมาตั้งแต่ปี..

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาม้าลาย

ปลายาด

ปลายาด หรือ ปลาเวียน (Mahseers, Brook carps) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Tor (/ทอร์/) มีลำตัวยาวและแบนข้างไม่มากนัก หัวค่อนข้างเล็ก มีหนวดที่ยาว 2 คู่ คู่แรกอยู่ที่ริมปากบน และคู่ที่สองอยู่ที่มุมปาก ปากโค้งเป็นรูปเกือกม้า ริมปากบนและล่างหนาเชื่อมติดต่อกัน ริมปากล่างมีร่องคั่นระหว่างริมปากกับกระดูกขากรรไกรล่าง บางชนิดอาจมีกล้ามเนื้อแบ่งเป็นพู ๆ บนริมปากล่าง และบางชนิดไม่มีพูของกล้ามเนื้อดังกล่าว เกล็ดมีขนาดใหญ่ เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ เยื่อขอบกระดูกแก้มเชื่อมติดกับเอ็นคาง ฟันที่ลำคอรูปร่างเหมือนช้อน มี 3แถว โคนครีบหลังหุ้มด้วยเนื้อที่เป็นเกล็ด มีก้านครีบแขนง 8 หรือ 9 ก้าน ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายเป็นหนามแข็งและขอบเรียบ ต้นแบบของสกุลนี้มาจาก Cyprinus tor ซึ่ง จอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ ได้ยกขึ้นเป็นชื่อสกุล โดยตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tor hamiltonii ก่อนหน้าสกุล Labeobarbus ของเอ็ดดวร์ด รุพเพิล ซึ่งนักมีนวิทยาหลายท่านได้นำเอาสกุล Labeobarbus ไปตั้งชื่อปลาที่พบในแถบคาบสมุทรอินโดออสเตรเลีย แต่ก็มีบางส่วนที่ใช้สกุลอื่น ปลาในกลุ่มนี้จึงมีชื่อพ้องด้วยกันหลากหลาย พบทั้งหมดประมาณ 20 ชนิด ในทวีปเอเชีย ตามแม่น้ำสายใหญ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลายาด

ปลายี่สก

ปลายี่สก หรือ ปลายี่สกทอง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Probarbus jullieni อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลายี่สก

ปลายี่สกเทศ

ปลายี่สกเทศ หรือ ปลาโรหู้ (রুই) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Labeo rohita ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างลำตัวยาวทรงกระบอก ส่วนหัวสั้น ปากเล็ก มีหนวดสั้น 2 คู่ ริมฝีปากเป็นชายครุยเล็กน้อย และมีแผ่นขอบแข็งที่ริมฝีปากบนและล่าง มีเกล็ดขนาดเล็กตามแนวเส้นข้างลำตัว ครีบหลังและครีบก้นมีขนาดเล็ก ครีบหางเว้าลึก ลำตัวด้านบนสีคล้ำ ปลาขนาดใหญ่จะมีจุดสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลอ่อนแต้มที่เกล็ดแต่ละเกล็ด ท้องมีสีจาง ครีบสีคล้ำมีขอบสีชมพูอ่อนหรือแดง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60–80 เซนติเมตร พบใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร เป็นปลาพื้นถิ่นของภูมิภาคเอเชียใต้ตอนบน พบในรัฐโอริศา, รัฐพิหาร และรัฐอุตตรประเทศในอินเดีย, แม่น้ำคงคา, ปากีสถาน จนถึงพม่าทิศตะวันตก มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในระดับกลางของแม่น้ำจนถึงท้องน้ำ ใช้ปากแทะเล็มพืชและสัตว์น้ำขนาดเล็กและอินทรียสารเป็นอาหาร สามารถปรับตัวได้ดีในแหล่งน้ำนิ่งแต่จะไม่วางไข่ ปลายี่สกเทศทอดในบังกลาเทศ เป็นปลาเศรษฐกิจที่นิยมใช้บริโภคในภูมิภาคแถบนี้ โดยปรุงสด เช่น แกงกะหรี่ ในประเทศไทยถูกนำเข้ามาในปี พ.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลายี่สกเทศ

ปลาริชาร์ด ดอว์กินส์

ปลาริชาร์ด ดอว์กินส์ (Richard Dawkins fish) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Dawkinsia (/ดอว์-กิน-เซีย-อา/) โดยเป็นสกุลที่ได้รับการอนุกรมวิธานขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาริชาร์ด ดอว์กินส์

ปลาร่องไม้ตับ

ปลาร่องไม้ตับ หรือ ปลาข้างลาย (Bonylip barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีขนาดปานกลาง ลำตัวเรียวยาว จะงอยปากสั้นทู่ และครีบหางเว้าลึกเป็นแฉก มีลักษณะเด่นคือ มีแถบสีดำขนาดค่อนข้างใหญ่พาดผ่านนัยน์ตาตามความยาวลำตัวไปสิ้นสุดที่โคนครีบหาง มีขนาดความยาวประมาณ 24 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เป็นปลาในสกุลปลาสร้อยนกเขาที่พบได้บ่อยที่สุด โดย ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ นักมีนวิทยาชาวอเมริกัน ที่เข้ามาศึกษาพันธุ์สัตว์น้ำในประเทศไทยได้บันทึกไว้ว่า จับปลาร่องไม้ตับขนาดความยาว 23.5 เซนติเมตร ได้ที่แม่น้ำปราณ ในเดือนพฤษภาคม เป็นปลาตัวเมียที่มีไข่แก่ และจับได้ที่บึงบอระเพ็ดในเดือนพฤศจิกายน เป็นปลาตัวเมียขนาด 6 เซนติเมตร มีไข่เต็มท้อง แสดงให้เห็นว่า เริ่มผสมพันธุ์วางไข่ตั้งแต่ขนาด 6 เซนติเมตรขึ้นไป เป็นปลาที่กินตะไคร่น้ำและสาหร่ายรวมถึง แมลงน้ำต่าง ๆ ตามโขดหินและใต้ท้องน้ำเป็นอาหาร นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในต่างประเทศเพราะมีความอดทน เลี้ยงง่าย สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาร่องไม้ตับ

ปลาร่องไม้ตับวานเดิร์ส

ปลาร่องไม้ตับวานเดิร์ส (Waanders's hard-lipped barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cypriniade) มีขนาดและลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาร่องไม้ตับ (O.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาร่องไม้ตับวานเดิร์ส

ปลาลิ่น

ปลาลิ่น หรือปลาเกล็ดเงิน หรือปลาหัวโต เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypophthalmichthys molitrix ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีส่วนหัวโต ตาเล็กอยู่ต่ำกว่ามุมปาก ปากและข้างแก้มกว้าง ครีบหลังเล็กอยู่ประมาณกึ่งกลางลำตัว ครีบก้นเล็ก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดเล็กแบบขอบเรียบ ด้านท้องเป็นสันแคบ ตัวมีสีเงินคล้ำที่ด้านหลัง และสีเงินแวววาวที่ด้านท้อง หัวมีสีคล้ำอมแดงหรือสีเนื้อ ครีบมีลักษณะสีจาง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30-50 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 105 เซนติเมตร หนักได้ถึง 50 กิโลกรัม เป็นปลาพื้นเมืองของจีนแผ่นดินใหญ่มีถิ่นกำเนิดในแม่น้ำฮวงโหและแม่น้ำอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน เป็นปลาที่ชาวจีนนิยมบริโภคเพราะมีรสชาติดีแม้ว่าจะมีก้างเยอะก็ตาม ปัจจุบัน นิยมเลี้ยงในบ่อและถูกปล่อยลงในแหล่งน้ำที่ถูกสร้างขึ้น เช่น บ่อปลาในโครงการต่าง ๆ ของกรมประมงหรือหมู่บ้านหรืออ่างเก็บน้ำ โดยให้ปลาลิ่นกินเศษอาหารและแพลงก์ตอนจากการกินพืชจำพวกหญ้า และมูลจากปลาชนิดอื่น เช่น ปลาไน (Cyprinus carpio) เป็นต้น ขยายพันธุ์ได้ด้วยการผสมเทียมเท่านั้น ไม่พบการแพร่พันธุ์เองในแหล่งน้ำธรรมชาติของไทย ถูกนำเข้ามาในประเทศในปี พ.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาลิ่น

ปลาสร้อย

ปลาสร้อยน้ำเงิน (''C. caudimaculatus'') ปลาสร้อยขาว (''H. siamensis'') ปลาสร้อยนกเขา (''O. vittatus'') ปลาสร้อย หรือ กระสร้อย เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่ใช้เรียกปลาน้ำจืดขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) อันดับปลากินพืช (Cypriniformes) ส่วนใหญ่มีลำตัวสีขาวเงินและมีจุดคลํ้าบนเกล็ดจนเห็นเป็นเส้นสายหลายแถบพาดตามความยาวของลำตัว มีพฤติกรรมรวมกันเป็นฝูงในลำน้ำใหญ่ในฤดูนํ้า และว่ายทวนนํ้าขึ้นไปหากินหรือสืบพันธุ์ในแหล่งน้ำที่ไหลเอ่อหรือท่วมขังในตอนกลางและปลายฤดูน้ำหลาก.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาสร้อย

ปลาสร้อย (สกุล)

ปลาสร้อย (Henicorhynchus) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวเพรียวยาวแบนข้าง หัวโตและปากกลมมน จะงอยปากล่างยื่นออกมาคลุมริมฝีปากบน แต่ไม่ปิดด้านข้างทำให้เห็นมุมปาก ริมปากบนและล่างติดต่อถึงกัน ริมฝีปากล่างยาวและติดกับขากรรไกร ในปากล่างมีปุ่มกระดูก มีหนวดสั้นมากหนึ่งคู่ที่มุมปากซึ่งซ่อนอยู่ในร่อง จะงอยปากมีรูเล็กกระจายอยู่ทั่วไป ตามีขอบเยื่อไขมัน ซี่กรองเหงือกยาวเรียวและมีจำนวนมาก ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวที่ไม่เป็นหนามแข็ง มีครบแขนง 8 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน บางชนิดมีจุดสีดำที่บริเวณโคนหางเห็นชัดเจน มีความยาวเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร แต่มีขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไป 8–10 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ทั่วไป ในประเทศไทยและกัมพูชา รวมถึงลาว ในช่วงฤดูน้ำหลากมีการย้ายถิ่นขึ้นบริเวณต้นน้ำเพื่อวางไข่และหากิน รวมถึงในนาข้าว เป็นปลาที่ถูกจับได้ทีละมาก มักนิยมนำไปปรุงเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ รวมทั้งหมักทำน้ำปลาด้วย พบทั้งหมด 4 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกันเล็กน้อย และมักอยู่ปะปนรวมกัน.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาสร้อย (สกุล)

ปลาสร้อยลูกกล้วย

ปลาสร้อยลูกกล้วย หรือ ปลามะลิเลื้อยสำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาสร้อยลูกกล้วย

ปลาสร้อยขาว

ปลาสร้อยขาว (Siamese mud carp) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Henicorhynchus siamensis อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะลำตัวเพรียวยาว หัวโตและกลมมน ปากเล็กอยู่เกือบจะสุดจะงอยปาก กึ่งกลางของริมฝีปากมีปุ่มกระดูกยื่นออกมา ไม่มีหนวด เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวสีเงินอมเทา เหนือครีบอกมีจุดสีคล้ำ ครีบหลังเล็ก ครีบหางเว้าลึกและมีจุดประสีคล้ำ โคนครีบหางมีจุดสีจาง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 15 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 20 เซนติเมตร ปลาสร้อยขาวมีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ และในฤดูฝนจะมีการอพยพย้ายถิ่นขึ้นสู่ต้นน้ำหรือบริเวณที่น้ำหลากเพื่อวางไข่และหากิน พบในแหล่งน้ำหลาก หนองบึง และแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคอีสานของไทย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างยิ่งของภาคอีสาน โดยนิยมนำมาทำปลาร้า และทำน้ำปลา เป็นที่มาของน้ำปลารสชาติดี คือ "น้ำปลาปลาสร้อย" มีชื่อเรียกอื่นในภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น "ปลาส้อยหัวกลม" ในภาษาอีสาน, หรือ "ปลากระบอก" ในภาษาเหนือ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้ว.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาสร้อยขาว

ปลาสร้อยนกเขา

ปลาสร้อยนกเขา (hard-lipped barb, lipped barb, nilem carp, orange shark) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวค่อนข้างแบน ปากเล็ก มีหนวด 2 คู่คือที่บริเวณ ขากรรไกรบน และใต้คางอย่างละ 1 คู่ บริเวณท้องมีสีเขียวสด ด้านล่างสีขาวนวล ใต้ท้องสีขาว มีจุดสีดำบนเกล็ดติดต่อกันจนดูเป็นลายสีดำ 6-8 ลายด้านข้างลำตัว ครีบท้อง ครีบก้น และครีบท้องเป็นสีแดง ครีบอกมีลายเป็นสีเขียวอ่อน ที่โคนครีบหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน จัดเป็นปลาที่มีความสวยงามชนิดหนึ่ง มีความยาวเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงในแหล่งน้ำทุกภาคของประเทศไทยและยังพบได้ในหลายประเทศในภูมิภาคอินโดจีนอีกด้วย และพบไปจนถึงแหลมมลายูและเกาะต่าง ๆ ในประเทศอินโดนีเซีย กินอาหารจำพวกสาหร่ายและตะไคร่น้ำใต้พื้นน้ำ จัดเป็นปลาที่หาได้ง่าย และนิยมจับมาบริโภคกัน โดยมักจะจับได้ทีละครั้งละมาก ๆ นอกจากนี้แล้วยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีก โดยยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ขี้ขม", "ซ่า", "นกเขา" หรือ "ขาวอีไท" ในภาษาเหนือ เป็นต้น.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาสร้อยนกเขา

ปลาสร้อยนกเขาน้ำจืด

ปลาสร้อยนกเขาน้ำจืด หรือ ปลาสร้อยนกเขา เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โดยใช้ชื่อสกุลว่า Osteochilus (/อ็อสแตโอคิลุส/).

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาสร้อยนกเขาน้ำจืด

ปลาสร้อยน้ำเงิน

ปลาสร้อยน้ำเงิน หรือ ปลาสร้อยปีกแดง ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cirrhinus caudimaculatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างที่เพรียวยาว ท้องป่องออก เหนือครีบหลังหลังช่องปิดเหงือกมีแถบสีน้ำเงิน ครีบหลังค่อนข้างใหญ่ โคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ ครีบหางสีส้มเว้าเป็นแฉกและมีขอบสีเข้ม มีขนาดประมาณ 25–30 เซนติเมตร มีพฤติกรรมการหากินเช่นเดียวกับปลาในสกุลเดียวกัน หรือปลาในสกุล Henicorhynchus ซึ่งเป็นชื่อพ้องของกันและกัน พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณภาคกลางของประเทศไทย และในลุ่มแม่น้ำโขง.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาสร้อยน้ำเงิน

ปลาสะกาง

ปลาสะกาง หรือ ปลากระมัง เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อย ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) 4 ชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Puntioplites (/พุน-ทิ-อ็อพ-ลิ-ทีส/) มีรูปร่างโดยรวมคือ ลำตัวแบนข้างมากกว่าปลาสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน โดยมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หัวมีขนาดเล็ก ไม่มีหนวด ตาโต มีจุดเด่นคือ สันหลังยกสูงและครีบหลังก้านสุดท้ายแข็งและมีขนาดใหญ่ ยกสูง ด้านหลังของก้านครีบนี้มีทั้งรอยยักและไม่มีรอยยัก ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด มีก้านครีบแขนง 8 ก้าน พบกระจายพันธุ์อยู่ในที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย, แม่น้ำโขง และคาบสมุทรมลายูไปจนถึงเกาะบอร์เนียว, เกาะชวา และเกาะซูลาเวซี มีชนิดด้วยกันทั้งหมด คือ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาสะกาง

ปลาสะอี

ปลาสะอี (湄公魚; พินอิน: Méi gōngyú–ปลาแม่น้ำโขง) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Labeoninae มีลักษณะทรงกระบอก หัวเล็ก ตาโต จะงอยปากงุ้มลง ริมฝีปากมีหนวดสั้น 1 คู่ ครีบหลังสั้น ไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหางเว้าลึก สีลำตัวเป็นสีเขียวมะกอก หากินตามพื้นท้องน้ำ โดยแทะเล็มตะไคร่น้ำหรือสาหร่าย ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 45 เซนติเมตร นิยมบริโภคโดยการปรุงสด มักพบขายในตลาดสดที่ติดแม่น้ำโขงทั้งฝั่งไทยและลาวรวมถึงกัมพูชา เพราะเป็นปลาที่พบเฉพาะแม่น้ำโขงและสาขาเท่านั้น มีพฤติกรรมอพยพย้ายถิ่นขึ้นสู่ตอนบนของแม่น้ำในช่วงฤดูน้ำหลากเพื่อวางไข่ และมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปลาสะอี ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาชะอี", "ปลาหว่าชะอี" หรือ "ปลาหว่าหัวแง่ม" เป็นต้น.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาสะอี

ปลาสะนาก

ำหรับปลานางอ้าวชนิดอื่น ดูได้ที่ ปลาซิวอ้าว หรือปลาน้ำหมึก ปลาสะนาก (Burmese trout, Giant barilius) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Raiamas guttatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาสะนาก

ปลาสะนากยักษ์

ปลาสะนากยักษ์ (Giant salmon carp, Mekong giant salmon carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aaptosyax grypus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Danioninae.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาสะนากยักษ์

ปลาส่อ

ปลาส่อ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Crossocheilus (/ครอส-โซ-ไคล-อัส/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในวงศ์ย่อย Garrinae มีรูปร่างโดยทั่วไป คือ เป็นปลาขนาดเล็ก ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีลำตัวเรียวยาวทรงกลม หัวสั้นเป็นรูปกระสวย ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม มีหนวดอยู่ 1 คู่ ลักษณะสำคัญ คือ มีหนังที่จะงอยปากเชื่อมติดกับริมฝีปากบน ริมฝีปากบนและล่างไม่ติดกัน บนจะงอยปากมีรูเล็ก ๆ และตุ่มเล็ก ๆ เรียงกันเป็นแถว ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน และก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายไม่แข็ง ขอบเรียบ ครีบหลังยกสูง อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มักอาศัยอยู่ในลำธารและแหล่งน้ำเชี่ยว รวมถึงแม่น้ำสายใหญ่ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ กินอาหารจำพวก ตะไคร่น้ำหรือสาหร่ายบนโขดหิน หรือแมลงน้ำและแพลงก์ตอนขนาดเล็กต่าง ๆ หลายชนิดจะมีแถบสีดำพาดลำตัวในแนวนอน โดยปลาในสกุลนี้ มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาเล็บมือนาง" หรือ "ปลาสร้อยดอกยาง" เป็นต้น เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่นและเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีประโยชน์ในการเก็บกินเศษอาหารหรือตะไคร่น้ำภายในตู้เลี้ยง และยังนำไปในกิจการฟิชสปาหรือสปาปลาแทนที่ปลาเลียหินที่มีลักษณะและพฤติกรรมคล้ายคลึงกันได้อีกด้ว.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาส่อ

ปลาหมูกระโดงสูง

ปลาหมูกระโดงสูง (Chinese sucker, Chinese loach, Chinese high fin sucker, Chinese high fin banded shark; 胭脂魚; พินอิน: yānzhiyú) ปลาน้ำจืดกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมูกระโดงสูง (Catostomidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Myxocyprinus (มาจากภาษากรีก "myxos" หมายถึง "น้ำมูกหรือเสมหะ" และภาษาละติน "cyprinus" หมายถึง ปลาตะเพียน) มีพื้นลำตัวสีขาวอมชมพู มีแถบสีดำหนา 3 เส้นเป็นแนวตั้ง มีจุดเด่น คือ มีครีบหลังที่ปลายแหลมสูงและมีขนาดใหญ่ ในปลาที่มีขนาดเล็กกว่า 4 นิ้วจะมีสีสันสดใสและลำตัวทรงสั้นมีครีบหลังใหญ่มองดูคล้ายใบเรือ แต่เมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นสีขาวบนลำตัวจะเริ่มหายไป สีจะซีดจาง ขนาดของครีบหลังจะมีขนาดเล็กลงและความยาวลำตัวจะออกไปทางทรงยาวมากกว่าทรงสูง มีความยาวเมื่อโตเต็มที่ได้ถึง 90 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์เฉพาะในแม่น้ำแยงซีเกียง ในประเทศจีนเท่านั้น มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง ปลาหมูกระโดงสูง เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ด้วยเป็นปลาที่มีความสวย ซ้ำยังมีอุปนิสัยเรียบร้อย ไม่ดุร้ายก้าวร้าวเลย และสามารถทำความสะอาดตู้ที่ใช้เลี้ยงได้เป็นอย่างดี ด้วยเป็นปลาที่หากินกับพื้นท้องน้ำ แต่เป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตได้ช้ามาก เพียงแค่ 1–2 นิ้วต่อปีเท่านั้น เป็นปลาที่ยังไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ ต้องรวบรวมพันธุ์ปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเท่านั้น การจำแนกเพศ สามารถดูได้ที่เพศผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มขาว ๆ คล้ายสิวบริเวณส่วนหัวและโคนครีบอก เช่นเดียวกับปลาหลายชนิดในวงศ์ Cyprinidae.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาหมูกระโดงสูง

ปลาหม่น

ปลาหม่น หรือ ปลามอน หรือ ปลาม่อน หรือ ปลาม่ำ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลาชนิดอื่นในวงศ์เดียวกันทั่วไป คือ รูปร่างเรียวยาว แบนข้าง ลำตัวกว้าง โคนหางคอดเรียว หัวกลมโต จะงอยปากงุ้มเห็นได้ชัดเจน ช่องปากอยู่ด้านล่าง ปากล่างมีขอบเรียบเป็นเส้น ปลายจะงอยปากมีตุ่มเล็ก ๆ คล้ายสิว ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนโดยเฉพาะในตัวผู้ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ เกล็ดมีขนาดเล็กมีประมาณ 37-39 หรือมากกว่านั้นประมาณ 3 ชิ้น แถวตามเส้นแนวข้างลำตัว ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง ก้านที่ยาวที่สุดมีขอบจักเป็นฟันเลื่อย ครีบหางเว้าลึก เกล็ดมีสีเงินเหลือบเขียวอ่อนหรือชมพู ครีบทุกครีบเป็นสีเหลืองอ่อน ๆ มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 20 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงในช่วงต้นน้ำที่น้ำไหลแรง โดยตวัดกินตะไคร่น้ำและแมลงน้ำที่เกาะตามโขดหินด้วยความรวดเร็ว พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำน่าน, แม่น้ำแม่กลอง และพบได้ในทุกประเทศของภูมิภาคอินโดจีน เป็นปลาที่หาได้ง่าย และมีการจับมาเป็นรับประทานเป็นอาหารในท้องถิ่น.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาหม่น

ปลาหว่าชะอี

ปลาหว่าชะอี หรือ ปลาชะอี ปลาน้ำจืดในสกุล Mekongina (/แม่-โขง-จิ-น่า/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำโขงตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศจีนและหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน โดยชื่อ Mekongina ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่สถานที่ค้นพบครั้งแรก คือ แม่น้ำโขงที่อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไท.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาหว่าชะอี

ปลาหว้า

ปลาหว้า เป็นสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Bangana (/แบน-กา-นา/) เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เดิมถูกจัดเป็นสกุลย่อยของสกุล Cyprinus แต่ฟรานซิส บะแคนัน-แฮมิลตัน นักอนุกรมวิธานชาวสกอตได้แยกออกเป็นสกุลใหม่ในปี ค.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาหว้า

ปลาหว้าหน้านอ

ปลาหว้าหน้านอ เป็นชื่อของปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bangana behri จัดเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะเด่นคือ ปลาโตเต็มวัยแล้ว โดยเฉพาะตัวผู้ ส่วนหัวจะมีโหนกและตุ่มเม็ดคล้ายสิวเห็นได้ชัด จึงเป็นที่มาของชื่อ ปลาวัยอ่อน โคนหางจะมีจุดสีดำเห็นได้ชัด เมื่อโตขึ้นจะจางหาย ริมฝีปากหนา หากินบริเวณพื้นน้ำและแก่งหินที่น้ำไหลเชี่ยว โดยแทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่าย บริเวณที่ปลาหากินจะเห็นเป็นรอยทางยาว โตเต็มที่ได้กว่า 60 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ในประเทศ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง, แม่น้ำสาละวิน ในเขตจังหวัดกาญจนบุรีเรียกปลาชนิดนี้ว่า "ปลางา" และภาษาอีสานเรียกว่า "หว้าซวง" ปัจจุบัน พบหาได้ยากในธรรมชาติ แต่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว เนื้อมีรสชาติอร่อย นิยมปรุงสด และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งค่อนข้างหายาก.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาหว้าหน้านอ

ปลาหางบ่วง

ปลาหางบ่วง (Golden carp, Sucker carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbichthys laevis อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเพรียวยาว ส่วนหัวเล็ก ด้านหลังค่อนข้างลึก ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย จะงอยปากยื่น มีริมฝีปากหนาอยู่ด้านล่าง มีหนวดสั้น 2 คู่ ตาเล็ก ครีบหลังและครีบหางใหญ่ เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินอมเทาหรือเหลืองอ่อน ที่ด้านข้างลำตัวใกล้ครีบอกมีแต้มเล็ก ๆ สีคล้ำ ครีบมีสีเหลืองอ่อนหรือชมพูเรื่อ ขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีแถบสีคล้ำ มีขนาดประมาณ 35 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 40 เซนติเมตร นับเป็นปลาเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Barbichthys อาศัยอยู่ในแม่น้ำที่ไหลแรงและลำธารในป่า พบตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำโขง มีพฤติกรรมอพยพย้ายถิ่นเป็นครั้งคราวในฤดูน้ำหลาก โดยอาหารได้แก่ อินทรียสารและตะไคร่น้ำ พบขายเป็นครั้งคราวในตลาดสด นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปัจจุบัน พบได้เฉพาะลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่เดียวเท่านั้น และเป็นปลาที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว ซึ่งในอดีตจะพบชุกชุมที่แม่น้ำสะแกกรัง.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาหางบ่วง

ปลาหางไหม้

ปลาหางไหม้ หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาฉลามหางไหม้ (Bala shark, Burn tail shark, Silver shark, Black tailed shark) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Balantiocheilos (/บา-แลน-ทิ-โอ-ไคล-ออส/) มีรูปร่างคล้ายปลาตามิน (Amblyrhynchichthys truncatus) มีรูปร่างและทรวดทรงที่เพรียวยาว ตาโต ปากเล็ก ขยับปากอยู่ตลอดเวลา ใต้คางมีแผ่นหนังเป็นถุงเปิดออกด้านท้าย ก้านครีบแข็งก้านสุดท้ายของครีบหลังมีขนาดใหญ่ และมีขอบจักเป็นฟันเลื่อย จะงอยปากแหลม มีเยื่อไขมันเป็นวุ้นรอบนัยน์ตา ครีบท้องมีก้านครีบแขนงทั้งหมด 9 ก้าน ไม่มีหนวด มีลำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็กสัดส่วนของครีบทุกครีบเหมาะสมกับลำตัว โดยเฉพาะครีบหางซึ่งเว้าเป็นแฉกลึก สีของลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ด้านหลังสีเขียวปนเทา ครีบหลัง ครีบท้อง ครีบก้นและครีบหางสีส้มแดงหรือสีเหลืองอมขาว และมีขอบเป็นแถบดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวมาก และกระโดดขึ้นได้สูงจากน้ำมาก มีขนาดโตเต็มราว 20–30 เซนติเมตร.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาหางไหม้

ปลาหนามหลัง

ปลาหนามหลัง เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mystacoleucus marginatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์นี้ทั่วไป แต่ลำตัวแบนข้างมากกว่า ครีบหลังสูงปานกลาง ก้านครีบหลังมีหยักที่ขอบด้านท้าย ที่โคนครีบหลังด้านหน้าสุดมีหนามแหลมสั้นยื่นออกมาทางข้างหน้า ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของปลาสกุลนี้ และเป็นที่มาของชื่อ มีเกล็ดใหญ่คลุมตัว ครีบก้นสั้น ครีบหางเว้าลึก ตัวมีสีเงินอมเหลืองอ่อน ขอบเกล็ดด้านบนมีสีคล้ำ บางเกล็ดบนลำตัวจึงดูเหมือนเป็นขีดสั้น ๆ ประที่ด้านข้าง ครีบมีสีเหลืองอ่อนหรือส้ม และขอบครีบด้านท้ายมีสีคล้ำ เมื่อติดอวนหรือตาข่ายจะปลดออกได้ยาก เพราะหนามแหลมที่ครีบหลัง มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 8-10 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบ 15 เซนติเมตร พบชุกชุมในแม่น้ำสายใหญ่และแหล่งน้ำนิ่งทั่วประเทศ โดยอาศัยอยู่ทุกระดับของน้ำเป็น จัดเป็นปลาที่มีราคาถูก นำมาทำปลาร้าหรือปรุงสด และถูกเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ปลาหนามหลังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ เช่น "ปลาขี้ยอก" หรือ "ปลาหนามบี้" ในภาคอีสาน "ปลาหญ้า" ในภาคใต้ ที่เขตแม่น้ำน่านเรียก "ปลาหนามไผ่" หรือ "ปลาหนามแต๊บ" เป็นต้น.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาหนามหลัง

ปลาหนามหลังสาละวิน

ปลาหนามหลังสาละวิน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mystacoleucus argenteus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างแบนข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม หัวและปากมีขนาดเล็ก มีหนวด 2 คู่ ที่มุมปากและจะงอยปาก เกล็ดมีขนาดเล็กมีแถวประมาณ 31-33 แถว ตามแนวเส้นข้างลำตัว ครีบหลังมีสีส้มขอบมีสีคล้ำ ครีบหางมีสีเหลืองสดมีขอบสีคล้ำ ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองใส ตามีแต้มสีแดงที่ด้านบน ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 15 เซนติเมตร พบชุกชุม มีถิ่นกระจายพันธุ์เฉพาะลุ่มแม่น้ำสาละวินที่พรมแดนไทย-พม่า เท่านั้น นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมีชื่อเรียกเฉพาะในวงการปลาสวยงามว่า "ปลาตะเพียนพม่า" นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า "ปลาหางเหลือง" เป็นต้น.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาหนามหลังสาละวิน

ปลาหนามหลังขาว

ปลาหนามหลังขาว เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mystacoleucus ectypus ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวแบนข้าง หัวและปากเล็ก ไม่มีหนวด ลำตัวสีเงินวาวอมเหลืองอ่อน มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัว 42-46 แถว ครีบสีจางใส ครีบหลังตั้งอยู่ราวกึ่งกลางของความยาวตัว มีแต้มสีดำที่ตอนปลาย ครีบหางเว้าลึก มีความยาวประมาณ 8 เซนติเมตร เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์เฉพาะลุ่มน้ำโขงในประเทศไทย, ลาว และกัมพูชาเท่านั้น เป็นปลาที่มีพฤติกรรมอพยพย้ายถิ่นในฤดูกาลน้ำหลาก มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า "เกก๋อ".

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาหนามหลังขาว

ปลาหน้าหมอง

ปลาหน้าหมอง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะคล้ายปลาสร้อยนกเขา (O. vittatus) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่จะงอยปากยื่นกว่า ปากงุ้มอยู่ด้านล่าง ครีบหลังสั้นกว่า ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงหรือม่วงคล้ำ ส่วนหัวมีสีคล้ำหรือม่วงคล้ำ ข้างช่องเหงือกมีแต้มสีดำ ครีบสีคล้ำ มีขนาดโดยเฉลี่ย 15-20 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์เป็นฝูงเล็ก ๆ ประมาณ 5-10 ตัว เที่ยวเวียนว่ายกินตะไคร่น้ำและอินทรีสารเล็ก ๆ ตามกองหินหรือโขดหินใต้น้ำ เป็นปลาที่พบได้เฉพาะต้นน้ำลำธารในป่า เป็นปลาที่พบได้น้อย พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยเดิมจะพบแต่เฉพาะในพื้นที่ที่เป็นต้นน้ำลำธารในป่าดิบของภาคใต้เท่านั้น แต่ต่อมาในปี..

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาหน้าหมอง

ปลาอินซีเน็ต

ปลาอินซีเน็ต หรือ ปลาอินซิกนิส (Flagtail characins, Flannel-mouth characins.; Jaraqui.) เป็นปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Semaprochilodus (/ซี-มา-โพร-ชิ-โล-ดัส/) ในวงศ์ปลาอินซีเน็ต (Prochilodontidae) ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มาก ดวงตากลมโต ริมฝีปากหนาและใหญ่ และปากขยับไปมาตลอดเวลา เกล็ดมีขนาดเล็กมีสีเงินแวววาว เมื่อยังเล็กจะมีลายแถบและจุดสีดำกระจายอยู่บริเวณลำตัวค่อนไปทางโคนหาง โคนหางคอดเล็ก ครีบหลังมีขนาดใหญ่และตั้งชี้ขึ้น ครีบหางเป็น 2 แฉก เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่น และมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยจะนิยมเลี้ยงไว้เพื่อทำความสะอาดภายในตู้เลี้ยง เพราะเป็นปลาที่เก็บเศษอาหารกินทำให้ตู้เลี้ยงสะอาดได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีความเชื่ออีกว่า เมื่อเลี้ยงคู่กับปลาอะโรวาน่าหรือปลามังกรด้วยแล้ว จะถือเป็นมงคล เหมือนหงส์คู่มังกร เพราะปลาสกุลนี้มีชื่อสามัญเรียกในภาษาจีนว่า "เฟยหง" (จีนตัวเต็ม: 飛鳳) แปลว่า "ปลาหงส์".

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาอินซีเน็ต

ปลาอินซีเน็ตหางแดง

ปลาอินซีเน็ตหางแดง หรือ ปลาหงส์หางแดง (Flagtail prochilodus, Silver prochilodus, Flagtail characin; Jaraqui (ในบราซิล)) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาอินซีเน็ต (Prochilodontidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มาก ดวงตากลมโต ริมฝีปากหนาและใหญ่ และปากขยับไปมาตลอดเวลา เกล็ดมีขนาดเล็กมีสีเงินแวววาว เมื่อยังเล็กจะมีลายแถบและจุดสีดำกระจายอยู่บริเวณลำตัวค่อนไปทางโคนหาง มีเกล็ดบริเวณเส้นข้างลำตัวประมาณ 48 เกล็ด โคนหางคอดเล็ก ครีบท้องมีสีแดงสด ครีบหลังมีขนาดใหญ่และตั้งชี้ขึ้น ซึ่งครีบเหล่านี้เมื่อปลาโตขึ้นจะยิ่งชี้แหลมและสีสดยิ่งขึ้น ในบางตัวปลายครีบหลังอาจแหลมยาวคล้ายปลายผืนธง ครีบหางเป็น 2 แฉก มีขนาดใหญ่ ครีบหางและครีบก้นมีลายแถบสีดำเป็นทางตรงบนพื้นสีแดง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร อาจใหญ่ได้ถึง 35 เซนติเมตร เป็นปลาที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำอเมซอน ในทวีปอเมริกาใต้ โดยใช้ปากที่ขยับไปมาตลอดนั้นตอดอาหารจำพวกอินทรีย์วัตถุหากินตามพื้นน้ำหรือตะไคร่น้ำที่เกาะตามแก่งหินต่าง ๆ มีพฤติกรรมผสมพันธุ์หมู่และวางไข่ได้ครั้งละประมาณ 100,000 ฟอง เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่น และมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยจะนิยมเลี้ยงไว้เพื่อทำความสะอาดภายในตู้เลี้ยง เพราะเป็นปลาที่เก็บเศษอาหารกินทำให้ตู้เลี้ยงสะอาดได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีความเชื่ออีกว่า เมื่อเลี้ยงคู่กับปลาอะโรวาน่าหรือปลามังกรด้วยแล้ว จะถือเป็นมงคล เหมือนหงส์คู่มังกร เพราะปลาชนิดนี้มีเรียกในภาษาจีนว่า "เฟยหง" (จีนตัวเต็ม: 飛鳳) แปลว่า "ปลาหงส์" ซึ่งในราวปี พ.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาอินซีเน็ตหางแดง

ปลาอีกอง

ปลาอีกอง หรือ ปลาที-บาร์บ หรือ ปลาโสร่ง (T-barb, Spanner barb) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาเสือข้างลาย (Puntigrus partipentazona) และปลาเสือสุมาตรา (P.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาอีกอง

ปลาอ้ายอ้าว

ปลาอ้ายอ้าว หรือ ปลาซิวอ้าว หรือ ปลาซิวควาย (Apollo sharks) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Luciosoma (/ลิว-ซิ-โอ-โซ-มา/) มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวเพรียวยาวคล้ายแท่งดินสอ ไม่มีเข็มก้านครีบแรก มีก้านครีบอ่อน 7 ก้าน ก้านครีบก้นมี 6 ก้านครีบ ปากกว้างโดยที่มุมปากยื่นยาวไปจนอยู่ในระดับใต้ตา ครีบหลังอยู่ในส่วนครึ่งหลังของลำตัว มีจุดเด่นคือ มีลายแถบสีดำข้างลำตัว ซึ่งแตกต่างออกไปตามชนิด ขนาดโดยเฉลี่ย โตเต็มที่ประมาณ 25-30 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ กินอาหารโดยล่าปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร รวมถึงแมลงด้วย พบกระจายพันธุ์ในประเทศไทย, ลาว, กัมพูชา จนถึงเกาะบอร์เนียวและเกาะชวา พบด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาอ้ายอ้าว

ปลาจาด

ปลาจาด เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Poropuntius (/พอร์-โอ-พุน-ชัส/) ความเป็นมาของปลาในสกุลนี้เริ่มจากแม็กซ์ วีลเฮม คาร์ล เวบเบอร์ และลีฟาน เฟอดินานด์ เดอ โบฟอร์ต ได้ตั้งสกุล Lissocheilus (ปัจจุบันถูกยกเลิกไปแล้ว) ขึ้นในปี ค.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาจาด

ปลาจาดแถบดำ

ปลาจาดแถบดำ หรือ ปลาตะเพียนสมพงษ์ เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Poropuntius melanogrammus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวสั้น ปากเรียวเล็ก ริมฝีปากล่างเป็นขอบแข็งและคม ลำตัวสีเงินแวววาว ด้านบนสีคล้ำหรืออมม่วง ครีบมีสีแดงเรื่อ ๆ ครีบหางเว้าลึกมีขอบด้านบนสีคล้ำหรือสีแดงส้ม ครีบหลังสูง มีขนาดความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร เป็นปลาที่เพิ่งถูกอนุกรมวิธานในปี พ.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาจาดแถบดำ

ปลาจิ้งจอก

ปลาจิ้งจอก (Siamese algae eater, Siamese flying fox) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Garrinae มีรูปร่างลำตัวเพรียวทรงกระบอก หัวเรียว ตาเล็ก ปากเล็ก มีหนวดสั้น 1 คู่ มีแผ่นหนังคลุมด้านริมฝีปากบน ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนเหลือบทอง และมีแถบสีคล้ำพาดยาวจากหัวถึงกลางครีบหาง ครีบสีจาง ครีบหางเว้าลึก มีขนาดความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ใหญ่สุด 16 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ในแม่น้ำสายใหญ่และลำธาร โดยเฉพาะที่เป็นแก่งและมีพรรณไม้หนาแน่น ในประเทศไทยพบเฉพาะที่ภาคใต้ที่เดียวเท่านั้น กินอาหารได้แก่ อินทรียสารและสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก เป็นปลาที่พบชุกชุมบางฤดูกาล มีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและนำไปทำเป็นฟิชสปาเช่นเดียวกับปลาในสกุล Garra.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาจิ้งจอก

ปลาจีน

ปลาเฉา (''Ctenopharyngodon idella'') ปลาจีน เป็นชื่อสามัญของปลาเศรษฐกิจใช้ในการบริโภคกัน 3 ชนิด ซึ่งล้วนแต่เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ทั้งนั้น ซึ่งเป็นปลาที่นำเข้ามาจากประเทศจีน ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาจีน

ปลาถ้ำ

ำพวกปลาคาราซิน (Characidae) พบในตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปลาถ้ำ (Cave fish) คือปลาที่อาศัยอยู่ในถ้ำที่มืดมิด โดยมากจะเป็นปลาที่มีผิวหนังสีขาวซีดเผือกและตาบอดหรือตาเล็กมากเนื่องจากไม่ได้ใช้สายตาให้เป็นประโยชน์เลย เพราะแสงสว่างส่องเข้าไปไม่ถึง ปลาถ้ำจะมีระบบนิเวศน์และพฤติกรรมของตัวเองโดยเฉพาะ แตกต่างจากปลาที่พบทั่วไป ซึ่ง ปลาถ้ำสามารถพบได้ในถ้ำทุกภูมิภาคของโลก ในส่วนของทวีปยุโรป เพิ่งจะมีการค้นพบปลาถ้ำเป็นครั้งแรกเมื่อปี..

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาถ้ำ

ปลาทรงเครื่อง

ปลาทรงเครื่อง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epalzeorhynchos bicolor อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาทรงเครื่อง

ปลาทรงเครื่อง (สกุล)

ปลาทรงเครื่อง (Epalzeorhynchos) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธาน คือ เป็นปลาขนาดเล็ก รูปร่างเพรียวทรงกระบอก แบนข้างเล็กน้อย หัวเป็นทรงกรวย จะงอยปากมีติ่งเนื้อยื่นออกมาสองข้าง ปลายติ่งเนื้อนี้สามารถกระดิกได้ หนังที่จะงอยปากติดเป็นแผ่นเดียวกับริมฝีปากบน มีขอบหยักเป็นชายครุย และคลุมช่องปากในขณะที่หุบปาก มีหนวด 1-2 คู่ ช่องเหงือกแคบอยู่ค่อนไปทางท้อง เยื่อขอบกระดูกแก้มติดต่อกับกล้ามเนื้อคาง มีฟันที่คอ 3 แถว ครีบหลังสั้นไม่มีก้านครีบแข็ง จุดเริ่มของครีบหลังอยู่ล้ำหน้ากึ่งกลางลำตัว และมีก้านครีบแขงประมาณ 10-13 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน เป็นปลาที่มักหากินอยู่ตามพื้นท้องน้ำ โดยแทะเล็มกินตะไคร่น้ำ, สาหร่าย หรืออินทรียสารต่าง ๆ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและบริโภคกันเป็นปลาเศรษฐกิจ ปลาในสกุลนี้มีความคล้ายคลึงกับปลาในสกุล Crossocheilus, Garra และ Labeo มาก โดยถือว่าอยู่วงศ์ย่อยหรือเผ่าเดียวกัน.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาทรงเครื่อง (สกุล)

ปลาทอง

ปลาทอง หรือ ปลาเงินปลาทอง (goldfish) เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น เดิมใช้บริโภค ต่อมาถูกพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี จนกลายเป็นปลาสวยงามในปัจจุบัน.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาทอง

ปลาทอง (สกุล)

ปลาทอง (Goldfish, Common carp, Crucian carp) เป็นสกุลของปลาน้ำจืด ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Carassius (/คา-ราส-สิ-อัส/) ในวงศ์ย่อย Cyprininae เป็นปลาที่มนุษย์คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เหมือนกับปลาในสกุล Cyprinus ที่เดิมอยู่รวมอยู่ด้วยกันมาก่อน ในฐานะของปลาที่เป็นปลาใช้ในการบริโภค และต่อมาได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีรูปร่าง และสีสันสวยงามมากขึ้น เพื่อเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยชาวจีนเมื่อกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ปลาในสกุลนี้ มีรูปร่างทั่วไปเหมือนกับปลาในสกุล Cyprinus จุดที่แตกต่างกันคือ ไม่มีหนวดที่ริมฝีปาก และมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่เฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออก และบางส่วนในรัสเซียเท่านั้น ขณะที่บางชนิดเป็นปลาเฉพาะถิ่นพบได้เฉพาะทะเลสาบบิวะ ที่ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาทอง (สกุล)

ปลาทุงงะ

ปลาทุงงะ หรือ ปลาแป้งแช่ ในภาษาเหนือแถบดอยหัวมด (ดอยหัวหมด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกปลาพลวงขนาดกลางชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Neolissochilus dukai จัดเป็นหนึ่งในแปดชนิดของปลาพลวงที่พบได้ในประเทศไทย มีลำตัวยาวเรียว แบนข้าง ปากเล็กอยู่ตํ่า บริเวณหัวตอนหน้าหรือก่อนถึงตามีตุ่มเนื้อขนาดเล็กกระจายอยู่ เกล็ดใหญ่ มีจุดสีดำที่โคนครีบหางเห็นได้ชัดในปลาขนาดเล็ก พบอาศัยอยู่ตามเขตต้นนํ้าลำธารบริเวณภูเขาทั่วประเทศไทย และพบได้ในประเทศข้างเคียง.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาทุงงะ

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน คือ ชนิดของปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า แม่น้ำสาละวิน นับเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่มีความยาว 2,800 กิโลเมตร มีจุดกำเนิดที่เทือกเขาหิมาลัยไหลผ่านประเทศจีน, พม่า, ไทย และไหลลงมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะ รัฐมอญ มีความหลากหลายของชนิดปลาที่พบได้ในแม่น้ำแห่งนี้ ซึ่งรวมถึงแควสาขาของแม่น้ำด้วย เช่น แม่น้ำปาย, แม่น้ำเมย, แม่น้ำยวม, แม่น้ำกษัตริย์, แม่น้ำสุริยะ และรวมไปถึงแม่น้ำอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น แม่น้ำบีคลี, แม่น้ำซองกาเลีย, แม่น้ำรันตี โดยหลายชนิดเป็นปลาในสกุลที่พบได้มากในประเทศอินเดียและอนุทวีปอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกัน หลายชนิด หลายสกุลก็เป็นปลาที่พบเฉพาะลุ่มแม่น้ำสาละวินที่เดียวด้ว.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง มีชนิดปลามากกว่า 200 ชนิด และเป็นปลาเฉพาะถิ่นและปลาท้องถิ่นประมาณ 20 ชนิด โดยปลาในลุ่มแม่น้ำนี้หลายชนิดซ้ำซ้อนกับปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ที่เป็นลุ่มแม่น้ำใกล้เคียง.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง

แผนที่แสดงสาขาแม่น้ำโขง ปลาในลุ่มแม่น้ำโขงที่วางขายในตลาดสด ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง ในปัจจุบันนี้พบแล้วกว่า 1,200 ชนิด และคาดว่าอาจมีถึง 1,700 ชน.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

้เฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาที่เดียวเท่านั้น ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นแม่น้ำหลักของประเทศอีกลุ่มแม่น้ำหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีการค้นพบปลาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้แล้วไม่ต่ำกว่า 350 ชนิด นับเป็นอันดับ 2 รองจากลุ่มแม่น้ำโขงหนังสือปลาไทยคืนถิ่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมประมง มีนาคม..

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

ปลาขิ้ง

ปลาขิ้ง หรือ ปลาขิ่ง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวค่อนข้างโต ปากกว้างและริมฝีปากหนา มีหนวด 2 คู่ ตาโตอยู่ค่อนไปทางด้านบนของส่วนหัว ส่วนแก้มกว้างทำให้ส่วนหัวดูค่อนข้างสูง เกล็ดมีขนาดเล็กหลุดง่าย มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัว 42-45 แถว ลำตัวสีเงินเจือชมพูอ่อน ๆ เหนือครีบอกมีแถบสีดำตามแนวตั้ง ครีบทุกครีบเป็นสีเหลืองอ่อน ปลายครีบหางมีแต้มสีแดงปนส้มทั้ง 2 แฉก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 40 เซนติเมตร เป็นปลาที่กินพืชน้ำและตะไคร่น้ำเป็นอาหาร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็กในแหล่งน้ำไหล พบกระจายพันธุ์ในประเทศพม่า และแม่น้ำสาละวินซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวในสกุล Chagunius ที่พบได้ในประเทศไทย ค้นพบครั้งแรกทางวิทยาศาสตร์ที่ห้วยแม่ละเมา บ้านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่พิกัด 16°48’N, 98°44’E, โดยที่คำว่า Chagunius ดัดแปลงมาจากคำว่า "คากูนี (chaguni)" ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่เรียกปลาสกุลนี้ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย และ baileyi ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นักมีนวิทยาชาวอเมริกัน รีฟ เอ็ม.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาขิ้ง

ปลาขิ้ง (สกุล)

ปลาขิ้ง (Chagunius) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เดิมที ปลาในสกุลนี้ ฮิว แมคคอร์มิค สมิธได้ตั้งสกุลนี้ขึ้นมาโดยใช้ Cyprinus chagunio ที่พบในประเทศอินเดีย เป็นตัวแทนของสกุล มีลักษณะเด่น คือ หัวแบนข้าง มีหนวดยาว 2 คู่ ที่ริมฝีปากบน 1 คู่ และมุมปาก 1 คู่ โดนหนวดที่จมูกมีกล้ามเนื้อเป็นพู ซี่กรองเหงือกคู่แรกเป็นรูปสามเหลี่ยมมี 9 อัน ที่จะงอยปากและแก้มมีติ่งเนื้อขนาดเล็กลักษณะคล้ายหนวดสั้น ๆ ตัวผู้จะมีติ่งเนื้อมากกว่าตัวเมีย ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายเป็นหนามแข็งและขอบจักเป็นฟันเลื่อย ปัจจุบัน มีทั้งหมด 3 ชนิด พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอินเดียและพม่า สำหรับประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียวในลุ่มแม่น้ำสาละวิน.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาขิ้ง (สกุล)

ปลาขี้ยอก

ปลาขี้ยอก หรือ ปลาหนามไผ่ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ที่ใช้ชื่อสกุลว่า Mystacoleucus (/มีส-ทา-โค-ลิว-คัส/) เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างโดยรวมเหมือนปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่ โดยมีรูปร่าวยาวปานกลาง ลำตัวค่อนข้างแบนมาก ท้องกลม หัวมีขนาดเล็ก นัยน์ตามีขนาดโต บนจะงอยปากมีรูพรุนเล็ก ๆ เรียงเป็นแถว ๆ ปากอยู่เกือบปลายสุด ริมฝีปากบาง บางชนิดมีหนวด 2 คู่ (จะงอยปาก 1 คู่ และมุมปาก 1 คู่) บางชนิดมีหนวด 1 คู่ (มุมปาก) บางชนิดไม่มีหนวด มีฟันที่ลำคอ 3 แถว เกล็ดมีขนาดปานกลาง เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์และส่วนปลายไปสิ้นสุดที่กึ่งกลางของฐานครีบหาง หน้าครีบหลังมีก้านกระดูกเป็นหนามแหลม 1 ก้าน ครีบหลังอยู่ตรงข้ามฐานครีบท้อง ก้านครีบเดี่ยวก้านก้านสุดท้ายของครีบหลังเป็นหนามแข็ง และมีขอบจักเป็นฟันเลื่อย ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของสกุล อันเป็นที่มาของชื่อเรียก หรือในบางชนิดก็มีก้านครีบเดี่ยวนี้ไม่เป็นหนามแข็งและขอบเรียบ ก้านครีบแขนงของครีบหลังมี 8 หรือ 9 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 6-10 ก้าน.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาขี้ยอก

ปลาข้อมือนาง

ปลาข้อมือนาง (cá ngựa bắc) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Folifer โดยสันนิษฐานว่า มาจากภาษาละตินคำว่า foli หมายถึง "ใบไม้" และ ifer หมายถึง "แบก" รวมความแล้วหมายถึงลักษณะของปากของปลาชนิดนี้ที่อยู่ด้านล่าง และ brevis หมายถึง "เล็ก, น้อย" และ filum หมายถึง "หนวด" หรือ "เส้นด้าย" อันหมายถึง หนวดที่ลักษณะสั้นมาก มีลำตัวกลมเรียวยาว แบนข้างเล็กน้อย ใต้คางมีติ่งเนื้อ 1 ชิ้น ดูแลเหมือนหนวดขนาดสั้น เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินแวววาวอมเขียว ด้านบนมีสีคล้ำเล็กน้อย ข้างแก้มมีแต้มสีเหลือง ครีบจางใส ครีบหลังสูง ก้านครีบอันใหญ่สุดมีจักละเอียดที่ขอบด้านท้าย มีความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร เป็นปลาที่หากินตะไคร่น้ำตามก้อนหินใต้พื้นน้ำและโขดหิน พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำที่ไหลแรงและสะอาดในหลายประเทศ เช่น ตอนใต้ของจีน, เวียดนาม, ลาว ในประเทศไทยพบเฉพาะลุ่มแม่น้ำสาละวินบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนและตาก และยังมีรายงานพบที่เกาะไหหลำและฮ่องกงอีกด้วย โดยตัวอย่างต้นแบบแรกถูกส่งมาจากฮ่องกงไปยังจีนเพื่อทำการอนุกรมวิธาน มีการจับขายเป็นปลาสวยงาม แต่พบได้น้อยและเลี้ยงดูยากมาก.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาข้อมือนาง

ปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)

ำหรับปลาข้าวเม่าที่มีลำตัวใส ดูที่: ปลาข้าวเม่า ปลาข้าวเม่า เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่อยู่ในสกุล Chela (/เคล-อา/) ในวงศ์ปลาตะเพียน จัดเป็นปลาซิวหรือปลาแปบจำพวกหนึ่ง มีลำตัวยาวไม่เกิน 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในลำธารและบ่อน้ำขนาดเล็ก ๆ ลำตัวแบนข้างมาก ส่วนท้องที่อยู่ระหว่างคางจนถึงครีบท้องแบนเป็นสัน ปากเล็กและเฉียงขึ้นบน เส้นข้างลำตัวอยู่ต่ำและโค้งขนานไปกับแนวท้อง ปลายเส้นข้างลำตัวไปสิ้นสุดลงที่ครึ่งล่างของโคนหาง ครีบก้นมีฐานครีบยาวกว่าฐานของครีบหลัง ครีบอกใหญ่ ยาวและปลายครีบแหลม ครีบท้องมีก้านครีบยื่นออกเป็นเส้นเดี่ยวและครีบหางมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ปลายแยกเป็นแฉกลึก เดิมทีปลาในสกุลนี้เคยมีประชากรมากกว่านี้ แต่ปัจจุบันได้แยกออกไปเป็นสกุลต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะในสกุล Laubuka หรือปลาซิวหัวตะกั่ว จึงเหลือเพียง 2 ชนิดเท่านั้น.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)

ปลาดอกหมาก (น้ำจืด)

ำหรับปลาดอกหมากที่เป็นปลาทะเล ดูที่: ปลาดอกหมาก ปลาดอกหมาก หรือ ปลาน้ำหมึก เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Barilius ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะโดยรวม คือ ลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย มีหนวดสั้น ๆ หรือไม่มี แต่ก็มีจุดสีดำหรือนํ้าตาลบนพื้นลำตัวสีเงินกระจายอยู่ข้างตัว อาศัยอยู่เป็นฝูงตามต้นนํ้าลำธาร เป็นปลาที่มีความคล่องแคล่วว่องไวมาก เป็นปลาที่มีความใกล้ชิดและคล้ายคลึงกับปลาในสกุล Opsarius มาก โดยเคยจัดอยู่ในสกุลเดียวกัน ก่อนที่จะแยกออกมาต่างหาก.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาดอกหมาก (น้ำจืด)

ปลาคาร์ป

ปลาคาร์ป (Carp) เป็นสกุลของปลาน้ำจืด ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Cyprinus (/ไซ-พริน-อัส/) เป็นปลาที่มีลำตัวป้อมยาวและแบนข้าง มีจุดเด่น คือ มีหนวดที่ริมฝีปาก อันเป็นลักษณะสำคัญของสกุล เป็นปลาที่มนุษย์รู้จักเป็นอย่างดี โดยเชื่อว่าเป็นปลาชนิดแรกที่ได้มีการเลี้ยง เป็นระยะเวลานานกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ในฐานะการเลี้ยงเพื่อการบริโภคเป็นอาหาร ต่อมาชาวจีนก็ได้ ปรับปรุงสายพันธุ์ให้มีสีสันสวยงามขึ้นกว่าเดิม จนกลายเป็นปลาสวยงามเช่นในปัจจุบัน เป็นปลาที่กระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในทวีปเอเชีย ตั้งแต่ เอเชียเหนือ, เอเชียตะวันออก, เอเชียกลาง ไปจนถึงอิหร่าน ในภูมิภาคตะวันออกกลาง หลายชนิดเป็นปลาเฉพาะถิ่นที่พบได้แต่เฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น และบางชนิดก็สูญพันธุ์ไปแล้ว.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาคาร์ป

ปลาคาร์ปเลต

ปลาคาร์ปเลต (Carplet) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ในสกุล Amblypharyngodon จัดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาซิวจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดียและเมียนมา ในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว โดยที่ชื่อสกุลนั้นมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า ἀμβλύς (amblús) หมายถึง "ทื่อ", φάρυξ (pháruks) หมายถึง "ลำคอ" และ ὀδών (odṓn) หมายถึง "ฟัน" โดยมีความหมายถึง รูปร่างที่แบนหรือเว้าของฟันในปลาสกุลนี้.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาคาร์ปเลต

ปลาตะพาก

ปลาตะพาก เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในสกุล Hypsibarbus (/ฮีป-ซี-บาร์-บัส/) จัดเป็นปลาขนาดกลางในวงศ์นี้ มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายปลาตะเพียนในสกุล Barbonymus ซึ่งอยู่วงศ์เดียวกัน แต่ปลาตะพากจะมีลำตัวที่ยาวกว่า และขนาดจะใหญ่ได้มากกว่า แพร่กระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และทางตอนใต้ของประเทศจีน พบอาศัยในแม่น้ำสายใหญ่รวมถึงลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือป่าดิบชื้น โดยมีขนาดลำตัวประมาณ 60-80 เซนติเมตร มีทั้งหมด 11 ชนิด (สูญพันธุ์ไปแล้ว 1 ชนิด ดูในตาราง) โดยมีชนิดที่รู้จักกันดีที่สุดคือ ปลาตะพากเหลือง (H.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตะพาก

ปลาตะพากส้ม

ปลาตะพากส้ม, ปลาจาด หรือ ปลาจาดแมลคัม (Goldfin tinfoil barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus malcolmi ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาที่มีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงปลาตะพากเหลือง (H.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตะพากส้ม

ปลาตะพากเหลือง

ปลาตะพากเหลือง หรือ ปลาตะพากทอง (Golden-bellied barb) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกปลาตะพากชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาตะพากชนิดที่พบได้หลากหลายและเป็นที่รู้จักกันดีที.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตะพากเหลือง

ปลาตะกาก

ปลาตะกาก เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cosmochilus harmandi อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาในสกุล Cyclocheilichthys หรือ ปลาตะโกก คือ ลำตัวเพรียวยาว มีหนวด 2 คู่ ที่ริมฝีปากมีติ่งเนื้อเล็ก ๆ เป็นชายครุยรอบ ๆ ครีบหลังยกสูงมาก โดยจะสูงมากกว่าปลาตะโกก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดใหญ่สีเงิน ว่ายน้ำได้รวดเร็ว ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 เมตร หนักได้ถึง 10 กิโลกรัม กินอาหารได้แก่ แมลง, พืชน้ำ และสัตว์หน้าดิน เช่น หอย เป็นอาหาร เป็นปลาที่พบได้ตามแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลางและภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล เป็นต้น เป็นปลาเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของภาคอีสาน นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดหรือทำปลาร้า จัดเป็นปลาที่มีราคาสูงชนิดหนึ่ง แต่ต่ำกว่าปลาตะโกก (C.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตะกาก

ปลาตะลุมพุก

ทความนี้หมายถึงปลา ส่วนตะลุมพุกในความหมายอื่นดูที่: ตะลุมพุก ปลาตะลุมพุก หรือ ปลากระลุมพุก หรือ ปลาหลุมพุก (ใต้) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่เข้ามาวางไข่ในน้ำจืด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tenualosa toli ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae).

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตะลุมพุก

ปลาตะโกก

ปลาตะโกก (Soldier river barb) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclocheilichthys enoplos อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตะโกก

ปลาตะโกกหน้าสั้น

ปลาตะโกกหน้าสั้น เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Albulichthys มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาตะโกก (Cyclocheilichthys spp.) แต่มีส่วนหน้าที่สั้น หัวเล็ก ตาโต ปากเล็กสั้นมน ลำตัวสีเงินวาวอมเหลือง ครีบสีเหลือง ครีบหลังสั้น ครีบอก ครีบท้อง และครีบก้นเล็ก ครีบหางเว้าลึกสีส้มหรือสีแดง และมีขอบสีคล้ำ กินอาหารได้แก่ อินทรียสารหรือสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก มีขนาดความยาวลำตัวประมาณ 15-35 เซนติเมตร ปัจจุบันเป็นปลาที่มีสถานะภาพใกล้สูญพันธุ์แล้ว เนื่องจากเป็นปลาที่พบได้เฉพาะลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตะโกกหน้าสั้น

ปลาตะเพียนลาย

ปลาตะเพียนลาย หรือ ปลาตะเพียนม้าลาย (Striped barb, Zebra barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเรียวยาว มีลายสีดำทั้งหมด 4 แถบ ยาวตามแนวนอนตามลำตัว ลายแต่ละเส้นขนานกัน ลำตัวสีเหลืองจาง ๆ เกล็ดเป็นเงามันสะท้อนแสงแวววาว เม่อยังเป็นลูกปลาวัยอ่อน ลายตามลำตัวจะเป็นแนวขวาง และค่อย ๆ กลายเป็นแนวนอนเมื่อปลาโตขึ้นหน้า 70, ตะเพียน Update, "คุยเฟื่องเรื่องปลาไทย" โดย อ.ชัยวุฒิ กรุดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตะเพียนลาย

ปลาตะเพียนลายมาเลย์

ปลาตะเพียนลายมาเลย์ ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Striuntius โดยเป็นสกุลใหม่ที่ตั้งขึ้นมาเมื่อปี..

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตะเพียนลายมาเลย์

ปลาตะเพียนลายหมากรุก

ปลาตะเพียนลายหมากรุก (Checker barb, Checkered barb, Checkerboard barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ถูกบรรยายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกเมื่อปี..

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตะเพียนลายหมากรุก

ปลาตะเพียนสาละวิน

ปลาตะเพียนสาละวิน หรือ ปลาตะพากสาละวิน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus salweenensis ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาตะพากชนิดหนึ่ง มีขนาดความยาวประมาณ 20–40 เซนติเมตรเท่านั้น จัดเป็นปลาที่เล็กกว่าปลาตะพากชนิดอื่น มีลักษณะคือ ครีบหลังยกสูงตอนปลายมีสีดำ มีก้านครีบแข็งที่อันที่ 2 หยักที่ขอบด้านท้าย ครีบก้นสูงและมีฐานครีบสั้น เกล็ดไม่มีสีเหลืองหรือสีส้มหรือสีแดงเช่นปลาตะพากชนิดอื่น ๆ และมีรูปร่างที่ยาวกว่าปลาตะพากชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด มีพฤติกรรมที่ไม่ทราบแน่นอนและพบเฉพาะลุ่มน้ำสาละวินในภาคตะวันตกของไทยที่ติดกับชายแดนพม่าเท่านั้น.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตะเพียนสาละวิน

ปลาตะเพียนหยดน้ำ

ปลาตะเพียนหยดน้ำ (Snakeskin barb) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาเสือสุมาตรา (Puntigrus tetrazona) หรือปลาเสือข้างลาย (P.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตะเพียนหยดน้ำ

ปลาตะเพียนหน้าแดง

ปลาตะเพียนหน้าแดง (Red-line torpedo barb, Denison barb) เป็นปลาน้ำจืดกึ่งเขตร้อนในสกุล Sahyadria และวงศ์ Cyprinidae มีถิ่นอาศัยอยู่ในแม่น้ำและลำธารไหลแรงในประเทศอินเดี.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตะเพียนหน้าแดง

ปลาตะเพียนอินเดีย

ปลาตะเพียนอินเดีย หรือ ปลาตะเพียนจุด (Blackspot barb, Filamented barb, Mahecola barb) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวเรียวยาวแบนข้าง พื้นลำตัวมีสีเหลืองอมชมพู ครีบหลัง ครีบอกและครีบหางมีสีแดงจาง ๆ ขอบหางด้านล่างและด้านบนมีสีดำ ที่โคนครีบหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน ปลาตัวผู้มีรูปร่างเพรียวบางกว่าตัวเมีย และมีครีบต่าง ๆ พริ้วยาวแลดูสวยงามกว่ามาก มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 13-15 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง กินอาหาร จำพวกสัตว์น้ำและแมลงขนาดเล็ก มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 4 ปี พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่น้ำจืดและน้ำกร่อยในอินเดียตอนใต้ เช่น รัฐเกรละ, ทมิฬนาดู และกรณาฏกะ เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตะเพียนอินเดีย

ปลาตะเพียนจุด

ปลาตะเพียนจุด (Spotted barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่าง คือ ลำตัวแบนข้าง สันหลังโค้งเล็กน้อย หัวมีขนาดปานกลาง ปากแคบ มีหนวดยาว 2 คู่ โดยอยู่ที่จะงอยปาก 1 คู่ มุมปาก 1 คู่ ลำตัวมีสีเงินแวววาว มีจุดสีดำเป็นทรงกลมที่ครีบหลังและคอดหางแห่งละ 1 จุด เป็นปลาที่มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร พบทั่วไปได้ที่ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ตั้งแต่ พม่า, ไทย, มาเลเซีย ไปจนถึงอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ง่ายบริเวณแหล่งน้ำที่เป็นลำธารหรือน้ำตกในป่าดิบ เช่น จังหวัดเชียงใหม่, นครศรีธรรมราช, จันทบุรี, ตราด, ชุมพร, เกาะช้าง และเกาะสมุย เป็นต้น มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินตะไคร่น้ำและอินทรียสารตามโขดหินและพื้นน้ำ รวมทั้งแมลงน้ำขนาดเล็ก นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่ออยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ หรือ LC.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตะเพียนจุด

ปลาตะเพียนทราย

ปลาตะเพียนทราย หรือ ปลาขาวนา ในภาษาอีสาน (Swamp barb) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปลาตะเพียนขาว (Barbonymus gonionotus) ซึ่งเดิมเคยอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ลำตัวป้อมกว่า หัวมีขนาดเล็ก ปากเล็ก มีหนวด 1 คู่ ลำตัวสีเงินเทา ครีบหลังมีประสีคล้ำ ก้านครีบหลังอันใหญ่มีขอบด้านท้ายเรียบ ครีบหางเว้าลึก ก้านครีบหลังอันใหญ่มีขอบด้านท้ายเรียบ ครีบหางเว้าลึก โคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ ในฤดูผสมพันธุ์แก้มจะมีแต้มสีส้มอ่อน มีขนาดความยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร มีพฤติกรรมรวมฝูงกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามแหล่งน้ำนิ่งที่มีพรรณไม้น้ำขึ้นหนาแน่น กินอาหารจำพวกแพลงก์ตอน, สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก และพืชน้ำ จัดเป็นปลาที่พบชุกชุมตามหนองบึง, ทะเลสาบ, อ่างเก็บน้ำ, ลำห้วย และแม่น้ำต่าง ๆ ในภาคกลาง, ภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ในลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย จนถึงเกาะชวา ในอินโดนีเซี.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตะเพียนทราย

ปลาตะเพียนทอง

ปลาตะเพียนทอง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus altus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลากระแห (B.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตะเพียนทอง

ปลาตะเพียนขาว

ปลาตะเพียนขาว หรือ ปลาตะเพียนเงิน หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ปลาตะเพียน (Java barb, Silver barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์ปลาตะเพียนทั่วไป ตัวมีสีเงินแวววาว ด้านหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ด้านท้องสีจาง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองอ่อน ภาคอีสานเรียกว่า "ปลาปาก" ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลาตะเพียนใบลาน มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย, บอร์เนียว, อินโดนีเซีย แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม ขนาดโดยเฉลี่ย 36 เซนติเมตร (พบใหญ่ที่สุด 90 เซนติเมตร น้ำหนัก 13 กิโลกรัม ที่มาเลเซีย) พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน อยู่กันเป็นฝูง ชอบที่น้ำไหลเป็นพิเศษ เป็นปลากินพืช, แมลง และสัตว์หน้าดิน นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะตัวที่เป็นปลาเผือก ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาตะเพียนอินโด" นิยมเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บตะไคร่น้ำและปรสิตในตู้ หรือแม้กระทั่งเลี้ยงเป็นปลาลูกไล่ของปลาใหญ่กว่า หรือเลี้ยงเพื่อทดสอบค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ (pH) หรือความเข้มข้นของคลอรีน ก่อนที่จะปล่อยปลาที่จะเลี้ยงจริงลงไป เนื่องจากเป็นปลาที่มีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และมีความไวต่อคุณภาพน้ำ มีการผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงฤดูฝน ตัวเมียเมื่อถึงสภาพสมบูรณ์ ลำตัวจะอวบอ้วนและใหญ่กว่าตัวผู้ถึง 2-3 เท่า ตัวผู้บริเวณข้างแก้มจะมีตุ่มคล้ายสิวอันเป็นเอกลักษณ์ของปลาในวงศ์ปลาตะเพียน ตัวเมียใช้เวลาอุ้มท้องจนกระทั่งวางไข่ประมาณ 1 เดือน ปัจจุบันมีการเพาะพันธุ์ปลาเพื่อนำไปปล่อยในแหล่งน้ำต่าง ๆ มีการนำมาทำเป็นอาหาร เช่น ปลาตะเพียนต้มเค็ม หรือปลาส้ม นับว่าเป็นตำรับที่มีชื่อมากของปลาชนิดนี้ แต่เป็นปลาที่มีก้างมาก.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตะเพียนขาว

ปลาตะเพียนปากหนวด

ำหรับปลาปากหนวดชนิดอื่น ดูที่ Hypsibarbus vernayi ปลาตะเพียนปากหนวด หรือ ปลาปากคีบแดง (ชื่อท้องถิ่น) (Yellow eyed silver barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาในสกุลปลาตะพากชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในประเทศไทย มีลักษณะเหมือนปลาตะพากทั่วไป มีลำตัวกว้าง 9.5 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตร พบยาวเต็มที่ 30 เซนติเมตร กระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำโขงในประเทศไทย ในต่างประเทศพบที่เวียดนามและมาเลเซีย เป็นปลาที่กินพืชน้ำ, ไส้เดือนน้ำ และแมลงน้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร โดยปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขงนั้น พบชุกชุมในช่วงปลายปี คือ เดือนกันยายน-พฤศจิกายน เป็นปลาเศรษฐกิจในชุมชน ที่ชนพื้นถิ่นจับมารับประทานและขายกันในท้องถิ่นเป็นวิถีชีวิต.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตะเพียนปากหนวด

ปลาตะเพียนแคระ

ปลาตะเพียนแคระ (Pygmy barb) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายคล้ายกับปลาตะเพียน แต่ลำตัวเรียวยาวกว่า ตาโต ปากมีขนาดเล็ก ไม่มีหนวด เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวใสมีสีเหลืองหรือสีน้ำตาลอ่อน ครีบใส ปลายครีบมีสีดำคล้ำ ตัวผู้มีครีบหลังใหญ่กว่าตัวเมีย ครีบก้นมีแต้มสีดำ ด้านหลังมีสีจาง ๆ มีขนาดความยาว 3-4 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำที่มีพืชน้ำขึ้นอย่างหนาแน่นในป่าที่ราบต่ำหรือป่าพรุ พบในภาคตะวันออกและภาคใต้ไทย โดยพบได้ตั้งแต่ตอนเหนือของแหลมมลายู จัดเป็นปลาที่พบได้น้อย กินอหารจำพวก สัตว์น้ำหน้าดินและอินทรียสารต่าง ๆ เป็นอาหาร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตะเพียนแคระ

ปลาตามิน

ปลาตามิน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amblyrhynchichthys truncatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียน ลำตัวแบนข้าง แต่ส่วนหัวและจะงอยบปากสั้นทู่ หน้าหนัก ปากเล็ก ริมฝีปากบาง ไม่มีหนวด ตามีขนาดใหญ่มีเยื่อไขมันใสคลุม จึงเป็นที่มาของชื่อ ครีบหลังสูง มีก้านแข็งที่ขอบหยัก ครีบหางเว้า เกล็ดมีขนาดใหญ่ปานกลาง ครีบอกสั้น ตัวมีสีเงินวาวตลอดทั้งตัว ไม่มีจุดหรือสีอื่นใด ๆ ด้านท้องสีจาง ครีบมีสีเหลืองอ่อนใส มีขนาดประมาณ 20 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 40 เซนติเมตร อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ตั้งแต่ แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง และพบไปถึงบอร์เนียว เป็นปลาที่กินพืช และแมลง รวมถึงสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น หอย เป็นต้น โดยมีพฤติกรรมหากินตามพื้นท้องน้ำ เป็นปลาที่มักถูกจับได้ครั้งละมาก ๆ มีราคาขายปานกลาง นิยมบริโภคโดยปรุงสดและทำปลาร้า อีกทั้งยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย ปลาตามิน ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาตาโป" ในภาษาอีสาน "ปลาตาเหลือก" หรือ "ปลาหนามหลัง" เป็นต้น.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตามิน

ปลาตามิน (สกุล)

ปลาตามิน เป็นสกุลของปลาน้ำจืด ในสกุล Amblyrhynchichthys (/แอม-ไบล-รีนค์-อิค-ธีส/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โดยมีลักษณะทางอนุกรมวิธานที่สำคัญ คือ ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวที่ค่อนข้างใหญ่ แข็ง และขอบจักเป็นฟันเลื่อย ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 9 ก้าน ปลายจมูกตัดตรงมีเยื่อเหมือนวุ้นรอบนัยน์ตา ระหว่างรูทวารจนถึงต้นครีบก้นมีเกล็ด 3 แถว เป็นปลาที่พบได้ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ จำแนกออกได้เป็น 2 ชน.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตามิน (สกุล)

ปลาตาดำ

ปลาตาดำ หรือ ปลาเปี่ยน หรือ ปลาปากเปี่ยน (Sharp-mouth barb) เป็นปลาน้ำจืดสกุล Scaphognathops (/สแค-โฟ-แน็ธ-ออฟส์/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มี 3 ชนิด คือ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตาดำ

ปลาตุม

ปลาตุม หรือ ปลาตุ่ม (Bulu barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลากระมังชนิดอื่น ๆ เว้นแต่ก้านครีบก้นไม่มีรอยหยัก เกล็ดเล็กกว่า และลำตัวมีรอยขีดสีคล้ำตามขวางประมาณ 7-8 รอย ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร เป็นปลาที่พบได้น้อย โดยจะพบแต่เฉพาะภาคใต้เท่านั้น ที่สามารถพบชุกชุมได้แก่ ทะเลสาบสงขลาตอนในที่เป็นส่วนของน้ำจืด ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วโดยกรมประมง.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาตุม

ปลาฉลามหางไหม้ (อินโดนีเซีย)

ปลาฉลามหางไหม้ (Bala shark, Silver shark, Tricolor sharkminnow) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างและทรวดทรงที่เพรียวยาว ตาโต ปากเล็ก ขยับปากอยู่ตลอดเวลา ใต้คางมีแผ่นหนังเป็นถุงเปิดออกด้านท้าย ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็กสัดส่วนของครีบทุกครีบเหมาะสมกับลำตัว โดยเฉพาะครีบหางซึ่งเว้าเป็นแฉกลึก สีของลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ด้านหลังสีเขียวปนเทา ครีบหลัง ครีบท้อง ครีบก้นและครีบหาง สีเหลืองหรือสีเหลืองอมขาว และมีขอบเป็นแถบดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวมาก และกระโดดขึ้นได้สูงจากน้ำมาก มีขนาดโตเต็มราว 20–30 เซนติเมตร เป็นปลาที่พบแพร่กระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำของประเทศอินโดนีเซีย มีความว่องไวปราดเปรียวมาก โดยสามารถที่จะกระโดดได้สูงถึง 2 เมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง ปัจจุบันมีสถานะในธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์แล้ว นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยใช้วิธีการผสมเทียมด้วยการฉีดฮอร์โมน.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาฉลามหางไหม้ (อินโดนีเซีย)

ปลาฉลามหางไหม้ (ไทย)

ปลาหางไหม้ หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาฉลามหางไหม้ (Burnt-tailed barb, Siamese bala-shark) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ปลาหางไหม้ มีรูปร่างและทรวดทรงที่เพรียวยาว ตาโต ปากเล็ก ขยับปากอยู่ตลอดเวลา ใต้คางมีแผ่นหนังเป็นถุงเปิดออกด้านท้าย ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็กสัดส่วนของครีบทุกครีบเหมาะสมกับลำตัว โดยเฉพาะครีบหางซึ่งเว้าเป็นแฉกลึก สีของลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ด้านหลังสีเขียวปนเทา ครีบหลัง ครีบท้อง ครีบก้นและครีบหาง สีส้มแดงและขอบเป็นแถบดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวมาก และกระโดดขึ้นได้สูงจากน้ำมาก มีขนาดโตเต็มราว 20–30 เซนติเมตร นิยมอยู่เป็นฝูง หากินตามใต้พื้นน้ำ ในอดีตพบชุกชุมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในประเทศไทย แต่ปัจจุบันไม่พบแล้ว เชื่อว่าได้สูญพันธุ์ไปจนหมดแล้ว สันนิษฐานว่าเป็นผลมาจากการจับจากธรรมชาติเพื่อจำหน่ายเป็นปลาสวยงาม แต่ก็เพียงข้อสันนิษฐาน โดยถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตถิ่นเดียว แม้จะมีรายงานพบในลุ่มแม่น้ำโขง ในเวียดนาม, กัมพูชา และลาว แต่ทว่าก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน และไม่เป็นที่ยอมรับจาก IUCN ซึ่งในอดีตปลาหางไหม้ได้ถูกใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ร่วมกับปลาฉลามหางไหม้ชนิดที่พบในประเทศอินโดนีเซีย (B.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาฉลามหางไหม้ (ไทย)

ปลาฉลามน้ำจืด (แก้ความกำกวม)

ปลาฉลามน้ำจืด (freshwater shark) อาจหมายถึง.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาฉลามน้ำจืด (แก้ความกำกวม)

ปลาซาร์ดีนทะเลสาบ

ปลาซาร์ดีนทะเลสาบ หรือ ปลาซาร์ดีนทะเลสาบมาลาวี (lake sardine, Lake Malawi sardine; ชื่อพื้นเมือง: อูซีปา, usipa) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง พบในทวีปแอฟริกา ปลาซาร์ดีนทะเลสาบมีรูปร่างคล้ายกับปลาซาร์ดีนแต่ไม่ใช่ปลาซาร์ดีน หากแต่เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โดยเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Engraulicypris ปลาซาร์ดีนทะเลสาบมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่พบได้เฉพาะทางตอนเหนือของทะเลสาบมาลาวีซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศมาลาวี, โมซัมบิก และแทนซาเนีย รวมถึงแม่น้ำชีเร (Shire) เท่านั้น เป็นปลาที่กินแพลงก์ตอนสัตว์ รวมถึงตัวอ่อนของแมลงจำพวกริ้น (ที่รวมตัววางไข่เป็นจำนวนนับหลายล้านตัวจนเป็นปรากฏการณ์เหมือนหมู่เมฆหรือพายุลอยเหนือผิวน้ำในทะเลสาบ) เป็นอาหาร ปลาซาร์ดีนทะเลสาบเป็นปลาเศรษฐกิจสำคัญของทะเลสาบมาลาวี เป็นแหล่งโปรตีนสำหรับประชากรถึง 20 ล้านคนรอบ ๆ ทะเลสาบ ชาวประมงท้องถิ่นจะรวมตัวกันจับด้วยเรือโกลนในคืนเดือนมืด ด้วยการใช้ไฟจากตะเกียงเป็นตัวล่อ แบ่งระหว่างเรือใหญ่ 2 ลำ แผ่อวนออกไปเป็นวงกลม เรือที่อยู่ตรงกลางจะจุดตะเกียงเพื่อดึงดูดปลาขึ้นสู่ผิวน้ำ จากนั้นจึงสาวอวนขึ้นมา ปริมาณการจับ จับได้ครั้งละ 2–3 กิโลกรัม แต่สามารถจับได้มากกว่า 10 รอบก่อนรุ่งสาง นิยมนำไปแปรรูปเป็นปลาตากแห้งซึ่งสามารถเก็บไว้นานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เนื่องจากความร้อนของอุณหภูมิในพื้นที่ทำให้ปลาไม่สด และก่อนจะกลับถึงฝั่ง ชาวประมงท้องถิ่นก็นิยมย่างปลาซาร์ดีนทะเลสาบเป็นอาหารเช้าอีกด้ว.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซาร์ดีนทะเลสาบ

ปลาซิว

ปลาซิวข้างขวานเล็ก (''Trigonostigma espei'') ปลาซิว (Minnow; ในไอร์แลนด์เรียก Pinkeens) เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่เรียกปลาน้ำจืดขนาดเล็กหลายชนิด ในหลายสกุล ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) อันดับปลากินพืช เช่น สกุล Rasbora ที่มีลำตัวยาว ตัวใส, สกุล Danio, สกุล Esomus ที่มีหนวดยาวเห็นชัดเจน, สกุล Laubuca ที่มีรูปร่างอ้วนป้อม โดยมากแล้วเป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ขนาดลำตัวไม่เกิน 5 เซนติเมตร หากินบริเวณผิวน้ำ แต่ก็ยังมีหลายสกุล หลายชนิดที่กินเนื้อหรือกินลูกปลาเล็กเป็นอาหาร และมีขนาดลำตัวใหญ่กว่านั้น เช่น ปลาซิวอ้าว (Luciosoma bleekeri) หรือ ปลาสะนาก (Raiamas guttatus) เป็นต้น โดยปลาจำพวกปลาซิวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาบ้า (Leptobarbus hoevenii) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดได้ถึง 80 เซนติเมตร นอกจากนี้แล้ว ปลาซิว ยังอาจจะเรียกรวมถึงปลาในวงศ์อื่นหรืออันดับอื่นได้อีกด้วยที่มีรูปร่าง ลักษณะคล้ายเคียงกัน เช่น ปลาซิวแก้ว (Clupeichthys aesarnensis) ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) อันดับปลาหลังเขียว หรือ ปลานีออน (Paracheirodon innesi) ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) อันดับปลาคาราซิน เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว คำว่า ปลาซิวในนัยทางภาษาไทยใช้เปรียบเทียบกับคนขี้ขลาดหรือใจไม่สู้ ว่า "ใจปลาซิว" เพราะปลาซิวโดยมากเป็นปลาที่ตายง่ายมากเมื่อพ้นจากน้ำ นอกจากนี้แล้วยังมักถูกหยิบยกมาเปรียบเทียบคู่กับปลาสร้อยว่า "ปลาซิว ปลาสร้อย" หมายถึง สิ่งที่เล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่มีความสำคัญนัก เพราะปลาทั้งสองจำพวกนี้เป็นปลาขนาดเล็ก พบได้ทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับสำนวนในภาษาอังกฤษด้วย โดยคำว่า "Minnow" นั้นก็มีความหมายว่า สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่สำคัญ หรือสิ่งหรือบุคคลที่ถูกมองข้าม เป็นต้น.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิว

ปลาซิวพม่า

ปลาซิวพม่า หรือ ปลาซิวควายพม่า (Slender rasbora, Black-line rasbora) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะคล้ายกับปลาซิวทอง (R.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวพม่า

ปลาซิวกาแล็กซี

ปลาซิวกาแล็กซี (celestial pearl danio, halaxy rasbora) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง เป็นปลาจำพวกปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ปลาซิวกาแล็กซีเป็นปลาที่มีลวดลายและสีสันสวยงามมาก โดยเฉพาะในตัวผู้ โดยจะมีลำตัวสีน้ำตาลเข้มถึงดำ และมีลายจุดสีทองกระจายอยู่ทั่วตัว อีกทั้งยังมีสีส้มแดงสลับดำตามครีบหลัง ครีบหางและครีบท้อง ทำให้แลดูคล้ายท้องฟ้าและหมู่ดาวในดาราจักร (กาแล็กซี) ในเวลาค่ำคืน อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ปลาซิวกาแล็กซีได้รับการค้นพบครั้งแรกในเดือนสิงหาคม..

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวกาแล็กซี

ปลาซิวสมพงษ์

ปลาซิวสมพงษ์ เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกปลาซิวชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ได้รับการค้นพบโดยนายสมพงษ์ เล็กอารีย์ พ่อค้าปลาสวยงามชาวไทย ปลาเพศผู้รูปร่างลักษณะรูปร่างเรียวยาวและมีขนาดเล็กกว่าปลาเพศเมีย บริเวณลำตัวมีสีเหลืองส้มและลวดลายข้างลำตัวจะเข้มชัดเจนเมื่อใกล้ฤดูผสมพันธุ์ เพศเมียมีลักษณะรูปร่างป้อมมีสีซีดจางและลวดลายข้างลำตัวไม่ชัดเจน ข้อแตกต่างจะเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นช่วงที่ปลาพร้อมจะวางไข่ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 10.5 เซนติเมตร กินอาหารง่าย เป็นปลาที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง ว่ายน้ำตลอดเวลา วางไข่โดยการแปะติดกับใบของพืชน้ำ ไข่จะฟักภายใน 30 ชั่วโมง แม่ปลาสามารถวางไข่ได้ประมาณ 8-10 ฟอง กินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนสัตว์และตัวอ่อนแมลงน้ำขนาดเล็ก ปลาซิวสมพงษ์จัดเป็นปลาที่หายากมาก เนื่องจากเป็นปลาเฉพาะถิ่น พบเฉพาะลุ่มน้ำแม่กลองแถบจังหวัดกาญจนบุรีเท่านั้น มีรายงานการส่งออกไปขายยังต่างประเทศ เช่น เยอรมนี ญี่ปุ่น ในฐานะปลาสวยงาม จนทำให้ปลาซิวสมพงษ์มีสถานะในธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต เคยถูกจัดให้เป็นปลาที่สูญพันธุ์ไปแล้วจากบัญชีของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติเมื่อกว่า 50 ปีก่อน จนกระทั่งหลังเหตุมหาอุทกภัยในปลายปี พ.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวสมพงษ์

ปลาซิวหัวตะกั่ว

ำหรับปลาในวงศ์อื่น ดูที่: ปลาหัวตะกั่ว ปลาซิวหัวตะกั่ว หรือ ปลาท้องพลุ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกปลาท้องพลุหรือปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Laubuka (/ลอ-บู-คา/) จัดเป็นปลาซิวขนาดกลาง มีลักษณะทั่วไปคือ ลำตัวแบนข้าง สีลำตัวทั่วไปเป็นสีเงินขาว มีลักษณะเด่น คือ มีส่วนท้องที่ลึกและกว้างเหมือนอ้วนหรือท้องป่อง เมื่อจับขึ้นมาแล้ว ส่วนท้องจะแตกได้ง่าย อีกทั้งมีจุดสีเงินเข้มที่ส่วนหัว แลดูคล้ายปลาหัวตะกั่ว จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีเส้นข้างลำตัวที่สมบูรณ์ มีก้านครีบท้องยื่นยาวลงมาเป็นเส้นเดี่ยว เดิมทีปลาในสกุลนี้ถูกจัดให้อยู่ในสกุล Chela มีพฤติกรรมรวมฝูงเป็นฝูงเล็ก ๆ กินแมลงที่ตกลงน้ำเป็นอาหารหลัก โดยมีปากที่เชิดขึ้นด้านบน นอกจากนี้แล้วเมื่อตกใจจะสามารถกระโดดขึ้นขนานไปกับผิวน้ำได้เหมือนปลาขวานบิน ซึ่งเป็นปลาในกลุ่มปลาคาราซิน พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียอาคเนย์จนถึงแหลมมลายูและหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซียซึ่งพบได้ในทวีปอเมริกาใต้ในประเทศไทยจะพบได้ 2 ชน.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวหัวตะกั่ว

ปลาซิวหัวตะกั่วสุโขทัย

ปลาซิวหัวตะกั่วสุโขทัย หรือ ปลาท้องพลุ หรือ ปลาข้าวเม่า (Flying minnow, Flying barb, Leaping barb, Siamese hatchetfish) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิวและปลาท้องพลุ ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างค่อนข้างกว้าง ลำตัวแบนข้างมาก ส่วนท้องเป็นสัน เส้นข้างลำตัวโค้งลงเห็นชัดเจน และขนานกับริมท้อง ครีบอกแหลมยาว ก้านครีบของครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้นเดี่ยว ที่หัวและบนหลังตอนหน้าครีบหลังมีจุดสีน้ำเงินเข้ม บนลำตัวหลังช่องเหงือกมีจุดสีดำขนาดใหญ่ 1 จุด และเหนือครีบอกมีจุดสีดำ 4-9 จุด สีของลำตัวทั่วไปเป็นสีขาวอมเขียวแวววาว มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 7 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ย 4-5 เซนติเมตร จัดเป็นปลาซิวหัวตะกั่ว 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนและแม่น้ำโขง มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็กในแหล่งน้ำที่มีพรรณไม้ขึ้นหนาแน่น กินอาหารบริเวณผิวน้ำ เช่น แมลง, ลูกน้ำ, ลูกไร เป็นอาหาร เป็นปลาที่เมื่อตกใจแล้วสามารถกระโดดพ้นน้ำได้สูง มีสถานะพบในธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์แล้ว นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะรวบรวมจากแหล่งธรรมชาติจำหน่ายยังต่างประเทศ และในปัจจุบัน ก็สามารถเพาะขยายพันธุ์ในบ่อเลี้ยงได้เป็นผลสำเร็.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวหัวตะกั่วสุโขทัย

ปลาซิวหัวตะกั่วอินเดีย

ปลาซิวหัวตะกั่วอินเดีย (Indian glass barb, Indian hatchetfish) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิวและปลาท้องพลุ ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวรูปร่างกว้าง แบนข้างจนริมท้องเป็นสัน ช่วงท้องลึก มีครีบอกแหลมยาว ก้านครีบของครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้นเดี่ยว เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ ลำตัวมีลักษณะโปร่งแสงเป็นสีเงินแกมเขียวแววาวสะท้อนแสง มีจุดเด่นคือมีลายเส้นจุดสีน้ำเงินเข้มยาวตั้งแต่ฐานครีบอกไปจนถึงฐานของครีบหาง ด้านหลังของลำตัวจะมีสีเข้ม ครีบต่าง ๆ มีสีเหลืองอ่อนหรือสีส้มปนน้ำตาล มีความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะต่าง ๆ สำหรับในประเทศไทยจะพบได้ที่ แหล่งน้ำทางภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ที่มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ขึ้นครึ้ม กินแมลงที่ตกลงน้ำเป็นอาหารหลัก เมื่อตกใจสามารถที่จะกระโดดเหินขนานไปกับผิวน้ำได้เป็นระยะทางสั้น ๆ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาแปบ" หรือ "ปลาท้องพลุ".

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวหัวตะกั่วอินเดีย

ปลาซิวหางกรรไกร

ปลาซิวหางกรรไกร หรือ ปลาซิวหางดอก (Scissor-tailed rasbora, Three-lined rasbora) เป็นปลาซิวชนิดหนึ่ง ในสกุล Rasbora มีรูปร่างเรียวยาว แบนข้าง ท่อนหางยาว ส่วนหลังโค้ง หัวโต นัยน์ตาโต ท้องใหญ่ ครีบใหญ่ เกล็ดตามลำตัวมีสีขาวเงินปนน้ำตาล หลังมีสีน้ำตาลปนดำ มีแถบสีดำตามลำตัว มีลายดำบนแฉกของครีบหาง หางแฉกเว้าคล้ายกรรไกรอันเป็นที่มาของชื่อ จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในสกุลนี้ เนื่องจากสามารถโตเต็มที่ได้ 15 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ กินพืชน้ำและแพลงก์ตอนสัตว์น้ำเป็นอาหาร รวมถึงแมลงขนาดเล็กด้วย ในประเทศไทยพบได้ที่ แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง และภาคใต้ ในต่างประเทศพบได้เรื่อยไปจนถึงคาบสมุทรมลายู, เกาะบอร์เนียว และเกาะสุมาตรา เป็นปลาที่สามารถพบได้ทั่วไปในธรรมชาติ นิยมนำมาบริโภคกันในท้องถิ่นที่อาศัย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะการเลี้ยงในตู้ไม้น้ำ ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง โดยการคัดเลือกพ่อแม่ปลาที่สมบูรณ์ จากนั้นจึงฉีดฮอร์โมนกระตุ้นให้แก่ปลาตัวผู้ และปล่อยทั้งคู่ผสมพันธุ์และวางไข่กันในตู้เลี้ยงหรือบ่อ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวหางกรรไกร

ปลาซิวหางแดง

ปลาซิวหางแดง หรือ ปลาซิวแถบดำ หรือ ปลาซิวบอระเพ็ด (Blackline rasbora, Redline rasbora, Borapet rasbora) ปลาน้ำจืดจำพวกปลาซิวชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rasbora borapetensis อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะเส้นข้างลำตัวไม่สมบูรณ์ ลำตัวแบนข้าง นัยน์ตาค่อนข้างโต ครีบหางแยกเป็นแฉก มีแถบสีดำพาดตามความยาวลำตัวจากหัวจนถึงโคนหาง และมีลายสีเขียวปนสีทองพาดตามแนวแถบสีดำ ครีบหางมีสีแดงสด มีขนาดความเต็มที่ประมาณ 5 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ พบครั้งแรกที่บึงบอระเพ็ด ในปี ค.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวหางแดง

ปลาซิวหนวดยาว

ปลาซิวหนวดยาว (Flying barb, Striped flying barb) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกปลาซิว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Esomus metallicus ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวยาวทรงกระบอก แบนข้าง นัยน์ตาโต ครีบหลังและครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบอกมีขนาดใหญ่ปลายแหลม ครีบหางปลายแยกเป็นแฉกลึก มีหนวดที่มุมปากยาวมากหนึ่งคู่เห็นได้ชัดเจน มีแถบสีดำยาวตามลำตัวจากหลังตาจรดปลายหาง มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 7.2 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแม่น้ำ หนอง คลอง บึง ทั่วทุกภาคของประเทศไทย รวมถึงนาข้าวหรือตามท้องร่องสวนผลไม้ต่าง ๆ ด้วย ในต่างประเทศพบได้จนถึงแหลมมลายู เป็นปลาที่ใช้บริโภคเป็นอาหารในพื้นที่ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวหนวดยาว

ปลาซิวหนวดยาว (สกุล)

ปลาซิวหนวดยาว (Flying barb) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กในจำพวกปลาซิวจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชิ่อสกุลว่า Esomus (/อี-โซ-มัส/) มีลำตัวโดยรวมค่อนข้างยาว แบนข้าง แนวสันหัวตั้งแต่ปลายจะงอยปากจนถึงท้ายทอยหลังเป็นเส้นตรง ถัดไปเป็นส่วนสันหลังจะโค้งนูนขึ้นไม่มากนัก ปากแคบและเฉียงขึ้น ขากรรไกรล่างไม่มีปุ่มตรงกลาง มีหนวดสองคู่ คู่ที่ริมฝีปากบนสั้น แต่คู่ที่ริมฝีปากล่างยาวมากจนเห็นได้ชัด อันเป็นที่มาขอชื่อเรียก ซึ่งบางชนิดยาวถึงฐานครีบก้น ครีบหลังสั้นอยู่ค่อนไปทางหาง มีก้านครีบแขนงห้าก้าน เกล็ดมีขนาดปานกลาง เส้นข้างลำตัวอยู่ต่ำใกล้กับท้องและยาวไปจนสิ้นสุดที่ปลายหางส่วนล่าง มีฟันที่ลำคอหนึ่งแถว มีทั้งหมดห้าซี่ มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนและแมลงน้ำบริเวณผิวน้ำ มีขนาดลำตัวยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 5-7 เซนติเมตร นิยมใช้บริโภคกันในพื้นที่ และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวหนวดยาว (สกุล)

ปลาซิวหนู

ปลาซิวหนู (Least rasbora, Exclamation-point rasbora) เป็นปลาซิวชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะคล้ายปลาซิวชนิดอื่น แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก หัวและตามีขนาดโต ปากมีขนาดเล็ก ครีบและเกล็ดมีขนาดใหญ่ หัวและลำตัวมีสีส้มหรือแดงอมส้ม มีแถบสีดำพาดตามแนวยาวกลางลำตัว โคนหางมีจุดสีคล้ำ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงขนาดใหญ่และว่ายขึ้นมาใกล้ผิวน้ำ ในแหล่งน้ำที่นิ่งมีหญ้าและพืชน้ำขึ้นหนาแน่น และน้ำมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย (pH ต่ำกว่า 7 เล็กน้อย) เช่น น้ำในป่าพรุ เป็นต้น จัดเป็นปลาที่พบได้น้อยในแหล่งที่อยู่ในธรรมชาติ โดยพบกระจายทั่วไปในภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทยพบเพียงไม่กี่แห่ง อาทิ พื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเลใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ในที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศ เป็นต้น นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ซึ่งสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวหนู

ปลาซิวอ้าว

ำหรับปลานางอ้าวชนิดอื่น ดูได้ที่ ปลาน้ำหมึก และปลาสะนาก ปลาซิวอ้าว (Apollo shark) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luciosoma bleekeri อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Danioninae มีรูปร่างค่อนข้างเพรียว ลำตัวค่อนข้างกลม ส่วนหัวและจะงอยปากยื่นยาว ปากกว้าง ไม่มีหนวด ตาโต เกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ด้านหลังสีคล้ำ มีแถบสีดำพาดตามแนวยาวของลำตัวตั้งแต่ตาไปจนถึงโคนหาง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร มักอาศัยเป็นฝูงเล็ก ๆ หากินใกล้ผิวน้ำ กินปลาเล็กและแมลงเป็นอาหาร ส่วนมากพบในแม่น้ำ ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองจนถึงแม่น้ำโขง มักบริโภคโดยการปรุงสด และทำปลาร้า และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ปลาซิวอ้าว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลานางอ้าว" หรือ "ปลาอ้ายอ้าว" หรือ "ปลาซิวควาย" เป็นต้น.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวอ้าว

ปลาซิวทอง

ปลาซิวทอง (Brilliant rasbora, Long-band rasbora, Einthoven's rasbora) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rasbora einthovenii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาซิวชนิดหนึ่ง ซึ่งมีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาซิวพม่า (R.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวทอง

ปลาซิวข้างขวาน

ปลาซิวข้างขวาน หรือ ปลาซิวขวาน เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่งจำพวกปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Trigonostigma เดิมปลาในสกุลนี้เคยถูกจัดให้อยู่ในสกุล Rasbora แต่ปัจจุบันนี้ได้ถูกแยกออกมาต่างหาก ตั้งแต่ปี ค.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวข้างขวาน

ปลาซิวข้างขวานใหญ่

ปลาซิวข้างขวานใหญ่ (harlequin rasbora) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่งจำพวกปลาซิว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trigonostigma heteromorpha ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะลำตัวแบนข้างกว่าปลาซิวทั่วไป หัวและตาโต ปากเล็กและไม่มีหนวด ลำตัวสีส้มแดงเหลือบชมพูหรือม่วง ลำตัวช่วงกลางจนถึงโคนหางมีแต้มสีดำรูปสามเหลี่ยม ครีบใสมีแถบสีชมพูเรื่อหรือแต้มสีส้ม ครีบหลังอยู่กึ่งกลางลำตัว ครีบหางเว้าลึก มีขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ไม่ต่ำกว่า 100 ตัว ในประเทศไทยพบเฉพาะแหล่งน้ำไหลเชี่ยวบริเวณภาคใต้แถบจังหวัดตรัง และที่ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส เท่านั้น มีพฤติกรรมผสมพันธุ์เป็นฝูง โดยวางไข่ติดอยู่กับใต้ใบไม้ของพืชน้ำ ครั้งละ 90-100 ฟอง นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปัจจุบันมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์แล้ว นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "มะลิเลื้อย" เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาซิวอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกันคือ ปลาซิวข้างขวานเล็ก (T.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวข้างขวานใหญ่

ปลาซิวข้างขวานโกลว์ไลต์

ปลาซิวข้างขวานโกลว์ไลต์ (glowlight rasbora, porkchop rasbora) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาซิวจำพวกปลาซิวข้างขวานชนิดหนึ่ง แตกต่างจากปลาซิวข้างขวานชนิดอื่นตรงที่มีสีบริเวณลำตัวใสสามารถมองทะลุได้ แต่ยังมีลักษณะเด่นตรงรูปขวานสีดำกลางลำตัว ขนาบไปด้วยสีน้ำตาลแดงไปจนถึงหาง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 3 เซนติเมตร เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงในเกาะสุมาตราและบอร์เนียว นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ แต่ในประเทศไทย เป็นปลาที่ค่อนข้างหายาก.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวข้างขวานโกลว์ไลต์

ปลาซิวข้างขวานเล็ก

ปลาซิวข้างขวานเล็ก (Espe's rasbora, false harlequin rasbora, lambchop rasbora) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่งจำพวกปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างและพฤติกรรมเหมือนปลาซิวข้างขวานใหญ่ (T.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวข้างขวานเล็ก

ปลาซิวข้างเหลือง

ปลาซิวข้างเหลือง (Red-striped rasbora, Big scale rasbora, Glowlight rasbora) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาที่มีรูปร่างเรียวยาว แบนข้าง ท่อนหางยาวเรียว ท้องโต หัวเล็ก นัยน์ตาโต เกล็ดใหญ่ ครีบหลังใหญ่ ตำแหน่งของครีบหลังอยู่ระหว่างครีบื้องกับครีบก้น ครีบหางเว้าเป็นแฉก ลำตัวมีสีเขียวอ่อน มีแถบสีเหลืองทองและแถบสีดำตามยาวลำตัวตั้งแต่หัวจรดฐานครีบหาง ขอบของครีบหางมีสีดำจาง ๆ เป็นปลาที่อยู่รวมกันเป็นฝูง มีขนาดความยาวประมาณ 7.5 เซนติเมตร กินตัวอ่อนของแมลงและแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในประเทศไทยตอนล่าง แถบแม่น้ำสายบุรีและแม่น้ำปัตตานี ไปจนถึงแหลมมลายูจนถึงอินโดนีเซีย นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวข้างเหลือง

ปลาซิวควาย

ปลาซิวควาย (Silver rasbora, Yellowtail rasbora) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกปลาซิวชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rasbora tornieri อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างยาวทรงกระบอก แบนข้างเล็กน้อย ปากเล็กไม่มีหนวด ตาโต ครีบเล็ก ครีบหางเว้าลึก มีเกล็ดใหญ่ ตัวมีสีเหลืองอ่อนอมทอง มีแถบสีเงินพาดตามความยาวกลางลำตัวจนถึงโคนหาง ครีบสีเหลืองอ่อนมีขอบสีคล้ำ มีขนาดประมาณ 6 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่ง รวมถึงลำธารในที่สูงบางแห่ง พบในภาคใต้ ภาคกลาง ถึงแม่น้ำโขง มีพฤติกรรมชอบตอมตะไคร่หรือสาหร่ายบริเวณใต้แพหรือท่าน้ำ อาหารได้แก่ พืชน้ำ และแมลงน้ำขนาดเล็ก เป็นปลาเศรษฐกิจ นิยมบริโภคโดยปรุงสด ทำปลาร้าหรือปลาแห้ง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยที่ ดร.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวควาย

ปลาซิวควายข้างเงิน

ปลาซิวควายข้างเงิน (Silver rasbora) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rasbora argyrotaenia อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาซิวควาย (R.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวควายข้างเงิน

ปลาซิวคาโลโครม่า

ปลาซิวคาโลโครม่า (Clown rasbora, Big-spot rasbora) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ลำตัวเรียวยาวมีสีน้ำตาลแดง มีจุดเด่น คือ จุดวงกลมสีดำ 2 จุด โดยเฉพาะจุดหลังที่เป็นจุดขนาดใหญ่ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร จัดเป็นปลาซิวที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์บนแผ่นดินใหญ่ของคาบสมุทรมลายู เช่น รัฐเซอลาโงร์, ตรังกานู, ปะหัง, ซาราวะก์ และยะโฮร์ในมาเลเซีย และหมู่เกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย เช่น เกาะบอร์เนียว, สุมาตรา, จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก และกาลีมันตันใต้ เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมเป็นฝูงในน้ำที่มีสภาพเป็นพรุ ที่มีเศษใบไม้และกิ่งไม้ร่วงอยู่ก้นพื้นน้ำ และปล่อยสารแทนนินออกมาทำให้สีของน้ำดูคล้ำ สภาพน้ำมีความเป็นกรดซึ่งอาจจะต่ำไปถึงขั้น 4 pH ได้ ซึ่งพื้นที่อาศัยในธรรมชาติในปัจจุบันกำลังถูกคุกคามจากการทำปาล์มน้ำมัน และสวนยางพารา นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวคาโลโครม่า

ปลาซิวตาเขียว

ปลาซิวตาเขียว หรือ ปลาซิวเขียว (Yellow neon rasbora, Green neon rasboara) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวสั้นและแบนข้างมากกว่าปลาซิวทั่ว ๆ ไป ตามีขนาดกลมโต ไม่มีหนวด เกล็ดมีขนาดเล็กสีเงินแววาวอมเหลืองอ่อน ตามีสีเหลือบเขียวอ่อน ลำตัวค่อนข้างใส ครีบใส ครีบหางมีขอบสีคล้ำ มีขนาดโดยทั่วไป 2-3 เซนติเมตร มีพฤติกรรมรวมตัวกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ใกล้กับบริเวณผิวน้ำ โดยพบได้เฉพาะในลำธารในป่าดิบ ในบริเวณที่เป็นคุ้งน้ำใส เดิมทีเคยพบได้เฉพาะในพื้นที่จังหวัดระนองและตลอดจนภาคใต้ฝั่งอันดามันของไทย แต่ปัจจุบันได้มีการนำไปปล่อยในแม่น้ำแควน้อย, แม่น้ำซองกาเลีย และแม่น้ำกษัตริย์ อันเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างไทยกับพม่า ในแถบจังหวัดตากและกาญจนบุรี ซึ่งปลาสามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ได้และขยายเผ่าพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวตาเขียว

ปลาซิวซอ-บวา

ปลาซิวซอ-บวา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sawbwa resplendens; ซอ-บวา เป็นคำภาษาพม่า แปลว่า "เจ้าฟ้า") เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และเป็นปลาชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Sawbwa ปลาซิวซอ-บวาเป็นปลาถิ่นเดียวในทะเลสาบอินเล รัฐฉาน ในประเทศพม่า ในอุณหภูมิน้ำค่อนข้างเย็น คือ ประมาณ 26-28 องศาเซลเซียส มีรูปร่างเรียวยาว แบนข้าง ส่วนหัวเล็ก ปากเล็กเป็นมุมแหลม หางคอดเรียว ใบหางรูปแฉกตัววี ครีบบางใส เมื่อโตเต็มที่ปลาซิวซอ-บวามีความยาวประมาณ 35 มิลลิเมตร เพศผู้มีสีเงินเหลือบฟ้า ส่วนหัวและปลายหางมีสีแดง เพศเมียและปลาที่ยังไม่โตเต็มวัยมีสีเทา มีจุดสีดำตรงช่องทวาร ไม่มีเกล็ด กินแพลงก์ตอน, ตัวอ่อนของแมลงน้ำและตะไคร่น้ำ เป็นอาหาร มีนิสัยรักสงบ ตื่นตกใจ ชอบอยู่รวมเป็นฝูง ในแวดวงปลาสวยงามในประเทศไทยมีผู้เพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว โดยเรียกกันว่า "ปลาซิวซับวา".

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวซอ-บวา

ปลาซิวแคระ

ปลาซิวแคระ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Boraras (/บอรารัส/) อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) สกุลปลาซิวแคระนั้นถูกแยกออกมาจากสกุล Rasbora ในปี ค.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวแคระ

ปลาซิวใบไผ่

ปลาซิวใบไผ่ หรือ ปลาจุกกี (ภาษาใต้) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Danio (/แดน-อิ-โอ/) จัดเป็นปลาซิวสกุลหนึ่ง ปลาในสกุลนี้ มีลักษณะสำคัญ คือ เป็นปลาขนาดเล็กที่มักอาศัยอยู่ตามน้ำตกและลำธารที่มีกระแสน้ำไหลแรง มีลำตัวที่สั้นและแบนข้าง เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ ช่วงท้องกลม บริเวณหน้านัยน์ตามีกระดูกที่เป็นเงี่ยงแหลม 1 ชิ้น ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 11-15 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 11-18 ก้าน มีหนวดสั้นหรือบางชนิดไม่มี มีด้วยกันหลายชนิด พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, ภูมิภาคอินโดจีน, แหลมมลายู จนถึงเกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซี.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวใบไผ่

ปลาซิวใบไผ่มุก

ปลาซิวใบไผ่มุก หรือ ปลาซิวใบไผ่เล็ก หรือ ปลาซิวเจ็ดสี (Pearl danio, White-lined danio, Rearing danio) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิว อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเรียวยาวแบนข้าง หัวและจะงอยปากมน ปากกว้าง มีหนวดยาวที่ริมฝีปากบน 1 คู่ และที่มุมปาก 1 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่มีลักษณะบางและหลุดง่าย ครีบหลังค่อนไปทางทางด้านหาง ครีบก้นสั้น ครีบหางเว้าตื้น เส้นข้างลำตัวไม่สมบูรณ์ ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 2 ก้าน และก้านครีบแขนง 7 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และก้านครีบแขนง 13 ก้าน มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 3.5 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางทั้งในแม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง และแม่น้ำต่าง ๆ ในภาคใต้ รวมถึงแหล่งน้ำในป่าพรุด้วย โดยมักซ่อนอยู่ใต้ซากใบไม้ และพบเรื่อยไปจนถึงเกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซีย เป็นปลาที่กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เป็นปลาที่มีความสวยงามมากชนิดหนึ่ง จึงนิยมเก็บรวบรวมจากธรรมชาติเพื่อส่งขายเป็นปลาสวยงาม ซึ่งปัจจุบันสามารถที่จะเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวใบไผ่มุก

ปลาซิวใบไผ่ยักษ์

ปลาซิวใบไผ่ยักษ์ (Giant danio) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง จำพวกปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Devario (/เด-วา-ริ-โอ/) ปลาซิวในสกุลนี้ เคยถูกรวมเป็นสกุลเดียวกันกับปลาซิวสกุล Danio หรือ ปลาซิวใบไผ่ หรือ ปลาจุกกี มาก่อน แต่ปลาซิวที่อยู่ในสกุลปลาซิวใบไผ่ใหญ่นี้ จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า โดยจะมีความยาวลำตัวเฉลี่ย 5-15 เซนติเมตร และมีลวดลายสีสันต่าง ๆ ในบริเวณข้างลำตัว โดยก็ถูกเรียกชื่อสามัญว่า "ปลาซิวใบไผ่" หรือ "ปลาซิวใบไผ่ใหญ่" พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำโดยเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นลำธารหรือน้ำตกในป่าดิบ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาจจะมีบางชนิดที่เป็นชื่อพ้องกันหน้า 28-29, Genus Devario - ปลาซิวใบไผ่ใหญ่ (Giant danio), "Mini Attlas" โดย สุริศา ซอมาดี.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวใบไผ่ยักษ์

ปลาซิวใบไผ่แม่แตง

ปลาซิวใบไผ่แม่แตง (Fire bar danio) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิว อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะลำตัวแบนข้าง ส่วนหางเรียวยาว มีหนวดสั้น ๆ ที่มุมปาก ตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์มีสีสันสดใส โดยท้องและครีบก้นมีสีแดงอมส้ม แต้มบนลำตัวจะเห็นเด่นชัดขึ้น มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 4-5 เซนติเมตร โดยเป็นปลาที่ถูกค้นพบและอนุกรมวิธานไปเมื่อปี พ.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวใบไผ่แม่แตง

ปลาซิวใบไผ่ใหญ่

ปลาซิวใบไผ่ใหญ่ (Giant danio) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวแบนข้าง นัยน์ตากลมโต ปากเฉียงขึ้น ครีบหลังมีฐานยาวอยู่หน้าครีบก้น มีก้านครีบแขนง 14-15 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 15-17 ก้าน ครีบหางเว้าไม่ลึกมากนัก มีเส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ มีสีพื้นลำตัวสีเหลืองจาง ๆ มีแถบสีฟ้าพาดยาวตามลำตัวและลายสีเหลือง 2-3 ลายทับอยู่บนแถบสีฟ้า ก้านครีบหางบางส่วนมีแถบสีดำ มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 12.5 เซนติเมตร จัดเป็นปลาซิวขนาดใหญ่ พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่อินเดีย, เนปาล จนถึงอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบได้ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำตกหรือลำธารที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน, นครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวใบไผ่ใหญ่

ปลาซิวใบไผ่เขียว

ปลาซิวใบไผ่เขียว หรือ ปลาไส้ขม (Blue danio, Kerr's danio, Long-barbel danio) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิว อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะรูปร่างเรียวยาว ส่วนหัวเล็ก ปากกว้าง มีหนวดยาว 2 คู่ที่ขากรรไกรบน สีลำตัวสีเขียวเข้มถึงสีน้ำเงิน ด้านข้างลำตัวมีแถบสีเหลืองสดหรือสีส้มสลับดำ มีขนาดความยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร กระจายพันธุ์ตั้งแต่พื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย พบได้ที่อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา จนถึงแหลมมลายู และเกาะลังกาวี ในประเทศมาเลเซีย มีพฤติกรรมอยู่รวมตัวกันเป็นฝูง ในระดับใกล้พื้นท้องน้ำ มักซ่อนตัวอยู่ใต้เศษใบไม้ โดยพบในแหล่งน้ำประเภทน้ำตกหรือลำธารบนที่สูงหรือเป็นเนินเขา เป็นปลาประเภทที่พบไม่ชุกชุม นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ มีการเพาะขยายพันธุ์และรวบรวมจากแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อส่งออกไปขายยังต่างประเท.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวใบไผ่เขียว

ปลาซิวเจ้าฟ้า

ปลาซิวเจ้าฟ้า หรือ ปลาซิวเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amblypharyngodon chulabhornae อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีสีโปร่งใส เห็นแกนดำของกระดูกสันหลังชัดเจน ตาโต หลังค่อม ท้องเป็นสีเงินแวววาว บริเวณส่วนหัวด้านบนมีสีเขียวเหลือบทอง มีความยาวเต็มที่ 4 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ของภาคเหนือ ภาคกลาง และพบโดยมากในภาคอีสานของประเทศไทย กินตัวอ่อนของแมลงน้ำ และพืชหรือตะไคร่น้ำ เป็นอาหาร เป็นปลาที่ใช้บริโภคในท้องถิ่น มีรสชาติไม่ขม จึงนิยมทำเป็นปลาจ่อม มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า "ปลาแตบแก้ว" เป็นปลาที่เพิ่งค้นพบใหม่ในปี พ.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซิวเจ้าฟ้า

ปลาซ่า

ปลาซ่าชนิด ''Osteochilus vittatus'' หรือปลาสร้อยนกเขา ปลาซ่า เป็นชื่อสามัญของปลานํ้าจืดหลายสกุลในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เช่น สกุลปลาสร้อยนกเขา (Osteochilus),ราชบัณฑิตยสถาน.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซ่า

ปลาซ่ง

ปลาซ่ง หรือ ปลาซ่งฮื้อ หรือ ปลาหัวโต (Bighead carp) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) สกุล Hypophthalmichthys มีลักษณะแบบเดียวกับ ปลาลิ่น (H.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาซ่ง

ปลาปากหนวด

ำหรับปลาปากหนวดชนิดอื่นดูที่: Hypsibarbus pierrei ปลาปากหนวด หรือ ปลาปีกแดง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus vernayi ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงปลาตะพากเหลือง (H.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาปากหนวด

ปลาปากเปี่ยนบ้านด่าน

ปลาปากเปี่ยนบ้านด่าน (Bandan sharp-mouth barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปลาตะเพียนทั่วไป แต่ลําตัวกว้างและแบนข้างมากกว่า ส่วนหัวเล็กมีขนาดเล็ก ปากจะอยู่ตําแหน่งลงมาด้านล่าง จะงอยปากแหลมริมฝีปากล่างมนกลมมีขอบแข็ง บริเวณขากรรไกรล่างมีลักษณะคล้ายปลอกเขาสัตว์ ไม่มีหนวด ครีบหลังสีคล้ำ ปลายขอบของก้านครีบอันแรกเป็นหยักแข็ง ถัดจากส่วนนี้ไปจะมีลักษณะเรียวแหลม ครีบหางเว้าลึก ครีบอกและครีบท้องเล็ก ครีบหางสีเหลืองจาง ๆ เกล็ดลำตัวสีเงินอมเทามีแต้มประสีคล้ำ มีขนาดใหญ่เต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตร เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มีอุปนิสัยชอบกัดกินเกล็ดปลาชนิดอื่น พบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาเท่านั้น โดยพบตั้งแต่จังหวัดหนองคายลงมา เป็นปลาที่มีฤดูกาลอพยพ โดยจะอพยพย้ายขึ้นมาจากประเทศลาวโดยเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม พร้อม ๆ กับปลาในกลุ่มปลาหมูและปลาสร้อย เป็นปลาที่พื้นถิ่นนิยมบริโภคกันเป็นปลาเศรษฐกิจ โดยบริโภคกันทั้งสด และรมควันหรือทำเป็นปลาร้า รวมถึงมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้ว.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาปากเปี่ยนบ้านด่าน

ปลานวลจันทร์น้ำจืด

ปลานวลจันทร์น้ำจืด หรือ ปลานวลจันทร์ เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Labeoninae มีรูปร่างลำตัวเรียวยาวทรงกระบอก หัวโต ปากและตาเล็ก เกล็ดเล็ก ปลาในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะมีหัวและลำตัวสีเงินอมเหลืองทอง ส่วนปลาในลุ่มน้ำโขงจะเป็นสีชมพู ครีบหลังยกสูง ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นเล็ก อาหารได้แก่ อินทรียสาร สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก แพลงก์ตอน และแมลงต่าง ๆ มีขนาดประมาณ 46 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 69 เซนติเมตร น้ำหนัก 5 กิโลกรัม ปลานวลจันทร์น้ำจืดมีพฤติกรรมวางไข่ในแหล่งน้ำหลากและเลี้ยงตัวอ่อนจนน้ำลดลงจึงอพยพลงสู่แม่น้ำ ปัจจุบันเป็นปลาที่หายาก เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจากแม่น้ำเจ้าพระยา และยังพบได้บ้างที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำแม่กลอง ปลานวลจันทร์น้ำจืดมีชื่อเป็นภาษาอีสานว่า "ปลาพอน" และ "ปลาพรวน" ในภาษาเขมร และจัดเป็นสัตว์น้ำประจำจังหวัดสุรินทร.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลานวลจันทร์น้ำจืด

ปลานวลจันทร์น้ำจืด (สกุล)

ปลานวลจันทร์น้ำจืด เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Cirrhinus ทั้งหมด 11 ชนิด มีลักษณะสำคัญคือ มีปากเล็ก บางชนิดไม่มีริมฝีปากล่าง บางชนิดทีริมฝีปากบางมาก มีฟันที่ลำคอ 3 แถว มีหนวด 2 คู่ หนวดที่ริมฝีปากบนยาวกว่าหนวดที่มุมปากบน ความยาวของหนวดแตกต่างกันแต่ละชนิด จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่หน้าจุดเริ่มต้นของครีบท้อง มีก้านครีบแขนง 10–13 ก้าน ก้านครีบเดี่ยวมีขอบเรียบ และไม่เป็นหนามแข็ง ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน ปลาในสกุลนี้เป็นปลาที่นิยมบริโภคกันเป็นปลาเศรษฐกิจ พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่ตอนใต้ของจีน, เกาะไต้หวัน, อนุทวีปอินเดีย และภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทยมักเรียกปลาในสกุลนี้รวม ๆ กันว่า "ปลานวลจันทร์", "ปลาพอน" หรือ "ปลาพรวน" ในภาษาเขมร หรือ "ปลาสร้อย" เป็นต้น.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลานวลจันทร์น้ำจืด (สกุล)

ปลานวลจันทร์เทศ

ปลานวลจันทร์เทศ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cirrhinus cirrhosus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวกลม หัวสั้น ปากเล็ก ริมฝีปากบางมีชายครุยเล็กน้อย ครีบหลังและครีบก้นสั้น ครีบหางเว้าลึก เกล็ดมีขนาดใหญ่ หัวและลำตัวด้านบนมีสีเงินหรือสีเงิมอมน้ำตาลอ่อน ด้านท้องสีจาง ครีบมีสีส้มหรือชมพู ขอบครีบมีสีคล้ำเล็กน้อย ตามีสีทอง มีขนาดเต็มที่โดยเฉลี่ย 50-60 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดที่พบ คือ 1 เมตร มีพฤติกรรมชอบหากินในระดับพื้นท้องน้ำ โดยสามารถปรับตัวได้ดีในแหล่งน้ำนิ่ง และกินอาหารด้วยวิธีการแทะเล็มพืชน้ำขนาดเล็กและอินทรีย์สาร รูปร่างโดยทั่วไปคล้ายปลานวลจันทร์ (C.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลานวลจันทร์เทศ

ปลานางอ้าว

ปลานางอ้าว หรือ ปลาน้ำหมึก เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Opsarius (/ออพ-ซา-เรียส/) จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เดิมทีปลาในสกุลนี้ ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ ได้รวมให้อยู่ในสกุล Barilius และได้ทำการอนุกรมวิธานไว้ด้วยกัน 2 ชนิด แต่ต่อมา ไทสัน อาร์.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลานางอ้าว

ปลานีออน (สกุล)

ปลานีออน หรือ ปลาคาร์ดินัล (Neon tetras, Cardinal tetras) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Paracheirodon (/พา-รา-คี-อาย-โร-ดอน/) ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) มีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับปลาซิว ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และพบเฉพาะทวีปเอเชีย, ยุโรป และแอฟริกา คือ มีรูปทรงยาวรี คล้ายเมล็ดข้าวสาร ตากลมโต มีครีบบางใสยาวพอประมาณทั้งหมด 7 ครีบ (ครีบว่าย 2, ครีบท้อง 2, ครีบกระโดง 1, ครีบทวาร 1, ครีบหาง 1) ต่างกันตรงที่มีครีบไขมันขนาดเล็ก ที่ก่อนถึงโคนหาง อันเป็นลักษณะประจำของปลาในวงศ์นี้ ลำตัวมีเกล็ดขนาดเล็กมันวาวปกคลุมทั้งตัว และมีฟันขนาดเล็กในปาก จุดเด่น คือ มีเส้นยาวเรืองแสงสีเขียวอมฟ้าพาดตั้งแต่จมูกผ่านลูกตายาวไปสุดที่ครีบไขมัน อันเป็นเอกลักษณ์ประจำสกุล ซึ่งเกิดจจากการสะท้อนแสงภายในผลึกกัวไนน์ ซึ่งพัฒนามาจากเซลล์พิเศษที่เรียกว่า อิริโดไซเตส ในชั้นใต้ผิวหนัง อันเป็นที่มาของชื่อสามัญของปลาในสกุลนี้ มีขนาดความยาวเต็มที่ 3 เซนติเมตร เป็นปลาที่หากินบริเวณกลางน้ำและผิวน้ำ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงกินแมลงน้ำ, แพลงก์ตอนสัตว์ และครัสเตเชียนขนาดเล็กเป็นอาหาร มีความปราดเปรียวว่องไว กระจายพันธุ์ทั่วไปในแม่น้ำและลำคลองหลายสายของทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะแหล่งน้ำที่มีเงาไม้ริมน้ำหรือไม้น้ำขึ้นหนาแน่น และสภาพความเป็นกรดด่าง (pH) ของน้ำค่อนข้างเป็นกรด (ต่ำกว่า 7-6.5 ลงไป) สภาพน้ำเป็นสีชาหรือสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยการที่ตัวผู้ไล่ตัวเมียเข้าไปผสมพันธุ์และวางไข่ไว้กับไม้น้ำ แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในตู้เลี้ยง.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลานีออน (สกุล)

ปลาน้ำฝาย

ปลาน้ำฝาย เป็นปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Sikukia (/สี-กุก-เอีย/).

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาน้ำฝาย

ปลาน้ำฝายหลังดำ

ปลาน้ำฝายหลังดำ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sikukia stejnegeri อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก พบได้ไม่บ่อยนัก มีลำตัวแบนข้าง ท่อนหางยาว นัยน์ตาโตมีเยื่อไขมันบาง ๆ เหมือนวุ้นหุ้มอยู่รอบตา ไม่มีหนวด ครีบมีก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายเป็นหนามแข็งขอบจักเป็นฟันเลื่อย ลำตัวมีสีขาวเงิน ครีบหลังมีแถบสีดำที่โคนและปลายครีบ ขอบบนและล่างครีบหางมีลายสีดำ และที่ฐานครีบมีลายสีดำจาง ๆ ครีบอื่นสีจางใส มีขนาดโตเต็มที่ยาวได้ประมาณ 12 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำใหญ่ ๆ ทั่วประเทศไทย ทั้ง แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำโขง ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน เป็นปลาที่ถูกค้นพบและอนุกรมวิธานเป็นครั้งแรก โดย ดร.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาน้ำฝายหลังดำ

ปลาน้ำหมึก

ปลาน้ำหมึก (Stream barilius) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Opsarius pulchellus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) รูปร่างคล้ายปลาน้ำหมึกโคราช (O.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาน้ำหมึก

ปลาน้ำหมึกยักษ์

ปลาน้ำหมึกยักษ์ หรือ ปลาชะนาก หรือ ปลาสะนาก (Trout carps) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีชื่อสกุลว่า Raiamas (/ไร-อา-มาส/) เดิมเคยจัดให้อยู่ในสกุล Barilius มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวยาวทรงกระบอก หัวและปากแหลม ปากกว้างมาก มีปุ่มในปากล่าง มุมปากยาวเลยนัยน์ตา จะงอยปากล่างงุ้มคล้ายตะขอ ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินวาว ข้างลำตัวมีจุดสีน้ำเงินเข้มที่ใหญ่กว่าเกล็ด หางเว้าเป็นแฉกลึก ในตัวผู้มีตุ่มข้างแก้มคล้ายสิวแตกต่างจากตัวเมียโดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ และสีลำตัวก็จะเปลี่ยนไปเห็นได้ชัดเจน เป็นปลาที่มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มีความปราดเปรียวว่องไวมาก อาศัยหากินอยู่ในระดับผิวน้ำและกลางน้ำ โดยล่าปลาขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร ขนาดความยาวลำตัวสูงสุดราว 1 ฟุต จำแนกได้ทั้งหมด 17 ชน.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาน้ำหมึกยักษ์

ปลาน้ำหมึกจีน

ปลาน้ำหมึกจีน (Freshwater minnow, Pale chub, Zacco; 平頜鱲; พินอิน: píng hé liè) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเพรียวยาว มีลำตัวสีเงินอมฟ้า มีเหลือบสีเขียว และมีลายแถบข้างลำตัว 7-8 แถบ หรือมากกว่านั้น ลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาในสกุลปลาน้ำหมึก แต่ทว่ามีขนาดใหญ่กว่ามาก ครีบต่าง ๆ ยาว โดยเฉพาะครีบก้นยาวเกือบถึงครีบหาง สีน้ำตาล มีก้านครีบ 10-13 ก้าน ม่านตาสีแดง เป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม โดยเฉพาะตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์ สีจะสดเข้มกว่าปกติ และมีเม็ดคล้ายกับสิวขึ้นที่บริเวณใบหน้าและแผ่นปิดเหงือก มีความยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 17 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีความคล่องแคล่วว่องไวมาก พบกระจายพันธุ์อยู่ในลำธารที่น้ำมีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ ในจีนตอนใต้ต่อกับตอนเหนือของเวียดนาม และยังพบได้จนถึงเกาหลีและญี่ปุ่น อยู่รวมกันเป็นฝูง กินแมลงและตัวอ่อนของแมลง รวมถึงสัตว์น้ำขนาดเล็กและพืชน้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร มีการจับเพื่อการบริโภค พบชุกชุมตลอดทั้งปี และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งสามารถเลี้ยงให้กินได้ทั้งอาหารสดและอาหารสำเร็จรูป.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาน้ำหมึกจีน

ปลาน้ำหมึกโคราช

ปลาน้ำหมึกโคราช หรือ ปลานางอ้าวโคราช เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Opsarius koratensis อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเพรียวยาว ปากกว้างปลายแหลม เกล็ดใหญ่ค่อนข้างบาง มีลายขีดข้างลำตัวเล็กสีน้ำเงินตามแนวตั้ง ครีบสีเหลือง มีแต้มสีน้ำเงินหรือสีคล้ำอยู่ตรงกลางระหว่างขากรรไกรล่าง ในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้จะมีสีสันสดใส มีขนาดประมาณ 10 เซนติเมตร เป็นปลากินเนื้อ อาหารได้แก่ แมลง แมลงน้ำ แพลงก์ตอน ลูกปลา ลูกกุ้งขนาดเล็ก มีพฤติกรรมอาศัยอยู่เป็นฝูงในฤดูผสมพันธุ์ ปลาตัวอ่อนเลี้ยงตัวชายฝั่งของแม่น้ำและลำธารที่อยู่ พบในลำธารในป่าและบริเวณเชิงเขาในภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทย รวมทั้งพบในแม่น้ำโขงด้วย เป็นปลาที่พบชุกชุม และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกอื่นอีกว่า "ปลาน้ำหมึก" หรือ "ปลาแปบ" เป็นต้นสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์, หน้า 118 สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑ (พ.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาน้ำหมึกโคราช

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาน้ำจืด

ปลาแบมบูซ่า

ปลาแบมบูซ่า (Yellowcheek; 鳡; ชื่อวิทยาศาสตร์: Elopichthys bambusa) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Elopichthys โดยชื่อสกุล Elopichthys มาจากคำว่า Elops ซึ่งหมายถึงปลาในกลุ่มปลาตาเหลือกหรือปลาตาเหลือกยาวในภาษาอังกฤษ และภาษากรีกโบราณ ἰχθύς (ikhthús) หมายถึง "ปลา" โดยรวมหมายถึง ปลาในสกุลนี้มีรูปร่างคล้ายกับปลาตาเหลือก และชื่อชนิด bambusa หมายถึง "ไม้ไผ่" ซึ่งอ้างอิงมาจากภาษาถิ่นของจีนที่เรียกปลาชนิดนี้ว่า "ชู่ ไหน่ หยู" (พินอิน: Chǔh nuy yu) หมายถึง "ปลาไม้ไผ่นิสัยเสีย" โดย จอห์น รีฟส์ ผู้วาดภาพปลานี้ระหว่างทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบชาในจีนระหว่างปี..

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาแบมบูซ่า

ปลาแฟนซีคาร์ป

ปลาแฟนซีคาร์ป (Fancy carp, Mirror carp; 鯉, 錦鯉; โรมะจิ: Koi, Nishikigoi-ปลาไน, ปลาไนหลากสี) เป็นปลาคาร์ปหรือปลาไน ชนิดย่อย Cyprinus carpio haematopterus.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาแฟนซีคาร์ป

ปลาแกง

ปลาแกง (Chinese mud carp fish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลานวลจันทร์น้ำจืด (C. microlepis) และปลานวลจันทร์เทศ (C.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาแกง

ปลาแก้มช้ำ

ปลาแก้มช้ำ (Red cheek barb, Javaen barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายปลาชนิดอื่นในวงศ์นี้ แต่มีรูปร่างป้อมกลมกว่า ด้านข้างแบน หัวเล็ก ปากค่อนข้างเล็กและอยู่ปลายสุด มีหนวดสั้น ๆ และเล็กจำนวน 4 เส้น มีเกล็ดค่อนข้างใหญ่ สีตามบริเวณลำตัวและหัวจะเป็นสีขาวเงิน หลังสีน้ำตาลอ่อน ฝาปิดเหงือกมีสีแดงหรือสีส้มเหมือนรอยช้ำ อันเป็นที่มาของชื่อ บริเวณหลังช่องเปิดเหงือกมีสีแถบดำ ครีบทั้งหมดมีสีแดง ครีบหางจะมีสีแถบดำ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปทุกภูมิภาคของไทย โดยอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ และบางครั้งอาจปะปนกับปลาตะเพียนชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาตะเพียนเงิน (Barbonymus gonionotus), ปลาตะเพียนทอง (B.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาแก้มช้ำ

ปลาแองหวู (สกุล)

ปลาแองหวู (เวียดนาม: Anh Vũ cá) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Semilabeo.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาแองหวู (สกุล)

ปลาแดงน้อย

ปลาแดงน้อย ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Discherodontus ashmeadi อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาแดงน้อย

ปลาแปบ

ปลาแปบขาวหางดำ (''Oxygaster anomalura'') เป็นปลาแปบชนิดหนึ่งในสกุล ''Oxygaster'' ปลาแปบ หรือ ปลาท้องพลุ (Abramine, Sword minnow) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในวงศ์ย่อย CultrinaeBànàrescu, P.M.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาแปบ

ปลาแปบยาว

ปลาแปบยาว (Razorbelly minnow) เป็นปลาน้ำจืดในสกุล Salmophasia (/ซัล-โม-ฟา-เซีย-อา/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาแปบที่มีรูปร่างเรียวยาวกว่าปลาแปบสกุลอื่น ๆ พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียใต้รวมถึงประเทศพม่า พบในประเทศไทยเพียงชนิดเดียว ในลุ่มแม่น้ำสาละวินและลุ่มแม่น้ำตะนาวศรีในแถบจังหวัดระนอง.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาแปบยาว

ปลาแปบยาวสาละวิน

ปลาแปบยาวสาละวิน (Sardinella razorbelly minnow) ปลาน้ำจืืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวเรียวยาวและแบนข้างมาก ปากกว้าง ลำตัวสีเงินวาว ด้านหลังและครีบสีเหลืองอ่อน ครีบหลังอันเล็กตั้งค่อนไปทางหาง ครีบก้นยาว ครีบหางเว้าลึก แฉกล่างยาวกว่าแฉกบนเล็กน้อย และมีขอบสีคล้ำ มีความยาวเฉลี่ย 8-12 เซนติเมตร จัดเป็นปลาแปบจำพวกปลาแปบยาวเพียงชนิดเดียว ที่พบได้ในประเทศไทย โดยอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ในแม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำตะนาวศรี และแม่น้ำกระบุรีในเขตจังหวัดระนอง จัดเป็นปลาที่พบไม่บ่อยนัก แต่พบได้ทั่วไปในรัฐโอริสสา ประเทศอินเดีย และบังกลาเทศ โดยเฉพาะแถบแม่น้ำคงคาและพรหมบุตร มีการจับขายเป็นปลาสวยงามในบางครั้ง จัดเป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่มีความสวยงาม.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาแปบยาวสาละวิน

ปลาแปบสยาม

ปลาแปบสยาม หรือ ปลาแปบบาง (Siamese glass fish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาแปบชนิดหนึ่ง มีครีบหลังอยู่หลังครีบก้นเล็กน้อย เส้นข้างลำตัวยาวถึงฐานด้านหลังของครีบก้นเท่านั้น ครีบอกยาวแต่เลยครีบท้อง สีลำตัวเป็นสีขาวเงินสะท้อนแสง ด้านหลังสีเหลืองจาง ๆ ครีบหางมีลักษณะเป็นสีเขม่าจาง ๆ ครีบอิ่นใสไม่มีสี มีความยาวเฉลี่ย 8-12 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ มีการอพยพย้ายถิ่นในฤดูน้ำหลากเพิ่อเข้าสู่แหล่งน้ำท่วม กินแมลงและแพลงก์ตอนสัตว์ต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ รวมถึงบึงบอระเพ็ด และป่าพรุโต๊ะแดง ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสด้วย เหตุที่ได้ชื่อว่า siamensis อันหมายถึง "อาศัยอยู่ที่ประเทศสยาม" เนื่องจากพิพิธภัณฑ์สยามได้ส่งตัวอย่างปลาจำนวน 3 ตัวอย่างที่จับได้จากแม่น้ำบางปะกง ไปพิพิธภัณฑ์อังกฤษ เพื่อทำการอนุกรมวิธาน ในภาคอีสานมีชื่อเรียกว่า "ปลาแตบเกล็ดบาง".

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาแปบสยาม

ปลาแปบหางดอก

ปลาแปบหางดอก (Bartailed glass barb) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวแบนข้างมาก หัวเล็กมีสีเงิน ลำตัวใส ตาโต ครีบใสมีสีเหลืองอ่อน ครีบอกยาวเลยครีบท้อง ครีบท้องเล็ก ครีบหางเว้าตื้น มีลายสีดำเป็นแต้มคล้ำโดยมีสีพื้นเป็นสีเหลืองอ่อน นับเป็นปลาจำพวกปลาแปบหรือปลาท้องพลุเพียงชนิดเดียวที่มีสีเหลืองดำที่ครีบหาง ทำให้ดูแลคล้ายกับปลาซิวหางกรรไกร (Rasbora trilineata) เป็นปลาขนาดเล็กมีความยาวไม่เกิน 4-6 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็ก กินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหาร พบในแหล่งน้ำและหนองบึงทั่วประเทศไทย แต่พบได้ไม่บ่อยนัก นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาแปบหางดอก

ปลาแปบขาว

ปลาแปบขาว เป็นปลาน้ำจืดในสกุล Oxygaster (/อ็อก-ซี-แกส-เตอร์/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาจำพวกปลาแปบ เดิมเคยถูกจัดให้อยู่ในสกุล Chela โดยมี โยฮัน คอนราด ฟัน ฮัสเซลต์ นักมีนวิทยาชาวดัตช์ เป็นผู้อนุกรมวิธาน โดยใช้ลักษณะของเกล็ดแถวที่อยู่หน้าครีบหลังเลยเข้ามาถึงระหว่างนัยน์ตาเป็นลักษณะสำคัญ ส่วนที่มีลักษณะรองลงมา คือ ท้องแบนเป็นสันคม ปลายปากล่างมีปุ่มกระดูก ครีบอกอยู่ในแนวระดับเดียวกับท้อง จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ด้านหน้าจุดเริ่มต้นของครีบก้น เกล็ดตามแนวบนเส้นข้างลำตัวมีประมาณ 43-60 แถว จำแนกออกได้เป็น 2 ชนิด พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแม่น้ำลำคลอง รวมถึงป่าพรุในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาแปบขาว

ปลาแปบขาวหางดำ

ปลาแปบขาวหางดำ หรือ ปลาแปบ (publisher) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาแปบ ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเพรียวยาว ลำตัวแบนข้างมากจนริมท้องเป็นสัน หัวมีขนาดเล็ก นัยน์ตาโต ครีบหลังอยู่ค่อนไปทางหางและตรงข้ามกับครีบก้น ครีบอกยาวจรดครีบท้อง ครีบหางเป็นแฉก เกล็ดมีลักษณะบางใสและหลุดง่าย เส้นข้างลำตัวโค้งลงขนานกับริมท้อง ลำตัวมีสีขาวเงิน ด้านหลังขุ่น มีแถบสีเหลืองทองจาง ๆ ยาวตามความยาวลำตัว มีขนาดความยาวเต็มที่ 20 เซนติเมตร เป็นปลาที่อาศัยหากินตามผิวน้ำและกลางน้ำ อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ กินแมลงและแมลงน้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำและลำคลองของแม่น้ำตาปี ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี, ทะเลน้อยในเขตจังหวัดพัทลุง, แม่น้ำจันทบุรีในจังหวัดจันทบุรี และยังพบได้ในแม่น้ำโขง รวมถึงแม่น้ำแม่กลอง และในพื้นที่ป่าพรุ และพบได้ไกลจนถึงอินโดนีเซี.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาแปบขาวหางดำ

ปลาแปบควาย

ปลาแปบควาย เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกปลาแปบ อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cultrinae ใช้ชื่อสกุลว่า Paralaubuca (/พา-รา-ลอ-บู-คา/) มีรูปร่างโดยรวมคือ มีรูปร่างยาว ลำตัวแบนข้างมาก ปากเล็ก ตาโต ท้องเป็นสันคม ด้านท้องค่อนข้างกว้างออก ครีบอกยาว ครีบหางเว้าลึก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงินแวววาว เส้นข้างลำตัวไม่ต่อเนื่องกัน เกล็ดแถวที่อยู่หน้าครีบหลังไม่เลยเข้ามาถึงระหว่างนัยน์ตา เกล็ดตามเส้นข้างลำตัวมีจำนาน 50–85 แถว มีขนาดโตเต็มที่โดยเฉลี่ย 15 เซนติเมตร มักอยู่เป็นฝูงใหญ่ มีการอพยพขึ้นล่องตามแม่น้ำเพื่อวางไข่และหากินเป็นฤดูกาล มักอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลเชี่ยว หากินใกล้ผิวน้ำ พบตั้งแต่แม่น้ำโขงถึงแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนถึงมาเลเซีย กินแมลงหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร มีทั้งหมด 5 ชนิด โดยเป็นชนิดที่พบได้ในประเทศไทย 3 หรือ 4 ชน.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาแปบควาย

ปลาแปบควายอาร์ม็อง

ปลาแปบควายอาร์ม็อง หรือ ปลาท้องพลุ(Greater glass barb, Siamese river abramine) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โดยคำว่า harmandi ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ฌูล อาร์ม็อง (ค.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาแปบควายอาร์ม็อง

ปลาแปบควายไทพัส

ปลาแปบควายไทพัส หรือ ปลาแปบไทพัส ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาแปบควายหรือปลาท้องพลุชนิดอื่นมาก โดยมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ มีจุดสีดำที่โคนครีบอก และมีเส้นข้างลำตัวที่ไม่แน่นอน โดยจะแตกต่างไปในแต่ละตัว คือ มีเส้นข้างลำตัวหนึ่งเส้นทั้งสองข้างลำตัว หรือ มีเส้นข้างลำตัวสองเส้นทั้งสองข้างลำตัว หรือข้างหนึ่งมีเพียงเส้นเดียวแต่อีกข้างมีสองเส้น ก็มี พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศไทย รวมถึงแม่น้ำโขง กินแพลงก์ตอนสัตว์และแมลงเป็นอาหารตามผิวน้ำ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 18 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง มีการอพยพย้ายถิ่นเพื่อวางไข่ตามฤดูกาล เป็นปลาที่ชาวอีสานนิยมนำมาบริโภคกันทั้งปรุงสดหรือแปรรูปเป็นปลาร้าหรือปลาแห้ง ด้วยการจับโดยการใช้อวนหรือยกยอ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาแปบควายไทพัส

ปลาแปบแม่น้ำ

ปลาแปบแม่น้ำ (Siames river abramine) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จำพวกปลาแปบหรือปลาแปบควาย ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวยาว แบนข้าง ท้องเป็นสัน ครีบอกยาวเกือบถึงจุดเริ่มต้นของครีบท้อง เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์อยู่ต่ำกว่ากึ่งกลางลำตัว เกล็ดเล็กบางและหลุดง่าย เกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัวมีประมาณ 56-65 แถว แนวสันกะโหลกที่อยู่ระหว่างนัยน์ตาไม่เว้า ตัวสีขาวเงินอมเหลือง หลังสีเทาหรือเขียวอ่อน ครีบหางสีเหลืองมีขอบสีดำ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะใกล้เคียงคล้ายคลึงกันมาก นอกจากนี้แล้วยังมีความคล้ายคลึงกับปลาแปบควายชนิดอื่น ๆ จนอาจทำให้สับสนได้ เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มีความปราดเปรียวว่องไว กินแมลงและแมลงน้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร มีความยาวโดยเฉลี่ย 18 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามแม่น้ำและแหล่งน้ำสายใหญ่ ๆ ในประเทศไทย รวมถึงแม่น้ำโขง จนถึงคาบสมุทรมลายู.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาแปบแม่น้ำ

ปลาแปบใส

ปลาแปบใส ปลาน้ำจืดขนาดเล็กในสกุล Parachela (/ปาราแคลา/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เดิมปลาแปบในสกุลนี้ รวมอยู่ในสกุลเดียวกันกับสกุล Oxygaster แต่ฟรันซ์ ชไตน์ดัคเนอร์ แยกออกมาตั้งเป็นสกุลใหม่ โดยเห็นว่าปลาในสกุลนี้ไม่มีครีบท้อง แต่มีตัวอย่างปลาเพียงตัวเดียวเท่านั้น แต่ยังมิได้รับการยอมรับเท่าไหร่นัก จนกระทั่งในปี..

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาแปบใส

ปลาโรซี่บาร์บ

ปลาโรซี่บาร์บ (Rosy barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียใต้ มีลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง พื้นลำตัวมีสีแดงอมส้ม แผ่นหลังสีเขียวมะกอก เกล็ดมีขนาดเล็กเป็นมันแวววาวระยิบระยับ ลำตัวบริเวณใกล้โคนหางมีจุดสีดำอยู่ ข้างละ 1 จุด เพศผู้จะมีสีแดงเข้มและหางยื่นยาวกว่าเพศเมีย จัดเป็นปลาขนาดเล็ก ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 14 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 3-4 เซนติเมตร นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูง กระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย บริเวณรัฐอัสสัมและรัฐเบงกอล นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เช่นเดียวกับปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาเสือสุมาตรา (Puntigrus tetrazona), ปลาเสือข้างลาย (P.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาโรซี่บาร์บ

ปลาโรซี่บิทเทอร์ลิ่ง

ปลาโรซี่บิทเทอร์ลิ่ง (Rosy bitterling; バラタナゴ; โรมะจิ: Baratanago; 高体鰟鮍; พินอิน: Gāo tǐ fáng pī) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาขนาดเล็ก โตเต็มที่มีขนาดประมาณ 10–11 เซนติเมตร อายุขัยโดยเฉลี่ย 4–5 ปี อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำประเภทไหลช้า เช่น บึง, ทะเลสาบน้ำจืด และแม่น้ำลำคลอง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ทั้งจีน, ญี่ปุ่น, คาบสมุทรเกาหลี จนถึงเวียดนามตอนเหนือ ปัจจุบันจำแนกออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ R.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาโรซี่บิทเทอร์ลิ่ง

ปลาโจก

ปลาโจก (Soldier river barb) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Cyclocheilichthys (/ไซ-โคล-ไคล-อิค-ธีส/; เฉพาะชนิด C.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาโจก

ปลาโจกไหม

ปลาโจกไหม เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในสกุล Cyclocheilichthys มีรูปร่างคล้ายปลาตะโกก (C. enoplos) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ทว่ามีลำตัวที่ป้อมกว้างกว่า ลำตัวสีเงิน เกล็ดบริเวณเส้นข้างลำตัวมีลายเป็นแฉก ด้านหลังมีสีจางอมชมพู ครีบมีสีเหลืองอ่อน ๆ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 80 เซนติเมตร เป็นปลาที่พบได้เฉพาะลุ่มแม่น้ำโขงเท่านั้น มีพฤติกรรมหากินในระดับพื้นน้ำ และเมื่อลูกปลาตัวอ่อนฟักออกมา จะเลี้ยงตัวกันในแหล่งน้ำหลาก เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่น ถูกค้นพบและอนุกรมวิธาน.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาโจกไหม

ปลาไวท์คลาวด์

ปลาไวท์คลาวด์ (White cloud mountain minnow; 唐魚; พินอิน: táng yu) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาซิวชนิดหนึ่ง มีลักษณะของลำตัวสีขาวออกเงิน ๆ แวววาว เวลามองจากด้านบนจะเป็นสีเงินอมเขียว กลางลำตัวมีแถบสีทองออกเงินพาดขวางลำตัว ครีบหางมีสีแดงสด ขณะที่ครีบอื่น ๆ จะมีสีเหลืองตรงขอบของครีบ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 4 เซนติเมตร ตัวผู้จะมีสีสดกว่าตัวเมียและลำตัวจะเพรียวกว่า เป็นปลาที่อยู่อาศัยเป็นฝูง พบกระจายพันธุ์อยู่ทางแถบเทือกเขาสูงที่มีอุณหภูมิต่ำ ทางตอนใต้ของจีนติดต่อกับเวียดนาม ค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาไวท์คลาวด์

ปลาไส้ตันสนธิรัตน

ปลาไส้ตันสนธิรัตน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในสกุล Cyclocheilichthys มีลักษณะคล้ายกับปลาไส้ตันตาขาว (C. repasson) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่ทว่าปลาไส้ตันสนธิรัตนมีลำตัวที่กว้างกว่า ไม่มีหนวดที่มุมปาก เกล็ดมีขนาดเล็ก ลำตัวสีเงินแวววาวอมสีเหลืองอ่อน ท้องสีจาง ครีบมีสีเหลืองอ่อน มีความยาวเต็มที่ประมาณ 10-15 เซนติเมตร พบเฉพาะลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนเท่านั้น โดยมีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ หากินตามพื้นน้ำ โดยกินพวกอินทรียสารและสัตว์หน้าดินขนาดเล็กเป็นอาหาร จัดเป็นปลาที่พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก เป็นปลาที่ถูกค้นพบและอนุกรมวิธาน โดย ศ.สืบสิน สนธิรัตน นักวิชาการด้านมีนวิทยาชาวไท.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาไส้ตันสนธิรัตน

ปลาไส้ตันตาขาว

ปลาไส้ตันตาขาว ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาไส้ตันตาแดง (A. apogon) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน เว้นแต่ขอบตาบนไม่มีสีแดง และมีหนวดสั้น ๆ 2 คู่ ลำตัวสีเงินวาวหรืออมเหลืองอ่อน มีแถบสีคล้ำพาดตามความยาวลำตัว 5-6 แถบ ครีบสีเหลืองอ่อนหรือชมพูจาง ๆ มีขนาดโดยเฉลี่ย 15-20 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ พบได้ตามแม่น้ำ หนองบึง และแหล่งน้ำนิ่งของภาคกลาง ภาคเหนือ และอีสาน เป็นปลาที่พบชุกชุมเช่นเดียวกับปลาไส้ตันตาแดง ปลาไส้ตันตาขาวมีชื่อที่เรียกต่างออกไป เช่น จังหวัดพะเยาเรียกว่า "แพ็บ" เป็นต้น.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาไส้ตันตาขาว

ปลาไส้ตันตาแดง

ปลาไส้ตันตาแดง (Beardless Barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาไส้ตันตาแดง

ปลาไข่ออง

ปลาไข่ออง เป็นชื่อเรียกสกุลปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Osteobrama (/ออส-ที-โอ-บรา-ม่า/) มีรูปร่างโดยรวมดังนี้ มีลำตัวลึกแบนข้างมากเป็นทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ด้านข้างคอด หางเรียว หัวค่อนข้างเล็กกลม ปากอยู่ปลายสุด เกล็ดมีขนาดเล็ก หลุดง่าย ครีบหลังยกสูงและสั้น ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายเป็นหนามแข็งและมีขอบเป็นจักฟันเลื่อย และอยู่เหนือฐานครีบท้อง ฐานครีบก้นยาว ครีบหางเว้าลึก ลำตัวสีเงินหรืออาจมีสีเหลืองอ่อน ครีบใส บางชนิดมีหนวด บางชนิดไม่มีหนวด หากมีก็เป็นหนวดที่สั้นและหลุดง่ายมาก มีฟันในลำคอ 3 แถว ปลายของเส้นข้างลำตัวไปสิ้นสุดลงที่ฐานครีบหาง ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 15–30 เซนติเมตร อาศัยเป็นฝูงในน้ำขุ่น พบในประเทศอินเดียและพม่า 6 ชนิด และลุ่มน้ำสาละวิน 2 ชนิด บริเวณชายแดนไทย–พม่า มีทั้งหมด 8 ชนิด ได้แก.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาไข่ออง

ปลาไข่อองใหญ่

ปลาไข่อองใหญ่ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในสกุล Osteobrama อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาชนิดอื่น ๆ ในสกุลเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิด O.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาไข่อองใหญ่

ปลาไข่อองเล็ก

ปลาไข่อองเล็ก หรือ ปลาโรตี เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในสกุล Osteobrama ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเป็นทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน แบนข้างมาก หัวมีขนาดเล็ก นัยน์ตาโต ปากเล็ก ไม่มีหนวด โคนหางแคบและสั้น เกล็ดมีขนาดเล็กและบางกลุดง่ายมาก มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัว 55–70 แถว ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวเป็นหนามแข็ง ครีบก้นมีฐานยาว ครีบหางเป็นแฉกแว้ลึก ครีบอกและครีบท้องมีขนาดเล็ก ลำตัวมีสีเงินแวววาวปนสีเหลืองอ่อน มีแถบสีดำหลังช่องเหงือก มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำที่มีสภาพขุ่นของแม่น้ำสาละวิน ในประเทศไทยพบได้แถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม นับว่าเป็นปลาที่มีราคาซื้อขายค่อนข้างแพงเนื่องจากมีขายไม่บ่อยนักในตลาดปลาสวยงาม.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาไข่อองเล็ก

ปลาไน

ปลาไน หรือ ปลาคาร์ปธรรมดา (carp, common carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyprinus carpio อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาน้ำจืดที่เชื่อว่าเป็นปลาที่มนุษย์เลี้ยงเป็นชนิดแรกของโลกเพื่อเป็นอาหาร โดยเลี้ยงในประเทศจีนเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว โดยเริ่มพร้อมกับปลาทอง.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาไน

ปลาเชอรี่บาร์บ

ปลาเชอรี่บาร์บ (Cherry barb) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวเพรียวยาวแบนข้าง พื้นสีลำตัวและครีบต่าง ๆ มีสีชมพูหรือสีชมพูอมแดง ด้านหลังมีสีน้ำตาล กลางลำตัวมีแถบสีคล้ำยาวตั้งแต่ปลายปากจรดโคนหาง บริเวณเหงือกมีสีแดง ปลาตัวผู้มีลำตัวเพรียวยาวกว่าตัวเมีย ลำตัวและครีบมีสีเข้มสดสวยกว่า มีขนาดความยาวเฉลี่ยประมาณ 6 เซนติเมตร เป็นปลาท้องถิ่นที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศศรีลังกา มีความว่องไวปราดเปรียวและมีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง วางไข่ครั้งละประมาณ 200-300 ฟองตามพืชน้ำ และใช้เวลาฟักประมาณ 2 วัน เช่นเดียวกับปลาชนิดอื่นที่ใกล้เคียงกัน เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาเชอรี่บาร์บ

ปลาเพ้า

ปลาเพ้า เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดบางชนิดในสกุลปลาหว้า (Bangana) ของวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เช่น.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาเพ้า

ปลาเกล็ดถี่

ปลาเกล็ดถี่ เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thynnichthys thynnoides จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาลิ่นหรือปลาหัวโต (Hypophthalmichthys molitrix) ที่มีขนาดเล็ก กล่าวคือ หัวโต ตากลมโต ลำตัวเพรียวแบนข้างเล็กน้อย ไม่มีหนวด ปากเล็กอยู่ปลายสุดของส่วนหัว ครีบหลังไม่มีก้านครีบแข็ง เกล็ดมีขนาดเล็กละเอียดมาก มีสีเงินแวววาวเมื่อถูกแสงและหลุดร่วงได้ง่าย ที่บริเวณเส้นข้างลำตัวมีประมาณ 58-65 เกล็ด ข้อหางคอด ปลายครีบหางเว้าลึก ครีบทุกครีบสีจางใส ที่ฝาปิดแผ่นเหงืออกมีจุดสีคล้ำ ส่วนท้องสีขาวจาง มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ชุกชุมอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย ไม่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน และพบได้จนถึงคาบสมุทรมลายูและเกาะบอร์เนียว บางครั้งอาจพบปะปนอยู่กับกลุ่มปลาสร้อยด้วย โดยเฉพาะปลาสร้อยขาว (Henicorhynchus siamensis) อาจจะจำสับสนกันได้ เพราะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ปลาสร้อยขาวมีเกล็ดขนาดใหญ่กว่ามาก ปลาเกล็ดถี่เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่น โดยมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น สร้อยเกล็ดถี่, นางเกล็ด, เรียงเกล็ด, ลิง, พรม เป็นต้น.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาเกล็ดถี่

ปลาเกล็ดถี่ (สกุล)

ปลาเกล็ดถี่ หรือ ปลานางเกล็ด (Thynnichthys) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะสำคัญก็คือ มีส่วนหัวที่โตจนดูคล้ายปลาลิ่น (Hypophthalmichthys molitrix) ขนาดเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวที่ขอบเรียบ มีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ไม่มีริมฝีปากบน ปากอยู่สุดปลายจะงอย ไม่มีหนวด และไม่มีซี่กรองเหงือก เกล็ดมีขนาดเล็กละเอียดมาก เป็นสีเงินแวววาวและหลุดร่วงง่าย มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินแพลงก์ตอนหรือตะไคร่น้ำเป็นอาหาร โดยอาจปะปนอยู่กับปลาในวงศ์ปลาตะเพียนด้วยกันสกุลอื่น เช่น ปลาสร้อย เป็นต้น พบทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาเกล็ดถี่ (สกุล)

ปลาเลียหิน

ปลาเลียหิน (Stone-lapping fishes, Garras, Doctor fishes) คือชื่อสามัญเรียกโดยรวมของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Garra (/การ์-รา/) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และอยู่ในวงศ์ย่อย Labeoninae เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ลำตัวยาว หลังโค้งเล็กน้อย สันท้องแบนราบ จะงอยปากยาว ปลายทู่ และมีตุ่มเหมือนเม็ดสิวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตัวผู้ริมฝีปากหนาและมีตุ่มเม็ดสิวที่อ่อนนุ่มอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่มีร่องระหว่างริมฝีปากกับกระดูกขากรรไกร ริมฝีปากล่างแผ่ออกกว้างเป็นแผ่น ขอบหน้าเรียบ ใช้ในการยึดเกาะกับของแข็ง มีหนวด 1-2 คู่ ครีบอกและครีบครีบท้องอยู่ในแนวระดับสันท้อง ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน และก้านครีบเดี่ยวไม่แข็ง ครีบก้นสั้นมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน เส้นข้างลำตัวตรง มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่เป็นฝูง ในแหล่งน้ำไหลเชี่ยวบริเวณน้ำตกหรือลำธารในป่า เพื่อดูดกินตะไคร่น้ำหรือสาหร่ายหรืออินทรีย์วัตถุต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย พบมากกว่า 90 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบด้วยหลายชนิด เช่น G.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาเลียหิน

ปลาเลียหินกัมพูชา

ปลาเลียหินกัมพูชา หรือ ปลามูดกัมพูชา หรือ ปลาเลียหินแม่น้ำโขง (Cambodian logsucker, Stone-lapping fish, Stonelapping minnow, False Siamese algae eater) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง เป็นปลาเลียหินชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวเรียวยาวเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว อาศัยอยู่ตามบริเวณพื้นที่เป็นกรวดและหิน มีหนวดที่ปลายจะงอยปากหนึ่งคู่ ลำตัวด้านหลังเป็นสีเขียว เกล็ดมีสีขาวเงินสะท้อนแสง มีแถบสีดำพาดตามตัวจากหลังช่องเหงือกถึงโคนหาง ลำตัวด้านล่างเป็นสีขาว ครีบหลังมีขอบสีดำจาง ๆ ขอบครีบหางมีแถบสีดำจาง ๆ และมีเส้นสีดำตอนกลางครีบ มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 11 เซนติเมตร พบตามแหล่งน้ำที่เป็นลำธารต้นน้ำและน้ำตกของลุ่มน้ำโขง หากินโดยดูดตะไคร่น้ำ, แพลงก์ตอน และแมลงน้ำเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ลงมาถึงประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบกระจายอยู่ในระบบแม่น้ำเจ้าพระยารวมถึงภาคใต้ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช แต่พบมากที่สุดในลุ่มน้ำน่านในเขตอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน โดยเฉพาะในแม่น้ำว้าและแม่น้ำมาง โดยมีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า "ปลาขึ้นนา" จากพฤติกรรมที่เมื่อวางไข่ขยายพันธุ์จะอพยพกันจากลำธารลงไปวางไข่กันในทุ่งนา จึงมักถูกจับมารับประทานบ่อย ๆ ด้วยเป็นปลาขนาดเล็กจึงสามารถบริโภคได้ทั้งตัว มีราคาซื้อขายสูงถึงกิโลกรัมละ 200 บาท ปัจจุบันภาควิชาการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แม้จะเป็นปลาที่มีสีสันไม่สวยงาม แต่ก็มักเลี้ยงไว้กินตะไคร่และเศษอาหารที่ปลาอื่นกินเหลือ เพื่อทำความสะอาดตู้ รวมถึงยังนำไปในกิจการฟิชสปาหรือสปาปลาแทนที่ปลาเลียหินชนิด G.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาเลียหินกัมพูชา

ปลาเล็บมือนาง

ปลาเล็บมือนาง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crossocheilus reticulatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Garrinae มีรูปร่างลำตัวเพรียว หัวเล็ก ปากเล็กอยู่ด้านล่างของจะงอยปากและมีแผ่นหนังคลุม มีหนวดสั้น 1 คู่ เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินอมเหลือง มีลายสีคล้ำที่ขอบเกล็ด โคนครีบหางมีจุดสีดำเห็นชัดเจน ครีบใสสีเหลืองเรื่อ มีขนาดความยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ใหญ่สุด 17 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูงใหญ่ตามแก่ง ช่วงฤดูฝนมีการย้ายถิ่นเข้าสู่ทุ่งน้ำหลาก อาหารได้แก่ ตะไคร่น้ำ แพลงก์ตอน และสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก อาศัยตามแม่น้ำสายหลักและแก่ง แหล่งน้ำหลาก เป็นปลาที่พบบ่อย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปลาเล็บมือนาง ยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า "ปลาสร้อยดอกยาง".

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาเล็บมือนาง

ปลาเล็บมือนางแม่โขง

ปลาเล็บมือนางแม่โขง หรือ ปลาข้างลาย (Mekong algae eater) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาในสกุลปลาส่อหรือปลาเล็บมือนางชนิดหนึ่ง มีความยาวเต็มที่ 10-12 เซนติเมตร แต่ขนาดที่พบโดยเฉลี่ย 6 เซนติเมตร พบชุกชุมในหาดในช่วงฤดูแล้ง ราวเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม เป็นปลาที่นิยมบริโภคและขายกันในท้องถิ่น และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาเล็บมือนางแม่โขง

ปลาเวียน

ปลาเวียน (Thai mahseer, Greater brook carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งจำพวกมาห์เซียร์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tor tambroides อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง รูปร่างลักษณะคล้ายปลาพลวงหิน (Neolissochilus stracheyi) ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกัน เว้นแต่ริมฝีปากบนมีแผ่นหนังยื่นออกมาทำให้ดูคล้ายจะงอยปากงุ้มลง และรูปร่างลำตัวที่เพรียวกว่า ขนาดเฉลี่ยโดยทั่วไปประมาณ 60 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดที่พบ 1 เมตร ส่วนหัว อาศัยตามแหล่งน้ำสะอาดตามต้นน้ำลำธาร มีพฤติกรรมในอพยพย้ายถิ่นลงมาทางปากน้ำในฤดูฝน ตามรายงานพบว่า ปลาที่อาศัยในแม่น้ำแม่กลอง เมื่อถึงฤดูฝนจะว่ายตามกระแสน้ำลงไปจนถึงปากนี้ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ปลาเหล แม่น้ำ" นานประมาณ 4–8 สัปดาห์ จากนั้นจะหวนกลับไปยังต้นน้ำ แสวงหาสถานที่อันเหมาะสมเพื่อผสมพันธุ์ จะวางไข่ในช่วงเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม เคยเป็นปลาที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบุรี และถือเป็นปลาประจำจังหวัด เพราะมีเนื้อนุ่มละเอียด มีไขมันสะสมในเนื้อเยอะ ซึ่งปัจจุบันพบได้น้อย จนแทบกล่าวได้ว่าหมดไปแล้ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ถูกทำลาย ปัจจุบัน กรมประมงสามารถที่จะเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเพชรบุรี ด้วยการรวบรวมพ่อแม่ปลาจากธรรมชาติ โดยมีวิธีการขยายพันธุ์ 2 วิธี คือ การเพาะพันธุ์แบบกึ่งธรรมชาติ ด้วยการเลี้ยงในระบบที่เลียนแบบธรรมชาติ ความสมบูรณ์ของพ่อแม่ปลาจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน–กุมภาพันธ์ ปลาแม่ที่พร้อมจะวางไข่จะมีการสลัดไข่ จึงนำมารีดผสมกับน้ำเชื้อของปลาตัวผู้ ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาประมาณ 72–96 ชั่วโมง และการเพาะพันธุ์ด้วยวิธีการฉีดฮอร์โมน.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาเวียน

ปลาเวียนทอง

ปลาเวียนทอง, ปลาเวียนยักษ์, ปลาเวียนหิมาลัย หรือในชื่อพื้นเมืองของลุ่มแม่น้ำสาละวินเรียกว่า ปลาคม (Putitor mahseer, Himalayan mahseer, Golden mahseer.) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาที่อยู่ในสกุลปลาพลวง (Neolissochilus spp.) และปลาเวียน (Tor spp.) ชนิดอื่น เพียงแต่ขนาดเมื่อโตเต็มที่สามารถยาวได้ถึง 275 เซนติเมตร น้ำหนักถึง 54 กิโลกรัม ซึ่งนับว่าใหญ่ที่สุดสำหรับปลาในสกุลนี้ และนับว่าเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่ใหญ่ติดอันดับโลก มีลายแถบสีน้ำเงินนอนขวางลำตัวหนึ่งคู่ เกล็ดตลอดทั้งลำตัวมีสีเหลืองหรือสีทอง ครีบและหางมีสีเหลืองเข้ม พบในอินเดียทางตอนเหนือและตอนใต้ ในตอนเหนือพบที่เชิงเทือกเขาหิมาลัยแถบรัฐปัญจาบ และในแม่น้ำพรหมบุตร, แคว้นแคชเมียร์ในปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, ภูฏาน และพบในแม่น้ำสาละวินแถบชายแดนพม่าติดกับไทยด้วย แต่พบน้อยมาก มีรายงานการพบเพียงแค่ 3 ครั้งเท่านั้น ในรอบ 28 ปี.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาเวียนทอง

ปลาเสือ

ปลาเสือ โดยมากหมายถึงปลาที่มีลวดลายคล้ายลายของเสือโคร่ง หรือเสือลายพาดกลอน ซึ่งได้แก่ ในอันดับปลากะพง (Perciformes).

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาเสือ

ปลาเสือสุมาตรา

ระวังสับสนกับ ปลาเสือข้างลาย สำหรับ เสือสุมาตรา ที่หมายถึงเสือโคร่งดูที่ เสือโคร่งสุมาตรา ปลาเสือสุมาตรา ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Puntigrus tetrazona อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียนขนาดเล็ก และมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาเสือข้างลาย (P.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาเสือสุมาตรา

ปลาเสือหกขีด

ปลาเสือหกขีด หรือ ปลาเสือป่าพรุ (Six-band barb) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะและรูปร่างคล้ายกับปลาเสือห้าขีด (D.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาเสือหกขีด

ปลาเสือข้างลาย

ระวังสับสนกับ ปลาเสือสุมาตรา ปลาเสือข้างลาย ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Puntigrus partipentazona ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ลักษณะคล้ายกับปลาตะเพียนขนาดเล็ก มีพื้นลำตัวสีเหลืองอมส้ม มีจุดเด่นคือ แถบสีดำพาดขวางลำตัวทั้งหมด 5 แถบ 2 แถบแรกพาดผ่านตาและหน้าครีบหลัง แถบที่ 3 พาดผ่านโคนครีบหลังและสันหลัง แถบที่ 4 พาดผ่านโคนครีบก้นและลำตัว ส่วนแถบที่ 5 ที่โคนหาง ครีบหลังสั้นและครีบก้นมีสีเหลือง มีหนวดที่มุมปากบนหนึ่งคู่ แต่แถบที่ 3 นั้นสั้นพาดเพียงครึ่งนึงเท่านั้น ซึ่งปลาเสือข้างลายนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาเสือสุมาตรา (P.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาเสือข้างลาย

ปลาเอิน

ปลาเอิน หรือ ปลายี่สก (Striped barbs) เป็นชื่อสกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุล Probarbus (/โพร-บาร์-บัส/) อองรี เอมิล โซวาค นักมีนวิทยาชาวฝรั่งเศสเป็นผู้บรรยายลักษณะทางอนุกรมวิธานของปลาสกุลนี้ในปี ค.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาเอิน

ปลาเอินฝ้าย

ปลาเอินฝ้าย (Thinlip barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Probarbus labeaminor จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae มีรูปร่างคล้ายปลายี่สก (P.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาเอินฝ้าย

ปลาเอินตาขาว

ปลาเอินตาขาว (Thicklipped barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Probarbus labeamajor อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาเอินตาขาว

ปลาเฉา

ปลาเฉา (Grass Carp) หรือ เฉาฮื้อ หรือ ปลากินหญ้า เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ctenopharyngodon มีรูปร่างยาวทรงกระบอก ส่วนหัวเล็กและกลมมน ในช่องคอมีฟันที่แข็งแรง ไม่มีหนวด ครีบหลังและครีบก้นค่อนข้างเล็กไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหางเว้าลึก เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ลำตัวด้านบนมีสีคล้ำหรือสีน้ำตาลอมทอง ครีบสีคล้ำ ด้านท้องสีจาง บริเวณฐานของเกล็ดบนของลำตัวส่วนมากมีสีคล้ำ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 1 เมตร แต่โดยเฉลี่ยจะยาวประมาณ 50-70 เซนติเมตร ตัวผู้ในช่วงเจริญพันธุ์จะปรากฏตุ่มคล้ายสิวขึ้นมาที่ครีบอก และก้านครีบด้านในที่เป็นหยัก หัวและหน้าผาก มีการกระจายพันธุ์ในบริเวณแม่น้ำอามูร์ทางภาคตะวันออกของจีนและรัสเซีย กินอาหารจำพวกหญ้าและพืชน้ำทุกชนิด โดยมักจะหากินตามก้นแม่น้ำ ปัจจุบัน ถือเป็นปลาเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่สำคัญ เนื่องจากมีการนำเข้าและเพาะเลี้ยงกันไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่นเดียวกับปลาในสกุล Hypophthalmichthys รวมถึงเป็นปลาที่นิยมในการตกปลาอีกด้วย ซึ่งจะมีชื่อเรียกรวม ๆ กันในภาษาไทยว่า "ปลาจีน" สำหรับในประเทศไทย ได้นำเข้ามาทางเรือสำเภาโดยชาวจีนผ่านทางฮ่องกง ในปี พ.ศ.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและปลาเฉา

นกกาน้ำเล็ก

นกกาน้ำเล็ก (Little cormorant, Javanese cormorant) เป็นนกชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกาน้ำ (Phalacrocoracidae) เป็นนกกาน้ำขนาดเล็ก มีความยาวจากปลายปากถึงปลายหาง 51-56 เซนติเมตร น้ำหนัก 360-525 กรัม ความกว้างระหว่างปลายปีกทั้งสอง 90 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ขนตามลำตัวมีสีดำเหลือบน้ำเงิน ตรงปีกมีสีน้ำตาลปน บริเวณรอบตามีจุดสีขาวขนาดเล็ก ใต้คางมีสีครีม แต่ขนชุดนอกและในฤดูผสมพันธุ์แตกต่างกัน นอกฤดูผสมพันธุ์ ปากสีเนื้อแกมเทาหม่น ขนทั่วทั้งหัว, ลำคอ, ลำตัว ปีกและหางสีน้ำตาลแกมดำ แต่ขนบริเวณไหล่และปีกสีค่อนข้างเทา แต่ขอบขนสีดำ คางค่อนข้างขาว ในฤดูผสมพันธุ์ ปากสีค่อนข้างดำ หัว, ลำคอ, อก, ท้อง, สีข้างและขนคลุมใต้โคนหางเปลี่ยนเป็นสีดำเหลือบน้ำเงินและเขียว บนกระหม่อมขนคลุมหู และท้ายทอยมีลายริ้วสีขาว พบกระจายพันธุ์ในทวีปยุโรป, แอฟริกา และในทวีปเอเชีย ได้แก่ อินเดีย, จีน, พม่า, อินโดจีน, มาเลเซีย, ชวา และในประเทศไทยพบทั่วไปทุกภาค จัดเป็นนกกาน้ำชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด อาศัยอยู่ตามหนองบึง, แม่น้ำ, ลำคลอง หรือท้องนา จับปลาขนาดเล็กจำพวกปลาตะเพียนกินเป็นอาหาร ส่วนใหญ่ชอบอยู่ตามลำพัง บางครั้งอาจพบอยู่รวมกันเป็นฝูงบ้าง ชอบดำน้ำไล่จับปลาเป็นอาหาร เมื่อขึ้นจากน้ำมักจะยืนกางปีกตากแดดให้ขนแห้ง นกกาน้ำเล็กผสมพันธุ์ในราวเดือนกรกฎาคม ทำรังอยู่บนต้นไม้ใหญ่รวมกันหลายรังบนต้นเดียวกัน ทำรังด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ ขัดสานไว้อย่างหยาบ ๆ และวางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไท.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและนกกาน้ำเล็ก

น้ำตกเอราวัณ

น้ำตกเอราวัณ ชั้นที่ 2 น้ำตกเอราวัณ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานประมาณ 500 เมตร มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100 - 400 เมตร แบ่งเป็นชั้นต่างๆ 7 ชั้น มีระยะทางจากชั้นล่างสุดขึ้นไปชั้นบนสุด 1500 เมตร ลำน้ำเมื่อตกลงมาแล้วจะไหลลงแม่น้ำแควใหญ่บริเวณที่ทำการอุทยาน เดิมน้ำตกนี้ชาวบ้านเรียกว่า น้ำตกสะด่องม่องลาย อันเป็นชื่อลำห้วยม่องลายที่เป็นต้นน้ำ โดยบริเวณน้ำตกจะมีน้ำตลอดปี แต่จะมีน้ำน้อยในช่วงฤดูแล้ง ราวเดือนธันวาคมถึงเมษายน.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและน้ำตกเอราวัณ

แม่น้ำน้อย

แม่น้ำน้อย แม่น้ำน้อย เป็นแม่น้ำสาขาแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ชุมชนปากแพรก อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท เป็นแม่น้ำสายเล็ก ๆ ที่ไหลผ่านอำเภอบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน และอำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี ไหลผ่านจังหวัดอ่างทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วไปรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาอีกครั้งที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม่น้ำน้อยมีความยาวทั้งสิ้น 145 กิโลเมตร ความกว้างประมาณ 80 เมตร มีน้ำตลอดทั้งปี มีชื่อเรียกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น ตอนที่ไหลผ่านอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเรียกว่า "คลองสีกุก" หรือ"แควสีกุก" หรือตอนที่ไหลผ่านอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเช่นกัน เรียกว่า "แม่น้ำแควผักไห่" เป็นต้น และยังมีแควสาขาเป็นคลองสายต่าง ๆ ที่ไหลและแยกตัวกันอีก เช่น คลองบางปลากด คลองศาลาแดง คลองไชโย เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว แม่น้ำน้อยยังเป็นสถานที่แห่งแรกที่มีการค้นพบปลาในสกุล Sikukia หรือปลาน้ำฝาย อันเป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โดย ดร.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและแม่น้ำน้อย

เจ้าฟ้า

้าฟ้า สามารถหมายถึง.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและเจ้าฟ้า

Bangana lippus

Bangana lippus เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีชื่อสามัญว่า "ปลาเพ้า" ซึ่งเป็นชื่อเรียกรวมกับปลาบางชนิดในสกุลเดียวกัน เช่น B.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและBangana lippus

Bangana sinkleri

Bangana sinkleri เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีชื่อสามัญว่า "ปลาเพ้า" ซึ่งเป็นชื่อเรียกรวมกับปลาบางชนิดในสกุลเดียวกัน เช่น B.

ดู วงศ์ปลาตะเพียนและBangana sinkleri

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Cyprinidae

ปลากระสูบสาละวินปลากระสูบจุดปลากระสูบขีดปลากระแหปลากระโห้ปลากระโห้อินเดียปลากะทิปลากาปลาการ์ร่า รูฟาปลากาแดงปลาฝักพร้าปลามะไฟปลามูดหลังจุดปลามูดหน้านอปลาม่อนปลาม่ำพม่าปลาม้าลายปลายาดปลายี่สกปลายี่สกเทศปลาริชาร์ด ดอว์กินส์ปลาร่องไม้ตับปลาร่องไม้ตับวานเดิร์สปลาลิ่นปลาสร้อยปลาสร้อย (สกุล)ปลาสร้อยลูกกล้วยปลาสร้อยขาวปลาสร้อยนกเขาปลาสร้อยนกเขาน้ำจืดปลาสร้อยน้ำเงินปลาสะกางปลาสะอีปลาสะนากปลาสะนากยักษ์ปลาส่อปลาหมูกระโดงสูงปลาหม่นปลาหว่าชะอีปลาหว้าปลาหว้าหน้านอปลาหางบ่วงปลาหางไหม้ปลาหนามหลังปลาหนามหลังสาละวินปลาหนามหลังขาวปลาหน้าหมองปลาอินซีเน็ตปลาอินซีเน็ตหางแดงปลาอีกองปลาอ้ายอ้าวปลาจาดปลาจาดแถบดำปลาจิ้งจอกปลาจีนปลาถ้ำปลาทรงเครื่องปลาทรงเครื่อง (สกุล)ปลาทองปลาทอง (สกุล)ปลาทุงงะปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวินปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลองปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขงปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาปลาขิ้งปลาขิ้ง (สกุล)ปลาขี้ยอกปลาข้อมือนางปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)ปลาดอกหมาก (น้ำจืด)ปลาคาร์ปปลาคาร์ปเลตปลาตะพากปลาตะพากส้มปลาตะพากเหลืองปลาตะกากปลาตะลุมพุกปลาตะโกกปลาตะโกกหน้าสั้นปลาตะเพียนลายปลาตะเพียนลายมาเลย์ปลาตะเพียนลายหมากรุกปลาตะเพียนสาละวินปลาตะเพียนหยดน้ำปลาตะเพียนหน้าแดงปลาตะเพียนอินเดียปลาตะเพียนจุดปลาตะเพียนทรายปลาตะเพียนทองปลาตะเพียนขาวปลาตะเพียนปากหนวดปลาตะเพียนแคระปลาตามินปลาตามิน (สกุล)ปลาตาดำปลาตุมปลาฉลามหางไหม้ (อินโดนีเซีย)ปลาฉลามหางไหม้ (ไทย)ปลาฉลามน้ำจืด (แก้ความกำกวม)ปลาซาร์ดีนทะเลสาบปลาซิวปลาซิวพม่าปลาซิวกาแล็กซีปลาซิวสมพงษ์ปลาซิวหัวตะกั่วปลาซิวหัวตะกั่วสุโขทัยปลาซิวหัวตะกั่วอินเดียปลาซิวหางกรรไกรปลาซิวหางแดงปลาซิวหนวดยาวปลาซิวหนวดยาว (สกุล)ปลาซิวหนูปลาซิวอ้าวปลาซิวทองปลาซิวข้างขวานปลาซิวข้างขวานใหญ่ปลาซิวข้างขวานโกลว์ไลต์ปลาซิวข้างขวานเล็กปลาซิวข้างเหลืองปลาซิวควายปลาซิวควายข้างเงินปลาซิวคาโลโครม่าปลาซิวตาเขียวปลาซิวซอ-บวาปลาซิวแคระปลาซิวใบไผ่ปลาซิวใบไผ่มุกปลาซิวใบไผ่ยักษ์ปลาซิวใบไผ่แม่แตงปลาซิวใบไผ่ใหญ่ปลาซิวใบไผ่เขียวปลาซิวเจ้าฟ้าปลาซ่าปลาซ่งปลาปากหนวดปลาปากเปี่ยนบ้านด่านปลานวลจันทร์น้ำจืดปลานวลจันทร์น้ำจืด (สกุล)ปลานวลจันทร์เทศปลานางอ้าวปลานีออน (สกุล)ปลาน้ำฝายปลาน้ำฝายหลังดำปลาน้ำหมึกปลาน้ำหมึกยักษ์ปลาน้ำหมึกจีนปลาน้ำหมึกโคราชปลาน้ำจืดปลาแบมบูซ่าปลาแฟนซีคาร์ปปลาแกงปลาแก้มช้ำปลาแองหวู (สกุล)ปลาแดงน้อยปลาแปบปลาแปบยาวปลาแปบยาวสาละวินปลาแปบสยามปลาแปบหางดอกปลาแปบขาวปลาแปบขาวหางดำปลาแปบควายปลาแปบควายอาร์ม็องปลาแปบควายไทพัสปลาแปบแม่น้ำปลาแปบใสปลาโรซี่บาร์บปลาโรซี่บิทเทอร์ลิ่งปลาโจกปลาโจกไหมปลาไวท์คลาวด์ปลาไส้ตันสนธิรัตนปลาไส้ตันตาขาวปลาไส้ตันตาแดงปลาไข่อองปลาไข่อองใหญ่ปลาไข่อองเล็กปลาไนปลาเชอรี่บาร์บปลาเพ้าปลาเกล็ดถี่ปลาเกล็ดถี่ (สกุล)ปลาเลียหินปลาเลียหินกัมพูชาปลาเล็บมือนางปลาเล็บมือนางแม่โขงปลาเวียนปลาเวียนทองปลาเสือปลาเสือสุมาตราปลาเสือหกขีดปลาเสือข้างลายปลาเอินปลาเอินฝ้ายปลาเอินตาขาวปลาเฉานกกาน้ำเล็กน้ำตกเอราวัณแม่น้ำน้อยเจ้าฟ้าBangana lippusBangana sinkleri