โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาเผาะ

ดัชนี ปลาเผาะ

ปลาเผาะ (Vietnamese pangasius, basa fish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius bocourti อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีลักษณะส่วนหัวมนกลม ปากแคบ รูปร่างป้อม ท้องอูม ลำตัวตอนหน้าค่อนข้างกลม และแบนข้างเล็กน้อยที่ด้านท้าย ครีบไขมันเล็ก ปลาวัยอ่อนมีสีเทาเหลือบเหลืองหรือเขียวอ่อน ข้างลำตัวมีแถบคล้ำ ครีบอกมีแต้มสีจาง ปลาตัวเต็มวัยมีสีเทาอมน้ำตาลอ่อนหรือฟ้าอ่อน ท้องสีขาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำจาง มีขนาดประมาณ 60-80 เซนติเมตร ปลาวัยอ่อนกินแมลง ปลาตัวเต็มวัยกินพืชเป็นส่วนใหญ่ อาจกินแมลงและหอยบ้าง พบในแม่น้ำโขงถึงอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และในแม่น้ำเจ้าพระยาFroese, Rainer, and Daniel Pauly, eds.

6 ความสัมพันธ์: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปวงศ์ปลาสวายปลาสังกะวาดปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขงปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาปลาโมง

รายชื่อชื่อปลาทั่วไป

นี่คือรายชื่อชื่อปลาทั่วไป แต่ละชื่ออาจหมายถึงสปีชีส์หรือสกุลเดียว หรือปลาหลายชนิดพร้อมกันก็ได้ นี่เป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ ดูเพิ่มเติมได้ที่ หมวดหมู่ปล.

ใหม่!!: ปลาเผาะและรายชื่อชื่อปลาทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาสวาย

วงศ์ปลาสวาย (Shark catfish) เป็นปลาหนัง มีรูปร่างเพรียว ส่วนท้องใหญ่ ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวโต ตาโต มีหนวด 2 คู่ รูจมูกช่องหน้าและหลังมีขนาดเท่ากัน ครีบไขมันและครีบท้องเล็ก ฐานครีบก้นยาว กระเพาะขนาดใหญ่รียาว มี 1-4 ตอน ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pangasiidae (/แพน-กา-ซิ-อาย-ดี้/) พบขนาดตั้งแต่ไม่เกิน 40 เซนติเมตร เช่น ปลาสังกะวาดท้องคม หรือ ปลายอนปีก (Pangasius pleurotaenia) จนถึง 3 เมตรใน ปลาบึก (Pangasianodon gigas) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดที่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก การกระจายพันธุ์จากอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเกาะบอร์เนียวในอินโดนีเชีย เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร กินปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น กุ้ง หรือ หอยฝาเดียว นอกจากนี้ยังเป็นปลาที่มีพฤติกรรมกินซากอีกด้วย ทั้งซากพืชและซากสัตว์ เช่น ปลาเทพา (Pangasius sanitwongsei) มีทั้งหมด 30 ชนิด และพบในประเทศไทยประมาณ 12 ชนิด ซึ่งปลาที่มีขนาดเล็กจะเรียกชื่อซ้ำซ้อนในแต่ละชนิดว่า "สังกะวาด" หรือ "สังกะวัง" จัดเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภคและรู้จักกันดี และจากการศึกษาล่าสุด พบว่าเนื้อปลาในวงศ์ปลาสวายนี้มีโอเมกา 3 มากกว่าปลาทะเลเสียอีก โดยเฉพาะอย่าง ปลาสวาย (P. hypophthalmus) มีโอเมกา 3 สูงถึง 2,570 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม.

ใหม่!!: ปลาเผาะและวงศ์ปลาสวาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสังกะวาด

ปลาสังกะวาด หรือ ปลายอน เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหนังจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด โดยพบแล้วประมาณ 26 ชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Pangasius มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวลื่นไม่มีเกล็ด หัวโต ตามีขนาดเล็ก ปากกว้าง รูจมูกคู่หลังอยู่ใกล้รูจมูกคู่หน้ามากกว่านัยน์ตา และอยู่เหนือระดับขอบบนของลูกนัยน์ตา มีหนวด 2 คู่สั้นหรือยาวแล้วแต่ชนิด (ริมปากบน 1 คู่ และคาง 1 คู่) มีฟันที่กระดูกเพดานปากชิ้นกลางและชิ้นข้าง แต่ในบางชนิดอาจหดหายไปเมื่อปลามีอายุมากขึ้น รูปร่างอ้วนป้อม ครีบทั้งหมดโดยเฉพาะครีบหลังและครีบอกตั้งชี้ตรง และมีก้านแข็ง นัยน์ตาอยู่เหนือระดับมุมปากเล็กน้อย ท้องไม่เป็นสันคม ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 6 ก้าน มีขนาดรูปร่างที่แตกต่างออกไปตั้งแต่ 1 ฟุต ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร แต่โดยทั่วไปจะมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 1-1.5 เมตร เป็นปลาที่กินได้ทั้งเนื้อและพืชเป็นอาหาร รวมถึงซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยด้วย มีพฤติกรรมชอบอยู่เป็นฝูง ในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ พบตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ เป็นปลาที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเป็นปลาเศรษฐกิจ ใช้บริโภค ซึ่งมีการวิจัยพบว่าเนื้อปลาในสกุลนี้ มีสารโอเมกา 3 สูงกว่าปลาทะเลเสียอีก นอกจากนี้ยังใช้ตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในบางชนิด ในภาษาไทยจะเรียกปลาในสกุลนี้โดยรวมว่า "สวาย" ในปลาที่มีขนาดใหญ่ และในปลาที่มีขนาดเล็กมักจะเรียกรวม ๆ กันว่า "สังกะวาด" หรือ "สังกะวัง" ซึ่งซ้ำซ้อนกับปลาในวงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbeidae) สำหรับในภาษาอีสานจะเรียกว่า "ยอน" หรือ "ซวย" ในปัจจุบัน มีการผสมพันธุ์ข้ามชนิดและข้ามสกุลกัน จนได้เป็นลูกปลาพันธุ์ผสมชนิดใหม่ที่ให้ผลผลิตดี โดยใช้ชื่อในทางการค้าว่า "ปลามรกต" หรือ "เขียวมรกต" นิยมเลี้ยงกันมากโดยเฉพาะในภาคอีสานของไทย และในปัจจุบันนิยมทำเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อปลาสำเร็จรูป ในชื่อ "แพนกาเชียส ดอรี่" ปลาสวาย (''P. hypophthalmus'') เป็นชนิดที่นิยมเลี้ยงเพื่อการบริโภค และเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ปลาเผาะและปลาสังกะวาด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง

แผนที่แสดงสาขาแม่น้ำโขง ปลาในลุ่มแม่น้ำโขงที่วางขายในตลาดสด ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง ในปัจจุบันนี้พบแล้วกว่า 1,200 ชนิด และคาดว่าอาจมีถึง 1,700 ชน.

ใหม่!!: ปลาเผาะและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

้เฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาที่เดียวเท่านั้น ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นแม่น้ำหลักของประเทศอีกลุ่มแม่น้ำหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีการค้นพบปลาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้แล้วไม่ต่ำกว่า 350 ชนิด นับเป็นอันดับ 2 รองจากลุ่มแม่น้ำโขงหนังสือปลาไทยคืนถิ่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมประมง มีนาคม..

ใหม่!!: ปลาเผาะและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโมง

ปลาโมง (Snail eater pangasius) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius conchophilus อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pagasiidae) มีลักษณะคล้ายปลาเผาะ (P. bocourti) อันเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน มีตาเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง หนวดยาวถึงบริเวณช่องเหงือก แถบฟันบนเพดานเชื่อมติดกันเป็นรูปเหลี่ยม รูปร่างเพรียว หางคอด ก้านครีบแข็งที่หลังค่อนข้างยาวและใหญ่ หัวและลำตัวสีเทาหรือสีเขียวมะกอกเหลือบเหลืองหรือเขียว บางตัวสีเทาจาง ข้างลำตัวสีจางและไม่มีแถบคล้ำ ท้องสีจาง ครีบสีจาง ลูกปลามีสีเทาอมน้ำตาลหรือเหลือง มีขนาดประมาณ 60-80 เซนติเมตร พบปลาที่ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2534 โดยระบุว่าเป็นปลาชนิดใหม่ที่มีขนาดเล็ก กินกุ้ง, ปู และแมลงเป็นส่วนใหญ่ ปลาขนาดใหญ่กินหอย, ปู และเมล็ดพืช โดยหอยจะถูกกินทั้งตัวแล้วถ่ายออกมาเฉพาะเปลือก อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ พบมากในแม่น้ำโขง, แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง มีการบริโภคโดยการปรุงสด และหมักสับปะรด เนื้อมีรสชาติดี ในต่างประเทศ เช่น เวียดนาม มาเลเซีย มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้เป็นปลาเศรษฐกิจด้วย มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาโมงออดอ้อ", "ปลาเผาะ" (เรียกซ้ำกับปลาเผาะชนิด P. bocourti), "ปลาสายยู" หรือที่ทางกรมประมงตั้งให้ คือ "ปลาสายยูเผือก" เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาเผาะและปลาโมง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Pangasius bocourtiสายยูเผือกเผาะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »