สารบัญ
22 ความสัมพันธ์: วงศ์ปลาหวีเกศอันดับปลาหนังปลาบึกปลาบึก (สกุล)ปลากดอเมริกันปลายอนหอยปลายาวปลาสวายปลาสวายหางเหลืองปลาสวายหนูปลาสังกะวังปลาสังกะวาดปลาสังกะวาดท้องคมปลาสายยูปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลองปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขงปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาปลาฉลามน้ำจืด (แก้ความกำกวม)ปลาโมงปลาเผาะปลาเทพาปลาเทโพ
วงศ์ปลาหวีเกศ
วงศ์ปลาหวีเกศ (วงศ์: Schilbeidae (/ชิล-ไบ-ดี/); Schilbid catfish, Glass catfish) เป็นปลาน้ำจืดกระดูกแข็ง อยู่ในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) ซึ่งเป็นปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด มีก้านครีบแข็งที่ครีบอกและครีบหลังและมีครีบไขมัน สำหรับปลาในวงศ์นี้มีลักษณะสำคัญคือ มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาสวาย (Pangasidae) ซึ่งเดิมเคยรวมเป็นวงศ์เดียวกันมาก่อน แต่มีลำตัวขนาดเล็กกว่ามาก มีหนวด 3-4 คู่ ที่มีร่องเก็บหนวดแต่ละเส้นที่จะงอยปากข้างแก้มและใต้คาง รูจมูกช่องหลังมักใหญ่กว่าช่องหน้าและอยู่ชิดกัน ครีบอกและครีบหลังมีก้านครีบแข็ง ครีบไขมันมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาว ลำตัวมักแบนข้าง มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้าง โดยพบตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, อินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเขตซุนดา มีทั้งสิ้น 14 สกุล 61 ชนิด เฉพาะที่พบในประเทศไทยมี 4 สกุล ใน 5 ชนิด เช่น ปลาสังกะวาดขาว (Laides hexanema), ปลาหวีเกศ (Platytropius siamensis), ปลาอิแกลาเอ๊ะ (Pseudeutropius moolenburghae) เป็นต้น.
ดู วงศ์ปลาสวายและวงศ์ปลาหวีเกศ
อันดับปลาหนัง
อันดับปลาหนัง หรือ ตระกูลปลาหนัง (Catfish) เป็นอันดับทางอนุกรมวิธานของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siluriformes (/ซิ-ลู-ริ-ฟอร์-เมส/) อันดับปลาหนังเป็นอันดับที่มีจำนวนปลามากถึง 35 วงศ์ และ 2,867 ชนิด ซึ่งประกอบไปด้วยปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาดุก, ปลาสวาย, ปลาบึก, ปลาเนื้ออ่อน, ปลาก.
ดู วงศ์ปลาสวายและอันดับปลาหนัง
ปลาบึก
ปลาบึก (Mekong giant catfish; ປາບຶກ; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangasianodon gigas) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงตั้งแต่ประเทศจีน, ลาว, พม่า, ไทย เรื่อยมาตลอดความยาวของแม่น้ำรวมไปถึงแควสาขาต่าง ๆ เช่น แม่น้ำงึม, แม่น้ำมูล, แม่น้ำสงคราม แต่ไม่พบในตอนปลายของแม่น้ำโขงที่เป็นน้ำกร่อย ซึ่งเป็นจุดที่ไหลออกทะเลจีนใต้หน้า 24 เกษตร, ปลาบึก.
ปลาบึก (สกุล)
ปลาบึก เป็นสกุลของปลาหนังน้ำจืด ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Pangasianodon (/แพน-กา-เซีย-โน-ดอน/).
ดู วงศ์ปลาสวายและปลาบึก (สกุล)
ปลากดอเมริกัน
ปลากดอเมริกัน (Channel catfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในอันดับปลาหนัง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ictalurus punctatus อยู่ในวงศ์ปลากดอเมริกัน (Ictaluridae).
ดู วงศ์ปลาสวายและปลากดอเมริกัน
ปลายอนหอย
ปลายอนหอย หรือ ปลาสวายหนู เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งน้ำจืดในอันดับปลาหนังในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) จำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Helicophagus (/เฮ-ลิ-โช-ฟา-กัส/) มีรูปร่างโดยรวม คือ เหมือนปลาในสกุล Pangasius แต่ว่ามีรูปร่างที่เล็กและเพรียวบางกว่าอย่างเห็นได้ชัด ปากมีความกว้างน้อยกว่า หัวเล็ก ตามีขนาดเล็ก หนวดทั้ง 2 คู่ยาวถึงช่องเปิดเหงือก มีความยาวลำตัวโดยเฉลี่ยประมาณ 1 ฟุต มีพฤติกรรมจะกินอหารแต่เฉพาะสัตว์จำพวกหอย ทั้งหอยฝาเดียวและหอยสองฝา โดยจะกินเข้าไปทั้งตัว และถ่ายออกมาเป็นเศษซากของเปลือกหอย พบเพียง 3 ชนิดเท่านั้น โดยพบกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะในเขตซุนดา มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบได้ในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน ได้แก.
ปลายาว
ปลายาว (Cá bông lau) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีลักษณะหัวเรียว ตาเล็ก ปากอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก หนวดยาวถึงลูกตา รูปร่างเพรียวยาว ลำตัวค่อนข้างกลมและแบนข้างที่ด้านท้าย ตัวผู้มีปลายครีบหลังและครีบท้องยื่นเป็นเส้นสั้น ๆ ลำตัวมีสีเทาคล้ำอมฟ้า ข้างลำตัวสีจาง ครีบสีจาง ครีบหางมีสีเหลืองอ่อน ที่ขอบบนแฉกมีสีคล้ำจาง ๆ มีขนาดประมาณ 40 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 80 เซนติเมตร พบเฉพาะในแม่น้ำโขงตั้งแต่จังหวัดหนองคายถึงอุบลราชธานี เท่านั้น เป็นปลาที่ตายง่ายมากหลังการจับจึงได้อีกชื่อจากชาวประมงที่จังหวัดหนองคายว่า "ปลาซวยเสาะ" แต่ที่จังหวัดนครพนมเรียกว่า "ปลายาว" บริโภคโดยการปรุงสด เนื้อมีรสชาติดี ปลายาวที่มีขนาดเล็กจะพบเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำโขง และชายฝั่งทะเลไปถึงเกาะไหหลำ ในประเทศจีน.
ปลาสวาย
ปลาสวาย (Iridescent shark, Striped catfish, Sutchi catfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก แนวบริเวณหัวถึงครีบหลังลาดตรง ตาอยู่เสมอหรือสูงกว่ามุมปาก ปากแคบกว่าปลาบึก ที่อยู่สกุลเดียวกัน รูปร่างเพรียวแต่ป้อมสั้นในปลาขนาดใหญ่ ก้านครีบท้องมี 8-9 เส้น ครีบก้นยาว ปลาขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเงิน ด้านข้างลำตัวสีจางและมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำตามแนวยาวทั้งตอนบนและล่าง ปลาขนาดใหญ่มีสีเทาหรือคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีจาง มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ใหญ่สุด 1.5 เมตร พบในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ ทั่วประเทศไทย เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่ซึ่งมีการเพาะเลี้ยงกันมานานกว่า 50 ปี แล้ว โดยเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จในปี พ.ศ.
ปลาสวายหางเหลือง
ปลาสวายหางเหลือง เป็นปลาในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) พบในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อยของประเทศบังกลาเทศ, อินเดีย, พม่า และ ปากีสถาน และถูกนำเข้าสู่ประเทศกัมพูชา และเวียดนาม ปลามีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที.
ดู วงศ์ปลาสวายและปลาสวายหางเหลือง
ปลาสวายหนู
ปลาสวายหนู เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helicophagus waandersii อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีลักษณะหัวหลิม ตาเล็ก ขอบตามีแผ่นหนังคลุม จะงอยปากเรียว ปากเล็กกว่าปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ ริมฝีปากบางมีแผ่นหนังนิ่มหุ้ม รูจมูกอยู่ห่างกัน หนวดทั้ง 2 คู่ยาวถึงช่องเปิดเหงือก รูปร่างเพรียวแบนข้างเล็กน้อย ครีบก้นยาว ครีบไขมันยาว ลำตัวสีเทาอ่อนหรืออมฟ้า ด้านข้างลำตัวสีจางไม่มีแถบสี หัวและท้องสีจางอมชมพู ครีบสีจาง ปลาวัยอ่อนมีสีเทาอมชมพู มีขนาดประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใหญ่สุดประมาณ 60 เซนติเมตร อาหารกินแต่เฉพาะหอยขนาดเล็ก ทั้งหอยฝาเดียวและหอยฝาคู่ โดยมักหากินใกล้พื้นท้องน้ำ มักกินจุจนท้องป่อง แล้วถ่ายออกมาเฉพาะเปลือก อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ พบในแม่น้ำโขงและเจ้าพระยา ไม่พบในภาคใต้ของไทย แต่มีในมาเลเชียจนถึงเกาะสุมาตรา ในอินโดนีเชีย ในประเทศไทยบริโภคโดยการปรุงสุดและหมักสับปะรด (เค็มบักนัด) ปลาสวายหนู มีชื่อที่เรียกในภาษาถิ่นอีสานว่า "ยอนหนู" และ "หน้าหนู" ปัจจุบัน กรมประมงได้มีการศึกษาเอนไซน์ในระบบการย่อยอาหารของปลาสวายหนู เพื่อนำไปศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นการเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ต่อไป.
ปลาสังกะวัง
ปลาสังกะวัง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius polyuranodon ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีรูปร่างคล้ายปลาชนิดอื่นในวงศ์นี้ทั่วไป หากแต่มีหนวดยาวถึงหรือเลยครีบอก และครีบหางเป็นแผ่นหนาอย่างเห็นได้ชัด สีครีบทุกครีบออกเหลือง ส่วนหัวหลิมกลมและตำแหน่งตาอยู่ต่ำกว่ามุมปากคล้ายปลาบึก (Pangasianodon gigas) ขนาดยาวเต็มที่ประมาณ 50-80 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำโขงและปากแม่น้ำที่ติดกับทะเลที่เป็นน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำบางปะกง เป็นต้น มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า "ปลาสังกะวาดแวง" หรือ "ปลาชะแวง".
ปลาสังกะวาด
ปลาสังกะวาด หรือ ปลายอน เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหนังจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด โดยพบแล้วประมาณ 26 ชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Pangasius มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวลื่นไม่มีเกล็ด หัวโต ตามีขนาดเล็ก ปากกว้าง รูจมูกคู่หลังอยู่ใกล้รูจมูกคู่หน้ามากกว่านัยน์ตา และอยู่เหนือระดับขอบบนของลูกนัยน์ตา มีหนวด 2 คู่สั้นหรือยาวแล้วแต่ชนิด (ริมปากบน 1 คู่ และคาง 1 คู่) มีฟันที่กระดูกเพดานปากชิ้นกลางและชิ้นข้าง แต่ในบางชนิดอาจหดหายไปเมื่อปลามีอายุมากขึ้น รูปร่างอ้วนป้อม ครีบทั้งหมดโดยเฉพาะครีบหลังและครีบอกตั้งชี้ตรง และมีก้านแข็ง นัยน์ตาอยู่เหนือระดับมุมปากเล็กน้อย ท้องไม่เป็นสันคม ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 6 ก้าน มีขนาดรูปร่างที่แตกต่างออกไปตั้งแต่ 1 ฟุต ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร แต่โดยทั่วไปจะมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 1-1.5 เมตร เป็นปลาที่กินได้ทั้งเนื้อและพืชเป็นอาหาร รวมถึงซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยด้วย มีพฤติกรรมชอบอยู่เป็นฝูง ในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ พบตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ เป็นปลาที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเป็นปลาเศรษฐกิจ ใช้บริโภค ซึ่งมีการวิจัยพบว่าเนื้อปลาในสกุลนี้ มีสารโอเมกา 3 สูงกว่าปลาทะเลเสียอีก นอกจากนี้ยังใช้ตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในบางชนิด ในภาษาไทยจะเรียกปลาในสกุลนี้โดยรวมว่า "สวาย" ในปลาที่มีขนาดใหญ่ และในปลาที่มีขนาดเล็กมักจะเรียกรวม ๆ กันว่า "สังกะวาด" หรือ "สังกะวัง" ซึ่งซ้ำซ้อนกับปลาในวงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbeidae) สำหรับในภาษาอีสานจะเรียกว่า "ยอน" หรือ "ซวย" ในปัจจุบัน มีการผสมพันธุ์ข้ามชนิดและข้ามสกุลกัน จนได้เป็นลูกปลาพันธุ์ผสมชนิดใหม่ที่ให้ผลผลิตดี โดยใช้ชื่อในทางการค้าว่า "ปลามรกต" หรือ "เขียวมรกต" นิยมเลี้ยงกันมากโดยเฉพาะในภาคอีสานของไทย และในปัจจุบันนิยมทำเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อปลาสำเร็จรูป ในชื่อ "แพนกาเชียส ดอรี่" ปลาสวาย (''P.
ปลาสังกะวาดท้องคม
ปลาสังกะวาดท้องคม เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudolais pleurotaenia อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีลักษณะ หัวสั้น ตาโต ปากแคบ หนวดสั้น ลำตัวแบนข้างกว่าชนิดอื่น ๆ ท้องเป็นสันคมตลอด ปลาตัวผู้มักมีรูปร่างเพรียวยาวกว่าตัวเมีย ครีบท้องเล็กอยู่สูงกว่าระดับสันท้อง ครีบไขมันเล็ก ครีบก้นยาว ครีบหางเว้าเป็นแฉก ตัวด้านบนสีคล้ำเหลือบเขียวหรือเหลือง ข้างลำตัวสีจางมีแถบสีคล้ำตามยาวตั้งแต่บริเวณโคนครีบอก ท้องสีจาง ครีบหางสีเหลืองอ่อนขอบคล้ำ มีขนาดประมาณ 15-20 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 30 เซนติเมตร จัดว่าเป็นปลาขนาดเล็กเมื่อเทียบกับปลาชนิดอื่น ๆ ในวงศ์นี้ กินแมลงเป็นอาหารหลัก กินเมล็ดพืช ผลไม้ และพืชน้ำในบางครั้ง พบมากในแม่น้ำโขง, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำแม่กลอง พบน้อยในแม่น้ำตาปี เป็นปลาที่พบชุกชุม จึงเป็นปลาเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคอีสาน นิยมบริโภคเป็นปลาแห้งและปรุงสด มีชื่อเรียกเป็นภาษาถิ่นอีสานว่า "ปลายอนปีก" หรือ "ปลายอนหลังเขียว".
ดู วงศ์ปลาสวายและปลาสังกะวาดท้องคม
ปลาสายยู
ปลาสายยู (Club-barbel sheatfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) เป็นปลาไม่มีเกล็ด หัวเล็กมีสีแดงเรื่อ ๆ ปากเล็กอยู่ด้านล่าง มีหนวดสั้นเป็นติ่งขอใกล้จมูก คล้ายสายยูแม่กุญแจ อันเป็นที่มาของชื่อ ตาเล็กมาก ลำตัวแบนข้างมีสีชมพูหรือสีนวล ครีบมีขอบสีคล้ำ ครีบก้นยาวมาก มีลำตัวประมาณ 25 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 40 เซนติเมตร มีพฤติกรรมกระดิกหนวดอย่างรวดเร็วขณะว่ายน้ำ โดยภายในเวลา 1 นาที สามารถกระดิกหนวดได้ถึง 125 ครั้ง สันนิษฐานว่าเป็นการส่งสัญญาณหาอาหารตามท้องน้ำ โดยอาหารได้แก่ สัตว์หน้าดินต่าง ๆ กุ้ง, แมลงน้ำ เป็นต้น พบเพียงที่เดียวในโลกเท่านั้น คือ บริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกง ปัจจุบันมีสถานะเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤตในธรรมชาติ แต่ก็เป็นที่เสาะแสวงหาของนักเลี้ยงปลาด้วย โดยเป็นปลาที่มีราคาสูงมาก มีชื่อเรียกอื่นว่า "เกด" อนึ่ง ชื่อสายยู นี้เป็นชื่อที่เรียกซ้ำซ้อนกับปลาในหลายชนิด หลายสกุล เช่น ปลาในสกุล (Pangasius spp.) ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) หรือปลาหวีเกศ (Platytropius siamensis) ในวงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbedae) เป็นต้น.
ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง
ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง มีชนิดปลามากกว่า 200 ชนิด และเป็นปลาเฉพาะถิ่นและปลาท้องถิ่นประมาณ 20 ชนิด โดยปลาในลุ่มแม่น้ำนี้หลายชนิดซ้ำซ้อนกับปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ที่เป็นลุ่มแม่น้ำใกล้เคียง.
ดู วงศ์ปลาสวายและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง
ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง
แผนที่แสดงสาขาแม่น้ำโขง ปลาในลุ่มแม่น้ำโขงที่วางขายในตลาดสด ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง ในปัจจุบันนี้พบแล้วกว่า 1,200 ชนิด และคาดว่าอาจมีถึง 1,700 ชน.
ดู วงศ์ปลาสวายและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง
ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
้เฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาที่เดียวเท่านั้น ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นแม่น้ำหลักของประเทศอีกลุ่มแม่น้ำหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีการค้นพบปลาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้แล้วไม่ต่ำกว่า 350 ชนิด นับเป็นอันดับ 2 รองจากลุ่มแม่น้ำโขงหนังสือปลาไทยคืนถิ่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมประมง มีนาคม..
ดู วงศ์ปลาสวายและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ปลาฉลามน้ำจืด (แก้ความกำกวม)
ปลาฉลามน้ำจืด (freshwater shark) อาจหมายถึง.
ดู วงศ์ปลาสวายและปลาฉลามน้ำจืด (แก้ความกำกวม)
ปลาโมง
ปลาโมง (Snail eater pangasius) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius conchophilus อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pagasiidae) มีลักษณะคล้ายปลาเผาะ (P.
ปลาเผาะ
ปลาเผาะ (Vietnamese pangasius, basa fish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius bocourti อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีลักษณะส่วนหัวมนกลม ปากแคบ รูปร่างป้อม ท้องอูม ลำตัวตอนหน้าค่อนข้างกลม และแบนข้างเล็กน้อยที่ด้านท้าย ครีบไขมันเล็ก ปลาวัยอ่อนมีสีเทาเหลือบเหลืองหรือเขียวอ่อน ข้างลำตัวมีแถบคล้ำ ครีบอกมีแต้มสีจาง ปลาตัวเต็มวัยมีสีเทาอมน้ำตาลอ่อนหรือฟ้าอ่อน ท้องสีขาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำจาง มีขนาดประมาณ 60-80 เซนติเมตร ปลาวัยอ่อนกินแมลง ปลาตัวเต็มวัยกินพืชเป็นส่วนใหญ่ อาจกินแมลงและหอยบ้าง พบในแม่น้ำโขงถึงอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และในแม่น้ำเจ้าพระยาFroese, Rainer, and Daniel Pauly, eds.
ปลาเทพา
ปลาเทพา หรือที่ในภาษาอีสานเรียกว่า ปลาเลิม (Chao Phraya giant catfish) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius sanitwongsei อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) ชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาชนิดนี้ตั้งโดย ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ อธิบดีกรมประมงคนแรก เพื่อเป็นเกียรติแด่ ม.ร.ว.สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ ในฐานะที่เป็นผู้ผลักดันและบุกเบิกให้มีหน่วยงานทางด้านการศึกษาและจัดการสัตว์น้ำในประเทศ ซึ่งก็คือกรมประมงในปัจจุบัน.
ปลาเทโพ
ปลาเทโพ (Black ear catfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีส่วนหัวและจะงอยปากมน ปากอยู่ค่อนไปทางด้านล่าง รูปร่างป้อมสั้น ปลาขนาดใหญ่มีลำตัวส่วนท้องลึก ปลายครีบหลัง ครีบท้อง ครีบอก ครีบท้อง และครีบก้นยื่นเป็นเส้นยาวเรียว มีแต้มสีดำเห็นชัดเจนที่ฐานครีบอก ตัวมีสีเทาคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างมีสีเทาจาง ด้านท้องสีจางอมชมพู ครีบสีจาง ครีบก้นมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบหางมีแถบสีคล้ำทั้งตอนบนและตอนล่าง มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1.5 เมตร ปลาขนาดเล็กกินแมลง ปลาขนาดใหญ่กินพืช เช่น ผลไม้, เมล็ดพืช, ปลา, หอย, แมลง ตลอดจนถึงซากสัตว์ อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่และสาขาทั่วประเทศ โดยมักรวมฝูงกับปลาสวาย (P.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Pangasiidaeวงศ์ปลาสวาย, ปลาสังกะวาด