โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)

ดัชนี ปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)

ำหรับปลาข้าวเม่าที่มีลำตัวใส ดูที่: ปลาข้าวเม่า ปลาข้าวเม่า เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่อยู่ในสกุล Chela (/เคล-อา/) ในวงศ์ปลาตะเพียน จัดเป็นปลาซิวหรือปลาแปบจำพวกหนึ่ง มีลำตัวยาวไม่เกิน 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในลำธารและบ่อน้ำขนาดเล็ก ๆ ลำตัวแบนข้างมาก ส่วนท้องที่อยู่ระหว่างคางจนถึงครีบท้องแบนเป็นสัน ปากเล็กและเฉียงขึ้นบน เส้นข้างลำตัวอยู่ต่ำและโค้งขนานไปกับแนวท้อง ปลายเส้นข้างลำตัวไปสิ้นสุดลงที่ครึ่งล่างของโคนหาง ครีบก้นมีฐานครีบยาวกว่าฐานของครีบหลัง ครีบอกใหญ่ ยาวและปลายครีบแหลม ครีบท้องมีก้านครีบยื่นออกเป็นเส้นเดี่ยวและครีบหางมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ปลายแยกเป็นแฉกลึก เดิมทีปลาในสกุลนี้เคยมีประชากรมากกว่านี้ แต่ปัจจุบันได้แยกออกไปเป็นสกุลต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะในสกุล Laubuka หรือปลาซิวหัวตะกั่ว จึงเหลือเพียง 2 ชนิดเท่านั้น.

6 ความสัมพันธ์: วงศ์ย่อยปลาซิวปลาบาร์บปลาข้าวเม่าปลาซิวหัวตะกั่วปลาแปบปลาแปบขาว

วงศ์ย่อยปลาซิว

วงศ์ย่อยปลาซิว (Danionin) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ซึ่งถือเป็นวงศ์ใหญ่ มีสมาชิกต่าง ๆ ในวงศ์นี้ทั่วโลกมากกว่า 2,000 ชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Danioninae ปลาในวงศ์ย่อยนี้ มักมีขนาดเล็ก โดยเรียกในชื่อสามัญว่า ปลาซิว หรือ ปลาแปบ มีลักษณะโดยทั่วไป คือ ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีเงิน สันท้องกลมไม่เป็นสัน หรือบางชนิดสันท้องคม ส่วนหัวมักอยู่ในแนวเฉียงกับลำตัว ส่วนใหญ่มีปมที่ปลายของขากรรไกรล่าง หรือบางชนิดไม่มี ปากเฉียงขึ้นหรืออยู่ในตำแหน่งตรง มีฟันในหลอดคอ 1-3 แถว ก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังไม่แข็ง ปกติมีจำนวนก้านครีบที่แตกปลาย 7 ก้าน มักอยู่ในตำแหน่งทางด้านท้ายของลำตัวหรือหลังจุดเริ่มต้นของครีบท้อง บางชนิดไม่มีหนวด บางชนิดมีหนวด มีซอกเกล็ดเฉพาะที่ฐานของครีบท้อง เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์โค้งลงทางด้านล่างและสิ้นสุดต่ำกว่ากึ่งกลางคอดหาง ตามข้อมูลของมหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดให้ปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้มีทั้งหมด 30 สกุล (ดูในตาราง) แต่ตามข้อมูลของผู้ช่วยศาสตราจารย์ อภินันท์ สุวรรณรักษ์ แห่งคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดให้มีสกุลเพิ่มเติมขึ้นมาอีก ซึ่งเป็นปลาที่สามารถพบได้ในประเทศไทย ได้แก่ Aaptosyax, Aspidoparia, Boraras, Brachydanio, Leptobarbus, Macrochirichthys, Opsariichthys, Oxygaster และThryssocypris ทั้งนี้เนื่องจากจำนวนวงศ์ย่อยของปลาในวงศ์ปลาตะเพียนนี้ ยังไม่มีข้อยุติแน่นอน โดยนักมีนวิทยาและนักอนุกรมวิธานในแต่ละท่าน ก็จะจัดแตกต่างกันออกไป เช่น วอลเตอร์ เรนโบธ ได้แบ่งวงศ์ย่อยออกเป็นทั้งสิ้น 4 วงศ์ย่อย เมื่อปี ค.ศ. 1996 ได้แก่ Alburninnae, Danioninae, Leuciscinae และCyprininae เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)และวงศ์ย่อยปลาซิว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาบาร์บ

ปลาบาร์บ (Barb) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดหลายชนิด ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสกุล Barbus และPuntius โดยในอดีตถูกเรียกรวมกันในวงศ์ย่อย Barbinae โดยที่อาจมีบางวงศ์ย่อยได้ถูกยกให้ออกไปเป็นวงศ์ต่างหาก เช่น Labeoninae และปลาขนาดเล็กหลายชนิดในทวีปแอฟริกาอาจได้รับการจำแนกออกเป็นวงศ์ย่อยใหม่ รากศัพท์คำว่า "barb" เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกปลาทั่วไปในวงศ์ปลาตะเพียนในภาษายุโรป มาจากภาษาละตินคำว่า barba ที่แปลว่า "เครา" หรือ "หนวด" โดยอ้างอิงมาจากหนวดของปลาที่ปรากฏอยู่ที่มุมปากในหลายชน.

ใหม่!!: ปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)และปลาบาร์บ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาข้าวเม่า

ำหรับปลาข้าวเม่าที่เป็นปลาซิวหรือปลาแปบ ดูที่: ปลาข้าวเม่า (ปลาซิว) ปลาข้าวเม่า (Asian glassfish) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาแป้นแก้ว (Ambassidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Parambassis (/พา-แรม-บาส-ซิส/) ปลาในสกุลนี้มีเกล็ดค่อนข้างเล็ก มีเกล็ดบนเส้นข้างลำตัวประมาณ 40-60 แถว บนกระดูกแก้มมีเกล็ด 4-7 แถว ไม่มีฟันที่ปลายลิ้น กระดูกแก้ม 2 ชิ้นที่อยู่ใกล้ตามีขอบจักเป็นฟันเลื่อย ลำตัวบางใส ครีบทุกครีบใส ในบางชนิดอาจมีตัวเป็นสีสันต่าง ๆ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง กิน แมลงและแพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์น้ำขนาดเล็กรวมทั้งตะไคร่น้ำเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงอินโดนีเซีย และออสเตรเลีย มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 2-7 เซนติเมตร โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด พบในออสเตรเลีย คือ P. gulliveri ที่มีขนาดใหญ่ได้ถึงเกือบ 30 เซนติเมตร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่น ซึ่งชาวประมงจะนิยมจับกันในเวลากลางคืน โดยใช้แสงไฟจากนีออนล่อให้ขึ้นมากินแมลงที่มาเล่นไฟเหนือน้ำ โดยจะจับได้ทีละมาก ๆ โดยในภาษาไทยจะเรียกปลาในสกุลนี้รวม ๆ กันว่า "แป้น", "แป้นแก้ว", "แว่น", "คับข้อง" หรือ "ขี้ร่วง" ในบางท้องถิ่น.

ใหม่!!: ปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)และปลาข้าวเม่า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวหัวตะกั่ว

ำหรับปลาในวงศ์อื่น ดูที่: ปลาหัวตะกั่ว ปลาซิวหัวตะกั่ว หรือ ปลาท้องพลุ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกปลาท้องพลุหรือปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Laubuka (/ลอ-บู-คา/) จัดเป็นปลาซิวขนาดกลาง มีลักษณะทั่วไปคือ ลำตัวแบนข้าง สีลำตัวทั่วไปเป็นสีเงินขาว มีลักษณะเด่น คือ มีส่วนท้องที่ลึกและกว้างเหมือนอ้วนหรือท้องป่อง เมื่อจับขึ้นมาแล้ว ส่วนท้องจะแตกได้ง่าย อีกทั้งมีจุดสีเงินเข้มที่ส่วนหัว แลดูคล้ายปลาหัวตะกั่ว จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีเส้นข้างลำตัวที่สมบูรณ์ มีก้านครีบท้องยื่นยาวลงมาเป็นเส้นเดี่ยว เดิมทีปลาในสกุลนี้ถูกจัดให้อยู่ในสกุล Chela มีพฤติกรรมรวมฝูงเป็นฝูงเล็ก ๆ กินแมลงที่ตกลงน้ำเป็นอาหารหลัก โดยมีปากที่เชิดขึ้นด้านบน นอกจากนี้แล้วเมื่อตกใจจะสามารถกระโดดขึ้นขนานไปกับผิวน้ำได้เหมือนปลาขวานบิน ซึ่งเป็นปลาในกลุ่มปลาคาราซิน พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียอาคเนย์จนถึงแหลมมลายูและหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซียซึ่งพบได้ในทวีปอเมริกาใต้ในประเทศไทยจะพบได้ 2 ชน.

ใหม่!!: ปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)และปลาซิวหัวตะกั่ว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแปบ

ปลาแปบขาวหางดำ (''Oxygaster anomalura'') เป็นปลาแปบชนิดหนึ่งในสกุล ''Oxygaster'' ปลาแปบ หรือ ปลาท้องพลุ (Abramine, Sword minnow) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในวงศ์ย่อย CultrinaeBànàrescu, P.M. 1971: Further studies on the systematics of Cultrinae with reidentification of 44 type specimens (Pisces, Cyprinidae).

ใหม่!!: ปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)และปลาแปบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแปบขาว

ปลาแปบขาว เป็นปลาน้ำจืดในสกุล Oxygaster (/อ็อก-ซี-แกส-เตอร์/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาจำพวกปลาแปบ เดิมเคยถูกจัดให้อยู่ในสกุล Chela โดยมี โยฮัน คอนราด ฟัน ฮัสเซลต์ นักมีนวิทยาชาวดัตช์ เป็นผู้อนุกรมวิธาน โดยใช้ลักษณะของเกล็ดแถวที่อยู่หน้าครีบหลังเลยเข้ามาถึงระหว่างนัยน์ตาเป็นลักษณะสำคัญ ส่วนที่มีลักษณะรองลงมา คือ ท้องแบนเป็นสันคม ปลายปากล่างมีปุ่มกระดูก ครีบอกอยู่ในแนวระดับเดียวกับท้อง จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ด้านหน้าจุดเริ่มต้นของครีบก้น เกล็ดตามแนวบนเส้นข้างลำตัวมีประมาณ 43-60 แถว จำแนกออกได้เป็น 2 ชนิด พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแม่น้ำลำคลอง รวมถึงป่าพรุในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: ปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)และปลาแปบขาว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Chela

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »