โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ย่อยปลาซิว

ดัชนี วงศ์ย่อยปลาซิว

วงศ์ย่อยปลาซิว (Danionin) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ซึ่งถือเป็นวงศ์ใหญ่ มีสมาชิกต่าง ๆ ในวงศ์นี้ทั่วโลกมากกว่า 2,000 ชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Danioninae ปลาในวงศ์ย่อยนี้ มักมีขนาดเล็ก โดยเรียกในชื่อสามัญว่า ปลาซิว หรือ ปลาแปบ มีลักษณะโดยทั่วไป คือ ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีเงิน สันท้องกลมไม่เป็นสัน หรือบางชนิดสันท้องคม ส่วนหัวมักอยู่ในแนวเฉียงกับลำตัว ส่วนใหญ่มีปมที่ปลายของขากรรไกรล่าง หรือบางชนิดไม่มี ปากเฉียงขึ้นหรืออยู่ในตำแหน่งตรง มีฟันในหลอดคอ 1-3 แถว ก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังไม่แข็ง ปกติมีจำนวนก้านครีบที่แตกปลาย 7 ก้าน มักอยู่ในตำแหน่งทางด้านท้ายของลำตัวหรือหลังจุดเริ่มต้นของครีบท้อง บางชนิดไม่มีหนวด บางชนิดมีหนวด มีซอกเกล็ดเฉพาะที่ฐานของครีบท้อง เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์โค้งลงทางด้านล่างและสิ้นสุดต่ำกว่ากึ่งกลางคอดหาง ตามข้อมูลของมหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดให้ปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้มีทั้งหมด 30 สกุล (ดูในตาราง) แต่ตามข้อมูลของผู้ช่วยศาสตราจารย์ อภินันท์ สุวรรณรักษ์ แห่งคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดให้มีสกุลเพิ่มเติมขึ้นมาอีก ซึ่งเป็นปลาที่สามารถพบได้ในประเทศไทย ได้แก่ Aaptosyax, Aspidoparia, Boraras, Brachydanio, Leptobarbus, Macrochirichthys, Opsariichthys, Oxygaster และThryssocypris ทั้งนี้เนื่องจากจำนวนวงศ์ย่อยของปลาในวงศ์ปลาตะเพียนนี้ ยังไม่มีข้อยุติแน่นอน โดยนักมีนวิทยาและนักอนุกรมวิธานในแต่ละท่าน ก็จะจัดแตกต่างกันออกไป เช่น วอลเตอร์ เรนโบธ ได้แบ่งวงศ์ย่อยออกเป็นทั้งสิ้น 4 วงศ์ย่อย เมื่อปี ค.ศ. 1996 ได้แก่ Alburninnae, Danioninae, Leuciscinae และCyprininae เป็นต้น.

20 ความสัมพันธ์: วงศ์ย่อยปลาซิววงศ์ปลาตะเพียนสกุลรัสบอร่าปลาฝักพร้าปลาสะนากยักษ์ปลาอ้ายอ้าวปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)ปลาดอกหมาก (น้ำจืด)ปลาคาร์ปเลตปลาซาร์ดีนทะเลสาบปลาซิวหัวตะกั่วปลาซิวหัวตะกั่วอินเดียปลาซิวหนวดยาวปลาซิวหนวดยาว (สกุล)ปลาซิวอ้าวปลาซิวตาเขียวปลาซิวใบไผ่ปลาซิวใบไผ่ยักษ์ปลานางอ้าวปลาน้ำหมึกยักษ์

วงศ์ย่อยปลาซิว

วงศ์ย่อยปลาซิว (Danionin) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ซึ่งถือเป็นวงศ์ใหญ่ มีสมาชิกต่าง ๆ ในวงศ์นี้ทั่วโลกมากกว่า 2,000 ชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Danioninae ปลาในวงศ์ย่อยนี้ มักมีขนาดเล็ก โดยเรียกในชื่อสามัญว่า ปลาซิว หรือ ปลาแปบ มีลักษณะโดยทั่วไป คือ ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีเงิน สันท้องกลมไม่เป็นสัน หรือบางชนิดสันท้องคม ส่วนหัวมักอยู่ในแนวเฉียงกับลำตัว ส่วนใหญ่มีปมที่ปลายของขากรรไกรล่าง หรือบางชนิดไม่มี ปากเฉียงขึ้นหรืออยู่ในตำแหน่งตรง มีฟันในหลอดคอ 1-3 แถว ก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังไม่แข็ง ปกติมีจำนวนก้านครีบที่แตกปลาย 7 ก้าน มักอยู่ในตำแหน่งทางด้านท้ายของลำตัวหรือหลังจุดเริ่มต้นของครีบท้อง บางชนิดไม่มีหนวด บางชนิดมีหนวด มีซอกเกล็ดเฉพาะที่ฐานของครีบท้อง เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์โค้งลงทางด้านล่างและสิ้นสุดต่ำกว่ากึ่งกลางคอดหาง ตามข้อมูลของมหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดให้ปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้มีทั้งหมด 30 สกุล (ดูในตาราง) แต่ตามข้อมูลของผู้ช่วยศาสตราจารย์ อภินันท์ สุวรรณรักษ์ แห่งคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดให้มีสกุลเพิ่มเติมขึ้นมาอีก ซึ่งเป็นปลาที่สามารถพบได้ในประเทศไทย ได้แก่ Aaptosyax, Aspidoparia, Boraras, Brachydanio, Leptobarbus, Macrochirichthys, Opsariichthys, Oxygaster และThryssocypris ทั้งนี้เนื่องจากจำนวนวงศ์ย่อยของปลาในวงศ์ปลาตะเพียนนี้ ยังไม่มีข้อยุติแน่นอน โดยนักมีนวิทยาและนักอนุกรมวิธานในแต่ละท่าน ก็จะจัดแตกต่างกันออกไป เช่น วอลเตอร์ เรนโบธ ได้แบ่งวงศ์ย่อยออกเป็นทั้งสิ้น 4 วงศ์ย่อย เมื่อปี ค.ศ. 1996 ได้แก่ Alburninnae, Danioninae, Leuciscinae และCyprininae เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและวงศ์ย่อยปลาซิว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะเพียน

วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชน.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

สกุลรัสบอร่า

กุลรัสบอร่า เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ซึ่งตั้งชื่อโดย ปีเตอร์ บลีกเกอร์ ในปี ค.ศ. 1859 ใช้ชื่อสกุลว่า Rasbora (/รัส-บอ-รา/) มีลักษณะโดยรวม คือ ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้าน และก้านครีบแขนง 7 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน ปากแคบ มีปุ่มในปากล่าง ไม่มีหนวด และจุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่กึ่งกลางลำตัว มีการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำของทวีปแอฟริกา, ทวีปเอเชีย พบตั้งแต่เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเอเชียตะวันออก มีสมาชิกในสกุลนี้จำนวนมาก โดยในประเทศไทยจะเรียกปลาในสกุลนี้รวม ๆ กันว่า "ปลาซิว" มีอยู่หลายชนิด สำหรับในประเทศไทย ปลาที่ได้ชื่อว่าปลาซิว คือ ปลาที่อยู่ในสกุลนี้มากที่สุด มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการใช้บริโภคกันในท้องถิ่นและการเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม โดยอาจเรียกทับศัพท์ตามชื่อวิทยาศาสตร์ไปว่า รัสบอร่า โดยรวบรวมปลาได้จากการจับทีละมาก ๆ จากธรรมชาติและเพาะขยายพันธุ์ได้เองในที่เลี้ยง อีกทั้งยังถือเป็นห่วงโซ่อาหารเบื้องต้นตามธรรมชาติอีกด้วย เนื่องจากปลาในสกุลนี้มีขนาดเล็กและกินพืชเป็นอาหาร จึงมักตกเป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำขนาดใหญ่กว่าเสมอ แต่ในปัจจุบัน ได้มีการแบ่งแยกเป็นสกุลใหม่ ได้แก่ Kottelatia 1 ชนิด, Boraras 5 ชนิด, Breviora 2 ชนิด, Microrasbora 7 ชนิด และ Trigonostigma 4 ชน.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและสกุลรัสบอร่า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฝักพร้า

วามหมายอื่น: สำหรับปลาชนิดอื่นที่เป็นปลาน้ำเค็ม ดูได้ที่ ปลาดาบลาว ปลาฝักพร้า (Freshwater wolf herring, Sword minnow, Long pectoral-fin minnow; カショーロバルブ) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะลำตัวยาวและแบนข้างคล้ายมีดดาบ ท้องเป็นสันแคบ ตาโต ปากกว้างเฉียงขึ้นด้านบน ปลายปากล่างโค้งเข้าเล็กน้อยคล้ายตะขอ ลำตัวสีเงินวาว ครีบใส ครีบอกใหญ่และยาวแหลม ครีบท้องและครีบหลังเล็ก แต่ครีบก้นมีฐานครีบยาว ครีบหางเว้าลึกและปลายมน โคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ ขนาดประมาณ 20-60 เซนติเมตร จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Macrochirichthys เป็นปลาล่าเหยื่อ มักหากินบริเวณใกล้ผิวน้ำ เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็วมาก อาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็กจำพวกปลาซิวและแมลง พบในแหล่งน้ำหลากและแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลาง, ภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง ในภาคใต้พบเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกเท่านั้น และพบได้จนถึงประเทศอินโดนีเซีย เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำสะอาด ปัจจุบันอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ เพราะสภาพแวดล้อมที่อยู่ถูกทำลายไปประกอบกับปริมาณปลาที่พบในธรรมชาติมีน้อยมาก จึงไม่ทำให้เป็นที่นิยมในการประมง ปลาฝักพร้า ยังมีชื่อเรียกอื่นที่เรียกต่างออกไป เช่น "ปลาท้องพลุ", "ปลาดาบลาว", "ปลาดาบญวน", "ปลาโกร๋ม" เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาฝักพร้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสะนากยักษ์

ปลาสะนากยักษ์ (Giant salmon carp, Mekong giant salmon carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aaptosyax grypus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Danioninae.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาสะนากยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอ้ายอ้าว

ปลาอ้ายอ้าว หรือ ปลาซิวอ้าว หรือ ปลาซิวควาย (Apollo sharks) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Luciosoma (/ลิว-ซิ-โอ-โซ-มา/) มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวเพรียวยาวคล้ายแท่งดินสอ ไม่มีเข็มก้านครีบแรก มีก้านครีบอ่อน 7 ก้าน ก้านครีบก้นมี 6 ก้านครีบ ปากกว้างโดยที่มุมปากยื่นยาวไปจนอยู่ในระดับใต้ตา ครีบหลังอยู่ในส่วนครึ่งหลังของลำตัว มีจุดเด่นคือ มีลายแถบสีดำข้างลำตัว ซึ่งแตกต่างออกไปตามชนิด ขนาดโดยเฉลี่ย โตเต็มที่ประมาณ 25-30 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ กินอาหารโดยล่าปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร รวมถึงแมลงด้วย พบกระจายพันธุ์ในประเทศไทย, ลาว, กัมพูชา จนถึงเกาะบอร์เนียวและเกาะชวา พบด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาอ้ายอ้าว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)

ำหรับปลาข้าวเม่าที่มีลำตัวใส ดูที่: ปลาข้าวเม่า ปลาข้าวเม่า เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่อยู่ในสกุล Chela (/เคล-อา/) ในวงศ์ปลาตะเพียน จัดเป็นปลาซิวหรือปลาแปบจำพวกหนึ่ง มีลำตัวยาวไม่เกิน 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในลำธารและบ่อน้ำขนาดเล็ก ๆ ลำตัวแบนข้างมาก ส่วนท้องที่อยู่ระหว่างคางจนถึงครีบท้องแบนเป็นสัน ปากเล็กและเฉียงขึ้นบน เส้นข้างลำตัวอยู่ต่ำและโค้งขนานไปกับแนวท้อง ปลายเส้นข้างลำตัวไปสิ้นสุดลงที่ครึ่งล่างของโคนหาง ครีบก้นมีฐานครีบยาวกว่าฐานของครีบหลัง ครีบอกใหญ่ ยาวและปลายครีบแหลม ครีบท้องมีก้านครีบยื่นออกเป็นเส้นเดี่ยวและครีบหางมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ปลายแยกเป็นแฉกลึก เดิมทีปลาในสกุลนี้เคยมีประชากรมากกว่านี้ แต่ปัจจุบันได้แยกออกไปเป็นสกุลต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะในสกุล Laubuka หรือปลาซิวหัวตะกั่ว จึงเหลือเพียง 2 ชนิดเท่านั้น.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาข้าวเม่า (ปลาซิว) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดอกหมาก (น้ำจืด)

ำหรับปลาดอกหมากที่เป็นปลาทะเล ดูที่: ปลาดอกหมาก ปลาดอกหมาก หรือ ปลาน้ำหมึก เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Barilius ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะโดยรวม คือ ลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย มีหนวดสั้น ๆ หรือไม่มี แต่ก็มีจุดสีดำหรือนํ้าตาลบนพื้นลำตัวสีเงินกระจายอยู่ข้างตัว อาศัยอยู่เป็นฝูงตามต้นนํ้าลำธาร เป็นปลาที่มีความคล่องแคล่วว่องไวมาก เป็นปลาที่มีความใกล้ชิดและคล้ายคลึงกับปลาในสกุล Opsarius มาก โดยเคยจัดอยู่ในสกุลเดียวกัน ก่อนที่จะแยกออกมาต่างหาก.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาดอกหมาก (น้ำจืด) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาคาร์ปเลต

ปลาคาร์ปเลต (Carplet) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ในสกุล Amblypharyngodon จัดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาซิวจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดียและเมียนมา ในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว โดยที่ชื่อสกุลนั้นมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า ἀμβλύς (amblús) หมายถึง "ทื่อ", φάρυξ (pháruks) หมายถึง "ลำคอ" และ ὀδών (odṓn) หมายถึง "ฟัน" โดยมีความหมายถึง รูปร่างที่แบนหรือเว้าของฟันในปลาสกุลนี้.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาคาร์ปเลต · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซาร์ดีนทะเลสาบ

ปลาซาร์ดีนทะเลสาบ หรือ ปลาซาร์ดีนทะเลสาบมาลาวี (lake sardine, Lake Malawi sardine; ชื่อพื้นเมือง: อูซีปา, usipa) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง พบในทวีปแอฟริกา ปลาซาร์ดีนทะเลสาบมีรูปร่างคล้ายกับปลาซาร์ดีนแต่ไม่ใช่ปลาซาร์ดีน หากแต่เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โดยเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Engraulicypris ปลาซาร์ดีนทะเลสาบมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่พบได้เฉพาะทางตอนเหนือของทะเลสาบมาลาวีซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศมาลาวี, โมซัมบิก และแทนซาเนีย รวมถึงแม่น้ำชีเร (Shire) เท่านั้น เป็นปลาที่กินแพลงก์ตอนสัตว์ รวมถึงตัวอ่อนของแมลงจำพวกริ้น (ที่รวมตัววางไข่เป็นจำนวนนับหลายล้านตัวจนเป็นปรากฏการณ์เหมือนหมู่เมฆหรือพายุลอยเหนือผิวน้ำในทะเลสาบ) เป็นอาหาร ปลาซาร์ดีนทะเลสาบเป็นปลาเศรษฐกิจสำคัญของทะเลสาบมาลาวี เป็นแหล่งโปรตีนสำหรับประชากรถึง 20 ล้านคนรอบ ๆ ทะเลสาบ ชาวประมงท้องถิ่นจะรวมตัวกันจับด้วยเรือโกลนในคืนเดือนมืด ด้วยการใช้ไฟจากตะเกียงเป็นตัวล่อ แบ่งระหว่างเรือใหญ่ 2 ลำ แผ่อวนออกไปเป็นวงกลม เรือที่อยู่ตรงกลางจะจุดตะเกียงเพื่อดึงดูดปลาขึ้นสู่ผิวน้ำ จากนั้นจึงสาวอวนขึ้นมา ปริมาณการจับ จับได้ครั้งละ 2–3 กิโลกรัม แต่สามารถจับได้มากกว่า 10 รอบก่อนรุ่งสาง นิยมนำไปแปรรูปเป็นปลาตากแห้งซึ่งสามารถเก็บไว้นานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เนื่องจากความร้อนของอุณหภูมิในพื้นที่ทำให้ปลาไม่สด และก่อนจะกลับถึงฝั่ง ชาวประมงท้องถิ่นก็นิยมย่างปลาซาร์ดีนทะเลสาบเป็นอาหารเช้าอีกด้ว.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาซาร์ดีนทะเลสาบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวหัวตะกั่ว

ำหรับปลาในวงศ์อื่น ดูที่: ปลาหัวตะกั่ว ปลาซิวหัวตะกั่ว หรือ ปลาท้องพลุ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกปลาท้องพลุหรือปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Laubuka (/ลอ-บู-คา/) จัดเป็นปลาซิวขนาดกลาง มีลักษณะทั่วไปคือ ลำตัวแบนข้าง สีลำตัวทั่วไปเป็นสีเงินขาว มีลักษณะเด่น คือ มีส่วนท้องที่ลึกและกว้างเหมือนอ้วนหรือท้องป่อง เมื่อจับขึ้นมาแล้ว ส่วนท้องจะแตกได้ง่าย อีกทั้งมีจุดสีเงินเข้มที่ส่วนหัว แลดูคล้ายปลาหัวตะกั่ว จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีเส้นข้างลำตัวที่สมบูรณ์ มีก้านครีบท้องยื่นยาวลงมาเป็นเส้นเดี่ยว เดิมทีปลาในสกุลนี้ถูกจัดให้อยู่ในสกุล Chela มีพฤติกรรมรวมฝูงเป็นฝูงเล็ก ๆ กินแมลงที่ตกลงน้ำเป็นอาหารหลัก โดยมีปากที่เชิดขึ้นด้านบน นอกจากนี้แล้วเมื่อตกใจจะสามารถกระโดดขึ้นขนานไปกับผิวน้ำได้เหมือนปลาขวานบิน ซึ่งเป็นปลาในกลุ่มปลาคาราซิน พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียอาคเนย์จนถึงแหลมมลายูและหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซียซึ่งพบได้ในทวีปอเมริกาใต้ในประเทศไทยจะพบได้ 2 ชน.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาซิวหัวตะกั่ว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวหัวตะกั่วอินเดีย

ปลาซิวหัวตะกั่วอินเดีย (Indian glass barb, Indian hatchetfish) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิวและปลาท้องพลุ ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวรูปร่างกว้าง แบนข้างจนริมท้องเป็นสัน ช่วงท้องลึก มีครีบอกแหลมยาว ก้านครีบของครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้นเดี่ยว เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ ลำตัวมีลักษณะโปร่งแสงเป็นสีเงินแกมเขียวแววาวสะท้อนแสง มีจุดเด่นคือมีลายเส้นจุดสีน้ำเงินเข้มยาวตั้งแต่ฐานครีบอกไปจนถึงฐานของครีบหาง ด้านหลังของลำตัวจะมีสีเข้ม ครีบต่าง ๆ มีสีเหลืองอ่อนหรือสีส้มปนน้ำตาล มีความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะต่าง ๆ สำหรับในประเทศไทยจะพบได้ที่ แหล่งน้ำทางภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ที่มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ขึ้นครึ้ม กินแมลงที่ตกลงน้ำเป็นอาหารหลัก เมื่อตกใจสามารถที่จะกระโดดเหินขนานไปกับผิวน้ำได้เป็นระยะทางสั้น ๆ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาแปบ" หรือ "ปลาท้องพลุ".

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาซิวหัวตะกั่วอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวหนวดยาว

ปลาซิวหนวดยาว (Flying barb, Striped flying barb) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกปลาซิว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Esomus metallicus ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวยาวทรงกระบอก แบนข้าง นัยน์ตาโต ครีบหลังและครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบอกมีขนาดใหญ่ปลายแหลม ครีบหางปลายแยกเป็นแฉกลึก มีหนวดที่มุมปากยาวมากหนึ่งคู่เห็นได้ชัดเจน มีแถบสีดำยาวตามลำตัวจากหลังตาจรดปลายหาง มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 7.2 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแม่น้ำ หนอง คลอง บึง ทั่วทุกภาคของประเทศไทย รวมถึงนาข้าวหรือตามท้องร่องสวนผลไม้ต่าง ๆ ด้วย ในต่างประเทศพบได้จนถึงแหลมมลายู เป็นปลาที่ใช้บริโภคเป็นอาหารในพื้นที่ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาซิวหนวดยาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวหนวดยาว (สกุล)

ปลาซิวหนวดยาว (Flying barb) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กในจำพวกปลาซิวจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชิ่อสกุลว่า Esomus (/อี-โซ-มัส/) มีลำตัวโดยรวมค่อนข้างยาว แบนข้าง แนวสันหัวตั้งแต่ปลายจะงอยปากจนถึงท้ายทอยหลังเป็นเส้นตรง ถัดไปเป็นส่วนสันหลังจะโค้งนูนขึ้นไม่มากนัก ปากแคบและเฉียงขึ้น ขากรรไกรล่างไม่มีปุ่มตรงกลาง มีหนวดสองคู่ คู่ที่ริมฝีปากบนสั้น แต่คู่ที่ริมฝีปากล่างยาวมากจนเห็นได้ชัด อันเป็นที่มาขอชื่อเรียก ซึ่งบางชนิดยาวถึงฐานครีบก้น ครีบหลังสั้นอยู่ค่อนไปทางหาง มีก้านครีบแขนงห้าก้าน เกล็ดมีขนาดปานกลาง เส้นข้างลำตัวอยู่ต่ำใกล้กับท้องและยาวไปจนสิ้นสุดที่ปลายหางส่วนล่าง มีฟันที่ลำคอหนึ่งแถว มีทั้งหมดห้าซี่ มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนและแมลงน้ำบริเวณผิวน้ำ มีขนาดลำตัวยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 5-7 เซนติเมตร นิยมใช้บริโภคกันในพื้นที่ และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาซิวหนวดยาว (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวอ้าว

ำหรับปลานางอ้าวชนิดอื่น ดูได้ที่ ปลาน้ำหมึก และปลาสะนาก ปลาซิวอ้าว (Apollo shark) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luciosoma bleekeri อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Danioninae มีรูปร่างค่อนข้างเพรียว ลำตัวค่อนข้างกลม ส่วนหัวและจะงอยปากยื่นยาว ปากกว้าง ไม่มีหนวด ตาโต เกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ด้านหลังสีคล้ำ มีแถบสีดำพาดตามแนวยาวของลำตัวตั้งแต่ตาไปจนถึงโคนหาง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร มักอาศัยเป็นฝูงเล็ก ๆ หากินใกล้ผิวน้ำ กินปลาเล็กและแมลงเป็นอาหาร ส่วนมากพบในแม่น้ำ ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองจนถึงแม่น้ำโขง มักบริโภคโดยการปรุงสด และทำปลาร้า และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ปลาซิวอ้าว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลานางอ้าว" หรือ "ปลาอ้ายอ้าว" หรือ "ปลาซิวควาย" เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาซิวอ้าว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวตาเขียว

ปลาซิวตาเขียว หรือ ปลาซิวเขียว (Yellow neon rasbora, Green neon rasboara) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวสั้นและแบนข้างมากกว่าปลาซิวทั่ว ๆ ไป ตามีขนาดกลมโต ไม่มีหนวด เกล็ดมีขนาดเล็กสีเงินแววาวอมเหลืองอ่อน ตามีสีเหลือบเขียวอ่อน ลำตัวค่อนข้างใส ครีบใส ครีบหางมีขอบสีคล้ำ มีขนาดโดยทั่วไป 2-3 เซนติเมตร มีพฤติกรรมรวมตัวกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ใกล้กับบริเวณผิวน้ำ โดยพบได้เฉพาะในลำธารในป่าดิบ ในบริเวณที่เป็นคุ้งน้ำใส เดิมทีเคยพบได้เฉพาะในพื้นที่จังหวัดระนองและตลอดจนภาคใต้ฝั่งอันดามันของไทย แต่ปัจจุบันได้มีการนำไปปล่อยในแม่น้ำแควน้อย, แม่น้ำซองกาเลีย และแม่น้ำกษัตริย์ อันเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างไทยกับพม่า ในแถบจังหวัดตากและกาญจนบุรี ซึ่งปลาสามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ได้และขยายเผ่าพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาซิวตาเขียว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวใบไผ่

ปลาซิวใบไผ่ หรือ ปลาจุกกี (ภาษาใต้) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Danio (/แดน-อิ-โอ/) จัดเป็นปลาซิวสกุลหนึ่ง ปลาในสกุลนี้ มีลักษณะสำคัญ คือ เป็นปลาขนาดเล็กที่มักอาศัยอยู่ตามน้ำตกและลำธารที่มีกระแสน้ำไหลแรง มีลำตัวที่สั้นและแบนข้าง เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ ช่วงท้องกลม บริเวณหน้านัยน์ตามีกระดูกที่เป็นเงี่ยงแหลม 1 ชิ้น ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 11-15 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 11-18 ก้าน มีหนวดสั้นหรือบางชนิดไม่มี มีด้วยกันหลายชนิด พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, ภูมิภาคอินโดจีน, แหลมมลายู จนถึงเกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซี.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาซิวใบไผ่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวใบไผ่ยักษ์

ปลาซิวใบไผ่ยักษ์ (Giant danio) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง จำพวกปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Devario (/เด-วา-ริ-โอ/) ปลาซิวในสกุลนี้ เคยถูกรวมเป็นสกุลเดียวกันกับปลาซิวสกุล Danio หรือ ปลาซิวใบไผ่ หรือ ปลาจุกกี มาก่อน แต่ปลาซิวที่อยู่ในสกุลปลาซิวใบไผ่ใหญ่นี้ จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า โดยจะมีความยาวลำตัวเฉลี่ย 5-15 เซนติเมตร และมีลวดลายสีสันต่าง ๆ ในบริเวณข้างลำตัว โดยก็ถูกเรียกชื่อสามัญว่า "ปลาซิวใบไผ่" หรือ "ปลาซิวใบไผ่ใหญ่" พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำโดยเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นลำธารหรือน้ำตกในป่าดิบ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาจจะมีบางชนิดที่เป็นชื่อพ้องกันหน้า 28-29, Genus Devario - ปลาซิวใบไผ่ใหญ่ (Giant danio), "Mini Attlas" โดย สุริศา ซอมาดี.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาซิวใบไผ่ยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลานางอ้าว

ปลานางอ้าว หรือ ปลาน้ำหมึก เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Opsarius (/ออพ-ซา-เรียส/) จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เดิมทีปลาในสกุลนี้ ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ ได้รวมให้อยู่ในสกุล Barilius และได้ทำการอนุกรมวิธานไว้ด้วยกัน 2 ชนิด แต่ต่อมา ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์ ได้ทำการปรับปรุงใหม่โดยให้กลับมาใช้สกุลเช่นในปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 1989 โดยลักษณะสำคัญของปลาในสกุลนี้ คือ บนลำตัวมีแถบสีดำขวางเรียงกันเป็นแถว เส้นข้างลำตัวโค้งใกล้กับแนวท้อง และไปสิ้นสุดที่โคนหางส่วนล่าง หนวดมีขนาดเล็กมาก และบางชนิดไม่มีหนวด เป็นปลาขนาดเล็ก ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง มีความปราดเปรียวว่องไวมาก อาศัยอยู่ตามลำธารน้ำตกในป่าดิบชื้น กินแมลงน้ำและสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร ไข่มีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 2.8-2.9 เซนติเมตร มีสีเหลืองหรือเขียวอมเทา มีทั้งแบบลอยและแบบจมและกึ่งจมกึ่งลอย ปัจจุบัน พบแล้ว 3 ชนิด มีอยู่ 2 ชนิดที่พบบ่อยและนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ได้แก่ O. koratensis และ O. pulchellusสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์, หน้า 117 สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑ (พ.ศ. 2547) ISBN 974-00-8701-9.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลานางอ้าว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำหมึกยักษ์

ปลาน้ำหมึกยักษ์ หรือ ปลาชะนาก หรือ ปลาสะนาก (Trout carps) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีชื่อสกุลว่า Raiamas (/ไร-อา-มาส/) เดิมเคยจัดให้อยู่ในสกุล Barilius มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวยาวทรงกระบอก หัวและปากแหลม ปากกว้างมาก มีปุ่มในปากล่าง มุมปากยาวเลยนัยน์ตา จะงอยปากล่างงุ้มคล้ายตะขอ ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินวาว ข้างลำตัวมีจุดสีน้ำเงินเข้มที่ใหญ่กว่าเกล็ด หางเว้าเป็นแฉกลึก ในตัวผู้มีตุ่มข้างแก้มคล้ายสิวแตกต่างจากตัวเมียโดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ และสีลำตัวก็จะเปลี่ยนไปเห็นได้ชัดเจน เป็นปลาที่มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มีความปราดเปรียวว่องไวมาก อาศัยหากินอยู่ในระดับผิวน้ำและกลางน้ำ โดยล่าปลาขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร ขนาดความยาวลำตัวสูงสุดราว 1 ฟุต จำแนกได้ทั้งหมด 17 ชน.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาซิวและปลาน้ำหมึกยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

DanioninaeDanionini

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »