โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลากระเบนผีเสื้อ

ดัชนี ปลากระเบนผีเสื้อ

ปลากระเบนผีเสื้อ (Butterfly ray) เป็นกลุ่มของปลากระดูกอ่อน จำพวกปลากระเบนจัดอยู่ในวงศ์ Gymnuridae และสกุล Gymnura เป็นปลาทะเล พบในมหาสมุทรทั่วโลก และพบได้บ้างในแหล่งน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำหรือชะวากทะเล เป็นปลาที่มีรูปร่างแบนและมีครีบล้อมลำตัว ซึ่งเป็นครีบอกรวมไปถึงส่วนหัว มีลำตัวและส่วนหางสั้นมาก มีความยาวช่วงลำตัวตั้งแต่ 31 เซนติเมตร (12 นิ้ว) ถึง 4 เมตร (13 ฟุต) ปลากระเบนผีเสื้อ ในบางข้อมูลจะใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gymnurinae จัดเป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ Dasyatidae แต่ในเว็บไซต์ฟิชเบส และระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการได้จำแนกให้เป็นวงศ์ต่างหาก.

4 ความสัมพันธ์: อันดับปลากระเบนปลากระเบนหัวแหลมปลากระเบนธงปลากระเบนขนุน

อันดับปลากระเบน

อันดับปลากระเบน (อันดับ: Myliobatiformes) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนกลุ่มหนึ่ง ในอันดับใหญ่ Batoidea ถือเป็น 1 ใน 4 อันดับในอันดับใหญ่นี้ ซึ่งปลาที่อยู่ในอันดับนี้ มีรูปร่างโดยรวม คือ มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ พบทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ลำตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง มีเหงือกประมาณ 5 คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง มีส่วนหางที่ยื่นยาวเหมือนแส้ในบางวงศ์ หรือ บางวงศ์มีครีบที่แผ่ออกไปด้านข้างลำตัวเหมือนปีกของนกหรือผีเสื้อ ทำให้ว่ายน้ำได้เหมือนการโบยบินของนก บางสกุลหรือบางวงศ์มีหางที่สั้น ลำตัวแบนกลมเหมือนจานข้าวหรือแผ่นซีดี โดยมากเป็นปลาที่หากินตามหน้าดิน โดย อาหารหลักได้แก่ ครัสเตเชียนและหอยชนิดต่าง ๆ ในบางวงศ์เท่านั้น ที่หากินในระดับใกล้ผิวน้ำและกินอาหารเป็นแพลงก์ตอนด้วยการกรองเข้าปาก.

ใหม่!!: ปลากระเบนผีเสื้อและอันดับปลากระเบน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนหัวแหลม

ปลากระเบนหัวแหลม (Pale-edged stingray, Sharpnose stingray) ปลากระดูกอ่อนทะเลจำพวกปลากระเบนชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีลักษณะลำตัวแบน สันฐานเหลี่ยมคล้ายว่าว หางยาวเรียวเป็นเส้นเหมือนแส้ ส่วนกว้างของลำตัวเกือบเท่าความยาว จะงอยปากยื่นแหลมออกไป ความยาวของจะงอยปากประมาณ 1/3 ของความยาวลำตัว ด้านท้องมีช่องน้ำเข้า 5 คู่ ครีบอกเป็นแผ่นติดต่อรวมกับลำตัว ครีบก้นอยู่ใต้ครีบหาง ไม่มีครีบหลัง บนครีบหางมีเงี่ยงปลายแหลม ขอบหยักเป็นฟันเลื่อย โคนเงี่ยงมีต่อมพิษ ซึ่งถ้าหากแทงจะปล่อยพิษเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ได้รับบาดเจ็บและปวดอย่างรุนแรง ลำตัวด้านหลังมีสีน้ำตาลเทา ด้านท้องสีขาว ขนาดโตเต็มที่ได้ 29 เซนติเมตร (11 นิ้ว) อาศัยในน้ำกร่อย และน้ำทะเล บริเวณปากแม่น้ำ หากินบริเวณพื้นท้องน้ำ พบได้ในบริเวณน้ำตื้นจนถึงน้ำลึกกว่า 100 เมตร (330 ฟุต) อาหารได้แก่ สัตว์กลุ่มกุ้งปูขนาดเล็ก รวมทั้งปลาขนาดเล็กด้วย พบในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกตั้งแต่อินเดียจนถึงตะวันออกของคาบสมุทรมลายู และตอนใต้ของญี่ปุ่น ในปี..

ใหม่!!: ปลากระเบนผีเสื้อและปลากระเบนหัวแหลม · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนธง

ปลากระเบนธง (Stingray) เป็นปลากระดูกอ่อนจำพวกปลากระเบนจำพวกหนึ่ง อยู่ในอันดับย่อย Myliobatoidei ในอันดับ Myliobatiformes ประกอบไปด้วย 8 วงศ์ ได้แก่ Hexatrygonidae (ปลากระเบนหกเหงือก), Plesiobatidae (ปลากระเบนน้ำลึก), Urolophidae (ปลากระเบนกลม), Urotrygonidae (ปลากระเบนกลมอเมริกัน), Dasyatidae (ปลากระเบนธง), Potamotrygonidae (ปลากระเบนแม่น้ำ หรือ ปลากระเบนหางสั้น), Gymnuridae (ปลากระเบนผีเสื้อ) และ Myliobatidae (ปลากระเบนนก หรือ ปลากระเบนยี่สน) ลักษณะเด่นของปลากระเบนในกลุ่มนี้ คือ ที่บริเวณโคนหรือกึ่งกลางหางจะมีเงี่ยงแหลมยาว 1-2 ชิ้น ที่ใช้เป็นอาวุธทิ่มแทงศัตรูที่มารังควาญได้ โดยอาจมีความยาวได้ถึง 35 เซนติเมตร (14 นิ้ว) และมีสารเคมีที่มีความเป็นพิษเคลือบอยู่ ซึ่งสารดังกล่าวเป็นสารโปรตีน ที่มีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อเยื่อ ทำให้ผู้ที่โดนแทงเกิดความเจ็บปวด ในปลากระเบนขนาดใหญ่จะออกฤทธิ์คล้ายพิษของงูกะปะ ซึ่งหากโดนแทงเข้าอย่างจังหรือโดนจุดสำคัญ อาจทำให้เสียชีวิตได้ เงี่ยงแหลมดังกล่าวจะมีในปลากระเบนทุกสกุล ทุกชนิด ยกเว้นปลากระเบนแมนตา และปลากระเบนขนุน เท่านั้นที่ไม่มีเงี่ยงแหลมดังกล่าว ซึ่งเงี่ยงอันนี้สามารถที่จะหลุดไปได้ เมื่อปลามีอายุเพิ่มมากขึ้นหรือจากสาเหตุอื่น ๆ แต่ก็สามารถงอกใหม่ทดแทนได้ เงี่ยงของปลากระเบนธง ปลากระเบนธงพบกระจายพันธุ์อยู่ในน่านน้ำในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก พบได้ทั้งในทะเล, มหาสมุทร, น้ำกร่อย และน้ำจืด โดยกินปลาขนาดเล็ก, หอย ทั้งหอยฝาเดียวและหอยสองฝา รวมถึงกุ้งเป็นอาหาร.

ใหม่!!: ปลากระเบนผีเสื้อและปลากระเบนธง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนขนุน

ปลากระเบนขนุน (Porcupine ray) ปลากระดูกอ่อนทะเลชนิดหนึ่ง จำพวกปลากระเบน จัดอยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) โดยจัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่จัดอยู่ในสกุลนี้ โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์นั้น คำว่า Urogymnus ที่ใช้เป็นชื่อสกุลนั้น แปลงมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า oura หมายถึง "หาง" และ gymnos หมายถึง "เปลือย" อันหมายถึง โคนหางของปลากระเบนชนิดนี้ไม่มีเงี่ยงแข็งที่ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวเหมือนปลากระเบนธงชนิดอื่น ๆ โดยดั้งเดิมนั้นชื่อสกุลใช้ชื่อว่า Gymnura ซึ่งปัจจุบันนี้จะหมายถึง ปลากระเบนผีเสื้อ ส่วนคำว่า asperrimus หรือ africana ที่เป็นชื่อพ้อง หมายถึง "ทวีปแอฟริกา" ขณะที่ชื่อสามัญในภาษาไทยนั้น เนื่องจากด้านหลังตลอดจนถึงหางของปลากระเบนขนุน จะเป็นตุ่มหนามสาก ๆ คล้ายเม็ดขนุนขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อ ซึ่งตุ่มหนามนั้นมีพิษรุนแรงและเมื่อไปติดกับอวนของชาวประมง จะทำให้มีความยุ่งยากมากในการแก้ออกหากจะนำมาปรุงเป็นอาหาร ภาพวาด ส่วนหางที่เป็นตุ่มหนาม ปลากระเบนขนุน จัดเป็นปลากระเบนธงเพียงไม่กี่ชนิด ที่บริเวณโคนหางไม่มีเงี่ยงแข็ง ด้านหลังมีสีขาว มีความยาวของลำตัวประมาณ 1 ฟุต และอาจยาวได้ถึง 2.2 เมตร (7.2 ฟุต) แต่ขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไปประมาณ 1.5 เมตร (4.9 ฟุต) มีพฤติกรรมหากินตามพื้นทะเลที่เป็นพื้นทรายเหมือนปลากระเบนทั่วไป โดยจะพบในแหล่งที่มีสภาพนิเวศที่สมบูรณ์ พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วทั้งมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก ตลอดทั่วทั้งทวีปเอเชีย เช่น อ่าวเบงกอล และศรีลังกา ไปจนถึงคาบสมุทรอาระเบียจนถึงแอฟริกาใต้, เซเชลส์ โดยปกติแล้วจะอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง หรือดงหญ้าทะเลหรือสาหร่าย และอาจพบได้ในเขตน้ำกร่อย สำหรับในประเทศไทย จัดเป็นปลาที่หายาก ในช่วงเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: ปลากระเบนผีเสื้อและปลากระเบนขนุน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Butterfly rayGymnuraGymnuridaeGymnurinaeกระเบนผีเสื้อวงศ์ปลากระเบนผีเสื้อ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »