โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลากระเบนขนุน

ดัชนี ปลากระเบนขนุน

ปลากระเบนขนุน (Porcupine ray) ปลากระดูกอ่อนทะเลชนิดหนึ่ง จำพวกปลากระเบน จัดอยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) โดยจัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่จัดอยู่ในสกุลนี้ โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์นั้น คำว่า Urogymnus ที่ใช้เป็นชื่อสกุลนั้น แปลงมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า oura หมายถึง "หาง" และ gymnos หมายถึง "เปลือย" อันหมายถึง โคนหางของปลากระเบนชนิดนี้ไม่มีเงี่ยงแข็งที่ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวเหมือนปลากระเบนธงชนิดอื่น ๆ โดยดั้งเดิมนั้นชื่อสกุลใช้ชื่อว่า Gymnura ซึ่งปัจจุบันนี้จะหมายถึง ปลากระเบนผีเสื้อ ส่วนคำว่า asperrimus หรือ africana ที่เป็นชื่อพ้อง หมายถึง "ทวีปแอฟริกา" ขณะที่ชื่อสามัญในภาษาไทยนั้น เนื่องจากด้านหลังตลอดจนถึงหางของปลากระเบนขนุน จะเป็นตุ่มหนามสาก ๆ คล้ายเม็ดขนุนขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อ ซึ่งตุ่มหนามนั้นมีพิษรุนแรงและเมื่อไปติดกับอวนของชาวประมง จะทำให้มีความยุ่งยากมากในการแก้ออกหากจะนำมาปรุงเป็นอาหาร ภาพวาด ส่วนหางที่เป็นตุ่มหนาม ปลากระเบนขนุน จัดเป็นปลากระเบนธงเพียงไม่กี่ชนิด ที่บริเวณโคนหางไม่มีเงี่ยงแข็ง ด้านหลังมีสีขาว มีความยาวของลำตัวประมาณ 1 ฟุต และอาจยาวได้ถึง 2.2 เมตร (7.2 ฟุต) แต่ขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไปประมาณ 1.5 เมตร (4.9 ฟุต) มีพฤติกรรมหากินตามพื้นทะเลที่เป็นพื้นทรายเหมือนปลากระเบนทั่วไป โดยจะพบในแหล่งที่มีสภาพนิเวศที่สมบูรณ์ พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วทั้งมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก ตลอดทั่วทั้งทวีปเอเชีย เช่น อ่าวเบงกอล และศรีลังกา ไปจนถึงคาบสมุทรอาระเบียจนถึงแอฟริกาใต้, เซเชลส์ โดยปกติแล้วจะอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง หรือดงหญ้าทะเลหรือสาหร่าย และอาจพบได้ในเขตน้ำกร่อย สำหรับในประเทศไทย จัดเป็นปลาที่หายาก ในช่วงเดือนมีนาคม..

2 ความสัมพันธ์: วงศ์ปลากระเบนธงปลากระเบนธง

วงศ์ปลากระเบนธง

วงศ์ปลากระเบนธง (Whipray) เป็นวงศ์ของปลากระเบนวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dasyatidae (/แด-ซี-แอท-อิ-ดี้/) พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ไม่มีครีบหลัง ส่วนครีบอกแผ่กว้างรอบตัว ปากอยู่ด้านล่าง ตาอยู่ด้านบน มีช่องน้ำเข้า 1 คู่อยู่ด้านหลัง มีขากรรไกรและฟันที่แข็งแรงจำนวนมากเรียงติดต่อกันเป็นแถว ใช้ขบกัดสัตว์เปลือกแข็งซึ่งเป็นอาหารหลักได้ดี ผิวหนังเรียบนิ่มไม่มีเกล็ด ยกเว้นบริเวณกลางหลัง มีส่วนหางที่ยาวเหมือนแส้ ซึ่งคนโบราณนิยมตัดหางมาทำเป็นแส้ เรียกว่า "แส้หางกระเบน" ที่โคนหางมีเงี่ยงแหลมอยู่ 1-2 ชิ้น (พบมากสุดถึง 4 ชิ้น) ที่อาจยาวได้ถึง 31 เซนติเมตร เป็นอาวุธใช้สำหรับป้องกันตัว มีพิษแรง มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6 และเมื่อหักไปแล้วงอกใหม่ได้ มักมีผู้ถูกแทงบ่อย ๆ เพราะไปแตะถูกเข้าโดยไม่ระวัง เช่น เท้าไปถูกเข้าระหว่างที่ปลาฝังตัวอยู่ใต้ทราย ขณะที่เดินบริเวณหาด เพราะมีพฤติกรรมมักฝังตัวอยู่ใต้พื้นทราย โดยโผล่มาแค่ส่วนตาและเงี่ยงหางเท่านั้น จากการที่มีตาอยู่ด้านบนแต่ปากอยู่ด้านล่างทำให้ไม่สามารถมองเห็นอาหารได้เวลาจะกิน จึงมีอวัยวะรับกลิ่นและอวัยวะรับคลื่นไฟฟ้าในการบอกตำแหน่งของอาหาร แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัว โดยมีการสืบพันธุ์ในฤดูหนาว ตัวผู้จะว่ายน้ำตามประกบตัวเมียอย่างใกล้ชิดและมักกัดบริเวณขอบลำตัวของตัวเมีย เมื่อจะผสมพันธุ์ตัวผู้จะว่ายไปอยู่ด้านบนแล้วปล่อยน้ำเชื้อเข้าสู่ตัวเมีย โดยส่วนมากจะออกลูกคราวละ 5-10 ตัว ในเลือดของปลาวงศ์นี้มีสารประกอบของยูเรีย จึงมีกลิ่นคล้ายปัสสาว.

ใหม่!!: ปลากระเบนขนุนและวงศ์ปลากระเบนธง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนธง

ปลากระเบนธง (Stingray) เป็นปลากระดูกอ่อนจำพวกปลากระเบนจำพวกหนึ่ง อยู่ในอันดับย่อย Myliobatoidei ในอันดับ Myliobatiformes ประกอบไปด้วย 8 วงศ์ ได้แก่ Hexatrygonidae (ปลากระเบนหกเหงือก), Plesiobatidae (ปลากระเบนน้ำลึก), Urolophidae (ปลากระเบนกลม), Urotrygonidae (ปลากระเบนกลมอเมริกัน), Dasyatidae (ปลากระเบนธง), Potamotrygonidae (ปลากระเบนแม่น้ำ หรือ ปลากระเบนหางสั้น), Gymnuridae (ปลากระเบนผีเสื้อ) และ Myliobatidae (ปลากระเบนนก หรือ ปลากระเบนยี่สน) ลักษณะเด่นของปลากระเบนในกลุ่มนี้ คือ ที่บริเวณโคนหรือกึ่งกลางหางจะมีเงี่ยงแหลมยาว 1-2 ชิ้น ที่ใช้เป็นอาวุธทิ่มแทงศัตรูที่มารังควาญได้ โดยอาจมีความยาวได้ถึง 35 เซนติเมตร (14 นิ้ว) และมีสารเคมีที่มีความเป็นพิษเคลือบอยู่ ซึ่งสารดังกล่าวเป็นสารโปรตีน ที่มีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อเยื่อ ทำให้ผู้ที่โดนแทงเกิดความเจ็บปวด ในปลากระเบนขนาดใหญ่จะออกฤทธิ์คล้ายพิษของงูกะปะ ซึ่งหากโดนแทงเข้าอย่างจังหรือโดนจุดสำคัญ อาจทำให้เสียชีวิตได้ เงี่ยงแหลมดังกล่าวจะมีในปลากระเบนทุกสกุล ทุกชนิด ยกเว้นปลากระเบนแมนตา และปลากระเบนขนุน เท่านั้นที่ไม่มีเงี่ยงแหลมดังกล่าว ซึ่งเงี่ยงอันนี้สามารถที่จะหลุดไปได้ เมื่อปลามีอายุเพิ่มมากขึ้นหรือจากสาเหตุอื่น ๆ แต่ก็สามารถงอกใหม่ทดแทนได้ เงี่ยงของปลากระเบนธง ปลากระเบนธงพบกระจายพันธุ์อยู่ในน่านน้ำในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก พบได้ทั้งในทะเล, มหาสมุทร, น้ำกร่อย และน้ำจืด โดยกินปลาขนาดเล็ก, หอย ทั้งหอยฝาเดียวและหอยสองฝา รวมถึงกุ้งเป็นอาหาร.

ใหม่!!: ปลากระเบนขนุนและปลากระเบนธง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Porcupine rayRaja africanaRaja asperrimaUrogymnusUrogymnus africanusUrogymnus asperrimusกระเบนขนุน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »