โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บีตา

ดัชนี บีตา

ีตา (beta) หรือ วีตา (βήτα, ตัวใหญ่ Β, ตัวเล็ก β หรือ ϐ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 2 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 2 สำหรับอักษรรูปนี้ ϐ จะถูกใช้เมื่อบีตาตัวเล็กเป็นอักษรที่ไม่ได้อยู่ต้นคำ ซึ่งถูกนำไปใช้ในหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ การเงิน วิศวกรรม โดยถ้าตัวบีตาไปอยู่ในหนังสือหรือบทความวิชาใด ความหมายของบีตาก็จะเปลี่ยนไป เช่น ถ้าในวิชาฟิสิกส์ บีตาในที่นี้อาจหมายถึงสัดส่วนระหว่าง plasma pressure ต่อ magnetic pressure.

22 ความสัมพันธ์: บีตา (แก้ความกำกวม)การสลายให้กัมมันตรังสีการทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิกูเกิล แอปส์ภาษาฮีบรูรายการเอกลักษณ์ตรีโกณมิติสมดุลเคมีอักษรฟินิเชียอักษรกรีกอักษรสระประกอบอักษรฮีบรูอักษรตระกูลเซมิติกอักษรตัวใหญ่ทาลัสซีเมียแบบแอลฟาซิทามิประวัติศาสตร์อักษรแมกซ์ทอนโมเลกุลส่งสัญญาณที่สองเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ดMac OS X Public BetaБВ

บีตา (แก้ความกำกวม)

ีตา หรือ เบตา (beta) สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: บีตาและบีตา (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

การสลายให้กัมมันตรังสี

การสลายให้อนุภาคแอลฟา เป็นการสลายให้กัมมันตรังสีชนิดหนึ่งที่นิวเคลียสของอะตอมปลดปล่อย อนุภาคแอลฟา เป็นผลให้อะตอมแปลงร่าง (หรือ "สลาย") กลายเป็นอะตอมที่มีเลขมวลลดลง 4 หน่วยและเลขอะตอมลดลง 2 หน่วย การสลายให้กัมมันตรังสี (radioactive decay) หรือ การสลายของนิวเคลียส หรือ การแผ่กัมมันตรังสี (nuclear decay หรือ radioactivity) เป็นกระบวนการที่ นิวเคลียสของอะตอมที่ไม่เสถียร สูญเสียพลังงานจากการปลดปล่อยรังสี.

ใหม่!!: บีตาและการสลายให้กัมมันตรังสี · ดูเพิ่มเติม »

การทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิ

ตสมองที่มีสีเน้นเป็นเขต anterior cingulate cortex ซึ่งทำงานเมื่อมีการเจริญกรรมฐาน การเจริญกรรมฐาน (meditation) ผลต่อการทำงานของสมอง และผลต่อระบบประสาทกลาง ได้กลายมาเป็นประเด็นงานวิจัยข้ามสาขาในประสาทวิทยาศาสตร์ จิตวิทยา และชีววิทยาประสาท (neurobiology) ในช่วงท้ายคริสต์ศตวรรษที่ 20 งานวิจัยได้พยายามที่จะกำหนดและแสดงลักษณะของการเจริญกรรมฐาน/การเจริญภาวนา/การนั่งสมาธิ แบบต่าง ๆ ผลการเจริญกรรมฐานต่อสมองมีสองแบบ คือผลต่อภาวะสมองระยะสั้นเมื่อกำลังเจริญกรรมฐาน และผลต่อลักษณะที่มีในระยะยาว ประเด็นการศึกษาบ่อยครั้งจะเป็นเรื่องการเจริญสติ ซึ่งเป็นกรรมฐานของชาวพุทธทั้งในแบบวิปัสสนา และในรูปแบบของนิกายเซน.

ใหม่!!: บีตาและการทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิ · ดูเพิ่มเติม »

กูเกิล แอปส์

Google Apps for Work (ชื่อเดิม Google Apps for Business) เป็นชุดโปรแกรมการประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing) สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการทำงานร่วมกัน และเป็นซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์ที่ Google ให้บริการโดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิก ชุดโปรแกรมนี้รวมเว็บแอปพลิเคชันยอดนิยมของ Google ซึ่งรวมถึง Gmail, Google ไดรฟ์, Google แฮงเอาท์, Google ปฏิทิน และ Google เอกสารแม้ว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะให้บริการสำหรับผู้บริโภคแบบไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ Google Apps for Work เพิ่มคุณลักษณะสำหรับธุรกิจโดยเฉพาะ เช่น ที่อยู่อีเมลแบบกำหนดเองที่โดเมนของคุณ (@บริษัทของคุณ.com) พร้อมพื้นที่จัดเก็บอย่างน้อย 30 GB สำหรับเอกสารและอีเมล รวมถึงการสนับสนุนทางโทรศัพท์และอีเมลทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงในฐานะที่เป็นโซลูชันการประมวลผลแบบคลาวด์ Google Apps จึงมีแนวทางที่แตกต่างไปจากซอฟต์แวร์ที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่วางจำหน่ายทั่วไป โดยจะจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าในเครือข่ายศูนย์ข้อมูลปลอดภัยของ Google แทนการจัดเก็บแบบดั้งเดิมที่เก็บรักษาไว้ในเซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กรที่ตั้งอยู่ภายในบริษัท Google ได้ระบุไว้ว่ามีองค์กรกว่า 5 ล้านองค์กรทั่วโลกใช้ Google Apps โดย 60 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 ก็ใช้โปรแกรมดังกล่าวเช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: บีตาและกูเกิล แอปส์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: บีตาและภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

รายการเอกลักษณ์ตรีโกณมิติ

ซน์และไซน์รอบวงกลมหนึ่งหน่วย ในวิชาคณิตศาสตร์ เอกลักษณ์ตรีโกณมิติ เป็นสมการที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชันตรีโกณมิติ และเป็นจริงสำหรับทุกค่าของตัวแปรมุม เมื่อแต่ละข้างของสมการสามารถหาค่าได้ ในทางเรขาคณิต เอกลักษณ์ตรีโกณมิติ คือ เอกลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชันของมุมหนึ่งมุมขึ้นไป แตกต่างจากเอกลักษณ์รูปสามเหลี่ยม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับมุมเช่นกัน แต่จะรวมถึงความยาวด้านของรูปสามเหลี่ยมด้วย เอกลักษณ์เหล่านี้เป็นประโยชน์ เมื่อใดที่มีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชันตรีโกณมิติ การประยุกต์ที่สำคัญ คือ การหาปริพันธ์ของฟังก์ชันที่ไม่ใช่ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ซึ่งเป็นวิธีการที่ต้องใช้การแทนค่าด้วยฟังก์ชันตรีโกณมิติเป็นลำดับแรกก่อน แล้วจึงหาผลลัพธ์ของปริพันธ์โดยใช้เอกลักษณ์ตรีโกณมิต.

ใหม่!!: บีตาและรายการเอกลักษณ์ตรีโกณมิติ · ดูเพิ่มเติม »

สมดุลเคมี

การเข้าสู่สมดุลเคมีของสารอินทรีย์ Methyl tert-butyl ether (MTBE) ที่สกัดด้วยสารละลายโซเดียมไบคาร์บอร์เนตในน้ำ ในเรื่องปฏิกิริยาเคมี สมดุลเคมี (Chemical equilibrium) คือสภาวะที่ความเข้มข้นของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลงอีกแม้เวลาผ่านไป เราจะเรียกว่าปฏิกิริยาเคมีนั้นอยู่ในสมดุล (equilibrium) ทั้งนี้ การดำเนินไปของปฏิริยาไม่ได้สิ้นสุดลงแต่ระบบยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า สมดุลไดนามิก (dynamic equilibrium).

ใหม่!!: บีตาและสมดุลเคมี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฟินิเชีย

ัญชนะและตัวเลขของอักษรฟินิเชีย อักษรฟินิเชีย พัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ยุคแรกเริ่ม ซึ่งปรากฏครั้งแรกราว 1,800-1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช จารึกเก่าสุดมาจากเมืองโบราณไบบลอส อายุราว 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีอักษร 22 ตัว ไม่มีเครื่องหมายสระ ชื่อตัวอักษรเหมือนที่ใช้เรียกอักษรฮีบรู.

ใหม่!!: บีตาและอักษรฟินิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกรีก

อักษรกรีก เป็นอักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษากรีก โดยมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคคลาสสิก ประมาณ 357 ปีก่อนพุทธศักราช (ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช) และยังคงใช้สืบต่อเรื่อยมา นับเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดแบบหนึ่งที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในสมัยกรีกโบราณนั้น อักษรกรีกยังใช้เขียนแทนจำนวนอีกด้วย ซึ่งในกรณีนี้จะเรียกว่าเลขกรีก ในทำนองเดียวกับเลขโรมัน ทุกวันนี้เราใช้อักษรกรีกเป็นสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ เป็นชื่อดาวฤกษ์ เป็นชื่อกลุ่มภราดรและกลุ่มภคินี และใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกมาก.

ใหม่!!: บีตาและอักษรกรีก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรสระประกอบ

อักษรเทวนาครีเป็นอักษรสระประกอบชนิดหนึ่ง อักษรสระประกอบ เป็นรูปแบบของระบบการเขียนรูปแบบหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยพยัญชนะและสระ แต่พยัญชนะจะมีความสำคัญมากกว่าสระ ซึ่งแตกต่างจากอักษรสระ-พยัญชนะ (alphabet) ที่เป็นระบบการเขียนทั้งสระและพยัญชนะจะมีความสำคัญเท่าเทียมกัน และแตกต่างจากอักษรไร้สระ (abjad) ซึ่งมักจะไม่มีรูปสระปรากฏอยู่เลย ในบรรดาระบบการเขียนทั้งหมดในโลกนี้ มีอยู่ประมาณครึ่งหนึ่งของระบบการเขียนทั้งหมดที่เป็นอักษรสระประกอบ ซึ่งอักษรไทยก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน คำว่า "อักษรสระประกอบ" เป็นคำแปลจากคำว่า abugida ซึ่งเป็นคำที่ Peter T. Daniels นำมาใช้เรียกระบบการเขียนรูปแบบนี้ โดยคำนี้มาจากชื่อของอักษรเอธิโอเปีย (’ä bu gi da) ในภาษาเอธิโอเปีย โดยนำมาจากชื่ออักษรสี่ตัวของอักษรเอธิโอเปีย (ในทำนองเดียวกับคำว่า alphabet ที่มาจากชื่ออักษรกรีก แอลฟา และ บีตา) ต่อมาในปี..

ใหม่!!: บีตาและอักษรสระประกอบ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฮีบรู

อรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เขียนโดย Elijah Levita อักษรฮีบรูเป็นอักษรตระกูลเซมิติกไร้สระชนิดหนึ่ง ใช้ในการเขียนงานในภาษาฮีบรู ในยุคแรกๆอักษรฮีบรูโบราณพัฒนามาจากอักษรฟินิเชีย อักษรฮีบรูรุ่นใหม่พัฒนามาจากอักษรอราเมอิกรุ่นแรกๆ จารึกภาษาฮีบรูพบครั้งแรกเมื่อ 557 ปีก่อนพุทธศักราช อักษรนี้เขียนจากขวาไปซ้ายในแนวนอน ตัวอักษรบางตัว เช่น กาฟ, เมม, นุน, ฟี และซาดดี มีรูปท้ายคำ ซึ่งจะพบในตำแหน่งสุดท้ายของคำเท่านั้น ไม่มีตัวเลข ใช้เลขอารบิกแทน สระเสียงยาวกำหนดโดยตัว อะเลฟ, วาว และโยด/ยุด ไม่แสดงสระเสียงสั้นยกเว้นในไบเบิล กวีนิพนธ์และหนังสือสำหรับเด็กและชาวต่างชาต.

ใหม่!!: บีตาและอักษรฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

อักษรตระกูลเซมิติก

อักษรตระกูลเซมิติก เป็นกลุ่มของตัวอักษรที่พัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ที่ได้แรงบันดาลใจจากอักษรไฮโรกลิฟฟิกของอียิปต์โบราณ อักษรเหล่านี้ไม่ได้มาจากสัญลักษณ์แทนพยัญชนะของชาวอียิปต์ แต่เป็นการรวมอักษรไฮโรกลิฟฟิกอื่นๆเข้ามาด้วย ทั้งหมดมี 30 ตัว กำหนดชื่อเป็นภาษาเซมิติก เช่น ไฮโรกลิฟ per (บ้าน ในภาษาอียิปต์) กลายเป็น bayt (บ้าน ในภาษาเซมิติก) เมื่อนำมาเขียนภาษาเซมิติกจะเป็นระบบพยัญชนะล้วน โดยอักษรแต่ละตัวแทนเสียงพยัญชนะตัวแรกของชื่อ เช่น รูปบ้าน beyt ใช้แทนเสียง b หรือใช้แทนทั้งเสียง b และลำดับพยัญชนะ byt ดังที่ใช้แทนเสียง p และลำดับพยัญชนะ pr ในภาษาอียิปต์ ในยุคที่ชาวคานาอันนำอักษรนี้ไปใช้ จะใช้แทนเสียง b เท่านั้น ไม่มีหลักฐานว่าอักษรเซมิติกเริ่มต้นมีจำนวนเท่าใดและเรียงลำดับอย่างใด อักษรที่พัฒนาต่อมานั้น อักษรยูการิติคมี 27 ตัว และอักษรฟินิเชียมี 22 ตัว การเรียงลำดับของอักษรเหล่านี้มี 2 แบบ คือ ลำดับ ABGDE ของอักษรฟินิเชีย และลำดับ HMĦLQ ของอักษรทางใต้ อักษรยูการิติกใช้ทั้ง 2 แบบ ชื่อของอักษรมักใช้ตามอักษรฟินิเชีย ทั้งอักษรซามาริทัน อักษรอราเมอิก อักษรซีเรียค อักษรฮีบรูและอักษรกรีก แต่ต่างไปในอักษรอาหรับและอักษรละติน แต่ไม่มีการใช้ชื่ออักษรในอักษรพราหมีและอักษรรูนิก.

ใหม่!!: บีตาและอักษรตระกูลเซมิติก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรตัวใหญ่

การเก็บตัวพิมพ์แยกระหว่างตัวใหญ่กับตัวเล็ก อักษรกรีก บีตา ตัวใหญ่อยู่ทางซ้าย อักษรตัวใหญ่ (อังกฤษ: capital letter, majuscule) คือกลุ่มของอักษรประเภทหนึ่งในระบบการเขียน เช่นในอักษรละติน: A, B, C, D,...

ใหม่!!: บีตาและอักษรตัวใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ทาลัสซีเมียแบบแอลฟา

ทาลัสซีเมียแบบแอลฟา (Alpha-thalassemia, α-thalassemia, α-thalassaemi) เป็นทาลัสซีเมียประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคเลือดที่สืบทอดทางกรรมพันธุ์และเกิดจากความผิดปกติในการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่โปรตีนของเฮโมโกลบิน โดยเฉพาะแล้ว แบบแอลฟาเกิดจากความผิดปกติของยีน HBA1 และ/หรือ HBA2 บนโครโมโซม 16 ทำให้ผลิตห่วงลูกโซ่แบบแอลฟาจากยีน globin 1,2,3, หรือทั้ง 4 ยีนอย่างผิดปกติ มีผลให้ห่วงลูกโซ่แบบแอลฟาลดลงหรือไม่มี และเกิดห่วงลูกโซ่แบบบีตามากเกินสัดส่วน ระดับความพิการที่เกิดจะขึ้นอยู่กับลักษณะทางพันธุกรรม (phenotype) ที่มี คือ มียีนกี่ตำแหน่งที่เปลี่ยนไป แต่โดยทั่วไปแล้วความไม่สมดุลของห่วงลูกโซ่แอลฟาและบีตาจะทำให้เกิดการสลายของเม็ดเลือดแดง (hemolysis) และการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไม่มีประสิทธิภาพ คนที่มีกรรมพันธุ์แบบพาหะเงียบ (silent carrier) และแบบลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จะไม่มีอาการ ไม่ต้องรักษา และจะมีการคาดหมายคงชีพที่อายุปกติ คนที่เป็นระดับปานกลาง (intermedia) จะมีภาวะเลือดจางเพราะการสลายเลือด และทารกที่มีระดับหนัก (major) มักจะไม่รอดชีวิต บุคคลที่มีโรคควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนมีบุตร/ก่อนแต่งงาน และบุคคลที่เป็น trait ควรตรวจบุตรที่อยู่ในครรภ์ (chorionic villus sampling).

ใหม่!!: บีตาและทาลัสซีเมียแบบแอลฟา · ดูเพิ่มเติม »

ซิทามิ

ซิทามิ หรือ ชิทามิ (Xitami) เป็นซอฟต์แวร์เสรีโอเพนซอร์สประเภทเว็บเซิร์ฟเวอร์และเอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์ พัฒนาโดยบริษัทอิมาทิกซ์ (iMatix Corporation) ประสิทธิภาพในการทำงานถึงจะไม่เร็วเท่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่เร็วที่สุด แต่ตัวซอฟต์แวร์นั้นมีขนาดเล็กมาก (ไม่เกิน 2 เมกะไบต์) และใช้ทรัพยากรระบบน้อย ซิทามิรองรับการทำงานบนเว็บแอปพลิเคชันที่เขียนด้วยภาษาซีจีไอ อาทิ ภาษาพีเอชพี และยังมีส่วนต่อประสานกับผู้ใช้บนเว็บเพจที่ช่วยสามารถจัดการตั้งค่าซอฟต์แวร์ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ได้อีกทางหนึ่ง ซิทามิสามารถทำงานได้บนวินโดวส์ ลินุกซ์ และระบบปฏิบัติการอื่นที่คล้ายยูนิกซ์ เช่น โอเพนวีเอ็มเอส โอเอส/2 เป็นต้น สำหรับรุ่นเชิงพาณิชย์ของซิทามิรองรับการใช้งานเอสเอสแอลได้ด้ว.

ใหม่!!: บีตาและซิทามิ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อักษร

ประวัติศาสตร์ของอักษร ชนิดแทนหน่วยเสียงมีจุดเริ่มต้นอยู่ในอียิปต์โบราณ อักษรแทนหน่วยเสียงชนิดแรกเป็นอักษรไร้สระ ปรากฏเมื่อ 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นผลงานของแรงงานชาวเซมิติกในอียิปต์ เพื่อใช้เขียนภาษาของตนเอง โดยได้รับอิทธิพลจากอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะซึ่งใช้คู่กับอักษรคำในอักษรไฮโรกลิฟฟิก อักษรอื่นๆ ที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่พัฒนามาจากอักษรนี้รวมทั้งอักษรฟินิเชีย อักษรกรีก และอักษรละติน.

ใหม่!!: บีตาและประวัติศาสตร์อักษร · ดูเพิ่มเติม »

แมกซ์ทอน

แมกซ์ทอน (Maxthon: th อ่านเป็น t) เดิมชื่อ มายไออี2 (MyIE2) เป็นเว็บเบราว์เซอร์ของจีนประเภทฟรีแวร์ หรือระบุให้เจาะจงคือซอฟต์แวร์รับบริจาค (donateware) เริ่มต้นพัฒนาโดยชาวจีนชื่อ ช่างโหยว (畅游 Chàngyóu) ปัจจุบันแมกซ์ทอนพัฒนาถึงรุ่นที่ 2 เบตา แมกซ์ทอนใช้ตัววาดหน้าเว็บ Trident เหมือนอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถเปลี่ยนไปใช้ตัววาดหน้าเว็บ Gecko ที่ใช้ในไฟร์ฟอกซ์ได้เช่นกัน แมกซ์ทอนเป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองในประเทศจีน และมีการดาวน์โหลดไปใช้งานมากกว่า 85.8 ล้านครั้ง.

ใหม่!!: บีตาและแมกซ์ทอน · ดูเพิ่มเติม »

โมเลกุลส่งสัญญาณที่สอง

มเลกุลส่งสัญญาณที่สอง (Second messenger) เป็นโมเลกุลให้สัญญาณภายในเซลล์ (intracellular signaling molecule) ที่เซลล์หลั่งออกเพื่อเริ่มการเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพ เช่น การเพิ่มจำนวนเซลล์ (proliferation) การเปลี่ยนสภาพ (differentiation) การอพยพย้ายที่ การรอดชีวิต และอะพอพโทซิส ดังนั้น โมเลกุลส่งสัญญาณที่สองจึงเป็นองค์ประกอบเริ่มต้นองค์หนึ่งที่จุดชนวนลำดับการถ่ายโอนสัญญาณ (signal transduction) ภายในเซลล์ ตัวอย่างของโมเลกุลส่งสัญญาณที่สองรวมทั้ง cyclic adenosine monophosphate (cAMP), cyclic guanosine monophosphate (cGMP), inositol trisphosphate (IP3), ไดกลีเซอไรด์ และแคลเซียม เซลล์จะหลั่งโมเลกุลส่งสัญญาณที่สองเมื่อได้รับโมเลกุลส่งสัญญาณนอกเซลล์ ซึ่งเรียกว่า โมเลกุลส่งสัญญาณที่หนึ่ง (first messenger) และเป็นปัจจัยนอกเซลล์ บ่อยครั้งเป็นฮอร์โมนหรือสารสื่อประสาท เช่น เอพิเนฟรีน, growth hormone, และเซโรโทนิน เพราะฮอร์โมนแบบเพปไทด์และสารสื่อประสาทปกติจะเป็นโมเลกุลชอบน้ำ จึงไม่อาจผ่านข้ามเยื่อหุ้มเซลล์ซึ่งเป็นชั้นฟอสโฟลิพิดคู่ เพื่อเริ่มการเปลี่ยนแปลงภายในเซลล์โดยตรง นี่ไม่เหมือนฮอร์โมนแบบสเตอรอยด์ซึ่งปกติจะข้ามได้ การทำงานที่จำกัดเช่นนี้จึงทำให้เซลล์ต้องมีกลไกถ่ายโอนสัญญาณ เพื่อเปลี่ยนการส่งสัญญาณของโมเลกุลที่หนึ่งให้เป็นการส่งสัญญาณของโมเลกุลที่สอง คือให้สัญญาณนอกเซลล์แพร่กระจายไปภายในเซลล์ได้ ลักษณะสำคัญของระบบนี้ก็คือ โมเลกุลส่งสัญญาณที่สองอาจจับคู่ในลำดับต่อ ๆ ไปกับกระบวนการทำงานของ kinase แบบ multi-cyclic เพื่อขยายกำลังสัญญาณของโมเลกุลส่งสัญญาณแรกอย่างมหาศาล ยกตัวอย่างเช่น RasGTP จะเชื่อมกับลำดับการทำงานของ Mitogen Activated Protein Kinase (MAPK) เพื่อขยายการส่งสัญญาณแบบ allosteric ของปัจจัยการถอดรหัส (transcription factor) เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ เช่น Myc และ CREB นักเภสัชวิทยาและเคมีชีวภาพชาวอเมริกัน เอิร์ล วิลเบอร์ ซัทเทอร์แลนด์ จูเนียร์ (Earl Wilbur Sutherland, Jr) เป็นผู้ค้นพบโมเลกุลส่งสัญญาณที่สอง เป็นงานที่เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี..

ใหม่!!: บีตาและโมเลกุลส่งสัญญาณที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด

ออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด บารอนรัทเทอร์ฟอร์ดแห่งเนลสันที่ 1 เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford, 30 สิงหาคม พ.ศ. 2414 - 19 ตุลาคม พ.ศ. 2480) หรือในชื่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า ลอร์ด รัทเทอร์ฟอร์ด ได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดา" แห่งฟิสิกส์นิวเคลียร์ เขาเป็นผู้บุกเบิกทฤษฎีการโคจรของอะตอม ชื่อของเขาได้นำไปใช้เป็นชื่อธาตุที่ 104 คือ รัทเทอร์ฟอร์เดียม.

ใหม่!!: บีตาและเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

Mac OS X Public Beta

Mac OS X Public Beta (รหัสโปรเจกต์: Kodiak) เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นเบต้าแรก ๆ ของคอมพิวเตอร์แมคอินทอชจากบริษัทแอปเปิล ปล่อยตัวออกตลาดเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2543 ในราคา 29.95 ดอลลาร์สหรัฐ ระบบปฏิบัติการตัวนี้มีนักพัฒนาจำนวนมากตั้งตารอเพื่อนำมาทดสอบความเข้ากันได้ล่วงหน้ากับระบบปฏิบัติการรุ่นถัด ๆ มา มีรหัสการสร้างคือ 1H39 Mac OS X Public Beta ยังใช้พื้นฐานของ Mac OS X Developer Preview 4 ทำให้ระบบปฏิบัติการตัวนี้ยังไม่เสถียร Mac OS X Public Beta มีส่วนประสานงานผู้ใช้ใหม่ คือ Aqua Mac OS X Public Beta ขายในราคา $29.95 และรองรับภาษาอังกฤษ เยอรมัน และ ฝรั่งเศส ลักษณะเด่นของระบบปฏิบัติการตัวนี้คือมีรูป Apple อยู่ตรงกลาง Mac OS X Public Beta ต้องการ PowerPC G3 แรม 128 MB หน่วยความจำ 1.5 GB.

ใหม่!!: บีตาและMac OS X Public Beta · ดูเพิ่มเติม »

Б

Be (Б, б) เป็นอักษรตัวที่ 2 ในอักษรซีริลลิก ออกเสียงเป็น // เหมือนกับ b ในภาษาอังกฤษหรือ บ ในภาษาไทย ในภาษารัสเซียบางครั้งอักษรตัวนี้อ่านเป็น // ที่ไร้เสียงที่ตำแหน่งสุดท้ายของคำหรือพยัญชนะที่ไม่ออกเสียง หรืออ่านเป็น // ที่หน้าเสียงสระซึ่งเลื่อนไปทางเพดานแข็งในช่องปาก ตัวอักษรนี้มีลักษณะคล้ายเลข 6 และไม่ควรจำสับสนกับ Ve (В, в) ที่ซึ่งมีรูปร่างเหมือนอักษรละติน B อักษรทั้งสองนี้ต่างก็มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก บีตา เหมือนกัน เมื่อตัวอักษรนี้ถูกเขียนด้วยลายมือ อักษร б ตัวเล็กจะดูคล้ายกับอักษรกรีก เดลตา ตัวเล็ก (δ) ชื่อเดิมของตัวอักษรนี้คือ bukū และไม่มีค่าทางตัวเลข เนื่องจากอักษร В ได้รับการนับเลขซีริลลิกจากอักษรกรีกไปแล้ว ดังนั้นอักษร Б จึงไม่มีค่าใ.

ใหม่!!: บีตาและБ · ดูเพิ่มเติม »

В

Ve (В, в) เป็นอักษรตัวที่ 3 ในอักษรซีริลลิก อ่านได้เป็นเสียง // และมีรูปร่างเหมือนอักษรละติน B แต่ออกเสียงต่างกัน อักษรตัวนี้และ Б มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก บีตา ซึ่งมีการใช้แทนเสียง // ของภาษากรีกในเวลาใกล้เคียงกับสมัยที่อักษรซีริลลิกถูกสร้างขึ้น ชื่อเดิมของอักษรตัวนี้คือ vědě และมีค่าตัวเลขเท่ากับ 2 ในระบบเลขซีริลลิก ในภาษารัสเซีย อักษรตัวนี้ออกเสียงเหมือน // เหมือนภาษาอังกฤษ ยกเว้นเมื่ออักษรตัวนี้ปรากฏท้ายคำจะเป็น // ที่ไร้เสียง หรืออ่านเป็น // ก่อนเสียงสระซึ่งเลื่อนไปทางเพดานแข็ง ในการออกเสียงภาษายูเครนแบบมาตรฐาน (ซึ่งมีสำเนียงโพลทาวาเป็นฐาน) อักษร В จะออกเสียงเป็น // ในภาษาอังกฤษ (เหมือนมี ว สะกด) เมื่ออยู่ที่ท้ายคำ เช่น Владислав แปลงเป็นอักษรละตินจะได้ Vladyslaw อ่านว่า วลาดีสลาว แต่สำหรับชาวยูเครนกลุ่มหนึ่ง จะออกเสียงอักษรนี้เป็น // เสมอไม่ว่าจะปรากฏอยู่ที่ใด ในภาคตะวันออกของประเทศยูเครน อักษร В อาจจะถูกอ่านเป็น // ที่ไร้เสียงให้คล้ายกับภาษารัสเซีย ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ยกตัวอย่างคำว่า сказав ภาษายูเครนมาตรฐานจะอ่านว่า skazaw สคาซาว ในขณะที่ภาคตะวันออกจะอ่านว่า skazaf สคาซาฟ ในภาษาเบลารุส อักษร В จะออกเสียงเป็น // เท่านั้น แต่เมื่ออักษรตัวนี้ไปปรากฏอยู่ท้ายคำหรือหน้าพยัญชนะอีกตัวจะเปลี่ยนรูปเป็นอักษร Ў ซึ่งเป็นอักษรที่มีใช้ในภาษานี้เท่านั้นที่แทนเสียง // ตัวอย่าง คำศัพท์ мова (mova โมวา) ที่เป็นคำนาม เมื่อเปลี่ยนรูปไปเป็นคำคุณศัพท์จะกลายเป็น моўный (mownyy โมวนืยอี) และคำนามที่เป็นพหูพจน์จะกลายเป็น моў (mow โมว).

ใหม่!!: บีตาและВ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

BetaΒบีต้าเบตาเบต้า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »