โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นกแสกแดง (สกุล)

ดัชนี นกแสกแดง (สกุล)

นกแสกแดง (Bay owl) เป็นสกุลของนกล่าเหยื่อที่หากินในเวลากลางคืน จำพวกนกเค้าแมวสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Phodilus อยู่ในวงศ์ย่อย Phodilinae ในวงศ์นกแสก (Phodilidae) มีลักษณะแตกต่างจากนกแสกในสกุล Tyto คือ มีขนที่ตั้งแหลมเหนือตาแลหูคล้ายหู มีใบหน้าที่เป็นรูปตัวยู เป็นวงกลมมากกว่า และมีขาที่แข็งแรง สามารถเกาะกิ่งไม้ในลักษณะตัวตั้งตรงได้ รวมทั้งเสียงร้องที่แตกต่างกันด้วย มีการล่าเหยื่อด้วยการจ้องมองและการโยกหัวไปมา และใช้การบินไปเกาะยังใต้ต้นไม้ต้นเล็ก ๆ ใต้เรือนยอดป่า แล้วจึงจับเหยื่อ เนื่องจากมีปีกที่กลมและสั้น มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือ.

2 ความสัมพันธ์: วงศ์นกแสกนกแสกแดง

วงศ์นกแสก

วงศ์นกแสก (Barn-owl, วงศ์: Tytonidae) เป็นวงศ์ของนกล่าเหยื่อในอันดับนกเค้าแมว (Strigiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Tytonidae นับเป็นวงศ์ของนกเค้าแมววงศ์หนึ่ง นอกเหนือจากวงศ์นกเค้าแมว (Strigidae) มีลักษณะทั่วไป คือ มีขนาดใหญ่กว่านกในวงศ์นกเค้าแมว ใบหน้ากลมแบน มีขนสีขาวเต็มหน้า ทำให้คล้ายรูปหัวใจ ตามีสีดำ อยู่ด้านหน้า และมีขนาดเล็กกว่าวงศ์นกเค้าแมว ปากเป็นจะงอยงุ้ม สีเหลืองเทา ชมพู หลังและปีกสีน้ำตาลอ่อน มีสีน้ำตาลเทาเป็นส่วน ๆ คอ อก ท้อง สีขาว ขาวนวล มีจุดสีน้ำตาลเข้มทั่วไป ปีกยาว หางสั้น ขนปีกและหางมีลายขวางสีเหลืองสลับน้ำตาลอ่อน ขาใหญ่ มีขนคลุมขา ตีนสีชมพู นิ้วมีเล็บยาว รูปร่างลักษณะตัวผู้และตัวเมียจะคล้ายกัน โดยตัวเมียจะโตกว่าเล็กน้อย ลำตัวตั้งตรง มีพฤติกรรมการหากินและเป็นอยู่คล้ายกับนกในวงศ์นกเค้าแมว โดยแบ่งออกได้เป็น 2 สกุล 16 ชนิด และยังมีอีก 4 สกุล ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว (ดูในตาราง) พบกระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั่วโลก ในหลายภูมิประเทศ ทั้งในป่าดิบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล จนถึงชุมชนเมืองของมนุษย์ สำหรับในประเทศไทย พบได้ 3 ชนิด คือ นกแสก (Tyto alba) นกแสกทุ่งหญ้า (Tyto capensis) และนกแสกแดง (Phodilus badius) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า และพบได้เฉพาะในป่าเท่านั้น.

ใหม่!!: นกแสกแดง (สกุล)และวงศ์นกแสก · ดูเพิ่มเติม »

นกแสกแดง

นกแสกแดง (Oriental bay owl) เป็นนกล่าเหยื่ออยู่ในวงศ์นกแสก (Tytonidae) มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายนกแสกธรรมดา (Tyto alba) แต่มีขนาดที่เล็กกว่า เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงประมาณ 28-29 เซนติเมตร ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเหลือง อันเป็นที่มาของชื่อ มีลายจุดสีน้ำตาลเหลืองหรือสีเนื้อ ด้านล่างลำตัวและใบหน้าสีเนื้อแกมชมพู มีลายแต้มสีออกม่วง ตาสีน้ำตาลเข้ม มีขนสีน้ำตาลยื่นยาวเล็กน้อยออกไปทางด้านข้างของรูหูเป็นพุ่ม ในขณะที่บินจะเห็นปีกค่อนข้างสั้น จัดเป็นนกที่บินได้เก่งมาก และอาจส่งเสียงร้องไปในขณะที่บิน โดยที่นกแสกชนิดนี้จะพบได้เฉพาะในป่าดิบและป่าเบญจพรรณ ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 2,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกหากินในตอนกลางคืน ตอนกลางวันส่วนใหญ่จะหลบซ่อนตามโพรงของต้นไม้ จึงทำให้พบเห็นตัวค่อนข้างยาก มีฤดูผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี โดยทำรังตามโพรงต้นไม้ ซึ่งเป็นโพรงที่เกิดตามธรรมชาติ หรือโพรงที่สัตว์อื่น ๆ ทำทิ้งเอาไว้ รังมักจะอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 2-5 เมตร หรือมากกว่า นกมักจะใช้โพรงเดิมเป็นประจำทุก ๆ ปี นอกเหนือจากโพรงเหล่านั้นถูกนกหรือสัตว์อื่น ๆใช้ และนกแสกแดงไม่สามารถที่จะขับไล่ออกไปได้ ปรกติไม่มีวัสดุรองรังอีก รูปร่างของไข่เป็นรูปไข่ค่อนข้างกลม ขนาดโดยเฉลี่ย 30.0 x 34.5 มิลลิเมตร เปลือกไข่มีสีขาว ผิวเรียบ ในแต่ละรังมีไข่ 3-4 ฟอง บางรังก็มี 5 ฟอง ตัวเมียตัวเดียวที่ทำการฟักไข่ โดยเริ่มฟักหลังจากที่ออกไข่ฟองแรก ทั้ง 2 เพศช่วยกันเลี้ยงลูกอ่อน การพัฒนาของลูกอ่อนไม่แตกต่างไปจากนกแสกธรรมดามากนัก นกแสกแดงจัดเป็นนกแสก 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย โดยพบได้ในภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกพบได้น้อยและพบได้เฉพาะพิ้นที่บางส่วนเท่านั้น ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้ เช่น ศรีลังกา จนถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ ทำให้แบ่งออกได้เป็น 6 ชนิดย่อยด้วยกัน เช่น P. b. badius พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, P. b. saturatus พบในรัฐสิกขิม, P. b. ripleyi พบในอินเดียตอนใต้, P. b. assimilis พบในศรีลังกา เป็นต้น.

ใหม่!!: นกแสกแดง (สกุล)และนกแสกแดง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

PhodilinaePhodilusPhotodilusสกุลนกแสกแดง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »