เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

นกแสกแดง

ดัชนี นกแสกแดง

นกแสกแดง (Oriental bay owl) เป็นนกล่าเหยื่ออยู่ในวงศ์นกแสก (Tytonidae) มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายนกแสกธรรมดา (Tyto alba) แต่มีขนาดที่เล็กกว่า เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงประมาณ 28-29 เซนติเมตร ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเหลือง อันเป็นที่มาของชื่อ มีลายจุดสีน้ำตาลเหลืองหรือสีเนื้อ ด้านล่างลำตัวและใบหน้าสีเนื้อแกมชมพู มีลายแต้มสีออกม่วง ตาสีน้ำตาลเข้ม มีขนสีน้ำตาลยื่นยาวเล็กน้อยออกไปทางด้านข้างของรูหูเป็นพุ่ม ในขณะที่บินจะเห็นปีกค่อนข้างสั้น จัดเป็นนกที่บินได้เก่งมาก และอาจส่งเสียงร้องไปในขณะที่บิน โดยที่นกแสกชนิดนี้จะพบได้เฉพาะในป่าดิบและป่าเบญจพรรณ ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 2,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกหากินในตอนกลางคืน ตอนกลางวันส่วนใหญ่จะหลบซ่อนตามโพรงของต้นไม้ จึงทำให้พบเห็นตัวค่อนข้างยาก มีฤดูผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี โดยทำรังตามโพรงต้นไม้ ซึ่งเป็นโพรงที่เกิดตามธรรมชาติ หรือโพรงที่สัตว์อื่น ๆ ทำทิ้งเอาไว้ รังมักจะอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 2-5 เมตร หรือมากกว่า นกมักจะใช้โพรงเดิมเป็นประจำทุก ๆ ปี นอกเหนือจากโพรงเหล่านั้นถูกนกหรือสัตว์อื่น ๆใช้ และนกแสกแดงไม่สามารถที่จะขับไล่ออกไปได้ ปรกติไม่มีวัสดุรองรังอีก รูปร่างของไข่เป็นรูปไข่ค่อนข้างกลม ขนาดโดยเฉลี่ย 30.0 x 34.5 มิลลิเมตร เปลือกไข่มีสีขาว ผิวเรียบ ในแต่ละรังมีไข่ 3-4 ฟอง บางรังก็มี 5 ฟอง ตัวเมียตัวเดียวที่ทำการฟักไข่ โดยเริ่มฟักหลังจากที่ออกไข่ฟองแรก ทั้ง 2 เพศช่วยกันเลี้ยงลูกอ่อน การพัฒนาของลูกอ่อนไม่แตกต่างไปจากนกแสกธรรมดามากนัก นกแสกแดงจัดเป็นนกแสก 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย โดยพบได้ในภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกพบได้น้อยและพบได้เฉพาะพิ้นที่บางส่วนเท่านั้น ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้ เช่น ศรีลังกา จนถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ ทำให้แบ่งออกได้เป็น 6 ชนิดย่อยด้วยกัน เช่น P.

สารบัญ

  1. 8 ความสัมพันธ์: รายชื่อนกรายชื่อนกที่พบในประเทศไทยวงศ์นกแสกอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมืองนกล่าเหยื่อนกแสกนกแสกแดง (สกุล)นกเค้า

รายชื่อนก

รายชื่อนก เป็นการรวบรวมรายชื่อนกในแต่ละวงศ์ สกุลและชนิดทั่วโลก เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับวงจรชีวิตความเป็นอยู่ของนก สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อนก ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อนกที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่รายชื่อนก.

ดู นกแสกแดงและรายชื่อนก

รายชื่อนกที่พบในประเทศไทย

นกกระจอกบ้านนกประจำถิ่นที่พบเห็นได้ง่ายมาก มีนกทั้งสิ้น 982 ชนิดที่มีบันทึกว่าพบในธรรมชาติของประเทศไทย มี 3 ชนิดเป็นนกถิ่นเดียว หนึ่งชนิดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่นำเข้ามาโดยมนุษย์ และ 45 ชนิดพบเห็นได้ยาก 7 ชนิดในรายชื่อทั้งหมดสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้วในประเทศไทยซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในบทความนี้ และ 49 ชนิดที่ถูกคุกคามทั่วโลก เรียงลำดับวงศ์และชนิดตาม เคลเมนต์ (2000) และเพิ่มชนิดตาม ร็อบสัน (2004) และหมอบุญส่ง ชื่อในภาษาไทยอ้างอิงตามหนังสือคู่มือดูนกของหมอบุญส่ง เลขะกุล ในปี..

ดู นกแสกแดงและรายชื่อนกที่พบในประเทศไทย

วงศ์นกแสก

วงศ์นกแสก (Barn-owl, วงศ์: Tytonidae) เป็นวงศ์ของนกล่าเหยื่อในอันดับนกเค้าแมว (Strigiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Tytonidae นับเป็นวงศ์ของนกเค้าแมววงศ์หนึ่ง นอกเหนือจากวงศ์นกเค้าแมว (Strigidae) มีลักษณะทั่วไป คือ มีขนาดใหญ่กว่านกในวงศ์นกเค้าแมว ใบหน้ากลมแบน มีขนสีขาวเต็มหน้า ทำให้คล้ายรูปหัวใจ ตามีสีดำ อยู่ด้านหน้า และมีขนาดเล็กกว่าวงศ์นกเค้าแมว ปากเป็นจะงอยงุ้ม สีเหลืองเทา ชมพู หลังและปีกสีน้ำตาลอ่อน มีสีน้ำตาลเทาเป็นส่วน ๆ คอ อก ท้อง สีขาว ขาวนวล มีจุดสีน้ำตาลเข้มทั่วไป ปีกยาว หางสั้น ขนปีกและหางมีลายขวางสีเหลืองสลับน้ำตาลอ่อน ขาใหญ่ มีขนคลุมขา ตีนสีชมพู นิ้วมีเล็บยาว รูปร่างลักษณะตัวผู้และตัวเมียจะคล้ายกัน โดยตัวเมียจะโตกว่าเล็กน้อย ลำตัวตั้งตรง มีพฤติกรรมการหากินและเป็นอยู่คล้ายกับนกในวงศ์นกเค้าแมว โดยแบ่งออกได้เป็น 2 สกุล 16 ชนิด และยังมีอีก 4 สกุล ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว (ดูในตาราง) พบกระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั่วโลก ในหลายภูมิประเทศ ทั้งในป่าดิบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล จนถึงชุมชนเมืองของมนุษย์ สำหรับในประเทศไทย พบได้ 3 ชนิด คือ นกแสก (Tyto alba) นกแสกทุ่งหญ้า (Tyto capensis) และนกแสกแดง (Phodilus badius) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า และพบได้เฉพาะในป่าเท่านั้น.

ดู นกแสกแดงและวงศ์นกแสก

อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง

อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มีถนนเพชรเกษมตัดผ่าน แบ่งอุทยานแห่งชาติออกเป็นสองส่วนคือ เขาลำปีทางฝั่งตะวันออก และหาดท้ายเหมืองทางฝั่งตะวันตก.

ดู นกแสกแดงและอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง

นกล่าเหยื่อ

หยี่ยว เป็นนกล่าเหยื่อประเภทหนึ่ง นกล่าเหยื่อ (Bird of prey, Raptor-มาจากภาษาละตินคำว่า rapere หมายถึง "บังคับด้วยกำลัง") เป็นชื่อสามัญเรียกโดยรวมของนกกลุ่มที่หากินในเวลากลางวัน และกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร รวมถึงอาจกินซากเป็นอาหารด้วย นกล่าเหยื่อจะมีหลักการบินโดยใช้ความรู้สึกกระตือรือร้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองเห็น นกกลุ่มนี้เป็นนกที่ล่าสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนใหญ่รวมทั้งนกด้วยกันจำพวกอื่น ๆ โดยมีกรงเล็บและจะงอยปากที่ค่อนข้างใหญ่และประสิทธิภาพและเหมาะสำหรับการฉีกขาดเนื้อ ส่วนใหญ่ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร Brown, Leslie (1997).

ดู นกแสกแดงและนกล่าเหยื่อ

นกแสก

นกแสก หรือ นกแฝก หรือ นกเค้าหน้าลิง (Barn owl, Common barn owl) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่งในวงศ์นกแสก (Tytonidae) วงศ์ย่อย Tytoninae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tyto alba จัดเป็น 1 ชนิดในจำนวน 19 ชนิดของนกในอันดับนกเค้าแมวที่พบได้ในประเทศไทย และนับเป็นนกแสกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย (อีก 1 ชนิดนั้นคือ นกแสกแดง).

ดู นกแสกแดงและนกแสก

นกแสกแดง (สกุล)

นกแสกแดง (Bay owl) เป็นสกุลของนกล่าเหยื่อที่หากินในเวลากลางคืน จำพวกนกเค้าแมวสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Phodilus อยู่ในวงศ์ย่อย Phodilinae ในวงศ์นกแสก (Phodilidae) มีลักษณะแตกต่างจากนกแสกในสกุล Tyto คือ มีขนที่ตั้งแหลมเหนือตาแลหูคล้ายหู มีใบหน้าที่เป็นรูปตัวยู เป็นวงกลมมากกว่า และมีขาที่แข็งแรง สามารถเกาะกิ่งไม้ในลักษณะตัวตั้งตรงได้ รวมทั้งเสียงร้องที่แตกต่างกันด้วย มีการล่าเหยื่อด้วยการจ้องมองและการโยกหัวไปมา และใช้การบินไปเกาะยังใต้ต้นไม้ต้นเล็ก ๆ ใต้เรือนยอดป่า แล้วจึงจับเหยื่อ เนื่องจากมีปีกที่กลมและสั้น มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือ.

ดู นกแสกแดงและนกแสกแดง (สกุล)

นกเค้า

นกเค้า หรือ นกเค้าแมว หรือ นกฮูก (Owl) เป็นนกที่อยู่ในอันดับ Strigiformes มีรูปใบหน้าคล้ายแมว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ จับสัตว์เล็ก ๆ กินเป็นอาหาร เช่น หนู, งู หรือสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเล็ก ๆ ในขณะที่บางชนิดที่มีขนาดใหญ่อาจจับปลา หรือปูกินได้ด้วย จัดเป็นนกล่าเหยื่อจำพวกหนึ่งเหมือนเหยี่ยว, อินทรี และแร้ง ที่หากินในเวลากลางวัน ส่วนนกเค้าแมวนั้นมักหากินในเวลากลางคืน ทำให้มีเล็บโค้งแหลมและมีปากงุ้มแหลมสำหรับจับสัตว์กิน เหตุที่หากินในเวลากลางคืน เป็นเพราะนกเค้าแมวเป็นนกที่ไม่อาจสู้กับนกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน อย่าง เหยี่ยวหรืออินทรีได้ อีกทั้งบางครั้งยังถูกนกที่มีขนาดเล็กกว่าอย่าง นกเอี้ยงหรือนกกิ้งโครงไล่จิกตีอีกต่างหาก เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน จึงมีดวงตาโตกว่าเหยี่ยวและอินทรีมาก ดวงตาอยู่ด้านหน้าของใบหน้าเหมือนมนุษย์และสัตว์ตระกูลแมว หัวหมุนได้เกือบรอบตัวได้ถึง 270 องศา เนื่องจากมีกระดูกสันหลังตรงคอ 14 ชิ้น ซึ่งมากกว่าสัตว์ชนิดใด ๆ ในโลก หูของนกเค้าแมวมีความไวมากเป็นพิเศษสำหรับการฟังเสียงในเวลากลางคืนและหาเหยื่อ มีขนปีกอ่อนนุ่ม บินได้เงียบเพื่อไม่ให้เหยื่อรู้ตัว และมีประสาทสายตาที่มองเห็นได้ดีกว่ามนุษย์ถึง 100 เท่าโดยปกติแล้วตัวเมียมีขนาดโตกว่าตัวผู้ ตัวเมียเป็นตัวที่กกไข่ ตัวผู้ไม่กกไข่ มักพบก้อนที่สำรอกคายออกทิ้งลงมาที่พื้นเบื้องล่างในรังหรือบริเวณใกล้เคียงกับรัง เพราะนกเค้าแมวมักกลืนเหยื่อเข้าไปทั้งตัว กระดูกและขนที่ไม่ย่อยก็สำรอกออกมาเป็นก้อนทิ้งทีหลัง.

ดู นกแสกแดงและนกเค้า

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Phodilus badius