โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นกเค้า

ดัชนี นกเค้า

นกเค้า หรือ นกเค้าแมว หรือ นกฮูก (Owl) เป็นนกที่อยู่ในอันดับ Strigiformes มีรูปใบหน้าคล้ายแมว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ จับสัตว์เล็ก ๆ กินเป็นอาหาร เช่น หนู, งู หรือสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเล็ก ๆ ในขณะที่บางชนิดที่มีขนาดใหญ่อาจจับปลา หรือปูกินได้ด้วย จัดเป็นนกล่าเหยื่อจำพวกหนึ่งเหมือนเหยี่ยว, อินทรี และแร้ง ที่หากินในเวลากลางวัน ส่วนนกเค้าแมวนั้นมักหากินในเวลากลางคืน ทำให้มีเล็บโค้งแหลมและมีปากงุ้มแหลมสำหรับจับสัตว์กิน เหตุที่หากินในเวลากลางคืน เป็นเพราะนกเค้าแมวเป็นนกที่ไม่อาจสู้กับนกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน อย่าง เหยี่ยวหรืออินทรีได้ อีกทั้งบางครั้งยังถูกนกที่มีขนาดเล็กกว่าอย่าง นกเอี้ยงหรือนกกิ้งโครงไล่จิกตีอีกต่างหาก เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน จึงมีดวงตาโตกว่าเหยี่ยวและอินทรีมาก ดวงตาอยู่ด้านหน้าของใบหน้าเหมือนมนุษย์และสัตว์ตระกูลแมว หัวหมุนได้เกือบรอบตัวได้ถึง 270 องศา เนื่องจากมีกระดูกสันหลังตรงคอ 14 ชิ้น ซึ่งมากกว่าสัตว์ชนิดใด ๆ ในโลก หูของนกเค้าแมวมีความไวมากเป็นพิเศษสำหรับการฟังเสียงในเวลากลางคืนและหาเหยื่อ มีขนปีกอ่อนนุ่ม บินได้เงียบเพื่อไม่ให้เหยื่อรู้ตัว และมีประสาทสายตาที่มองเห็นได้ดีกว่ามนุษย์ถึง 100 เท่าโดยปกติแล้วตัวเมียมีขนาดโตกว่าตัวผู้ ตัวเมียเป็นตัวที่กกไข่ ตัวผู้ไม่กกไข่ มักพบก้อนที่สำรอกคายออกทิ้งลงมาที่พื้นเบื้องล่างในรังหรือบริเวณใกล้เคียงกับรัง เพราะนกเค้าแมวมักกลืนเหยื่อเข้าไปทั้งตัว กระดูกและขนที่ไม่ย่อยก็สำรอกออกมาเป็นก้อนทิ้งทีหลัง.

51 ความสัมพันธ์: ฟาเบิลเจิสกรันต์พิสัยการได้ยินกระรอกบินไซบีเรียกระต่ายสโนว์ชูกระเพาะพักการปรับตาดูใกล้ไกลการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตามนุษย์นกฮูกรายชื่อตัวละครใน ฮันเตอร์ x ฮันเตอร์รายชื่อตุ๊กตาสัญลักษณ์โอลิมปิกรายชื่อนกรายชื่อนกที่พบในประเทศไทยวงศ์นกแสกวงศ์นกเค้าแมวสกังก์สตรีโกยหนูผีอาการกลัวสัตว์อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 12ฮะนะมะกิขบวนการอนาคต ไทม์เรนเจอร์ตะกวดแม่น้ำไนล์นกกาเหว่านกล่าเหยื่อนกทึดทือพันธุ์เหนือนกทึดทือมลายูนกแก้วคาคาโปนกแสกนกแสก (สกุล)นกแสกแดง (สกุล)นกเค้ากู่นกเค้าจุดนกเค้าป่าสีน้ำตาลนกเค้าป่าหลังจุดนกเค้าแมวหูสั้นนกเค้าแคระนกเค้าใหญ่นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรานกเค้าใหญ่แวโรนกเค้าโมงนกเค้าเหยี่ยวแบนชีแรงโก้ ฮีโร่ทะเลทรายแร้งแอนดราสโดคุโร โครมเฟอร์บีเวตาลเฮดจ์ฮอกสี่นิ้วเดอะเฟม...Power Animals ขยายดัชนี (1 มากกว่า) »

ฟาเบิลเจิสกรันต์

ตัวละครบางส่วนจากซีรีส์ เมอเนร์ เดอ เอยล์ กับหนังสือพิมพ์ "ฟาเบิลเจิสกรันต์'' ฟาเบิลเจิสกรันต์ (Fabeltjeskrant) หรือ เดอฟาเบิลเจิสกรันต์ (De Fabeltjeskrant แปลว่า "หนังสือพิมพ์นิทาน") เป็นซีรีส์โทรทัศน์สำหรับเด็กสัญชาติดัตช์ ซึ่งมีจุดเด่นด้านหุ่นกระบอกและสตอปโมชัน ซีรีส์นี้ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นใน..

ใหม่!!: นกเค้าและฟาเบิลเจิสกรันต์ · ดูเพิ่มเติม »

พิสัยการได้ยิน

ัยการได้ยิน (Hearing range) หมายถึงพิสัยความถี่เสียงที่มนุษย์หรือสัตว์อื่น ๆ ได้ยิน แม้ก็อาจหมายถึงระดับความดังเสียงได้ด้วยเหมือนกัน มนุษย์ปกติจะได้ยินในพิสัยความถี่ 20-20,000 เฮิรตซ์ (Hz) แต่ก็จะต่างไปตามบุคคลพอสมควรโดยเฉพาะเสียงความถี่สูง และการสูญความไวเสียงความถี่สูงอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามอายุก็เป็นเรื่องปกติ ความไวต่อความถี่ต่าง ๆ แม้ในบุคคลก็ยังไม่เท่ากันอีกด้วย (ดูหัวข้อ เส้นชั้นความดังเสียงเท่า) มีสัตว์หลายอย่างที่สามารถได้ยินเสียงเกินพิสัยของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น โลมาและค้างคาวสามารถได้ยินเสียงสูงจนถึง 100,000 Hz ช้างสามารถได้ยินเสียงต่ำจนถึง 14-16 Hz ในขณะที่วาฬบางชนิดสามารถได้ยินเสียงต่ำในน้ำจนถึง 7 Hz.

ใหม่!!: นกเค้าและพิสัยการได้ยิน · ดูเพิ่มเติม »

กระรอกบินไซบีเรีย

กระรอกบินไซบีเรีย (Siberian flying squirrel) คือ กระรอกบินสายพันธุ์เก่าแก่สายพันธุ์หนึ่งของโลก อาศัยอยู่ในแนวทะเลบอลติกทางตะวันตก ไปจนถึงชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออก กระรอกบินไซบีเรียเป็นกระรอกบินสายพันธุ์เดียวเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในยุโรป และถูกพิจารณาให้อยู่ในสถานะที่สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์ในทวีปยุโรป.

ใหม่!!: นกเค้าและกระรอกบินไซบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

กระต่ายสโนว์ชู

กระต่ายป่าสโนว์ชู (Snowshoe HareHoffman, Robert S.; Smith, Andrew T. (16 November 2005).. In Wilson, Don E., and Reeder, DeeAnn M., eds. (3rd ed.). Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2 vols. (2142 pp.). pp. 195. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC.) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับกระต่าย กระต่ายป่าสโนว์ชูมีถิ่นกำเนิดจากทวีปยุโรป อาศัยอยู่ในป่าสน มีขนสีน้ำตาล เมื่อถึงฤดูหนาว ขนของมันก็จะเปลี่ยนเป็นสีขาว เพื่อพรางตัวให้เหมือนกับหิมะ ซ่อนตัวจากสัตว์นักล่า เช่น หมาป่า และ นกเค้าแมว.

ใหม่!!: นกเค้าและกระต่ายสโนว์ชู · ดูเพิ่มเติม »

กระเพาะพัก

นกหงส์หยกเพศผู้หลังได้รับอาหารจนกระเพาะพักเต็ม แม่นกฟลามิงโกกำลังให้นมกระเพาะพักกับลูกในสวนสัตว์บาเซิล กระเพาะพัก (เลข 4) อยู่ตรงต้นทางเดินอาหาร กระเพาะพัก (crop, croup, craw, inglusives) เป็นส่วนหนึ่งของทางเดินอาหารที่มีผนังบาง ใช้สำหรับเก็บอาหารก่อนการย่อย โครงสร้างทางกายวิภาคนี้พบได้ในสัตว์หลายชนิด รวมถึง นก ไดโนเสาร์ และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังรวมถึง สัตว์ในชั้นแกสโทรโพดา (เช่น ทากและหอยทาก), ไส้เดือนดิน, ปลิง, และแมลง.

ใหม่!!: นกเค้าและกระเพาะพัก · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตาดูใกล้ไกล

การปรับตาดูไกลและใกล้ '''Lens'''.

ใหม่!!: นกเค้าและการปรับตาดูใกล้ไกล · ดูเพิ่มเติม »

การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา

quote.

ใหม่!!: นกเค้าและการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์นกฮูก

มิวนาน สถานที่พบเห็น มนุษย์นกฮูก (Owlman) เป็นสิ่งมีชีวิตลึกลับที่มีผู้อ้างว่าพบเห็นในประเทศอังกฤษ ในยุคทศวรรษที่ 70 ที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์ผสมกับนกฮูกหรือนกเค้าแมวขนาดใหญ่ คล้ายกับมอธแมน ในเวสต์เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา บางครั้ง มนุษย์นกฮูก ยังมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น มนุษย์นกฮูกคอร์นิช (Cornish Owlman) หรือ มนุษย์นกฮูกแห่งมิวนาน (Owlman of Mawnan).

ใหม่!!: นกเค้าและมนุษย์นกฮูก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครใน ฮันเตอร์ x ฮันเตอร์

ต่อไปนี้คือ รายชื่อตัวละครในฮันเตอร์ x ฮันเตอร์ ผลงานการ์ตูนของ โยชิฮิโร โทะก.

ใหม่!!: นกเค้าและรายชื่อตัวละครใน ฮันเตอร์ x ฮันเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตุ๊กตาสัญลักษณ์โอลิมปิก

ตุ๊กตาสัญลักษณ์โอลิมปิก (Olympic mascot) เป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ในกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกเมื่อปี 1968 เว็นล็อก และ แมนด์วิลล์ ตุ๊กตาสัญลักษณ์โอลิมปิกฤดูร้อน 2012และพาราลิมปิกฤดูร้อน 2012.

ใหม่!!: นกเค้าและรายชื่อตุ๊กตาสัญลักษณ์โอลิมปิก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อนก

รายชื่อนก เป็นการรวบรวมรายชื่อนกในแต่ละวงศ์ สกุลและชนิดทั่วโลก เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับวงจรชีวิตความเป็นอยู่ของนก สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อนก ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อนกที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่รายชื่อนก.

ใหม่!!: นกเค้าและรายชื่อนก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อนกที่พบในประเทศไทย

นกกระจอกบ้านนกประจำถิ่นที่พบเห็นได้ง่ายมาก มีนกทั้งสิ้น 982 ชนิดที่มีบันทึกว่าพบในธรรมชาติของประเทศไทย มี 3 ชนิดเป็นนกถิ่นเดียว หนึ่งชนิดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่นำเข้ามาโดยมนุษย์ และ 45 ชนิดพบเห็นได้ยาก 7 ชนิดในรายชื่อทั้งหมดสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้วในประเทศไทยซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในบทความนี้ และ 49 ชนิดที่ถูกคุกคามทั่วโลก เรียงลำดับวงศ์และชนิดตาม เคลเมนต์ (2000) และเพิ่มชนิดตาม ร็อบสัน (2004) และหมอบุญส่ง ชื่อในภาษาไทยอ้างอิงตามหนังสือคู่มือดูนกของหมอบุญส่ง เลขะกุล ในปี..

ใหม่!!: นกเค้าและรายชื่อนกที่พบในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกแสก

วงศ์นกแสก (Barn-owl, วงศ์: Tytonidae) เป็นวงศ์ของนกล่าเหยื่อในอันดับนกเค้าแมว (Strigiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Tytonidae นับเป็นวงศ์ของนกเค้าแมววงศ์หนึ่ง นอกเหนือจากวงศ์นกเค้าแมว (Strigidae) มีลักษณะทั่วไป คือ มีขนาดใหญ่กว่านกในวงศ์นกเค้าแมว ใบหน้ากลมแบน มีขนสีขาวเต็มหน้า ทำให้คล้ายรูปหัวใจ ตามีสีดำ อยู่ด้านหน้า และมีขนาดเล็กกว่าวงศ์นกเค้าแมว ปากเป็นจะงอยงุ้ม สีเหลืองเทา ชมพู หลังและปีกสีน้ำตาลอ่อน มีสีน้ำตาลเทาเป็นส่วน ๆ คอ อก ท้อง สีขาว ขาวนวล มีจุดสีน้ำตาลเข้มทั่วไป ปีกยาว หางสั้น ขนปีกและหางมีลายขวางสีเหลืองสลับน้ำตาลอ่อน ขาใหญ่ มีขนคลุมขา ตีนสีชมพู นิ้วมีเล็บยาว รูปร่างลักษณะตัวผู้และตัวเมียจะคล้ายกัน โดยตัวเมียจะโตกว่าเล็กน้อย ลำตัวตั้งตรง มีพฤติกรรมการหากินและเป็นอยู่คล้ายกับนกในวงศ์นกเค้าแมว โดยแบ่งออกได้เป็น 2 สกุล 16 ชนิด และยังมีอีก 4 สกุล ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว (ดูในตาราง) พบกระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั่วโลก ในหลายภูมิประเทศ ทั้งในป่าดิบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล จนถึงชุมชนเมืองของมนุษย์ สำหรับในประเทศไทย พบได้ 3 ชนิด คือ นกแสก (Tyto alba) นกแสกทุ่งหญ้า (Tyto capensis) และนกแสกแดง (Phodilus badius) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า และพบได้เฉพาะในป่าเท่านั้น.

ใหม่!!: นกเค้าและวงศ์นกแสก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกเค้าแมว

วงศ์นกเค้าแมว หรือ วงศ์นกเค้าแมวแท้ (True owl, Typical owl, วงศ์: Strigidae) เป็นวงศ์ของนกล่าเหยื่อในอันดับ Strigiformes หรือนกเค้าแมว ใช้ชื่อวงศ์ว่า Strigidae ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ (อีกวงศ์หนึ่ง นั่นคือ Tytonidae ซึ่งเป็นวงศ์ของนกแสก) มีลักษณะทั่วไปที่เป็นลักษณะเด่นชัด คือ มีตากลมโตสีเหลือง และมีตาอยู่ด้านหน้า ในบางสกุลหรือบางชนิด จะมีขนหูตั้งขึ้นต่อจากคิ้ว ตาสองข้างอยู่ด้านหน้า เหนือปาก เป็นเหมือนรูปจมูก มีเส้นสีที่แสดงเขตใบหน้าอย่างชัดเจน จะงอยปากงุ้มแหลมคม ปากงุ้มแหลม ปากและขาสีเนื้อ มีเล็บนิ้วยาวสำหรับฉีกเหยื่อที่จับได้ สีขนส่วนใหญ่ของหลัง-ปีก-อก และท้อง จะเป็นสีน้ำตาล-น้ำตาลเข้ม และมีลายน้ำตาลเข้ม-ดำ อก และท้องจะมีสีอ่อน กว่าหลังและปีก หางจะไม่ยาว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ลวดลายของอกและท้องรวมทั้งสีขนจะแตกต่างกันในแต่ละชนิด นอกจากนี้แล้ว นกในวงศ์นี้ ยังสามารถหมุนคอได้เกือบรอบตัวได้ถึง 270 องศา เนื่องจากมีกระดูกสันหลังตรงคอ 14 ชิ้น ซึ่งมากกว่าสัตว์ชนิดใด ๆ ในโลก โดยมากแล้วเป็นนกที่หากินในเวลากลางคืน โดยอาหารหลักได้แก่ หนู และสัตว์ชนิดอื่น เช่น สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก เป็นต้น มีพฤติกรรมการกินอาหารที่มักกลืนเหยื่อเข้าไปทั้งตัว และจะสำรอกส่วนที่ย่อยไม่ได้เช่น กระดูกหรือก้อนขน ออกมาเป็นก้อนทีหลัง อาจมีบางชนิดที่กินปลาเป็นอาหาร มีขนาดแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ นกเค้าเอลฟ์ (Micrathene whitneyi) ที่มีน้ำหนักเพียง 40 กรัม ความยาวลำตัวเพียง 14 เซนติเมตร ความยาวปีก 20 เซนติเมตร จนถึง นกเค้าอินทรียูเรเชีย (Bubo bubo) ที่มีความยาวปีกยาวกว่า 75 เซนติเมตร น้ำหนัก 4.20 กิโลกรัม นับเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์และอันดับนี้ ปัจจุบัน พบทั้งหมดราว 200 ชนิด แบ่งได้เป็น 25 สกุล ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว 4 (ดูในตาราง) พบได้ทุกทวีปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่บริเวณขั้วโลกเหนือ พบได้ในหลากหลายภูมิประเทศ ตั้งแต่ในป่าดิบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 200 เมตร จนถึงชุมชนมนุษย์ในเมืองใหญ่ สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั้งหมด 17 ชน.

ใหม่!!: นกเค้าและวงศ์นกเค้าแมว · ดูเพิ่มเติม »

สกังก์

กังก์ (Skunk) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินเนื้อ ที่อยู่ในวงศ์ Mephitidae สกังก์ เดิมเคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกับวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ซึ่งเป็นวงศ์ของสัตว์กินเนื้อขนาดเล็กจำนวนมาก เช่น วีเซล, มาร์เทิน, หมาหริ่ง, หมูหริ่ง, แบดเจอร์ ซึ่งสกังก์เคยถูกเป็นวงศ์ย่อยใช้ชื่อว่า Mephitinae แต่ปัจจุบันได้มีการศึกษาทางพันธุศาสตร์พบว่าสกังก์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวงศ์เพียงพอน จึงแยกออกมาเป็นวงศ์ต่างหาก.

ใหม่!!: นกเค้าและสกังก์ · ดูเพิ่มเติม »

สตรีโกย

ตรีโกย จากสารคดีชุด ''Lost Tapes'' สตรีโกย (Strigoi; striga; หมายถึง โพลเทอร์ไกสท์) เป็นผีหรือปิศาจตามความเชื่อของชาวโรมาเนียประเภทแวมไพร์อย่างหนึ่ง สตรีโกยไม่เหมือนแวมไพร์อย่างอื่นตรงที่จะไม่ดูดเลือดจากมนุษย์โดยตรง แต่จะดูดวิญญาณหรือพลังชีวิตจากเหยื่อแทน สตรีโกยจะมีหางเล็ก ๆ งอกออกมาเหมือนกระดูกก้นกบที่ยาวผิดปกติ และยังเชื่ออีกว่าสตรีโกยมีพลังเหนือธรรมชาติสามารถเคลื่อนย้ายผลผลิตของชาวนาหรือรีดนมจากแม่วัวให้หมดไปได้ เพื่อให้ชาวนาและครอบครัวอดตาย สตรีโกย เป็นความเชื่อเรื่องแวมไพร์แบบพื้นบ้านของโรมาเนีย ผู้ที่เป็นสตรีโกยยังอาจหมายถึงแม่มด หรือผู้ที่เล่นเวทมนตร์ไสยศาสตร์ คำว่า สตรีโกย มาจากรากศัพท์ภาษาโรมาเนียคำกริยาที่หมายถึง "กรีดร้อง" ที่มาจากภาษาละตินคำว่า strix หรือ striga ซึ่งรากศัพท์หมายถึงนกฮูกหรือประเภทของนกฮูก หรือหมายถึงปรสิตดูดเลือด เช่น Strigeidida ซึ่งเป็นคำเดียวกันที่พบได้ทั่วทั้งภาษาโรมานซ์ เช่นภาษาอิตาลี strega หรือภาษาเวนิส คำว่า strěga แปลว่า "แม่มด" ในภาษาฝรั่งเศส stryge หมายถึง นกผู้หญิงที่ดูดเลือดเด็ก ฌูล แวร์น นักเขียนนิยายชาวฝรั่งเศสได้ใช้คำว่า "stryges" ในบทที่ 2 ในนิยายของตนเรื่อง The Carpathian Castle ตีพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: นกเค้าและสตรีโกย · ดูเพิ่มเติม »

หนูผี

หนูผี (Shrews) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับตุ่น (Soricomorpha) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Soricidae ครั้งหนึ่ง หนูผีเคยถูกจัดให้อยู่ในอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) หนูผี มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับหนู ซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ซึ่งเป็นสัตว์คนละอันดับมาก แต่ทว่ามีขนาดเล็กกว่ามาก มีฟันที่แหลมคมที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด สามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า ตามลำตัวมีขนที่อ่อนนุ่มสีคล้ำปกคลุม ตาและใบหูมีขนาดเล็กมากฝังอยู่ในขน ดังนั้นตาและหูของหนูผีใช้การไม่ค่อยดี จึงอาศัยประสาทการดมกลิ่นจากจมูกเป็นหลัก โดยมักจะกระดุกกระดิกจมูกสอดส่ายหากลิ่นตามพื้นดิน หรือบางครั้งก็ชูขึ้นสูดกลิ่นในอากาศ หนูผี โดยขุดรูตื้น ๆ อยู่ในดินหรือซุกซ่อนในพงหญ้า กินอาหารหลักจำพวก แมลง และอาจมีเมล็ดพืชบ้าง หนูผีเป็นสัตว์ที่มีระบบการเผาผลาญอาหารสูงมาก ดังนั้น จึงจะหากินอยู่ตลอดเวลา ด้วยการหากิน 3 ชั่วโมง และนอนหลับ 3 ชั่วโมง เป็นเช่นนี้สลับกันไปตลอด หากไม่เช่นแล้ว อาจทำให้ถึงตายได้ หนูผี เป็นสัตว์ที่มีอุปนิสัยดุร้าย มักกัดกันเองเสมอ ๆ โดยหากเมื่อต่อสู้กันแล้ว มักจะขู่ศัตรูด้วยการยืนด้วยสองขาหลังส่งเสียงร้องแหลมเล็กให้หนีไป หากได้กัดแล้ว จะกัดด้วยการกัดที่หางและขาหลังของกันและกันเป็นวงกลมเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ พร้อมกับเสียงดังข่มขู่กันตลอด หนูผี บางชนิดเมื่อกัดแล้วมีพิษ และถือเป็นสัตว์ที่มีต่อมน้ำพิษที่มีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรงอยู่ใต้ผิวหนัง ดังนั้น หนูผีจึงมักไม่ค่อยตกเป็นอาหารของสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ ยกเว้นนกเค้าแมว หนูผี ทำรังด้วยใบไม้และฟาง ออกลูกครอกละ 5-8 ตัว ปีหนึ่ง ๆ อาจออกได้หลายครอก ลูกอ่อนจะสามารถหาเลี้ยงตัวเองได้เมื่อมีอายุได้ 5 สัปดาห์ แต่หนูผีมักมีอายุสั้นไม่เกินหนึ่งปี กระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทุกทวีปของโลก พบในหลากหลายภูมิประเทศ รวมถึงในบ้านเรือนของมนุษย์ หนูผีที่พบในบ้านจะไม่ทำลายข้าวของเหมือนเช่นหนูบ้านทั่วไป เนื่องด้วยไม่ใช่สัตว์ฟันแทะ แต่อาจจะมีขโมยเศษอาหารได้ ทำให้เกิดกลิ่นเหม็บสาบรุนแรง และอาจจะจับแมลงสาบกินได้ และกลิ่นเหม็นอันรุนแรงของหนูผีจะไล่หนูบ้านออกไปได้ นอกจากนี้แล้ว หนูผียังสามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้เก่งกว่าหนูมาก โดยสามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานถึง 20 วินาที เพื่อจับสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น หอย หรือตัวอ่อนของแมลงปอ กินเป็นอาหาร หนูผี ในปัจจุบันนี้พบแล้วกว่า 385 ชนิด ใน 26 สกุล แบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อยได้ 3 วงศ์ (ดูในตาราง)สำหรับชนิดที่พบได้ในประเทศไทยมีหลายชนิด อาทิ หนูผีบ้าน (Suncus murinus), หนูผีจิ๋ว (S. etrusucs), และชนิดที่พบได้ในป่าและทุ่งนา เช่น หนูผีป่า (S. malayanus), หนูผีภูเขา (Crocidura monticola) เป็นต้น โดยที่ครั้งหนึ่ง หนูผีจิ๋วที่พบได้ในทวีปยุโรปและในไทยด้วย เคยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกนมที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกมาแล้ว.

ใหม่!!: นกเค้าและหนูผี · ดูเพิ่มเติม »

อาการกลัวสัตว์

อาการกลัวสัตว์ (zoophobia.) หมายถึงความกลัวต่อสัตว์อย่างรุนแรงและไม่สมเหตุสมผล ซึ่งเป็นความเชื่องมงายชนิดหนึ่งและเกี่ยวข้องกับอาการกลัวการรับประทานสัตว์ อาการกลัวซากสัตว์ตาย อาการกลัวสวนสัตว์ เป็นต้น ชนิดย่อยของอาการกลัวสัตว์คือ อาการกลัวช้าง (Elephaphobia สืบค้นเมื่อ 3 ก.พ. 2561.) ซึ่งหมายถึงอาการกลัวจำเพาะช้าง และ อาการกลัวแรด (Rhinophobia สืบค้นเมื่อ 3 ก.พ. 2561.) ซึ่งหมายถึงอาการการกลัวจำเพาะแร.

ใหม่!!: นกเค้าและอาการกลัวสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 12

อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 12 (America's Next Top Model, Cycle 12) เป็นฤดูกาลที่ 12 ของอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ออกอากาศครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา ทางช่อง CW ในวันที่ 25 กุมภาพัน..

ใหม่!!: นกเค้าและอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 12 · ดูเพิ่มเติม »

ฮะนะมะกิ

นะมะกิ เป็นเมืองในจังหวัดอิวะเตะ ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2005 คาดว่ามีจำนวนประชากรประมาณ 106,414 คน ฮะนะมะกิเป็นเมืองบ้านเกิดของ เคนจิ มิยะซะวะ กวีชื่อดังในสมัยโชว.

ใหม่!!: นกเค้าและฮะนะมะกิ · ดูเพิ่มเติม »

ขบวนการอนาคต ไทม์เรนเจอร์

วนการอนาคต ไทม์เรนเจอร์ เป็นภาพยนตร์แนว ขบวนการนักสู้ ลำดับที่ 24 ของประเทศญี่ปุ่น ออกอากาศทางสถานี ทีวีอาซาฮี ทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.30-8.00 น. ตามเวลาประเทศญี่ปุ่น โดยเริ่มออกอากาศตั้งแต่เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 ถึง 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 รวมความยาวทั้งสิ้น 51 ตอน และมีตอนพิเศษอีก 2 ตอน คือ Timeranger Speacial File.51 และ ไทม์เรนเจอร์ vs.

ใหม่!!: นกเค้าและขบวนการอนาคต ไทม์เรนเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ตะกวดแม่น้ำไนล์

ตะกวดแม่น้ำไนล์(Nile monitor) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของทวีปแอฟริกา ลำตัวยาว 1-1.4 เมตร น้ำหนัก 4-7 กิโลกรัม ลำตัวเมื่อสัมผัสน้ำจะมีสีสันสดใส มีขา 4 ขา มีเล็บแหลมคมแข็งแรงและทรงพลัง สามารถว่ายน้ำได้รวดเร็ว เมื่อขึ้นจากน้ำจะชอบนอนผึ่งแดดให้ตัวแห้ง โดยจะสามารถพบได้ทั่วไปตามหนอง, บึง และแม่น้ำในป่าของทวีปแอฟริกา กินอาหารได้แทบทุกชนิดรวมทั้ง ปู, หอย, กบ และปลา ตลอดจนกินนกที่ทำรังบนพื้นดิน และไข่จระเข้ อย่างไรก็ตาม ตะกวดแม่น้ำไนล์มักตกเป็นเหยื่อของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่กว่า อย่าง นกอินทรี, จระเข้ หรืองูเหลือมได้ เมื่อยังมีขนาดเล็กหรือเมื่ออ่อนแอ ตะกวดแม่น้ำไนล์ ได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในพื้นที่ฟลอริดาของสหรัฐอเมริกา ด้วยความที่เป็นสัตว์่ีที่ปรับตัวให้กับสภาพแวดล้อมที่ไม่ใช่ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมได้อย่างดี โดยจะส่้งผลถึงการสูญพันธุ์ของสัตว์พื้นเมืองอย่าง นกฮูก, เต่าทะเล และสัตว์ป่าบางชน.

ใหม่!!: นกเค้าและตะกวดแม่น้ำไนล์ · ดูเพิ่มเติม »

นกกาเหว่า

นกกาเหว่า หรือ นกดุเหว่า (Asian koel) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกคัคคู (Cuculidae) พบในเอเชียใต้ จีน เอเชียอาคเนย์รวมทั้งประเทศไทย เป็นญาติใกล้ชิดกับ E. melanorhynchus (black-billed koel) และกับ E. orientalis (Pacific koel) โดยทั้งสองบางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ย่อยของ E. scolopaceus เป็นญาติใกล้ชิดกับ E. melanorhynchus (black-billed koel) และกับ E. orientalis (Pacific koel) โดยทั้งสองบางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ย่อยของ E. scolopaceus เป็นนกปรสิตที่วางไข่ให้กาและนกอื่น ๆ เลี้ยง เป็นนกจำพวกคัคคูที่ไม่เหมือนพันธุ์อื่น ๆ เพราะโดยมากกินผลไม้ (frugivore) เมื่อเติบใหญ่ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ชื่อว่า "กาเหว่า" และชื่ออื่น ๆ อีกหลายภาษารวมทั้งชื่ออังกฤษว่า "koel" เป็นชื่อเลียนเสียงนก เป็นนกที่ใช้เป็นสัญลักษณ์อย่างมากมายในวรรณกรรมอินเดี.

ใหม่!!: นกเค้าและนกกาเหว่า · ดูเพิ่มเติม »

นกล่าเหยื่อ

หยี่ยว เป็นนกล่าเหยื่อประเภทหนึ่ง นกล่าเหยื่อ (Bird of prey, Raptor-มาจากภาษาละตินคำว่า rapere หมายถึง "บังคับด้วยกำลัง") เป็นชื่อสามัญเรียกโดยรวมของนกกลุ่มที่หากินในเวลากลางวัน และกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร รวมถึงอาจกินซากเป็นอาหารด้วย นกล่าเหยื่อจะมีหลักการบินโดยใช้ความรู้สึกกระตือรือร้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองเห็น นกกลุ่มนี้เป็นนกที่ล่าสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนใหญ่รวมทั้งนกด้วยกันจำพวกอื่น ๆ โดยมีกรงเล็บและจะงอยปากที่ค่อนข้างใหญ่และประสิทธิภาพและเหมาะสำหรับการฉีกขาดเนื้อ ส่วนใหญ่ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร Brown, Leslie (1997).

ใหม่!!: นกเค้าและนกล่าเหยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

นกทึดทือพันธุ์เหนือ

นกทึดทือพันธุ์เหนือ (Brown fish owl; หรือ Bubo zeylonensis) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่ง พบในเขตอบอุ่นและเขตร้อนชื้นตามไหล่ทวีปเอเชียและหมู่เกาะGrimmett et al. (1999).

ใหม่!!: นกเค้าและนกทึดทือพันธุ์เหนือ · ดูเพิ่มเติม »

นกทึดทือมลายู

นกทึดทือมลายู หรือ นกเค้าแมวมลายู หรือ นกฮูกมลายู หรือ นกพิทิดพิที ในภาษาใต้ (Buffy fish owl, Malay fish owl; หรือ Bubo ketupa) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง จำพวกนกเค้าแมว เป็นนกเค้าแมวขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 49-50 เซนติเมตร ปีกสั้นกว่า 40 เซนติเมตร ดวงตาสีเหลืองจนถึงเหลืองแกมทอง มีขนเหนือคิ้วเป็นแผงยาวออกไปด้านข้างทั้งสองด้าน ส่วนขนบริเวณเหนือโคนปากเป็นสีขาว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลมีลายสีจางกระจาย ด้านล่างสีเนื้อแกมน้ำตาลเหลือง มีลายขีดสีดำ เมื่อหุบปีกจะเห็นลายแถบสีน้ำตาลจางสลับสีเข้มบริเวณปลายปีก ขาสีเขียว มีเล็บโค้งแหลม และมีปากงุ้มแหลม มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน ทำรังอยู่ในโพรงไม้ หรือใช้รังเก่าของนกอื่น ๆ เป็นรัง ออกไข่ครั้งละ 1-3 ฟอง ลักษณะไข่มีเปลือกสีขาวและทรงกลม ตัวผู้จะเป็นฝ่ายส่งเสียงร้องเรียกตัวเมีย มักอาศัยอยู่ตามป่าดิบแล้ง, ป่าดิบชื้น ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ใกล้แหล่งน้ำหรือลำธารในป่า และบริเวณใกล้ชายฝั่ง ส่วนใหญ่หากินในเวลากลางคืน จับสัตว์ขนาดเล็กกินเป็นอาหาร ซึ่งได้แก่ ปลา, กบ, ปู, ค้างคาว, นกชนิดอื่น และสัตว์เลื้อยคลานเกือบทุกชนิด เมื่อเวลาบินล่าเหยื่อจะบินได้เงียบกริบมาก พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ตอนล่างของไทยเช่น จังหวัดนราธิวาส พบไปตลอดแหลมมลายูจนถึงประเทศอินโดนีเซีย, เกาะชวา และหมู่เกาะซุนดา ซึ่งนกทึดทือมลายู เป็นนกที่ถูกอ้างอิงถึงในนวนิยายสำหรับเด็กเรื่อง แฮร์รี่ พ็อตเตอร์ ด้วยเป็นนกของแฮร์รี่ พ็อตเตอร์ ตัวละครเอก เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2546.

ใหม่!!: นกเค้าและนกทึดทือมลายู · ดูเพิ่มเติม »

นกแก้วคาคาโป

นกแก้วคาคาโป (เมารี: kākāpō) เป็นภาษามาวรี มีความหมายว่า "นกแก้วกลางคืน" เป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Strigopidae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Strigops habroptilus นกแก้วคาคาโป บ้างก็เรียกว่า "นกแก้วฮูก" ซึ่งเป็นนกแก้วที่บินไม่ได้ที่พบในนิวซีแลนด์เท่านั้น ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของวิวัฒนาการบนเกาะโดดเดี่ยว ทำให้มีรูปลักษณ์พิเศษ โดยบรรพบุรุษร่วมของนกแก้วคาคาโปและนกในสกุล Nestor ในวงศ์ใหญ่เดียวกัน คือ วงศ์ Strigopoidea ได้แยกไปอยู่ต่างหากจากนกแก้วชนิดอื่น ๆ หลังจากนิวซีแลนด์แยกตัวออกจากทวีปกอนด์วานา เมื่อประมาณ 82 ล้านปีก่อน จากนั้นอีก 12 ล้านปีต่อมาหรือประมาณ 70 ล้านปีก่อน นกแก้วคาคาโปจึงแยกออกจากนกสกุล Nestor ชัดเจน จากสภาพแวดล้อมที่ไม่มีสัตว์นักล่าบนเกาะนิวซีแลนด์ ทำให้นกแก้วคาคาโปมีวิวัฒนาการเป็นนกแก้วชนิดเดียวในโลกที่บินไม่ได้ และยังครองสถิติอีกหลายอย่าง คือเป็นนกแก้วที่มีน้ำหนักมากที่สุดในโลก มีขนาดตัวระหว่าง 59-64 เซนติเมตร และหนักถึง 4 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่ามันเป็นนกแก้วที่มีอายุยืนที่สุดด้วย โดยมีสถิติพบอายุยืนที่สุดถึง 100 ปี อีกทั้งเป็นนกแก้วชนิดเดียวในโลกที่หากินตอนกลางคืน และมีระบบการผสมพันธุ์ที่ตัวผู้จะอยู่ในอาณาเขตหรือรังของตัวเองและส่งเสียงเรียกตัวเมีย ซึ่งมีเสียงร้องคล้ายเสียงกบและจะร้องติดต่อกันนานถึง 3 เดือน วันละ 8 ชั่วโมง และเสียงร้องจะได้ยินไปไกลถึง 5 กิโลเมตร.

ใหม่!!: นกเค้าและนกแก้วคาคาโป · ดูเพิ่มเติม »

นกแสก

นกแสก หรือ นกแฝก หรือ นกเค้าหน้าลิง (Barn owl, Common barn owl) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่งในวงศ์นกแสก (Tytonidae) วงศ์ย่อย Tytoninae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tyto alba จัดเป็น 1 ชนิดในจำนวน 19 ชนิดของนกในอันดับนกเค้าแมวที่พบได้ในประเทศไทย และนับเป็นนกแสกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย (อีก 1 ชนิดนั้นคือ นกแสกแดง).

ใหม่!!: นกเค้าและนกแสก · ดูเพิ่มเติม »

นกแสก (สกุล)

นกแสก (Barn-owl, Masked owl) เป็นสกุลของนกล่าเหยื่อกลุ่มหนึ่งในหากินในเวลากลางคืน ใช้ชื่อสกุลว่า Tyto (มาจากภาษากรีกคำว่า τυτο หมายถึง "นกเค้าแมว") ในวงศ์ย่อย Tytoninae ในวงศ์ใหญ่ Tytonidae เป็นสกุลที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดของวงศ์นี้ มักมีขนสีเข้มด้านหลังมากกว่าด้านหน้า โดยจะเป็นสีส้มและสีน้ำตาล ขนด้านหน้าสีซีดกว่าจากด้านหลังและมีจุดด่างดำซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด มีลักษณะเด่น คือ มีใบหน้าที่เรียบแบนรูปหัวใจ และไม่มีกระจุกขนที่เหนือตาเหมือนใบหูเหมือนนกเค้าแมวจำพวกอื่น ๆ อีกทั้งยังมีรูปร่างที่ใหญ่กว่าด้วย เป็นนกเค้าแมวที่มีการวิวัฒนาการและปรับตัวให้อาศัยอยู่ได้ในหลากหลายภูมิประเทศ ทั้งในป่าและชุมชนเมือง พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นบริเวณขั้วโลก ในบางพื้นที่ เช่น บนเกาะมีบางชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และชนิดที่พบในบางพื้นที่ เช่น เมดิเตอร์เรเนียนและแคริบเบียนจะมีขนาดใหญ่กว.

ใหม่!!: นกเค้าและนกแสก (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

นกแสกแดง (สกุล)

นกแสกแดง (Bay owl) เป็นสกุลของนกล่าเหยื่อที่หากินในเวลากลางคืน จำพวกนกเค้าแมวสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Phodilus อยู่ในวงศ์ย่อย Phodilinae ในวงศ์นกแสก (Phodilidae) มีลักษณะแตกต่างจากนกแสกในสกุล Tyto คือ มีขนที่ตั้งแหลมเหนือตาแลหูคล้ายหู มีใบหน้าที่เป็นรูปตัวยู เป็นวงกลมมากกว่า และมีขาที่แข็งแรง สามารถเกาะกิ่งไม้ในลักษณะตัวตั้งตรงได้ รวมทั้งเสียงร้องที่แตกต่างกันด้วย มีการล่าเหยื่อด้วยการจ้องมองและการโยกหัวไปมา และใช้การบินไปเกาะยังใต้ต้นไม้ต้นเล็ก ๆ ใต้เรือนยอดป่า แล้วจึงจับเหยื่อ เนื่องจากมีปีกที่กลมและสั้น มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือ.

ใหม่!!: นกเค้าและนกแสกแดง (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้ากู่

นกเค้ากู่ หรือ นกฮูก (Collared scops owl) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่ง เป็นนกประจำถิ่นในเอเชียใต้จากตอนเหนือของประเทศปากีสถาน, ตอนเหนือของประเทศอินเดีย และเทือกเขาหิมาลัยไปทางตะวันออกถึงประเทศจีนตอนใต้ และบางตัวเป็นนกอพยพในฤดูหนาวที่พบในประเทศอินเดีย, ประเทศศรีลังกา และประเทศมาเลเซีย นกเค้ากู่เป็นนกเค้าแมวขนาดเล็ก (23–25 เซนติเมตร) มีปอยขนตั้งชันขึ้นบนหัวสองข้างหรือที่เรียกว่าหู ส่วนบนเป็นสีเทาหรือน้ำตาลขึ้นอยู่กับว่าเป็นชนิดย่อยชนิดไหน มีจุดสีน้ำตาลอมเหลืองจางๆ ส่วนล่างสีน้ำตาลอมเหลืองมีลายขีดสีเข้ม วงหน้าสีออกขาวหรือสีเนื้อ มีสร้อยคอสีเนื้อหรือน้ำตาลอมเหลือง ตากลมโตสีส้มหรือสัน้ำตาล ปากสั้น สันปากโค้งลง ทั้งสองเพศคล้ายกัน.

ใหม่!!: นกเค้าและนกเค้ากู่ · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าจุด

นกเค้าจุด (อังกฤษ: Spotted owlet; ชื่อวิทยาศาสตร์: Athene brama) เป็นนกล่าเหยื่อจำพวกนกเค้าแมวชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในประเทศไทย มีลักษณะส่วนหัวกลมไม่มีขนชี้ขึ้นไปเหมือนหูอย่างนกเค้ากู่ (Otus lempiji) มีจุดสังเกตอยู่ที่ขนคิ้วสีขาวที่เห็นได้เด่นชัด หัวค่อนข้างแบน บริเวณหัวจนถึงท้ายทอยสีน้ำตาลมีจุดเล็ก ๆ สีขาวประทั่วไป บริเวณตัวด้านบนซึ่งเป็นสีน้ำตาลก็มีจุด แต่จะมีขนาดใหญ่และกระจายมากกว่าบริเวณหัว บางทีใหญ่และเรียงตัวกันดูคล้ายบั้งมากกว่าจุด โดยเฉพาะด้านหลังคอที่จะเรียงตัวต่อกันคล้ายปลอกคอ ด้านล่างของลำตัวสีขาว แต่มีลายจุดสีน้ำตาลเช่นเดียวกัน นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน โตเต็มที่มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 20 เซนติเมตร จัดว่าเป็นนกเค้าแมวขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ออกหากินในเวลากลางคืน โดยเริ่มออกจากรังตั้งแต่เวลาโพล้เพล้ เป็นนกที่บินได้เงียบมาก อาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ รวมถึงแมลงปีกแข็ง, หนูขนาดเล็กหรือนกขนาดเล็กชนิดอื่นที่นอนหลับบนต้นไม้ เมื่อเห็นเหยื่อจะพุ่งตัวกางกรงเล็บอันแข็งแรงและแหลมคมออกจับเหยื่อ ถ้าเหยื่อตัวเล็กจะกินเลยทันที ถ้าตัวใหญ่ก็นำกลับมาที่รังก่อนแล้วใช้กรงเล็บจับเหยื่อขึ้นมาฉีกกินจนหมด นกเค้าจุดที่อาศัยอยู่ตามหมู่บ้านอาจมีพฤติกรรมไล่จับแมลงที่มาเล่นไฟที่หลอดนีออน มีการกระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้างขวาง โดยพบได้ตั้งแต่อิหร่าน, อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อนุทวีปอินเดีย สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ที่พม่า, ไทย, กัมพูชา, ลาว และเวียดนาม สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ทุกรูปแบบ ตั้งแต่ภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 400 เมตร จนถึงทะเลทราย ทั้งยังปรับตัวให้อยู่ในเมืองขนาดใหญ่ได้อีกด้วย โดยสามารถพบได้ตามที่ ๆ มีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นหรือตามสวนสาธารณะ เป็นนกที่ปรับตัวให้เข้ากับมนุษย์ได้ดีมากชนิดหนึ่งและไม่ค่อยกลัวมนุษย์ มีชนิดย่อยทั้งหมด 4 ชนิด (ดูในตาราง) ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน โดยรังวางไข่ของนกเค้าจุด จะใช้โพรงธรรมชาติหรือโพรงที่สัตว์อื่นทำไว้ หรือรอยแตกรอยแยกในตึก, เจดีย์, ซอกหลังคาตามอาคารเป็นรัง อาจหาหญ้าหรือขนนกมารองพื้นรัง แต่ส่วนมากจะวางไข่กับพื้นเปล่าเลย วางไข่ครั้งละ3-5ฟอง ไข่มีลักษณะกลม ขนาด 37x27 มิลลิเมตร เปลือกไข่สีขาวเป็นมันเล็กน้อย นกทั้งสองเพศช่วยกันกกไข่ เช่นเดียวกับนกเค้าแมวชนิดอื่น ๆ นกเค้าจุดจะกกไข่ทันทีตั้งแต่วางไข่ฟองแรก ลูกนกในรังจึงมีขนาดแตกต่างกันมาก เพราะออกจากไข่ไม่พร้อมกัน ใช้เวลาเลี้ยงลูกนกประมาณ 35-40วัน ลูกนกจะสามารถออกมานอกรังได้ ทั้งพ่อและแม่นกช่วยกันหาอาหารมาป้อนลูกอ่อน โดยจะออกหากินในเวลากลางวัน ถ้าเหยื่อเป็นชิ้นเล็ก ๆ จะส่งให้ลูกทั้งตัว ถ้าขนาดใหญ่ก็จะฉีกเป็นชิ้นเล็กให้ ลูกนกที่โตพอสมควรแล้วจะยังคงอยู่กับพ่อแม่อีกนาน บางครั้งอาจพบนกเค้าจุด 2-3ตัว อยู่บนต้นไม้เดียวกัน หรือเกาะกิ่งเบียดใกล้ชิดกันเสมอ ๆ โดยในตอนกลางวันจะเกาะกิ่งหลับอยู่บนต้นไม้ใบหนา หรือถ้ามีโพรงก็จะมุดเข้าไปหลบในโพรงเพื่อความปลอดภัย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ก็เป็นนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง.

ใหม่!!: นกเค้าและนกเค้าจุด · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าป่าสีน้ำตาล

นกเค้าป่าสีน้ำตาล (Brown wood-owl) เป็นนกเค้าแมวประจำถิ่นในเอเชียใต้จากประเทศอินเดียและประเทศศรีลังกา ไปทางตะวันออกถึงทางตะวันตกของประเทศอินโดนีเซียและตอนใต้ของประเทศจีน นกเค้าป่าสีน้ำตาลเป็นนกขนาดกลาง (45–57 เซนติเมตร) ตาน้ำตาลเข้ม ปากเทาดำ วงหน้าสีน้ำตาลแกมส้มเข้ม หัวและลำตัวด้านบนเทาดำแซมน้ำตาลเข้ม มีจุดขาวและขาวแกมฟ้าที่หัวและลำตัวด้านบน ลำตัวด้านล่างขาวมีลายขวางสีน้ำตาลเข้มแกมดำ แข้งและตีนมีขนคลุม ร้องดัง "ฮู-ฮู-ฮู-ฮู-ฮู-ฮู-ฮู" ทุ้มสั่นระรัว.

ใหม่!!: นกเค้าและนกเค้าป่าสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าป่าหลังจุด

นกเค้าป่าหลังจุด (Spotted wood-owl) เป็นนกเค้าแมวในสกุล Strix มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างแปลก เนื่องจากพบในที่ไม่ต่อเนื่องในหลายพื้นที่รอบเกาะบอร์เนียว แต่กลับไม่พบบนเกาะ มีสามชนิดย่อยคือ.

ใหม่!!: นกเค้าและนกเค้าป่าหลังจุด · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าแมวหูสั้น

นกเค้าแมวหูสั้น (Short-eared owl) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่งในสกุล Asio กระจายพันธุ์เกือบทั่วโลกยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกาและประเทศออสเตรเลีย มักพบในพื้นที่เปิดโล่งในชนบทและทุ่งหญ้า ชื่อ flammeus มาจากภาษาละตินที่แปลว่า "เปลวไฟ หรือสีของไฟ".

ใหม่!!: นกเค้าและนกเค้าแมวหูสั้น · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าแคระ

นกเค้าแคระ (Collared owlet, Collared pygmy owl) เป็นนกเค้าแมวขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Strigidae สามารถพบได้ในอัฟกานิสถาน, บังกลาเทศ, ภูฏาน, บรูไน, กัมพูชา, จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, ปากีสถาน, ไต้หวัน, ไทย และเวียดนาม ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ คือ ป่าหนาว และจัดได้ว่าเป็นนกเค้าแมวที่มีขนาดเล็กที่สุดที่พบในทวีปเอเชีย ที่ขนาด 15 เซนติเมตร (6 นิ้ว) น้ำหนัก 60 กรัม (2.1 ออนซ์) โดยจะพบบ่อยที่สุดในบริเวณป่าดิบชื้น ตั้งแต่พื้นราบไปจนถึงระดับความสูง 3,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในประเทศไทยจะพบบ่อยขึ้นที่ระดับสูงเกิน 600 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป บริเวณภาคใต้และคาบสมุทรมลายู จะพบได้บ่อยมากในระดับสูง 395 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป มีทั้งหมด 4 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) นกเค้าแคระจัดเป็นนกเค้าแมวที่บินได้ไม่เงียบเหมือนนกเค้าแมวหรือนกแสกส่วนมาก และยังเป็นนกที่หากินในเวลากลางวัน มีรูปร่างอ้วนกลม มีขนหนานุ่มปกคลุมอย่างหนาแน่น มีสีและลวดลายที่กลมกลืนไปกับต้นไม้ บริเวณคอก็มีขนอยู่อย่างหนาแน่นทำให้ดูเหมือนหัวอยู่ติดกับตัวโดยไม่มีคอ และมีหัวที่กลมโต หน้าแบน ตากลมโตสีเหลืองอยู่ด้านหน้าของใบหน้า ปากสั้นและปากบนโค้งงุ้มแหลมลง มีขนเส้นเล็ก ๆ คล้ายหนวดแมวอยู่รอบ ๆ โคนปากทำหน้าที่เป็นเครื่องนำทาง มีปีกกว้างแต่ปลายปีกมน ขนหางยาวกว่านกเค้าแม้วชนิดอื่น ๆ มีขาสั้นแต่เข็งแรงสีเหลืองนิ้วเท้าค่อนข้างใหญ่และแข็งแรง มีนิ้วตีน 4 นิ้วเวลาเกาะกิ่งจะอยู่ด้านหน้า 2 ด้านหลัง 2 นิ้ว เล็บสีดำ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน จับอาหารจำพวกสัตว์ต่าง ๆ ขนาดเล็ก เช่น กิ้งก่า, หนู, สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก, จักจั่น, ด้วง และตั๊กแตน รวมถึงนกด้วยกันชนิดอื่นที่มีขนาดเล็ก เมื่อจะล่านก นกเค้าแคระมักจะซ่อนตัวตามพุ่มไม้ ไม่เช่นนั้นแล้วจะถูกฝูงนกเล็ก ๆ เหล่านี้ไล่จิกตี แต่นกเค้าแคระก็สามารถจับเหยื่อที่มีขนาดตัวพอ ๆ กันหรือโตกว่าเล็กน้อยได้ด้วยกรงเล็บที่แข็งแรง หากจะหากินในเวลากลางคืน มักจะเป็นในคืนวันเพ็ญ ทำรังวางไข่ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม โดยใช้โพรงไม้ธรรมชาติ หรือรังของนกอื่นที่ทำรังในโพรงไม้เหมือนกัน โดยโพรงอาจเป็นรังเก่า หรืออาจมาจากการแย่งชิงมาก็ได้ ในบางครั้งอาจเป็นการฆ่ากินและปล้นชิงจากนกตัวอื่นเลยก็ได้ โพรงรังที่เลือกมักอยู่สูงจากพื้นราว 2-10 เมตร วางไข่ครั้งละ 3-5 ฟอง ลูกนกจะออกจากไข่ในช่วงต้นฤดูฝนที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์พอดีซึ่งจะเป็นผลดีต่อการรอดชีวิตของลูกนก เนื่องจากแม่นกจะกกไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรกทันที ในขณะเดียวกันก็จะออกไข่ใบอื่น ๆ ไปด้วย ดังนั้นในแต่ละรังลูกนกเค้าแคระจะมีอายุต่างกันพอสมควร ถ้าอาหารมีไม่พอเพียง ตัวที่ออกมาทีหลังตัวเล็กกว่าก็จะแย่งอาหารตัวอื่น ๆ ไม่ทันและตายไปในที่สุด จัดเป็นนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และมีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไท.

ใหม่!!: นกเค้าและนกเค้าแคระ · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าใหญ่

นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา (''B. sumatranus'') ซึ่งเป็นนกเค้าใหญ่ชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย นกเค้าใหญ่ หรือ นกเค้าหงอน หรือ นกเค้าอินทรีโลกเก่า (Horned owls, Old World eagle-owls) เป็นสกุลของนกล่าเหยื่อสกุลหนึ่ง ในวงศ์นกเค้าแมว (Strigidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Bubo (/บู-โบ/) นกเค้าใหญ่ เป็นนกเค้าหรือนกฮูกขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่น คือ จะงอยปากเหลือง ขนคิ้วยาวแลดูคล้ายมีหูหรือหงอนยาว มีขนปกคลุมขา นกเค้าในสกุลนี้ บางชนิดสามารถโฉบจับปลาจากผิวน้ำกินเป็นอาหารได้ ในชนิดและโตที่ใหญ่ที่สุด อาจมีความสูงเกิน 2 ฟุต และกางปีกได้กว้างถึง 6 ฟุต และยังสามารถบินข้ามช่องแคบอังกฤษได้ด้วย พบกระจายพันธุ์อยู่ทุกทวีปทั่วโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งขั้วโลกเหนือ ในประเทศไทยพบประมาณ 3 ชน.

ใหม่!!: นกเค้าและนกเค้าใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา

นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา (Barred-eagle owl, Malay eagle owl) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง จำพวกนกเค้าแมว หรือนกเค้า มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับนกทึดทือมลายู (Ketupa ketupu) ต่างกันที่ตรงที่มีขนคลุมขาท่อนล่าง จะงอยปากสีน้ำตาลอ่อน ตาสีน้ำตาล ขนหูใหญ่และยาวมากสีน้ำตาล อกสีน้ำตาล ท้องสีขาว ขนด้านบนมีลายขวางเล็ก ๆ สีเหลืองซีด ส่วนขนด้านล่างมีลายขวางเล็ก ๆ สีน้ำตาลปนพื้นขาว มีลายบั้งกระจายตรงขนปีก ในขณะที่ยังเป็นลูกนกหรือยังไม่โตเต็มที่ ขนตามลำตัวจะเป็นสีขาวหรือสีอ่อน พบกระจายพันธุ์ในป่าดิบในแหลมมลายู โดยพบได้จนถึงหมู่เกาะซุนดา ในบริเวณที่เป็นที่ราบขึ้นไปถึงระดับสูง 600 เมตร ในประเทศไทยพบได้เฉพาะในภาคใต้ตั้งแต่แนวเทือกเขาตะนาวศรีเท่านั้น ในวันที่ 3 กรกฎาคม..

ใหม่!!: นกเค้าและนกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าใหญ่แวโร

นกเค้าใหญ่แวโร หรือ นกเค้าใหญ่ยักษ์ (Verreaux's eagle-owl, Giant eagle owl) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง จำพวกนกเค้าแมว จัดอยู่ในวงศ์นกเค้าแมว (Strigidae) นกเค้าใหญ่แวโร ได้ชื่อมาจากนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส ฌูล แวโร จัดเป็นนกเค้าขนาดใหญ่ และเป็นนกเค้าแมวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับสองรองมาจากนกเค้าใหญ่ยูเรเชีย (B. bubo) มีลำตัวยาวประมาณ 66 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 3.11 กิโลกรัม เมื่อกางออกปีกออกแล้วยาวได้กว่า 140 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย, Arkive มีใบหน้าที่มีลักษณะกับใบหน้ามนุษย์มากที่สุด พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา ตั้งแต่ซับสะฮารา พบได้ในทะเลทรายนามิบ ในประเทศนามิเบีย พบได้ในป่าฝน พบได้ในเขตอนุรักษ์แห่งชาติแซมบูรู ในประเทศเคนยา และพบได้ในที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 3,000 เมตร (9,800 ฟุต) เป็นนกที่หากินในเวลากลางคืน โดยล่าเหยื่อเช่น นกและหนูขนาดเล็ก, กิ้งก่า, กบ, แมลงปีกแข็ง และแมลงชนิดต่าง ๆ มีเสียงร้อง กว๊อก, กว๊อก, กว๊อก-กว๊อกกกกกกกก กว๊อกกกกกกกก กว๊อน ในขณะที่ตัวเมียก็ส่งเสียงร้องคล้ายกันแต่มีเสียงที่แหลมสูงกว.

ใหม่!!: นกเค้าและนกเค้าใหญ่แวโร · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าโมง

นกเค้าโมง หรือ นกเค้าแมว (Asian barred owlet) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกนกเค้าแมว มีลายสีน้ำตาลทั่วทั้งตัว ด้านใต้ของลำตัวเป็นสีขาวและมีลายสีขาวในแนวตั้งลากยาวขึ้นมาที่บริเวณอกอย่างไม่เป็นระเบียบ มีม่านตาสีเหลือง ในวัยเล็กจะมีลวดลายบนหัวเป็นจุดคล้ายกับนกเค้าแคระ (G. brodiei) ซึ่งเป็นนกในสกุลเดียวกันและเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวที่เล็กที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย นกเค้าโมง มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียอาคเนย์และเอเชียตะวันออก มีชนิดย่อยทั้งสิ้น 8 ชนิด (ดูในตาราง) สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในทุกสภาพแวดล้อม ทั้งป่าทึบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,980 เมตร จนถึงสวนสาธารณะในเมืองใหญ่ บางครั้งอาจจะพบได้ในเวลากลางวันได้อีกด้วย จึงนับเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่พบเห็นตัวได้บ่อยรองมาจากนกแสก (Tyto alba) สำหรับในประเทศไทย พบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ตอนล่างและภาคกลางตอนล่าง มีพฤติกรรมร้องได้หลายเสียง หลายทำนอง ในเวลากลางคืนจะร้องเป็นครั้งคราวคล้ายกับจะบอกโมงยาม จึงได้ชื่อว่า "นกเค้าโมง" เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 แต่จากความที่เป็นนกขนาดเล็ก จึงทำให้นกเค้าโมงเป็นนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่มีผู้นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเช่นเดียวกับนกเค้าแคร.

ใหม่!!: นกเค้าและนกเค้าโมง · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าเหยี่ยว

นกเค้าเหยี่ยว (Brown Hawk-owl) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายกับนกเหยี่ยวหรืออินทรี มีลำตัวขนาดใหญ่ ปีกกว้างและกลมมน ตากลมโตสีเหลืองทอง ระหว่างตามีแถบคาดสีเหลือง หัวและลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวด้านล่างสีกีกาหรือสีขาว มีลายจุดสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเหลือง มีขนาดใหญ่เต็มที่สูงได้ถึง 30 เซนติเมตร กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคตะวันออกกลางจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ หมู่เกาะอันดามันในทะเลอันดามัน จนถึงภาคใต้ของจีนและหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบได้ในภาคเหนือ, ภาคตะวันตก, ภาคใต้, บางส่วนของภาคตะวันออก และจัดเป็นนกอพยพในภาคใต้ โดยพบในป่าโปร่ง, ป่าชายเลน จนถึงป่าที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,200 เมตร มีทั้งหมด 12 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าในประเทศไทย พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: นกเค้าและนกเค้าเหยี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

แบนชี

วาดในจินตนาการของแบนชี โดย ทอมัส ครอฟตัน โครเกอร์ ในปี ค.ศ. 1825 จากหนังสื่อ ''Bunworth Banshee, Fairy Legends and Traditions of the South of Ireland'' แบนชี (Banshee, Banchee) เป็นสปิริตหญิงในเทพปกรณัมไอร์แลนด์ มักมองว่าเป็นลางมรณะและผู้นำสารจากปรโลก ตามตำนาน แบนชีเป็นหญิงนางฟ้าผู้เริ่มร่ำไห้หากมีผู้กำลังตาย ในเทพปกรณัมสกอตแลนด์ เรียกแบนชีว่า Bean sìth หรือ Bean nighe และถูกเห็นว่ากำลังล้างเสื้อผ้าหรือชุดเกราะเลือดกรังของผู้ที่กำลังจะตาย และยังมีสิ่งที่คล้ายกันนี้พบในคติชนชาวบ้านในเวลส์, อเมริกาเหนือ, โปรตุเกสและกาลิเซีย แบนชีถูกเชื่อในไอร์แลนด์ว่า เป็นผีผู้หญิงลักษณะคล้ายยมทูต มีผมยาวสลวยสีอ่อนหรือสีขาว อยู่ในชุดเสื้อคลุมยาวสีดำ ล่องลอยไปมาในอากาศอย่างลางเลือนเหมือนหมอกในเวลากลางคืน แบนชีมีเสียงร้องที่ดังและโหยหวน มีผู้ที่เชื่อว่าเคยได้ยินเสียงของแบนชีกล่าวว่า ลักษณะเสียงเหมือนเสียงผู้หญิงคร่ำครวญผสมกับเสียงของนกฮูก แบบที่ใครเคยได้ยินครั้งเดียวจะจดจำได้ตลอด การปรากฏของแบนชีเกี่ยวพันกับความตาย หากแบนชีปรากฏเป็นการบอกว่ากำลังจะมีผู้ใกล้ตาย ความเชื่อของชาวไอร์แลนด์เชื่อว่า แบนชีเคยเป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัวที่ล่วงลับไปแล้ว ความเชื่อเรื่องแบนชีกระจายไปทั่วไอร์แลนด์ทั้งแผ่นดินใหญ่ และเกาะ ตลอดจนไอร์แลนด์เหนือ เชื่อว่าแบนชีจะขว้างหินหรือทิ้งสิ่งของเช่น ก้อนหิน หรือหวีไว้ที่ ๆ ปรากฏตัว หากใครไปจับต้องหรือเก็บเอาไปจะพบกับหายนะ มีรายงานการพบเห็นแบนชีทั่วทั้งไอร์แลนด์ โดยเฉพาะในปราสาทเก่า เช่น ปราสาทดันลูซ ในไอร์แลนด์เหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปราสาทดักเคตต์'สโกรฟ ในเคาน์ตีคาร์โลว์ ซึ่งเดิมเคยเป็นปราสาทของตระกูลดักเคตต์ ตระกูลมหาเศรษฐีชาวอังกฤษ ที่ถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 1700 มีความเชื่อว่าตระกูลนี้ต้องคำสาป เนื่องจากสมาชิกคนสำคัญคนหนึ่งของตระกูลเป็นผู้ชายเจ้าชู้มาก และเขาไปชอบพอเด็กสาวคนหนึ่งเข้า ทำให้เธอต้องตกจากหลังม้าตาย แม่ของเธอเลยสาปด้วยคำสาปแม่ม่าย ที่เป็นความเชื่อกันในไอร์แลนด์ ทำให้แบนชีจ้องล้างผลาญสมาชิกในตระกูลนี้ไปตลอ.

ใหม่!!: นกเค้าและแบนชี · ดูเพิ่มเติม »

แรงโก้ ฮีโร่ทะเลทราย

แรงโก้ ฮีโร่ทะเลทราย (อังกฤษ: Rango) เป็นภาพยนตร์คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน 3 มิติ แนวโลดโผนตลกอเมริกันในปี ..

ใหม่!!: นกเค้าและแรงโก้ ฮีโร่ทะเลทราย · ดูเพิ่มเติม »

แร้ง

แร้งสีน้ำตาล (''Gyps indicus'') แร้ง หรือ อีแร้งบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: นกเค้าและแร้ง · ดูเพิ่มเติม »

แอนดราส

แอนดราส ในปิศาจวิทยา แอนดราส(Andras) เป็นมาควิสแห่งนรกผู้มีอสูรใต้บังคับบัญชา 30 กอง ในบท อาร์สโกเอเทีย จากหนังสือกุญแจย่อยของโซโลมอน ระบุถึงแอนดราสเป็นปิศาจตนที่ 63 ส่วน ซูโดโมนาร์เชีย แดโมนัม ระบุถึงเป็นตนที่ 54 แอนดาสมีลักษณะเป็นเทวทูตมีปีก แต่ส่วนหัวจะเป็นนกฮูกหรือนกเรเวน ขี่สุนัขป่าสีดำและถือดาบอันคมกริบซึ่งส่องแสงเป็นประกาย บางครั้งแอนดราสจะปรากฏตัวเมื่อมนุษย์ทะเลาะเบาะแว้งกันและทำให้ความบาดหมางรุนแรงยิ่งขึ้น ผู้อัญเชิญแอนดราสจะสามารถใช้ให้แอนดราสไปสังหารศัตรูได้ แต่แอนดราสนั้นเป็นปิศาจที่ดุร้ายอย่างมาก หากผู้อัญเชิญไม่ระมัดระวังและประกอบพิธีผิดพลาดก็จะถูกแอนดราสฆ่าตายเสียเอง แอนดราสยังจะพยายามหลอกล่อให้ผู้อัญเชิญก้าวออกมานอกวงเวทซึ่งใช้ป้องกันตัวเพื่อฆ่าทิ้งอยู่เสมออีกด้ว.

ใหม่!!: นกเค้าและแอนดราส · ดูเพิ่มเติม »

โดคุโร โครม

ลม โดคุโร่ เป็นตัวละครจากการ์ตูนเรื่อง ครูพิเศษจอมป่วน REBORN!รีบอร์น พากย์เสียงภาษาญี่ปุ่นโดย ซาโตมิ อาเกซาก.

ใหม่!!: นกเค้าและโดคุโร โครม · ดูเพิ่มเติม »

เฟอร์บี

ฟอร์บี เป็นของเล่นหุ่นยนต์อิเล็กทรอนิกส์ รูปร่างหน้าตาเหมือนแฮมสเตอร์หรือสิ่งมีชีวิตคล้ายนกฮูก ซึ่งผ่านช่วงการเป็นของเล่น "ที่ต้องมี" หลังการเปิดตัวในฤดูวันหยุดปี 2541 โดยมีการขายต่อเนื่องถึงปี 2543 เฟอร์บีขายได้กว่า 40 ล้านตัวระหว่างการผลิตครั้งแรกสามปี โดยขายได้ 1.8 ล้านตัวในปี 2541 และ 14 ล้านตัวในปี 2542 ความสามารถในการพูดของมันถูกแปลเป็น 24 ภาษา เฟอร์บีเป็นความพยายามที่ประสบความสำเร็จครั้งแรกในการผลิตและขายหุ่นยนต์ที่มีเป้าหมายในบ้าน เฟอร์บีที่เพิ่งซื้อจะเริ่มพูดภาษาเฟอร์บี (Furbish) ทั้งหมด ซึ่งเป็นภาษาเฉพาะที่เฟอร์บีทุกตัวใช้ แต่ถูกตั้งโปรแกรมให้เริ่มใช้คำและวลีภาษาอังกฤษแทนภาษาเฟอร์บีเมื่อเวลาผ่านไป กระบวนการนี้ตั้งใจให้เหมือนกระบวนการเรียนภาษาอังกฤษ ในปี 2548 มีการเปิดตัวเฟอร์บีใหม่ โดยมีการจดจำเสียงและการเคลื่อนไหวใบหน้าที่ซับซ้อนขึ้น ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาหลายอย่าง อิโมโต-โทรนิกเฟอร์บี (Emoto-Tronic Furbies) ยังขายต่อมาถึงปลายปี 2550 เมื่อของเล่นเหล่านี้หายากอย่างยิ่ง เฟอร์บีรุ่นที่ปรับแล้วมีขายในเดือนกันยายน 2555 สำหรับฤดูวันห.

ใหม่!!: นกเค้าและเฟอร์บี · ดูเพิ่มเติม »

เวตาล

วตาล (ภาพจากปกนิทานเวตาล ฉบับแปลโดย น.ม.ส.) เวตาล (สันสกฤต: वेताल) เป็นอมนุษย์จำพวกหนึ่ง คล้ายค้างคาวผี ในปรัมปราคติของฮินดู เวตาลอยู่ในจำพวกมรุตคณะ เป็นบุตรนางอทิติ เป็นผู้ตามพระรุทระเป็นเจ้าแลนางภัทรา ดำรงอยู่เป็นภูตที่อาศัยในซากศพผู้อื่นในตอนกลางวัน ศพเหล่านี้อาจใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการเดินทาง เพราะขณะที่เวตาลอาศัยอยู่นั้น ซากศพจะไม่เน่า แต่เวตาลอาจออกจากศพเพื่อหากินในตอนกลางคืน ไปตามหนอง ตามพุ่มไม้ ตามป่ารกแลป่าที่มืดอับ บางทีไปกับลมพายุแลฟ้ามัว เวลาเที่ยวจะเป็นเวลากลางคืนสงัดในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 กล่าวไว้ว่า "เวตาล คือ ผีจำพวกหนึ่ง ชอบสิงอยู่ในป่าช้า" เวตาลมักจะปรากฏรูปร่างเป็นมนุษย์ แต่มือและเท้าหันกลับไปทางด้านหลัง นัยน์ตาเป็นสีลานแกมเขียว มีเส้นผมตั้งชันทั้งศีรษะ มือขวาถือไม้เท้า มือซ้ายถือหอยสังข์ ขณะเมื่อมาปรากฏตัวจะนุ่งห่มเสื้อผ้าสีเขียวทั้งชุด นั่งมาบนเสลี่ยง บางคราวก็ขี่ม้า มีภูตบริวารถือคบเพลิงแวดล้อมโดยรอบ และส่งเสียงโห่ร้องกึกก้อง.

ใหม่!!: นกเค้าและเวตาล · ดูเพิ่มเติม »

เฮดจ์ฮอกสี่นิ้ว

อกสี่นิ้ว หรือ เฮดจ์ฮอกแคระแอฟริกา (Four-toed hedgehog, African pygmy hedgehog) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกเฮดจ์ฮอก (Erinaceinae) เป็นเฮดจ์ฮอกขนาดเล็ก มีขนาดความยาวลำตัวประมาณ 15 เซนติเมตร หางมีความยาว 2.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 500-700 กรัม มีนิ้วที่เท้าหน้า 5 นิ้ว นิ้วเท้าหลัง 4 นิ้ว ขนปกคลุมลำตัวมีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร เป็นสีขาวและเทา ส่วนท้องและขาเป็นสีขาว กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันออก เช่น แกมเบีย, โซมาเลีย, โมซัมบิก อาศัยในถิ่นที่มีอากาศแห้ง แบบซาวันน่า มีต้นไม้เพียงเล็กน้อย เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน กินอาหารเช่น แมงมุม, แมลง, พืชบางชนิด, หอยทาก บางครั้งอาจกินแมงป่องหรืองูพิษได้ด้วย เนื่องจากมีรายงานว่ามีความทนทานต่อพิษของสัตว์เหล่านี้ แต่เฮดจ์ฮอกสี่นิ้วก็ตกเป็นอาหารของสัตว์ใหญ่กว่า เช่น ไฮยีน่า, หมาจิ้งจอก รวมทั้งนกเค้าแมวด้วย เฮดจ์ฮอกสี่นิ้วได้รับความนิยมในฐานะเป็นสัตว์เลี้ยงอย่างแพร่หลาย และเป็นชนิดที่ได้รับความนิยมในประเทศไท.

ใหม่!!: นกเค้าและเฮดจ์ฮอกสี่นิ้ว · ดูเพิ่มเติม »

เดอะเฟม

อะเฟม (The Fame) คือสตูดิโออัลบั้มแรกของเลดี้ กาก้า นักร้องหญิงชาวอเมริกัน ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552 โดยค่ายอินเตอร์สโคปเรเคิดส์ ก่อนหน้านี้กาก้าเคยทำงานด้านการประพันธ์เพลงให้กับศิลปินมากมายจนกระทั่งการออกอัลบั้มเป็นของตนเองครั้งแรก ธีมหลักของเพลงในอัลบั้มมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้สึกอย่างคนที่มีชื่อเสียง ในอัลบั้มนี้ กาก้าได้ทำงานร่วมกับโปรดิวเซอร์หลายคน อาทิ เรดวัน, Martin Kierszenbaum, และ Rob Fusari เพลงต่างๆได้แรงบันดาลใจมาจากความรักของกาก้าในการเป็นที่รู้จักมีชื่อเสียงโดยพื้นฐาน ผสานกับแบบชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อและสลับซับซ้อนของเธอ ดนตรีในอัลบั้มได้แรงบันดาลใจมาจากแนวดนตรีซินธ์ป็อปช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 (80s) ผสมผสานกับเพลงแดนส์และฮูก อัลบั้มนี้ได้รับการวิจารณ์เชิงบวกโดยส่วนมาก ด้วยกาก้าสามารถค้นพบเมโลดีฮูกและมีการเปรียบเทียบความสามารถของเธอกับเกวน สเตฟานี อัลบั้มนี้ขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งในหลายประเทศ อาทิ สหราชอาณาจักร, แคนากา และไอร์แลนด์ ในสหรัฐอเมริกาอัลบั้มนี้ขึ้นชาร์ต ''บิลบอร์ด'' 200 สูงสุดในอับดับที่ 4 และขึ้นอันดับสูงสุดในชาร์ต บิลบอร์ด ทอปอิเล็กทรอนิกอัลบั้ม มียอดจำหน่ายอัลบั้มทั่วโลกกว่า 4 ล้านชุด สองซิงเกิลแรกจากอัลบั้ม เดอะเฟม อันได้แก่ "จัสแดนส์" และ "โปเกอร์เฟส" ได้รับความนิยมทั่วโลก ทั้งสองขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งกว่า 6 ประเทศ รวมทั้ง ''บิลบอร์ด'' ฮอต 100 ในสหรัฐอเมริกา เพลง "โปเกอร์เฟส" ขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งในตลาดดนตรีใหญ่ๆ ในส่วนซิงเกิลอื่นๆ ได้แก่ "เอ, เอ (นอตติงเอลส์ไอแคนเซย์)", "เลิฟเกม" และ "ปาปารัสซี่" กาก้าประชาสัมพันธ์อัลบั้มดังกล่าวด้วยการขับร้องเพลงในการแสดงสดของเธอ รวมทั้งใน คอนเสิร์ตทัวร์เดอะเฟมบอล คอนเสิร์ตทัวร์ครั้งแรกของเธอ อัลบั้มนี้ยังบรรจุเป็นซีดีแผ่นพิเศษในอัลบั้ม เดอะเฟมมอนสเตอร์ ฉบับดีลักซ์ ในวันที่ 22 ธันวาคม..

ใหม่!!: นกเค้าและเดอะเฟม · ดูเพิ่มเติม »

Power Animals

Power Animals เป็นตัวละครในเรื่อง "กาโอเรนเจอร์" ทั้งหมดเป็นสัตว์ยนตร์ที่รูปแบบคล้ายกับสัตว์ทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่กว่าสัตว์ทั่วๆไป มีความสามารถในการต่อสู้ และรวมร่างกับสัตว์ตัวอื่นๆ เพื่อกลายเป็นหุ่นยนต์ขนาดยักษ์ ใช้ในการต่อสู้กับออร์คที่ขยายร่าง เหล่า Power animals โดยมากมักจะใช้ชีวิตใน สวนสวรรค์ ซึ่งเป็นเกาะลอยฟ้าขนาดยักษ์รูปตะพาบน้ำ สามารถเรียกกาโอเรนเจอร์ ขึ้นไปได้ หรือ สามารถเรียกPA จากสวนสวรรค์ได้โดยตรง แต่ส่วนมาก มักใช้ ดาบราชันย์สรรพสัตว์ในการเรียกเหล่า Power Animals เพื่อลงมาทำการต่อสู้กับออร.

ใหม่!!: นกเค้าและPower Animals · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ฮูกนกฮูกนกเค้าแมว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »