โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา

ดัชนี การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา

quote.

20 ความสัมพันธ์: การบำบัดตาเหล่ด้วยชีวพิษโบทูลินัมการฟื้นเห็นเป็น 3 มิติการรับรู้ความใกล้ไกลการรักษาตาเหล่การปรับตาดูใกล้ไกลการเบนคนละทิศการเห็นภาพซ้อนการเห็นด้วยตาเดียวการเห็นเป็น 3 มิติสภาวะเห็นทั้งบอดความบอดการเห็นเป็น 3 มิติความสอดคล้องกันของจอตาความต่างที่สองตาตามนุษย์ตาเหล่ตาเหล่ออกไทแรนโนซอรัสเปลือกสมองส่วนการเห็นHoropterICD-10 บทที่ 7: โรคของตาและอวัยวะเคียงลูกตา

การบำบัดตาเหล่ด้วยชีวพิษโบทูลินัม

การบำบัดตาเหล่ด้วยโบทูลินั่ม ท็อกซิน (Botulinum toxin therapy of strabismus) เป็นเทคนิคทางการแพทย์ที่บางครั้งใช้รักษาตาเหล่ โดยฉีดโบทูลินั่ม ท็อกซินเข้าไปในกล้ามเนื้อตามัดที่เป็นเป้า เพื่อลดความไม่ตรงแนวของตา การใช้ท็อกซินเพื่อรักษาอาการตาเหล่ในปี 2524 พิจารณาว่าเป็นเหตุการณ์แรกที่ใช้โบทูลินั่ม ท็อกซินเพื่อรักษาโรค ทุกวันนี้การฉีดท็อกซินเข้าไปในกล้ามเนื้อที่อยู่รอบ ๆ ตาเป็นทางเลือกการรักษาตาเหล่อย่างหนึ่ง วิธีการรักษาอื่น ๆ รวมทั้งการบำบัดการเห็น (vision therapy) การใช้ผ้าปิดตา แว่นสายตา (หรือเลนส์สัมผัส) แว่นปริซึม และการผ่าตัด ผลโดยตรงของท็อกซินเอง (รวมทั้งผลข้างเคียง) จะหมดไปภายใน 3-4 เดือน โดยเปรียบเทียบกันแล้ว ตาที่ตรงแนวขึ้นอาจคงยืนเป็นระยะยาว โดยเฉพาะถ้ามีปัจจัยสองอย่าง ปัจจัยแรกก็คือ ถ้ากล้ามเนื้อตรงกันข้าม (antagonist) ยังทำงานได้ ดังนั้น กล้ามเนื้อที่ฉีดยาจะได้การยืด และอาจยาวขึ้นอย่างถาวรโดยเพิ่มใยกล้ามเนื้อภายในระยะที่เป็นอัมพฤกษ์เนื่องจากท็อกซิน ปัจจัยที่สองก็คือ ถ้าการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาเกิดขึ้นและเสถียร ความตรงแนวของตาก็อาจจะถาวร มีหลักฐานบ้างว่า การรักษาเช่นนี้ได้ผลเท่ากับการผ่าตัดสำหรับคนไข้ที่เห็นเป็นภาพเดียวด้วยตาทั้งสองข้าง และได้ผลน้อยกว่าสำหรับคนไข้ที่ไม่เห็น.

ใหม่!!: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและการบำบัดตาเหล่ด้วยชีวพิษโบทูลินัม · ดูเพิ่มเติม »

การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติ

การปิดตาอาจจะช่วยทำให้ตาที่ปิดแข็งแรงดีขึ้น แต่ก็ไม่ช่วยทำให้เห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและเห็นเป็น 3 มิติ แต่บางครั้งก็อาจรักษาได้ด้วยวิธีอื่น ๆ การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติ (Stereopsis recovery, recovery from stereoblindness) เป็นปรากฏการณ์ที่ผู้บอดไม่เห็นเป็น 3 มิติจะได้คืนสมรรถภาพการเห็นเป็น 3 มิติอย่างเต็มตัวหรือโดยส่วนหนึ่ง การรักษาคนไข้ที่มองไม่เห็นเป็น 3 มิติมีเป้าหมายให้ได้คืนสมรรถภาพนี้ให้มากที่สุด เป็นเป้าหมายที่มีในการแพทย์มานานแล้ว การรักษาจะมุ่งให้เห็นเป็น 3 มิติในทั้งเด็กเล็ก ๆ และคนไข้ที่เคยเห็นเป็น 3 มิติผู้ต่อมาเสียสมรรถภาพไปเนื่องจากภาวะโรค โดยเปรียบเทียบกันแล้ว การรักษาโดยจุดมุ่งหมายนี้ จะไม่ใช้กับคนไข้ที่พลาดระยะการเรียนรู้การเห็นเป็น 3 มิติในช่วงต้น ๆ ของชีวิตไป เพราะการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและการเห็นเป็น 3 มิติ ดั้งเดิมเชื่อว่า เป็นไปไม่ได้ยกเว้นจะได้สมรรถภาพนี้ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ (critical period) คือในช่วงวัยทารกและวัยเด็กต้น ๆ แต่สมมติฐานนี้ก็ไม่ได้สอบสวนและได้กลายเป็นรากฐานของวิธีการรรักษาโรคการเห็นด้วยสองตาเป็นทศวรรษ ๆ จนกระทั่งเร็ว ๆ นี้ที่เกิดข้อสงสัย เพราะงานศึกษาเรื่องการฟื้นเห็นเป็น 3 มิติที่ได้ปรากฏในวารสารวิทยาศาสตร์และได้ปรากฏต่อสาธารณชนต่อมาว่า นักประสาทวิทยาศาสตร์ ดร.

ใหม่!!: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและการฟื้นเห็นเป็น 3 มิติ · ดูเพิ่มเติม »

การรับรู้ความใกล้ไกล

ลักษณะต่าง ๆ รวมทั้งทัศนมิติแบบต่าง ๆ ขนาดโดยเปรียบเทียบ วัตถุที่บังกัน และอื่น ๆ ล้วนมีส่วนทำให้เห็นภาพถ่ายสองมิตินี้เป็น 3 มิติได้ การรับรู้ความใกล้ไกล เป็นสมรรถภาพทางการเห็นในการมองโลกเป็น 3 มิติ และการเห็นว่าวัตถุหนึ่งอยู่ใกล้ไกลแค่ไหน แม้เราจะรู้ว่าสัตว์ก็สามารถรู้สึกถึงความใกล้ไกลของวัตถุ (เพราะสามารถเคลื่อนไหวอย่างแม่นยำหรืออย่างสมควรตามความใกล้ไกล) แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่รู้ว่า สัตว์รับรู้ความใกล้ไกลทางอัตวิสัยเหมือนกันมนุษย์หรือไม่ ความใกล้ไกลจะรู้ได้จากตัวช่วย (cue) คือสิ่งที่มองเห็นต่าง ๆ ซึ่งปกติจะจัดเป็น.

ใหม่!!: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและการรับรู้ความใกล้ไกล · ดูเพิ่มเติม »

การรักษาตาเหล่

การรักษาตาเหล่ อาจรวมการใช้ยาหรือการผ่าตัดเพื่อแก้ปัญหาตาเหล่ ตาเหล่เป็นอาการที่ตาทั้งสองไม่ได้มองไปที่เดียวกัน ซึ่งอาจมีผลเป็นตามัว (amblyopia หรือตาขี้เกียจ) หรือความบกพร่องในการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา (binocular vision) ยาที่ใช้รวมยาเช่นโบทูลินั่ม ท็อกซินที่ทำให้กล้ามเนื้อตาอัมพาต ยาเฉพาะที่ (topical) ซึ่งใช้ในระบบประสาทอิสระเพื่อเปลี่ยนดรรชนีหักเหของตา และยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทกลางเพื่อแก้ตามัว.

ใหม่!!: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและการรักษาตาเหล่ · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตาดูใกล้ไกล

การปรับตาดูไกลและใกล้ '''Lens'''.

ใหม่!!: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและการปรับตาดูใกล้ไกล · ดูเพิ่มเติม »

การเบนคนละทิศ

ตาทั้งสองจะเบนเพื่อเล็งไปที่วัตถุเดียวกัน ในจักษุวิทยา การเบนคนละทิศ (vergence) เป็นการขยับตาทั้งสองข้างพร้อมกันในทิศทางตรงกันข้ามเพื่อดำรงการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา เมื่อสัตว์ที่มองเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาจ้องดูวัตถุ ตาทั้งสองจะต้องหมุนไปตามแกนแนวตั้ง เพื่อให้ภาพของวัตถุตกลงที่กลางจอตา เพื่อจะดูวัตถุใกล้ ๆ ตาจะต้องหมุนเข้าหากัน (convergence) เพื่อจะดูวัตถุไกล ๆ ตาจะต้องหมุนออกจากกัน (divergence) เมื่อตาเบนเข้ามาก นี่เรียกว่าตาเหล่เข้า แต่เมื่อมองวัตถุที่ไกล ๆ ตาจะเบนออกจนกระทั่งมีแนวตาขนานกัน โดยเท่ากับตรึงตาที่ระยะอนันต์ (คือไกลมาก) การเบนตาคนละทิศ (vergence) สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการปรับตาดูใกล้ไกล (accommodation) ในสถานการณ์ปกติ การเปลี่ยนโฟกัสของตาทั้งสองเพื่อดูวัตถุที่ใกล้หรือไกล จะทำให้เกิดกระบวนการเบนตาคนละทิศและการปรับตาดูใกล้ไกลโดยอัตโนมัติ ซึ่งคู่กันบางครั้งเรียกว่า accommodation-convergence reflex เมื่อเทียบกับการขยับตาแบบ saccade ที่ไวถึง 500 องศา/วินาที การเบนตาคนละทิศช้ากว่ามากที่ประมาณ 25 องศา/วินาที โดยกล้ามเนื้อตาอาจมีใยประสาทสั่งการสำหรับการขยับตาแต่ละอย่างโดยเฉพาะ คือเป็นกลไกต่างหากสองอย่าง.

ใหม่!!: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและการเบนคนละทิศ · ดูเพิ่มเติม »

การเห็นภาพซ้อน

การเห็นภาพซ้อน หรือ การเห็นซ้อนสอง (Diplopia, double vision) เป็นการเห็นภาพสองภาพของวัตถุเดียวกัน ที่อาจซ้อนกันตามแนวนอน แนวตั้ง แนวเฉียง หรือแนวหมุน และปกติเป็นผลของความพิการของกล้ามเนื้อตา (extraocular muscles, EOMs) คือตาทั้งสองทำงานได้ดีแต่ไม่สามารถหันไปที่เป้าหมายได้อย่างถูกต้อง โดยกล้ามเนื้อตาอาจมีปัญหาทางกายภาพ มีโรคที่แผ่นเชื่อมประสาทสั่งการและกล้ามเนื้อ (neuromuscular junction) มีโรคที่เส้นประสาทสมอง (เส้น 3, 4, และ 6) ที่สั่งการกล้ามเนื้อ และเป็นบางครั้ง มีปัญหาเกี่ยวกับวิถีประสาท supranuclear oculomotor หรือการบริโภคสิ่งที่เป็นพิษ การเห็นภาพซ้อนอาจเป็นอาการปรากฏแรก ๆ ของโรคทั่วร่างกาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและประสาท และอาจทำการทรงตัวของร่างกาย การเคลื่อนไหว และการอ่านหนังสือ ให้พิการ.

ใหม่!!: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและการเห็นภาพซ้อน · ดูเพิ่มเติม »

การเห็นด้วยตาเดียว

การเห็นด้วยตาเดียว (Monocular vision) เป็นการมองเห็นที่ใช้ตาแต่ละข้างต่างคนต่างมอง การใช้ตาเช่นนี้ เทียบกับการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา ขอบเขตภาพจะใหญ่ยิ่งขึ้น ในขณะที่การรับรู้ความใกล้ไกลจะจำกัด ตาของสัตว์ที่เห็นด้วยตาเดียวปกติจะอยู่ที่ด้านข้างของศีรษะ ทำให้สามารถเห็นภาพจากข้างทั้งสองพร้อม ๆ กัน คำภาษาอังกฤษว่า monocular มาจากคำภาษากรีกว่า mono ซึ่งแปลว่า หนึ่ง และคำภาษาละตินว่า oculus ซึ่งแปลว่า ต.

ใหม่!!: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและการเห็นด้วยตาเดียว · ดูเพิ่มเติม »

การเห็นเป็น 3 มิติ

การเห็นเป็น 3 มิติ (Stereopsis มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า στερεο- คือ stereo- แปลว่า "แข็ง/มี 3 มิติ" และ ὄψις คือ opsis แปลว่า "การปรากฏ การมองเห็น") เป็นคำที่ใช้บ่อยที่สุดโดยหมายถึงการรับรู้ความใกล้ไกลและการรับรู้โครงสร้างและวัตถุที่มี 3 มิติ โดยอาศัยข้อมูลจากตาทั้งสองของบุคคลผู้มีพัฒนาการทางการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาที่เป็นปกติ " เพราะตาของมนุษย์และของสัตว์มากมายอื่น ๆ อยู่ในตำแหน่งตามแนวนอนที่ต่างกันบนศีรษะ การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาจะเป็นผลจากภาพสองภาพซึ่งต่างกันเล็กน้อยที่ฉายตกลงที่จอตาทั้งสอง และภาพจะแตกต่างโดยหลักเป็นตำแหน่งที่ต่างกันของวัตถุต่าง ๆ ตามแนวนอน ความแตกต่างเช่นนี้เรียกในภาษาอังกฤษว่า horizontal disparities (ความต่างตามแนวนอน) หรือโดยคำที่กว้างกว่าคือ binocular disparities (ความต่างที่สองตา) โดยเปลือกสมองส่วนการเห็นจะแปลความต่างเช่นนี้ให้เป็นการรับรู้ความใกล้ไกล (depth perception) แม้ความต่างที่เห็นด้วยสองตาจะมีอยู่ตามธรรมชาติเมื่อมองทัศนียภาพด้วยสองตา แต่ก็สามารถสร้างขึ้นโดยแสดงภาพ 2 มิติที่ต่างกันสองภาพต่อแต่ละตาต่างหาก ๆ โดยเทคนิคที่เรียกว่า stereoscopy (ภาพ 3 มิติ) ความใกล้ไกลที่รับรู้จากเทคนิคเช่นนี้เรียกในภาษาอังกฤษว่า stereoscopic depth (ความใกล้ไกลจากภาพ 3 มิติ) แต่การรับรู้ความใกล้ไกลและโครงสร้างวัตถุ 3 มิติ ก็เป็นไปได้ด้วยข้อมูลจากแค่ตาเดียว เช่น ขนาดของวัตถุที่ต่างกัน และพารัลแลกซ์เนื่องกับการเคลื่อนไหว (motion parallax) ซึ่งเป็นความแตกต่างของวัตถุหนึ่ง ๆ เมื่อเวลาผ่านไปถ้าผู้มองกำลังเคลื่อนที่อยู่" แม้ความรู้สึกใกล้ไกลในกรณีเช่นนี้ จะไม่ชัดเท่ากับที่ได้จากความต่างที่เห็นด้วยสองตา" ดังนั้น คำภาษาอังกฤษว่า stereopsis หรือ stereoscopic depth บางครั้งจึงหมายถึงการรับรู้ความใกล้ไกลด้วยการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาโดยเฉพาะ ๆ คือหมายถึงเมื่อเรา "เห็นเป็น 3 มิติ" -->.

ใหม่!!: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและการเห็นเป็น 3 มิติ · ดูเพิ่มเติม »

สภาวะเห็นทั้งบอด

วะเห็นทั้งบอด หรือ การเห็นทั้งบอด หรือ เห็นทั้งบอด หรือ บลายน์ดไซต์ (blindsight) เป็นความสามารถในการตอบสนองต่อตัวกระตุ้นทางตา ของผู้ที่มีความบอดเหตุสมอง (cortical blindness) ที่เนื่องมาจากรอยโรคในคอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม ทั้ง ๆ ที่ผู้นั้นไม่สามารถจะเห็นตัวกระตุ้นนั้น งานวิจัยของสภาวะเห็นทั้งบอดโดยมาก ได้ทำกับคนไข้ที่มีภาวะบอดของลานสายตาเพียงข้างเดียว หลังจากที่คอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐมของคนไข้ถูกทำลายแล้วเพราะโรคหรือเหตุอย่างอื่น คือ นักวิจัยจะให้คนไข้ตรวจจับ หาตำแหน่ง และแยกแยะตัวกระตุ้นทางตาที่แสดงให้กับลานสายตาข้างที่คนไข้มองไม่เห็น โดยบอกให้คนไข้เดา และแม้ว่าคนไข้จะมองไม่เห็นตัวกระตุ้นนั้นจริง ๆ งานวิจัยกลับแสดงถึงความแม่นยำของการเดาในระดับหนึ่งที่น่าประหลาดใจ ความสามารถในการเดาด้วยความแม่นยำที่สูงกว่าความบังเอิญ ถึงลักษณะบางอย่างของตัวกระตุ้นทางตา เช่นตำแหน่ง หรือว่าชนิดของความเคลื่อนไหว ทั้ง ๆ ที่ไม่มีการรับรู้ในตัวกระตุ้นโดยประการทั้งปวง เรียกว่า สภาวะเห็นทั้งบอดแบบ 1 ส่วนสภาวะเห็นทั้งบอดแบบ 2 เป็นแบบที่คนไข้อ้างว่า รู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างที่เปลี่ยนไปในลานสายตาข้างที่มองไม่เห็น ตัวอย่างเช่น การเคลื่อนไหว แต่ว่าไม่ใช่โดยการมองเห็นสิ่งเร้าทางตา สภาวะเห็นทั้งบอดท้าทายความเชื่อที่แพร่หลายว่า สิ่งเร้าต้องปรากฏต่อการรับรู้ จึงจะสามารถมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมได้ ปรากฏการณ์นี้แสดงว่า พฤติกรรมของเราสามารถเปลี่ยนไปเพราะข้อมูลการรับรู้ ที่ "เรา" ไม่ได้รับรู้ด้วยเลย สภาวะนี้สามารถพิจารณาว่าเป็นสภาวะตรงกันข้ามกันกับภาวะเสียสำนึกความพิการที่รู้จักกันว่า Anton-Babinski syndrome ที่คนไข้เสียการเห็นอย่างบริบูรณ์ แต่กลับการกุเหตุความจำเสื่อม (confabulation) ว่าเห็น.

ใหม่!!: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและสภาวะเห็นทั้งบอด · ดูเพิ่มเติม »

ความบอดการเห็นเป็น 3 มิติ

วามบอดการเห็นเป็น 3 มิติ หรือ ความไม่เห็นเป็น 3 มิติ (Stereoblindness, stereo blindness) เป็นความไม่สามารถเห็นเป็น 3 มิติ ทำให้ไม่สามารถรู้ความใกล้ไกลด้วยตาทั้งสองผ่านการรวมและเปรียบเทียบภาพจากตาทั้งคู่โดยสมอง บุคคลที่สามารถใช้ตาเพียงข้างเดียวจะมีภาวะนี้แน่นอน แต่ก็อาจเกิดเมื่อตาไม่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสมควร ผู้ที่ไม่เห็นเป็น 3 มิติแต่มีตาดีทั้งสองข้างก็ยังใช้การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาได้ในระดับหนึ่ง แม้จะน้อยกว่าคนปกติ งานศึกษาหนึ่งได้แสดงว่า เมื่อให้ตัดสินทิศทางการหมุนของรูปทรงกระบอกโปร่งใสแบบเสมือน ผู้ที่ไม่เห็นเป็น 3 มิติจะทำด้วยสองตาได้ดีกว่าใช้ตาข้างที่ถนัด และปรากฏว่า ตัดสินทิศทางของรูปที่หมุนในตาแต่ละข้างต่างหาก ๆ แล้วรวมการตัดสิน ไม่ได้อาศัยความต่างของรูปที่เห็นโดยตาสองข้าง (ที่คนปกติจะใช้) นอกจากนั้น สิ่งเร้าแบบเคลื่อนไหวที่เห็นด้วยสองตา ดูจะมีอิทธิพลต่อความรู้สึกว่าตัวเองเคลื่อนไหวของบุคคล อีกอย่างหนึ่ง ในบางกรณี ตาแต่ละข้างจะมีบทบาทในการมองเห็นรอบนอก (peripheral vision) ในแต่ละข้างของขอบเขต.

ใหม่!!: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและความบอดการเห็นเป็น 3 มิติ · ดูเพิ่มเติม »

ความสอดคล้องกันของจอตา

วามสอดคล้องกันของจอตา (Retinal correspondence) เป็นความสัมพันธ์แบบจับคู่ตามธรรมชาติระหว่างเซลล์ของจอตาทั้งสองข้างของมนุษย์ คือภาพจากวัตถุเดียวกันจะเร้าเซลล์ทั้งสองชุด ซึ่งก็จะส่งข้อมูลไปยังสมอง ที่ประมวลข้อมูลให้เป็นภาพเดียวโดยอยู่ที่ตำแหน่งเดียวกันในปริภูม.

ใหม่!!: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและความสอดคล้องกันของจอตา · ดูเพิ่มเติม »

ความต่างที่สองตา

รูป 1 - นิยามของความต่างที่สองตา (ทั้งไกลและใกล้) ความต่างที่สองตา (Binocular disparity) หมายถึงความแตกต่างของตำแหน่งวัตถุหนึ่ง ๆ ที่เห็นโดยตาซ้ายและตาขวาของมนุษย์ เพราะตาแยกห่างกันตามแนวนอน (ที่เรียกว่าพารัลแลกซ์) ในกระบวนการเห็นเป็น 3 มิติ สมองจะใช้ความต่างที่เห็นจากรูป 2 มิติซึ่งตกลงที่จอตาทั้งสองเพื่อดึงข้อมูลความใกล้ไกลของวัตถุ ในคอมพิวเตอร์วิทัศน์ Binocular disparity จะหมายถึงความต่างพิกัดของสิ่งที่เหมือนกันในภาพ 2 ภาพที่ถ่ายคู่กัน อุปกรณ์หาพิสัยโดยบรรจวบ (coincidence rangefinder) ก็ใช้เทคนิคคล้าย ๆ กันเพื่อกำหนดระยะทางและ/หรือความสูงของวัตถุเป้าหมาย ในดาราศาสตร์ ความต่างระหว่างตำแหน่งต่าง ๆ บนผิวโลกสามารถใช้กำหนดพารัลแลกซ์ของวัตถุท้องฟ้า และโคจรของโลกเองก็สามารถใช้กำหนดพารัลแลกซ์ดาว (stellar parallax).

ใหม่!!: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและความต่างที่สองตา · ดูเพิ่มเติม »

ตามนุษย์

ตามนุษย์ เป็นอวัยวะที่ตอบสนองต่อแสงและแรงดัน ในฐานะเป็นอวัยวะรับความรู้สึก ตาของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทำให้สามารถเห็นได้ ช่วยให้เห็นภาพเคลื่อนไหวเป็น 3 มิติ และปกติเห็นเป็นสีในช่วงกลางวัน เซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยในจอตาทำให้สามารถรับรู้แสงและเห็น รวมทั้งแยกแยะสีและรับรู้ความใกล้ไกล ตามนุษย์สามารถแยกแยะสีได้ประมาณ 10 ล้านสี และอาจสามารถตรวจจับโฟตอนแม้เพียงอนุภาคเดียวได้ เหมือนกับตาของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ เซลล์ปมประสาทไวแสง (photosensitive ganglion cell) ในจอตามนุษย์ซึ่งไม่ช่วยให้เห็นภาพ จะได้สัญญาณแสงซึ่งมีผลต่อการปรับขนาดรูม่านตา ควบคุมและระงับการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน และปรับตัวทางสรีรภาพและพฤติกรรมตามจังหวะรอบวัน (circadian rhythm).

ใหม่!!: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและตามนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ตาเหล่

ตาเหล่ หรือ ตาเข (isbn) เป็นภาวะที่ตาทั้งสองไม่มองตรงที่เดียวกันพร้อม ๆ กันเมื่อกำลังจ้องดูวัตถุอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยตาข้างหนึ่งจะเบนไปในทางใดทางหนึ่งอย่างไม่คล้องจองกับตาอีกข้างหนึ่ง/หรือกับสิ่งที่มอง และตาทั้งสองอาจสลับเล็งมองที่วัตถุ และอาจเกิดเป็นบางครั้งบางคราวหรือเป็นตลอด ถ้ามีอาการเป็นช่วงเวลานานในวัยเด็ก ก็อาจทำให้ตามัวหรือเสียการรู้ใกล้ไกล แต่ถ้าเริ่มในวัยผู้ใหญ่ ก็มักจะทำให้เห็นภาพซ้อนมากกว่า อาการอาจมีเหตุจากการทำงานผิดปกติของกล้ามเนื้อตา สายตายาว ปัญหาในสมอง การบาดเจ็บ หรือการติดเชื้อ ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งการคลอดก่อนกำหนด อัมพาตสมองใหญ่ และประวัติการเป็นโรคในครอบครัว มีแบบต่าง ๆ รวมทั้ง เหล่เข้า (esotropia) ที่ตาเบนเข้าหากัน เหล่ออก (exotropia) ที่ตาเบนออกจากกัน และเหล่ขึ้น (hypertropia) ที่ตาสูงต่ำไม่เท่ากัน อาจเป็นแบบเหล่ทุกที่ที่มอง (comitant คือตาเหล่กลอกคู่) หรืออาจเหล่ไม่เท่ากันแล้วแต่มองที่ไหน (incomitant) การวินิจฉัยอาจทำโดยสังเกตว่าแสงสะท้อนที่ตาไม่ตรงกับกลางรูม่านตา มีภาวะอีกอย่างที่ทำให้เกิดอาการคล้าย ๆ กัน คือ โรคเส้นประสาทสมอง (cranial nerve disease) การรักษาจะขึ้นอยู่กับรูปแบบและเหตุ ซึ่งอาจรวมการใช้แว่นตาและการผ่าตัด มีบางกรณีที่มีผลดีถ้าผ่าตัดตั้งแต่ต้น ๆ เป็นโรคที่เกิดในเด็กประมาณ 2% คำภาษาอังกฤษมาจากคำกรีกว่า strabismós ซึ่งแปลว่า "เหล่ตา".

ใหม่!!: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและตาเหล่ · ดูเพิ่มเติม »

ตาเหล่ออก

ตาเหล่ออก (Exotropia) เป็นรูปแบบหนึ่งของอาการตาเหล่ที่ตาเบนออกด้านข้าง โดยเป็นอาการตรงข้ามกับตาเหล่เข้า (esotropia) คนที่ตาเหล่ออกมักจะเห็นภาพซ้อน (diplopia) ตาเหล่ออกเป็นบางครั้งบางคราวมักจะเป็นเรื่องสามัญ โดยอาการ Sensory exotropia (ตาเหล่ออกเหตุระบบรับความรู้สึก) จะเกิดเพราะสายตาไม่ดี ส่วนอาการตาเหล่เข้าในวัยทารก (Infantile exotropia, congenital exotropia) จะเห็นได้ตั้งแต่ปีแรกของชีวิต และมีคนไข้จำนวนน้อยกว่าอาการอีกแบบที่เรียกว่า essential exotropia ซึ่งปกติจะปรากฏอย่างชัดเจนหลายปีต่อมา สมรรถภาพของสมองในการเห็นวัตถุเป็น 3 มิติ จะขึ้นอยู่กับแนวตาที่ถูกต้อง เมื่อตาทั้งสองอยู่ในแนวที่ถูกต้องและมองไปทีเป้าหมายเดียวกัน สมองซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการเห็นจะรวมภาพจากทั้งสองตาเป็นภาพเดียวกัน เมื่อตาข้างหนึ่งเหล่เข้า เหล่ออก เหล่ขึ้น หรือเหล่ลง สมองอาจเห็นเป็นสองภาพ ซึ่งทำให้ไม่สามารถรู้ใกล้ไกลและเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา คำภาษาอังกฤษมาจากคำภาษากรีก exo ซึ่งแปลว่า "ออกข้างนอก" และ trope ซึ่งแปลว่า "การหัน".

ใหม่!!: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและตาเหล่ออก · ดูเพิ่มเติม »

ไทแรนโนซอรัส

กะโหลกของ ไทแรนโนซอรัส นั้นมีขนาดใหญ่ที่สุด ในบรรดา ไดโนเสาร์กินเนื้อทั้งหมด ซึ่งความใหญ่ของกะโหลกวัดกันที่ความกว้าง หลังมีการค้นพบญาติร่วมวงศ์ตระกูลของทีเร็กซ์ ว่ามีขนปกคลุม ทำให้นักวิทยาศาตร์ ได้สันนิฐานว่า ทีเร็กซ์และญาติของมัน น่าจะมีขนปกคลุมตามตัว ไทแรนโนซอรัส หรือ ไทรันโนซอรัส (แปลว่า กิ้งก่าทรราชย์ มาจากภาษากรีก) เป็นสกุลหนึ่งของไดโนเสาร์ประเภทเทอโรพอด ชนิดเดียวที่เป็นที่รู้จักในสกุลนี้คือ ไทแรนโนซอรัส เรกซ์ (rex แปลว่า ราชา มาจากภาษาละติน) หรือเรียกอย่างย่อว่า ที.

ใหม่!!: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและไทแรนโนซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมองส่วนการเห็น

ทางสัญญาณด้านหลัง (เขียว) และทางสัญญาณด้านล่าง (ม่วง) เป็นทางสัญญาณเริ่มมาจากเปลือกสมองส่วนการเห็นปฐมภูมิ เปลือกสมองส่วนการเห็น (visual cortex, cortex visualis) ในสมองเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกสมอง ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลสายตา อยู่ในสมองกลีบท้ายทอยด้านหลังของสมอง คำว่า เปลือกสมองส่วนการเห็น หมายถึงคอร์เทกซ์ต่าง ๆ ในสมองรวมทั้ง.

ใหม่!!: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและเปลือกสมองส่วนการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

Horopter

ผังแสดงเส้น/ผิว horopter ทั้งโดยทฤษฎี (T) และโดยการทดลอง (E) ในการศึกษาเรื่องการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา horopter หมายถึงเส้น/ผิว ที่จุดต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งอยู่บนเส้น/ผิวนั้น จะมองเห็นเป็นจุดเดียวด้วยตาทั้งสองเมื่อไม่ขยับ อีกอย่างหนึ่ง หมายถึงผิว (ในจินตนาการ) ที่วิ่งผ่านจุดตรึงตา ภาพที่เกิดจากสิ่งเร้าที่ปรากฏบนผิวนี้ จะตกลงที่จุดซึ่งสอดคล้องกันของจอตาทั้งสอง วัตถุที่ปรากฏบนผิวนี้ จะปรากฏว่าใกล้ไกลเท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามองผู้หญิงเป็นจุดตรึงตา และมีต้นไม้ที่อยู่ติดกับผิวจินตนาการ (horopter) ที่วิ่งผ่านจุดตรึงตา ผู้หญิงและต้นไม้จะปรากฏว่าอยู่ไกลเท่ากันจากผู้ดู ภาพที่ปรากฏนอกผิวนี้ อาจปรากฏเป็นภาพซ้อน ปรากฏการณ์นี่สามารถเห็นได้เมื่อชี้วัตถุที่อยู่ไกลด้วยนิ้ว ถ้าตรึงตาดูที่ปลายนิ้ว ก็จะเห็นนิ้วนิ้วเดียว แต่จะเห็นวัตถุที่ไกลเป็นภาพซ้อน ถ้าตรึงตาดูวัตถุที่อยู่ไกล ก็จะเห็นเป็นภาพเดียว แต่จะเห็นปลายนิ้วมือเป็นภาพซ้อน.

ใหม่!!: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและHoropter · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 7: โรคของตาและอวัยวะเคียงลูกตา

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและICD-10 บทที่ 7: โรคของตาและอวัยวะเคียงลูกตา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

AllelotropiaBinocular visionการเห็นด้วยสองตาทัศนภาพสองตาทัศนียภาพสองตาเห็นภาพเดียวด้วยสองตาเห็นด้วยสองตาเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »