โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธงตริสตันดากูนยา

ดัชนี ธงตริสตันดากูนยา

งชาติตริสตันดากูนยา เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีน้ำเงิน กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ที่มุมบนด้านคันธงมีภาพธงชาติสหราชอาณาจักร ที่ตอนปลายธงมีตราราชการของตริสตันดากูนยา เริ่มใช้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ตามประกาศของผู้ว่าการแห่งเซนต์เฮเลนาภายใต้พระปรมาภิไธยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 สิ่งสำคัญที่ควรกล่าวถึงก็คือรายละเอียดของตราราชการที่ปรากฏในธงนี้ ตราดังกล่าวเป็นตราโล่ ภายในมีรูปนกอัลบาทรอสสีขาว 2 ตัวบนพื้นครึ่งบนสีฟ้า และนกอย่างเดียวกันอีก 2 ตัวสีฟ้าบนพื้ขาวครึ่งล่าง กลางโล่มีรูปคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนแบ่งครึ่งตอนบนเป็นสีขาว ตอนล่างเป็นสีฟ้า เบื้องบนของโล่มีรูปชุดเกราะส่วนศีรษะมีริ้วสะบัดประดับมงกุฎนาวีรูปเรือทริสตัน ซ้ายขวาของโล่ขนาบด้วยรูปกุ้งมังกรข้างละ 1 ตัว ตอนล่างสุดเป็นม้วนแพรแถบสีขาว จารึกคำขวัญประจำดินแดนของตนเองไว้ว่า "Our faith is our strength" แปลว่า "ความศรัทธาคือกำลังแห่งเรา" ธงนี้ออกแบบโดย เกรแฮม บาร์แทรม (Graham Bartram) นักธัชวิทยาชาวสกอต อนึ่ง ก่อนหน้านี้ตริสตันดากูนยาใช้ธงชาติเซนต์เฮเลนาประจำดินแดนของตน เพราะเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของเซนต์เฮเลน.

12 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2545กุ้งมังกรยูเนียนแจ็กรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรสีขาวสีน้ำเงินธัชวิทยาธงเซนต์เฮเลนานกอัลบาทรอสเซนต์เฮเลนา20 ตุลาคม

พ.ศ. 2545

ทธศักราช 2545 V 2002 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2002 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ธงตริสตันดากูนยาและพ.ศ. 2545 · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งมังกร

วนหางของกุ้งมังกรแช่น้ำแข็ง พร้อมบริโภค ระวังสับสนกับ: ล็อบสเตอร์ สำหรับกุ้งมังกรที่พบในน้ำจืด ดูที่: เครย์ฟิช กุ้งมังกร หรือ กุ้งหัวโขน หรือ กุ้งหนามใหญ่ เป็นครัสเตเชียนทะเลจำพวกหนึ่ง เป็นกุ้งที่อยู่ในวงศ์ Palinuridae.

ใหม่!!: ธงตริสตันดากูนยาและกุ้งมังกร · ดูเพิ่มเติม »

ยูเนียนแจ็ก

งสหภาพ (Union Flag) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ยูเนียนแจ็ก (Union Jack) เป็นธงชาติสหราชอาณาจักร ทั้งยังได้รับการใช้อย่างเป็นทางการและกึ่งทางการในรัฐสมาชิกเครือจักรภพบางรัฐ เช่น ในประเทศแคนาดาที่ซึ่งธงนี้มีนามตามกฎหมายว่า "ราชธวัชสหภาพ" (Royal Union Flag) ธงสหภาพยังใช้อย่างเป็นทางการในดินแดนโพ้นทะเลบางดินแดนของอังกฤษ ทั้งยังปรากฏในธงของบางประเทศซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นอังกฤษด้วย ธงสหภาพมีกำเนิดย้อนหลังไปถึงปี 1603 เมื่อพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ เสวยราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ เป็นอันรวมแผ่นดินอังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์เป็นสหภาพหนึ่งเดียว กระนั้น แต่ละรัฐยังคงดำรงเอกราชอยู่มิได้ขึ้นแก่กัน วันที่ 12 เมษายน 1606 จึงมีการตราพระราชกฤษฎีกาให้มีธงใหม่เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ระหว่างประเทศอังกฤษและประเทศสกอตแลนด์ พระราชกฤษฎีกานี้ให้รวมธงอังกฤษ (ธงพื้นขาวมีกางเขนสีชาดซึ่งเรียก "กางเขนนักบุญจอร์จ" อยู่ตรงกลาง) เข้ากับธงสกอตแลนด์ (ธงพื้นน้ำเงินมีกางเขนไขว้สีขาวซึ่งเรียก "กางเขนนักบุญแอนดรูว" อยู่ตรงกลาง) เรียกว่า "ธงแห่งบริเตนใหญ่" ซึ่งก็คือ ธงผืนแรกแห่งสหภาพ รูปแบบปัจจุบันของธงสหภาพมีขึ้นในสหภาพบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เมื่อปี 1801, from the Flag Institute site.

ใหม่!!: ธงตริสตันดากูนยาและยูเนียนแจ็ก · ดูเพิ่มเติม »

รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก หรือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ในเรขาคณิตแบบยูคลิด รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก คือรูปสี่เหลี่ยมชนิดหนึ่งที่มุมทั้งสี่ของมันเป็นมุมฉาก ส่วนคำว่า รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หมายถึงรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่ไม่ใช่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ABCD เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ 10px ABCD จากการให้การจำกัดความนี้ สี่เหลี่ยมผืนผ้ายังมีด้านสองด้านที่ขนานกัน ซึ่งก็หมายความว่าสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นรูปชนิดพิเศษของสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยด้านทั้งสี่ด้านมีความยาวเท่ากัน ดังนั้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสจึงเป็นทั้งสี่เหลี่ยมผืนผ้าและรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน โดยปกติแล้ว ด้านตรงกันข้ามสองด้านในสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านที่ยาวกว่าจะถูกเรียกว่า ด้านยาว ของสี่เหลี่ยมผืนผ้า และด้านที่สั้นกว่าจะถูกเรียกว่า ด้านกว้าง พื้นที่ของสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็น ด้านกว้าง × ด้านยาว (ในสัญลักษณ์ A.

ใหม่!!: ธงตริสตันดากูนยาและรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Elizabeth II; พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2469) เป็นพระประมุขของ 16 ประเทศ จาก 53 รัฐสมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและผู้ปกครองสูงสุดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ธงตริสตันดากูนยาและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สีขาว

ีขาว คือ โทนสี หรือ การรับรู้ที่เกิดจากแสงไปกระตุ้นเซลล์สีรูปกรวยทั้ง 3 แบบในดวงตาของมนุษย์ในปริมาณที่เกือบจะเท่ากันและมีความสว่างสูงสุดเมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง สีขาว เป็นสีที่เกิดจากการรวมความเข้มของแสงสเปกตรัมที่มองเห็นได้ เป็นสีที่เต็มไปด้วยความสว่าง แต่ไม่มีสีสัน แหล่งกำเนิดของแสงสีขาวมีอยู่หลายแหล่ง เช่น ดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน, หลอดไฟแบบไส้, หลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนท์ และหลอด LED สีขาว สีขาวยังมีความพิเศษอยู่อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างแสงสีปฐมภูมิ ซึ่งได้แก่ สีแดง, เขียว และน้ำเงิน (RGB) โดยเรียกกระบวนการนี้ว่า การผสมแสงสี (additive mixing) ซึ่งพบได้ทั่วไปในเทคโนโลยีการแสดงผล แสงสีขาวที่สะท้อนออกมาจากวัตถุจะสามารถมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อไม่มีสเปกตรัมของแสงส่วนไหนที่สะท้อนมากกว่าส่วนอื่นๆและวัตถุที่สะท้อนแสงนั้นมีมุมตกกระทบที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดการกระจัดกระจายของแสง (diffusion) ได้.

ใหม่!!: ธงตริสตันดากูนยาและสีขาว · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำเงิน

ีน้ำเงิน เป็นหนึ่งในแม่สี ทั้งแม่สีทางแสง และทางวัตถุธาตุ เป็นแม่สีที่มีความยาวคลื่นต่ำที่สุด แสงสีน้ำเงินมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 440-490 นาโนเมตร เป็นสีที่ใกล้เคียงกับสีฟ้าและสีกรมท่า และถือเป็น 1 ในแม่สีร่วมกับ สีแดง และสีเขียว สีน้ำเงิน เป็นสีในกลุ่มสีโทนเย็น สีน้ำเงินเป็นสีที่สร้างความสุขุมเยือกเย็น หนักแน่นและละเอียดรอบคอบ ใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจและการแสดงออกทางศิลปะได้ดีอีกด้วย ขณะที่สีฟ้าให้ความรู้สึกแบบเดียวกับสีเขียว คือ สบายตา ให้ความรู้สึกเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง โล่งใจ ลดความร้อนรุ่มกระวนกระวายใจลงได้.

ใหม่!!: ธงตริสตันดากูนยาและสีน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

ธัชวิทยา

งของ ''Fédération internationale des associations vexillologiques''. ธัชวิทยา (vexillology) คือวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับธง ชื่อวิชา Vexillology เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2500 โดย วิทนีย์ สมิท ผู้แต่งหนังสือเรื่อง ธง และบทความเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับธง ในช่วงแรกยังนับเป็นสาขาย่อยของ"วิชาการผูกตราสัญลักษณ์" (heraldry) ซึ่งบางครั้งก็ยังถือว่าเป็นดังนั้นอยู่ นอกจากนี้ก็ยังอาจถือว่าเป็นสาขาของวิชา สัญญาณศาสตร์ (semiotics) วิชานี้ได้มีการนิยามไว้ในข้อบังคับของ สหพันธ์ธัชวิทยานานาชาติ - FIAV (Fédération internationale des associations vexillologiques) ว่าเป็น "การสร้างสรรค์และพัฒนาการว่าด้วยองค์ความรู้เกี่ยวกับธงทุกประเภท ทุกรูปแบบ ทุกหน้าที่ใช้สอย และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และหลักการที่เป็นพื้นฐานแห่งความรู้นี้" บุคคลผู้ศึกษาเกี่ยวกับธงเรียกว่า "นักธัชวิทยา" (vexillologist) และเรียกผู้ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบธงหรือนักออกแบบธง เป็นภาษาอังกฤษว่า vexillographer ในคำภาษาอังกฤษ Vexillology ได้มาจากการสังเคราะห์คำภาษาละติน vexillum และ หน่วยคำเติมหลัง –ology ที่แปลว่า "การศึกษาว่าด้ว..." สำหรับ vexillum หมายถึงธงประจำกองทหารโรมันในยุคคลาสสิก ธงสมัยนั้นต่างกันธงปัจจุบันตรงที่ธงปัจจุบันใช้ผูกกับเสาทางดิ่ง ส่วนธง vexillum เป็นผืนสี่เหลี่ยมจตุรัสแขวนอยู่กับแขนกางเขนทางนอนที่ยึดกับปลายหอก นักธัชวิทยารวมตัวกันในระดับนานาชาติจัดประชุมด้านธัชวิทยา (ICV - International Concress of Vexillology) ทุกๆ สองปี เมื่อ..

ใหม่!!: ธงตริสตันดากูนยาและธัชวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ธงเซนต์เฮเลนา

งชาติเซนต์เฮเลนา ธงชาติเซนต์เฮเลนา ใช้ตราแผ่นดินประกอบเข้ากับธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร (Blue Ensign) ที่ด้านปลายธง (เนื่องจากว่าดินแดนแห่งนี้เป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร) ซึ่งตราแผ่นดินดังกล่าวนั้น ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามการกำหนดให้ใช้ตราแผ่นดินในแต่ละครั้ง ธงที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2527 สำหรับธงเรือพลเรือนนั้นใช้ธงเรือพลเรือนสหราชอาณาจักร (Red Ensign) ซึ่งมีพื้นสีแดง ส่วนเครื่องหมายในธงเป็นรูปตราแผ่นดินอย่างเดียวกับธงชาติ สำหรับธงประจำตำแหน่งผู่ว่าการแห่งเซนต์เฮเลนา ใช้ธงชาติสหราชอาณาจักรประดับด้วยตราแผ่นดินที่กลางธง.

ใหม่!!: ธงตริสตันดากูนยาและธงเซนต์เฮเลนา · ดูเพิ่มเติม »

นกอัลบาทรอส

นกอัลบาทรอส (Albatrosses) เป็นนกทะเลขนาดใหญ่ จัดอยู่ในวงศ์ Diomedeidae กระจายพันธุ์อยู่เป็นฝูงตามชายฝั่งทะเลและเกาะแก่งต่าง ๆ ในเขตร้อน และเขตอบอุ่นทั่วโลก (ดูในแผนที่) นกอัลบาทรอสจัดว่าเป็นนกที่บินได้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อกางปีกออก โดยอาจกว้างได้ถึง 3.5 เมตร ในกลุ่มนกอัลบาทรอสใหญ่ แม้แต่ขนาดเล็กที่สุดก็ยังกว้างได้ถึง 2 เมตร นกอัลบาทรอสจะบินอยู่ตลอดเวลา โดยสามารถบินได้ไกลถึงวันละ 15,000 กิโลเมตร เพียงเพื่อหาอาหารกลับมาเลี้ยงลูกเท่านั้น แต่เมื่อนกอัลบาทรอสอยู่บนพื้นดินแล้วกลับมีพฤติกรรมที่งุ่มง่าม เนื่องจากไม่ถนัดในการเดิน เพราะมีฝ่าตีนที่แผ่แบนเป็นพังผืดเหมือนตีนเป็ด นกอัลบาทรอสสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 60 ปีแต่ขยายพันธุ์ช้ามากจนเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ภายในศตวรรษหน้า ภัยคุกคามสำคัญของมันคือการทำประมงเบ็ดราวในแต่ละปี มีนกอัลบาทรอสกว่า 100,000 ตัวที่ตายเพราะติดสายเบ็ดที่วางไว้เป็นล้านๆ เพื่อจับปลาทูน.

ใหม่!!: ธงตริสตันดากูนยาและนกอัลบาทรอส · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์เฮเลนา

ซนต์เฮเลนา เป็นเกาะภูเขาไฟและอยู่ในเครือจักรภพของสหราชอาณาจักร อยู่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก เกาะใกล้เคียงก็อยู่ในเครือจักรภพเช่นกัน ทั้งเกาะแอสเซนซันและตริสตัน ดา กุนญา เซนต์เฮเลนาเป็นที่รู้จักเมื่อครั้งที่จักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ตแห่งฝรั่งเศส ถูกเนรเทศไปที่เกาะนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2358 จนสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2364 สถานที่สำคัญคือ ลองวู้ด เฮาส์ (Longwood House) อันเป็นสถานที่ที่นโปเลียนพำนักระหว่างการเนรเทศอยู่ และแซน แวลลี (Sane Valley) ซึ่งที่ฝังพระศพ เกาะนี้เคยเป็นของฝรั่งเศสจนกระทั่งกลายมาเป็นของอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2401 เซนต์เฮเลนาเป็นสมาชิกของสมาคมการกีฬาหมู่เกาะนานาชาติ (International Island Games Associetion).

ใหม่!!: ธงตริสตันดากูนยาและเซนต์เฮเลนา · ดูเพิ่มเติม »

20 ตุลาคม

วันที่ 20 ตุลาคม เป็นวันที่ 293 ของปี (วันที่ 294 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 72 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ธงตริสตันดากูนยาและ20 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ธงชาติทริสตันดาคูนาธงชาติตริสตันดากูนยา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »