โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตา

ดัชนี ทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตา

ทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตา (Delta-beta thalassemia) เป็นทาลัสซีเมียประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคเลือดที่มีความผิดปกติในการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่โปรตีนของเฮโมโกลบิน ซึ่งสืบทอดทางกรรมพันธุ์ผ่านลักษณะด้อยของออโตโซม (autosomal recessive) โดยสัมพันธ์กับหน่วยย่อยของเฮโมโกลบินส่วนเดลต.

3 ความสัมพันธ์: ทาลัสซีเมียแบบบีตาทาลัสซีเมียแบบแอลฟาICD-10 บทที่ 3: โรคของเลือดและอวัยวะสร้างเลือดและความผิดปกติบางอย่างของกลไกภูมิคุ้มกัน

ทาลัสซีเมียแบบบีตา

ทาลัสซีเมียแบบบีตา (Beta thalassemias, β thalassemias) เป็นกลุ่มโรคเลือดที่สืบทอดทางพันธุกรรม เป็นรูปแบบของทาลัสซีเมียที่มีเหตุจากการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่บีตาของเฮโมโกลบิน (HBB) ที่ผิดปกติ คือลดลงหรือไม่มีเลย ซึ่งอาจมีผลต่าง ๆ เริ่มต้นจากภาวะเลือดจางอย่างรุนแรง จนถึงบุคคลที่ไม่มีอาการเลย ความชุกของโรคทั่วโลกต่อปีอยู่ที่ 1 ใน 100,000 เป็นโรคที่มีเหตุจากการกลายพันธุ์ของยีน HBB บนโครโมโซมคู่ที่ 11 โดยสืบทางกรรมพันธุ์แบบผ่านลักษณะด้อยของออโตโซม (autosomal recessive) ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับลักษณะการกลายพันธุ์ แต่โดยทั่วไปแล้วความไม่สมดุลของห่วงลูกโซ่แอลฟาและบีตาจะทำให้เกิดการสลายของเม็ดเลือดแดง (hemolysis) และการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไม่มีประสิทธิภาพ คนที่มีกรรมพันธุ์แบบลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จะไม่มีอาการ ไม่ต้องรักษา และจะมีการคาดหมายคงชีพที่อายุปกติ ผู้ที่มีโรคเต็มตัว (major) จะมีภาวะเลือดจางแบบเม็ดเลือดแดงสลาย ไม่โต และมีความผิดปกติทางกระดูกในวัยทารก เด็กที่มีโรคเต็มตัวจะต้องถ่ายเลือดตลอดชีวิต ผู้ที่มีโรคเต็มตัวมักจะเสียชีวิตเกี่ยวกับปัญหาทางหัวใจเนื่องจากภาวะเหล็กเกินโดยอายุ 30 ปี ผู้ที่มีโรคระดับปานกลาง (intermedia) มีอาการรุนแรงน้อยกว่าแต่อาจจะต้องถ่ายเลือดเป็นครั้งคราว บุคคลที่มีโรคควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนมีบุตร/ก่อนแต่งงาน ความขัดข้องในการถอดรหัสยีน HBB มีผลเป็นการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่บีตาของโปรตีนโกลบินที่ลดลง ซึ่งมีผลเป็นการผลิตเฮโมโกลบินแบบ A (HbA) ที่ลดลง เมื่อเม็ดเลือดแดงมีโกลบินเอน้อยลง ก็ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็ก (microcytic anemia) ดังนั้น ภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็กจะเป็นผลโดยที่สุดของการขาด HBB เพราะเหตุนี้ คนไข้อาจจำเป็นต้องได้การถ่ายเลือดเพื่อทดแทนการไม่ผลิตห่วงลูกโซ่บีตา แต่การถ่ายเลือดซ้ำ ๆ อาจนำไปสู่ภาวะเหล็กเกิน (iron overload) ซึ่งมีผลเป็นภาวะเหล็กเป็นพิษ (iron toxicity) และภาวะเหล็กเป็นพิษสามารถมีผลหลายอย่าง รวมทั้ง myocardial siderosis (ภาวะสะสมเหล็กในหัวใจ) และหัวใจวายซึ่งอาจทำให้ถึงชีวิต.

ใหม่!!: ทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตาและทาลัสซีเมียแบบบีตา · ดูเพิ่มเติม »

ทาลัสซีเมียแบบแอลฟา

ทาลัสซีเมียแบบแอลฟา (Alpha-thalassemia, α-thalassemia, α-thalassaemi) เป็นทาลัสซีเมียประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคเลือดที่สืบทอดทางกรรมพันธุ์และเกิดจากความผิดปกติในการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่โปรตีนของเฮโมโกลบิน โดยเฉพาะแล้ว แบบแอลฟาเกิดจากความผิดปกติของยีน HBA1 และ/หรือ HBA2 บนโครโมโซม 16 ทำให้ผลิตห่วงลูกโซ่แบบแอลฟาจากยีน globin 1,2,3, หรือทั้ง 4 ยีนอย่างผิดปกติ มีผลให้ห่วงลูกโซ่แบบแอลฟาลดลงหรือไม่มี และเกิดห่วงลูกโซ่แบบบีตามากเกินสัดส่วน ระดับความพิการที่เกิดจะขึ้นอยู่กับลักษณะทางพันธุกรรม (phenotype) ที่มี คือ มียีนกี่ตำแหน่งที่เปลี่ยนไป แต่โดยทั่วไปแล้วความไม่สมดุลของห่วงลูกโซ่แอลฟาและบีตาจะทำให้เกิดการสลายของเม็ดเลือดแดง (hemolysis) และการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไม่มีประสิทธิภาพ คนที่มีกรรมพันธุ์แบบพาหะเงียบ (silent carrier) และแบบลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จะไม่มีอาการ ไม่ต้องรักษา และจะมีการคาดหมายคงชีพที่อายุปกติ คนที่เป็นระดับปานกลาง (intermedia) จะมีภาวะเลือดจางเพราะการสลายเลือด และทารกที่มีระดับหนัก (major) มักจะไม่รอดชีวิต บุคคลที่มีโรคควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนมีบุตร/ก่อนแต่งงาน และบุคคลที่เป็น trait ควรตรวจบุตรที่อยู่ในครรภ์ (chorionic villus sampling).

ใหม่!!: ทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตาและทาลัสซีเมียแบบแอลฟา · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 3: โรคของเลือดและอวัยวะสร้างเลือดและความผิดปกติบางอย่างของกลไกภูมิคุ้มกัน

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตาและICD-10 บทที่ 3: โรคของเลือดและอวัยวะสร้างเลือดและความผิดปกติบางอย่างของกลไกภูมิคุ้มกัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Delta-beta thalassemiaภาวะทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตาภาวะทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีต้าภาวะทาลัสซีเมียแบบเดลตา-เบตาภาวะทาลัสซีเมียแบบเดลตา-เบต้าภาวะทาลัสซีเมียแบบเดลต้า-บีตาภาวะทาลัสซีเมียแบบเดลต้า-บีต้าภาวะทาลัสซีเมียแบบเดลต้า-เบตาภาวะทาลัสซีเมียแบบเดลต้า-เบต้าภาวะเดลตา-บีตาทาลัสซีเมียภาวะเดลตา-บีต้าทาลัสซีเมียภาวะเดลตา-เบตาทาลัสซีเมียภาวะเดลตา-เบต้าทาลัสซีเมียภาวะเดลต้า-บีตาทาลัสซีเมียภาวะเดลต้า-บีต้าทาลัสซีเมียภาวะเดลต้า-เบตาทาลัสซีเมียภาวะเดลต้า-เบต้าทาลัสซีเมียทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีต้าทาลัสซีเมียแบบเดลตา-เบตาทาลัสซีเมียแบบเดลตา-เบต้าทาลัสซีเมียแบบเดลต้า-บีตาทาลัสซีเมียแบบเดลต้า-บีต้าทาลัสซีเมียแบบเดลต้า-เบตาทาลัสซีเมียแบบเดลต้า-เบต้าเดลตา-บีตาทาลัสซีเมียเดลตา-บีต้าทาลัสซีเมียเดลตา-เบตาทาลัสซีเมียเดลตา-เบต้าทาลัสซีเมียเดลต้า-บีตาทาลัสซีเมียเดลต้า-บีต้าทาลัสซีเมียเดลต้า-เบตาทาลัสซีเมียเดลต้า-เบต้าทาลัสซีเมีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »