โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทะเลเซเลบีส

ดัชนี ทะเลเซเลบีส

ทะเลเซเลบีส (Celebes Sea) หรือ ทะเลซูลาเวซี (Laut Sulawesi) เป็นทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศเหนือจดกลุ่มเกาะซูลูและเกาะมินดาเนาของฟิลิปปินส์ ทิศตะวันตกจรดกับหมู่เกาะซังกีเอของประเทศอินโดนีเซีย ทิศใต้ติดต่อกับเกาะซูลาเวซี (เซเลบีส) และทิศตะวันตกจรดกับเกาะบอร์เนียว เชื่อมต่อกับทะเลชวาโดยช่องแคบมากัสซาร์ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลมีเนื้อที่ 110,000 ตร.ไมล์ (280,000 กม2) มีความลึกสูงสุด 20,300 ฟุต (6,200 ม.) หมวดหมู่:ทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก หมวดหมู่:ทะเลในประเทศฟิลิปปินส์ หมวดหมู่:ทะเลในประเทศอินโดนีเซีย หมวดหมู่:แหล่งน้ำในประเทศมาเลเซีย.

18 ความสัมพันธ์: ช่องแคบมากัสซาร์พะยูนมหาสมุทรแปซิฟิกรายชื่อทะเลวงศ์ปลาตะกรับสุริยุปราคา 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411จังหวัดซารังกานีจังหวัดซุลตันคูดารัตทะเลโมลุกกะประเทศฟิลิปปินส์ประเทศมาเลเซียเกาะบอร์เนียวเส้นขนานที่ 5 องศาเหนือเส้นเมริเดียนที่ 119 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 120 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 125 องศาตะวันออกเขตตังไวนางซัมบวงกาเขตโซกซาร์เจน

ช่องแคบมากัสซาร์

ช่องแคบมากัสซาร์ (Makassar Strait) ตั้งอยู่ระหว่างเกาะบอร์เนียวกับเกาะซูลาเวซีในประเทศอินโดนีเซีย ทิศเหนือติดกับทะเลเซเลบีส ทิศใต้ติดกับทะเลชวา หมวดหมู่:ช่องแคบในประเทศอินโดนีเซีย หมวดหมู่:ช่องแคบในมหาสมุทรแปซิฟิก หมวดหมู่:ช่องแคบในทวีปเอเชีย.

ใหม่!!: ทะเลเซเลบีสและช่องแคบมากัสซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

พะยูน

ูน เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดเดียวที่เป็นสัตว์น้ำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dugong dugon อยู่ในอันดับพะยูน (Sirenia).

ใหม่!!: ทะเลเซเลบีสและพะยูน · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: ทะเลเซเลบีสและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทะเล

ทะเลคือพื้นที่น้ำเกลือที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทร หรือทะเลขนาดใหญ่ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (เช่น ทะเลแคสเปียน และทะเลเดดซี) .

ใหม่!!: ทะเลเซเลบีสและรายชื่อทะเล · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะกรับ

วงศ์ปลาตะกรับ (Scat, Butterfish, Spadefish) เป็นวงศ์ปลาน้ำเค็มในอันดับ Perciformes ใช้ชื่อวงศ์ว่า Scatophagidae (/สแคท-โต-ฟา-กิ-ดี้/) มีรูปร่างทั่วไปแบนข้างมาก เกล็ดละเอียดเป็นแบบสากมือ และติดแน่นกับลำตัว ครีบหลังตอนแรกเป็นครีบแข็ง ครีบหลังตอนหลังจะอ่อนนุ่ม ก้านครีบหลังก้านแรกเป็นครีบแข็งและชี้ไปด้านหน้า ครีบหางตัดตรงและมีก้านครีบจำนวนมาก ตามลำตัวจะมีจุดสีดำหรือลวดลายกระจายไปทั่วต่างกันไปตามสกุลและสายพันธุ์ มีฟันที่เพดานปากและขากรรไกร ไม่มีหนามบนกระดูกโอเปอร์คัลและกระดูกพรีโอเปอร์คัล มีเส้นข้างลำตัวโค้งและสมบูรณ์ เป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลเขตอบอุ่น พบตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, ทะเลแดง, เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ซูลาเวซี, อินโดนีเซีย ตลอดจนถึงโซนโอเชียเนีย พบในประเทศไทยเพียงชนิดเดียว คือ ปลาตะกรับ (Scatophagus argus) โดยปกติแล้วปลาในวงศ์นี้จะสามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดสนิทได้ แต่จะวางไข่ในที่น้ำเค็มแบบน้ำทะเล มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 30-40 เซนติเมตร มีทั้งหมด 4 ชนิด ใน 2 สกุล ซึ่งทั้งหมดนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม หรือตกเป็นเกมกีฬาและรับประทานเป็นอาหารในบางประเทศ โดยแบ่งออกเป็น สกุล Scatophagus.

ใหม่!!: ทะเลเซเลบีสและวงศ์ปลาตะกรับ · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411

ริยุปราคาเต็มดวง 18 สิงหาคม..

ใหม่!!: ทะเลเซเลบีสและสุริยุปราคา 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดซารังกานี

ังหวัดซารังกานี (เซบัวโน: Lalawigan sa Sarangani) เป็นจังหวัดในเขตโซกซาร์เจน ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองศูนย์กลางคืออาลาเบล ตัวจังหวัดมีแนวชายฝั่งติดกับอ่าวซารังกานีและทะเลเซเลบีส ความยาว 230 กิโลเมตร ซารังกานีเป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของมินดาเนา และเป็นส่วนหนึ่งของย่านการพัฒนาโซกซาร์เจน โดยมีถนนลาดยางอย่างดีเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานนานาชาติและท่าเรือใหญ่ของนครเฮเนรัลซันโตส จังหวัดซารังกานีถูกแยกออกเป็นสองส่วน แบ่งโดยอ่าวซารังกานีและเฮเนรัลซันโตส เคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดตีโมกโคตาบาโตจนถึง 1992.

ใหม่!!: ทะเลเซเลบีสและจังหวัดซารังกานี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดซุลตันคูดารัต

ังหวัดซุลตันคูดารัต (ฮิลิกายนอน: Kapuoran sang Sultan Kudarat; กินาไรอา: Probinsya kang Sultan Kudarat; Maguindanaon: Dalapa sa Sultan Kudarat) เป็นจังหวัดในเขตโซกซาร์เจน ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองศูนย์กลางคืออีซูลัน และเมืองศูนย์กลางทางพาณิชยกรรมมีชื่อว่าตาคูโรง จังหวัดซุลตันคูดารัตเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิจังหวัดโคตาบาโต จนกระทั่งถูกแยกตัวออกมากเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ทะเลเซเลบีสและจังหวัดซุลตันคูดารัต · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลโมลุกกะ

ตำแหน่งของทะเลโมลุกกะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทะเลโมลุกกะ (Molucca Sea; Laut Maluku) ตั้งอยู่ระหว่างทะเลบันดากับทะเลเซเลบีส ในประเทศอินโดนีเซีย หมวดหมู่:ทะเลในประเทศอินโดนีเซีย มโลุกกะ.

ใหม่!!: ทะเลเซเลบีสและทะเลโมลุกกะ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: ทะเลเซเลบีสและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: ทะเลเซเลบีสและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

เกาะบอร์เนียว

อร์เนียว (Borneo) หรือ กาลีมันตัน (Kalimantan) เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากเกาะกรีนแลนด์ (อันดับ 1) และเกาะนิวกินี (อันดับ 2) มีประเทศ 3 ประเทศอยู่ในเกาะบอร์เนียว คือ มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย อยู่บริเวณใจกลางกลุ่มเกาะมลายูและประเทศอินโดนีเซีย ในทางภูมิศาสตร์ เกาะบอร์เนียวเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: ทะเลเซเลบีสและเกาะบอร์เนียว · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 5 องศาเหนือ

้นขนานที่ 5 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 5 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก, ทวีปแอฟริกา, มหาสมุทรอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ, มหาสมุทรแปซิฟิกและทวีปอเมริกาใต้.

ใหม่!!: ทะเลเซเลบีสและเส้นขนานที่ 5 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 119 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 119 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 119 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 61 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: ทะเลเซเลบีสและเส้นเมริเดียนที่ 119 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 120 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 120 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 120 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: ทะเลเซเลบีสและเส้นเมริเดียนที่ 120 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 125 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 125 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 125 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 55 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: ทะเลเซเลบีสและเส้นเมริเดียนที่ 125 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เขตตังไวนางซัมบวงกา

ตตังไวนางซัมบวงกา‎ (ชาบากาโน: Peninsula de Zamboanga; เซบัวโน: Lawis sa Zamboanga; Tangway ng Zamboanga) หรือ เขตที่ 9 เป็นเขตหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วย 3 จังหวัดและ 2 นคร ได้แก่ อีซาเบลาและซัมบวงกาซิตี ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดบาซีลันและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนครที่มีประชากรอย่างสูงในเวลาต่อมา ชื่อเดิมของเขตนี้คือ เวสเทิร์นมินดาเนา ก่อนมีการประกาศเปลี่ยนแปลง ใช้เมื่อวันที่ 19 กันยายน..

ใหม่!!: ทะเลเซเลบีสและเขตตังไวนางซัมบวงกา · ดูเพิ่มเติม »

เขตโซกซาร์เจน

ตโซกซาร์เจน (SOCCSKSARGEN) (สะกด) เป็นเขตหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์ อยู่ตอนกลางทางใต้ของเกาะมินดาเนา ถูกแต่งตั้งให้เป็น เขตที่ 12 โดยชื่อของเขตมากจากคำขึ้นต้นของจังหวัดและเมือง ได้แก่ South Cotabato, Cotabato City, North Cotabato, Sultan Kudarat, Sarangani, General Santos City ชื่อเดิมของเขตนี้คือ เซนทรัลมินดาเนา ศูนย์กลางของเขตอยู่ที่เมืองโคโรนาดัลในจังหวัดตีโมกโคตาบาโต ส่วนศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมอยู่ที่เมืองเฮเนรัลซันโตส ซึ่งมีประชากรมากที่สุดของเขต.

ใหม่!!: ทะเลเซเลบีสและเขตโซกซาร์เจน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Celebes Sea

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »