โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทะเลสาบโตบา

ดัชนี ทะเลสาบโตบา

ทะเลสาบโตบา (Lake Toba Danau Toba) เป็นทะเลสาบและซูเปอร์ภูเขาไฟ มีความยาว 100 กิโลเมตร กว้าง 33 กิโลเมตร จุดที่ลึกที่สุดลึก 505 เมตร ตั้งอยู่ที่ทางเหนือของเกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย ที่ระดับความสูง 900 เมตร พิกัดตั้งแต่ ถึง เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย และเป็นทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทะเลสาบโตบาเคยเป็นสถานที่เกิดเหตุซูเปอร์ภูเขาไฟปะทุเมื่อประมาณ 69,000-77,000 ปีก่อน ซึ่งเป็นการปะทุครั้งใหญ่ที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยถูกประมาณให้อยู่ที่ระดับ 8 ของดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ และเป็นเหตุระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่ค้นพบในรอบ 25 ล้านปีที่ผ่านมา ตามทฤษฎีมหันตภัยโตบาแล้ว การปะทุครั้งนั้นส่งผลกระทบไปทั่วโลก มนุษย์ส่วนใหญ่ในขณะนั้นเสียชีวิต และเกิดภาวะคอขวดทางประชากรในแอฟริกาตะวันออกตอนกลางและอินเดีย ซึ่งส่งผลต่อ Genetic inheritance ของมนุษย์ทุกคนในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม สมมุติฐานนี้ไม่เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายเนื่องจากขาดหลักฐานที่แสดงถึงการเสียชีวิตหมู่หรือสูญพันธุ์ของสัตว์ชนิดอื่น แม้แต่สัตว์ที่อ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมGathorne-Hardy, F. J., and Harcourt-Smith, W. E. H.,, Journal of Human Evolution 45 (2003) 227–230.

10 ความสัมพันธ์: การปะทุแบบพลิเนียนภูเขาไฟใหญ่ฤดูหนาวจากภูเขาไฟวิวัฒนาการของมนุษย์อุรังอุตังตาปานูลีทะเลสาบทะเลสาบปล่องภูเขาไฟความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกเกาะสุมาตราเส้นเวลาของอนาคตไกล

การปะทุแบบพลิเนียน

แผนภาพการปะทุแบบพลิเนียน(1) เถ้าปะทุ(2) ปล่องหินหนืด(3) เถ้าตก(4) ชั้นทับถมของหินหลอมและเถ้า(5) ชั้นหิน(6) โพรงหินหนืด การปะทุแบบพลิเนียน (Plinian eruption) คือ รูปแบบการปะทุของภูเขาไฟที่มีต้นแบบจากการปะทุของภูเขาไฟวิสุเวียสเมื่อปี ค.ศ. 79 ซึ่งทำลายเมืองปอมเปอีและเฮอร์คิวเลเนียมของจักรวรรดิโรมัน คำว่าพลิเนียนถูกตั้งตามชื่อพลินีผู้เยาว์ ผู้บรรยายลักษณะการปะทุของภูเขาไฟวิสุเวียสไว้ในจดหมายฉบับหนึ่ง และผู้ซึ่งลุงของเขา พลินีผู้อาวุโส เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ การปะทุแบบพลิเนียนมีลักษณะเด่น ได้แก่ การเกิดลำก๊าซและเถ้าภูเขาไฟตั้งสูงขึ้นไปในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ ซึ่งเป็นบรรยากาศชั้นที่สองของโลก การขับหินพัมมิสออกจากปากปล่องในปริมาณมาก และการปะทุเป่าก๊าซออกมาอย่างต่อเนื่องและรุนแรง เมื่อเทียบระดับความรุนแรงตามดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ (Volcanic Explosivity Index; VEI) การปะทุแบบพลิเนียนจะมีค่าดัชนีอยู่ระหว่าง 4-6 นอกจากนี้ยังมีการกำหนดการปะทุแบบ "ซับพลิเนียน" (sub-Plinian) มีระดับความรุนแรง 3 หรือ 4 และแบบ "อัลตราพลิเนียน" (ultra-Plinian) มีระดับความรุนแรง 6-8 การปะทุแบบสั้นอาจจบได้ภายในวันเดียว การปะทุแบบยาวอาจดำเนินตั้งแต่หลายวันจนถึงหลายเดือน ซึ่งการปะทุแบบยาวจะเริ่มต้นด้วยการก่อตัวของเมฆเถ้าภูเขาไฟและบางครั้งก็เกิดการไหลไพโรคลาสติก หินหนืด (แมกมา) อาจถูกพ่นออกมาจากโพรงหินหนืดใต้ภูเขาไฟจนหมด ทำให้ยอดภูเขาไฟยุบตัวลงเกิดเป็นแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด (caldera) ส่วนเถ้าละเอียดอาจตกลงมาทับถมกันเป็นบริเวณกว้าง และบ่อยครั้งที่การปะทุแบบพลิเนียนทำให้เกิดเสียงดังมาก เช่นจากการปะทุของภูเขาไฟกรากะตัวในอินโดนีเซียเมื่อปี..

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและการปะทุแบบพลิเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟใหญ่

ัชนีการระเบิดของภูเขาไฟระดับ 7 ภูเขาไฟใหญ่ หรือ ซูเปอร์วอลเคโน (Supervolcano) คือภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่มีมวลการปะทุอยู่ในระดับ 8 ซึ่งเป็นค่าสูงสุดในดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟที่มีค่าปริมาตรมวลสารปะทุมากกว่า 1,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร ภูเขาไฟใหญ่เกิดขึ้นเมื่อหินหนืดจากเนื้อโลกดันตัวขึ้นไปด้านบนแต่ยังไม่ประทุสู่บนเปลือกโลกแต่จะขังตัวเป็นแอ่งใต้เปลือกโลกแทน จนเวลาผ่านไปแอ่งแม็กมาก็จะใหญ่จนมีแรงดันมากขึ้นจนเปลือกโลกรับแรงดันไม่ไหวจึงปะทุออกมา ซึ่งเหตุการ์ณแบบนี้จะเกิดบริเวณจุดร้อนเช่นแอ่งภูเขาไฟเยลโลว์สโตนหรือในเขตมุดตัวของเปลือกโลกอย่างทะเลสาบโตบา และลักษณะอื่นที่ทำให้มีการปะทุปริมาตรมวลสารจำนวนมากจะอยู่บริเวณที่มีการสะสมหินอัคนีเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ด้วยลาวา, เถ้าภูเขาไฟและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเช่นการเกิดยุคน้ำแข็งขนาดเล็กที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ได้ การระเบิดที่ใหญ่ที่สุดของภูเขาไฟใหญ่คือการปะทุโอรัวนุเมื่อ 26,500 ปีก่อนซึ่งเป็นการระเบิดของภูเขาไฟตาอูโปในประเทศนิวซีแลน.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและภูเขาไฟใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูหนาวจากภูเขาไฟ

ูหนาวจากภูเขาไฟ คือการที่โลกมีอุณหภูมิลดลงจากการระเบิดของภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดเถ้าภูเขาไฟ, กรดซัลฟิวริกและน้ำจำนวนมากในชั้นบรรยากาศจนทำให้บดบังแสงจากดวงอาทิตย์และมีการเพิ่มอัลบีโด (ค่าการสะท้องแสง) ของโลกมากขึ้น ความหนาวเย็นของปรากฏการณ์นี้จะกินเวลานานเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนก๊าซกำมะถันที่เปลี่ยนรูปเป็นอนุภาคชื่อว่าละอองลอยของกรดซัลฟิวริกซึ่งจะรวมตัวกันที่ชั้นสตราโทสเฟียร์Robock, Alan (2000).

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและฤดูหนาวจากภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของมนุษย์

''Homo sapiens sapiens'' ชาวอาข่าในประเทศไทย วิวัฒนาการของมนุษย์ (Human evolution) เป็นกระบวนการวิวัฒนาการที่นำไปสู่การปรากฏขึ้นของ "มนุษย์ปัจจุบัน" (modern human มีนามตามอนุกรมวิธานว่า Homo sapiens หรือ Homo sapiens sapiens) ซึ่งแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะเริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษแรกของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด แต่บทความนี้ครอบคลุมเพียงแค่ประวัติวิวัฒนาการของสัตว์อันดับวานร (primate) โดยเฉพาะของสกุล โฮโม (Homo) และการปรากฏขึ้นของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่จัดเป็นสัตว์วงศ์ลิงใหญ่เท่านั้น การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์นั้นต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขา รวมทั้งมานุษยวิทยาเชิงกายภาพ (หรือ มานุษยวิทยาเชิงชีวภาพ), วานรวิทยา, โบราณคดี, บรรพชีวินวิทยา, พฤติกรรมวิทยา, ภาษาศาสตร์, จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology), คัพภวิทยา และพันธุศาสตร์ กระบวนการวิวัฒนาการเป็นความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตผ่านหลายชั่วยุคชีวิต เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลายหลากกับสิ่งมีชีวิตในทุกระดับชั้น รวมทั้งระดับสปีชีส์ ระดับสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต และแม้กระทั่งโครงสร้างระดับโมเลกุลเช่นดีเอ็นเอและโปรตีน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกสืบสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันที่มีชีวิตประมาณ 3.8 พันล้านปีก่อน การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ และการแยกสายพันธุ์ออกจากกันของสิ่งมีชีวิต สามารถอนุมานได้จากลักษณะสืบสายพันธุ์ทางสัณฐานและทางเคมีชีวภาพ หรือโดยลำดับดีเอ็นเอที่มีร่วมกัน คือ ลักษณะสืบสายพันธุ์และลำดับดีเอ็นเอที่มีกำเนิดเดียวกัน จะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเร็ว ๆ นี้มากกว่าระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมานานแล้ว ดังนั้นความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกันจึงสามารถใช้สร้างแบบของต้นไม้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิต ที่แสดงความสัมพันธ์เชิงญาติ โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ยังมีอยู่หรือใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานข้อมูล รูปแบบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกเปลี่ยนแปลงไปเพราะการเกิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ ๆ และการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ งานวิจัยต่าง ๆ ทางพันธุศาสตร์แสดงว่า สัตว์อันดับวานรรวมทั้งมนุษย์แยกออกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น ๆ เมื่อประมาณ โดยมีซากดึกดำบรรพ์ปรากฏเป็นครั้งแรกสุดเมื่อประมาณ ส่วนลิงวงศ์ชะนี (Hylobatidae) แยกสายพันธุ์ออกจากสายพันธุ์วงศ์ลิงใหญ่ (Hominidae) รวมทั้งมนุษย์ ซึ่งเป็นวงศ์หนึ่ง ๆ ของสัตว์อันดับวานรนั้น เมื่อ แล้วลิงวงศ์ Ponginae (ลิงอุรังอุตัง) ก็แยกออกจากสายพันธุ์เมื่อประมาณ จากนั้น การเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) ซึ่งเป็นการปรับตัวพื้นฐานที่สุดของสัตว์เผ่า Hominini ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ที่ลิงชิมแปนซีได้แยกออกไปแล้ว ก็เริ่มปรากฏในสัตว์สองเท้าแรกสุดในสกุล Sahelanthropus หรือ Orrorin โดยมีสกุล Ardipithecus ซึ่งเป็นสัตว์สองเท้าที่มีหลักฐานชัดเจนกว่า ตามมาทีหลัง ส่วนลิงกอริลลาและลิงชิมแปนซีแยกออกจากสายพันธุ์ในช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน คือลิงกอริลลาเมื่อ และลิงชิมแปนซีเมื่อ โดยอาจจะมี Sahelanthropus เป็นบรรพบุรุษสุดท้ายร่วมกันระหว่างชิมแปนซีและมนุษย์ สัตว์สองเท้ายุคเริ่มต้นเหล่านี้ในที่สุดก็วิวัฒนาการมาเป็นเผ่า hominini เผ่าย่อย Australopithecina (australopithecine ปกติรวมสกุล Australopithecus, Paranthropus, และในบางที่ Ardipithecus) ที่ และหลังจากนั้นจึงเป็นเผ่าย่อย Hominina ซึ่งรวมเอามนุษย์สกุล โฮโม เท่านั้น มนุษย์สกุลโฮโมที่มีหลักฐานยืนยันพวกแรกที่สุดเป็นสปีชีส์ Homo habilis ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ โดยเชื่อกันว่า สืบสายพันธุ์มาจาก homonin ในสกุล Australopithecus เป็นสปีชีส์แรก ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าใช้เครื่องมือหิน และการปรับตัวของสายพันธุ์มนุษย์อีกอย่างหนึ่งคือ การขยายขนาดของสมอง (encephalization) ก็ได้เริ่มขึ้นที่มนุษย์ยุคต้นนี้ ซึ่งมีขนาดสมองที่ประมาณ 610 ซม3 คือมีขนาดใหญ่กว่าของลิงชิมแปนซีเล็กน้อย (ระหว่าง 300-500 ซม3) มีนักวิทยาศาสตร์ที่เสนอว่า นี้อยู่ในช่วงเวลาที่ยีนมนุษย์ประเภท SRGAP2 มีจำนวนเป็นสองเท่าเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาของสมองกลีบหน้าได้รวดเร็วกว่าในสัตว์อื่น ๆ ต่อมา มนุษย์สปีชีส์ Homo erectus/ergaster ก็เกิดขึ้นในช่วงประมาณ ที่มีปริมาตรกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของลิงชิมแปนซีคือ 850 ซม3 การขยายขนาดของสมองเช่นนี้เทียบเท่ากับมีเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้น 125,000 เซลล์ทุกชั่วยุคคน สปีชีส์นี้เชื่อว่าเป็นพวกแรก ๆ ที่สามารถควบคุมไฟ และใช้เครื่องมือหินที่มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เป็นมนุษย์สกุล Homo พวกแรกที่อพยพออกไปตั้งถิ่นฐานทั่วทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป อาจเริ่มตั้งแต่ ดังนั้น การวิวัฒนาการของสายพันธุ์มนุษย์ก่อนหน้านี้ล้วนเป็นไปในแอฟริกาเท่านั้น ส่วนกลุ่มมนุษย์โบราณที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Archaic humans ก็เกิดวิวัฒนาการขึ้นต่อมาประมาณ 600,000 ปีก่อน สืบสายพันธุ์มาจาก H. erectus/ergaster เป็นกลุ่มมนุษย์ที่อาจเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน โดยเฉพาะคือมนุษย์โบราณ H. heidelbergensis/rhodesiensis หลังจากนั้น มนุษย์สปีชีส์ ''Homo sapiens'' ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern human) ก็เกิดขึ้นโดยมีวิวัฒนาการมาจากมนุษย์โบราณในยุคหินกลาง (แอฟริกา) คือประมาณ 300,000 ปีก่อน ตามทฤษฎี "กำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้จากแอฟริกา" มนุษย์ปัจจุบันได้วิวัฒนาการในทวีปแอฟริกาแล้วจึงอพยพออกจากทวีปประมาณ 50,000-100,000 ปีก่อน (ต่างหากจากมนุษย์ในยุคก่อน ๆ) ไปตั้งถิ่นฐานแทนที่กลุ่มมนุษย์สปีชีส์ H. erectus, H. denisova, H. floresiensis และ H. neanderthalensis ในที่ต่าง ๆ ที่เป็นเชื้อสายของมนุษย์ที่อพยพออกมาจากทวีปแอฟริกาในยุคก่อน ๆ โดยอาจได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณก่อน ๆ เหล่านั้น หลักฐานโดยดีเอ็นเอในปี..

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและวิวัฒนาการของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

อุรังอุตังตาปานูลี

อุรังอุตังตาปานูลี (Tapanuli orangutan) เป็นสายพันธุ์ของอุรังอุตังที่อาศัยอยู่ในอำเภอตาปานูลีใต้ จังหวัดสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย และเป็นสายพันธุ์ที่สามของอุรังอุตังบนเกาะสุมาตรา หลังจากที่อุรังอุตังตาปานูลีนั้นได้รับการระบุให้เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่แตกต่างจากอุรังอุตังสุมาตราและอุรังอุตังบอร์เนียวเมื่อ..

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและอุรังอุตังตาปานูลี · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบ

ทะเลสาบกลางสวนเบญจกิตติ ขนาด 200x800 เมตร เมืองชิคาโก และทะเลสาบมิชิแกน 1 ในทะเลสาบทั้ง 5 ทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา ทะเลสาบ หรือ บึง เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ที่ล้อมรอบด้วยผืนดิน โดยทั่วไปทะเลสาบจะไม่มีทางไหลออกสู่ทะเล และมีน้ำจืด เรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำจืด" แต่ทะเลสาบบางแห่งอาจไหลออกสู่ทะเลได้ และมีน้ำเค็ม จึงเรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำเค็ม" คำว่า "ทะเลสาบ" ยังครอบคลุมถึงแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ทะเลสาบขนาดเล็กในสนามกอล์ฟ หรือ ทะเลสาบขนาดเล็กในสวนสาธารณะขนาดใหญ่ หรือ แอ่งเก็บน้ำเหนือเขื่อน และ อ่างเก็บน้ำ ซึ่งนับเป็นทะเลสาบขนาดใหญ.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและทะเลสาบ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ

ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ (Crater lake) เป็นทะเลสาบที่เกิดขึ้นภายในปล่องภูเขาไฟ อย่างเช่น Maar หรือแคลดีรา บางครั้งอาจเรียกว่า ทะเลสาบแคลดีรา แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะไม่เรียกเช่นนั้น ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่อยู่ในปล่องของภูเขาไฟมีพลังอาจเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า Volcanic lakes และน้ำในทะเลสาบลักษณะนี้มักจะมีสภาพเป็นกรด เต็มไปด้วยแก๊สภูเขาไฟ และมีสีเขียวเข้ม ขณะที่ทะเลสาบที่ตั้งอยู่ในปล่องภูเขาไฟสงบหรือภูเขาไฟดับสนิทมักจะมีน้ำที่ใส และจะยิ่งใสมากเป็นพิเศษถ้าไม่มีธารน้ำและตะกอนไหลเข้ามา ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟเกิดขึ้นเมื่อหยาดน้ำฟ้าตกลงมาในแอ่ง ความลึกจะเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งเกิดสมดุลระหว่างอัตราของน้ำที่เข้ามาและอัตราของน้ำที่เสียไปซึ่งอาจเกิดจากการระเหย การซึมลงใต้ดิน และอาจรวมถึงการไหลออกบนผิวดินหากระดับน้ำในทะเลสาบสูงถึงจุดที่ต่ำที่สุดของขอบแอ่ง ซึ่งการไหลออกบนผิวดินนี้อาจกัดเซาะสิ่งทับถมที่กั้นทะเลสาบไว้ และถ้าสิ่งทับถมนี้ถูกกัดเซาะอย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้เกิด Lake breakout ขึ้นได้ ตัวอย่างของทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงคือ Crater Lake ซึ่งมีชื่อเดียวกับศัพท์ทางธรณีวิทยา ตั้งอยู่ในแคลดีราของ Mount Mazama (ดังนั้นชื่อ "Crater Lake" จึงเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นอย่างไม่ถูกต้อง) ในรัฐออริกอน สหรัฐอเมริกา จัดเป็นทะเลสาบที่ลึกที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยมีความลึก 594 เมตร น้ำใน Crater Lake มาจากฝนและหิมะเท่านั้น โดยไม่มีการไหลเข้าและออกที่ระดับผิวดิน ดังนั้นจึงเป็นทะเลสาบที่มีความใสมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ภูเขาไฟที่สูงที่สุดในโลกคือ Ojos del Salado ซึ่งมีความสูง 6,893 เมตร มีทะเลสาบปล่องภูเขาไฟขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 100 เมตร อยู่ที่ระดับความสูง 6,390 เมตรทางด้านตะวันออกของภูเขาไฟ อาจถือได้ว่าเป็นทะเลสาบที่อยู่ที่ระดับความสูงมากที่สุดในโลก ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟบางแห่งจะคงตัวอยู่เป็นพักๆเท่านั้นเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ผันแปร ขณะที่ทะเลสาบแคลดีราสามารถคงตัวอยู่ได้นานมาก ตัวอย่างเช่น ทะเลสาบโทบาที่เกิดขึ้นเมื่อหลังจากภูเขาไฟระเบิดเมื่อประมาณ 70,000 ปีก่อน และมีพื้นที่มากกว่า 1,000 ตารางกิโลเมตร ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟหลายแห่งอาจมีความงดงามดั่งวาด แต่ก็มีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นแก๊สที่ปล่อยออกจาก Lake Nyos ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจราว 800 คนเมื่อ..

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก

10.1126/science.1177265 ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก (global catastrophic risk) เป็นเหตุการณ์สมมุติในอนาคต ที่อาจทำความเสียหายต่อมนุษย์อย่างรุนแรงทั่วโลก เหตุการณ์บางอย่างอาจทำลาย หรือทำความเสียหายแก่ อารยธรรมที่มีในปัจจุบัน หรือเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่านั้น อาจทำให้มวลมนุษย์สูญพันธุ์ ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของมนุษย์ (existential risk) ภัยพิบัติตามธรรมชาติ เช่น การระเบิดของซูเปอร์ภูเขาไฟ และการวิ่งชนโลกของดาวเคราะห์น้อย จะเป็นความเสี่ยงในระดับนี้ถ้ารุนแรงเพียงพอ เหตุการณ์ที่มนุษย์เป็นเหตุ ก็อาจจะเป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของสัตว์ฉลาดต่าง ๆ ของโลก เช่น ปรากฏการณ์โลกร้อน สงครามนิวเคลียร์ หรือการก่อการร้ายชีวภาพ สถาบันอนาคตของมนุษยชาติ (Future of Humanity Institute) ที่เป็นส่วนของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เชื่อว่า การสูญพันธุ์ของมนุษย์ น่าจะมีเหตุมาจากมนุษย์เอง มากกว่าจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่ว่า เป็นเรื่องยากลำบากที่จะศึกษาการสูญพันธุ์ของมนุษย์ เพราะไม่เคยมีเหตุการณ์นี้จริง ๆ แม้นี่จะไม่ได้หมายความว่า จะไม่เกิดขึ้นในอนาคต แต่ว่า การสร้างแบบจำลองของความเสี่ยงต่อความอยู่รอด เป็นเรื่องยาก โดยส่วนหนึ่งเพราะผู้ศึกษามีความเอนเอียงจากการอยู่รอด คือมีความคิดผิดพลาดที่พุ่งความสนใจไปในสิ่งที่อยู่รอด จนทำให้เหตุผลไม่ตรงกับความจริง.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก · ดูเพิ่มเติม »

เกาะสุมาตรา

มาตรา หรือ ซูมาเตอรา (Sumatra; Sumatera) คือเกาะที่มีขนาดเป็นอันดับ 6 ของโลก (มีขนาดประมาณ 470,000 กม.&sup2) และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซี.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและเกาะสุมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาของอนาคตไกล

ำหรับแผนภาพเส้นเวลาสเกลลอการิทึมของเหตุการณ์เหล่านี้ ดูที่.

ใหม่!!: ทะเลสาบโตบาและเส้นเวลาของอนาคตไกล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Lake Tobaภูเขาไฟโตบาทะเลสาบโทบา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »