โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทะเลสาบน้ำเค็ม

ดัชนี ทะเลสาบน้ำเค็ม

ทะเลสาบน้ำเค็ม (Salt lake)เป็นตัวที่ใช้แยกน้ำเค็มบริเวณตื้น หรือพวกน้ำกร่อย ออกจากพวกทะเลจริงๆ แยกโดยมีแนวหาดทรายกั้น หรือสันดอนทราย หรือ แนวปะการัง เป็นต้น ดังนั้นในส่วนที่โดนโอบล้อมไปด้วยแนวเหล่านี้ หรือที่โดนโอบล้อมด้วยเกาะรูปวงแหวนที่เกิดจากแนวหินปะการัง(atoll reef) เรียกว่า ทะเลสาบน้ำเค็ม ในส่วนที่กล่าวถึงเรื่องปะการังนั้น ทะเลสาบน้ำเค็ม (lagoon) นั้น อาจกล่าวได้อีกว่าเป็นแนวหลังปะการัง (backreef) ซึ่งจะเป็นคำที่นักวิทยาศาตร์ด้านปะการัง หมายถึงว่าเป็นบริเวณเดียวกัน ทะเลสาบน้ำเค็ม หมายถึงชายฝั่งทะเลสาบ ซึ่งได้มาจากการเกิดของพวกสันดอนทราย หรือแนวปะการังตามแนวชายฝั่ง บริเวณน้ำตื้น และทะเลสาบน้ำเค็มในเกาะรูปวงแหวนที่เกิดจากแนวหินปะการัง (atoll reef) นั้นเกิดจากการโตของปะการัง และบริเวณตรงกลางค่อยๆจมลงอย่างช้าๆ บริเวณที่มีทะเลสาบน้ำเค็มที่มีน้ำจืดไหลมาเติมอยู่เรื่อยๆ เรียกว่า ชะวากทะเล (Estuaries).

10 ความสัมพันธ์: พื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโรระบบนิเวศทางทะเลทะเลสาบทะเลสาบสงขลาทะเลสาบอูร์เมียทะเลสาบฮัมมาร์ทะเลสาบแห้งปลาน้ำเค็มโซเดียมคลอไรด์ไรทะเล

พื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโร

ทัศนียภาพของทะเลสาบปล่องภูเขาไฟอึงโกรองโกโร พื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโร (Ngorongoro Conservation Area) คือพื้นที่แถบหนึ่งในประเทศแทนซาเนีย ทวีปแอฟริกา มีสภาพเป็นปล่องภูเขาไฟ จัดเป็นปล่องภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ ๆ ด้านก้นปล่องกว้าง 260 ตารางกิโลเมตร จากขอบปล่องถึงก้นปล่องลึก 610 เมตร เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าจำนวนมากที่บริเวณพื้นราบก้นปล่องประมาณ 25,000 ตัว รวมทั้งสัตว์ขนาดใหญ่อย่าง สิงโต, แรด, ควายป่า, เสือดาว รวมถึงมีทะเลสาบน้ำเค็มบริเวณก้นปล่องที่เป็นแหล่งรวมตัวของนกฟลามิงโกฝูงใหญ่รวมถึงนกน้ำชนิดอื่น ๆ แต่ไม่ปรากฎพบสัตว์กินพืชอย่างอิมพาลา, โทปิ หรือยีราฟ ในส่วนของชนพื้นเมืองมีชาวมาไซอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติเมื่อปี..

ใหม่!!: ทะเลสาบน้ำเค็มและพื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโร · ดูเพิ่มเติม »

ระบบนิเวศทางทะเล

แนวปะการังในระบบนิเวศทางทะเลถือว่าเป็นระบบที่มีความหลากหลายทางชีวภาพซับซ้อนมากที่สุด ที่นี่ เราจะพบความแตกต่างของสายพันธุ์มากที่สุดของ ดาวทะเล, แนวปะการัง และ ปลา ใน เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ระบบนิเวศทางทะเล (Marine ecosystem) เป็นระบบนิเวศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ของระบบนิเวศในแหล่งน้ำทุกชนิด ซึ่งรู้จักกันดีในพื้นที่ มหาสมุทร, กลุ่มดินเค็ม และ เขตน้ำขึ้น-น้ำลง, ปากแม่น้ำ และ ทะเลสาบน้ำเค็ม, ป่าโกงกาง และ แนวปะการัง, ทะเลน้ำลึก และ สัตว์ทะเลหน้าดิน สามารถเทียบได้กับแหล่งน้ำจืด ซึ่งมีปริมาณเกลือเข้มข้นกว่า ระบบนิเวศทางทะเล ครอบคลุมพื้นที่ 3 ใน 4 ส่วนของโลก ซึ่งถือได้ว่าสิ่งมีชีวิตที่เป็นพืชได้สนับสนุนกันและกันกับสัตว์ ในทางกลับกันเราอาจจะมองเห็นห่วงโซ่อาหารได้หลากหลายอย่าง ระบบนิเวศทางทะเล มีความสำคัญมากต่อสมดุลโดยรวมของนิเวศบนบก และในน้ำ, ตามที่ศูนย์วิจัยทรัยากรณ์โลก ได้ระะบุว่า เพียงบริเวณชายฝั่งทะเลเพียงอย่างเดียว มีปริมาณความหลากหลายทางชีวภาพสูงถึง 1 ใน 3 ส่วนของโลก (เช่น บึงเกลือ หญ้าทะเล ป่าชายเลน) จัดอยู่ในประเภทผู้ผลิตที่มีปริมาณมากที่สุดในภูมิภาค, ในระบบนิเวศทางทะเลอื่นๆ เช่น แนวปะการัง ก็ยังเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตอีกมากม.

ใหม่!!: ทะเลสาบน้ำเค็มและระบบนิเวศทางทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบ

ทะเลสาบกลางสวนเบญจกิตติ ขนาด 200x800 เมตร เมืองชิคาโก และทะเลสาบมิชิแกน 1 ในทะเลสาบทั้ง 5 ทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา ทะเลสาบ หรือ บึง เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ที่ล้อมรอบด้วยผืนดิน โดยทั่วไปทะเลสาบจะไม่มีทางไหลออกสู่ทะเล และมีน้ำจืด เรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำจืด" แต่ทะเลสาบบางแห่งอาจไหลออกสู่ทะเลได้ และมีน้ำเค็ม จึงเรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำเค็ม" คำว่า "ทะเลสาบ" ยังครอบคลุมถึงแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ทะเลสาบขนาดเล็กในสนามกอล์ฟ หรือ ทะเลสาบขนาดเล็กในสวนสาธารณะขนาดใหญ่ หรือ แอ่งเก็บน้ำเหนือเขื่อน และ อ่างเก็บน้ำ ซึ่งนับเป็นทะเลสาบขนาดใหญ.

ใหม่!!: ทะเลสาบน้ำเค็มและทะเลสาบ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบสงขลา

ทะเลสาบสงขลา หรือ ทะเลสาบพัทลุง หรือ ทะเลสาบลำปำ (ชื่อที่เรียกในเขตจังหวัดพัทลุง) เป็นทะเลสาบแห่งเดียวในประเทศไทยที่อยู่ติดกันถึง 3 จังหวัด มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,000 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ จังหวัดพัทลุง ในเขตอำเภอเมืองพัทลุง อำเภอปากพะยูน อำเภอบางแก้ว อำเภอเขาชัยสนและอำเภอควนขนุน, จังหวัดสงขลา ในเขตอำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสิงหนคร อำเภอเมืองสงขลา อำเภอควนเนียง อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ทะเลสาบสงขลาตอนล่างมีเกาะขนาดใหญ่อยู่เกาะหนึ่ง คือ เกาะยอ และมีเกาะต่าง ๆ อีก ที่เป็นแหล่งสัมปทานเก็บรังนก คือ เกาะสี่ เกาะห้.

ใหม่!!: ทะเลสาบน้ำเค็มและทะเลสาบสงขลา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบอูร์เมีย

ทะเลสาบอูร์เมีย หรือ ดาร์ยาเซห์เยะอุรูมีเยะห์ (دریاچه ارومیه. Daryâcheh-ye Orumiyeh (หรือ Oroumieh); ارومیه گولو, ارومیه گولی; Lake Urmia) เป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่มีน้ำตื้น ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอิหร่าน เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง และเป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของโลก มีพื้นที่ราว 5,200 กม² (2,000 ไมล์²), ยาว 140 กม.

ใหม่!!: ทะเลสาบน้ำเค็มและทะเลสาบอูร์เมีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบฮัมมาร์

ทะเลสาบฮัมมาร์ หรือ เฮารัลฮัมมาร์ (هور الحمّار) เป็นทะเลสาบน้ำเค็มทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอิรัก ทางตอนใต้ของแม่น้ำยูเฟรทีสก่อนที่จะบรรจบกับแม่น้ำไทกริสที่เมืองอัลกูร์นะห์ ทะเลสาบมีเนื้อที่ 600-1,350 ตร.กม.

ใหม่!!: ทะเลสาบน้ำเค็มและทะเลสาบฮัมมาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบแห้ง

thumb ทะเลสาบแห้ง (Dry lake) เป็นตะกอนของชั้นเกลือ ส่วนมากประกอบด้วย ทรายขนาดหินทรายแป้ง ที่มาจากแม่น้ำ จะมีลักษณะเป็นชั้นบางเรียงตัวกันหนามากกว่า 5 มิลลิเมตร ด้านบนจะเป็น mud crack จะพบตะกอนน้อยมากที่จะสามารถซึมผ่านเข้าไปในโพรงชั้นเกลือได้ บริเวณ mud crack ที่อยู่ด้านบนจะแห้ง เพราะเกิดการกักกร่อนโดยลม ซึ่งบริเวณ salt pan จะเป็นบริเวณที่ไม่มีการระบายเกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีการสะสมของน้ำและมีการระเหยสูง ทำให้การสะสมของเกลือส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณทะเลสาบน้ำเค็ม (lagoon) ชั้นเกลือแบ่งเป็น.

ใหม่!!: ทะเลสาบน้ำเค็มและทะเลสาบแห้ง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำเค็ม

ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.

ใหม่!!: ทะเลสาบน้ำเค็มและปลาน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียมคลอไรด์

ซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloride, สูตรเคมี: NaCl) มีชื่อที่เรียกทั่วไปดังนี้ เกลือแกง หรือ ฮาไลต์ เป็นสารประกอบเคมี โซเดียมคลอไรด์เป็นเกลือที่มีบทบาทต่อความเค็มของมหาสมุทร และของเหลวภายนอกเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เป็นส่วนประกอบหลักในเกลือที่กินได้ มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการเป็นเครื่องปรุงรส และใช้ในการถนอมอาหาร.

ใหม่!!: ทะเลสาบน้ำเค็มและโซเดียมคลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไรทะเล

รทะเล หรือ อาร์ทีเมีย หรือ ไรน้ำเค็ม หรือ ไรน้ำสีน้ำตาล (Brine shrimp, Sea-monkey) เป็นสัตว์น้ำจำพวกครัสเตเชียนสกุลหนึ่ง ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไรทะเล เป็นครัสเตเชียน ในสกุล Artemia ถือกำเนิดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนมานานกว่า 5.5 ล้านปีมาแล้ว ลักษณะเป็นสัตว์สีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลส้ม ไม่มีเปลือกแข็งหุ้มตัว มีเพียงเนื้อเยื่อบาง ๆ เท่านั้นที่หุ้มตัว ว่ายน้ำเคลื่อนที่ในลักษณะหงายท้อง ลำตัวเรียวยาวคล้ายใบไม้แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว แบ่งออกได้เป็น 6 ปล้อง ปล้องแรกเป็นที่ตั้งของตาเดียวและตารวม มีก้านตา 1 คู่ ปล้องที่ 2 เป็นที่ตั้งของหนวดคู่แรก ปล้องที่ 3 เป็นที่ตั้งของหนวดคู่ที่ 2 ปล้องที่ 4 เป็นกราม ปล้องที่ 5 เป็นฟันคู่แรก ปล้องที่ 6 เป็นฟันคู่ที่ 2 ส่วนอกแบ่งออกเป็น 11 ปล้อง แต่ละปล้องประกอบด้วยระยางค์ เป็นอวัยวะทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ การหายใจและการกรองรวบรวมอาหาร ส่วนท้องแบ่งออกได้ 8 ปล้อง ปล้องแรกเป็นที่ตั้งของอวัยวะเพศ ปล้องที่ 2-7 ไม่มีระยางค์ ปล้องที่ 8 มีแพนหาง 1 คู่ โดยปกติเมื่อโตเต็มวัย เพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย และจะมีหนวดคู่ที่ 2 ขนาดใหญ่กว่ารูปร่างคล้ายตะขอใช้เกาะจับเพศเมีย บริเวณปล้องแรกของส่วนท้องของเพศผู้จะมีอวัยวะเพศผู้อยู่ 1 คู่ ในเพศเมียตัวเต็มวัย หนวดคู่ที่ 2 จะมีขนาดเล็กลง และเปลี่ยนมาทำหน้าที่รับความรู้สึก บริเวณปล้องแรกของส่วนท้องจะมีอวัยวะเพศเมียทำหน้าที่เก็บตัวอ่อนหรือเก็บไข่ ไรทะเลสืบพันธุ์ได้ทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ให้ลูกทั้งแบบเป็นตัว โดยจะมีไข่ฟักเป็นตัวภายในมดลูก ไข่ไม่มีเปลือกหนาแข็งหุ้ม สามารถวางไข่ได้ครั้งละ 300-500 ฟอง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์, ความสมบูรณ์ของไรทะเล หรืออุณหภูมิของสภาพแวดล้อมที่อาศัย ใช้เวลาประมาณ 48 ชั่วโมง ในการฟักเป็นตัว ไรทะเล มีถิ่นกำเนิดในทะเลสาบน้ำเค็ม ในสหรัฐอเมริกา, ยุโรป และจีน ไม่พบในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 10 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: ทะเลสาบน้ำเค็มและไรทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »