โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โซเดียมคลอไรด์

ดัชนี โซเดียมคลอไรด์

ซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloride, สูตรเคมี: NaCl) มีชื่อที่เรียกทั่วไปดังนี้ เกลือแกง หรือ ฮาไลต์ เป็นสารประกอบเคมี โซเดียมคลอไรด์เป็นเกลือที่มีบทบาทต่อความเค็มของมหาสมุทร และของเหลวภายนอกเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เป็นส่วนประกอบหลักในเกลือที่กินได้ มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการเป็นเครื่องปรุงรส และใช้ในการถนอมอาหาร.

46 ความสัมพันธ์: ATC รหัส A12ATC รหัส B05ATC รหัส S01กรดกระเพาะอาหารกรดไฮโดรคลอริกการรับรู้รสการรักษาด้วยการให้สารน้ำทางปากรายชื่อสารประกอบอนินทรีย์วิลเลียม ชอกลีย์วิลเลียม ฟอกซ์ แทลบอตสารละลายสารละลายในน้ำสารประกอบสารประกอบอนินทรีย์สารประกอบไบนารีสตรอนเชียมซัลเฟตอะตอมอาร์เทอร์ คอมป์ตันธาตุคลอรีนความดันโลหิตสูงปฏิกิริยารวมตัวปฏิกิริยาสะเทินปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกันน้ำเกลือแคลเซียมออกไซด์โพแทสเซียมคลอไรด์โลหะแอลคาไลโซเดียมโซเดียมฟลูออไรด์โซเดียมคาร์บอเนตโซเดียมโบรไมด์โซเดียมไอโอไดด์โปการี่ เสวทไอโซโพรพานอลไข่เค็มเบส (เคมี)เกลือเกลือ (เคมี)เกลือสมุทรเหงื่อเปลือกสมองส่วนรู้รสMannitol salt agarTrypticase soy agarXLT agar1 E-10 m

ATC รหัส A12

วนของ ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System) A ทางเดินอาหารและกระบวนการสร้างและสลาย (Alimentary tract and metabolism).

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และATC รหัส A12 · ดูเพิ่มเติม »

ATC รหัส B05

วนของ ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System) B เลือดและอวัยวะที่ผลิตเลือด (Blood and blood forming organs).

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และATC รหัส B05 · ดูเพิ่มเติม »

ATC รหัส S01

วนของ ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System) S อวัยวะรับความรู้สึก (Sensory organs).

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และATC รหัส S01 · ดูเพิ่มเติม »

กรดกระเพาะอาหาร

แผนภาพการควบคุมการหลั่งกรดกระเพาะ กรดกระเพาะ (Gastric acid) คือ สิ่งคัดหลั่งจากกระเพาะอาหาร โดยมีองค์ประกอบส่วนใหญ่ คือ กรดไฮโดรคลอริก นอกจากนี้ ยังพบโปแตสเซียมคลอไรด์และโซเดียมคลอไรด์อีกบ้างเล็กน้อย หมวดหมู่:กรด หมวดหมู่:ระบบทางเดินอาหาร หมวดหมู่:สารน้ำในร่างกาย.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และกรดกระเพาะอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

กรดไฮโดรคลอริก

รเจนคลอไรด์โอเวน กรดไฮโดรคลอริก หรือ กรดเกลือ (hydrochloric acid) เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรดละลายในน้ำ โดยเป็นสารละลายของไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) เป็นกรดแก่, เป็นส่วนประกอบหลักของกรดกระเพาะ (gastric acid) และใช้กันอย่างกว้างในอุตสาหกรรมเป็นของเหลวที่มีพลังการกัดกร่อนสูง กรดไฮโดรคลอริก หรือ มูเรียติกแอซิด ถูกค้นพบโดย "จาเบียร์ เฮย์ยัน" (Jabir ibn Hayyan) ราวปี ค.ศ. 1800 ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตสารประกอบอินทรีย์ เช่น วีนิลคลอไรด์ สำหรับผลิต PVC พลาสติก และ MDI/TDI (Toluene Diisocyanate) สำหรับผลิต พอลิยูลิเทน, (polyurethane) และใช้ในการผลิตขนาดเล็กเช่น การผลิต เจนลาติน (gelatin) ใช้ปรุงอาหาร, และ ใช้ฟอกหนัง กำลังผลิตในปัจจุบันประมาณ 20 ล้านเมตริกตัน ต่อปี (20 Mt/a) ของก๊าซ HCl.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และกรดไฮโดรคลอริก · ดูเพิ่มเติม »

การรับรู้รส

ตุ่มรับรส (Taste bud) รส หรือ รสชาติ (Taste, gustatory perception, gustation) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสาทสัมผัสหนึ่งในห้า (นับตามโบราณ) โดยเป็นความรู้สึกที่ได้จากระบบรู้รส (gustatory system) รสเป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อสารในปากก่อปฏิกิริยาเคมีกับเซลล์รับรส (taste receptor cell) ที่อยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ในช่องปากโดยมากที่ลิ้น รสพร้อม ๆ กับกลิ่น และการกระตุ้นที่ประสาทไทรเจมินัล (ซึ่งทำให้รู้เนื้ออาหาร ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ) จะเป็นตัวกำหนดความอร่อยของอาหารหรือสารอื่น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ระบบรู้รสจะตรวจจับโมเลกุลอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น โดยมากที่ละลายในน้ำหรือไขมันได้ ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากระบบรู้กลิ่นและระบบรับความรู้สึกทางกาย จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหาร ปริมาณ และความปลอดภัยของสิ่งที่เข้ามาในปาก มีรสชาติหลัก ๆ 5 อย่างคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอุมะมิ ซึ่งรู้ผ่านวิถีประสาทที่แยกจากกัน ส่วนการรับรู้รสแบบผสมอาจเกิดขึ้นที่เปลือกสมองส่วนการรู้รสโดยประมวลข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้นจากหน่วยรับรสหลัก ๆ การรับรู้รสจะเริ่มตั้งแต่สารที่มีรสทำปฏิกิริยากับน้ำลายซึ่งท่วมตุ่มรับรสที่อยู่บนโครงสร้างต่าง ๆ เช่นปุ่มลิ้น ทำให้โมเลกุลรสมีโอกาสทำปฏิกิริยากับหน่วยรับรสที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรสซึ่งอยู่รวมตัวกันที่ตุ่มรับรส รสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส ส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในเซลล์รับรส ในที่สุดเซลล์รับรสก็จะลดขั้วแล้วส่งสัญญาณกลิ่นผ่านใยประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง สมองก็จะประมวลผลข้อมูลรสซึ่งในที่สุดก็ทำให้รู้รส รสพื้นฐานจะมีส่วนต่อความรู้สึกอร่อยของอาหารในปาก ปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งกลิ่น ที่ตรวจจับโดยเยื่อบุผิวรับกลิ่นในจมูก, เนื้ออาหาร ที่ตรวจจับโดยตัวรับแรงกล และประสาทกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นต้น, อุณหภูมิที่ตรวจจับโดยปลายประสาทรับร้อน, ความเย็น (เช่นที่ได้จากเมนทอล) กับรสเผ็สที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมี, รูปลักษณ์ที่ปรากฏของอาหาร ที่เห็นได้ผ่านเซลล์รับแสงในจอตา, และสภาพทางจิตใจเอง เพราะเรารู้ทั้งรสที่เป็นอันตรายและมีประโยชน์ รสพื้นฐานทั้งหมดสามารถจัดเป็นไม่น่าพอใจ (aversive) หรือทำให้อยากอาหาร (appetitive) ความขมช่วยเตือนว่าอาจมีพิษ ในขณะที่ความหวานช่วยระบุอาหารที่สมบูรณ์ด้วยพลังงาน สำหรับมนุษย์ การรู้รสจะเริ่มลดลงราว ๆ อายุ 50 ปี เพราะการเสียปุ่มลิ้นและการผลิตน้ำลายที่น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมักทานรสจัดขึ้นเทียบกับเด็ก เช่น ต้องเติมเกลือ เติมพริกเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อผู้มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาธำรงดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย มนุษย์สามารถรู้รสแบบผิดปกติเพราะเป็นโรค dysgeusia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ได้รู้รสได้เหมือน ๆ กัน สัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถรู้รสแป้ง (ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถ) แมวไม่สามารถรู้รสหวาน และสัตว์กินเนื้อหลายอย่างรวมทั้งหมาไฮยีน่า ปลาโลมา และสิงโตทะเลต่างก็ได้เสียการรู้รสชาติอาจถึง 4 อย่างจาก 5 อย่างที่บรรพบุรุษของพวกมันรู้.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และการรับรู้รส · ดูเพิ่มเติม »

การรักษาด้วยการให้สารน้ำทางปาก

การรักษาด้วยการให้สารน้ำทางปาก (oral rehydration therapy) เป็นการรักษาด้วยการชดเชยสารน้ำวิธีหนึ่ง ใช้เพื่อรักษาหรือป้องกันการขาดน้ำ โดยเฉพาะการขาดน้ำที่เกิดจากภาวะท้องร่วง ทำโดยให้ผู้ป่วยดื่มน้ำที่ผสมเกลือและน้ำตาลเล็กน้อย อาจให้ด้วยการกินตามปกติหรือให้ผ่านสายให้อาหารชนิดใส่ผ่านจมูกก็ได้ โดยปกติจะแนะนำให้เสริมสังกะสีร่วมด้วยในการรักษา การรักษาด้วยวิธีนี้สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากท้องร่วงลงได้ถึง 93% ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ ได้แก่ อาเจียน โซเดียมในเลือดสูง หรือโปแตสเซียมในเลือดสูง หากผู้ป่วยกินสารละลายแล้วอาเจียนแนะนำให้พักก่อน 10 นาที แล้วค่อยๆ กินใหม่ สูตรของสารละลายที่แนะนำจะประกอบด้วย โซเดียมคลอไรด์ โซเดียมซิเตรต โปแตสเซียมคลอไรด์ และกลูโคส หากไม่มีอาจใช้ซูโครสแทนกลูโคส และใช้โซเดียมไบคาร์บอเนตแทนโซเดียมซิเตรตได้ กลูโคสจะช่วยให้เซลล์ในลำไส้ดูดซึมน้ำและโซเดียมได้ดีขึ้น นอกจากสูตรนี้แล้วยังมีสูตรดัดแปลงอื่นๆ เช่นสูตรที่สามารถทำได้เองที่บ้าน อย่างไรก็ตามสูตรที่ทำได้เองเหล่านี้ยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยที่ยืนยันผลการรักษา การรักษาด้วยการให้สารน้ำทางปากเช่นนี้ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อช่วงปี 1940s และเริ่มเป็นที่แพร่หลายเมื่อช่วงปี 1970s สูตรยาของสารน้ำนี้ได้รับการบรรจุไว้ในรายการยามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นกลุ่มของยาที่ปลอดภัยและได้ผลดีและมีความจำเป็นต่อระบบบริการสุขภาพ ราคาขายส่งของผงละลายน้ำเกลือแร่ที่ขายอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่ประมาณซองละ 0.03-0.20 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี..

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และการรักษาด้วยการให้สารน้ำทางปาก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสารประกอบอนินทรีย์

รประกอบอนินทรีย์ (อังกฤษ:inorganic compound) คือสารประกอบที่มีในโลกที่ไม่มีธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจน.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และรายชื่อสารประกอบอนินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม ชอกลีย์

thumb วิลเลียม ชอกลีย์ (William Bradford Shockley) (13 กุมภาพันธ์, พ.ศ. 2453 - 12 สิงหาคม พ.ศ. 2532) นักฟิสิกส์และนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษสัญชาติอเมริกันผู้ร่วมค้นคิดและประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ ชอกลีย์ ร่วมกับ จอห์น บเตน ได้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้นักประดิษฐ์ทั้งสามคนได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี พ.ศ. 2499 ความพยายามของชอกลีย์ในการผลิตทรานซิสเตอร์ทางการค้าระหว่างช่วง พ.ศ. 2493 - พ.ศ. 2512 ทำให้เกิด “ซิลิคอนแวลเลย์” ขึ้นที่รัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งกลายเป็น “ดง” แห่งนวัตกรรมทางอีเลกทรอนิกส์ดังที่เห็นในปัจจุบัน ในช่วงชีวิตหลังๆ ชอกลีย์หันกลับมาทางด้านการศึกษาและวิจัยโดยเข้าเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและต่อมากลายเป็นผู้สนับสนุนด้านสุพันธุศาสตร์ (eugenics) หรือวิชาว่าด้วยการบำรุงพันธุ์มนุษย์อย่างแข็งขัน.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และวิลเลียม ชอกลีย์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม ฟอกซ์ แทลบอต

วิลเลียม ฟอกซ์ แทลบอต วิลเลียม เฮนรี ฟอกซ์ แทลบอต (William Henry Fox Talbot) (11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1800 - 17 กันยายน ค.ศ. 1877) นักวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับสารเคมีไวแสงที่จะนำมาฉาบลงบนกระดาษมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1833 จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1835 เขาได้ค้นพบว่า “เงินคลอไรด์”(Silver Chloride) เป็นสารที่มีความไวต่อแสงสว่าง ซึ่งสามารถฉาบลงบนกระดาษได้ ทำให้ได้กระดาษไวแสงที่จะนำไปอัดภาพ เขาได้ทดลองนำใบไม้ ขนนก มาวางทับกระดาษไวแสง พบว่า ส่วนที่วัตถุทับอยู่จะเป็น สีขาวแต่ส่วนที่ถูกแสงสว่างจะเป็นสีดำ เมื่อนำไปล้างในสารละลายเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ ได้ภาพที่เรียกว่า “ภาพPhotogenic Drawing” ที่มีลักษณะเป็นสีตรงข้ามกับต้นแบบคือ ขาวเป็นดำ และดำเป็นขาว หรือที่เรียกว่า "ภาพเนกาตีฟ" ในปัจจุบัน ซึ่งแทลบอตใช้เป็นต้นแบบในการอัดภาพ ภาพต่อๆ มาจะเป็นภาพโพสิตีฟ ฉะนั้นวิธีการของแทลบอตจึงดีเท่ากระบวนการของดาร์แกโรไทพ์ ตรงนี้สามารถอัดภาพได้หลายภาพตามต้องการ แต่ก็มีข้อด้อยตรงที่เมื่อเก็บไว้นาน ๆ สีของภาพจะซีดจางลง ต่อมาแทลบอตได้ปรับปรุงกระบวนการของเขาหลายขั้นตอนทั้งการถ่ายและการล้างทำให้ได้ภาพที่ดีขึ้นเท่าเดิม ซึ่งเขาตั้งชื่อกระบวนการนี้ว่า “คาโลไทพ์” (Calotype) ซึ่งแปลว่า ความประทับใจในภาพที่สวยงามแต่เพื่อน ๆ ของเขาแนะนำว่าควรใช้ชื่อ แทลบอตไทพ์ (Talbotype) ในปี..

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และวิลเลียม ฟอกซ์ แทลบอต · ดูเพิ่มเติม »

สารละลาย

รละลายเกลือแกงในน้ำ ในทางเคมี สารละลาย (solution) คือสารผสมที่เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งมีสสารหนึ่งชนิดหรือมากกว่าเป็นตัวละลาย ละลายอยู่ในสารอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นตัวทำละลาย ตัวอย่างเช่น ไม่เพียงแต่ของแข็งที่สามารถละลายในของเหลว เหมือนเกลือหรือน้ำตาลที่ละลายในน้ำ (หรือแม้แต่ทองคำที่ละลายในปรอทแล้วเกิดเป็นอะมัลกัม (amalgam)) แต่ก๊าซก็สามารถละลายในของเหลวได้ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์หรือออกซิเจนสามารถละลายในน้ำได้.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และสารละลาย · ดูเพิ่มเติม »

สารละลายในน้ำ

ซเดียมไอออนที่ละลายในน้ำ สารละลายในน้ำ หรือ เอเควียส (Aqueous solution)​ คือสารละลายที่มีตัวทำละลายเป็นน้ำ มักจะแสดงไว้ในสมการเคมีโดยใส่ "(aq)" ต่อท้ายสสารนั้น ซึ่ง aq ย่อมาจาก aqueous หมายถึงความเกี่ยวข้องหรือการละลายในน้ำ น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดีชนิดหนึ่งทั้งในธรรมชาติและในการทดลองทางเคมี สารที่ไม่ละลายในน้ำมักมีคุณสมบัติไม่ชอบน้ำ (hydrophobic) ส่วนสารที่ละลายในน้ำได้มักมีคุณสมบัติชอบน้ำ (hydrophilic) ตัวอย่างของสารที่ละลายในน้ำได้เช่นโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) กรดและเบสส่วนใหญ่เป็นสามารถละลายได้ในน้ำ ซึ่งเป็นไปตามนิยามส่วนหนึ่งของทฤษฎีปฏิกิริยากรดเบส (ยกเว้นนิยามของลิวอิส) ความสามารถในการละลายน้ำของสสารจะพิจารณาว่า สสารนั้นสามารถจับตัวกับน้ำได้ดีกว่าแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำหรือแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของสารนั้นหรือไม่ หากเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ความสามารถในการละลายน้ำลดลง (เช่น อุณหภูมิเปลี่ยนไป) น้ำระเหยออกไปจากสารละลาย หรือ เกิดปฏิปริกิริยาเคมีทำให้เกิดสารที่ไม่ละลายน้ำ จะเกิดการตกตะกอนหรือตกผลึก สารละลายในน้ำที่สามารถนำไฟฟ้าได้จะต้องมีอิเล็กโทรไลต์อย่างเข้มอย่างเพียงพอ คือสสารนั้นสามารถแตกตัวเป็นไอออนได้ในน้ำอย่างสมบูรณ์ น้ำซึ่งเป็นโมเลกุลมีขั้วก็จะมาอยู่ล้อมรอบ ส่วนอิเล็กโทรไลต์อย่างอ่อนที่แตกตัวในน้ำได้ไม่ดี ก็จะทำให้สารละลายนั้นนำไฟฟ้าได้ไม่ดีตามไปด้วย สำหรับสสารที่ไม่ได้เป็นอิเล็กโทรไลต์แต่สามารถละลายในน้ำได้ เนื่องจากสสารนั้นไม่แตกตัวเป็นไอออนในน้ำ ยังรักษารูปร่างของโมเลกุลเอาไว้ อาทิ น้ำตาล ยูเรีย กลีเซอรอล และเมทิลซัลโฟนิลมีเทน (MSM) เป็นต้น.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และสารละลายในน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบ

น้ำ ถือเป็นสารประกอบทางเคมีอย่างหนึ่ง สารประกอบ เป็นสารเคมีที่เกิดจากธาตุเคมีตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมารวมตัวกันโดย พันธะเคมีด้วยอัตราส่วนของส่วนประกอบที่แน่นอน ตัวอย่าง เช่น ไดไฮโรเจนโมน็อกไซด์ หรือ น้ำ มีสูตรเคมีคือ H2Oซึ่งเป็นสารที่ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 2 อะตอม และ ออกซิเจน 1 อะตอม ในสารประกอบอัตราส่วนของส่วนประกอบจะต้องคงที่และตัวชี้วัดความเป็นสารประกอบที่สำคัญคือ คุณสมบัติทางกายภาพ ซึ่งจะแตกต่างจาก ของผสม (mixture) หรือ อัลลอย (alloy) เช่น ทองเหลือง (brass) ซูเปอร์คอนดักเตอร์ YBCO, สารกึ่งตัวนำ อะลูมิเนียม แกลเลียม อาร์เซไนด์ (aluminium gallium arsenide) หรือ ช็อคโกแลต (chocolate) เพราะเราสามารถกำหนดอัตราส่วนของ ของผสมได้ ตัวกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสารประกอบที่สำคัญคือ สูตรเคมี (chemical formula) ซึ่งจะแสดงอัตราส่วนของอะตอมในสารประกอบนั้น ๆ และจำนวนอะตอมในโมเลกุลเดียว เช่น สูตรเคมีของ อีทีน (ethene) จะเป็นC2H4 ไม่ใช่ CH2) สูตรไม่ได้ระบุว่าสารประกอบประกอบด้วยโมเลกุล เช่น โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง, NaCl) เป็น สารประกอบไอออนิก (ionic compound).

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และสารประกอบ · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบอนินทรีย์

รประกอบอนินทรีย์ (inorganic compound) คือสารประกอบเคมีที่นิยามตรงข้ามกับสารประกอบอินทรีย์ เป็นการจัดแบ่งสารเคมีตามความเชื่อแต่ดั้งเดิม ที่ให้สารเคมีที่ไม่ได้เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตเป็นสารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบอนินทรีย์มักไม่มีพันธะเชื่อมระหว่างอะตอมของคาร์บอนและไฮโดรเจน ถึงแม้สารประกอบอนินทรีย์จะมีอยู่มากมายแต่เทียบไม่ได้กับจำนวนของสารประกอบอินทรีย์ที่มีอยู่ในโลก สารประกอบคาร์บอนเกือบทั้งหมดถูกจัดให้เป็นสารประกอบอินทรีย์แต่ก็มีบางตัวถูกกำหนดชัดเจนว่าเป็นสารประกอบอนินทรีย์ เช่น.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และสารประกอบอนินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบไบนารี

สารประกอบไบนารี (Binary Compound) คือ สารประกอบที่มีองค์ประกอบของธาตุเพียง 2 ธาตุเท่านั้น ตัวอย่างสารประกอบไบนารี เช่น CaO (แคลเซียมออกไซด์) H2O (น้ำ) MgO (แมกนีเซียมออกไซด์) NaCl (เกลือแกง) เป็นต้น หมวดหมู่:เคมี หมวดหมู่:สารประกอบเคมี.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และสารประกอบไบนารี · ดูเพิ่มเติม »

สตรอนเชียมซัลเฟต

ตรอนเชียมซัลเฟต (Strontium sulfate) เป็นเกลือซัลเฟตของสตรอนเชียม มันเป็นผงผลึกสีขาวและเกิดขึ้นในธรรมชาติเป็นแร่เซเลสไทน์ และเป็นคุณภาพที่ละลายน้ำได้ในน้ำที่มีขอบเขตของ1 ส่วนใน 8,800 มันเป็นที่ละลายน้ำได้ในเจือจางกรดไฮโดรคลอริก และกรดไนตริกและประเมินค่าละลายน้ำได้ในการแก้ไขปัญหาคลอไรด์ด่าง (เช่น โซเดียมคลอไรด์).

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และสตรอนเชียมซัลเฟต · ดูเพิ่มเติม »

อะตอม

อะตอม (άτομον; Atom) คือหน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วยส่วนของนิวเคลียสที่หนาแน่นมากอยู่ตรงศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนที่มีประจุลบ นิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยโปรตอนที่มีประจุบวกกับนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า (ยกเว้นในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งเป็นนิวไคลด์ชนิดเดียวที่เสถียรโดยไม่มีนิวตรอนเลย) อิเล็กตรอนของอะตอมถูกดึงดูดอยู่กับนิวเคลียสด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ในทำนองเดียวกัน กลุ่มของอะตอมสามารถดึงดูดกันและกันก่อตัวเป็นโมเลกุลได้ อะตอมที่มีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากันจะมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า มิฉะนั้นแล้วมันอาจมีประจุเป็นบวก (เพราะขาดอิเล็กตรอน) หรือลบ (เพราะมีอิเล็กตรอนเกิน) ซึ่งเรียกว่า ไอออน เราจัดประเภทของอะตอมด้วยจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่อยู่ในนิวเคลียส จำนวนโปรตอนเป็นตัวบ่งบอกชนิดของธาตุเคมี และจำนวนนิวตรอนบ่งบอกชนิดไอโซโทปของธาตุนั้น "อะตอม" มาจากภาษากรีกว่า ἄτομος/átomos, α-τεμνω ซึ่งหมายความว่า ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไป หลักการของอะตอมในฐานะส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสารที่ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไปถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดยนักปรัชญาชาวอินเดียและนักปรัชญาชาวกรีก ซึ่งจะตรงกันข้ามกับปรัชญาอีกสายหนึ่งที่เชื่อว่าสสารสามารถแบ่งแยกได้ไปเรื่อยๆ โดยไม่มีสิ้นสุด (คล้ายกับปัญหา discrete หรือ continuum) ในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 นักเคมีเริ่มวางแนวคิดทางกายภาพจากหลักการนี้โดยแสดงให้เห็นว่าวัตถุหนึ่งๆ ควรจะประกอบด้วยอนุภาคพื้นฐานที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกต่อไป ระหว่างช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักฟิสิกส์ค้นพบส่วนประกอบย่อยของอะตอมและโครงสร้างภายในของอะตอม ซึ่งเป็นการแสดงว่า "อะตอม" ที่ค้นพบตั้งแต่แรกยังสามารถแบ่งแยกได้อีก และไม่ใช่ "อะตอม" ในความหมายที่ตั้งมาแต่แรก กลศาสตร์ควอนตัมเป็นทฤษฎีที่สามารถนำมาใช้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอะตอมได้เป็นผลสำเร็จ ตามความเข้าใจในปัจจุบัน อะตอมเป็นวัตถุขนาดเล็กที่มีมวลน้อยมาก เราสามารถสังเกตการณ์อะตอมเดี่ยวๆ ได้โดยอาศัยเครื่องมือพิเศษ เช่น กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ มวลประมาณ 99.9% ของอะตอมกระจุกรวมกันอยู่ในนิวเคลียสไอโซโทปส่วนมากมีนิวคลีออนมากกว่าอิเล็กตรอน ในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งมีอิเล็กตรอนและนิวคลีออนเดี่ยวอย่างละ 1 ตัว มีโปรตอนอยู่ \begin\frac \approx 0.9995\end, หรือ 99.95% ของมวลอะตอมทั้งหมด โดยมีโปรตอนและนิวตรอนเป็นมวลที่เหลือประมาณเท่า ๆ กัน ธาตุแต่ละตัวจะมีอย่างน้อยหนึ่งไอโซโทปที่มีนิวเคลียสซึ่งไม่เสถียรและเกิดการเสื่อมสลายโดยการแผ่รังสี ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการแปรนิวเคลียสที่ทำให้จำนวนโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสเปลี่ยนแปลงไป อิเล็กตรอนที่โคจรรอบอะตอมจะมีระดับพลังงานที่เสถียรอยู่จำนวนหนึ่งในลักษณะของวงโคจรอะตอม และสามารถเปลี่ยนแปลงระดับไปมาระหว่างกันได้โดยการดูดซับหรือปลดปล่อยโฟตอนที่สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ต่างกัน อิเล็กตรอนเหล่านี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณสมบัติทางแม่เหล็กของอะตอม แนวคิดที่ว่าสสารประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ ไม่ต่อเนื่องกันและไม่สามารถแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนที่เล็กไปได้อีก เกิดขึ้นมานับเป็นพันปีแล้ว แนวคิดเหล่านี้มีรากฐานอยู่บนการให้เหตุผลทางปรัชญา นักปรัชญาได้เรียกการศึกษาด้านนี้ว่า ปรัชญาธรรมชาติ (Natural Philosophy) จนถึงยุคหลังจากเซอร์ ไอแซค นิวตัน จึงได้มีการบัญญัติศัพท์คำว่า 'วิทยาศาสตร์' (Science) เกิดขึ้น (นิวตันเรียกตัวเองว่าเป็น นักปรัชญาธรรมชาติ (natural philosopher)) ทดลองและการสังเกตการณ์ ธรรมชาติของอะตอม ของนักปรัชญาธรรมชาติ (นักวิทยาศาสตร์) ทำให้เกิดการค้นพบใหม่ ๆ มากมาย การอ้างอิงถึงแนวคิดอะตอมยุคแรก ๆ สืบย้อนไปได้ถึงยุคอินเดียโบราณในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล โดยปรากฏครั้งแรกในศาสนาเชน สำนักศึกษานยายะและไวเศษิกะได้พัฒนาทฤษฎีให้ละเอียดลึกซึ้งขึ้นว่าอะตอมประกอบกันกลายเป็นวัตถุที่ซับซ้อนกว่าได้อย่างไร ทางด้านตะวันตก การอ้างอิงถึงอะตอมเริ่มขึ้นหนึ่งศตวรรษหลังจากนั้นโดยลิวคิพพุส (Leucippus) ซึ่งต่อมาศิษย์ของเขาคือ ดีโมครีตุส ได้นำแนวคิดของเขามาจัดระเบียบให้ดียิ่งขึ้น ราว 450 ปีก่อนคริสตกาล ดีโมครีตุสกำหนดคำว่า átomos (ἄτομος) ขึ้น ซึ่งมีความหมายว่า "ตัดแยกไม่ได้" หรือ "ชิ้นส่วนของสสารที่เล็กที่สุดไม่อาจแบ่งแยกได้อีก" เมื่อแรกที่ จอห์น ดาลตัน ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับอะตอม นักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นเข้าใจว่า 'อะตอม' ที่ค้นพบนั้นไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกแล้ว ถึงแม้ต่อมาจะได้มีการค้นพบว่า 'อะตอม' ยังประกอบไปด้วย โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน แต่นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันก็ยังคงใช้คำเดิมที่ดีโมครีตุสบัญญัติเอาไว้ ลัทธินิยมคอร์พัสคิวลาร์ (Corpuscularianism) ที่เสนอโดยนักเล่นแร่แปรธาตุในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซูโด-กีเบอร์ (Pseudo-Geber) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า พอลแห่งทารันโท แนวคิดนี้กล่าวว่าวัตถุทางกายภาพทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดละเอียดเรียกว่า คอร์พัสเคิล (corpuscle) เป็นชั้นภายในและภายนอก แนวคิดนี้คล้ายคลึงกับทฤษฎีอะตอม ยกเว้นว่าอะตอมนั้นไม่ควรจะแบ่งต่อไปได้อีกแล้ว ขณะที่คอร์พัสเคิลนั้นยังสามารถแบ่งได้อีกในหลักการ ตัวอย่างตามวิธีนี้คือ เราสามารถแทรกปรอทเข้าไปในโลหะอื่นและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของมันได้ แนวคิดนิยมคอร์พัสคิวลาร์อยู่ยั่งยืนยงเป็นทฤษฎีหลักตลอดเวลาหลายร้อยปีต่อมา ในปี..

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เทอร์ คอมป์ตัน

อาร์เทอร์ ฮอลลี คอมป์ตัน (Arthur Holly Compton) (10 กันยายน พ.ศ. 2435 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2505) เป็นนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิก..

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และอาร์เทอร์ คอมป์ตัน · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุ

ในทางเคมี ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานเลขอะตอม อันเป็นจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น ตัวอย่างธาตุที่คุ้นเคยกัน เช่น คาร์บอน ออกซิเจน อะลูมิเนียม เหล็ก ทองแดง ทองคำ ปรอทและตะกั่ว จนถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

คลอรีน

ลอรีน (Chlorine) (จากภาษากรีกว่า Chloros แปลว่าสี "เขียวอ่อน") เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 17 และสัญลักษณ์ Cl เป็นแฮโลเจน พบในตารางธาตุ ในกลุ่ม 17 เป็นส่วนของเกลือทะเลและสารประกอบอื่น ๆ ปรากฏมากในธรรมชาติ และจำเป็นต่อสิ่งมีชวิตส่วนใหญ่ รวมถึงมนุษย์ด้วย ในรูปของก๊าซ คลอรีนมีสีเขียวอมเหลือง มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ 2.5 เท่า มีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง และเป็นพิษอย่างร้ายแรง เป็นตัวออกซิไดซ์ ฟอกขาว และฆ่าเชื้อได้เป็นอย่างดี.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และคลอรีน · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตสูง

รคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันช่วงหัวใจบีบและความดันช่วงหัวใจคลาย ซึ่งเป็นความดันสูงสุดและต่ำสุดในระบบหลอดเลือดแดงตามลำดับ ความดันช่วงหัวใจบีบเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวมากที่สุด ความดันช่วงหัวใจคลายเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวมากที่สุดก่อนการบีบตัวครั้งถัดไป ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100–140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60–90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทตลอดเวลา ส่วนในเด็กจะใช้ตัวเลขต่างไป ปกติความดันโลหิตสูงไม่ก่อให้เกิดอาการในทีแรก แต่ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเมื่อผ่านไปเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจเหตุความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ท่อเลือดแดงโป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ) และความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90–95 จัดเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ หมายถึงมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีเหตุพื้นเดิมชัดเจน ที่เหลืออีกร้อยละ 5–10 จัดเป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิมักมีสาเหตุที่สามารถบอกได้ เช่น โรคไตเรื้อรัง ท่อเลือดแดงหรือหลอดเลือดแดงไตตีบแคบ หรือโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น แอลโดสเตอโรน คอร์ติซอลหรือแคทิโคลามีนเกิน อาหารและการเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แม้การรักษาด้วยยายังมักจำเป็นในผู้ที่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังไม่พอหรือไม่ได้ผล การรักษาความดันในหลอดเลือดแดงสูงปานกลาง (นิยามเป็น >160/100 มิลลิเมตรปรอท) ด้วยยาสัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพที่เพิ่มขึ้น ประโยชน์ของการรักษาความดันเลือดระหว่าง 140/90 ถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอทไม่ค่อยชัดเจน บางบทปริทัศน์ว่าไม่มีประโยชน์ แต่บ้างก็ว่ามี.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และความดันโลหิตสูง · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยารวมตัว

ปฏิกิริยารวมตัว (Combination Reaction) หรือปฏิกิริยาการสังเคราะห์ คือปฏิกิริยาเคมีที่ตัวทำปฏิกิริยาสองตัวหรือมากกว่าเกิดปฏิกิริยาเคมีกันโดยการรวมตัวและมีพันธะทางเคมีต่อกัน (chemical bond) แล้วเกิดเป็นสารประกอบตัวใหม่ดังตัวอย่างโซเดียม ทำปฏิกิริยากับคลอรีนแล้วเกิดเป็นโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกง ดังปฏิกิริยาข้างล่างนี้.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และปฏิกิริยารวมตัว · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาสะเทิน

ปฏิกิริยาการสะเทินระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับกรดไฮโดรคลอริก อินดิเคเตอร์คือ โบรโมไทมอลบลู ในทางเคมี ปฏิกิริยาสะเทิน (neutralization หรือ neutralisation) หรือ ปฏิกิริยาการสะเทิน หรือ ปฏิกิริยาลบล้างฤทธิ์ ก็เรียก เป็นปฏิกิริยาเคมี ซึ่งกรดและเบสทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นเกลือ บ่อยครั้งที่เกิดน้ำเป็นผลิตภัณฑ์ด้วย แต่ไม่จำเป็นเสมอไป ปฏิกิริยาสะเทินระหว่างกรดและเบสอาร์เรเนียส จะให้น้ำด้วยเสมอ ดังสมการ เมื่อ Y และ X เป็นไอออนบวกและไอออนลบที่มีค่าประจุเป็น +1 และ -1 ตามลำดับ XY จะเป็นเกลือที่เกิดขึ้น ตัวอย่างปฏิกิริยารูปนี้ เช่น ปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับกรดไฮโดรคลอริก โดยมีโซเดียมเป็น Y และคลอรีนเป็น X ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปฏิกิริยาข้างต้น คือ น้ำและเกลือแกงสามัญ ปฏิกิริยาสะเทินสามารถพิจารณาได้เป็นสมการไอออนสุทธิ เช่น การแสดงนี้คลาดเคลื่อน อย่างไรก็ดี เพราะไฮโดรเจนไอออน (H+) แท้จริงแล้วมิได้เกิดขึ้นในสารละลายระหว่างปฏิกิริยาสะเทิน ที่จริงแล้ว ไฮโดรเนียมไออน (H3O+) ต่างหากที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลตามสมการด้านล่าง เมื่อพิจารณาไฮโดรเนียมไออน สมการไอออนสุทธิแท้จริงจะเป็น ในปฏิกิริยาไม่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย (non-aqueous) มีความเป็นไปได้น้อยว่าจะเกิดน้ำขึ้น อย่างไรก็ดี กรดกับเบสจะมีการให้โปรตอนเสมอ (ตามทฤษฎีกรด-เบสเบรินสเตด-บาวรี) เนื่องจากมีนิยามกรดและเบสหลายอย่าง ปฏิกิริยาทั้งหลายจึงอาจถูกพิจารณาว่าเป็นปฏิกิริยาการสะเทินได้ ซึ่งทั้งหมดด้านล่างนี้อาจถูกพิจารณาว่าเป็นปฏิกิริยาสะเทินได้ตามนิยามแตกต่างกัน บ่อยครั้ง ปฏิกิริยาสะเทินเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน ตัวอย่างเช่น ปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับกรดไฮโดรคลอริก ตัวอย่างของการสะเทินแบบดูดความร้อน เช่น ปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไบคาร์บอเนต (โซดาทำขนม) กับกรดน้ำส้ม (น้ำส้มสายชู) การสะเทินหมายถึงการทำให้เป็นกลาง ในทางเคมี "เป็นกลาง" หมายถึง pH เท่ากับ 7.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และปฏิกิริยาสะเทิน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกัน

ปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกัน (double displacement reaction) หรือ แทนที่คู่ หรือ เมต้าทีสีส (metathesis) หรือปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนไอออน คือ การที่สารประกอบสองตัวแลกเปลี่ยนไอออนซึ่งกันและกันแล้วเกิดเป็นสารประกอบใหม่สองตัวขึ้นมาแทนที่ สามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ กค + ขง → กง + ขค ตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีจริงเป็นดังนี้ สารประกอบที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีดังกล่าวบางตัวอาจตกตะกอน ก๊าซที่ไม่ละลายในสารละลายนั้นหรืออาจจะเกิดเป็นโมเลกุลของน้ำก็ได้ ปฏิกิริยาทำให้เป็นกลางอาจจะเป็นกรณีพิเศษสำหรับปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกันคือจำนวนของกรดจะต้องเท่ากับจำนวนของด่างแล้วเกิดเป็นเกลือและน้ำขึ้นดังตัวอย่างข้างล่างนี้.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกัน · ดูเพิ่มเติม »

น้ำเกลือ

น้ำเกลือ (saline water) เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ใช้เรียกน้ำที่มีความหนาแน่นของสารละลาย เกลือ (NaCl) สูงเป็นพิเศษ ระดับความหนาแน่นของเกลือที่ใช้ในการวิจัยทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯแบ่งน้ำเกลือออกเป็นสามประเภทหลักๆด้วยกัน น้ำเกลือเบาบางมีเกลืออยู่ระหว่าง 1,000 และ 3,000 มก./ล.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และน้ำเกลือ · ดูเพิ่มเติม »

แคลเซียมออกไซด์

แคลเซียมออกไซด์ (Calcium oxide) เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า ปูนขาว หรือ ปูนเผา หรือในรูปของหินตะกอนว่า หินปูน เป็นสารเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย มันเป็นสีขาว,กัดกร่อน,ผลึกของแข็งอัลคาไล ในอุณหภูมิห้อง.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และแคลเซียมออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

โพแทสเซียมคลอไรด์

แทสเซียมคลอไรด์ (Potassium chloride หรือ KCl) ประกอบด้วยโพแทสเซียมและคลอรีน ใช้เป็นแหล่งของโพแทสเซียมไออนและไอโอไดด์ไอออน สามารถใช้เป็นปุ๋ยและใช้เป็นสารพิษในการฉีดเข้าเส้นเลือดเพื่อประหารชีวิตคนได้.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และโพแทสเซียมคลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

โลหะแอลคาไล

ลหะแอลคาไล (Alkali metals) เป็นหมู่ (คอลัมน์) ในตารางธาตุ ประกอบไปด้วยธาตุเคมี ลิเทียม (Li), โซเดียม (Na)สัญลักษณ์เคมี "Na" ของธาตุโซเดียมเป็นตัวย่อของคำว่า "นาเทรียม" (Natrium) ซึ่งเป็นคำในภาษาละติน และยังมีการใช้ชื่อนี้อยู่ในบางภาษา เช่น เยอรมัน หรือรัสเซีย ก่อนหน้านั้นโซเดียมถูกเสนอว่าให้มีสัญลักษณ์เคมีว่า So, โพแทสเซียม (K)สัญลักษณ์เคมี "K" ของธาตุโพแทสเซียม เป็นตัวย่อของคำว่า "คาเลียม" (Kalium) แต่ก็ยังมีการใช้ชื่อธาตุว่า คาเลียม ในบางภาษา เช่น เยอรมัน หรือ รัสเซีย ก่อนหน้านั้นโพแทสเซียมถูกเสนอให้มีสัญลักษณ์ว่า Po ซึ่งไปชนกับพอโลเนียม ที่มีสัญลักษณ์ทางเคมีว่า Po เหมือนกัน, รูบิเดียม (Rb), ซีเซียม (Cs) และแฟรนเซียม (Fr).

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และโลหะแอลคาไล · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียม

ซเดียม (Sodium) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์ Na (จากคำว่า Natrium ในภาษาละติน) และหมายเลขอะตอม 11 โซเดียมเป็นโลหะอ่อน มีลักษณะเป็นไข มีสีเงิน และอยู่ในกลุ่มโลหะแอลคาไล โซเดียมมีมากในสารประกอบทางธรรมชาติ (โดยเฉพาะแฮไลต์) โซเดียมทำปฏิกิริยาได้ว่องไวมาก ให้เปลวไฟสีเหลือง ออกซิไดส์ในอากาศและทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำมากจนเกิดเปลวไฟได้ จึงจำเป็นต้องเก็บอยู่ในน้ำมัน.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และโซเดียม · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียมฟลูออไรด์

ซเดียมฟลูออไรด์ (Sodium fluoride หรือ NaF) เป็นของแข็งไม่มีสี ใช้เป็นแหล่งของฟลูออไรด์ มีราคาถูกกว่าและดูดความชิ้นน้อยกว่าโพแทสเซียมฟลูออไร.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และโซเดียมฟลูออไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียมคาร์บอเนต

ซเดียมคาร์บอเนต หรือ โซดา แอช หรืออีกชื่อคือ โซดาซักผ้า สูตรเคมี คือ Na2CO3 เป็นสารประกอบเกลือของกรดคาร์บอนิก มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น สามารถดูดความชื้นจากอากาศได้ดี ละลายได้ในน้ำ มีฤทธิ์เป็นด่างแก่เมื่อละลายน้ำ ละลายได้เล็กน้อยในแอลกอฮอล์ พบในขี้เถ้าของพืชหลายชนิดและสาหร่ายทะเล (จึงได้ชื่อว่า โซดา แอช เนื่องจาก แอช ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ขี้เถ้า) เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น แก้ว เซรามิคส์ กระดาษ ผงซักฟอก สบู่ การแก้ไขน้ำกระด้าง โซเดียมคาร์บอเนต พบได้ในธรรมชาติในเขตแห้งแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งแร่ที่เกิดจากทะเลสาบที่ระเหยแห้งไป ในสมัยอียิปต์โบราณ มีการขุดแร่ที่เรียกว่า เนทรอน (natron) (ซึ่งเป็นเกลือที่ประกอบด้วยโซเดียมคาร์บอเนต (หรือ โซดา แอช) และโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้ง โซดา) และมีโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) และโซเดียมซัลเฟต ปนอยู่เล็กน้อย) จากก้นทะเลสาบที่แห้ง ใกล้แม่น้ำไนล์ และนำมาใช้ในการทำมัมมี่ ใน ปี พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) พบแหล่งแร่โซเดียมคาร์บอเนตขนาดใหญ่ใกล้แม่น้ำกรีนริเวอร์ รัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกา ทำให้สหรัฐขุดแร่มาใช้แทนการผลิตทางกรรมวิธีทางเคมี ในประเทศอื่น ๆ การผลิตโซเดียมคาร์บอเนตทำโดยกรรมวิธีทางเคมีที่เรียกว่า กระบวนการโซลเวย์ (Solvay process) ซึ่งค้นพบโดย เออร์เนส โซลเวย์ นักอุตสาหกรรมเคมีชาวเบลเยี่ยม ในปี พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) โดยเปลี่ยน โซเดียมคลอไรด์ (น้ำเกลือ) เป็น โซเดียมคาร์บอเนต โดยใช้ แอมโมเนีย และ แคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) และสารที่เหลือจากกระบวนการมีเพียง แคลเซียมคลอไรด์ ซึ่งไม่เป็นพิษแม้ว่าอาจก่อให้เกิดความระคายเคืองได้ และ แอมโมเนียนั้นยังสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ทำให้กระบวนการโซลเวย์มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่ากรรมวิธีแบบเดิมมาก จึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตอย่างแพร่หลาย ในคริสต์ศตวรรษ 1900 โซเดียมคาร์บอเนต 90% ที่ผลิต ใช้วิธีการนี้ และยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน เดิมนั้นการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตทำโดยกระบวนเคมีที่เรียกว่า กระบวนการเลอบลังก์ (Leblanc process) ซึ่งค้นพบโดยนักเคมีชาวฝรั่งเศส ชื่อ นิโคลาส เลอบลังก์ ในปี พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1791) โดยใช้ โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) กรดซัลฟูริก (กรดกำมะถัน) แคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) และถ่าน แต่กรดไฮโดรคลอริค (กรดเกลือ) ที่เกิดจากกระบวนการนี้ ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ และแคลเซียมซัลไฟด์ ที่เหลือจากกระบวนการทำให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม แต่เนื่องจากโซเดียมคาร์บอเนตเป็นสารเคมีพื้นฐานในอุตสาหกรรมหลายชนิด ทำให้มีการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตโดยกรรมวิธีนี้ และเป็นกรรมวิธีหลักมาจนถึงช่วงปี พ.ศ. 2423 - 2433 (ช่วง ค.ศ. 1880 - 1890) หลังการค้นพบกระบวนการโซลเวย์ กว่า 20 ปี โรงงานผลิตแคลเซียมคาร์บอเนตที่ใช้กระบวนการ เลอบรังค์แห่งสุดท้ายปิดลงในช่วงปี พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920).

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และโซเดียมคาร์บอเนต · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียมโบรไมด์

โซเดียมโบรไมด์ (Sodium Bromide หรือ NaBr) เป็นสารประกอบ มีผลึกคล้ายเกลือแกงเป็นแหล่งของโบรไมด์ไอออน หมวดหมู่:สารประกอบโซเดียม หมวดหมู่:สารเคมี.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และโซเดียมโบรไมด์ · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียมไอโอไดด์

โซเดียมไอโอไดด์ (Sodium iodide หรือ NaI) เป็นผลึกเกลือสีขาว ใช้เป็นแหล่งของไอโอไดด์ เพื่อการตรวจวัดทางรังสีวินิจฉัย หรือ เพื่อรักษาอาการขาดไอโอดีน หมวดหมู่:เฮไลด์โลหะ หมวดหมู่:สารประกอบอนินทรีย์ หมวดหมู่:สารประกอบโซเดียม หมวดหมู่:ไอโอไดด์.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และโซเดียมไอโอไดด์ · ดูเพิ่มเติม »

โปการี่ เสวท

ปการี่ สเวท (ポカリスエットPokari Suetto?) เป็นเครื่องดื่มที่เป็นที่นิยมของญี่ปุ่น และเป็นเครื่องดื่มกีฬาผลิตโดย Otsuka เภสัชกรรมจำกัด ขายครั้งแรกในปี 1980 มีขายในรูปแบบของเหลวในกระป๋องอะลูมิเนียม,ขวดพลาสติก, และในรูปแบบผง.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และโปการี่ เสวท · ดูเพิ่มเติม »

ไอโซโพรพานอล

อโซโพรพานอล (Isopropanol) หรือ ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (Isopropyl alcohol) หรือ 2-โพรพานอล (2-Propanol) หรือโพรพาน-2-ออล (Propan-2-ol) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งนิยมใช้เป็นสารฆ่าเชื้อในทางการแพทย์ มักใช้ผสมกับอะซีโทนหรือน้ำกลั่นโดยให้แอลกอฮอล์มีปริมาณ 70% โดยปริมาตร เป็นของเหลวใสไม่มีสี กลิ่นรุนแรง และเป็นไอโซเมอร์โครงสร้างกับ1-โพรพานอล จะต่างกันตรงที่มีหมู่ไฮดรอกซิล ต่อที่คาร์บอนตัวที่สองแทนที่จะเป็นปลาย ไอโซโพรพานอลผสมเข้ากับน้ำ อีเทอร์ และคลอโรฟอร์มได้ดี โดยเมื่อผสมกับน้ำแล้วจะเกิดเป็นสารกลั่นแยกไม่ได้ (azeotrope) สารนี้รับประทานไม่ได้ และมีจุดเยือกแข็งต่ำลง (คือ ช่วงอุณหภูมิที่เป็นของเหลวกว้างขึ้น) นอกจากนี้ยังเป็นตัวทำละลายเอทิลเซลลูโลส โพลิไวนิลบิวทิรัล น้ำมัน อัลคาลอยด์ และยางไม้ได้ แต่ไม่ละลายในสารละลายเกลือ จึงทำให้สามารถแยกออกจากสารละลายได้โดยเติมเกลือแกง โซเดียมซัลเฟต หรือเกลืออนินทรีย์อย่างอื่นเพื่อให้แอลกอฮอล์แยกชั้นออกมา ไอโซไพรพานอลมีสภาพดูดกลืน ที่ 205 nm ภายใต้สเปกตรัมรังสีอัลตราไวโอเลต ไอโซโพรพานอลผลิตได้โดยอาศัยปฏิกิริยาเติมน้ำเข้ากับโพรพีน จากกฎของมาร์คอฟนิคอฟซึ่งกล่าวว่า ไฮโดรเจนมีแนวโน้มจะผนวกเข้ากับคาร์บอนที่มีไฮโดรเจนมากกว่าเสมอ จึงทำให้เกิดไอโซโพรพานอล มากกว่าที่จะเป็น 1-โพรพานอล หรืออาจจะใช้ปฏิกิริยาของโพรพีนกับกรดซัลฟิวริก ให้ให้เกิดซัลเฟตเอสเทอร์ ที่เมื่อสลายด้วยน้ำแล้วจะได้ไอโซโฟรพิลแอลกอฮอล์ ในกระบวนการอย่างหลังจะมีไดไอโซโพรพิลอีเทอร์เป็นผลพลอยได้ ซึ่งสามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการอีกครั้ง นอกจากนี้ ไอโซโพรพานอลยังผลิดได้โดยเติมไฮโดรเจนลงในอะซีโทนก็ได้ ไอโซโพรพานอลถูกนำไปใช้งานมากมาย อาทิ เป็นตัวทำละลายประสิทธิภาพสูงและมีพิษน้อยกว่าตัวทำละลายชนิดอื่น ใช้ทำความสะอาดคราบน้ำมัน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และใช้ผสมน้ำ 60 - 75% เพื่อฆ่าเชื้อโรค เช่น รอบบาดแผล หรือล้างมือ หากไม่ผสมน้ำ เยื้อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรียจะไม่เปิดออกเพื่อให้แอลกอฮอล์ออกฤทธิ์ได้.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และไอโซโพรพานอล · ดูเพิ่มเติม »

ไข่เค็ม

็ม ไข่เค็ม เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง โดยมากมักจะใช้ไข่เป็ด แล้วนำไปแช่ในน้ำเกลือหรือนำไปพอกด้วยวัสดุที่ผสมเกลือเพื่อให้เกลือซึมเข้าไปในเนื้อของไข่ เพื่อให้สามารถเก็บไข่ไว้ได้นานขึ้น ไข่เป็ดเค็มที่ผลิตจากการแช่น้ำเกลือจะมีกลิ่นน้ำเกลือ ไข่ขาวจะแน่นและเนียน ในขณะที่ไข่แดงจะมีสีออกส้มอมแดง แต่ถ้าใช้ไข่ไก่จะมีรสชาติและรสสมผัสที่แตกต่างออกไป และรสชาติไข่แดงจะเข้มข้นน้อยกว่าไข่เป็ด ไข่เค็มสามารถนำมาใช้ประกอบอาหาร หลังจากที่ผ่านการต้มหรือนึ่ง, เอามาใส่โจ๊ก, กินกับข้าวต้ม, หรือจะเอาไปทอดเป็นไข่ดาวก็ได้ ในส่วนของรสชาติ ไข่ขาวจะมีรสเค็มโดด ในขณะที่ไข่แดงจะมีรสมันและเค็มน้อยกว่าไข่ขาว นอกจากนี้ ไข่แดงเค็ม มักถูกนำไปทำเป็นไส้ของขนมไหว้พระจันทร์ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนดวงจันทร.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และไข่เค็ม · ดูเพิ่มเติม »

เบส (เคมี)

ตามคำจำกัดความของอาร์รีเนียส (Svante Arrhenius) คือ สารประกอบเคมีที่ดูดไฮโดรเนียมไอออน เมื่อละลายในน้ำ (ผู้รับโปรตอน) เบสที่ละลายในน้ำเรียกว่า อัลคาไล ในที่ที่สิ่งแวดล้อมเป็นน้ำ ไฮดรอกไซด์ไอออนจะถูกให้ เบสและกรดถูกมองว่าอยู่ตรงข้ามกันเพราะว่าผลของกรดคือการเพิ่มความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) ในน้ำ, ในขณะที่เบสลดความเข้มข้น เบส อาร์รีเนียสเมื่อละลายน้ำสารละลายของมันจะมี pH มากกว่า 7 เสมอ กรดเมื่อผสมกับเบสจะสะเทิน มี คำจำกัดความ กรด-เบส ทั่วไปและซับซ้อนอีกมากม.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และเบส (เคมี) · ดูเพิ่มเติม »

เกลือ

กลือ เกลือ เป็นแร่ธาตุส่วนใหญ่ประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) สารประกอบในระดับสูงกว่าเกลือชนิดต่าง ๆ เกลือในธรรมชาติก่อตัวเป็นแร่ผลึกรู้จักกันว่า เกลือหิน หรือแฮไลต์ เกลือพบได้ในปริมาณมหาศาลในทะเลซึ่งเป็นองค์ประกอบของแร่ที่สำคัญ ในมหาสมุทรมีแร่ธาตุ 35 กรัมต่อลิตร ความเค็ม 3.5% เกลือเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตสัตว์ ความเค็มเป็นรสชาติพื้นฐานของมนุษย์ เนื้อเยื่อสัตว์บรรจุเกลือปริมาณมากกว่าเนื้อเยื่อพืช ดังนั้นอาหารของชนเผ่าเร่ร่อนที่ดำรงชีวิตในฝูงต้องการเกลือเพียงเล็กน้อย หรือไม่ต้องการเกลือเลย ขณะอาหารประเภทซีเรียลจำเป็นต้องเพิ่มเกลือ เกลือเป็นหนึ่งในเครื่องปรุงรสที่เก่าแก่ที่สุดและหาได้ง่ายที่สุด และการดองเค็มก็เป็นวิธีการถนอมอาหารที่สำคัญวิธีหนึ่ง หลักฐานการทำเกลือยุคแรกที่สุดย้อนไปถึง 6,000 ปีที่แล้ว เมื่อคนที่อาศัยในประเทศโรมาเนียต้มน้ำเพื่อสกัดเกลือ การทำนาเกลือในจีนก็เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน เกลือถูกชาวฮีบรู กรีก โรมัน ไบแซนไทน์ ฮิไทต์ และอียิปต์ ตีราคาสูง เกลือกลายเป็นวัตถุสำคัญและขนส่งทางเรือผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผ่านทางทางเกลือที่สร้างขึ้นเฉพาะ และผ่านทะเลทรายซาฮาราในคาราวานอูฐ ความขาดแคลนและความต้องการเกลือทั่วโลกนำไปสู่สงครามชิงเกลือ และใช้เกลือเพื่อเพิ่มภาษีเงินได้ เกลือยังถูกใช้ในพิธีทางศาสนา และวัฒนธรรมต่าง ๆ ด้วย เกลือผลิตจากเหมืองเกลือ หรือจากการระเหยน้ำทะเล หรือน้ำซับที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุในบ่อตื้น ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลักของเกลือคือโซดาไฟ และคลอรีน และใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมและในการผลิตโพลีไวนิลคลอไรด์ พลาสติก เยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากการผลิตเกลือปริมาณสองล้านตันต่อปี มีเพียง 6% ที่ให้มนุษย์บริโภค ส่วนอื่น ๆ ใช้ในการปรับสภาวะของน้ำ กำจัดน้ำแข็งบนถนน และใช้ในการเกษตร เกลือที่กินได้มีขายในหลายรูปแบบ เช่น เกลือสมุทรและเกลือโต๊ะปกติจะบรรจุสารป้องกันการรวมตัวเป็นก้อน และอาจเสริมไอโอดีนเพื่อป้องกันภาวะพร่องไอโอดีน นอกจากจะใช้ปรุงอาหารและวางบนโต๊ะแล้ว เกลือยังพบได้ในอาหารแปรรูปจำนวนมาก อาหารที่มีโซเดียมมากเกินไปทำให้ความดันโลหิตสูง และอาจเพิ่มความเสี่ยงของกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าผู้ใหญ่ควรบริโภคโซเดียมน้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่ากับเกลือ 5 กรัมต่อวัน.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และเกลือ · ดูเพิ่มเติม »

เกลือ (เคมี)

ผลึกเกลือ เมื่อส่องขยาย (เฮไลต์/เกลือแกง) ในทางเคมี เกลือ เป็นสารประกอบไอออนิก ประกอบด้วยแคตไอออนและแอนไอออน ทำให้ผลผลิตที่ได้เป็นกลาง (ประจุสุทธิเป็นศูนย์) ไอออนเหล่านี้อาจเป็นอนินทรีย์ (Cl−) กับอินทรีย์ (CH3COO−) หรือไอออนอะตอมเดี่ยว (F−) กับไอออนหลายอะตอม (SO42−) ก็ได้ เกลือจะเกิดขึ้นได้เมื่อกรดและเบสทำปฏิกิริยากัน.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และเกลือ (เคมี) · ดูเพิ่มเติม »

เกลือสมุทร

author.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และเกลือสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

เหงื่อ

หยดเหงื่อบนใบหน้า เหงื่อ เป็นของเสียชนิดหนึ่งที่ร่างกายขับออกมาในรูปของเหลว และจะขับออกมาทางผิวหนังหรือตามซอกต่างๆของร่างกาย มักมีรสเค็มเพราะมีเกลือเป็นส่วนประกอบ การออกกำลังกายหรือเวลาอากาศร้อนก็มีเหงื่อได้เช่นกัน เหงื่อประกอบด้วย น้ำ 99% ส่วนอีก 1% ได้แก่ โซเดียมคลอไรด์ ยูเรีย น้ำตาล ไขมัน กรดอะมิโนบางชนิด โพแทสเซียม แมกนีเซียม เหล็ก.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และเหงื่อ · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมองส่วนรู้รส

ปลือกสมองส่วนรู้รส (gustatory cortex ตัวย่อ GC) เป็นโครงสร้างสมองซึ่งทำหน้าที่รับรู้รส โดยมีโครงสร้างย่อย 2 ส่วน คือ anterior insula ใน insular cortex, และ operculum ส่วนหน้าที่บริเวณ inferior frontal gyrus ในสมองกลีบหน้า เพราะองค์ประกอบของมัน เปลือกสมองส่วนรู้รสบางครั้งจึงเรียกในวรรณกรรมต่าง ๆ ว่า AI/FO (Anterior Insula/Frontal Operculum) โดยใช้เทคนิคการบันทึกสัญญาณนอกเซลล์ นักวิทยาศาสตร์ได้แสดงว่า นิวรอนใน AI/FO จะตอบสนองต่อรสหวาน รสเค็ม รสขม และรสเปรี้ยว และเข้ารหัสความเข้มข้นของสิ่งเร้าที่มีร.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และเปลือกสมองส่วนรู้รส · ดูเพิ่มเติม »

Mannitol salt agar

S. aureus'' (3). Mannitol salt agar หรือ MSA เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อทางด้านจุลชีววิทยา ใช้สำหรับเลี้ยงเชื้อเฉพาะกลุ่ม มีความสำคัญทางการแพทย์เพื่อใช้จำแนกเชื้อก่อโรคในช่วงเวลาสั้นๆ อาหารนี้มีเกลือ(NaCl)สูง (~7.5%-10%) ทำให้มีความเฉพาะต่อ Staphylococci (และ Micrococcaceae) เพราะระดับของ NaCl จะยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียอื่นๆ ในอาหารนี้มีแมนนิทอล และอินดิเคเตอร์ฟีนอลเร.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และMannitol salt agar · ดูเพิ่มเติม »

Trypticase soy agar

Trypticase soy agar (TSA) เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย ประกอบด้วยเคซีนและถั่วเหลืองที่ถูกย่อยด้วยเอนไซม์ซึ่งเป็นแหล่งของกรดอะมิโนและธาตุอาหารอื่นๆ มีเดกซ์โตสเป็นแหล่งคาร์บอน มีโซเดียมคลอไรด์เพื่อรักษาแรงดันออสโมติก และไดโพแทสเซียมฟอสเฟตเป็นบัฟเฟอร์ อาหารนี้อาจจะเพิ่มเลือดหรือยาปฏิชีวนะตามแต่ความต้องการในการเลี้ยงเชื้อ อาหาร 1 ลิตรประกอบไปด้วย.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และTrypticase soy agar · ดูเพิ่มเติม »

XLT agar

XLT Agar (Xylose Lysine Tergitol-4) เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อสำหรับคัดแยก Salmonellaจากตัวอย่างอาหารและตัวอย่างที่เก็บจากสิ่งแวดล้อม คล้ายกับXLD agar แต่เพิ่มสารลดแรงตึงผิว Tergitol 4 ซึ่งจะยับยั้งการเจริญของ ''Proteus'' spp. และเชื้ออื่นๆที่ไม่ใช่ salmonella Salmonella จะขึ้นเป็นโคโลนีสีแดง ตรงกลางสี XLT Agar ประกอบด้วย.

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และXLT agar · ดูเพิ่มเติม »

1 E-10 m

ำหรับการเปรียบเทียบอันดับของขนาด (อังกฤษ: orders of magnitude) หน้านี้เป็นเป็นรายชื่อความยาวที่อยู่ระหว่าง 10−10 m กับ 10−9 m (100 pm กับ 1 nm).

ใหม่!!: โซเดียมคลอไรด์และ1 E-10 m · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

NaClSodium chlorideโซเดียม คลอไรด์เกลือแกง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »