โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตรรกศาสตร์

ดัชนี ตรรกศาสตร์

ตรรกศาสตร์ (logic - มีรากศัพท์จากภาษากรีกคือ λόγος, logos) โดยทั่วไปประกอบด้วยการศึกษารูปแบบของข้อโต้แย้งอย่างเป็นระบบ ข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผลคือข้อโต้แย้งที่มีความสัมพันธ์ของการสนับสนุนเชิงตรรกะที่เฉพาะเจาะจงระหว่างข้อสมมุติพื้นฐานของข้อโต้แย้งและข้อสรุป ตรรกศาสตร์เป็นการศึกษาเชิงปรัชญาว่าด้วยการให้เหตุผล โดยมักจะเป็นส่วนสำคัญของวิชาปรัชญา คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ รวมถึงภาษาศาสตร์ ตรรกศาสตร์เป็นการตรวจสอบข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผล (valid argument) หรือการให้เหตุผลแบบผิดๆ (fallacies) ตรรกศาสตร์ เป็นการศึกษาที่มีมานานโดยมนุษยชาติที่เจริญแล้ว เช่น กรีก จีน หรืออินเดีย และถูกยกขึ้นเป็นสาขาวิชาหนึ่งโดย อริสโตเติล.

109 ความสัมพันธ์: Aชิฟต์เรจิสเตอร์บูเออร์ฟลิปฟล็อปฟังก์ชันพอยต์พีชคณิตแบบบูลกฎเดอมอร์แกนกรันต์ อัลเลนกราฟทรานสโพสการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จการอุทธรณ์โดยผลการอนุมานการอ่านใจแบบเย็นการดำเนินการ (คณิตศาสตร์)การเชื่อมเชิงตรรกศาสตร์การเรียนรู้ของเครื่องการเลือกเชิงตรรกศาสตร์การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะการเขียนโปรแกรมเชิงแข่งขันกาลามสูตรก็ต่อเมื่อภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ภาษาสันสกฤตภาษาธรรมชาติภาษาโปรล็อกมานุษยวิทยาสังคมมนุษยศาสตร์ม่อจื๊อระบบหอสมุดรัฐสภาระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์รายชื่อสาขาการศึกษาระดับปริญญาเอก (สหรัฐอเมริกา)รายการสาขาวิชารายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดลัทธิสโตอิกลุดวิจ วิทท์เกนชไตน์ลูอิส แคร์รอลวิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์วิยุตคณิตวิทยาการระบาดวิทยาศาสตร์รูปนัยวงจรรวมศิลปศาสตร์สะอ์ดีสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนสำนักงานราชบัณฑิตยสภาหลักฐานโดยเรื่องเล่าหลักสูตรหน่วยคำนวณและตรรกะ...อันเดรย์ คอลโมโกรอฟอายะตุลลอหฺอาณาจักรแห่งกาลเวลาอาเธอร์ เบนท์ลี่ย์อุปมานิทัศน์อนิยามฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจจริยธรรมทางธุรกิจจอร์จ บูลจอห์น เวนน์จำนวนธรรมชาติจำนงค์ ทองประเสริฐจิตวิทยาเชิงบวกจตุรศิลปศาสตร์ทฤษฎีบทความไม่สมบูรณ์ของเกอเดลทฤษฎีจำนวนทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์ทฤษฎีเซตทอมัส อไควนัสขั้นตอนวิธีขั้นตอนวิธีของควิน-แม็กคลัสกีย์คล็อด แชนนอนความคิดเชิงไสยศาสตร์ความเอนเอียงทางประชานคำถามแบบโสกราตีสคณิตศาสตร์คณิตตรรกศาสตร์ค่าความจริงต้นสมัยกลางซีโนปฏิทรรศน์อีกาประชานประพจน์ปรัชญาปรากฏการณ์การวางกรอบปริศนาปริศนา (นิตยสาร)ปัญญาประดิษฐ์นอสตราเดมัสนักคณิตศาสตร์นาลันทานาคารชุนะนิเสธแอลัน ทัวริงแผนภาพเวนน์โมเช วาย. วาดิโยฮันน์ เซบาสเตียน บาคโดเมนแบบบูลเชอร์ล็อก โฮมส์เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลเลขฐานสองเลโอโปลด์ โมซาร์ทเส้นเวลาของคณิตศาสตร์เหตุการณ์ไม่เกิดร่วมเหตุผลวิบัติโดยหลักฐานไม่สมบูรณ์เทอมที่ไม่สนใจเดอะซิมส์ คาถามหาสนุกเซต (แก้ความกำกวม) ขยายดัชนี (59 มากกว่า) »

A

A (ตัวใหญ่: A, ตัวเล็ก: a) คืออักษรและสระตัวแรกในอักษรละติน มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า เอ ในขณะที่หลายภาษาเช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี เรียกตามชื่อเดิมของอักษรนี้คือ อา รูปพหูพจน์เขียนเป็น A's, As, as, หรือ a's อักษร A มีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณโดยมีหลักฐานในอักษรภาพไฮโรกลิฟฟิก และมีการหยิบยืมไปใช้โดยวัฒนธรรมอื่นจนกระทั่งปัจจุบัน โดยยังคงไว้ซึ่งจุดเด่นนั่นคือ A เป็นตัวอักษรแรกของชุดตัวอักษรในภาษาเสมอ ใช้แทนเสียงสระ อา เอ หรือ แอ ที่ประกอบกับเสียงพยัญชนะ หรือใช้แทนเสียงสระอย่างเดียวก็ได้ นอกจากนั้นอักษร A ก็มีการเติมเครื่องหมายและถูกดัดแปลงไปหลายรูปแบบเพื่อการนำไปใช้เป็นอักขรวิธีในภาษาหนึ่ง.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และA · ดูเพิ่มเติม »

ชิฟต์เรจิสเตอร์

ฟต์เรจิสเตอร์ 4 บิต PISO ชิฟต์เรจิสเตอร์ (shift register) เป็นอุปกรณ์ทางลอจิกที่สร้างมาจากฟลิปฟลอปใช้เก็บข้อมูลชั่วคราวการส่งข้อมูลเข้าเรจิสเตอร์ส่งได้ทีละบิต เรจิสเตอร์ที่เก็บข้อมูลสามารถเลื่อนข้อมูลได้เราเรียกว่า เรจิสเตอร์เลื่อนข้อมูล หรือ ชิฟต์เรจิสเตอร์ ถ้านำฟลิปฟล็อปมาต่อเรียงกันจะทำให้ฟลิปฟล็อปเอาข้อมูลจาก input ไปยัง output ได้เมื่อมีสัญญาณการกระตุ้นจะเกิดการเลื่อนข้อมูลที่ละบิต ตัวเลื่อนข้อมูลจัดเป็นการนำฟลิปฟล็อปไปใช้งานได้ การเลื่อนข้อมูลจะมีลักษณะต่างกันดังนี้.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และชิฟต์เรจิสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

บูเออร์

ูเออร์ ในปิศาจวิทยา บูเออร์(Buer)เป็นประธานแห่งนรกผู้มีอสูรใต้บังคับบัญชา 50 กองและเป็นปิศาจตนที่ 10 ในบท อาร์สโกเอเทีย จากหนังสือกุญแจย่อยของโซโลมอน ตำรา Pseudomonarchia Daemonum ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ระบุว่าบูเออร์มีอำนาจในช่วงราศีธนู บูเออร์สามารถสอนผู้อัญเชิญด้านปรัชญาและตรรกศาสตร์เกี่ยวกับศีลธรรมและธรรมชาติ รวมถึงเรื่องของสมุนไพรต่างๆได้ บูเออร์ยังสามารถรักษาอาการร่างกายอ่อนแอและมอบวิญญาณรับใช้ให้ผู้อัญเชิญได้ ลักษณะของบูเออร์นั้นเป็นเซนทอร์ถือธนูและลูกศรซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของราศีธนู แต่ตำราบางเล่มก็กล่าวว่าบูเออร์มีหัวเป็นสิงโตและมีขาเป็นแพะห้าข้างรอบๆตัวซึ่งทำให้บูเออร์สามารถเดินได้ทุกทิศทาง แม้ว่าต้นกำเนิดของชื่อบูเออร์จะไม่ชัดเจนนัก แต่ในสมัยโบราณก็เคยมีเมืองชื่อ บูเออร์ อยู่ในประเทศเยอรมันด้วย (ปัจจุบันคือเมือง Gelsenkirchen).

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และบูเออร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟลิปฟล็อป

''R1, R2''.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และฟลิปฟล็อป · ดูเพิ่มเติม »

ฟังก์ชันพอยต์

ฟังก์ชันฟอยต์ เป็นหน่วยวัด (Measurement) เพื่อแสดงถึงจำนวนฟังก์ชันเชิง ธุรกิจที่ระบบสารสนเทศสามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ได้ ฟังก์ชันฟอยต์ นั้นเป็นหน่วย ที่ใช้โดยวิธีการวัดขนาดฟังก์ชันของกลุ่มผู้ใช้ฟังก์ชันพอยต์สากล (International Function Point Users Group Functional Size Measurement: IFPUG FSM) วิธีการ IFPUG FSM นี้ได้รับการยอมรับจากISO ให้เป็นหนึ่งในตัววัดซอฟต์แวร์ (Software Metric) เพื่อระบุขนาดของระบบสารสนเทศโดยใช้ฟังก์ชันที่ผู้ใช้ได้รับเป็นพื้นฐาน และเป็นอิสระจากเทคโนโลยีที่สร้างผลลัพธ์ (implement) ของระบบสารสนเทศนั้น.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และฟังก์ชันพอยต์ · ดูเพิ่มเติม »

พีชคณิตแบบบูล

ในคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ พีชคณิตแบบบูล, พีชคณิตบูลีน หรือ แลตทิซแบบบูล (Boolean algebra) คือโครงสร้างเชิงพีชคณิตซึ่งเป็นการรวบรวมแก่นความหมายของการดำเนินการทางตรรกศาสตร์และทฤษฎีเซต โดยชื่อพีชคณิตแบบบูลนั้นตั้งตามจอร์จ บูล ผู้พัฒนาพีชคณิตแบบนี้.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และพีชคณิตแบบบูล · ดูเพิ่มเติม »

กฎเดอมอร์แกน

กฎเดอมอร์แกนหรือกฎของเดอมอร์กอง(อ่านตามภาษาฝรั่งเศส) (De Morgan's laws) หรือ ทฤษฎีบทเดอมอร์แกน (De Morgan's theorem) เป็นกฎในวิชาตรรกศาสตร์ คือ ชุดของกฎในสาขาตรรกศาสตร์รูปนัยซึ่งแสดงความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบระหว่างคู่ของตัวดำเนินการเชิงตรรกที่คู่กัน โดยแสดงในรูปนิเสธ ความสัมพันธ์เช่นนี้เรียกว่าภาวะคู่กันเดอมอร์แกน (De Morgan duality) กฎนี้แสดงว่าประพจน์ทางซ้ายมือต่อไปนี้แต่ละตัวสมมูลเชิงตรรกกับประพจน์ทางขวามือที่คู่กัน และเราสามารถแปลงประพจน์จากข้างหนึ่งไปเป็นอีกข้างหนึ่งได้ ไม่ว่าในทิศทางใดก็ตาม.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และกฎเดอมอร์แกน · ดูเพิ่มเติม »

กรันต์ อัลเลน

Charles Grant Blairfindie Allen ชาร์ลส์ กรันต์ แบลร์ฟินดี อัลเลน (Charles Grant Blairfindie Allen) (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2390 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2422) เกิดในแคนาดา แต่ไปเรียนหนังสือในสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และอังกฤษ เมื่ออายุ 25 ปี เขาไปเป็นอาจารย์สอนวิชาตรรกศาสตร์ (รวมทั้งปรัชญา จริยศาสตร์ ภาษาละตินและภาษากรีก) ในมหาวิทยาลัยในจาไมกาอยู่สองสามปี จากนั้นก็กลับยุโรป เขาแต่งงานใหม่ และใช้ชีวิตในแคว้นเคนต์ ประเทศอังกฤษ ส่วนในหน้าหนาวจะไปอยู่ในบ้านทางตอนใต้ของฝรั่งเศส นักเขียนยุควิกตอเรียซึ่งผลิตงานมากมายหลากหลายผู้นี้ เคยเขียนเพื่อเงินถ่ายเดียวไว้หลายเรื่อง (โดยมากเป็นนวนิยายสืบสวนและเขียนโดยใช้นามปากกา) รวมถึงหนังสือท่องเที่ยวอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อตอบสนองความอยากเขียนความเรียงในประเด็นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และแสดงความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดอเทวนิยม รวมทั้งสนับสนุนลัทธิเสรีนิยม ในทศวรรษ 1890 เขากลายเป็นที่รู้จักไปทั่วจากหนังสือ The woman who did เรื่องราวของหญิงหัวสมัยใหม่ผู้พึ่งตนเองได้ และมีลูกโดยไม่ได้แต่งงาน.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และกรันต์ อัลเลน · ดูเพิ่มเติม »

กราฟทรานสโพส

ในทฤษฎีกราฟ กราฟทรานสโพส (transpose graph หรือ converse graph หรือ reverse graph) ของกราฟระบุทิศทาง G คือกราฟระบุทิศทางที่มีจุดยอดเช่นเดียวกับ G แต่เส้นเชื่อมทั้งหมดได้ถูกกลับทิศทาง กล่าวคือ หากกราฟ G มีเส้นเชื่อม (u,v) แล้ว กราฟทราสโพสของ G จะมีเส้นเชื่อม (v,u) แทน.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และกราฟทรานสโพส · ดูเพิ่มเติม »

การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม

การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy ตัวย่อ CBT) เป็นรูปแบบหนึ่งของจิตบำบัด (psychotherapy) ซึ่งดั้งเดิมออกแบบเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า แต่ปัจจุบันใช้รักษาความผิดปกติทางจิตอย่างอื่น ๆ ด้วย ซึ่งมีประสิทธิผลโดยแก้ปัญหาปัจจุบันและเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่ไร้ประโยชน์ ชื่อของวิธีบำบัดอ้างอิงถึงการบำบัดชนิดต่าง ๆ รวมทั้งการบำบัดพฤติกรรม (behavior therapy) การบำบัดความคิด (cognitive therapy) และการบำบัดที่รวมหลักต่าง ๆ ในการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและจิตวิทยาประชาน ผู้บำบัดคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า จะใช้วิธีที่รวมการบัดบัดทั้งทางพฤติกรรมและทางความคิด เป็นเทคนิคที่ยอมรับความจริงว่า อาจมีพฤติกรรมที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยความคิดที่สมเหตุผล เพราะเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการปรับสภาวะ (conditioning) ในอดีตต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งเร้าทั้งภายในภายนอก เป็นเทคนิคที่เพ่งความสนใจไปที่ปัญหาโดยเฉพาะ ๆ และช่วยคนไข้ให้เลือกกลยุทธ์ในการรับมือปัญหาเหล่านั้น ซึ่งต่างจากวิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ ที่ผู้รักษาจะสืบหาความหมายใต้สำนึกของพฤติกรรมของคนไข้เพื่อจะวินิจฉัยปัญหา คือ ในการบำบัดแบบพฤติกรรม ผู้รักษาเชื่อว่า ความผิดปกติที่มี เช่นความซึมเศร้า เกิดเนื่องมาจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่กลัวกับการตอบสนองแบบหลีกเลี่ยง ซึ่งมีผลเป็นความกลัวที่มีเงื่อนไข เหมือนดังในการปรับสภาวะแบบดั้งเดิม (Classical Conditioning) และในการบำบัดความคิด ผู้รักษาเชื่อว่า ตัวความคิดเอง จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคล ดังนั้น การบำบัดสองอย่างหลังนี้จึงรวมกันเป็น CBT CBT มีประสิทธิผลต่อความผิดปกติหลายอย่างรวมทั้งความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) โรควิตกกังวล ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติของการรับประทาน (Eating disorder) การติดสิ่งต่าง ๆ (addiction) การใช้สารเสพติด (substance dependence) ความผิดปกติที่มีอาการกล้ามเนื้อกระตุก (Tic disorder) และ psychotic disorder (รวมทั้งโรคจิตเภทและโรคหลงผิด) โปรแกรมการบำบัดแบบ CBT ได้รับประเมินสัมพันธ์กับการวินิจฉัยอาการ และปรากฏว่า มีผลดีกว่าวิธีการอื่น ๆ เช่น การบำบัดแบบ psychodynamic แต่ว่าก็มีนักวิจัยที่ตั้งความสงสัยในความสมเหตุสมผลของข้ออ้างว่ามีผลดีกว่าวิธีการอื่น ๆ การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ยุคที่เน้นการปรับพฤติกรรมเป็นหลัก ผู้ที่ถือเป็นบิดาแห่งการบำบัดในรูปแบบที่เข้าใจและนิยมใช้ที่สุดในปัจจุบันคือ.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ

สมมติฐานว่า "หงส์ทั้งหมดมีสีขาว" จะพิสูจน์ว่าจริงได้อย่างไร? พิสูจน์ว่าเท็จได้หรือไม่? การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ หรือ การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ (falsifiability, refutability) ของประพจน์ (บทความ, ข้อเสนอ) ของสมมติฐาน หรือของทฤษฎี ก็คือความเป็นไปได้โดยธรรมชาติที่จะพิสูจน์ว่ามันเป็นเท็จได้ ประพจน์เรียกว่า "พิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้" ถ้าเป็นไปได้ที่จะทำการสังเกตการณ์หรือให้เหตุผลที่คัดค้านลบล้างประพจน์นั้นได้ ยกตัวอย่างเช่น เพราะปัญหาของการอุปนัย (วิธีการใช้เหตุผลที่ดำเนินจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม) ไม่ว่าจะมีจำนวนการสังเกตการณ์เท่าไร ก็จะไม่สามารถพิสูจน์การกล่าวโดยทั่วไปได้ว่า "หงส์ทั้งหมดมีสีขาว" แต่ว่า มันเป็นไปได้โดยตรรกะหรือโดยเหตุผลที่จะพิสูจน์ว่าเท็จ เพียงโดยสังเกตเห็นหงส์ดำตัวเดียว ดังนั้น คำว่า "พิสูจน์ว่าเท็จได้" บางที่ใช้เป็นไวพจน์ของคำว่า "ตรวจสอบได้" (testability) แต่ว่าก็มีบางประพจน์ เช่น "ฝนมันจะตกที่นี่อีกล้านปี" ที่พิสูจน์ว่าเท็จได้โดยหลัก แต่ว่าทำไม่ได้โดยปฏิบัติ เรื่องการพิสูจน์ว่าเท็จได้กลายเป็นจุดสนใจเพราะคตินิยมทางญาณวิทยาที่เรียกว่า "falsificationism" (คตินิยมพิสูจน์ว่าเท็จ) ของนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ-อเมริกัน.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ · ดูเพิ่มเติม »

การอุทธรณ์โดยผล

การอุทธรณ์โดยผล"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ appeal ว่า "การอุทธรณ์" (Appeal to consequences, argumentum ad consequentiam, คำละตินแปลว่า การให้เหตุผลโดยผลที่จะเกิดขึ้น) เป็นการให้เหตุผลที่สรุปว่าสมมติฐาน (โดยทั่ว ๆ ไปเป็นความเชื่อ) เป็นจริงหรือไม่จริง อาศัยเพียงว่าประเด็นที่ตั้งขึ้นจะนำไปสู่ผลที่น่าพึงใจหรือไม่น่าพึงใจ การให้เหตุผลเช่นนี้อาศัย การอุทธรณ์โดยอารมณ์ (appeal to emotion) และเป็นเหตุผลวิบัติชนิดหนึ่ง เพราะว่า ความน่าพึงใจของผลไม่ได้ทำให้เหตุผลนั้นเป็นจริง นอกจากนั้นแล้ว เพราะมีการจำแนกว่า ผลนั้นน่าพึงใจหรือไม่น่าพึงใจ การให้เหตุผลเช่นนี้จะมีมุมมองที่เป็นอัตวิสัยโดยธรรมชาติ คือเป็นจริงสำหรับบางบุคคลเท่านั้น (เทียบกับเหตุผลที่ควรจะเป็นปรวิสัย คือเป็นความจริงกับทุก ๆ คน).

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และการอุทธรณ์โดยผล · ดูเพิ่มเติม »

การอนุมาน

การอนุมาน (inference) เป็นการคาดคะเนตามหลักเหตุผล ที่แบ่งออกเป็นแบบหลัก ๆ 3 อย่างคือ.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และการอนุมาน · ดูเพิ่มเติม »

การอ่านใจแบบเย็น

การอ่านใจแบบเย็น (Cold reading) เป็นเทคนิคที่ใช้โดยบุคคลต่าง ๆ รวมทั้งผู้อ้างว่าตนมีอำนาจเหนือธรรมชาติ เช่นผู้มีอำนาจทางจิตวิญญาณ (psychic) ผู้ทำนายอนาคต และสื่อวิญญาณ รวมทั้งนักแสดงเช่นนักมายากล คือโดยที่ไม่ได้รู้อะไรล่วงหน้ามาก่อน ผู้ใช้เทคนิคนี้สามารถได้ข้อมูลเป็นจำนวนมากโดยวิเคราะห์สีหน้า อากัปกิริยา ท่าทาง อายุ เสื้อผ้า แฟชั่น ทรงผม เพศ รสนิยมทางเพศ ศาสนา เชื้อชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ ระดับการศึกษา วิธีสำเนียงการพูด แหล่งกำเนิด ฯลฯ เทคนิคนี้มักจะเริ่มด้วยการเดาที่มีโอกาสถูกสูง แล้วตรวจดูปฏิกิริยาว่าอยู่ในแนวที่ถูกต้องหรือไม่ หลังจากนั้นจึงกล่าวเน้นให้ความสำคัญกับเรื่องที่ถูกโดยบังเอิญ โดยไม่ใส่ใจผ่านเรื่องที่เดาไม่ถูกไป.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และการอ่านใจแบบเย็น · ดูเพิ่มเติม »

การดำเนินการ (คณิตศาสตร์)

การดำเนินการ (Operation) ในทางคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ หมายถึง การกระทำหรือลำดับขั้นตอนซึ่งสร้างค่าใหม่ขึ้นเป็นผลลัพธ์ โดยการรับค่าเข้าไปหนึ่งตัวหรือมากกว่า การดำเนินการสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ การดำเนินการเอกภาคและการดำเนินการทวิภาค การดำเนินการเอกภาคจะใช้ค่าที่ป้อนเข้าไปเพียงหนึ่งค่าเช่น นิเสธ ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ส่วนการดำเนินการทวิภาคจะใช้สองค่าเช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร การยกกำลัง การดำเนินการสามารถเกี่ยวข้องกับวัตถุทางคณิตศาสตร์อย่างอื่นที่นอกเหนือจากจำนวนก็ได้ ตัวอย่างเช่น ค่าเชิงตรรกะ จริง และ เท็จ สามารถใช้กับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์อย่าง and, or, not; เวกเตอร์สามารถบวกและลบกันได้; ฟังก์ชันประกอบสามารถใช้เป็นการหมุนของวัตถุหลาย ๆ ครั้งได้; การดำเนินการของเซตมีทั้งแบบทวิภาคคือยูเนียน อินเตอร์เซกชัน และแบบเอกภาคคือคอมพลีเมนต์ เป็นต้น การดำเนินการบางอย่างอาจไม่สามารถนิยามได้บนทุก ๆ ค่าที่เป็นไปได้ เช่น ในจำนวนจริง เราจะไม่สามารถหารด้วยศูนย์หรือถอดรากที่สองจากจำนวนลบ ค่าเริ่มต้นสำหรับการดำเนินการได้นิยามมาจากเซตเซตหนึ่งที่เรียกว่าโดเมน และเซตที่เป็นผลลัพธ์เรียกว่าโคโดเมน แต่ค่าที่แท้จริงที่เกิดจากการดำเนินการนั้นอาจออกมาเป็นเรนจ์ อาทิการถอดรากที่สองในจำนวนจริงจะให้ผลลัพธ์เพียงจำนวนที่ไม่เป็นลบ ดังนั้นโคโดเมนคือเซตของจำนวนจริง แต่เรนจ์คือเซตของจำนวนที่ไม่เป็นลบเท่านั้น การดำเนินการอาจเกี่ยวข้องกับวัตถุสองชนิดที่ต่างกันก็ได้ ตัวอย่างเช่น เราสามารถคูณเวกเตอร์ด้วยปริมาณสเกลาร์เพื่อเปลี่ยนขนาดของเวกเตอร์ และผลคูณภายใน (inner product) ของสองเวกเตอร์จะให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นสเกลาร์ การดำเนินการหนึ่ง ๆ อาจจะมีหรือไม่มีสมบัติบางอย่าง เช่นสมบัติการเปลี่ยนกลุ่ม การสลับที่ และอื่น ๆ ค่าที่ใส่เข้ามาในการดำเนินการอาจเรียกว่า ตัวถูกดำเนินการ, อาร์กิวเมนต์, ค่ารับเข้า ส่วนค่าที่ได้ออกไปจากการดำเนินการเรียกว่า ค่า, ผลลัพธ์, ค่าส่งออก การดำเนินการสามารถมีตัวถูกดำเนินการหนึ่งค่า สองค่า หรือมากกว่าก็ได้ การดำเนินการนั้นคล้ายกับตัวดำเนินการแต่ต่างกันที่มุมมอง ตัวอย่างเช่น หากใครคนหนึ่งกล่าวว่า "การดำเนินการของการบวก" จะเป็นการเน้นจุดสนใจไปที่ตัวถูกดำเนินการและผลลัพธ์ ในขณะที่อีกคนหนึ่งกล่าวว่า "ตัวดำเนินการของการบวก" จะเป็นการมุ่งประเด็นไปที่กระบวนการที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ หรือหมายถึงฟังก์ชัน +: S × S → S ซึ่งเป็นมุมมองนามธรรม.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และการดำเนินการ (คณิตศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

การเชื่อมเชิงตรรกศาสตร์

การเชื่อมเชิงตรรกศาสตร์ (logical conjunction) หรือที่มักเรียกว่า และ (and) คือตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ที่ให้ผลลัพธ์เป็นจริง ถ้าตัวถูกดำเนินการทั้งสองตัวมีค่าเป็นจริง.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และการเชื่อมเชิงตรรกศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การเรียนรู้ของเครื่อง

การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) เป็นสาขาหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนามาจากการศึกษาการรู้จำแบบ เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการสร้างอัลกอริทึมที่สามารถเรียนรู้ข้อมูลและทำนายข้อมูลได้ อัลกอริทึมนั้นจะทำงานโดยอาศัยโมเดลที่สร้างมาจากชุดข้อมูลตัวอย่างขาเข้าเพื่อการทำนายหรือตัดสินใจในภายหลัง แทนที่จะทำงานตามลำดับของคำสั่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเรียนรู้ของเครื่องมีเกี่ยวข้องอย่างมากกับสถิติศาสตร์ เนื่องจากทั้งสองสาขาศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการทำนายเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับสาขาการหาค่าเหมาะที่สุดในทางคณิตศาสตร์ที่แงของวิธีการ ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ การเรียนรู้ของเครื่องสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหมาย ไม่ว่าจะเป็นการกรองอีเมล์ขยะ การรู้จำตัวอักษร เครื่องมือค้นหา และคอมพิวเตอร์วิทัศน.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และการเรียนรู้ของเครื่อง · ดูเพิ่มเติม »

การเลือกเชิงตรรกศาสตร์

การเลือกเชิงตรรกศาสตร์ (logical disjunction) หรือที่มักเรียกว่า หรือ คือตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ที่ให้ผลลัพธ์เป็นจริง ถ้าตัวถูกดำเนินการบางตัว (หรือทั้งสองตัว) มีค่าเป็นจริง.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และการเลือกเชิงตรรกศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ

การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ (Logic programming) เป็นแนวทางการเขียนโปรแกรม (programming paradigm) แบบหนึ่ง โดยกำหนดเซตคุณลักษณะ (attribute) ของคำตอบ แทนที่จะกำหนดขั้นตอนที่ทำให้ได้คำตอบ ภาษาโปรแกรมสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะที่ใช้อย่างกว้างขวาง คือ ภาษาโปรล็อก (Prolog) อีกภาษาหนึ่งที่ใช้ในเชิงการค้า คือ ภาษาเมอร์คิวรี (Mercury) การเขียนโปรแกรมแบบนี้มีหลักการคือ ความจริง + ก.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ · ดูเพิ่มเติม »

การเขียนโปรแกรมเชิงแข่งขัน

การเขียนโปรแกรมเชิงแข่งขัน เป็นการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ไขโจทย์ปัญหาทางตรรกะหรือคณิตศาสตร์ภายใต้ข้อจำกัดบางอย่างเพื่อให้ได้คำตอบออกมา โจทย์ปัญหาส่วนใหญ่จะมีคำตอบที่แน่นอนอยู่แล้ว การเขียนโปรแกรมนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการนำโปรแกรมมาใช้งานจริง แต่เป็นการเขียนเพื่อความสนุกและวัดทักษะในการแก้ไขปัญหา อาจถือได้ว่าเป็นกีฬาความคิดรูปแบบหนึ่ง โดยมากแล้วการเขียนโปรแกรมเชิงแข่งขันจะมีขึ้นในการแข่งขันเขียนโปรแกรมซึ่งส่วนใหญ่จะจัดขึ้นผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือไม่ก็เครือข่ายท้องถิ่น และมักจะมีบริษัทซอฟต์แวร์และอินเทอร์เน็ตเป็นผู้สนับสนุน เช่น กูเกิล เฟซบุ๊ก และไอบีเอ็ม การตัดสินผลโดยทั่วไปจะดูที่จำนวนโจทย์ที่ทำได้กับเวลาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมรวมทั้งหมด และอาจจะมีปัจจัยอื่น ๆ ที่นำมาพิจารณาด้วย เช่น ขนาดของโปรแกรม เวลาในการทำงานของโปรแกรม หรือการเทียบคำตอบกันระหว่างผู้เข้าแข่งขันด้วยกันเอง.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และการเขียนโปรแกรมเชิงแข่งขัน · ดูเพิ่มเติม »

กาลามสูตร

กาลามสูตร (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตตสูตร) คือ พระสูตรที่พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และกาลามสูตร · ดูเพิ่มเติม »

ก็ต่อเมื่อ

↔ ⇔ ≡ สัญลักษณ์ทางตรรกศาสตร์สำหรับแทนก็ต่อเมื่อ ในวิชาตรรกศาสตร์และวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น คณิตศาสตร์และปรัชญา ก็ต่อเมื่อเป็นตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์แบบเงื่อนไขสองทางระหว่างประพจน์ เพราะว่าก็ต่อเมื่อเป็นเงื่อนไขสองทาง ตัวเชื่อมนี้สามารถเปรียบเทียบกับเงื่อนไขเชิงตรรกศาสตร์มาตรฐาน ชื่อภาษาอังกฤษของตัวเชื่อมนี้คือ if and only if มาจาก "only if" ซึ่งเท่ากับ "ถ้...

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และก็ต่อเมื่อ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์

ษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ หรือ ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ (computational linguistics) เป็นสหวิทยาการที่ว่าด้วยการสร้างแบบจำลองเชิงตรรกะของภาษาธรรมชาติ จากมุมมองในเชิงคำนวณ แบบจำลองนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในสาขาในสาขาหนึ่งของภาษาศาสตร์ เดิมทีเดียว นักภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์มักจะเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language) แต่งานวิจัยในช่วงหลัง ได้แสดงให้เห็นว่า ภาษานั้นซับซ้อนเกินกว่าที่คาดคิดไว้ ดังนั้นกลุ่มศึกษาภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์จึงกลายสภาพเป็นกลุ่มสหวิทยาการไป โดยจะต้องมีอย่างน้อยหนึ่งคนที่เป็นนักภาษาศาสตร์​ (นั่นคือ ฝึกฝนมาทางด้านภาษาศาสตร์โดยเฉพาะ) ส่วนคนอื่น ๆ อาจจะเชี่ยวชาญในสาขา วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ จิตวิทยาปริชาน (en:cognitive psychology) ตรรกวิทยา และอื่น.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาธรรมชาติ

คำว่า ภาษาธรรมชาติ (natural language) นั้น ใช้เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างภาษาทั่ว ๆ ไปที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเพื่อการสื่อสาร เช่น ภาษามนุษย์ ออกจากภาษาที่ถูกสร้างขึ้นอย่าง เช่น ภาษาโปรแกรมสำหรับสั่งงานคอมพิวเตอร์ หรือภาษาที่ใช้ในการศึกษาตรรกะ หมวดหมู่:ปรัชญาตรรกศาสตร์ หมวดหมู่:ภาษาศาสตร์.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และภาษาธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโปรล็อก

ษาโปรล็อก (Prolog) เป็นภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ ได้ชื่อมาจาก PROgrammation en LOGique (logic programming) สร้างขึ้นโดย Alain Colmerauer ราว ค.ศ. 1972 ภาษาโปรล็อกเกิดจากความพยายามที่จะสร้างภาษาที่อาศัยวิธีการทางตรรกศาสตร์แทนที่จะกำหนดคำสั่งอย่างละเอียดให้กับคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรล็อกถูกนำไปใช้ในโปรแกรมสำหรับปัญญาประดิษฐ์ และภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ (computational linguistics) โดยเฉพาะการประมวลผลภาษาธรรมชาติ ไวยากรณ์และความหมายของภาษานั้นเรียบง่ายและชัดเจน (เป้าหมายแรกของภาษาคือเป็นเครื่องมือสำหรับนักภาษาศาสตร์ที่ไม่รู้คอมพิวเตอร์) งานวิจัยจำนวนมากที่ทำให้เกิดการพัฒนาภาษาโปรล็อกในปัจจุบันนั้น เป็นผลมาจากโครงการระบบคอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า (fifth generation computer systems project - FGCS) ซึ่งเลือกรูปแบบหนึ่งของภาษาโปรล็อกเป็นภาษาแก่น (Kernel Language) ของระบบปฏิบัติการ ภาษาโปรล็อกมีพื้นฐานมาจากแคลคูลัสภาคแสดง (predicate calculus) หรือเรียกเต็ม ๆ ว่า แคลคูลัสภาคแสดงอันดับที่หนึ่ง (first-order predicate calculus) โดยจำกัดให้ใช้เฉพาะอนุประโยคของฮอร์น (Horn clause) การดำเนินการของโปรแกรมโปรล็อก ก็คือการประยุกต์วิธีพิสูจน์ทฤษฎีบทโดยใช้รีโซลูชันอันดับหนึ่ง (first-order resolution) แนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องได้แก่ การทำให้เท่ากัน (unification), การเรียกซ้ำจากส่วนท้าย (tail recursion), การย้อนรอย (backtracking).

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และภาษาโปรล็อก · ดูเพิ่มเติม »

มานุษยวิทยาสังคม

มานุษยวิทยาสังคม เป็นสาขาหนึ่งของวิชามานุษยวิทยาว่าด้วยการศึกษาว่ามนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันประพฤติปฏิบัติตนอย่างไรในกลุ่มของสังคม.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และมานุษยวิทยาสังคม · ดูเพิ่มเติม »

มนุษยศาสตร์

นักปรัชญาเพลโต มนุษยศาสตร์ (humanities) เป็นกลุ่มของสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการศึกษาสภาวะแห่งมนุษย์โดยส่วนใหญ่ใช้กรรมวิธีเชิงวิเคราะห์, วิจารณญาณ หรือการคาดการณ์ซึ่งแตกต่างจากการเข้าสู่ปัญหาด้วยกรรมวิธีเชิงประจักษ์ด้วยธรรมชาติ, สังคมศาสตร์ โดยธรรมเนียมทั่วไปมนุษยศาสตร์รวมถึงสาขาวิชาภาษาศาสตร์โบราณและภาษาศาสตร์สมัยใหม่, วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา ทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง และดนตรี บางครั้งมีการรวมเอาสาขาวิชาอื่นเพิ่มเข้าไปด้วย ได้แก่ มานุษยวิทยา ภูมิภาคศึกษา การสื่อสารและวัฒนธรรมศึกษา แม้ว่าสาขาวิชาเหล่านี้มักถูกจัดไว้ในสาขาสังคมศาสตร์ นักวิชาการที่อยู่ในสายของสาขาวิชานี้ บางครั้งอาจเรียกตนเองว่าเป็น "นักมนุษยนิยม" อย่างไรก็ตามคำดังกล่าวก็ได้ใช้เรียกนักปรัชญาสาขามนุษยนิยมแต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรั.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และมนุษยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ม่อจื๊อ

ม่อจื๊อ (พ.ศ. 74-พ.ศ. 153) เป็นนักปรัชญาชาวจีน นับได้ว่าเป็นคู่แข่งผู้หนึ่งของขงจื๊อ หลักคำสอนของม่อจื๊ออยู่ในหนังสือที่มีชื่อเดียวกับชื่อของเขา คือ ม่อจื๊อ ประกอบด้วยข้อเขียน 53 บท เป็นทั้งข้อเขียนของเขาเองและที่สานุศิษย์ช่วยกันเรียบเรียงต่อเติม และมามีอิทธิพลเหนือชาวจีนหลังจากที่เขาตายไปแล้วประมาณ 500 ปี ม่อจื๊อ มีชื่อจริงว่า มั่ว ตี๋ (墨翟) สถานที่เกิดไม่แน่นอน บ้างก็ว่ามาจากแคว้นสุ้ง (ปัจจุบันอยูระหว่างมณฑลเหอหนานและมณฑลซานตง) บ้างก็ว่ามาจากแคว้นเดียวกับขงจื๊อ คือมาจากแคว้นหลู่ แนวความคิดของม่อจื๊อเป็นปฏิปักษ์อย่างรุนแรงต่อแนวความคิดของขงจื๊ออย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าความต้องการที่เหมือนกันคือ เพื่อปรับปรุงให้สังคมดีขึ้น แต่ม่อจื๊อไม่นิยมวิธีการของขงจื๊อ โดยโจมตีว่า "เป็นวิธีการที่ไม่ได้ผลและเสียเวลา" ม่อจื๊อเน้นถึง ประโยชน์และความใช้ได้ของขนบธรรมเนียมประเพณีมากกว่าจะต้องยึดถือตามขงจื๊อทั้งหมด เชื่อในความเป็นไปของโลกหน้า สนับสนุนให้มนุษย์มีความรักซึ่งกันและกัน เขาเชื่อว่าความรักโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ วรรณะ ชนชั้น หรือความยากดีมีจน ประณามการทำสงคราม ความแตกต่างระหว่างแนวความคิดของขงจื๊อกับม่อจื๊อนี้ ทำให้ขงจื๊อได้รับขนานนามว่า "เป็นนักประมวลขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีมาใช้" แต่ม่อจื๊อเป็น "นักวิจารณ์ นักติชม" นอกจากนี้ม่อจื๊อยังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำความรู้ทางด้านตรรกวิทยาเข้ามาใช้ในจีนเป็นคนแรก เกี่ยวกับตำแหน่งผู้ปกครองม่อจื๊อมีความเห็นว่า "ผู้ปกครองควรได้ตำแหน่งเพราะความดีและความสามารถส่วนตัวมากกว่าได้มาโดยการสืบตำแหน่ง ถ้าผู้ปกครองไม่มีความสามารถก็ควรจะยกตำแหน่งนี้ให้ที่ปรึกษาจะดีกว่า".

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และม่อจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบหอสมุดรัฐสภา

ระบบหอสมุดรัฐสภา (Library of Congress Classification, ย่อ: LCC) เป็นระบบการจัดหมู่ของห้องสมุดที่หอสมุดรัฐสภาพัฒนาขึ้น หอสมุดวิจัยและวิชาการส่วนมากในสหรัฐและอีกหลายประเทศใช้ระบบดังกล่าว ในประเทศเหล่านี้ ห้องสมุดสาธารณะส่วนมากและห้องสมุดวิชาการขนาดเล็กยังใช้การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ที่เก่ากว่า เฮอร์เบิร์ต พัทนัม (Herbert Putnum) ประดิษฐ์การจำแนกนี้ใน..

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และระบบหอสมุดรัฐสภา · ดูเพิ่มเติม »

ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์

ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ (scientific method) หรือ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (scientific process) เป็นหลักการพื้นฐานของการตรวจสอบและเสาะหาความรู้ใหม่แบบวิทยาศาสตร์ ที่ใช้หลักฐานทางกายภาพ นักวิทยาศาสตร์เสนอความเชื่อใหม่เกี่ยวกับโลกในรูปของทฤษฎีที่ผ่านขั้นตอนของ การสังเกต, การตั้งสมมติฐาน, และการอนุมาน ผลการทำนายของทฤษฎีเหล่านี้จะถูกทดสอบด้วยการทดลอง ถ้าผลการทำนายนั้นถูกต้องหรือสอดคล้องกับการทดลอง ทฤษฎีดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ ทฤษฎีที่ความน่าเชื่อถือจะถูกนำไปทดลองซ้ำเพื่อยืนยันความถูกต้องเพิ่มเติม ระเบียบวิธีนี้ถูกจัดให้เป็นตรรกะสำคัญของธรรมเนียมปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ โดยสาระสำคัญนั้นระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์คือวิธีการที่รอบคอบมาก สำหรับสร้างความเข้าใจ ที่มีหลักฐานและยืนยันได้เกี่ยวกับโลก.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสาขาการศึกษาระดับปริญญาเอก (สหรัฐอเมริกา)

รายชื่อสาขาการศึกษาระดับปริญญาเอก (List of fields of doctoral studies) นี้จัดทำขึ้นโดย "ศูนย์วิจัยความเห็นแห่งชาติ" (Opinion Research Center หรือ NORC) ที่ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกาจากการสำรวจปริญญาเอกที่มีผู้จบการศึกษารายปี โดยจัดทำให้กับมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และหน่วยงานของรัฐบาลกลางอีกหลายหน่วยงานในสหรัฐฯ ทั้งหมดนี้คือสายวิชาการศึกษาระดับปริญญาเอกที่เน้นการวิจัยที่มุ่งสู่ปริญญาดุษฎีบัณฑิตปรัชญา (Doctor of Philosophy หรือ Ph.D.) และการศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Education Ed.D 1หรือ D.Ed) ที่เปิดสอนในสหรัฐฯ ซึ่งในปีการศึกษา 2547-2548 พบว่าร้อยละ 90.3 ของปริญญาเอกที่เน้นการวิจัยจำนวน 43,354 ปริญญาในสหรัฐฯ ปริญญาเป็น Ph.D. และร้อยละ 7.0 เป็น Ed.D. การศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิชาชีพ (professional doctorates) เช่น แพทยศาสตร์ (Doctor of Medicine - M.D.) และปริญญาเอกด้านกฎหมาย (Juris Doctor - J.D.) ไม่นับรวมในรายชื่อนี้.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และรายชื่อสาขาการศึกษาระดับปริญญาเอก (สหรัฐอเมริกา) · ดูเพิ่มเติม »

รายการสาขาวิชา

รายชื่อสาขาวิชา หรือ สาขาการศึกษา (Field of study) หมายถึงสาขาความรู้ หรือ การวิจัยที่เปิดสอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คำว่า สาขาวิชา ได้รับการนิยามและยอมรับโดย วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และโดยสมาคมผู้รู้ (learned societies) และโดยภาควิชาหรือคณะวิชาที่บุคคลผู้อยู่ในสาขาวิชานั้นๆ สังกัด โดยปกติ สาขาการศึกษาต่างๆ มักมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชาแตกออกไป เส้นแบ่งระหว่างสาขาย่อยมักยังมีความคลุมเครือและมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ในยุโรปสมัยกลางซึ่งขณะนั้นยังมีการแบ่งคณะวิชาออกเป็น 4 คณะหรือสายวิชา ได้แก่เทววิทยา การแพทย์ ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และศิลปะ โดยคณะวิชาหลังมีสถานะไม่สูงเท่า 3 สาขาแรก การแบ่งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสมัยนั้นมีรากสืบทอดมาจากขบวนการแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร (Secularization) ของมหาวิทยาลัยซึ่งเกิดขึ้นราวสมัยกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2390 - พ.ศ. 2440) โดยได้เพิ่มวิชาภาษาศาสตร์ที่ไม่ใช่คลาสสิก วรรณคดี และวิชาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและวิศวกรรมศาสตร์เสริมเข้าไปในหลักสูตรแบบประเพณีโบราณ ในต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2475) ได้มีการเพิ่มสาขาวิชาใหม่ๆ เช่น การศึกษา สังคมวิทยา และจิตวิทยา ในมหาวิทยาลัยต่างๆ และในช่วงประมาณ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2523) ได้เกิดปรากฏการณ์ "การระเบิด" ของสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เน้นเนื้อหาเฉพาะเจาะจง เช่น สื่อศึกษา สตรีศึกษา และชนผิวดำศึกษา สาขาใหม่ๆ เหล่านี้จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับอาชีพและวิชาชีพต่างๆ เช่น การพยาบาล การจัดการโรงพยาบาล การราชทัณฑ์ และหลังสุดก็ได้เห็นสาขาวิชาที่เป็นลักษณะ "สหสาขาวิชา" เช่น ชีวเคมี และ ธรณีฟิสิกส์เกิดเพิ่มขึ้นและได้รับการยอมรับว่าสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวางขึ้น เครื่องหมายดอกจัน * แสดงเป็นหมายเหตุว่าสาขาวิชานั้นยังเป็นที่ถกเถียงถึงสถานภาพว่าควรนับไว้ในสายวิชาใด เช่น วิชามานุษยวิทยา และวิชาภาษาศาสตร์ควรจัดไว้ในกลุ่มสังคมศาสตร์ หรือ มนุษยศาสตร์ เป็นที่สังเกตได้ว่าบางท่าน โดยเฉพาะนักทฤษฎีวิจารณ์มักให้ความสำคัญในการบ่งชี้การจัดกลุ่มที่เข้มงวดในทุกสายวิชา รวมทั้งความชัดเจนของโครงสร้างของแนวคิดโดยรวมของแต่ละวิชาซึ่งยังเป็นถกเถียงได้มากสำหรับบางคน.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และรายการสาขาวิชา · ดูเพิ่มเติม »

รายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้

การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้เป็นระบบการจำแนกห้องสมุดประกอบด้วย 10 หมวดใหญ่ (class) แต่ละหมวดใหญ่แบ่งเป็นสิบหมวดย่อย (division) แต่ละหมวดย่อยมีสิบหมู่ย่อย (section) ตัวอย่างเช่น หมวดใหญ่ 600 ("เทคโนโลยี") มีหมวดย่อย 630 ("เกษตรกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง") ซึ่งมีหมู่ย่อย 636 ("การเลี้ยงสัตว์") ในทางปฏิบัติ มีทั้งหมด 99 จาก 100 หมวดย่อยและ 908 จาก 1000 หมู่ย่อย เนื่องจากบางส่วนเลิกใช้แล้วหรือยังไม่กำหน.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และรายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ · ดูเพิ่มเติม »

รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด

ต่อไปนี้เป็น รายชื่อคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด เรียงลำดับตามตัวอักษรของ คำที่เขียนถูก ตามที่ปรากฏในพจนานุกรมภาษาไทยหรือตามประกาศของหน่วยงานราชการไทย หมายเหตุ: การเขียนสะกดคำในนี้เป็นกรณีทั่วไป แต่ในกรณีเฉพาะ เช่น เป็นวิสามานยนาม อาทิ เป็นชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ หรือในทางร้อยกรอง สามารถเขียนสะกดคำแตกต่างได้.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และรายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิสโตอิก

ฉลียงมีภาพเขียน หรือสโตอาที่บูรณะขึ้นใหม่ในเอเธนส์ ที่ซึ่งกลายเป็นชื่อของลัทธิสโตอิก ลัทธิสโตอิก (อังกฤษ: Stoicism) คือแนวคิดทางปรัชญาแห่งเฮลเลนิสติก ก่อตั้งโดยนักปรัชญาชาวกรีกชื่อ เซโน แห่ง ซิติอุม (Zeno of Citium พ.ศ. 210 - พ.ศ. 279) ในเอเธนส์ ซึ่งได้แพร่หลายเป็นอย่างมากไปทั่วกรีก และจักรวรรดิโรมัน.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และลัทธิสโตอิก · ดูเพิ่มเติม »

ลุดวิจ วิทท์เกนชไตน์

ลุดวิจ โยเซฟ โยฮันน์ วิทท์เกนชไตน์ (Ludwig Josef Johann Wittgenstein) (26 เมษายน 1889 - 29 เมษายน 1951) เป็นนักปรัชญาชาวออสเตรีย - อังกฤษ เขาทำงานเกี่ยวกับตรรกศาสตร์ ปรัชญาของคณิตศาสตร์ ปรัชญาของจิตใจ และปรัชญาของภาษา ตั้งแต่ปี 1939 จนถึงปี 1947 วิทเกินชไตน์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์Dennett, Daniel.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และลุดวิจ วิทท์เกนชไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ลูอิส แคร์รอล

ลส์ ลัตวิดจ์ ดอดจ์สัน (27 มกราคม ค.ศ. 1832 - 14 มกราคม ค.ศ. 1898) หรือที่ผู้คนรู้จักกันในนามปากกา ลูอิส แคร์รอล เขาเป็นทั้งนักเขียนนวนิยาย นักคณิตศาสตร์ ชาวอังกลิคัน และช่างภาพ ผลงานเด่นที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขาคือ อลิซผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์ และภาคต่อที่ชื่อ Through the Looking-Glass นอกจากนี้ยังมีผลงานอื่นอีก เช่น "The Hunting of the Snark" และ "Jabberwocky" ซึ่งทั้งหมดเป็นวรรณกรรมแนว "literary nonsense" จุดเด่นในวรรณกรรมของชาลส์ ลัตวิดจ์ ดอดจ์สัน คือการเล่นคำ, ตรรกะ, และ แฟนตาซี ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ, และยิ่งกว่านั้นงานเขียนของเขาได้ฝังลึกเข้าไปในวัฒนธรรมสมัยนิยม, และมีอิทธิพลโดยตรงกับนักเขียนจำนวนมากในเวลาถัดม.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และลูอิส แคร์รอล · ดูเพิ่มเติม »

วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์

วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์ (Scientific skepticism, Scientific scepticism) เป็นหลักปฏิบัติในการที่จะสืบหาว่า เรื่องที่อ้างว่าเป็นจริงนั้นมีหลักฐานโดยงานวิจัยเชิงประสบการณ์ (เชิงประจักษ์) หรือไม่ สามารถทำซ้ำได้หรือไม่ เป็นหลักปฏิบัติที่ใช้เป็นปกติในการ "เพิ่มขยายความรู้ที่ยืนยันได้พิสูจน์ได้" ยกตัวอย่างเช่น.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และวิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิยุตคณิต

วิยุตคณิต ภินทนคณิตศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ไม่ต่อเนื่อง (discrete mathematics) หรือบางครั้งเรียกว่า คณิตศาสตร์จำกัด (finite mathematics) เป็นการศึกษาโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ซึ่งมีลักษณะเป็นค่าเฉพาะเจาะจง และไม่ต่อเนื่อง ซึ่งไม่ต้องใช้แนวคิดเกี่ยวกับความต่อเนื่อง วัตถุที่ศึกษาส่วนมากในสาขานี้มักเป็นเซตนับได้ เช่น เซตของจำนวนเต็ม วิยุตคณิตได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากการประยุกต์ใช้ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แนวคิดและสัญกรณ์จากวิยุตคณิตนั้นมีประโยชน์ในการศึกษา หรืออธิบายวัตถุหรือปัญหาในขั้นตอนวิธี และภาษาโปรแกรม ในหลาย ๆ หลักสูตรทางคณิตศาสตร์วิชาด้านคณิตศาสตร์จำกัด จะเน้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับด้านธุรกิจ ส่วนวิยุตคณิตเน้นแนวคิดสำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อการเปรียบเทียบ ดู ภาวะต่อเนื่อง ทอพอลอยี และ คณิตวิเคราะห.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และวิยุตคณิต · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการระบาด

วิทยาการระบาด เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพและความเจ็บป่วยของประชากร และเป็นพื้นฐานและตรรกะที่ทำให้เกิดแนวคิดความสนใจในสาธารณสุขและเวชศาสตร์ป้องกัน สาขาวิชานี้วิธีที่สำคัญพื้นฐานของงานวิจัยด้านสาธารณสุข และเกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์อิงหลักฐาน (evidence-based medicine) ในการหาปัจจัยเสี่ยงของโรคและประเมินวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด งานของนักวิทยาการระบาดที่เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ มีขอบเขตตั้งแต่การสืบค้นการระบาดของโรค (outbreak investigation) ไปจนถึงการออกแบบการศึกษา การเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ รวมทั้งการพัฒนาแบบจำลองทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานและการเตรียมผลการวิจัยเพื่อเสนอผลการวิจัย นักวิทยาการระบาดอาจอาศัยระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างเช่นชีววิทยาในการทำความเข้าใจการดำเนินโรค และระเบียบวิธีทางสังคมศาสตร๋ เช่นสังคมศาสตร์และปรัชญาเพื่อช่วยในการทำความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงใกล้เคียงและไกล.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และวิทยาการระบาด · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์รูปนัย

วิทยาศาสตร์รูปนัย (formal sciences) เป็นแขนงวิชาความรู้หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบรูปแบบ อย่างเช่น ตรรกะ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ตามทฤษฎี ทฤษฎีข้อมูล ทฤษฎีระบบ ทฤษฎีการตัดสินใจ สถิติ และภาษาศาสตร์บางสาขา วิทยาศาสตร์รูปนัยแตกต่างจากวิทยาศาสตร์อื่น ๆ คือ มันไม่เกี่ยวข้องกับความสมเหตุสมผลของทฤษฎีที่ตั้งอยู่บนการสังเกตในโลกจริง แต่ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของระบบรูปแบบที่ตั้งอยู่บนนิยามและกฎ อย่างไรก็ตาม วิธีการวิทยาศาสตร์รูปนัยมีการประยุกต์ใช้ในการสร้างและทดสอบแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นจริงที่สามารถสังเกตได้.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และวิทยาศาสตร์รูปนัย · ดูเพิ่มเติม »

วงจรรวม

วงจรรวม วงจรรวม หรือ วงจรเบ็ดเสร็จ (integrated circuit; IC) หมายถึง วงจรที่นำเอาไดโอด, ทรานซิสเตอร์, ตัวต้านทาน, ตัวเก็บประจุ และองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ มาประกอบรวมกันบนแผ่นวงจรขนาดเล็ก ในปัจจุบันแผ่นวงจรนี้จะทำด้วยแผ่นซิลิคอน บางทีอาจเรียก ชิป (Chip) และสร้างองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ ฝังอยู่บนแผ่นผลึกนี้ ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่เรียกว่า Monolithic การสร้างองค์ประกอบวงจรบนผิวผลึกนี้ จะใช้กรรมวิธีทางด้านการถ่ายภาพอย่างละเอียด ผสมกับขบวนการทางเคมีทำให้ลายวงจรมีความละเอียดสูงมาก สามารถบรรจุองค์ประกอบวงจรได้จำนวนมาก ภายในไอซี จะมีส่วนของลอจิกมากมาย ในบรรดาวงจรเบ็ดเสร็จที่ซับซ้อนสูง เช่น ไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งใช้ทำงานควบคุม คอมพิวเตอร์ จนถึงโทรศัพท์มือถือ แม้กระทั่งเตาอบไมโครเวฟแบบดิจิทัล สำหรับชิปหน่วยความจำ (RAM) เป็นอีกประเภทหนึ่งของวงจรเบ็ดเสร็จ ที่มีความสำคัญมากในยุคปัจจุบัน.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และวงจรรวม · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปศาสตร์

ลปศาสตร์ทั้ง 7 – ภาพจาก Hortus deliciarum ของ Herrad von Landsberg (คริสต์ศตวรรษที่ 12) ศิลปศาสตร์ (Liberal arts) หมายถึง การศึกษาที่มุ่งจะให้ความรู้ทั่วไป และทักษาเชิงปัญญา มิใช่วิชาชีพเฉพาะด้าน หรือความทักษะเชิงช่าง เดิมนั้น คำว่า "ศิลปศาสตร์" เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต (ศิลฺป + ศาสฺตฺร) หมายถึง วิชาความรู้ทั้งปวง ในภายหลังใช้ในความหมายเดียวกับ Liberal Arts ในภาษาอังกฤษ ดังระบุคำนิยามไว้ข้างต้น ในประวัติศาสตร์การศึกษาของตะวันตกนั้น ศิลปศาสตร์ 7 อย่าง อาจจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ไตรศิลปศาสตร์ (trivium) และ จตุรศิลปศาสตร์ (quadrivium) การศึกษาในกลุ่ม ไตรศิลปศาสตร์ ประกอบด้วย 3 สาขาวิชา ได้แก่ ไวยากรณ์ ตรรกศาสตร์ และวาทศาสตร์ (rhetoric) ส่วนการศึกษากลุ่ม จตุรศิลปศาสตร์ ประกอบด้วย 4 สาขาวิชา ได้แก่ เลขคณิต เรขาคณิต ดนตรี และดาราศาสตร์) ศิลปศาสตร์นั้นถือเป็นหลักสูตรแกนของมหาวิทยาลัยสมัยกลาง คำว่า liberal ในคำว่า liberal arts นั้น มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า liberalis หมายถึง "เหมาะแก่เสรีชน" (ชนชั้นสูงด้านสังคมและการเมือง) ซึ่งตรงกันข้ามกันศิลปะการรับใช้หรือบริการ (servile arts) ในเบื้องต้นคำว่าศิลปศาสตร์ในแนวคิดของตะวันตก จึงเป็นตัวแทนของทักษะและความรู้ทั่วไป ที่จำเป็นต้องใช้ในหมู่ชนชั้นสูงในสังคม ขณะที่ศิลปะบริการนั้น เป็นตัวแทนของความรู้และทักษะของพ่อค้าผู้เชี่ยวชาญ ที่จำเป็นต้องรู้ในหมู่ผู้รับใช้ชนชั้นสูง หรือขุนนาง.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และศิลปศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สะอ์ดี

อะบูมุฮัมหมัด มุชริฟุดดีน มุศเลี้ยะห์ บิน อับดิลลา บิน มุชัรริฟ เรียกสั้น ๆ กันว่า สะอ์ดี (ปี ฮ.ศ. 606-690) เป็นนักกวีและนักเขียนภาษาเปอร์เซียที่มีชื่อเสียงชาวอิหร่าน บรรดานักอักษรศาสตร์ให้ฉายานามท่านว่า ปรมาจารย์นักพูด กษัตรย์นักพูด ผู้อาวุโสที่สูงส่ง และเรียกขานทั่วไปกันว่า อาจารย์ ท่านศึกษาใน นิซอมียะฮ์แห่งเมืองแบกแดด ซึ่งถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางวิชาการของโลกอิสลามในยุคนั้น หลังจากนั้นท่านก็ได้เดินทางไปตามเมืองต่างๆ เช่นเมืองชาม และฮิญาซ ในฐานะนักบรรยายธรรม แล้วสะอ์ดีก็ได้เดินทางกลับมายังมาตุภูมิของท่านที่เมืองชีรอซและใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นจนกระทั่ววาระสุดท้ายของชีวิต สุสานของท่านอยู่ที่เมืองชีรอซ ซึ่งถูกรู้จักกันว่า สะอ์ดียะฮ์ ท่านใช้ชีวิตอยู่ในยุคการปกครองของSalghurids ในเมืองชีรอซ ช่วงการบุกของมองโกลยังอิหร่านอันเป็นเหตุให้การปกครองต่างๆ ในยุคนั้นล่มสลายลง เช่น Khwarazmian dynasty และอับบาซี ทว่ามีเพียงดินแดนฟอร์ซ รอดพ้นจากการบุกของพวกมองโกล เพราะยุทธศาสตร์ของอะบูบักร์ บิน สะอด์ ผู้ปกครองที่เลืองชื่อแห่งSalghurids และอยู่ในศัตวรรษที่หกและเจ็ดซึ่งเป็นยุคการเจริญรุ่งเรืองของแนวทางซูฟีในอิหร่าน โดยเห็นได้จากอิทธิพลทางความคิดและวัฒนธรรมของยุคนี้ได้จากผลงานของสะอ์ดี นักค้นคว้าส่วนใหญ่เชื่อว่าสะอ์ดีได้รับอิทธิพลจากคำสอนของมัซฮับชาฟิอีและอัชอะรี จึงมีแนวคิดแบบนิยัตินิยม อีกด้านหนึ่งก็ท่านเป็นผู้ที่มีความรักต่อครอบครัวท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อีกด้วย ก่อนหน้านั้นสะอ์ดี เป็นผู้ที่ยึดมั่นในจริยธรรมบนพื้นฐานของปรัชญาจริยะ เป็นนักฟื้นฟู ฉะนั้นท่านจึงไม่ใช่ผู้ที่ฝักไฝ่การเชื่ออย่างหลับหูหลับตาตามที่กล่าวอ้างกัน กลุ่มIranian modern and contemporary art ถือว่าผลงานของท่านไร้ศีลธรรม ไม่มีคุณค่า ย้อนแย้งและขาดความเป็นระบบ สะอ์ดีมีอิทธิพลต่อภาษาเปอร์เซียอย่างมาก ในลักษณะที่ว่าภาษาเปอร์เซียปัจจุบันมีความใกล้เคียงกับภาษาของสะอ์ดีอย่างน่าสนใจ ผลงานของท่านถูกนำมาใช้สอนในโรงเรียน และหอสมุดในฐานะตำราอ้างอิงการเรียนการสอนภาษาและไวยากรณ์ภาษาเปอร์เซียอยู่หลายยุคหลายสมัย คำพังเพยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอิหร่านปัจจุบันก็ได้มาจากผลงานของท่าน แนวการเขียนของท่านแตกต่างไปจากนักเขียนร่วมสมัยหรือนักเขียนก่อนหน้าท่านโดยท่านจะใช้ภาษาที่ง่าย สั้นและได้ใจความ กระทั่งมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วในยุคของท่าน ผลงานของสะอ์ดีเรียกกันว่าง่ายแต่ยาก มีทั้งเกล็ดความรู้ มุกขำขันที่ซ่อนอยู่หรือกล่าวไว้อย่างเปิดเผย ผลงานของท่านรวบรวมอยู่ในหนังสือ กุลลียอเตสะอ์ดี ซึ่งครอบคลุมทั้ง ฆุลิสตอนที่มีฉันทลักษณ์แบบนัษร์ หนังสือ บูสตอนที่มีฉันทลักษณ์แบบมัษนะวี และฆอซลียอต นอกจากนั้นท่านยังมีผลงานด้านร้อยกรองที่มีฉันทลักษณ์อื่นๆ อีก เช่น กอซีดะฮ์ ก็อฏอะฮ์ ตัรญีอ์บันด์ และบทเดี่ยวทั้งที่เป็นภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ ส่วนมากฆอซลียอเตสะอ์ดีจะพูดถึงเรื่องของความรัก แม้ว่าท่านจะกล่าวถึงความรักในเชิงรหัสยะ (อิรฟาน) ก็ตาม ฆุลิสตอนและบูสตอน เป็นตำราจริยธรรม ซึ่งมีอิทธิต่อชาวอิหร่านและแม้แต่นักวิชาการตะวันตกเองก็ตาม เช่น วอลแตร์ และ โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ สะอ์ดี มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นอย่างมากในยุคของท่าน ผลงานของท่านที่เป็นภาษาเปอร์เชียหรือที่แปลแล้วไปไกลถึงอินเดีย อานาโตเลีย และเอเชียกลาง ท่านเป็นนักกวีชาวอิหร่านคนแรกที่ผลงานของท่านถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ แถบยุโรป นักกวีและนักเขียนชาวอิหร่านต่างก็ลอกเลียนแบบแนวของท่าน ฮาฟิซก็เป็นนักกวีท่านหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลการเขียนบทกวีมาจากท่านสะอ์ดี นักเขียนยุคปัจจุบัน เช่น มุฮัมหมัด อาลี ญะมอลซอเดะฮ์ และอิบรอฮีม ฆุลิสตอน ก็ได้รับอิทธิพลมาจากท่านเช่นกัน ต่อมาผลงานของสะอ์ดีถูกถ่ายทอดออกเป็นคีตะ ซึ่งมีนักขับร้องที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น ทอจ อิศฟะฮอนี, มุฮัมหมัดริฎอ ชะญะริยอน และฆุลามฮุเซน บะนอน อิหร่านได้ให้วันที่ 1 เดือนอุรเดเบเฮชต์ วันแรกของการเขียนหนังสือฆุลิสตอน เป็นวันสะอ์ดี เพื่อเป็นการเทิดเกียรติท่าน.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และสะอ์ดี · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

รานุกรมไทยสำหรับเยาวชน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นสารานุกรมภาษาไทยจัดทำขึ้นเป็นรูปเล่ม โดยมีเนื้อหาบางส่วนเผยแพร่ในระบบออนไลน์ เป็นสารานุกรมไทยแบบเป็นชุด เน้นความรู้ที่เกิดขึ้นและใช้อยู่ในประเทศไทย จัดทำโดยคนไทย เพื่อให้คนไทยทุกเพศทุกวัยมีโอกาสได้อ่าน แต่ละเล่มรวบรวมเนื้อเรื่องจากหลากหลายสาขาวิชา เนื้อหาของเรื่องต่างๆ เรียบเรียงให้เหมาะสมกับ 3 ระดับความรู้ ให้แก่เด็กรุ่นเล็ก เด็กรุ่นกลาง และเด็กรุ่นใหญ่ รวมทั้งผู้ใหญ่ที่สนใจทั่วไป แต่ละเรื่องเริ่มต้นด้วยเนื้อหาของระดับเด็กรุ่นเล็ก ตามด้วยเนื้อหาของรุ่นกลางและรุ่นใหญ่ตามลำดับ เนื้อหาในแต่ละระดับพิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดต่างกัน.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

หลักฐานโดยเรื่องเล่า

ำว่า หลักฐานโดยเรื่องเล่า (anecdotal evidence) หมายถึงหลักฐานที่ได้มาจากเรื่องที่เล่าสู่กันฟัง เนื่องจากว่า มีตัวอย่างเพียงเล็กน้อย จึงมีโอกาสมากที่หลักฐานนั้นจะเชื่อถือไม่ได้เพราะอาจมีการเลือกเอาหลักฐาน หรือว่า หลักฐานนั้นไม่เป็นตัวแทนที่ดีของกรณีทั่ว ๆ ไปในเรื่องนั้น ๆ by Wayne Weiten มีการพิจารณาว่าหลักฐานโดยเรื่องเล่าไม่ใช่เป็นตัวสนับสนุนข้ออ้างที่ดี จะรับได้ก็ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานที่ดีกว่านั้นแล้วเท่านั้น ไม่ว่าเรื่องเล่านั้นจะซื่อสัตย์ตรงความจริงมากแค่ไหนNovella, Steven.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และหลักฐานโดยเรื่องเล่า · ดูเพิ่มเติม »

หลักสูตร

หลักสูตร (curriculum (เอกพจน์) หรือ curricula (พหูพจน์)) เป็นคำที่เกิดขึ้นมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเริ่มใช้คำนี้อย่างแพร่หลายในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยในตำราเรียนเล่มแรกที่เขียนอธิบายเกี่ยวกับหลักสูตรของจอห์น แฟรงคลิน บอบบิทในปี..

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และหลักสูตร · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยคำนวณและตรรกะ

สัญลักษณ์ของหน่วยคำนวณและตรรกะ ห (Arithmetic Logic Unit: ALU) เป็นวงจรเชิงผสมหคำนวณ (Arithmetic) และตรรกะ (Logic)ห (command) หง จอห์น ฟอน นอยมันน์หหน่วยคำนวณและตรรกะ ห ตัวจอห์น ฟอน นอยมันน์หอย หมวดหมู่:วงจรดิจิทัล.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และหน่วยคำนวณและตรรกะ · ดูเพิ่มเติม »

อันเดรย์ คอลโมโกรอฟ

อันเดรย์ นิโคลาเยวิช คอลโมโกรอฟ อันเดรย์ นิโคลาเยวิช คอลโมโกรอฟ (รัสเซีย: Андре́й Никола́евич Колмого́ров; อังกฤษ: Andrey Nikolaevich Kolmogorov), เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1903 เสียชีวิต 20 ตุลาคม ค.ศ. 1987, เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย ยักษ์ใหญ่ในวงการคณิตศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีผลงานโดดเด่นมากในงาน ทฤษฎีความน่าจะเป็นและทอพอโลยี.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และอันเดรย์ คอลโมโกรอฟ · ดูเพิ่มเติม »

อายะตุลลอหฺ

อายะตุลลอหฺ การสะกดอื่น ๆ อายะตุลลอห์ อายะตุลลอฮฺ อายะตุลลอฮ์ อายาตุลลอห์ อายาตุลลาห์ เป็นตำแหน่งสูงสุดที่มอบให้แก่ผู้นำศาสนาอิสลามนิกาย(มัซฮับ)ชีอะหฺ เป็นคำภาษาอาหรับ آيةالله แปลว่า สัญลักษณ์แห่งอัลลอหฺ (อายะตุ สัญลักษณ์ และ อัลลอหฺ นามของพระเจ้า) บุคคลที่จะได้รับตำแหน่งนี้ต้องเป็น "อะอฺลัม อะอฺละมีน" คือ สุดยอดผู้รู้ของบรรดาสุดยอดผู้รู้ หรือปรมาจารย์ นั่นคือจะต้องผ่านการศึกษาจนกระทั่งบรรลุขั้นสูงสุด ในวิทยาการอัลกุรอาน ตัฟซีร ฮะดีษ ฟิกหฺ อุศูลุลฟิกหฺ ภาษาอาหรับ ตรรกวิทยา และอื่น ๆ จนบรรลุขั้น อิจญ์ติฮาด สามารถวินิจฉัยบทบัญญัติอิสลามได้ หลังจากนั้นจึงเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาศาสนาอิสลามและเป็นผู้นำของบรรดาผู้บรรลุอิจญ์ติฮาด เมื่อเป็นที่ยอมรับของบรรดาผู้บรรลุอิจญ์ติฮาดแล้ว จึงได้รับตำแหน่งนี้.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และอายะตุลลอหฺ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรแห่งกาลเวลา

อาณาจักรแห่งกาลเวลา (The Keys to the Kingdom) เป็นนวนิยายแฟนตาซีชุดหนึ่งของ การ์ธ นิกซ์ (Garth Nix) นักเขียนชาวออสเตรเลีย ได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบของหนังสือปกอ่อน เรื่องราวในเรื่องเกิดขึ้นในบ้านและอาณาจักรชั้นที่สอง ซึ่งรวมไปถึงโลกของเราด้วย โดยมีตัวเอกดำเนินเรื่อง 3 ตัว คือ อาเธอร์ เพนฮาลิกอน, ซูซี่ ฟ้าเทอร์คอยซ์ และลีฟ เรื่องราวภายในเรื่องมีความเกี่ยวข้องกับหลักธรรมทางศาสนาและเทวตำนานโบราณ รวมไปถึงเลข 7 อีกด้วย ในประเทศไทย ลิขสิทธิ์เป็นของสำนักพิมพ์แจ่มใส แปลเป็นภาษาไทยโดย แสงตะวัน จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์เอ็นเธอร์บุ๊คส์ อาณาจักรแห่งกาลเวลาเป็นวรรณกรรมเล่มเดียวของการ์ธ นิกซ์ ที่ถูกซื้อลิขสิทธิ์และได้รับการแปลเป็นภาษาไท.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และอาณาจักรแห่งกาลเวลา · ดูเพิ่มเติม »

อาเธอร์ เบนท์ลี่ย์

อาเธอร์ เบนท์ลี่ย์ (16 ตุลาคม ค.ศ. 1870 – 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1957) เป็นนักรัฐศาสตร์และนักนักปรัชญา ซึ่งทำงานในสาขาญาณวิทยา ตรรกศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาระเบียบวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ของรัฐศาสตร์ เขาได้รับปริญญาตรีสาขาศิลปศาสตร์ในปี..

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และอาเธอร์ เบนท์ลี่ย์ · ดูเพิ่มเติม »

อุปมานิทัศน์

''อุปมานิทัศน์ของดนตรี'' โดยฟีลิปปีโน ลิปปี “อุปมานิทัศน์ของดนตรี” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในจิตรกรรมในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เช่นการที่ลิบปีใช้ในภาพเขียนภาพนี้ซึ่งใช้ตำนานกรีกเป็นสัญลักษณ์ อุปมานิทัศน์ (Allegory) มาจากภาษากรีก “αλλος” หรือ “allos” ที่แปลว่า “อื่น” และคำว่า “αγορευειν” หรือ “agoreuein” ที่แปลว่า “การพูดในที่สาธารณะ” ซึ่งหมายถึงศิลปะที่ใช้สัญลักษณ์แทนความหมายโดยตรงในภาษาเขียน อุปมานิทัศน์มิได้ใช้แต่ในงานวรรณกรรม แต่อาจจะใช้ทางจักษุศิลป์ซึ่งมักจะพบในจิตรกรรมหรือประติมากรรม หรือ การแสดงสัญลักษณ์ทางศิลปะอื่นๆ ความหมายทางภาษาศาสตร์จะกว้างกว่าที่ใช้กันโดยทั่วไป ความหมายของ “อุปมานิทัศน์” จะมีน้ำหนักกว่ามากกว่าการใช้ “อุปลักษณ์” (metaphor) และเมื่อใช้ก็จะทำให้ผู้รับเกิดแรงบันดาลใจทางจินตนาการมากกว่า ขณะที่ “แนวเทียบ” (analogy) จะคำนึงถึงเหตุผลและตรรกศาสตร์มากกว่า เช่น “นิทานคติสอนใจ” (parable) จะเป็น “แนวเทียบ” ที่มีคำสอนทางจริยธรรมเพียงหัวข้อเดียว ความหมายของ “อุปมานิทัศน์” มักจะเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายของหัวข้อที่กว้างกว่าการใช้ “แนวเทียบ” ฉะนั้นในงาน “อุปมานิทัศน์” ชิ้นหนึ่งก็อาจจะมี “แนวเทียบ” หลายประเด็น จึงทำให้ตีความหมายกันไปได้หลายอย่าง ซึ่งบางครั้งก็อาจจะบิดเบือนไปจากความหมายที่ศิลปินตั้งใจเอาไว้ เช่นบางคนให้ความเห็นว่า “อุปมานิทัศน์” ของ “เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์” คือสงครามโลกเป็นต้น แต่วรรณกรรมชิ้นนี้เขียนก่อนที่สงครามโลกครั้งที่สอง จะเกิดขึ้น และถึงแม้ว่า เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้ประพันธ์จะกล่าวไว้ในคำนำในฉบับพิมพ์อเมริกันว่า “(หนังสือเล่มนี้) ไม่ใช่อุปมานิทัศน์หรือหัวข้อ....กระผมไม่ชอบอุปมานิทัศน์ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใหน...”.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และอุปมานิทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

อนิยาม

ำหรับวิชาคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ และระบบรูปนัย อนิยามคือแนวคิดที่ไม่ได้นิยาม ที่สำคัญอนิยามไม่ได้นิยามโดยแนวคิดที่นิยามไว้ก่อนหน้า แต่เกิดจากแรงบันดาลใจโดยวิสาสะ โดยมากเกิดจากสหัชญาณ และประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน บทบาทของอนิยามในทฤษฎีบทสัจพจน์หรือระบบรูปนัยอื่นๆ เหมือนกันกับบทบาทของอนิยาม อนิยามในวิชาทฤษฎีสัจพจน์ บางครั้งจะกล่าวว่า"ได้นิยาม"โดยอนิยามอย่างน้อยหนึ่งอนิยาม แต่อาจทำให้เข้าใจผิดได้ ระบบรูปนัยไม่สามารถกำจัดอนิยามทั้งหลายได้เพราะการนิยามถอยหลังอนันต์ครั้ง อัลเฟรด ตาร์สกีอธิบายบทบาทของอนิยามไว้ดังนี้: ความคิดรวบยอดพื้นฐานของเซตในทฤษฎีเซตเชิงสัจพจน์เป็นตัวอย่างของอนิยาม มารี ไทล์ เขียน: มีหลักฐานแสดงว่าเธอยกคำพูดของเฟลิก เฮาส์ดอร์ฟฟ์ว่า: "เซตสร้างขึ้นโดยจัดวัตถุเดี่ยวๆ รวมกันเป็นเซตทั้งเซต เซตเป็นความคิดแบบพหูพจน์เป็นหน่วยเดียว" เมื่อระบบสัจพจน์ระบบหนึ่งเริ่มกล่าวถึงสัจพจน์ อนิยามอาจไม่ได้กล่าวถึงอย่างแจ่มแจ้ง ซูซาน ฮาก(1978) เขียนว่า "เซตของอนิยามบางครั้งกล่าวว่าให้นิยามโดยอ้อมของอนิยาม" ตัวอย่าง พบใน.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และอนิยาม · ดูเพิ่มเติม »

ฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจ

ในสาขาจิตวิทยา ฮิวริสติก (heuristic พหูพจน์ "ฮิวริสติกส์") เป็นกฎที่ง่าย ๆ และมีประสิทธิภาพ ที่เรามักจะใช้ในการประเมิน และการตัดสินใจ เป็นวิธีลัดทางความคิดโดยเพ่งความสนใจไปยังส่วนหนึ่งของปัญหาที่ซับซ้อนแล้วไม่ใส่ใจในส่วนอื่น กฎเหล่านี้ทำงานได้ดีในสถานการณ์โดยมาก แต่สามารถนำไปสู่ความผิดพลาดอย่างเป็นระบบ ซึ่งอาจเป็นความผิดพลาดโดยตรรกะ โดยความเป็นไปได้ หรือโดยความสมเหตุสมผล ความผิดพลาดเหล่านี้เป็นความเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) ซึ่งมีการค้นพบแล้วมากมายหลายแบบ เป็นความผิดพลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่นการประเมินราคาบ้านหรือการพิพากษาตัดสินคดี ฮิวริสติกปกติมักจะเป็นการตัดสินใจที่เป็นอัตโนมัติ เป็นการรู้เอง (intuitive) ที่ไม่ต้องอาศัยการคิด แต่อาจมีการใช้เป็นกลยุทธ์ทางความคิดอย่างจงใจได้ เมื่อต้องทำการตัดสินใจโดยมีข้อมูลที่จำกัด นักประชานศาสตร์ชาวอเมริกันเฮอร์เบิร์ต ไซมอนดั้งเดิมเป็นผู้เสนอว่า การตัดสินใจของมนุษย์ต้องอาศัยฮิวริสติก โดยใช้แนวความคิดจากวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 นักจิตวิทยาแดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ แสดงฮิวริสติก 3 ประเภทที่เป็นฐานของการตัดสินใจโดยรู้เองที่ใช้อย่างกว้างขวาง งานวิจัยเหล่านี้ จุดชนวนโปรแกรมงานวิจัยเกี่ยวกับ ฮิวริสติกและความเอนเอียง (Heuristics and Biases) ซึ่งศึกษาการตัดสินใจในชีวิตจริงของมนุษย์ และศึกษาสถานการณ์ที่การตัดสินใจเหล่านี้ใช้ไม่ได้ คือไม่สมเหตุผล งานวิจัยในแนวนี้ได้คัดค้านไอเดียว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่กระทำตามเหตุผล และได้ให้ทฤษฎีเกี่ยวกับการประมวลสารสนเทศ (information processing) ที่สามารถอธิบายวิธีการที่มนุษย์ใช้ในการประเมินผลหรือการตัดสินใจ เป็นแนวงานวิจัยที่เริ่มมีความสนใจในระดับสากลในปี..

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจ · ดูเพิ่มเติม »

จริยธรรมทางธุรกิจ

ริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics) เป็นรูปแบบของการปรับใช้หลักจริยธรรม (ethics) กับการบริหารงานและการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ กล่าวคือเมื่อการดำเนินธุรกิจเพื่อเป้าหมายสูงสุดคือการแสวงหากำไร การประกอบการดังกล่าวมักต้องประสบกับคำถามทางจริยธรรม เช่น ปัญหาเรื่องค่าแรง ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทำให้องค์กรธุรกิจต้องมีการประเมินว่าจะตัดสินใจอย่างไรระหว่างต้นทุนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ หรือกล่าวว่าธุรกิจจะต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นนอกจากการแสวงหากำไรและรับผิดชอบต่อผลสะเทือน (impact) ที่เกิดมาจากการตัดสินใจนั้น จริยธรรมทางธุรกิจจึงเป็นการนำเรื่องของคุณค่าเชิงปทัสถาน (normative value) เข้าไปพิจารณาร่วมกับการตัดสินใจทางธุรกิจที่เน้นการแสวงหากำไร (Kurian, 2011: 521-524).

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และจริยธรรมทางธุรกิจ · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ บูล

อร์จ บูล (George Boole) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ผลงานสำคัญคือการคิดพีชคณิตแบบบูลขึ้น อันเป็นรากฐานสำคัญของ ตรรกศาสตร์ และวงจรดิจิตอล จอร์จ บูล นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่มหาวิทยาลัย College Cork ผู้ที่นิยามพีชคณิตดังกล่าวขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางตรรกศาสตร์ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 พีชคณิตแบบบูลนำเทคนิคทางพีชคณิตมาใช้กับนิพจน์ในตรรกศาสตร์เชิงประพจน์ ในปัจจุบันพีชคณิตแบบบูลได้ถูกนำไปประยุกต์อย่างแพร่หลายในการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ที่นำไปใช้คนแรกคือคลาวด์ อี.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และจอร์จ บูล · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น เวนน์

อห์น เวนน์ (John Venn; 4 สิงหาคม ค.ศ. 1834 – 4 เมษายน ค.ศ. 1923) เป็นนักคณิตศาสตร์, นักปรัชญา และนักตรรกศาสตร์ชาวอังกฤษ.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และจอห์น เวนน์ · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนธรรมชาติ

ในทางคณิตศาสตร์ จำนวนธรรมชาติ อาจหมายถึง จำนวนเต็มบวก หรือ จำนวนนับ (1, 2, 3, 4,...) หรือ จำนวนเต็มไม่เป็นลบ (0, 1, 2, 3, 4,...) ความหมายแรกมีการใช้ในทฤษฎีจำนวน ส่วนแบบหลังได้ใช้งานใน ตรรกศาสตร์,เซตและวิทยาการคอมพิวเตอร์ ถุ จำนวนธรรมชาติมีการใช้งานหลักอยู่สองประการ กล่าวคือเราสามารถใช้จำนวนธรรมชาติในการนับ เช่น มีส้มอยู่ 3 ผลบนโต๊ะ หรือเราอาจใช้สำหรับการจัดอันดับ เช่น เมืองนี้เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ในประเทศ เป็นต้น คุณสมบัติของจำนวนธรรมชาติที่เกี่ยวกับการหารลงตัว เช่นการกระจายของจำนวนเฉพาะ เป็นเนื้อหาในทฤษฎีจำนวน ปัญหาที่เกี่ยวกับการนับ เช่น ทฤษฎีแรมซี นั้นถูกศึกษาในคณิตศาสตร์เชิงการจั.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และจำนวนธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

จำนงค์ ทองประเสริฐ

ตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต สาขาตรรกศาสตร์ ประจำราชบัณฑิตยสถาน มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเป็นอุปนายกสภามหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และจำนงค์ ทองประเสริฐ · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยาเชิงบวก

ตวิทยาเชิงบวก (Positive psychology) เป็นสาขาย่อยใหม่ของจิตวิทยาที่ใช้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์และการแทรกแซงที่มีประสิทธิผล เพื่อช่วยให้บุคคลมีชีวิตที่น่าพอใจ โดยสร้างความเจริญก้าวหน้าสำหรับบุคคล ครอบครัว และชุมชน และค้นหาเสริมสร้างอัจฉริยภาพกับความสามารถเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุขมากยิ่งขึ้น ศาสตร์นี้เพ่งความสนใจไปที่การพัฒนาตนเองแทนที่การรักษาโรค ซึ่งมักจะเป็นจุดสนใจของจิตวิทยาสาขาอื่น ๆ เป็นวิทยาการที่ค่อนข้างใหม่ งานประชุมครั้งแรกเกี่ยวกับศาสตร์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และจิตวิทยาเชิงบวก · ดูเพิ่มเติม »

จตุรศิลปศาสตร์

ตุรศิลปศาสตร์ (Quadrivium) ประกอบด้วยวิชาสี่วิชาหรือศิลปะที่สอนกันมหาวิทยาลัยในยุคกลางหลังจากไตรศาสตร์ (trivium) “Quadrivium” มาจากภาษาลาตินที่แปลว่า “ทางสี่แพร่ง” ซึ่งเป็นการศึกษาในสาขาศิลปศาสตร์ จตุรศิลปศาสตร์ประกอบด้วยวิชาคณิตศาสตร์, เรขาคณิต, ดนตรี และ ดาราศาสตร์ การศึกษาจตุรศิลปศาสตร์ต่อเนื่องมาจากการศึกษาไตรศาสตร์ที่ประกอบด้วยไวยากรณ์, ตรรกศาสตร์ และ วาทศาสตร์ การจบการศึกษาจตุรศิลปศาสตร์ถือว่าเป็นการวางรากฐานในการศึกษาต่อในสาขาวิชาปรัชญา และ เทววิท.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และจตุรศิลปศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีบทความไม่สมบูรณ์ของเกอเดล

ทฤษฎีบทความไม่สมบูรณ์ของเกอเดล (Gödel's incompleteness theorems) เป็นทฤษฎีตรรกะทางคณิตศาสตร์ ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1931 โดย เคิร์ท เกอเดล (Kurt Gödel) เคิร์ท เกอเดล ซึ่งในขณะนั้นเป็นนักคณิตศาสตร์อยู่ที่มหาวิทยาลัยเวียนนา ได้ตีพิมพ์เปเปอร์ชื่อ Über formal unentscheidbare Sätze der Principia Mathematica und verwandter Systeme (ต้นฉบับเป็นภาษาเยอรมัน หรือมีชื่อในภาษาอังกฤษว่า On Formally Undecidable Propositions in Principia Mathematica and Related Systems หรือ ว่าด้วยประพจน์ที่ตัดสินไม่ได้อย่างเป็นรูปนัยใน พรินซิเพีย แมเทเมทิกา และระบบอื่นที่เกี่ยวข้อง) ในเปเปอร์นี้ เกอเดลทำการพิสูจน์จนที่สุดแล้วได้ผลลัพธ์เป็นสองทฤษฎีบทที่น่าตื่นตะลึง ซึ่งในภายหลังทฤษฎีบททั้งสองถูกเรียกรวมกันว่าทฤษฎีบทความไม่สมบูรณ์ของเกอเดล ทฤษฎีบทนี้นับว่าเป็นเป็นทฤษฎีบทสำคัญที่เข้าขั้นปฏิวัติวงการ ทั้งในด้านตรรกศาสตร์ ด้านคณิตศาสตร์ ด้านปรัชญา และด้านการแสวงหาความรู้ของมนุษยชาติ รวมทั้งทำให้เกิดบทวิเคราะห์ การตีความ และคำถามต่างๆ ตามมาขึ้นอีกมากม.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และทฤษฎีบทความไม่สมบูรณ์ของเกอเดล · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีจำนวน

ทฤษฎีจำนวน (number theory) โดยธรรมเนียมเดิมเป็นสาขาหนึ่งของคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของจำนวนเต็ม สาขานี้มีผลงานและปัญหาเปิดมากมายที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แม้กระทั่งผู้ที่ไม่ใช่นักคณิตศาสตร์ แต่ในปัจจุบัน สาขานี้ยังได้สนใจกลุ่มของปัญหาที่กว้างขึ้น ซึ่งมักเป็นปัญหาที่ต่อยอดมาจากการศึกษาจำนวนเต็ม นักคณิตศาสตร์ที่ศึกษาสาขานี้เรียกว่า นักทฤษฎีจำนวน คำว่า "เลขคณิต" (arithmetic) มักถูกใช้เพื่ออ้างถึงทฤษฎีจำนวน นี่เป็นการเรียกในอดีต ซึ่งในปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมเช่นเคย ทฤษฎีจำนวนเคยถูกเรียกว่า เลขคณิตชั้นสูง ซึ่งเลิกใช้ไปแล้ว อย่างไรก็ตามคำว่า "เลขคณิต" ยังปรากฏในสาขาทางคณิตศาสตร์อยู่ (เช่น ฟังก์ชันเลขคณิต เลขคณิตของเส้นโค้งวงรี หรือ ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต) ไม่ควรจะสับสนระหว่างคำว่า เลขคณิต นี้ กับเลขคณิตมูลฐาน (elementary arithmetic) หรือสาขาของตรรกศาสตร์ที่ศึกษาเลขคณิตเปียโนในรูปของระบบรูปนั.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และทฤษฎีจำนวน · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์

ในทฤษฎีความน่าจะเป็น สถิติ การอนุมาน และ ปัญญาประดิษฐ์ บางครั้งจะพบคำว่า แบบเบย์ (Bayesian) มาขยายชื่อทฤษฎีหรือโมเดลต่างๆ โดยทุกครั้งที่พบคำขยายนี้หมายความว่าได้มีการนำปรัชญาหรือหลักการของ ทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์ (บางท่านเรียก การอนุมานแบบเบย์ หรือ สถิติแบบเบย์) มาใช้กับสาขาความรู้นั้นๆ ถ้าจะกล่าวอย่างไม่เป็นทางการ, ทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์แปลความหมายของคำว่า ความน่าจะเป็น เป็น ความเชื่อมั่นส่วนบุคคลในเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ซึ่งต่างจากทฤษฎีความน่าจะเป็นของคอลโมโกรอฟ (ที่มักถูกเรียกว่าทฤษฎีความน่าจะเป็นเชิงความถี่) ที่มักแปลความหมายของความน่าจะเป็น (โดยต้องแปลควบคู่ไปกับการทดลองเสมอ) ดังนี้ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ A คือ อัตราส่วนของจำนวนครั้งของเหตุการณ์ A ที่ทดลองสำเร็จเทียบกับจำนวนครั้งที่ทดลองทั้งหมด จุดแตกต่างสำคัญระหว่างทฤษฎีทั้งสองประเภทมีดังนี้.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีเซต

ทฤษฎีเซต คือทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องเซต ซึ่งใช้นำเสนอการรวบรวมวัตถุนามธรรม ทฤษฎีเซตเป็นแนวความคิดของการรวบรวมวัตถุในชีวิตประจำวัน และใช้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาซึ่งบ่อยครั้งใช้แผนภาพเวนน์เป็นสื่อช่วยสอน ทฤษฎีเซตใช้ภาษาในการอธิบายวัตถุทางคณิตศาสตร์เป็นธรรมเนียมการสอนคณิตศาสตร์สมัยใหม่ ทฤษฎีเซตเป็นหนึ่งในรากฐานทางคณิตศาสตร์ที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เหมือนเช่นตรรกศาสตร์และแคลคูลัสภาคแสดง ซึ่งทำให้สามารถสร้างวัตถุทางคณิตศาสตร์ขึ้นมาใหม่โดยใช้ "เซต" และ "ความเป็นสมาชิกของเซต" เป็นตัวนิยาม ทฤษฎีเซตเองนั้นก็เป็นสาขาหนึ่งของคณิตศาสตร์ และยังคงเป็นสาขาที่สำคัญอยู่สำหรับการวิจั.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และทฤษฎีเซต · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส อไควนัส

นักบุญทอมัส อไควนัส (Thomas Aquinas (ค.ศ. 1225-1274) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกสังกัดคณะดอมินิกัน เกิดในตระกูลขุนนางชาวอิตาลี สนใจศึกษาสิ่งต่าง ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง อไควนัสได้พัฒนาแนวความคิดของเขาโดยได้รับอิทธิพลจากอาริสโตเติล ในขณะที่นักคิดคนอื่นมีความเห็นตรงกันข้าม อควีนาสได้ดำเนินการศึกษา สรุปผลที่เป็นแบบตรรกศาสตร์ที่สมบูรณ์ โดยไม่มีข้อสงสัยหรือข้อขัดแย้ง ตามแนวความคิดของอไควนัส ระเบียบวิธีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่ออควีนาสเริ่มหันมาสนใจศึกษาค้นคว้าแนวความคิดของอาริสโตเติล และได้มีอิทธิพลตลอดชีวิตการทำงานของอไควนัส จุดมุ่งหมายอีกประการหนึ่งของอไควนัสคือ การผสมผสานเทววิทยาศาสนาคริสต์ให้เข้ากับตรรกศาสตร์ของอาริสโตเติล ในที่สุดแนวความคิดของอาริสโตเติลก็กลับมามีชื่อเสียงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง นักคิดชาวตะวันตกก็เริ่มหันมาศึกษางานของอริสโตเติลกันมากขึ้น มีผู้กล่าวว่าอาริสโตเติลเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ที่มีความรอบรู้ พระเจ้าพึงพอใจยอมอนุญาตให้เป็นผู้สรุปความรู้ทุกสาขาวิชา เท่ากับยอมรับว่าอาริสโตเติลเป็นเหมือนคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นนักบวชของศาสนา เป็นตัวบทกฎหมาย และเป็นนักวินัยทางศาสนา เปรียบเสมือนเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่กำหนดความสัมพันธ์ของมนุษย์ กำหนดความรู้ทุกสาขาวิชา งานเขียนของอไควนัส ในระยะนี้พยายามอธิบายสังคมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนา และพระผู้เป็นเจ้า อไควนัสพยายามกำหนดความสำคัญและหน้าที่ใหม่ของศาสนาที่มีต่อสังคม โดยให้ศาสนายังคงมีอำนาจทางธรรมตามคำสอนของศาสนา อไควนัสก็เหมือนกับนักปราชญ์คนอื่น คือมีความเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมมีจุดมุ่งหมายเพื่อดำรงชีวิตอยู่ในสังคม มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีความสามารถกำหนดควบคุมการกระทำของตนเองได้ด้วยสติปัญญา มนุษย์จะตกอยู่ในอันตราย ถ้าไม่ยอมรับระบบสังคม อไควนัสจึงเน้นเอกภาพในสังคมมนุษย์ที่มีพลังอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกภาพทางการเมืองเป็นสิ่งสำคัญ จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้สังคมมีเอกภาพอย่างสันติไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น วิธีการดังกล่าวเปรียบเสมือนมนุษย์ได้รับการอบรมทางจิต จิตที่อบรมแล้ว จะสั่งการให้ร่างกายกระทำสิ่งต่าง ๆ ตามหน้าที่ในสังคม ดังนั้น การปกครองโดยรัฐบาลที่มีผู้นำเพียงคนเดียวจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด กษัตริย์อันเป็นราชาแห่งปราชญ์คนเดียวจะปกครองประชาชนอย่างยุติธรรม โครงสร้างทางสังคมก็เหมือนกับธรรมชาติที่พระเจ้าปกครอง คนในสังคมจะทำหน้าที่ได้ดีที่สุด ถ้าสัมคมมีเอกภาพโดยมีผู้นำเพียงคนเดียว.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และทอมัส อไควนัส · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธี

ั้นตอนวิธี หรือ อัลกอริทึม (algorithm) หมายถึงกระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถเข้าใจได้ มีลำดับหรือวิธีการในการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและชัดเจน เมื่อนำเข้าอะไร แล้วจะต้องได้ผลลัพธ์เช่นไร ซึ่งแตกต่างจากการแก้ปัญหาแบบสามัญสำนึก หรือฮิวริสติก (heuristic) โดยทั่วไป ขั้นตอนวิธี จะประกอบด้วย วิธีการเป็นขั้นๆ และมีส่วนที่ต้องทำแบบวนซ้ำ (iterate) หรือ เวียนเกิด (recursive) โดยใช้ตรรกะ (logic) และ/หรือ ในการเปรียบเทียบ (comparison) ในขั้นตอนต่างๆ จนกระทั่งเสร็จสิ้นการทำงาน ในการทำงานอย่างเดียวกัน เราอาจจะเลือกขั้นตอนวิธีที่ต่างกันเพื่อแก้ปัญหาได้ โดยที่ผลลัพธ์ที่ได้ในขั้นสุดท้ายจะออกมาเหมือนกันหรือไม่ก็ได้ และจะมีความแตกต่าง ที่จำนวนและชุดคำสั่งที่ใช้ต่างกันซึ่งส่งผลให้ เวลา (time), และขนาดหน่วยความจำ (space) ที่ต้องการต่างกัน หรือเรียกได้อีกอย่างว่ามีความซับซ้อน (complexity) ต่างกัน การนำขั้นตอนวิธีไปใช้ ไม่จำกัดเฉพาะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถใช้กับปัญหาอื่น ๆ ได้เช่น การออกแบบวงจรไฟฟ้า, การทำงานเครื่องจักรกล, หรือแม้กระทั่งปัญหาในธรรมชาติ เช่น วิธีของสมองมนุษย์ในการคิดเลข หรือวิธีการขนอาหารของแมลง หนึ่งในขั้นตอนวิธีอย่างง่าย คือ ขั้นตอนวิธีที่ใช้หาจำนวนที่มีค่ามากที่สุดในรายการ (ซึ่งไม่ได้เรียงลำดับไว้) ในการแก้ปัญหานี้ เราจะต้องดูจำนวนทุกจำนวนในรายการ ซึ่งมีขั้นตอนวิธีดังนี้.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และขั้นตอนวิธี · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธีของควิน-แม็กคลัสกีย์

ั้นตอนวิธีของควิน-แม็กคลัสกีย์ (Quine-McCluskey algorithm) เป็นหนึ่งในขั้นตอนวิธีที่ใช้สำหรับการลดรูปนิพจน์ตรรกศาสตร์ให้อยู่ในรูปอย่างง่ายที่มีประสิทธิภาพสูง พัฒนาโดย ดับเบิลยู.วี. ควิน (W.V.Quine) และเอ็ดเวิด เจ. แมกคลัสกีย์ (Edward J. McCluskey) ขั้นตอนวิธีของควิน-แม็กคลัสกีย์เป็นขั้นตอนวิธีที่ช่วยในการลดรูปนิพจน์ตรรกะได้เมื่อข้อมูลขาเข้าที่มีปริมาณตัวแปรจำนวนมาก แต่ในการทำงานยังมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาอยู่ จึงควรดูขนาดของข้อมูลขาเข้า ว่ามีขนาดเท่าไหร่ และสมควรที่จะใช้วิธีการนี้หรือไม่ หากไม่สมควรควรจะเลือกใช้วิธีการอื่นที่สามารถลดนิพจน์ตรรกะได้ เช่น วิธีการเอกเพรซโซ่ ซึ่งเป็นวิธีการที่จะใช้ผ่านโปรแกรม.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และขั้นตอนวิธีของควิน-แม็กคลัสกีย์ · ดูเพิ่มเติม »

คล็อด แชนนอน

ล็อด แชนนอน (Claude Elwood Shannon) วิศวกรไฟฟ้าและนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งทฤษฎีสารสนเทศ และเป็นผู้วิจัยและออกแบบวงจรดิจิตอล โดยแสดงให้เห็นว่าวงจรดิจิตอลตามพีชคณิตแบบบูลสามารถคำนวณตรรกศาสตร์และพีชคณิตทุกชนิดได้.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และคล็อด แชนนอน · ดูเพิ่มเติม »

ความคิดเชิงไสยศาสตร์

วามคิดเชิงไสยศาสตร์ (Magical thinking) หรือ ความคิดเชิงเวทมนตร์ เป็นการอ้างการกระทำหนึ่ง ๆ ว่าเป็นเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ไม่สมเหตุผลและไม่สมกับสิ่งที่สังเกตได้ เช่น ในความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อพื้นบ้าน และความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ มักจะมีการอ้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อวัตร การสวดมนต์หรือการสวดอ้อนวอน การบูชายัญ หรือการเว้นจากสิ่งต้องห้าม กับประโยชน์หรืออานิสงส์ที่พึงจะได้จากการกระทำเหล่านั้น ในจิตวิทยาคลินิก ความคิดเชิงไสยศาสตร์อาจทำให้คนไข้ประสบกับความกลัวที่จะทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเกิดความคิดบางอย่าง เพราะความเชื่อว่าจะมีสิ่งเลวร้ายที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำนั้น นอกจากนั้นแล้ว ความคิดเชิงไสยศาสตร์อาจทำให้เราเชื่อว่า เพียงแค่ความคิดเท่านั้นสามารถทำให้เกิดผลต่าง ๆ ในโลกได้ นี้เป็นวิธีการคิดหาเหตุ (causal reasoning) แบบหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุผลวิบัติโดยเหตุ (causal fallacy) ที่เราพยายามหาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์สองอย่างที่เกิดขึ้นต่อ ๆ กันหรือพร้อมกัน คือระหว่างการกระทำและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ไม่ได้เป็นเหตุผลต่อกันและกันจริง ๆ ส่วนความคิดเชิงไสยศาสตร์เสมือน (Quasi-magical thinking) หมายถึง "กรณีที่เรามีพฤติกรรมเหมือนกับเชื่อผิด ๆ ว่า การกระทำของตนมีอิทธิพลต่อผลที่เกิดขึ้น แม้ว่าจริง ๆ แล้ว ตนจะไม่ได้เชื่ออย่างนั้น".

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และความคิดเชิงไสยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงทางประชาน

วามเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) เป็นรูปแบบความคลาดเคลื่อนของการประเมินตัดสินใจ ที่การอนุมานถึงบุคคลอื่นหรือสถานการณ์ต่าง ๆ อาจจะเป็นไปโดยไม่สมเหตุผล คือ เราจะสร้างความจริงทางสังคม (social reality) ที่เป็นอัตวิสัย จากการรับรู้ข้อมูลที่ได้ทางประสาทสัมผัส เพราะฉะนั้น ความจริงที่เราสร้างขึ้นนี้ ซึ่งไม่ใช่ความจริงโดยปรวิสัย อาจจะกำหนดพฤติกรรมทางสังคมของเรา ดังนั้น ความเอนเอียงทางประชานอาจนำไปสู่ความบิดเบือนทางการรับรู้ การประเมินตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง การตีความที่ไม่สมเหตุผล หรือพฤติกรรมที่เรียกกันอย่างกว้าง ๆ ว่า ความไม่มีเหตุผล (irrationality) ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างเชื่อว่า เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสังคมสิ่งแวดล้อม คือเป็นเหตุให้เกิดการกระทำที่มีประสิทธิภาพในสถานการณ์บางอย่าง นอกจากนั้นแล้ว ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างสามารถทำให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น ในสถานการณ์ที่ความเร็วมีความสำคัญมากกว่าความแม่นยำ ดังที่พบในเรื่องของฮิวริสติก ความเอนเอียงบางอย่างอาจจะเป็น "ผลพลอยได้" ของความจำกัดในการประมวลข้อมูลของมนุษย์ ซึ่งอาจจะมาจากการไม่มีกลไกทางจิตใจที่เหมาะสม (สำหรับปัญหานั้น) หรือว่ามีสมรรถภาพจำกัดในการประมวลข้อมูล ภายใน 6 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดความเอนเอียงทางประชานเป็นจำนวนมาก เป็นผลจากงานวิจัยในเรื่องการประเมินและการตัดสินใจของมนุษย์ จากสาขาวิชาการต่าง ๆ รวมทั้งประชานศาสตร์ จิตวิทยาสังคม และเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (behavioral economics) ความเอนเอียงทางประชานเป็นเรื่องสำคัญที่จะศึกษาเพราะว่า "ความผิดพลาดอย่างเป็นระบบ" แสดงให้เห็นถึง "กระบวนการทางจิตที่เป็นฐานของการรับรู้และการประเมินตัดสินใจ" (Tversky & Kahneman,1999, p. 582) นอกจากนั้นแล้ว แดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ ยังอ้างไว้ด้วยว่า ความรู้เกี่ยวกับความเอนเอียงทางประชานมีผลทางด้านการปฏิบัติในฟิลด์ต่าง ๆ รวมทั้งการวินิจฉัยทางคลินิก.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และความเอนเอียงทางประชาน · ดูเพิ่มเติม »

คำถามแบบโสกราตีส

ำถามแบบโสกราตีส (Socratic questioning) หมายถึงระเบียบวิธีการตั้งคำถามสำหรับใช้ในการค้นหาความคิดในหลายๆ ทิศทางเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงการค้นหาความคิดที่ซับซ้อน เพื่อค้นหาความจริงในเรื่องต่างๆ เพื่อเปิดประเด็นความคิดและปัญหา เพื่อเปิดเผยสมมุติฐาน เพื่อวิเคราะห์แนวคิด เพื่อแยกความแตกต่างในสิ่งที่เรารู้จากสิ่งที่เราไม่รู้ และเพื่อติดตามการประยุกต์ความคิดอย่างมีตรรกะ กุญแจสำคัญสำหรับบ่งความแตกต่างของคำถามแบบโสกราตีส โดยตรงก็คือ คำถามแบบโสกราตีสเป็นคำถามที่เป็นระบบ มีระเบียบวิธีที่ชัดเจน มีความลึกและปกติจะพุ่งจุดศูนย์รวมไปที่แนวคิดพื้นฐาน หลักการ ทฤษฎี ประเด็นปัญหา หรือตัวปัญหา คำถามแบบโสกราตีสมักมุ่งไปที่การเรียนการสอน และมีประโยชน์ในฐานะเป็นแนวความคิดทางการศึกษา โดยเฉพาะในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ปอลและเอลเดอร์ (Paul and Elder, The Art of Socratic Questioning, 2006) ให้ความเห็นว่า อาจารย์ผู้สอน นิสิตนักศึกษา รวมทั้งผู้สนใจในการลงลึก ย่อมสามารถและควรตั้งคำถามแบบโสกราตีสและควรต้องเข้าไปมีบทบาทในในการถกเถียงนั้นๆ ด้วย ความประสงค์ของอาจารย์ผู้สอนในการใช้คำถามแบบโสกราตีสในการสอน อาจเป็นเพื่อการเจาะลึกเข้าไปในความคิดของนิสิตนักศึกษา เพื่อดูว่าความคิดของนิสิตนักศึกษาในเรื่องที่กำลังศึกษานั้นๆ มีความลึกซึ้งเพียงใดในประเด็นของเรื่องราวหรือเนื้อหาวิชาเพียงใด หรือเป็นการใช้เพื่อเป็นแบบจำลองคำถามแบบโสกราตีสสำหรับนิสิตนักศึกษา หรือเพื่อใช้ช่วยนิสิตนักศึกษาวิเคราะห์แนวคิดหรือสร้างแนวทางการใช้เหตุผล นิสิตนักศึกษาควรจะต้องเรียนรู้คำถามแบบโสกราตีสเพื่อตนเองจะได้เริ่มนำไปใช้ในการหาเหตุผลในประเด็นปัญหาที่ซับซ้อน เพื่อเป็นการช่วยให้เกิดความเข้าใจและให้สามารถประเมินความคิดของผู้อื่น และติดตามไปจนบรรลุในประเด็นความคิดของตนเองหรือความคิดของผู้อื่นได้เป็นผลสำเร็จ ในการเรียนการสอน อาจารย์ผู้สอนสามารถใช้คำถามแบบโสกราตีสได้อย่างน้อยเพื่อวัตถุประสงค์สองประการคือ.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และคำถามแบบโสกราตีส · ดูเพิ่มเติม »

คณิตศาสตร์

ยูคลิด (กำลังถือคาลิเปอร์) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ในสมัย 300 ปีก่อนคริสตกาล ภาพวาดของราฟาเอลในชื่อ ''โรงเรียนแห่งเอเธนส์''No likeness or description of Euclid's physical appearance made during his lifetime survived antiquity. Therefore, Euclid's depiction in works of art depends on the artist's imagination (see ''Euclid''). คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับ โครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผลที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ เรามักนิยามโดยทั่วไปว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและโครงสร้าง, การเปลี่ยนแปลง และปริภูมิ กล่าวคร่าว ๆ ได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นสนใจ "รูปร่างและจำนวน" เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์ ในอดีตผู้คนจะใช้สิ่งของแทนจำนวนที่จะนับยิ่งนานเข้าจำนวนประชากรยิ่งมีมากขึ้น ทำให้ผู้คนเริ่มคิดที่จะประดิษฐ์ตัวเลขขึ้นมาแทนการนับที่ใช้สิ่งของนับแทนจากนั้นก็มีการบวก ลบคูณ และหาร จากนั้นก็ก่อให้เกิดคณิตศาสตร์ คำว่า "คณิตศาสตร์" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณิตตรรกศาสตร์

ณิตตรรกศาสตร์ (Mathematical logic) คือสาขาหนึ่งในคณิตศาสตร์ที่ศึกษาระบบรูปนัย และคุณลักษณะที่ระบบดังกล่าวจะสามารถใช้เพื่อแสดงมโนทัศน์ของบทพิสูจน์ และการคำนวณในส่วนที่เป็นรากฐานของคณิตศาสตร์ แม้ว่าคนทั่วไปมักมีความเข้าใจว่า คณิตตรรกศาสตร์คือ ตรรกศาสตร์ของคณิตศาสตร์ แต่ความจริงแล้วสาขานี้ใกล้เคียงกับ คณิตศาสตร์ของตรรกศาสตร์ มากกว่า เนื้อหาวิชาในสาขานี้ครอบคลุมส่วนของตรรกศาสตร์ที่สามารถโมเดลในรูปของคณิตศาสตร์ได้ เมื่อก่อนสาขานี้ถูกเรียกว่า ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ (ในลักษณะที่ตรงข้ามกับตรรกศาสตร์เชิงปรัชญา) และอภิคณิตศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันเป็นเพียงคำที่ใช้ในบางสาขาของทฤษฎีบทพิสูจน.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และคณิตตรรกศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ค่าความจริง

ค่าความจริง (Truth value) ในทางตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ หมายถึง ค่าที่ใช้บ่งบอกว่าประพจน์ใดเป็นความจริง ในเรื่องของตรรกศาสตร์แบบฉบับ (classical logic) ค่าความจริงมีเพียงสองอย่างเท่านั้นคือ ค่าจริง (true) และค่าเท็จ (false) แต่สำหรับตรรกศาสตร์คลุมเครือ (fuzzy logic) หรือตรรกศาสตร์หลายค่า (multi-valued logic) ค่าความจริงอาจจะมีค่าอย่างอื่นที่นอกเหนือจากนั้นก็ได้ เซตของค่าความจริง ทำให้เกิดพีชคณิตแบบบูล (Boolean algebra) ซึ่งคำนวณด้วยวิธีที่คล้ายพีชคณิตแล้วให้ผลเฉพาะในเซตเท่านั้น ส่วนพีชคณิตแบบอื่นอาจมีการใช้เซตของค่าความจริงในตรรกศาสตร์ที่ไม่ได้เป็นแบบฉบับ ตัวอย่างเช่น ตรรกศาสตร์สหัชญาณนิยม (intuitionistic logic) หรือพีชคณิตเฮย์ทิง (Heyting algebra) เป็นต้น ในการเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์จะให้ความหมายของค่า 0 เป็นค่าเท็จ และค่าอื่นที่ไม่ใช่ 0 (รวมทั้ง 1) หมายถึงค่าจริง และภาษาโปรแกรมบางภาษาอาจมีค่าว่าง (null) อยู่ด้วย ซึ่งไม่ใช่ทั้งค่าจริงและค่าเท็จ หมวดหมู่:ตรรกศาสตร์.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และค่าความจริง · ดูเพิ่มเติม »

ต้นสมัยกลาง

ักรพรรดินีธีโอโดรา พระอัครมเหสีในจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ในงานโมเสกของคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายในมหาวิหารซันวีตาเล เมืองราเวนนา หนังสือสำหรับพิธีศาสนาจากคริสต์ศตวรรษที่ 8 (หอสมุดวาติกัน, Reg. Lat. 316. foll. 131v/132r) ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages) เป็นสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุโรป เริ่มขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันและดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณห้าร้อยปีโดยเริ่มตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 500 จนกระทั่งมาถึงราวปี ค.ศ. 1000 ต้นสมัยกลางสิ้นสุดแล้วจึงต่อด้วยสมัยกลางยุครุ่งโรจน.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และต้นสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ซีโน

ซีโนกำลังแสดงประตูแห่งความจริง ซีโนแห่งเอเลีย (Zeno of Elea) เป็นนักปรัชญาชาวกรีก เกิดที่เมืองอีเลียเมื่อ..

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และซีโน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทรรศน์อีกา

ปฏิทรรศน์อีกา (Raven paradox) หรือเคยเป็นที่รู้จักในชื่อ ปฏิทรรศน์ของเฮมเพล หรือ อีกาของเฮมเพล เป็นปฏิทรรศน์ที่ถูกเสนอโดย คาร์ล กุสตาฟ เฮมเพล นักปรัชญาวิทยาศาสตร์และตรรกศาสตร์ชาวเยอรมันในปีพ.ศ. 2483 ปฏิทรรศน์นี้ค่อนไปทางปรัชญาและมีข้อคิดเห็นที่แตกต่างกันในหมู่นัก.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และปฏิทรรศน์อีกา · ดูเพิ่มเติม »

ประชาน

ประชาน หรือ ปริชาน หรือ การรับรู้ (Cognition) เป็น "การกระทำหรือกระบวนการทางใจเพื่อให้ได้ความรู้ความเข้าใจผ่านความคิด ประสบการณ์ และประสาทสัมผัส" ซึ่งรวมกระบวนการต่าง ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และประชาน · ดูเพิ่มเติม »

ประพจน์

ในตรรกศาสตร์และปรัชญา ประพจน์ (proposition) หมายถึงประโยคบอกเล่า (หรือประโยคปฏิเสธเชิงบอกเล่า) ที่มีเนื้อหาหรือความหมาย หรือหมายถึงรูปแบบของสัญลักษณ์ เครื่องหมาย หรือเสียงที่ทำให้เกิดประโยคบอกเล่าที่มีความหมาย ความหมายของประพจน์รวมไปถึงสมบัติที่บอกได้ว่าเป็นความจริงหรือความเท็จ (ตีความด้วยค่าความจริง) และประพจน์เช่นนั้นถือว่าเป็น truthbearer ส่วนประโยคคำถาม คำสั่ง ขอร้อง คำอุทาน หรือประโยคที่ไม่สามารถระบุค่าความจริงได้ ไม่เป็นประพจน.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และประพจน์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์การวางกรอบ

ปรากฏการณ์การวางกรอบ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ framing ว่า "การวางกรอบภาพ" (framing effect) เป็นความเอนเอียงทางประชานที่เรามีปฏิกิริยาต่อทางเลือกอย่างหนึ่งโดยต่าง ๆ กันไปขึ้นอยู่กับว่ามีการแสดงทางเลือกนั้นอย่างไร เช่นโดยเป็นการได้หรือการเสีย (ดูตัวอย่างในการหลีกเลี่ยงการเสีย) คือ เรามักจะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเมื่อแสดงทางเลือกนั้นโดยเป็นการได้ และจะทำการเสี่ยงเมื่อแสดงทางเลือกนั้นโดยเป็นการเสีย การได้และการเสียสามารถวางกรอบได้โดยใช้คำแสดงผลต่าง ๆ กัน (เช่น จะมีการเสียชีวิตหรือจะมีการช่วยชีวิต คนไข้จะได้รับการรักษาหรือไม่ได้รับการรักษา) ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม โดยเฉพาะคือ Prospect theory แสดงว.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และปรากฏการณ์การวางกรอบ · ดูเพิ่มเติม »

ปริศนา

ปริศนา (puzzle) คือปัญหาสำหรับท้าทายความเฉลียวฉลาด (ingenuity) ของมนุษย์ ปริศนามักจะถูกออกแบบมาเพื่อความบันเทิง แต่บางครั้งก็กลายเป็นปัญหาทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์อย่างจริงจัง สำหรับกรณีหลัง ผลสำเร็จของปริศนาอาจมีความสำคัญในการพิสูจน์และการวิจัยทางด้านคณิตศาสตร์ การหาผลสำเร็จของปริศนาบางอย่างอาจต้องใช้แบบแผน (pattern) และขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจง บุคคลที่มีความสามารถในการเรียนรู้ได้เร็ว อาจสามารถไขปัญหาได้ดีกว่าบุคคลอื่น ปริศนาซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนการเสาะหาและการค้นพบแนวทางในการแก้ปัญหา อาจแก้ได้รวดเร็วกว่าด้วยทักษะการอนุมานที่ดี.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และปริศนา · ดูเพิ่มเติม »

ปริศนา (นิตยสาร)

นิตยสารในเครือปริศนา ปริศนา เป็นนิตยสารรายปักษ์และรายเดือน จัดพิมพ์โดยบริษัท สำนักพิมพ์อาทร จำกัด ในเล่มบรรจุเกมปริศนาที่หลากหลาย พร้อมเฉลยท้ายเล่ม เพื่อให้ผู้อ่านได้ไขปัญหาและพัฒนาความคิดเชิงตรรกะ หรือสะสมเป็นงานอดิเรก นอกจากนั้นยังมีปริศนาชิงรางวัลที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละครั้ง.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และปริศนา (นิตยสาร) · ดูเพิ่มเติม »

ปัญญาประดิษฐ์

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่น ๆ อย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ การให้เหตุผล การปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง แม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่แนวคิดหลาย ๆ อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่นๆ เช่น.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และปัญญาประดิษฐ์ · ดูเพิ่มเติม »

นอสตราเดมัส

นอสตราเดมัส ไทยมักเรียก นอสตราดามุส (Nostradamus) ชื่อจริงว่า มีแชล เดอ นอสทร์ดาม (Michel de Nostredame; เกิด 14 หรือ 21 ธันวาคม 1503 แล้วแต่แหล่งข้อมูล;Most eyewitnesses to his original epitaph (including his son Caesar and historian Honoré Bouche) indicate 21 December, but a few (including his secretary Chavigny) suggest 14th. The inscription on his present tombstone evidently follows Chavigny. No conclusive explanation for the discrepancy has so far been discovered. See Guinard, Patrice, ตาย 2 กรกฎาคม 1566) เป็นชาวฝรั่งเศสซึ่งเป็นเภสัชกร (apothecary) และหมอดูที่มีชื่อเสียง เพราะเผยแพร่ชุดคำทำนายซึ่งเลื่องชื่อที่สุดในโลกหลายชุด โดยเฉพาะ เลพรอเฟซี (Les Propheties) ที่พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1555 เมื่อเผยแพร่หนังสือชุดดังกล่าวแล้ว นอสตราเดมัสก็ได้รับความสนใจจากสำนักพิมพ์ใหญ่หลายแห่ง พร้อมกิตติศัพท์ว่า สามารถทำนายทายทักเหตุการณ์สำคัญหลายเรื่องในโลก แหล่งข้อมูลทางวิชาการส่วนใหญ่ถือกันว่า การอ้างว่า เหตุการณ์ในโลกสัมพันธ์กับโคลงทำนายของนอสตราเดมัสนั้น เป็นผลมาจากการตีความหรือแปลความที่ผิดพลาด ซึ่งบางครั้งปรากฏว่า ตั้งใจให้ผิดพลาด มิฉะนั้น ก็เป็นเรื่องมโนสาเร่ถึงขนาดที่ไม่อาจถือเอาโคลงเหล่านั้นเป็นพยานหลักฐานว่า นอสตราเดมัสมีอำนาจพยากรณ์อย่างแท้จริง อย่างไรก็ดี นักวิจารณ์จำนวนหนึ่งก็ประสบความสำเร็จในการตีความอย่างเสรีโดยใช้วิธี "พลิกแพลง" ถ้อยคำในโคลงเพื่อระบุเหตุการณ์อันเห็นได้ชัดว่า ใกล้จะมาถึงอยู่แล้ว เช่น ในปี 1867 หลุยส์-มีแชล เลอ เปอเลอตีเย (Louis-Michel le Peletier) ใช้กลวิธีดังกล่าวทำนายล่วงหน้า 3 ปีว่าจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 จะทรงมีชัยหรือปราชัยในสงครามฝรั่งเศส–ปรัสเซีย แม้เลอ เปอเลอตีเย จะยอมรับว่า ตนไม่สามารถบอกได้จริงว่า จะทรงมีชัยหรือปราชัย และเหตุการณ์จะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ตาม.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และนอสตราเดมัส · ดูเพิ่มเติม »

นักคณิตศาสตร์

นักคณิตศาสตร์ (mathematician) คือบุคคลที่ศึกษาและ ทำงานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นาลันทา

250px โบราณสถานในนาลันทา ด้านหน้า โบราณสถานในนาลันทา ด้านหลัง นาลันทา เป็นชื่อเมือง ๆ หนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ประมาณ 1 โยชน์ (ประมาณ 16 กิโลเมตร) ณ เมืองนี้มีสวนมะม่วง ชื่อ ปาวาริกัมพวัน (สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี) ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้งคัมภีร์ฝ่ายมหายานกล่าวว่า พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นอัครสาวก เกิดที่เมืองนาลันทา แต่คัมภีร์ฝ่ายบาลีเรียกถิ่นเกิดของ พระสารีบุตรว่า หมู่บ้านนาลกะหรือนาลันทคาม "นาลันทามหาวิชชาลัยของพุทธศาสนานิกายมหายาน".

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และนาลันทา · ดูเพิ่มเติม »

นาคารชุนะ

ระนาคารชุนะ รูปปั้นของพระนาคารชุนะ ในวัดพุทธแบบทิเบตแห่งหนี่งในสหราชอาณาจักร นาคารชุนะ (नागार्जुन; Nāgārjuna; నాగార్జునా;; มีชีวิตในช่วงประมาณ พ.ศ. 700 - 800) เป็นนักปรัชญาอินเดีย เป็นผู้ก่อตั้งสำนักมัธยมกะ (ทางสายกลาง) ในนิกายมหายาน แห่งพุทธศาสนา และนับเป็นนักคิดชาวพุทธที่มีอิทธิพลสูงสุด ถัดจากพระพุทธเจ้า เป็นที่ศรัทธาและกล่าวถึงในหมู่นักศึกษาพุทธศาสนาชาวยุโรปมาโดยตลอด ท่านเป็นนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่มีผลงานโดดเด่นในด้านปรัชญาและตรรกวิทยา ผลงานสำคัญของท่านคือ มาธยมิกการิกา (มาธยมิกศาสตร์)อันเป็นพื้นฐานสำคัญของแนวคิดศูนยวาท ประกอบด้วยการิกา 400 การิกา ใน 27 ปริเฉท หนังสือเล่มนี้ได้รับการยกย่องตลอดมา และเป็นที่ยอมรับกันว่านักตรรกวิทยาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระนาคารชุนะไม่เคยมีปรากฏในโลก ศาสนิกชนมหายานทุกนิกายยกย่องท่านในฐานะคุรุผู้ยิ่งใหญ่เสมอ อย่างไรก็ตาม ประวัติของท่านกลับไม่ชัดเจนเท่าที่ควร.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และนาคารชุนะ · ดูเพิ่มเติม »

นิเสธ

นิเสธ มีความหมายพื้นฐานคือผลที่ได้จากการเปลี่ยนค่าความจริงของประโยค ไปเป็นตรงกันข้าม การทำให้เป็นนิเสธคือการดำเนินการสำคัญที่ใช้ในตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ และไวยากรณ.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และนิเสธ · ดูเพิ่มเติม »

แอลัน ทัวริง

แอลัน แมธิสัน ทัวริง (Alan Mathison Turing; 23 มิถุนายน พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) – 7 มิถุนายน พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954)) เป็นนักคณิตศาสตร์, นักตรรกศาสตร์, นักรหัสวิทยาและวีรบุรุษสงครามชาวอังกฤษ และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ เขาได้สร้างรูปแบบที่เป็นทางการทางคณิตศาสตร์ของการระบุขั้นตอนวิธีและการคำนวณ โดยใช้เครื่องจักรทัวริง ซึ่งตามข้อปัญหาเชิร์ช-ทัวริงได้กล่าวว่าเป็นรูปแบบของเครื่องจักรคำนวณเชิงกลที่ครอบคลุมทุก ๆ รูปแบบที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ทัวริงมีส่วนสำคัญในการแกะรหัสลับของฝ่ายเยอรมัน โดยเขาเป็นหัวหน้าของกลุ่ม Hut 8 ที่ทำหน้าที่ในการแกะรหัสของเครื่องอินิกมาที่ใช้ในฝ่ายทหารเรือ หลังจากสงครามเขาได้ออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถโปรแกรมได้เครื่องแรกๆ ของโลกที่ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งชาติ และได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นจริง ๆ ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ รางวัลทัวริงถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อยกย่องเขาในเรื่องนี้ นอกจากนั้นแล้ว การทดสอบของทัวริงที่เขาได้เสนอนั้นมีผลอย่างสูงต่อการศึกษาเรื่องปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งในขณะมีถกเถียงที่สำคัญว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะกล่าวว่าเครื่องจักรนั้นมีสำนึกและสามารถคิดได้.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และแอลัน ทัวริง · ดูเพิ่มเติม »

แผนภาพเวนน์

'''แผนภาพเวนน์''' แสดงตัวเขียนพิมพ์ใหญ่ที่ใช้ร่วมกันระหว่างอักษรกรีก อักษรละติน และ อักษรรัสเซีย แผนภาพเวนน์ หรือ แผนภาพเซต เป็นแผนภาพที่แสดงความเกี่ยวเนื่องเชิงตรรกศาสตร์ทั้งหมดระหว่างเซตจำนวนจำกัด จอห์น เวนน์ คิดแผนภาพเวนน์ขึ้นราวปี..

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และแผนภาพเวนน์ · ดูเพิ่มเติม »

โมเช วาย. วาดิ

มเช ยาโคบ วาดิ (משה יעקב ורדי, Moshe Ya'akov Vardi; เกิด 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1954) เป็นนักวิทยาการคอมพิวเตอร์เชื้อสายยิว ปัจจุบันเขาเป็นศาสตราจารย์สอนอยู่ที่ Rice University ประเทศสหรัฐอเมริกา from Rice University.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และโมเช วาย. วาดิ · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค

ันน์ เซบาสเตียน บาค, ปี พ.ศ. 2291 วาดโดย อีลิอาส ก็อตลอบ เฮาส์มันน์ (Elias Gottlob Haussmann) โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) เป็นคีตกวีและนักออร์แกนชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2228 (ค.ศ. 1685) ในครอบครัวนักดนตรี ที่เมืองไอเซนัค บาคแต่งเพลงไว้มากมายโดยดั้งเดิมเป็นเพลงสำหรับใช้ในโบสถ์ เช่น "แพชชั่น" บาคถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2293 ที่เมืองไลพ์ซิก บาคเป็นนักประพันธ์ดนตรีสมัยบาโรค เขาสร้างดนตรีของเขาจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของยุคสมัย บาคมีอิทธิพลอย่างสูงและยืนยาวต่อการพัฒนาดนตรีตะวันตก แม้แต่นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่เช่น โมซาร์ท และเบโธเฟน ยังยอมรับบาคในฐานะปรมาจารย์ งานของบาคโดดเด่นในทุกแง่มุม ด้วยความพิถีพิถันของบทเพลงที่เต็มไปด้วย ท่วงทำนอง เสียงประสาน หรือ เทคนิคการสอดประสานกันของท่วงทำนองต่าง ๆ รูปแบบที่สมบูรณ์แบบ เทคนิคที่ฝึกฝนมาเป็นอย่างดี การศึกษาค้นคว้า แรงบันดาลใจอันเต็มเปี่ยม รวมทั้งปริมาณของบทเพลงที่แต่ง ทำให้งานของบาคหลุดจากวงจรทั่วไปของงานสร้างสรรค์ที่ปกติแล้วจะเริ่มต้น เจริญเติบโตถึงขีดสุด แล้วเสื่อมสลาย นั่นคือไม่ว่าจะเป็นเพลงที่บาคได้ประพันธ์ไว้ตั้งแต่วัยเยาว์ หรือเพลงที่ประพันธ์ในช่วงหลังของชีวิตนั้นจะมีคุณภาพทัดเทียมกัน.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และโยฮันน์ เซบาสเตียน บาค · ดูเพิ่มเติม »

โดเมนแบบบูล

มนแบบบูล (Boolean domain) ในทางคณิตศาสตร์และพีชคณิตนามธรรม คือเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกสองตัวที่เป็นการตีความว่า เท็จ กับ จริง เท่านั้น ในทางตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี โดเมนแบบบูลมักจะเขียนเป็น,,, หรือ \left \ โครงสร้างเชิงพีชคณิตที่สร้างขึ้นบนโดเมนแบบบูลตามธรรมชาติคือพีชคณิตแบบบูลบนสมาชิกสองตัว (two-element Boolean algebra) วัตถุเริ่มต้นในแคทิกอรีของแลตทิซมีขอบเขตคือโดเมนแบบบูล ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ตัวแปรแบบบูล (Boolean variable) คือตัวแปรที่เก็บค่าเป็นสมาชิกจากโดเมนแบบบูล ภาษาโปรแกรมบางภาษามีคำหรือสัญลักษณ์ที่สงวนไว้สำหรับสมาชิกในโดเมนแบบบูล เช่น false กับ true อย่างไรก็ดี ภาษาโปรแกรมหลาย ๆ ภาษาก็ไม่ได้มีชนิดข้อมูลแบบบูลโดยเฉพาะ เช่นภาษาซีหรือภาษาเบสิก ค่าเท็จแทนด้วยจำนวน 0 และค่าจริงแทนด้วยจำนวน 1 หรือ −1 ตามลำดับภาษา เป็นต้น และตัวแปรทั้งหมดที่เก็บค่าเหล่านี้ก็สามารถเก็บจำนวนอื่น ๆ ได้อีกเช่นกัน.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และโดเมนแบบบูล · ดูเพิ่มเติม »

เชอร์ล็อก โฮมส์

อร์ล็อก โฮมส์ เป็นนวนิยายสืบสวนหรือรหัสคดี ประพันธ์โดยเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ นักเขียนและนายแพทย์ชาวสกอต ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตัวละคร เชอร์ล็อก โฮมส์ เป็นนักสืบชาวลอนดอนผู้ปราดเปรื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านทักษะการประมวลเหตุและผล ทักษะด้านนิติวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยหลักฐานและการสังเกตอันคาดไม่ถึงเพื่อคลี่คลายคดี โคนัน ดอยล์ แต่งเรื่อง เชอร์ล็อก โฮมส์ ไว้ทั้งสิ้นเป็นเรื่องยาว 4 เรื่อง และเรื่องสั้น 56 เรื่อง เกือบทุกเรื่องเป็นการบรรยายโดยเพื่อนคู่หูของโฮมส์ คือ นายแพทย์จอห์น เอช. วอตสัน หรือ หมอวอตสัน ในจำนวนนี้ มี 2 เรื่องที่โฮมส์เป็นผู้เล่าเรื่องเอง และอีก 2 เรื่องเล่าโดยบุคคลอื่น เรื่องสั้นสองเรื่องแรกตีพิมพ์ใน Beeton's Christmas Annual ในปี..

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และเชอร์ล็อก โฮมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์

อร์ทรันด์ อาร์เทอร์ วิลเลียม รัสเซลล์ (Bertrand Arthur William Russell; 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2415 - 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513) เป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ นักปรัชญา นักตรรกวิทยา ที่มีอิทธิพลอย่างสูงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นนักปรัชญาการศึกษาหัวรุนแรงที่มีบทบาทสำคัญยิ่งคนหนึ่งของอังกฤษ เป็นผู้ที่ได้สร้างผลงานด้านการศึกษาในแนวปฏิรูปไว้มากมายหลายแขนง ซึ่งเป็นที่ยอมรับและมีอิทธิพลต่อการศึกษาในปัจจุบันอย่างมาก บรรดานักปรัชญารู้จักเขาในฐานะของผู้ให้กำเนิดทฤษฎีความรู้ (Epistemology หรือ Theory of Knowledge) นักคณิตศาสตร์รู้จักรัสเซลในฐานะบิดาแห่งตรรกวิทยา ผู้เขียนตำราคลาสสิกทางคณิตศาสตร์ คือหนังสือชื่อ Principia Mathematica นักฟิสิกส์รู้จักเขาในฐานะของผู้แต่งตำรา ABC of Relativity สำหรับคนทั่วไปรู้จักรัสเซลล์ในฐานะของนักจิตวิทยา นักการศึกษา นักการเมือง และนักเขียนผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม เมื่อปี..

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และเบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล

กออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel,;27 สิงหาคม ค.ศ. 1770 – 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันในช่วงปลายยุคภูมิธรรม เฮเกิลเป็นนักปรัชญาคนสำคัญของโลกตะวันตก งานเขียนหลายชิ้นของเขามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อปรัชญากลุ่มต่างๆ อาทิ ปรัชญาภาคพื้นทวีป (Continental Philosophy) ปรัชญาวิเคราะห์ (Analytical Philosophy) และลัทธิมากซ.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล · ดูเพิ่มเติม »

เลขฐานสอง

ลขฐานสอง (อังกฤษ: binary numeral system) หมายถึง ระบบเลขที่มีสัญลักษณ์เพียงสองตัวคือ 0 กับ 1 บางครั้งอาจหมายถึงการที่มีโอกาสเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ปิดกับเปิด, ไม่ใช่กับใช่, เท็จกับจริง, ซ้ายกับขวา เป็นต้น ถ้าแปลงค่าเลขฐานสิบ มาเป็นเลขฐานสอง จะได้ดังนี้.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และเลขฐานสอง · ดูเพิ่มเติม »

เลโอโปลด์ โมซาร์ท

ลโอโปลด์ โมซาร์ท (Johann Georg Leopold Mozart) (14 พฤศจิกายน 1719 – 28 พฤษภาคม 1787) เป็นนักดนตรี วาทยากร ครู และนักไวโอลินชาวเยอรมัน เขาไม่เพียงแต่โด่งดังในฐานะที่เป็นบิดาและครูของโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท แต่ยังโด่งดังในฐานะเป็นผู้ประพันธ์หนังสือสอนไวโอลินชื่อว่า Versuch einer gründlichen Violinschule.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และเลโอโปลด์ โมซาร์ท · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาของคณิตศาสตร์

้นเวลาของคณิตศาสตร์บริสุทธิ์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ (timeline of mathematics).

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และเส้นเวลาของคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เหตุการณ์ไม่เกิดร่วม

หตุการณ์ไม่เกิดร่วม (mutually exclusive events) หมายถึงเหตุการณ์สองเหตุการณ์ขึ้นไปที่ไม่สามารถเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันได้ ตัวอย่างเช่นการโยนเหรียญหนึ่งเหรียญ ผลลัพธ์จะต้องออกหัวหรือออกก้อยอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่สามารถออกทั้งคู่พร้อมกัน ในตัวอย่างการโยนเหรียญนั้น ผลลัพธ์ทั้งสองเป็นเหตุการณ์ถ้วนทั่วโดยรวม (collectively exhaustive events) กล่าวคือ ผลลัพธ์อย่างน้อยหนึ่งอย่างจะต้องเกิดขึ้น ดังนั้นความเป็นไปได้ทั้งสองอย่างนี้คือความเป็นไปได้ทั้งหมด อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ไม่เกิดร่วมไม่ใช่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ถ้วนทั่วโดยรวมได้ทุกชนิด ยกตัวอย่างการกลิ้งลูกเต๋าหกหน้า ผลลัพธ์ที่ออก 1 และออก 4 ไม่เกิดร่วมกัน แต่ก็ยังไม่ถ้วนทั่วโดยรวม เพราะยังมีความเป็นไปได้ที่จะออก 2, 3, 5, 6 เหลืออยู่อีก.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และเหตุการณ์ไม่เกิดร่วม · ดูเพิ่มเติม »

เหตุผลวิบัติโดยหลักฐานไม่สมบูรณ์

หตุผลวิบัติโดยหลักฐานไม่สมบูรณ์ (fallacy of incomplete evidence) หรือ การปิดบังหลักฐาน (suppressing evidence) หรือแปลจากคำภาษาอังกฤษว่า Cherry picking คือ การเลือกเก็บเชอร์รี่ เป็นการชี้หลักฐานเป็นกรณี ๆ หรือแสดงข้อมูลที่ยืนยันความเห็นโดยเฉพาะอย่างหนึ่ง ๆ โดยที่มองข้ามกรณีหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันเป็นจำนวนมากที่อาจจะขัดแย้งกับความเห็นนั้น ๆ นี้เป็นเหตุผลวิบัติโดยการเลือกให้ความใส่ใจ และตัวอย่างที่เห็นบ่อยที่สุดก็คือความเอนเอียงเพื่อยืนยัน เหตุผลวิบัติชนิดนี้จะเกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ เป็นปัญหาสำคัญในการอภิปรายที่เป็นสาธารณะ ชื่อที่เรียกตามภาษาอังกฤษว่า "การเลือกเก็บเชอร์รี่" มีมูลมาจากวิธีการเก็บลูกเชอร์รี่ คือ คนเก็บจะเลือกเก็บแต่ลูกที่สุกและงามที่สุด ส่วนคนที่เห็นแต่ลูกที่เก็บแล้ว อาจจะสรุปอย่างผิด ๆ ว่า ลูกเชอร์รี่โดยมากงาม การเลือกเก็บเชอร์รี่พบได้ในเหตุผลวิบัติเชิงตรรกะหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่นเหตุผลวิบัติโดยหลักฐานเป็นเรื่องเล่ามักจะใส่ใจแต่ข้อมูลที่บุคคลต่าง ๆ เล่าให้ฟังแต่ไม่ใส่ใจหลักฐานข้อมูลอื่น ๆ ส่วน "การใช้หลักฐานแบบเลือก" (selective use of evidence) จะปฏิเสธข้อมูลที่ไม่เข้ากับประเด็นที่อ้าง ในขณะที่ "ทวิวิภาคเทียม" (false dichotomies) จะแสดงทางเลือกเพียงแค่สองอย่างแม้จะมีทางเลือกอื่น ๆ ที่ใช้ได้ การเลือกเก็บเชอร์รี่อาจหมายถึงการเลือกข้อมูลหรือเซ็ตข้อมูล ที่จะมีผลให้งานศึกษาหรืองานสำรวจ แสดงผลที่ต้องการ ซึ่งอาจจะเป็นเพียงแค่ความบิดเบือนจนกระทั่งถึงแม้แต่การคัดค้านความเป็นจริง.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และเหตุผลวิบัติโดยหลักฐานไม่สมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เทอมที่ไม่สนใจ

ทอมที่ไม่สนใจ (Don't-Care term) คือค่าของตรรกะที่จะเป็น 0 หรือ 1 ก็ได้ มักใช้ในอินพุตหรือเอาต์พุตที่ไม่สนใจค่า สำหรับอินพุตที่ไม่สนใจค่านั้น เนื่องจากอินพุตนั้นจะไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้น หรือการเปลี่ยนแปลงของอินพุต จะไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเอาต์พุต ส่วนเอาต์พุตที่ไม่สนใจค่านั้น เนื่องจากไม่ได้ใช้เอาต์พุตเหล่านั้น ดูตัวอย่าง ตารางความจริง ข้างล่าง มีอยู่ 2 เทอมที่ Output ของวงจรอาจจะเป็น "0" หรือเป็น "1" ก็ได้ เราแทนค่าด้วย "X".

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และเทอมที่ไม่สนใจ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะซิมส์ คาถามหาสนุก

อะซิมส์ คาถามหาสนุก (อังกฤษ: The Sims Makin' Magic) ถูกพัฒนาขึ้นโดย แมกซิส และออกจำหน่ายโดย อิเล็คทรอนิก อาร์ท ผลิตเมื่อ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นภาคเสริมตัวสุดท้ายของเกมชุด เดอะซิมส์ ซึ่งทางแมกซิสได้ผลิตเกมภาคต่อของเกมนี้ที่ชื่อ เดอะซิมส์ 2 ต่อไป.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และเดอะซิมส์ คาถามหาสนุก · ดูเพิ่มเติม »

เซต (แก้ความกำกวม)

ซต สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ตรรกศาสตร์และเซต (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Logicลอจิกตรรกตรรกวิทยาตรรกะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »