โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาวเสาร์

ดัชนี ดาวเสาร์

วเสาร์ (Saturn) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 จากดวงอาทิตย์ ถัดจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวแก๊สยักษ์ที่มีรัศมีเฉลี่ยมากกว่าโลกประมาณเก้าเท่า แม้ว่าจะมีความหนาแน่นเป็นหนึ่งในแปดของโลก แต่มวลของมันมีมากกว่าโลกถึง 95 เท่า ดาวเสาร์ตั้งชื่อตามเทพโรมันแห่งการเกษตร สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ของดาวเสาร์ (♄) แทนเคียวของเทพเจ้า ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลกของเร.

116 ความสัมพันธ์: ชิมูระ ชินปาจิชื่อวันของสัปดาห์พ.ศ. 2509พ.ศ. 2523พ.ศ. 2540พ.ศ. 2560พระเสาร์พื้นดินกฎของทิทิอุส-โบเดอกัสซีนี–เฮยเคินส์การสั่นพ้องของวงโคจรกาลิเลโอ กาลิเลอีกาลีกุสตาฟ โฮลส์ยูโรปา (ดาวบริวาร)ระบบสุริยะรายชื่อดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ทราบรายชื่อดาวฤกษ์เรียงตามโชติมาตรปรากฏรายชื่อตัวละครในเซนต์เซย่า โอเมการาศีมกรรางวัลแซทเทิร์นรีอา (ดาวบริวาร)ลมวอยเอจเจอร์ 1วอยเอจเจอร์ 2วิลเลียม เฮอร์เชลวงแหวนของรีอาวงแหวนของดาวเสาร์วงแหวนดาวเคราะห์สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์สิ่งมีชีวิตนอกโลกสีม่วงสีประจำวันในประเทศไทยสีในวัฒนธรรมจีนหน่วยดาราศาสตร์อันดับของขนาด (พื้นที่)อันดับของขนาด (มวล)อันดับของขนาด (อุณหภูมิ)อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลกจักรราศีจันทรุปราคา เมษายน พ.ศ. 2557ทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์ทีทิส (ดาวบริวาร)ทซาธอกกวาข้อความอาเรซีโบดาราศาสตร์ดาราศาสตร์ในปี ค.ศ. 2016ดาว (โหราศาสตร์)ดาวบริวารของดาวเสาร์ดาวพฤหัสบดี...ดาวพลูโตดาวฤกษ์ดาวหางดาวอังคารดาวแก๊สยักษ์ดาวเคราะห์ดาวเคราะห์นอกระบบคริสตียาน เฮยเคินส์คริสต์ศตวรรษที่ 21คริสต์สหัสวรรษที่ 3คริสต์สหัสวรรษที่ 4คริสต์สหัสวรรษที่ 8คริสต์สหัสวรรษที่ 9ความเอียงของวงโคจรความเอียงของแกนคาร์ล เซแกนนิวฮอไรซันส์น้ำหนักน้ำเหลวนอกโลกแม็กนีโตสเฟียร์แอนาเล็มมาแถบดาวเคราะห์น้อยโพรมีเทียส (ดาวบริวาร)โพรมีเทียส (แก้ความกำกวม)โอเกิล-2007-บีเอลจี-349(เอบี)บีโทรจัน (ดาราศาสตร์)โครงการวอยเอจเจอร์ไพโอเนียร์ 11ไกเซอร์ (ธรณีวิทยา)ไมมัส (ดาวบริวาร)ไอแอพิตัส (ดาวบริวาร)ไฮพีเรียน (ดาวบริวาร)ไทรทัน (ดาวบริวาร)ไททัน (ดาวบริวาร)ไททัน (เทพปกรณัม)ไดโอนีเสาร์เส้นเวลาการสำรวจระบบสุริยะเส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะเส้นเวลาของอนาคตไกลเอชดี 169830 บีเอนเซลาดัสเฮเลนี (ดาวบริวาร)เจอราร์ด ปีเตอร์ ไคเปอร์เคปเลอร์-16บีเซนทอร์ (ดาวเคราะห์น้อย)เนบิวลาปูS/2007 S 21 E+13 m²1 E+16 m²1 E12 m1 E4 m1 E5 m1 E6 m1 E8 m11 มิถุนายน12 พฤศจิกายน14 มกราคม15 ตุลาคม18 ธันวาคม2001 จอมจักรวาล (ภาพยนตร์)2001 จอมจักรวาล (นวนิยาย)25 มีนาคม4779 ซีตัส บี ขยายดัชนี (66 มากกว่า) »

ชิมูระ ชินปาจิ

มูระ ชินปาจิ เป็นหนึ่งในตัวละครหลักในหนังสือการ์ตูนและภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องกินทามะ ผลงานของฮิเดอากิ โซราจิ เป็นสมาชิกคนที่ 2 ของร้านรับจ้างสารพัด มักทำหน้าที่ตบมุกตัวละครอื่น.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และชิมูระ ชินปาจิ · ดูเพิ่มเติม »

ชื่อวันของสัปดาห์

วันในสัปดาห์ ถูกตั้งชื่อตามวัตถุบนท้องฟ้าที่สำคัญ ได้แก่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวอังคาร ดาวพุธ ดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ และ ดาวเสาร์ ซึ่งเป็นวัตถุบนท้องฟ้าที่สามารถมองเห็นได้ตั้งแต่ในสมัยโบราณ ตั้งแต่มนุษย์เริ่มสนใจในเรื่องของฟากฟ้าแล้ว วันเสาร์และวันอาทิตย์ถูกเรียกกันโดยทั่วไปว่าเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ วันแห่งการพักผ่อนหรือนันทนาการในประเทศตะวันตก ส่วนวันศุกร์และวันเสาร์ เป็นวันแห่งการพักผ่อนในประเทศมุสลิมบางประเทศ ในอิสราเอล ถือว่าวันเสาร์และวันศุกร์หรือวันอาทิตย์เป็นวันพักผ่อนของสัปดาห์ตามโอกาส แต่ในบางประเทศ เช่น อิหร่าน มีวันหยุดของสัปดาห์เพียงแค่หนึ่งวัน คือ วันศุกร์เท่านั้น และสัปดาห์ใหม่จะเริ่มขึ้นในวันเสาร์ ประเทศมุสลิมอื่น ๆ มักจะมีวันหยุดเป็นวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ วันอาทิตย์เป็นวันแรกของสัปดาห์ตามวิชาโหราศาสตร์ ในศาสนายูดาย และใน Ecclesiastical Latin รวมไปถึงในสหรัฐอเมริกา และในบางประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ รวมไปถึง ประเทศไทย ด้วย ส่วนประเทศจำนวนมากในยุโรป อเมริกาใต้ และบางส่วนของเอเชีย ถือว่าวันจันทร์เป็นวันแรกของสัปดาห์ ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างนานาชาติมาตรฐานสำหรับการใช้วันและเวลา ISO 8601 ซึ่งกำหนดให้วันจันทร์เป็นวันแรกของสัปดาห์ และวันอาทิตย์เป็นวันสุดท้ายของสัปดาห.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และชื่อวันของสัปดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2509

ทธศักราช 2509 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1966 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และพ.ศ. 2509 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2523

ทธศักราช 2523 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1980 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และพ.ศ. 2523 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2540

ทธศักราช 2540 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1997 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และพ.ศ. 2540 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2560

ทธศักราช 2560 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2017 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ (ลิงก์ไปยังปฏิทิน) ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และพ.ศ. 2560 · ดูเพิ่มเติม »

พระเสาร์

ระเสาร์ (เทวนาครี: शनि ศนิ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระเสาร์ถูกสร้างขึ้นมาจากพยัคฆ์ (เสือ) ๑๐ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีดำ แล้วเสกได้เป็นพระเสาร์มีสีวรกายดำคล้ำ ทรงพยัคฆ์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค ตะ เล็ก (ต ถ ท ธ น) พระเสาร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรง นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันเสาร์หรือมีพระเสาร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีกิริยาดุดัน แข็งแรง กล้าได้กล้าเสีย บุคลิกเคร่งขรึม แต่อดทน ตามนิทานชาติเวร พระเสาร์เป็นมิตรกับพระราหูและเป็นศัตรูกับพระศุกร์ ในโหราศาสตร์ไทย พระเสาร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๗ (เลขเจ็ดไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากพยัคฆ์ ๑๐ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๐ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันเสาร์ก็คือปางนาคปรก เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตก พระเสาร์อาจเทียบได้กับโครนอสตามเทพปกรณัมกรีก และแซทเทิร์นตามเทพปกรณัมโรมัน.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และพระเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

พื้นดิน

แผนที่แสดงเนื้อที่ของพื้นดินบนโลก โดยใช้เฉดสีเขียวและเหลือง พื้นดิน หรือ แผ่นดิน (Land หรือ dry land) คือ พื้นผิวที่เป็นของแข็งบนโลกซึ่งไม่ได้ครอบคลุมถึงพื้นน้ำ พื้นดินเป็นพื้นที่ประกอบกิจกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์ตลอดประวัติศาสตร์ซึ่งมีคุณูปการต่อการเกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย และเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ สิ่งมีชีวิตบนพื้นดินบางชนิด เช่น พืชบกและสัตว์บก ได้พัฒนาจากสายพันธ์ดั้งเดิมซึ่งเคยอาศัยอยู่ในน้ำมาก่อน พื้นที่ซึ่งเป็นบริเวณที่พื้นดินติดกับพื้นน้ำจะถูกเรียกว่าพื้นที่ชายฝั่ง การแบ่งแยกระหว่างพื้นดินและพื้นน้ำเป็นแนวคิดพื้นฐานของมนุษย์ซึ่งแตกต่างออกไปตามเขตอำนาจในแต่ละท้องที่หรือปัจจัยอื่น ๆ เขตแดนทางทะเลเป็นตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งแยกโดยใช้หลักทางการเมือง มีเขตแดนทางธรรมชาติหลายอย่างซึ่งช่วยในการกำหนดพื้นน้ำและพื้นดินได้อย่างชัดเจน ธรณีสัณฐานที่เป็นหินแข็งจะแบ่งแยกได้ง่ายกว่าเขตแดนที่เป็นบึงหรือแอ่งน้ำเมื่อไม่มีตำแหน่งที่ชัดเจนของบริเวณที่เป็นจุดสิ้นสุดของพื้นดินและจุดเริ่มต้นของพื้นน้ำ การแบ่งแยกอาจแตกต่างกันไปตามกระแสน้ำและสภาพอาก.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และพื้นดิน · ดูเพิ่มเติม »

กฎของทิทิอุส-โบเดอ

กฎของทิทิอุส-โบเดอ (Titius–Bode law) หรือบางแห่งเรียกว่า กฎของโบเดอ คือสมมุติฐานเกี่ยวกับวงโคจรของวัตถุทางดาราศาสตร์ที่ค่ากึ่งแกนเอกต่างๆ กันกับดวงอาทิตย์ ว่ามีความสัมพันธ์ในลักษณะเอกซ์โพเนนเชียลตามลำดับของดาวเคราะห์ ถูกเสนอขึ้นในปี..

ใหม่!!: ดาวเสาร์และกฎของทิทิอุส-โบเดอ · ดูเพิ่มเติม »

กัสซีนี–เฮยเคินส์

ำลองสามมิติ ยานสำรวจอวกาศกัสซีนี ขณะโคจรรอบดาวเสาร์ ภารกิจ กัสซีนี–เฮยเคินส์ หรือ คัสซีนี–ฮอยเกนส์ (Cassini–Huygens) เป็นความร่วมมือระหว่างนาซา, องค์การอวกาศยุโรป (ESA) และองค์การอวกาศอิตาลี (ASI) เพื่อส่งยานไปศึกษาดาวเสาร์และระบบดาวเสาร์ อันรวมถึงวงแหวนดาวเสาร์และดาวบริวาร ยานอวกาศหุ่นยนต์ไร้คนบังคับชั้นแฟลกชิปประกอบด้วยยานกัสซีนีของนาซา และส่วนลงจอดเฮยเคินส์ของ ESA ซึ่งจะลงจอดบนไททัน ดาวบริวารใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ กัสซีนีเป็นยานอวกาศลำที่สี่ที่เยือนดาวเสาร์และเป็นลำแรกที่เข้าสู่วงโคจร ยานนี้ตั้งชื่อตามโจวันนี โดเมนีโก กัสซีนี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี และคริสตียาน เฮยเคินส์ นักดาราศาสตร์ชาวดัตช์ ยานโดยสารไปกับไททัน 4บี/เซ็นทอร์เมื่อวันี่ 15 ตุลาคม 2540 ปฏิบัติภารกิจในอวกาศเป็นเวลากว่า 19 ปี โดยใช้เวลา 13 ปีโคจรรอบดาวเสาร์ แล้วศึกษาดาวเคราะห์และระบบดาวหลังเข้าสู่โคจรเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 การเดินทางสู่ดาวเสาร์มีการบินผ่านดาวศุกร์ (เมษายน 2541 ถึงกรกฎาคม 2542) โลก (สิงหาคม 2542) ดาวเคราะห์น้อย 2685 มาเซอร์สกี และดาวพฤหัสบดี (ธันวาคม 2543) ภารกิจสิ้นสุดลงในวันที่ 15 กันยายน 2560 เมื่อกัสซีนีได้รับคำสั่งให้บินเข้าชั้นบรรยากาศบนของดาวเสาร์และถูกเผาไหม้เพื่อป้องกันความเสี่ยงการทำให้ดาวบริวารของดาวเสาร์ปนเปื้อนจุลชีพจากโลกที่ติดไปกับยาน ทั้งนี้ ดาวบริวารของดาวเสาร์บางดวงมีสิ่งแวดล้อมที่อาจมีสิ่งมีชีวิตได้ ภารกิจดังกล่าวเป็นที่รู้กันแพร่หลายว่าประสบความสำเร็จเหนือความคาดหมาย ผู้อำนวยการกองวิทยาดาวเคราะห์ของนาซาเรียก กัสซีนี–เฮยเคินส์ ว่าเป็น "ภารกิจแห่งครั้งแรก" ซึ่งปฏิบัติความเข้าใจของมนุษย์เกี่ยวกับระบบดาวเสาร์ ซึ่งรวมทั้งดาวบริวารและวงแหวน และความเข้าใจว่าอาจพบสิ่งมีชีวิตได้ในระบบสุริยะ ภารกิจดั้งเดิมของกัสซีนีวางแผนไว้กินเวลาสี่ปี ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2547 ถึงพฤษภาคม 2551 ต่อมาภารกิจถูกขยายเวลาไปสองปีถึงเดือนกันยายน 2553 เรียก ภารกิจวิษุวัตกัสซีนี (Cassini Equinox Mission) และขยายเวลาครั้งที่สองและครั้งสุดท้ายด้วย ภารกิจอายันกัสซีนี (Cassini Solstice Mission) ที่กินเวลาต่อมาอีกเจ็ดปีถึงวันที่ 15 กันยายน 2560 16 ประเทศในทวีปยุโรปพร้อมทั้งสหรัฐจัดตั้งทีมซึ่งรับผิดชอบต่อการออกแบบ การก่อสร้าง การบิน และการเก็บข้อมูลจากส่วนโคจรกัสซีนีและยานสำรวจเฮยเคินส์ ภารกิจดังกล่าวบริหารจัดการโดยห้องปฏิบัติการการขับดันเจ็ตของนาซาในสหรัฐ ที่ซึ่งส่วนบนรนโคจรถูกออกแบบและประกอบ การพัฒนายานสำรวจไททันเฮยเคินส์บริหารจัดการโดยศูนย์วิจัยอวกาศและเทคโนโลยียุโรป อุปกรณ์เครื่องมือสำหรับยานสำรวจดังกล่าวได้รับการจัดหาจากหลายประเทศ องค์การอวกาศอิตาลี (ASI) จัดหาเสาวิทยุกำลังขยายสูงของยานสำรวจกัสซีนี และเรดาร์น้ำหนักเบาและกะทัดรัด ซึ่งทำหน้าที่อเนกประสงค์ทั้งเป็นการถ่ายภาพจากเรดาร์ (synthetic aperture radar) มาตรความสูงเรดาร์และมาตรรังสี กัสซีนีได้รับพลังงานโดยพลูโทเนียม-238 หนัก 32.7 กิโลกรัมRuslan Krivobok:.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และกัสซีนี–เฮยเคินส์ · ดูเพิ่มเติม »

การสั่นพ้องของวงโคจร

การสั่นพ้องลาปลัสที่เกิดกับดวงจันทร์กาลิเลียนสามดวง สัดส่วนตัวเลขเป็นคาบการโคจร การสั่นพ้องของวงโคจร (orbital resonance) เป็นลักษณะทางกลศาสตร์ของเทหวัตถุบนท้องฟ้าที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุที่มีวงโคจรสองชิ้นส่งอิทธิพลด้านแรงโน้มถ่วงต่อกันเป็นช่วงเวลา ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อวงโคจรของวัตถุทั้งสองมีความสัมพันธ์กันเป็นสัดส่วนจำนวนเต็ม การสั่นพ้องของวงโคจรจะเพิ่มพูนแรงโน้มถ่วงระหว่างกันของวัตถุเหล่านั้น โดยทั่วไปแล้วปรากฏการณ์นี้จะทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ไม่เสถียร ทำให้วัตถุมีการแลกเปลี่ยนโมเมนตัมและเปลี่ยนวงโคจรไปจนกระทั่งการสั่นพ้องไม่เกิดขึ้นอีก ในบางสภาวการณ์ ระบบที่มีการสั่นพ้องอาจจะเสถียรและปรับแก้ตัวเองก็ได้ ทำให้วัตถุยังคงอยู่ในภาวะการสั่นพ้องต่อไป ตัวอย่างเช่นการสั่นพ้องวงโคจร 1:2:4 ของดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี คือแกนีมีด ยูโรปา และไอโอ หรือการสั่นพ้อง 2:3 ระหว่างดาวพลูโตและดาวเนปจูน การสั่นพ้องที่ไม่เสถียรของดวงจันทร์รอบในของดาวเสาร์ทำให้ช่องว่างในวงแหวนของดาวเสาร์ใหญ่ขึ้น หมวดหมู่:กลศาสตร์ท้องฟ้า.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และการสั่นพ้องของวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

กาลิเลโอ กาลิเลอี

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่" "บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่"Weidhorn, Manfred (2005).

ใหม่!!: ดาวเสาร์และกาลิเลโอ กาลิเลอี · ดูเพิ่มเติม »

กาลี

รูปปั้นนูนสูงของพระแม่กาลีและพระแม่ทุรคาประดับเทวสถานพระแม่จามุนดา ประเทศอินเดีย พระแม่กาลี หรือ กาลิกา (काली, Kālī, แปลว่า หญิงดำ) เป็นปางหนึ่งของพระอุมาเทวี ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีกายสีดำสนิท มีลักษณะดุร้าย มี ๑๐ พระกร ถืออาวุธร้ายอยู่ในพระกรทั้งสิบนั้น แลบลิ้นยาวถึงทรวงอก ที่ริมฝีปากมีเลือดไหลหยดเป็นทางยาว เครื่องประดับเป็นหัวกะโหลก มีงูใหญ่ร้อยคาดองค์ดั่งสังวาลย์ พระแม่กาลี หรือ เจ้าแม่กาลี มีอำนาจฤทธิ์ในการปราบปรามสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง มีเทวานุภาพอันแรงกล้า สร้างความวิบัติแก่เหล่าอสูรอย่างรุนแรง เด็ดขาด แฝงเร้นไว้ซึ่งความน่ากลัว ผู้บูชาพระแม่กาลีอย่างถูกต้องและเคร่งครัด พระแม่จะประทานความแข็งแกร่ง ความกล้าหาญ และอำนาจเหนือผู้อื่น พระแม่กาลี ยังมีพลังอำนาจในการขจัดคุณไสย ลบล้างไสยเวทย์ด้านมืด หากบุคคลใดถูกกระทำทางไสยศาสตร์ เมื่อผู้นั้นได้สวดบูชาอ้อนวอนต่อพระองค์ท่านแล้ว พระองค์ท่านก็มักให้พร ขจัดสิ่งอาถรรพ์ชั่วร้ายให้มลายหายไป และประทานสิ่งที่เป็นไปได้ยากให้ได้รับอย่างง่ายดาย ผู้ใดกระทำการสวดบูชา สรรเสริญ และถวายเครื่องสังเวยแด่พระแม่กาลีเป็นประจำ พระองค์ท่านจะประทานความปลอดภัยมาสู่ผู้นั้น ทรงดลบันดาลให้เกิดความสันติผาสุกแก่ผู้ครองเรือนทั่วไป คุ้มครองผู้บูชาจากภยันตรายและอุบัติเหตุร้ายแรง พระแม่กาลีทรงมีบุคลิกภาพที่ยากแก่การเข้าใจ มีความลึกลับที่สุดในบรรดาเทพเทวาทั้งปวง พระนางมีความดุดัน เกรี้ยวกราด รูปลักษณ์และอุปนิสัยล้วนเต็มไปด้วยความน่าสะพรึงกลัว แต่พระนางก็จะทำลายเฉพาะอสูร ปีศาจ และมนุษย์ที่กระทำการชั่วร้ายเท่านั้น เนื่องจากพระแม่กาลีก็คือเทพ และเทพก็มักปกป้องคุ้มครองผู้กระทำความดีเช่นเดียวกันทุกพระองค์ ฉะนั้น แม้ผู้ที่บูชาพระแม่อย่างเคร่งครัด แต่เป็นคนที่ไม่ดี มีความคิดที่ชั่วร้าย เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น พระแม่ท่านก็จะทำลายบุคคลผู้นั้นเสียโดยไม่ละเว้น ผู้ที่มีจิตใจไม่มั่นคง กำลังประสบหรือผ่านพ้นจากเหตุการณ์ร้ายแรงทำให้จิตใจอ่อนแอ สามารถกระทำการบูชาพระองค์ เพื่อขอความเข้มแข็ง และเด็ดขาด ผู้ที่เจอคุณไสย และถูกเบียดเบียนจากพลังงานชั่วร้ายหรืออำนาจไม่ดีทั้งจากมนุษย์และอมนุษย์ สามารถขอพระเมตตา จาก พรหมวิหารธรรมของท่าน ขจัดและทำลายให้พินาศสิ้น ผู้ที่ฝันร้าย เจออวมงคล นิมิตอันเป็นเหตุไม่ดี มีประการต่างๆ สามารถกระทำการบูชา ด้วยประทีปสีแดงและดำ ช่วยปัดเป่าให้มลายหายไป ผู้ที่มีโรคร้ายแรง ยากแก่การรักษา สามารถกระทำ ปฏิบัติบูชา อันจะกล่าวภายหลัง เพื่อหาหนทางบรรเทาโรคภัยได้ ผู้ที่ผิดหวังในรัก รักเพศเดียวกัน รักซ้อนรักแทรก สามารถกระทำปฏิบัติบูชาและบูชาเทวรุปประจำองค์ท่านได้เพื่อความสมหวังทั้งปวง นอกจากนั้น ท่านยังเด่นในเรื่อง การให้โชคลาภและยศฐาบันดาศักดิ์ด้วย พระมหาเทวีท่านโปรดปรานการบูชา ด้วยประทีปหรืออัคนี(อารตีไฟ) ปูเทวรุปด้วยผ้าแดงหรือสีดำก้ได้ (สามารถใช้ สีเงินหรือสีขาว เพื่อระลึกถึง พรหมวิหารธรรมของพระองคืได้ด้วย) ตำนานกล่าวว่า พระอุมาซึ่งอยู่ในปางอัมพิกา พระสิริโฉมงดงามเสด็จสู่สนามรบ เมื่อเหล่าอสูรได้เห็นก็พยายามจะได้นางเป็นชายา แต่นางได้ต่อสู้กับเหล่าอสูรด้วยความพิโรธ ในปางพระแม่กาลี จนอสูรทั้งหลายตายจนเกือบหมด เหลือเพียงมาธูอสูร ที่ทรงสังหารอย่างไรก็ไม่ตาย เพราะเคยได้รับพรจากพระศิวะให้มีชีวิตเป็นอมตะ หากเลือดหยดถึงพื้นดินก็จะเกิดเป็นอสูรอีกมากมายไม่สิ้นสุด ร้อนถึงพระศิวะ ทรงประทานวิธีให้พระแม่กาลีดื่มเลือดอสูรทุกครั้งอย่าให้ตกถึงดิน มาธูอสูรจึงถึงแก่ความตาย หลังจากชนะอสูรมาธู พระนางทรงดีพระทัย กระโดดเต้นเพื่อฉลองชัยชนะ แต่ด้วยตบะอันแรงกล้าทำให้เกิดความเดือดร้อน ต่อด้วยโลกธาตุทั้งปวงเมื่อพระนางกระทืบพระบาท พระศิวะจะเข้าห้ามปรามก็เกรงความดุร้ายของพระนาง จึงใช้อุบายทรงทอดพระกายลงบนพื้นที่พระนางจะกระทืบพระบาท เมื่อพระกาลีเห็นพระศิวะที่พื้น ด้วยปางหนึ่งที่เป็นพระปารวตี ซึ่งรักและภักดีในพระศิวะยิ่ง ก็ทรงชะงัก และแลบลิ้นด้วยความขวยเขิน การบูชาพระแม่กาลี ต้องใช้เลือดบริสุทธิ์ ในอดีตมีการใช้หญิงพรหมจารีย์ไปบูชายัญด้วยเลือดจากลำคอ แต่เมื่ออังกฤษเข้าปกครองอินเดีย ได้สั่งห้ามการฆ่าคนเพื่อบูชายัญ ปัจจุบันนี้การบูชาพระแม่กาลีใช้เลือดแพะแทน จากการที่พระแม่กาลีเป็นปางหนึ่งของพระอุมาเทวีที่ดุร้าย มีรูปลักษณ์คล้ายปีศาจและใช้เลือดและชีวิตในการบูชายัญ จึงมีความเข้าใจผิดกันว่า พระแม่กาลีเป็นเทพเจ้าแห่งความชั่วร้าย ในสำนวนภาษาไทยจึงมีคำว่า "กาลี" ซึ่งหมายความว่า สิ่งที่ชั่วร้าย เช่น "กาลีบ้านกาลีเมือง" หมายถึง "สิ่งที่ชั่วร้ายต่อบ้านเมือง" เป็นต้น บ้างก็ว่าเจ้าแม่กาลีเป็นเทพเจ้าที่โจรบูชา แต่แท้ที่จริงแล้ว ถ้าคนไม่ดีบูชาเจ้าแม่กาลี ก็จะมีอันเป็นไปในเร็ววัน วิธีการบูชาเจ้าแม่กาลีจะต้องถวายน้ำ นมและดอกไม้ ผลไม้ และเอกไม้ที่พระแม่โปรดปรานคือ ดอกชบาแดง ผู้บูชาต้องสวดบทบูชาเจ้าแม่กาลีทั้งเช้าเย็นว่า"โอม ศรี มหากาลิกาไย นะมะห์" โอม เจมาตากาลี โอม สตี เยมา ตา กาลี โอม ศรี มหากาลี มาตา นมัช เลือกบทที่ชอบ และคุ้นชิน หรือ ทำสมาธิถวายปรานแก่องค์พระแม่เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระแม่ ห เจ้าแม่กาลีที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทยคือที่วัดแขก สีลม ผู้ที่ประสบเคราะห์กรรมโดนรังแก สามารถไปไหว้ท่านเพื่อแก้ไขดวงชะตาได้.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และกาลี · ดูเพิ่มเติม »

กุสตาฟ โฮลส์

องโฮลส์ ถ่ายโดย Herbert Lambert กุสตาฟ โฮลส์ (21 กันยายน ค.ศ. 187425 พฤษภาคม ค.ศ. 1934) เป็นนักดนตรีชาวอังกฤษ โดยโอสต์โด่งดังจากเพลงตับ เดอะ พลาเนตส์ โอสต์เรียนใน Royal College of Music ในกรุงลอนดอน โดยเขาได้แรงจูงใจจาก Grieg, Wagner Richard Strauss และ Ralph Vaughan Williams ชื่อเต็มของโฮลส์คือ Gustavus Theodor von Holst แต่เขาได้ตัด "von" จากชื่อของเขาเพื่อตอบสนองการต่อต้านเยอรมันในอังกฤษระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และทำให้เป็นทางการในพินัยกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1918.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และกุสตาฟ โฮลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูโรปา (ดาวบริวาร)

ูโรปา (Europa; Ευρώπη) เป็นดาวบริวารดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี ค้นพบในปี..

ใหม่!!: ดาวเสาร์และยูโรปา (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ทราบ

ลก ดาวพฤหัสบดี ดาวซิริอุส ดาวอัลดิบาแรน ดาวบีเทลจุส ตารางข้างล่างนี้ คือรายการของดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักกันโดยเรียงตามรัศมี หน่วยวัดที่ใช้คือจำนวนเท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ (ประมาณ 695,500 กิโลเมตรหรือ 432,450 ไมล์) ลำดับรายการที่แน่นอนนั้นยังไม่สมบูรณ์ และยังไม่สามารถระบุได้อย่างครบถ้วน เนื่องจาก.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และรายชื่อดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ทราบ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อดาวฤกษ์เรียงตามโชติมาตรปรากฏ

วฤกษ์สว่างที่สุด จัดว่าเป็นดาวฤกษ์สว่างเนื่องจากมีความส่องสว่างมาก และ/หรือ มันอยู่ใกล้โลกมาก รายชื่อต่อไปนี้เป็นรายชื่อดาวฤกษ์เดี่ยว 91 ดวงที่สว่างที่สุดเมื่อมองจากโลก ภายใต้การสังเกตคลื่นที่ตามองเห็น (กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดาวฤกษ์ที่มีค่าความส่องสว่างปรากฏน้อยกว่าหรือเท่ากับ +2.50) หากนับความสว่างที่ต่ำลงกว่านี้จะได้รายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก แผนภาพท้องฟ้าโดยมากจัดทำโดยนับรวมดาวฤกษ์ที่มีค่าความส่องสว่างปรากฏถึง +11 ในคลื่นที่ตามองเห็น การสำรวจอย่างต่อเนื่องทำให้เราบันทึกรายชื่อดาวฤกษ์ที่มีความสว่างน้อยลงได้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ วัตถุท้องฟ้าที่มิใช่ดาวฤกษ์ในระบบสุริยะของเราที่มีความสว่างสูงสุด คือน้อยกว่าหรือเท่ากับ +2.50 ได้แก่ ดวงจันทร์ (ความสว่าง -12.9) ดาวศุกร์ (ความสว่าง -4.6) ดาวพฤหัสบดี (ความสว่าง -2.9) ดาวอังคาร (ความสว่าง -2.9) ดาวพุธ (ความสว่าง -1.9) และดาวเสาร์ (ความสว่าง -0.2).

ใหม่!!: ดาวเสาร์และรายชื่อดาวฤกษ์เรียงตามโชติมาตรปรากฏ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในเซนต์เซย่า โอเมกา

;แซทเทิร์น (サターン);ยูโรปา (エウロパ);มิลเลอร์ (ミラー) ซ.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และรายชื่อตัวละครในเซนต์เซย่า โอเมกา · ดูเพิ่มเติม »

ราศีมกร

ราศีมกร หรือ ราศีมังกร (Capricorn, Capricornus จากCapricornus แปลว่า "แพะมีเขา") เป็นราศีที่ 10 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีธนูกับราศีกุมภ์ มีสัญลักษณ์เป็นครึ่งแพะภูเขาครึ่งปลา ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีมกรนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม ถึง 20 มกราคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 15 มกราคม ถึง 14 กุมภาพัน.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และราศีมกร · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลแซทเทิร์น

รางวัลแซทเทิร์น รางวัลแซทเทิร์น (Saturn Award) เป็นงานแจกรางวัลที่จัดขึ้นประจำปีโดย Academy of Science Fiction, Fantasy & Horror Films เพื่อให้เกียรติกับภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ และโฮมวิดีโอ แนว นิยายวิทยาศาสตร์, แฟนตาซี และสยองขวัญ โดยดร.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และรางวัลแซทเทิร์น · ดูเพิ่มเติม »

รีอา (ดาวบริวาร)

รีอา (Rhea,; Ῥέᾱ) เป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของดาวเสาร์และดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 9 ในระบบสุริยะ ค้นพบโดยโจวันนี โดเมนีโก กัสซีนี ในปี ค.ศ. 1672.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และรีอา (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ลม

ต้นไม้ที่กำลังถูกลมพัด ลม เป็นการไหลเวียนของแก๊สในขนาดใหญ่ บนโลก ลมประกอบด้วยการเคลื่อนที่ของอากาศขนาดใหญ่ ส่วนในอวกาศ ลมสุริยะเป็นการเคลื่อนที่ของแก๊สหรืออนุภาคมีประจุจากดวงอาทิตย์ผ่านอวกาศ ขณะที่ลมดาวเคราะห์เป็นการปล่อยแก๊ส (outgassing) ของธาตุเคมีเบาจากชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์สู่อวกาศ โดยทั่วไป การจำแนกประเภทของลมใช้ขนาดเชิงพื้นที่, ความเร็ว, ประเภทของแรงที่เป็นสาเหตุ, ภูมิภาคที่เกิด และผลกระทบ ลมที่แรงที่สุดเท่าที่สังเกตพบบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเกิดขึ้นบนดาวเนปจูนและดาวเสาร์ ในทางอุตุนิยมวิทยา ลมมักถูกเรียกชื่อตามพลัง และทิศทางซึ่งลมพัดมาจาก ลมความเร็วสูงที่พัดมาสั้น ๆ เรียก ลมกระโชก (gust) ลมแรงที่มีระยะการเกิดปานกลาง (ประมาณหนึ่งนาที) เรียก ลมพายุฝน (squall) ส่วนลมที่มีระยะการเกิดนานนั้นมีหลายชื่อตามความแรงเฉลี่ย เช่น ลม (breeze), เกล, พายุ, เฮอร์ริเคนและไต้ฝุ่น ลมเกิดขึ้นได้หลายขนาด ตั้งแต่พายุฝนฟ้าคะนองที่ไหลเวียนนานหลายสิบนาที ไปถึงลมท้องถิ่นที่เกิดจากการให้ความร้อนจากผิวดิน และเกิดนานไม่กี่ชั่วโมง ไปจนถึงลมทั่วโลกที่เกิดจากความแตกต่างในการดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์ระหว่างเขตภูมิอากาศบนโลก สองสาเหตุหลักของวงรอบอากาศขนาดใหญ่เกิดจากการให้ความร้อนที่ต่างกันระหว่างเส้นศูนย์สูตรกับขั้วโลก และการหมุนของดาวเคราะห์ (ปรากฏการณ์คอริออลิส) ในเขตร้อน วงรอบความร้อนต่ำเหนือภูมิประเทศและที่ราบสูงสามารถก่อให้เกิดวงรอบมรสุมได้ ในพื้นที่ชายฝั่ง วัฏจักรลมบก/ลมทะเลสามารถกำหนดลมท้องถิ่นได้ ในพื้นที่ซึ่งมีภูมิประเทศขึ้น ๆ ลง ๆ ลมภูเขาและหุบเขาสามารถมีอิทธิพลเหนือลมท้องถิ่นได้ ในอารยธรรมมนุษย์ ลมจุดประกายเทพปกรณัม ส่งอิทธิพลต่อเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ขยายพิสัยการขนส่งและการสงคราม และเป็นแหล่งพลังงานแก่งานเชิงกล ไฟฟ้าและสันทนาการ ลมเป็นพลังงานแก่การเดินทางโดยแล่นเรือข้ามมหาสมุทรของโลก บอลลูนลมร้อนใช้ลมเพื่อเดินทางระยะสั้น ๆ และการบินที่มีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนใช้ลมเพื่อเพิ่มแรงยกและลดการบริโภคเชื้อเพลิง พื้นที่ลมเฉือนเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์สภาพบรรยากาศหลายปรากฏการณ์ ซึ่งสามารถนำไปสู่สถานการณ์อันตรายแก่อากาศยานได้ เมื่อลมพัดแรง ต้นไม้และสิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นจะได้รับความเสียหายหรือถูกทำลายได้ Yed vav.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และลม · ดูเพิ่มเติม »

วอยเอจเจอร์ 1

วอยเอจเจอร์ 1 วอยเอเจอร์ 1 (Voyager 1) เป็นยานสำรวจอวกาศที่นาซาปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 5 กันยายน..

ใหม่!!: ดาวเสาร์และวอยเอจเจอร์ 1 · ดูเพิ่มเติม »

วอยเอจเจอร์ 2

มเดลของยานในโครงการวอยเอจเจอร์ วอยเอจเจอร์ 2 (Voyager 2) คือยานสำรวจอวกาศแบบไม่มีคนบังคับที่เดินทางระหว่างดาวเคราะห์ ขึ้นสู่อวกาศเมื่อ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1977 เป็นยานสำรวจอวกาศในโครงการวอยเอจเจอร์ ซึ่งมียานพี่อีกลำหนึ่งคือยานวอยเอจเจอร์ 1 ยานวอยเอจเจอร์ 2 ถูกส่งขึ้นไปให้โคจรเป็นเส้นโค้งตามระนาบสุริยวิถี โดยเตรียมการให้สามารถเดินทางเข้าใกล้ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน ด้วยการอาศัยแรงเหวี่ยงจากแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์ซึ่งมันจะต้องเดินทางผ่านในปี..

ใหม่!!: ดาวเสาร์และวอยเอจเจอร์ 2 · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เฮอร์เชล

วิลเลียม เฮอร์เชล วิลเลียม เฮอร์เชล (William Herschel) (พ.ศ. 2281 - 2365) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเชื้อสายเยอรมัน ผู้ค้นพบดาวยูเรนัสโดยบังเอิญใน พ.ศ. 2324 ขณะเขากำลังส่องกล้องโทรทรรศน์ศึกษาดาวฤกษ์ ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าดวงแรกที่ถูกค้นพบ เฮอร์เชลเป็นนักดนตรีอาชีพที่อพยพจากเมืองฮันโนเวอร์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนี) มาตั้งหลักแหล่งอยู่ในอังกฤษ งานอดิเรกของเขาคือ การสร้างกล้องโทรทรรศน์ และมีความชำนาญมากในการศึกษาสังเกตดวงดาว การค้นพบดาวยูเรนัสทำให้เฮอร์เชลมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลก น้องสาวของเขา คือ แคโรลีน เฮอร์เชล (พ.ศ. 2293 - 2391) ทำงานร่วมกับเขา และได้ค้นพบดาวหางหลายดวง.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และวิลเลียม เฮอร์เชล · ดูเพิ่มเติม »

วงแหวนของรีอา

accessdate.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และวงแหวนของรีอา · ดูเพิ่มเติม »

วงแหวนของดาวเสาร์

ราสดาวเสาร์บังดวงอาทิตย์ จากยานคาสสินี-ไฮเกนส์ เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2006 ดาวเสาร์ เป็นดาวเคราะห์ที่มีระบบวงแหวนดาวเคราะห์ขนาดใหญ่มากกว่าดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กจำนวนมากนับไม่ถ้วน ที่มีขนาดตั้งแต่ไม่กี่ไมโครเมตรไปจนถึงหลายเมตร กระจุกตัวรวมกันอยู่และโคจรไปรอบๆ ดาวเสาร์ อนุภาคในวงแหวนส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง มีบางส่วนที่เป็นฝุ่นและสสารอื่น วงแหวนของดาวเสาร์ช่วยสะท้อนแสง ทำให้มองเห็นความสว่างของดาวเสาร์เพิ่มมากขึ้น แต่เราไม่สามารถมองเห็นวงแหวนเหล่านี้ได้ด้วยตาเปล่า ในปี..

ใหม่!!: ดาวเสาร์และวงแหวนของดาวเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

วงแหวนดาวเคราะห์

วงแหวนดาวเคราะห์ (planetary ring) คือวงแหวนของฝุ่นคอสมิกและวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ ที่โคจรไปรอบดาวเคราะห์ในรูปร่างของแผ่นจานแบนๆ ดาวเคราะห์ที่มีวงแหวนขนาดใหญ่เป็นที่รู้จักและโดดเด่นที่สุด คือ ดาวเสาร์ แต่ดาวแก๊สยักษ์อีก 3 ดวงในระบบสุริยะ (ดาวพฤหัสบดี ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน) ต่างก็มีระบบวงแหวนรอบตัวเองทั้งนั้น.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และวงแหวนดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์

ัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ เป็นสัญลักษณ์ใช้แทนเทหวัตถุต่างๆ โครงสร้าง รวมถึงปรากฏการณ์ในทางดาราศาสตร์ รายการสัญลักษณ์ที่แสดงไว้ในที่นี้เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันโดยทั่วไปในหมู่นักวิชาการและนักดาราศาสตร์สมัครเล่น สัญลักษณ์บางตัวเหมือนกันกับสัญลักษณ์ทางโหราศาสตร์ตะวันตก.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และสัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตนอกโลก

นหุ่นยนต์รถสำรวจคิวริออซิตี้โรเวอร์) มนุษย์ต่างดาวในจินตนาการของคนส่วนใหญ่ มนุษย์ต่างดาว (alien) เป็นสิ่งที่เชื่อว่าอาจมีอยู่จริงแต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ ลักษณะเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่นอกโลก ซึ่งในความคิดของคนส่วนใหญ่ มักจะวาดภาพ มนุษย์ต่างดาว ลักษณะคล้ายคนแต่ ตัวเขียว หัวโต ตาโต เคยมาเยือนโลกโดยมากับ จานบิน สิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrial life) (จากคำภาษาละติน: extra และ terrestris) ถูกกำหนดให้เป็นชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากโลก มันมักจะหมายถึง สิ่งมีชีวิตนอกโลก หรือเรียกเพียงว่า มนุษย์ต่างดาว (หรือมนุษย์ต่างดาวในอวกาศเพื่อให้แตกต่างจากคำจำกัดความอื่น ๆ ของมนุษย์ต่างภิภพหรือมนุษย์ต่างดาว) รูปแบบชีวิตเหล่านี้ตามสมมติฐานของชีวิตช่วงระยะเริ่มจากสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียขั้นพื้นฐานเหมือนสิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายไปไกลจนถึงขั้นที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเกินกว่าสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า มนุษย์ ความเป็นไปได้ว่ายังอาจจะมีไวรัส (viruses) ที่มีการดำรงชีวิตอยู่แบบสิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrially) ได้รับการเสนอขึ้น การพัฒนาและการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับชีวิตต่างดาวที่เป็นที่รู้จักกันในนามของวิชาที่เรียกว่า "ชีววิทยานอกโลก" หรือ "ชีวดาราศาสตร์" ("exobiology" or "astrobiology") แม้ว่าวิชาชีวดาราศาสตร์จะยังคงพิจารณาถึงชีวิตที่เกิดขึ้นที่เป็นขั้นพื้นฐานบนโลกที่ใช้ในบริบททางดาราศาสตร์อยู่ก็ตาม นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่าชีวิตนอกโลกเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานโดยตรงในการดำรงอยู่ของมัน นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ได้มีการค้นหาอย่างต่อเนื่องสำหรับสัญญาณของชีวิตนอกโลก, จากวิทยุที่ใช้ในการตรวจจับสัญญาณต่างดาวที่มีความเป็นไปได้, ไปจนถึงกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับเป็นสถานที่เอื้ออาศัยสำหรับสภาพชีวิตที่อาจสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้มันก็ยังมีบทบาทที่สำคัญต่องานเขียนทางด้านเกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์ (science fiction) อีกด้วย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา, ผลงานทางด้านนิยายวิทยาศาสตร์, โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของฮอลลีวู้ด, ได้ช่วยเพิ่มทวีความสนใจให้มากขึ้นของประชาชนในความเป็นไปได้เกี่ยวกับชีวิตนอกโลก บางส่วนสนับสนุนให้ใช้วิธีการเชิงรุกสำหรับในความพยายามและได้รับการติดต่อกับสิ่งมีชีวิตจากห้วงอวกาศ, ในขณะที่อีกบางส่วน ยืนยันว่ามันก็อาจจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์เราชาวโลกเราได้สำหรับในการที่จะกระตือรือร้นเรียกร้องความสนใจจากมนุษย์ต่างดาว ในอดีตที่ผ่านมา, ความขัดแย้งกันระหว่างวัฒนธรรมที่เจริญและคนพื้นเมืองนั้นก็ยังไม่ได้เป็นไปด้วยดี.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และสิ่งมีชีวิตนอกโลก · ดูเพิ่มเติม »

สีม่วง

อกไม้สีม่วงอ่อน สีม่วง เป็นสีที่ผสมระหว่างสีน้ำเงินและสีแดง โดยปกติสีจะมีอยู่สองโทน คือ สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น แต่สีม่วงเป็นสีที่อยู่ตรงกลางระหว่าง สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น ซึ่งนอกจากสีม่วงแล้วยังมีสีเหลืองอีกสีหนึ่งที่มีลักษณะดังกล่าว จึงสามารถเลือกใช้สีม่วงเข้าไปผสมผสานได้กับสีทั้งสองโทน.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และสีม่วง · ดูเพิ่มเติม »

สีประจำวันในประเทศไทย

ีประจำวัน เป็นวัฒนธรรมความเชื่อของไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากตำนานฮินดู และเป็นกฎเกณฑ์ของตำราโหราศาสตร์ที่ได้กำหนดสีประจำแต่ละวัน สีแต่ละสีได้กำหนดมาจากสีของเทพที่ปกป้องวันนั้น ๆ หรือ เทวดานพเคราะห.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และสีประจำวันในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

สีในวัฒนธรรมจีน

Red paper lanterns for sale in เซี่ยงไฮ้, 2012. The color red symbolizes luck and is believed to ward away evil. สีในวัฒนธรรมจีน หมายถึง สีต่าง ๆ ที่มีความหมายทั้งในทางที่ดี (auspicious; 吉利) และไม่ดี (inauspicious; 不利) ตัวอักษรภาษาจีนของคำว่า สี คือ 顏色 หรือ เหยียนเซอะ (yánsè) ในสมัยจีนโบราณมักใช้ตัวอักษร 色 (sè) เพียงตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งมีความหมายโดยตรงถึงสีบนใบหน้า (color in the face) หรือ อารมณ์ความรู้สึก (emotion) เพราะคำว่า 'เหยียน' หมายถึงพื้นที่ระหว่างคิ้ว 'เซอะ' หมายถึงลมปราณ ปราชญ์จีนโบราณกล่าวว่า เมื่อคนเราเกิดความรู้สึกต่าง ๆ ที่ใจ พลังงาน หรือ 'ชี่' จะไปแสดงออกที่หว่างคิ้ว กลายเป็นอารมณ์หรือสีหน้า เริ่มมีการใช้คำว่า หยานเซอะ (yánsè) ในความหมายของสีทุกสีในช่วงสมัยราชวงศ์ถัง อีกทั้งมีสำนวนจีนที่กล่าวว่า “wǔ (ห้า) yán liù (หก) sè” ใช้ในการอธิบายถึงความหลากหลายของสี จึงเป็นการใช้คำว่า 顏色 หรือ เหยียนเซอะ (สี) ในความหมายทั่วไป.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และสีในวัฒนธรรมจีน · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยดาราศาสตร์

หน่วยดาราศาสตร์ (Astronomical Unit; ย่อในภาษาอังกฤษว่า AU หรือ au หรือ a.u. หรือ ua) คือ หน่วยของระยะทาง มีค่า (โดยประมาณ) เท่ากับระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ค่าที่ยอมรับในปัจจุบัน เท่ากับ 149,597,870,691±30 เมตร (ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 93 ล้านไมล์) สัญลักษณ์ "ua" ได้รับการเสนอจากสำนัก Bureau International des Poids et Mesures แห่งฝรั่งเศส แต่ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษจะใช้อักษรตัวใหญ่มากกว่า ส่วนสหภาพดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union) เสนอให้ใช้ "au" ส่วนมาตรฐานนานาชาติ ISO 31-1 นั้นใช้ "AU".

ใหม่!!: ดาวเสาร์และหน่วยดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (พื้นที่)

หมวดหมู่:พื้นที่ หมวดหมู่:อันดับของขนาด (พื้นที่).

ใหม่!!: ดาวเสาร์และอันดับของขนาด (พื้นที่) · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (มวล)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และอันดับของขนาด (มวล) · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (อุณหภูมิ)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และอันดับของขนาด (อุณหภูมิ) · ดูเพิ่มเติม »

อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก

อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก (Interstellar) เป็นภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ กำกับโดยคริสโตเฟอร์ โนแลน เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางในอวกาศโดยผ่านทางรูหนอน ถ่ายทำทั้งในระบบฟิล์ม 35 มิลลิเมตร และไอแมกซ์ กำหนดออกฉายในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และอินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก · ดูเพิ่มเติม »

จักรราศี

รื่องหมายจักรราศีของโหราศาสตร์สากลราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 แกะจากแม่พิมพ์ไม้ ภาพสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในจอร์เจียเป็นรูปจักรราศีที่มีพระเยซูอยู่ตรงกลาง เครื่องหมายจักรราศีที่ใช้ในโหราศาสตร์สากลในปัจจุบัน จักรราศี (zodiac มาจากภาษากรีก ζῳδιακός หมายถึง "สัตว์") เป็นแถบสมมติบนท้องฟ้าที่มีขอบเขตประมาณ 8 องศา ค่อนไปทางเหนือและใต้ของแนวเส้นทางที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนผ่าน (สุริยวิถี) ซึ่งครอบคลุมแนวเส้นทางปรากฏของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาลอีก 7 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ส่วนดาวพลูโตนั้น ความเอียงของวงโคจรมีค่ามาก ดาวพลูโตจึงมีเส้นทางปรากฏห่างจากสุริยวิถี.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และจักรราศี · ดูเพิ่มเติม »

จันทรุปราคา เมษายน พ.ศ. 2557

ันทรุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นในวันที่ 15 เมษายน..

ใหม่!!: ดาวเสาร์และจันทรุปราคา เมษายน พ.ศ. 2557 · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์

ในทฤษฎีความน่าจะเป็น สถิติ การอนุมาน และ ปัญญาประดิษฐ์ บางครั้งจะพบคำว่า แบบเบย์ (Bayesian) มาขยายชื่อทฤษฎีหรือโมเดลต่างๆ โดยทุกครั้งที่พบคำขยายนี้หมายความว่าได้มีการนำปรัชญาหรือหลักการของ ทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์ (บางท่านเรียก การอนุมานแบบเบย์ หรือ สถิติแบบเบย์) มาใช้กับสาขาความรู้นั้นๆ ถ้าจะกล่าวอย่างไม่เป็นทางการ, ทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์แปลความหมายของคำว่า ความน่าจะเป็น เป็น ความเชื่อมั่นส่วนบุคคลในเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ซึ่งต่างจากทฤษฎีความน่าจะเป็นของคอลโมโกรอฟ (ที่มักถูกเรียกว่าทฤษฎีความน่าจะเป็นเชิงความถี่) ที่มักแปลความหมายของความน่าจะเป็น (โดยต้องแปลควบคู่ไปกับการทดลองเสมอ) ดังนี้ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ A คือ อัตราส่วนของจำนวนครั้งของเหตุการณ์ A ที่ทดลองสำเร็จเทียบกับจำนวนครั้งที่ทดลองทั้งหมด จุดแตกต่างสำคัญระหว่างทฤษฎีทั้งสองประเภทมีดังนี้.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์ · ดูเพิ่มเติม »

ทีทิส (ดาวบริวาร)

ทีทิส หรือ Saturn III เป็นดาวบริวารขนาดกลางของดาวเสาร์อยู่ผ่านประมาณ 1,060 กิโลเมตร (660 ไมล์) ค้นพบโดย โจวันนี โดเมนีโก กัสซีนี ในปี ค.ศ. 1684 และตั้งชื่อมาจากยักษ์ทีทิส ในเทพปกรณัมกรีก ทีทิส ได้รับการสำรวจโดยยานอวกาศหลายคนรวมถึง ไพโอเนียร์ 11 (ค.ศ. 1979),วอยเอจเจอร์ 1 (ค.ศ. 1980),วอยเอจเจอร์ 2 (ค.ศ. 1981) และยานแคสซีนี ซึ่งเริ่มต้นในปี ค.ศ. 2004.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และทีทิส (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ทซาธอกกวา

ทซาธอกกวา (อักษรละติน: Tsathoggua) หรือ โชธาควา (อักษรละติน: Zhothaqquah) เป็นหนึ่งในเกรทโอลด์วันจากเรื่องชุดตำนานคธูลู มีฉายาว่า ผู้หลับใหลแห่งอึนไค (Sleeper of N'kai) โดยปรากฏตัวครั้งแรกในเรื่องสั้น The Tale of Satampra Zeiros ซึ่งคลาก แอชตัน สมิท ประพันธ์ในปีพ.ศ. 2472และได้ลงตีพิมพ์ในวารสาร Weird Tales ฉบับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2474 แต่เรื่องแรกของทซาธอกกวาที่ได้รับการตีพิมพ์คือ The Whisperer in Darkness ของเอช. พี. เลิฟคราฟท์ ซึ่งประพันธ์ในปี 2473 และตีพิมพ์ใน Weird Tales ฉบับเดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: ดาวเสาร์และทซาธอกกวา · ดูเพิ่มเติม »

ข้อความอาเรซีโบ

้อความอาเรซีโบจัดเรียงเป็น 73 แถว คูณ 23 คอลัมน์ มีการเน้นสี แสดงให้เห็นข้อความแต่ละส่วน ข้อความอาเรซีโบ (Arecibo message) เป็นข้อความคลื่นวิทยุที่ส่งไปในอวกาศ เล็งไปที่กระจุกดาวดาวเอ็ม 13 ซึ่งอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 25,000 ปีแสง เนื่องในพิธีฉลองการปรับปรุงหอดูดาวอาเรซีโบเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 สัญญาณวิทยุที่ส่งขึ้นไปนี้ มีความยาว 1,679 บิต (เลขฐานสองจำนวน 1,679 ตัว) เป็นเวลา 169 วินาที ข้อความที่ส่งขึ้นไปมีความยาว 1,679 บิต เนื่องจากเป็นตัวเลข semiprime สามารถแยกตัวประกอบได้เป็นจำนวนเฉพาะสองจำนวนคือ 23 กับ 73 ซึ่งสามารถจัดเรียงเป็นภาพได้เพียงสองแบบคือ ขนาด 23 แถว คูณ 73 คอลัมน์ หรือ 73 แถว คูณ 23 คอลัมน์ (ดังรูป) ข้อความอาเรซีโบออกแบบโดย ดร. แฟรงก์ เดรก แห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ร่วมกับคาร์ล เซแกน สามารถแบ่งได้เป็น 7 ส่วน (ในภาพมีการเพิ่มสีเพื่อให้แยกแยะได้สะดวก) คือ.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และข้อความอาเรซีโบ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์ในปี ค.ศ. 2016

ราศาสตร์ในปี..

ใหม่!!: ดาวเสาร์และดาราศาสตร์ในปี ค.ศ. 2016 · ดูเพิ่มเติม »

ดาว (โหราศาสตร์)

ดาว หรือ ดวงดาว หรือ พระเคราะห์ ในทางโหราศาสตร์ หมายถึงตำแหน่งของดาวฤกษ์ อาทิตย์ และดาวเคราะห์ จันทร์ พุธ ศุกร์ พฤหัส เสาร์ ยูเรนัส เนปจูน พูลโต เป็นต้น รวมถึงตำแหน่งสมมุติบนท้องฟ้าบางตำแหน่งที่ใช้ในการพยากรณ์ เช่น ราหู เกตุ ยม ในโหราศาสตร์ไทย เป็นต้น หมวดหมู่:โหราศาสตร์ en:Classical planet.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และดาว (โหราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบริวารของดาวเสาร์

ระบบดาวเสาร์ (ภาพประกอบรวม) วงแหวนดาวเสาร์ตัดผ่านฉากหลังที่มีดาวบริวารไททัน (รูปเสี้ยวขอบสีขาว) และดาวบริวารเอนเซลาดัส (ขวาล่างสีดำ) ปรากฏอยู่ ดาวเสาร์มีดาวบริวารซึ่งได้รับการยืนยันวงโคจรแล้ว 62 ดวง โดย 53 ดวงในจำนวนนี้มีชื่อเรียกแล้วและส่วนใหญ่มีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่ก็มีอยู่ 7 ดวงที่มีขนาดใหญ่พอที่จะคงสภาพตัวเองเป็นทรงกลมได้ (ดังนั้นดาวบริวารเหล่านี้อาจได้รับการจัดเป็นดาวเคราะห์แคระหากพวกมันโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยตรง) นอกจากจะมีวงแหวนที่กว้างและหนาแน่นแล้ว ระบบดาวเสาร์ยังเป็นระบบดาวเคราะห์ที่มีความหลากหลายมากที่สุดภายในระบบสุริยะอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ดาวบริวารที่มีชื่อเสียงอย่างดาวบริวารไททัน ที่มีชั้นบรรยากาศคล้ายคลึงกับโลก ทั้งยังมีภูมิทัศน์เป็นทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนและโครงข่ายแม่น้ำ และดาวบริวารเอนเซลาดัสที่ซ่อนแหล่งน้ำไว้ภายใต้พื้นผิวของมัน เป็นต้น ดาวบริวาร 22 ดวงของดาวเสาร์เป็นบริวารที่มีวงโคจรปกติ คือ มีวงโคจรไปในทางเดียวกับดาวดวงอื่น ๆ และเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของดาวเสาร์ไม่มากนัก นอกจากบริวาร 7 ดวงหลักแล้ว มี 4 ดวงเป็นดาวบริวารโทรจัน (หมายถึงกลุ่มดาวบริวารเล็ก ๆ ที่โคจรไปตามเส้นทางของดาวบริวารดวงใหญ่กว่าอีกดวงหนึ่ง) อีก 2 ดวงเป็นดาวบริวารร่วมวงโคจร และอีก 2 ดวงโคจรอยู่ภายในช่องว่างระหว่างวงแหวนดาวเสาร์ ดาวบริวารเหล่านี้ได้รับการตั้งชื่อตามธรรมเนียมเดิม คือ ตามชื่อของบรรดายักษ์ไททันหรือบุคคลอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเทพแซตเทิร์นของชาวโรมัน (หรือเทพโครนัสของกรีก) ส่วนดาวบริวารที่เหลืออีก 38 ดวง ทั้งหมดมีขนาดเล็กและมีวงโคจรผิดปกติ คือ มีวงโคจรอยู่ห่างจากดาวเสาร์มากกว่า เอียงมากกว่า โดยมีทั้งไปทางเดียวกันและสวนทางกับทิศทางการหมุนรอบตัวเองของดาวเสาร์ ดาวบริวารเหล่านี้อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์ดึงมา หรืออาจเป็นเศษซากของวัตถุขนาดใหญ่ที่เข้าใกล้ดาวเสาร์มากเกินไปจนถูกแรงน้ำขึ้นน้ำลงของดาวเสาร์ฉีกออกเป็นเสี่ยง ๆ เราแบ่งกลุ่มของพวกมันตามลักษณะวงโคจรได้เป็นกลุ่มอินูอิต กลุ่มนอร์ส และกลุ่มแกลิก แต่ละดวงตั้งชื่อตามเทพปกรณัมที่สอดคล้องกับกลุ่มที่มันสังกัดอยู่ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบขึ้นจากก้อนน้ำแข็งที่มีขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรไปจนถึงหลายร้อยเมตร แต่ละก้อนโคจรรอบดาวเสาร์ไปตามเส้นทางของตนเอง ดังนั้น เราจึงไม่สามารถระบุจำนวนแน่นอนของดาวบริวารของดาวเสาร์ได้ เนื่องจากไม่มีเส้นแบ่งประเภทชัดเจนระหว่างวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากที่ประกอบขึ้นเป็นแถบวงแหวนกับวัตถุขนาดใหญ่ที่ได้รับการตั้งชื่อและถือเป็นดาวบริวารแล้ว แม้เราจะค้นพบ "ดาวบริวารเล็ก ๆ" (moonlets) อย่างน้อย 150 ดวงจากการรบกวนที่มันก่อขึ้นกับวัตถุอื่นที่อยู่ข้างเคียงภายในวงแหวน แต่นั่นเป็นตัวอย่างเพียงน้อยนิดของจำนวนประชากรทั้งหมดของวัตถุเหล่านั้นเท่านั้น ดาวบริวารที่ได้รับการยืนยันแล้วจะได้รับการตั้งชื่อถาวรจากสหภาพดาราศาสตร์สากล ประกอบด้วยชื่อและลำดับที่เป็นตัวเลขโรมัน ดาวบริวาร 9 ดวงที่ถูกค้นพบก่อนปี ค.ศ. 1900 (ซึ่งฟีบีเป็นดวงเดียวที่มีวงโคจรแบบผิดปกติ) มีหมายเลขเรียงตามระยะห่างจากดาวเสาร์ออกมา ส่วนดาวบริวารดวงอื่น ๆ มีหมายเลขเรียงตามลำดับที่ได้รับการตั้งชื่อถาวร อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีดาวบริวารดวงเล็ก ๆ ในกลุ่มนอร์สอีก 8 ดวงที่ไม่มีชื่อเรียกถาวร.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และดาวบริวารของดาวเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพฤหัสบดี

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพลูโต

วพลูโต (Pluto; ดัชนีดาวเคราะห์น้อย: 134340 พลูโต) เป็นดาวเคราะห์แคระในแถบไคเปอร์ วงแหวนของวัตถุพ้นดาวเนปจูน โดยเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มันมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดโดยปริมาตร แต่มีมวลน้อยกว่าอีริส ซึ่งเป็นวัตถุในแถบหินกระจาย ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน กล่าวคือ ประกอบไปด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ วงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 30 ถึง 49 หน่วยดาราศาสตร์ (4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์ หมายความว่าเมื่อดาวพลูโตอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะอยู่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวเนปจูนเสียอีก แต่เนื่องด้วยการสั่นพ้องของวงโคจร ทำให้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงไม่สามารถโคจรมาชนกันได้ ในปี..

ใหม่!!: ดาวเสาร์และดาวพลูโต · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวหาง

ดาวหางเฮล-บอปป์ ดาวหางเวสต์ ดาวหาง คือ วัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีส่วนที่ระเหิดเป็นแก๊สเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดชั้นฝุ่นและแก๊สที่ฝ้ามัวล้อมรอบ และทอดเหยียดออกไปภายนอกจนดูเหมือนหาง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไปบนนิวเคลียสของดาวหาง นิวเคลียสหรือใจกลางดาวหางเป็น "ก้อนหิมะสกปรก" ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนอยู่ด้วยกัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร คาบการโคจรของดาวหางมีความยาวนานแตกต่างกันได้หลายแบบ ตั้งแต่คาบโคจรเพียงไม่กี่ปี คาบโคจร 50-100 ปี จนถึงหลายร้อยหรือหลายพันปี เชื่อว่าดาวหางบางดวงเคยผ่านเข้ามาในใจกลางระบบสุริยะเพียงครั้งเดียว แล้วเหวี่ยงตัวเองออกไปสู่อวกาศระหว่างดาว ดาวหางที่มีคาบการโคจรสั้นนั้นเชื่อว่าแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในแถบไคเปอร์ที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ส่วนดาวหางที่มีคาบการโคจรยาวอาจมาจากแหล่งอื่น ๆ ที่ไกลจากดวงอาทิตย์ของเรามาก เช่นในกลุ่มเมฆออร์ตซึ่งประกอบด้วยเศษซากที่หลงเหลืออยู่จากการบีบอัดตัวของเนบิวลา ดาวหางเหล่านี้ได้รับแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวเคราะห์รอบนอก (กรณีของวัตถุในแถบไคเปอร์) จากดวงดาวอื่นใกล้เคียง (กรณีของวัตถุในกลุ่มเมฆออร์ต) หรือจากการชนกัน ทำให้มันเคลื่อนเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์น้อยมีกำเนิดจากกระบวนการที่ต่างไปจากนี้ อย่างไรก็ดี ดาวหางที่มีอายุเก่าแก่มากจนกระทั่งส่วนที่สามารถระเหิดเป็นแก๊สได้สูญสลายไปจนหมดก็อาจมีสภาพคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อยก็ได้ เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกหลายดวงเคยเป็นดาวหางมาก่อน นับถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: ดาวเสาร์และดาวหาง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวอังคาร

วอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่ ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้ คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลายคนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปลความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้น ๆ ของอายุ ในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสองของดาว และที่ละติจูดกลาง ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบนดาวอังคาร ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ กำลังมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ในอดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณนั้นโดยส่วนลงจอด ''ไวกิง'' โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิวริออซิตี มีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโรเวอร์ ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และดาวอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแก๊สยักษ์

วแก๊สยักษ์ทั้ง 4 ดวงของระบบสุริยะ เปรียบเทียบขนาดกับดวงอาทิตย์ (ตามสัดส่วนจริง) ดาวแก๊สยักษ์ (Gas giant) หรือบางครั้งเรียกกันว่า ดาวเคราะห์โจเวียน (Jovian planet; เรียกตามชื่อดาวพฤหัสบดี หรือดาวจูปิเตอร์ ซึ่งเป็นดาวแก๊สยักษ์ที่ใหญ่ที่สุด) คือดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่มิได้มีองค์ประกอบของหินหรือสสารแข็ง ในระบบสุริยะมีดาวแก๊สยักษ์ 4 ดวงคือ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ยังมีดาวแก๊สยักษ์อื่นๆ ที่ค้นพบว่าโคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นๆ อีก ดาวแก๊สยักษ์ยังสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ดาวแก๊สยักษ์ "ดั้งเดิม" คือดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ มีส่วนประกอบโดยพื้นฐานเป็นไฮโดรเจนและฮีเลียม ส่วนดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนอาจจัดเป็นประเภทย่อยอีกพวกหนึ่ง เรียกว่า "ดาวน้ำแข็งยักษ์" เพราะมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น น้ำ แอมโมเนีย และมีเทน ส่วนไฮโดรเจนกับฮีเลียมจะอยู่ในส่วนรอบนอกสุดของดาว สำหรับกลุ่มดาวเคราะห์นอกระบบ "ดาวพฤหัสบดีร้อน" (Hot Jupiter) คือดาวแก๊สยักษ์ที่โคจรใกล้กับดาวฤกษ์ของมันมากและมีอุณหภูมิพื้นผิวที่สูงมาก ซึ่งน่าจะเป็นเหตุให้เราสามารถตรวจจับมันพบได้ง่าย ลักษณะของดาวเคราะห์นอกระบบส่วนมากที่ค้นพบ จะเป็นแบบ ดาวพฤหัสบดีร้อน นี้เกือบทั้งหม.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และดาวแก๊สยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์

วเคราะห์ (πλανήτης; planet หรือ "ผู้พเนจร") คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 8 ดวง (ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ) ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ คือ โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ ในปี..

ใหม่!!: ดาวเสาร์และดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์นอกระบบ

accessdate.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และดาวเคราะห์นอกระบบ · ดูเพิ่มเติม »

คริสตียาน เฮยเคินส์

ริสตียาน เฮยเคินส์ คริสตียาน เฮยเคินส์ (Christiaan Huygens,; 14 เมษายน พ.ศ. 2172-8 กรกฎาคม พ.ศ. 2238) เป็นนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักประดิษฐ์นาฬิกาชาวดัตช์ เกิดที่เดอะเฮกในเนเธอร์แลนด์ เป็นลูกชายของโกนสตันไตน์ เฮยเคินส์ ชื่อของเขาเป็นที่มาของยานกัสซีนี-เฮยเคินส์ที่ใช้สำรวจดวงจันทร์ไททัน.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และคริสตียาน เฮยเคินส์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 21

ริสต์ศตวรรษที่ 21 คือคริสต์ศตวรรษแรกของคริสต์สหัสวรรษที่ 3 และเป็นคริสต์ศตวรรษปัจจุบัน เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: ดาวเสาร์และคริสต์ศตวรรษที่ 21 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์สหัสวรรษที่ 3

ในประวัติศาสตร์ร่วมสมัย คริสต์สหัสวรรษที่ 3 เป็นช่วงเวลาที่เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: ดาวเสาร์และคริสต์สหัสวรรษที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์สหัสวรรษที่ 4

ริสต์สหัสวรรษที่ 4 ตามปฏิทินเกรกอเรียน จะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 เดือนมกราคม..3001 และจบลงในวันที่ 31 ธันวาคม..4000 นี่เป็นสหัสวรรษที่ 4 ของทั้งคริสต์ศักราชและสากลศักร.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และคริสต์สหัสวรรษที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์สหัสวรรษที่ 8

ริสต์สหัสวรรษที่ 8 ตามปฏิทินเกรกอเรียน จะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 เดือนมกราคม..7001 และจบลงในวันที่ 31 ธันวาคม..8000 นี่เป็นสหัสวรรษที่ 8 ของทั้งคริสต์ศักราชและสากลศักร.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และคริสต์สหัสวรรษที่ 8 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์สหัสวรรษที่ 9

ริสต์สหัสวรรษที่ 9 ตามปฏิทินเกรกอเรียน จะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 เดือนมกราคม..8001 และจบลงในวันที่ 31 ธันวาคม..9000 นี่เป็นสหัสวรรษที่ 9 ของทั้งคริสต์ศักราชและสากลศักร.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และคริสต์สหัสวรรษที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

ความเอียงของวงโคจร

แสดงความเอียงของวงโคจร ความเอียงของวงโคจร (inclination) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร หมายถึงมุมระหว่างระนาบของวงโคจรกับระนาบอ้างอิง ความเอียงของวงโคจร เป็นหนึ่งใน 6 องค์ประกอบของวงโคจร ใช้อธิบายถึงรูปร่างและทิศทางของวงโคจรของวัตถุท้องฟ้า นับเป็นระยะเชิงมุมของระนาบวงโคจรเทียบกับระนาบอ้างอิง (โดยมากมักใช้เส้นศูนย์สูตรหรือเส้นสุริยวิถีของดาวฤกษ์แม่ในระบบ และมีหน่วยเป็นองศา) สำหรับระบบสุริยะ ความเอียงของวงโคจร (คือ i ในภาพด้านข้าง) ของดาวเคราะห์ดวงหนึ่งๆ จะเท่ากับมุมระหว่างระนาบของวงโคจรของดาวเคราะห์นั้นกับเส้นสุริยวิถี ซึ่งเป็นระนาบที่เป็นเส้นทางโคจรของโลก นอกจากนี้ยังสามารถวัดได้โดยเปรียบเทียบกับระนาบอื่นๆ เช่น เทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ หรือเทียบกับระนาบโคจรของดาวพฤหัสบดี แต่การใช้เส้นสุริยวิถีในการอ้างอิงจะเหมาะสมกับผู้สังเกตการณ์บนโลกมากกว่า วงโคจรของดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะของเรามีค่าความเอียงของวงโคจรค่อนข้างน้อย ไม่ว่าจะเปรียบเทียบกันเองหรือเทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ก็ตาม มีข้อยกเว้นก็เพียงในบรรดาดาวเคราะห์แคระ เช่น พลูโต และ อีรีส ซึ่งมีค่าความเอียงของวงโคจรเทียบกับสุริยวิถีสูงถึง 17 องศาและ 44 องศาตามลำดับ ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่เช่น พัลลัส ก็มีความเอียงของวงโคจรสูงถึง 34 องศา สำหรับดาวเคราะห์นอกระบบ ยังไม่ค่อยมีการวัดความเอียงของวงโคจร ทราบได้แต่เพียงมวลต่ำสุดของมันเท่านั้น ซึ่งหมายถึง ดาวเคราะห์นอกระบบบางดวงที่แท้อาจเป็นดาวแคระน้ำตาล หรือเป็นดาวแคระแดงที่จางมากๆ ก็ได้ มีแต่เพียงดาวเคราะห์ที่ตรวจพบการเคลื่อนผ่าน และที่ตรวจจับด้วยวิธีมาตรดาราศาสตร์ จึงสามารถทราบถึงความเอียงของวงโคจร และบางทีอาจทราบถึงมวลที่แท้จริงได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010 ข้างหน้านี้ น่าจะมีการตรวจวัดความเอียงของวงโคจรและมวลที่แท้จริงของดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมากได้เพิ่มขึ้น โดยใช้การสังเกตการณ์ในอวกาศผ่านปฏิบัติการต่างๆ เช่น Gaia mission, Space Interferometry Mission, และ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และความเอียงของวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

ความเอียงของแกน

วามเอียงของแกนโลก แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแกนหมุน กับระนาบโคจร ความเอียงของแกน (axial tilt) คือองศาการเอียงของแกนหมุนของดาวเคราะห์เทียบกับระนาบการโคจรของมัน บางครั้งก็เรียกว่า axial inclination หรือ obliquity สามารถระบุได้เป็นหน่วยองศาระหว่างแกนของดาวเคราะห์กับเส้นตรงที่ลากผ่านจุดศูนย์กลางของดาวเคราะห์และตั้งฉากกับระนาบโคจร.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และความเอียงของแกน · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล เซแกน

ร์ล เซแกน (Carl Sagan) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน (ค.ศ. 1934 - 1996) เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบรรยากาศของดาวเคราะห์ต่าง ๆ เซแกนได้ศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นและมีวิวัฒนาการบนโลกอย่างไร สนใจถึงความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวอื่นเป็นพิเศษ เซแกนเป็นคนริเริ่มความคิดที่จะติดตั้งแผ่นป้ายบนยานสำรวจอวกาศไพโอเนียร์ 10 ที่เป็นเหมือนจดหมายจากโลก ยานไพโอเนียร์ 10 ผ่านเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดีใน ค.ศ. 1973 ก่อนที่จะออกไปยังขอบนอกของระบบสุริยะแล้วออกสู่อวกาศ แผ่นป้ายแบบเดียวกันติดไปกับยานสำรวจอวกาศไพโอเนียร์ 11 ในปีต่อมา นอกจากงานด้านดาราศาสตร์แล้ว เซแกนยังมีชื่อเสียงจากนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Contact ซึ่งเกี่ยวกับความพยายามของมนุษย์ในการค้นหาสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญานอกโลก นิยายเรื่องนี้ ภายหลังได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อเดียวกัน (ชื่อภาษาไทยคือ "คอนแทค อุบัติการณ์สัมผัสห้วงจักรวาล") นำแสดงโดย โจดี้ ฟอสเตอร.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และคาร์ล เซแกน · ดูเพิ่มเติม »

นิวฮอไรซันส์

นิวฮอไรซันส์ (New Horizons; ท. ขอบฟ้าใหม่) เป็นยานสำรวจอวกาศระหว่างดาวเคราะห์ซึ่งปล่อยเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2549 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนิวฟรอนเทียส์ (New Frontiers) ของนาซา ยานสร้างโดย ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์และสถาบันวิจัยเซาท์เวสต์ โดยทีมซึ่งมีเอ.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และนิวฮอไรซันส์ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำหนัก

เครื่องชั่งสปริงเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้วัดขนาดของน้ำหนัก ในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ น้ำหนัก หมายถึงแรงบนวัตถุอันเนื่องมาจากความโน้มถ่วง ขนาดของน้ำหนักในปริมาณสเกลาร์ มักเขียนแทนด้วย W แบบตัวเอน คือผลคูณของมวลของวัตถุ m กับขนาดของความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วง g นั่นคือ ถ้าหากพิจารณาน้ำหนักว่าเป็นเวกเตอร์ จะเขียนแทนด้วย W แบบตัวหนา หน่วยวัดของน้ำหนักใช้อย่างเดียวกันกับหน่วยวัดของแรง ซึ่งหน่วยเอสไอก็คือนิวตัน ยกตัวอย่าง วัตถุหนึ่งมีมวลเท่ากับ 1 กิโลกรัม มีน้ำหนักประมาณ 9.8 นิวตันบนพื้นผิวโลก มีน้ำหนักประมาณหนึ่งในหกเท่าบนพื้นผิวดวงจันทร์ และมีน้ำหนักที่เกือบจะเป็นศูนย์ในห้วงอวกาศที่ไกลออกไปจากเทหวัตถุอันจะส่งผลให้เกิดความโน้มถ่วง ในทางนิติศาสตร์และการพาณิชย์ น้ำหนัก มีความหมายเดียวกันกับมวล The National Standard of Canada, CAN/CSA-Z234.1-89 Canadian Metric Practice Guide, January 1989.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และน้ำหนัก · ดูเพิ่มเติม »

น้ำเหลวนอกโลก

กระแสน้ำพุร้อนใน Palikir Crater (ภายใน Newton crater) ของดาวอังคาร ในขณะที่มีหลักฐานที่สนใจ แต่ไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นข้อมูลของน้ำจากดาวข้างนอก,จนถึงขณะนี้ได้มีการยืนยันโดยตรง น้ำเหลวนอกโลก (Extraterrestrial liquid water) คือน้ำในสภาพของเหลวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินอกโลก เป็นที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะเป็นที่ยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตตามที่เรารู้จักและเป็นที่คาดเดาอย่างสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตนอกโลก ด้วยน้ำในมหาสมุทรที่ปกคลุม 71% ของพื้นผิว, โลกยังเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่รู้จักกันดีว่ามีแหล่งน้ำที่เป็นของเหลวบนพื้นผิวของมัน และน้ำที่เป็นของเหลวเป็นสิ่งจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกเผ่าพันธุ์บนโลก การปรากฏตัวของน้ำบนผิวโลกเป็นผลมาจากความดันบรรยากาศ และวงโคจรที่เสถียรในเขตอาศัยได้ของดวงอาทิตย์ แม้ว่าต้นกำเนิดของน้ำบนโลกยังไม่ทราบแน่ชัด วิธีการหลักที่ใช้ในการยืนยัน คือ การดูดซึมของสเปกโทรโฟโตเมตรี (Absorption spectroscopy) และทางธรณีเคมี (Geochemistry) เทคนิคเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพสำหรับบรรยากาศไอน้ำ และน้ำแข็ง อย่างไรก็ตามการใช้วิธีการปัจจุบันของ สเปกโทรสโกปีทางดาราศาสตร์ (Astronomical spectroscopy) ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่จะตรวจจับน้ำเหลวบนดาวเคราะห์, โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของน้ำใต้ดิน เนื่องจากนี้นักดาราศาสตร์ชีววิทยา และนักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ ได้ใช้ทฤษฎีเขตอาศัยได้, ทฤษฎีแรงโน้มถ่วง และทฤษฎีน้ำขึ้นน้ำลง, รูปแบบของความแตกต่างของดาวเคราะห์ และเรดิโอมิตรี (Radiometry) เพื่อตรวจสอบศักยภาพของน้ำเหลว น้ำที่สังเกตได้จากภูเขาไฟสามารถให้หลักฐานทางอ้อมที่น่าสนใจมากขึ้น, เป็นคุณสมบัติของแม่น้ำและการปรากฏตัวของสารป้องกันการแข็งตัว เช่น เกลือหรือแอมโมเนีย การใช้วิธีการดังกล่าวนักวิทยาศาสตร์หลายคนอนุมานว่าน้ำของเหลวเคยปกคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ไว้ของ ดาวอังคาร และดาวศุกร์ ที่คิดว่าน้ำเป็นของเหลวใต้พื้นผิวของดาวเคราะห์บางดวง, คล้ายกับน้ำบาดาลของโลก,ไอน้ำถือเป็นหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีของเหลวอยู่ในน้ำ แม้ว่าไอน้ำในชั้นบรรยากาศอาจพบได้ในหลายแห่งที่น้ำของเหลวไม่ได้.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และน้ำเหลวนอกโลก · ดูเพิ่มเติม »

แม็กนีโตสเฟียร์

วาดแสดงแม็กนีโตสเฟียร์ที่ช่วยป้องกันลมสุริยะ แม็กนีโตสเฟียร์ (Magnetosphere) คือย่านที่มีแม่เหล็กกำลังสูงรอบๆ วัตถุทางดาราศาสตร์ โลกมีแม็กนีโตสเฟียร์ครอบอยู่รอบๆ เช่นเดียวกันกับดาวที่มีสนามแม่เหล็กอื่นๆ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และ ดาวเนปจูน ดวงจันทร์แกนีมีดของดาวพฤหัสบดีก็มีสนามแม่เหล็กเช่นกัน แต่เป็นสนามที่มีกำลังอ่อนจนไม่สามารถป้องกันพลาสมาจากลมสุริยะได้ ส่วนดาวอังคารเป็นดาวที่มีสนามแม่เหล็กแบบเว้าแหว่งไม่ต่อเนื่อง คำว่า "แม็กนีโตสเฟียร์" นี้ยังสามารถใช้อธิบายถึงย่านรอบๆ วัตถุท้องฟ้าอื่นที่มีสนามแม่เหล็กรอบๆ ด้วย เช่น แม็กนีโตสเฟียร์ของพัลซาร์ เป็นต้น.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และแม็กนีโตสเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

แอนาเล็มมา

แอนาเล็มมาที่ได้จากการถ่ายรูป โดยมองไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนทรงกลมฟ้า ในทางดาราศาสตร์ แอนาเล็มมา (analemma; IPA: /ˌænəˈlɛmə/ ภาษาละตินใช้เรียกฐานของนาฬิกาแดด) หมายถึงเส้นโค้งที่แสดงถึงตำแหน่งเชิงมุมของเทหวัตถุบนทรงกลมฟ้า (ปกติหมายถึงดวงอาทิตย์) โดยมองจากเทหวัตถุอีกที่หนึ่ง (ปกติหมายถึงโลก) ตัวอย่างเช่น เมื่อเรารู้ว่าวันโดยเฉลี่ยของโลกเท่ากับ 24 ชั่วโมง แอนาเล็มมาสามารถติดตามได้โดยการทำเครื่องหมายตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ที่มองจากสถานที่หนึ่งๆ บนโลกในเวลาเดิมทุก 24 ชั่วโมงตลอดทั้งปี ตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะปรากฏเป็นเส้นโค้งคล้ายเลขแปด มีตัวแปรสามอย่างที่ส่งผลถึงรูปร่างของแอนาเล็มมาได้แก่ ความเอียงของแกน (axial tilt) ความเบี้ยวของวงโคจร (orbital eccentricity) และมุมระหว่าง apse line กับเส้นตรงของอายัน สำหรับเทหวัตถุที่มีวงโคจรเป็นวงกลมโดยสมบูรณ์และไม่มีความเอียงของแกนดาว ดวงอาทิตย์จะปรากฏอยู่ที่ตำแหน่งเดิมในเวลาเดิมทุกวัน รูปร่างแอนาเล็มมาจะเป็นแค่เพียงจุดจุดเดียว สำหรับเทหวัตถุที่มีวงโคจรและความเอียงของแกนเท่ากับโลก จะมองเห็นเป็นเลขแปดที่วงวนด้านเหนือกับวงวนด้านใต้จะมีขนาดเท่ากัน และสำหรับเทหวัตถุที่มีวงโคจรเหมือนโลกแต่ไม่มีความเอียงของแกน แอนาเล็มมาจะเป็นรูปเส้นตรงขนานไปกับทิศตะวันออกและทิศตะวันตก.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และแอนาเล็มมา · ดูเพิ่มเติม »

แถบดาวเคราะห์น้อย

กราฟิกแสดงอาณาเขตของแถบดาวเคราะห์น้อย แถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid belt) เป็นบริเวณในระบบสุริยะที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ประกอบไปด้วยวัตถุรูปร่างไม่แน่นอนจำนวนมาก เรียกว่าดาวเคราะห์น้อย (asteroid หรือ minor planet) บางครั้งก็เรียกแถบดาวเคราะห์น้อยว่า "แถบหลัก" เพื่อแยกแยะมันออกจากดาวเคราะห์น้อยกลุ่มอื่น ๆ ที่มีอยู่ในระบบสุริยะ เช่น แถบไคเปอร์ มวลกว่าครึ่งหนึ่งของแถบดาวเคราะห์น้อยอยู่ในดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 4 ดวง ได้แก่ ซีรีส, เวสตา, พัลลัส และไฮเจีย ทั้งสี่ดวงนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยมากกว่า 400 กิโลเมตร สำหรับซีรีสซึ่งถือเป็นดาวเคราะห์แคระเพียงดวงเดียวในแถบดาวเคราะห์น้อย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 950 กิโลเมตรKrasinsky, G. A.; Pitjeva, E. V.; Vasilyev, M. V.; Yagudina, E. I. (July 2002).

ใหม่!!: ดาวเสาร์และแถบดาวเคราะห์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

โพรมีเทียส (ดาวบริวาร)

รมีเทียส (Prometheus) เป็นดาวบริวารของดาวเสาร์ ค้นพบในปี ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) ด้วยการถ่ายภาพจากยานวอยเอจเจอร์ 1 และถูกกำหนดให้เป็นชื่อชั่วคราว คือ ในช่วงปลายปี 1985 ได้ตั้งชื่ออย่างเป็นทางการมาจากเทพโพรมีเทียส ยักษ์ในเทพปกรณัมกรีก และถูกกำหนดชื่อเล่นว่า Saturn XVI (16).

ใหม่!!: ดาวเสาร์และโพรมีเทียส (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

โพรมีเทียส (แก้ความกำกวม)

รมีเทียส (Prometheus) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และโพรมีเทียส (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

โอเกิล-2007-บีเอลจี-349(เอบี)บี

อเกิล-2007-บีเอลจี-349(เอบี)บี (OGLE-2007-BLG-349(AB)b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวฤกษ์สองดวง ของดาวฤกษ์โอเกิล-2007-บีเอลจี-349 ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ในกลุ่มดาวคนยิงธนู โดยห่างจากโลกราว 8,000 ปีแสง เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวฤกษ์สองดวงดวงแรกที่ใช้ไมโครเลนส์ของแรงโน้มถ่วง ในการค้นพบดาวเคราะห์ดวงนี้http://hubblesite.org/pubinfo/pdf/2016/32/pdf.pdf.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และโอเกิล-2007-บีเอลจี-349(เอบี)บี · ดูเพิ่มเติม »

โทรจัน (ดาราศาสตร์)

วเคราะห์น้อยทรอยของดาวพฤหัสบดี (สีเขียวในภาพ) ทั้งที่โคจรอยู่ก่อนและหลังในแนวโคจรของดาว ในภาพยังแสดงดาวเคราะห์น้อยในแถบหลักระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี (สีขาว) และดาวเคราะห์น้อยตระกูลฮิลดา (สีน้ำตาล ในทางดาราศาสตร์ คำคุณศัพท์ของทรอย (Trojan) มักใช้ในการอ้างถึงดาวเคราะห์ขนาดเล็กหรือดาวบริวาร (ดวงจันทร์) ที่มีวงโคจรร่วมกันกับดาวเคราะห์หรือดวงจันทร์ที่ใหญ่กว่า แต่ไม่ได้รวมเข้ากับดาวแม่เพราะมีการโคจรรอบจุดสมดุลลากร็องจ์ (Lagrangian point of stability) จุดใดจุดหนึ่งในสองจุด (L4 และ L5) ซึ่งอยู่ในตำแหน่ง 60° ล่วงหน้าหรือรั้งท้ายวัตถุใหญ่นั้นๆ คำว่าโทรจัน นี้ แต่เดิมเป็นคำที่ใช้อ้างถึงโทรจันของดาวพฤหัสบดี ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยโทรจันที่โคจรอยู่รอบๆ จุดลากร็องจ์ของดาวพฤหัสบดี อันเป็นประเภทของโทรจันที่พบมากที่สุดในระบบสุริยะ ต่อมาจึงพบวัตถุที่มีลักษณะเดียวกันโคจรอยู่รอบจุดลากร็องจ์ของดาวเนปจูนและดาวอังคาร นอกจากนี้ยังมีดวงจันทร์ทรอย ที่โคจรรอบจุดลากร็องจ์ของดวงจันทร์ขนาดกลาง 2 ดวงของดาวเสาร.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และโทรจัน (ดาราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

โครงการวอยเอจเจอร์

เส้นทางการเดินทางของยานอวกาศในโครงการวอยเอจเจอร์เพื่อไปเยือนดาวเคราะห์รอบนอก และมีความเร็วสูงพอจะเดินทางออกนอกระบบสุริยะ โครงการวอยเอจเจอร์ (Voyager Program) คือชื่อโครงการยานสำรวจอวกาศแบบไม่ใช้คนบังคับของสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นโดยห้องทดลองการขับเคลื่อนด้วยไอพ่น และได้รับเงินทุนสนับสนุนจากองค์การนาซา ประกอบด้วยยานสำรวจอวกาศ 2 ลำคือ วอยเอจเจอร์ 1 และ วอยเอจเจอร์ 2 ซึ่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อปี ค.ศ. 1977 ทำหน้าที่เก็บข้อมูลอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับดาวเคราะห์และระบบสุริยะ โดยใช้ข้อมูลตำแหน่งดาวเคราะห์ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 แม้ในตอนแรกมันจะถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำรวจศึกษาดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ แต่ยานทั้งสองยังสามารถปฏิบัติภารกิจของมันในห้วงอวกาศรอบนอกของระบบสุริยะต่อไปได้ ปัจจุบันนี้ยานทั้งสองกำลังอยู่บนเส้นทางที่มุ่งหน้าออกจากระบบสุริยะ หมวดหมู่:โครงการวอยเอจเจอร์ หมวดหมู่:ดาวพฤหัสบดี หมวดหมู่:ดาวเสาร์ หมวดหมู่:ดาวยูเรนัส หมวดหมู่:ดาวเนปจูน.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และโครงการวอยเอจเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไพโอเนียร์ 11

อเนียร์ 11 (Pioneer 11) คือยานสำรวจอวกาศแบบไม่มีคนบังคับที่เดินทางระหว่างดาวเคราะห์ ขึ้นสู่อวกาศเมื่อ 6 เมษายน ค.ศ. 1973 เป็นยานสำรวจอวกาศในโครงการไพโอเนียร์ เพื่อศึกษาแถบดาวเคราะห์น้อย,สภาพแวดล้อมรอบดาวพฤหัสบดี,ลมสุริยะ,รังสีคอสมิก และดาวเสาร์ และท้ายที่สุดได้ไกลออกไปในระบบสุริยะ และเฮลิโอสเฟียร์ เป็นการสำรวจแรกที่พบดาวเสาร์ และครั้งที่สองที่บินผ่านแถบดาวเคราะห์น้อย และดาวพฤหัสบดี แต่เนื่องจากข้อจำกัดของพลังงานและระยะทางมากมายในการสำรวจ การสื่อสารได้สูญหายไปตั้งแต่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และไพโอเนียร์ 11 · ดูเพิ่มเติม »

ไกเซอร์ (ธรณีวิทยา)

กเซอร์ในไอซ์แลนด์ การปะทุของไกเซอร์ในรูปของไอน้ำ ทำให้สามารถมองเห็นรุ้งกินน้ำได้ ที่ Castle Geyser in Yellowstone National Park ไกเซอร์ (Geyser) คือลักษณะของน้ำพุร้อนปล่อยกระแสน้ำร่วมกับไอน้ำออกมาเป็นระยะๆ ไม่สม่ำเสมอ การเกิดของไกเซอร์ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะทางอุธกธรณีวิทยา ซึ่งสามารถพบได้เพียงไม่กี่แห่งในโลก จึงจัดได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมมชาติที่หาดูได้ยากชนิดหนึ่ง ไกเซอร์มักจะตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณภูเขาไฟที่ยังสามารถระเบิดได้อยู่และได้รับผลจากแม็กมาในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย โดยทั่วไปแล้วที่ความลึกประมาณ 2.2 กิโลเมตร (6,600 ฟุต) จะเป็นบริเวณที่ผิวน้ำพบกับหินร้อน และด้วยเหตุนี้เองทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น ภายใต้ความดันใต้พื้นผิวโลกจนทำให้เกิดปรากฏการณ์ไกเซอร์ที่ปลดปล่อยกระแสน้ำรุนแรง ร่วมกับไอน้ำออกมาได้.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และไกเซอร์ (ธรณีวิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

ไมมัส (ดาวบริวาร)

มมัส เป็นดาวบริวารของดาวเสาร์ที่วิลเลียม เฮอร์เชล ค้นพบในปี..

ใหม่!!: ดาวเสาร์และไมมัส (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ไอแอพิตัส (ดาวบริวาร)

อแอพิตัส (Ιαπετός) บางครั้งบางคราวก็เรียกว่า เจพิตัส,.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และไอแอพิตัส (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ไฮพีเรียน (ดาวบริวาร)

ีเรียน (Greek: Ὑπερίων)เป็นดาวบริวารของดาวเสาร์ ค้นพบโดย William Bond,George Bond และ William Lassell ในปี 1848.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และไฮพีเรียน (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ไทรทัน (ดาวบริวาร)

ทรทัน ไทรทัน (Triton) เป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวเนปจูน เป็นสถานที่เพียงหนึ่งในสามแห่งในระบบสุริยะ ที่มีก๊าซไนโตรเจนในบรรยากาศ นอกเหนือจากโลก และดาวบริวารไททัน (Titan Moon) ของดาวเสาร์ ไทรทันมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,707 ก.ม. มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ -235 องศาเซลเซียส (35 เคลวิน) สภาพภูมิประเทศเป็นหุบเหวและร่องลึกมากมาย เนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำทำให้เกิดน้ำแข็ง และน้ำแข็งละลายกลับไปกลับมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า นอกจากนั้นยังมีภูเขาไฟน้ำแข็ง (Ice Valcanoes) ที่พ่นน้ำพุแรงดันสูง ประกอบด้วยไนโตรเจนเหลว มีเทนแข็ง และฝุ่นที่เย็นจัดขึ้นไปกว่า 8 กิโลเมตร เหนือพื้นผิวของดาวบริวาร ลักษณะพื้นผิวดาวบริวารจะแวววาวจากหินแข็ง โดยมีส่วนผสมด้วยละอองอนุภาคสีดำขนาดเล็ก ถูกหุ้มด้วยผลึกน้ำแข็ง (เกิดจาก Ice carbonaceous) มีส่วนประกอบของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน และก๊าซมีเทน ฟุ้งกระจายเป็นหมอกบางๆ เหนือพื้น โดยมีน้ำแข็งทั้งหมดประมาณ 25% ไทรทันเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Object) มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณขอบของระบบสุริยะ เลยวงโคจรของดาวพลูโต ออกไปและถูกดาวเนปจูนดูดจับเข้ามาเป็นบริวาร รูปทรงสัณฐานของไทรทันที่สังเกตเห็น จะมีแนวเฉดฟ้าอ่อนจาก Nitrogen ice เช่นเดียวกับไอของน้ำแข็งแห้ง.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และไทรทัน (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ไททัน (ดาวบริวาร)

ไททัน (Titan) คือ ดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ มีระยะห่างจากดาวเสาร์เป็นลำดับที่ 20 เป็นดาวบริวารดวงเดียวที่เป็นที่ทราบกันว่ามีชั้นบรรยากาศที่หนาแน่น และเป็นวัตถุเพียงชนิดเดียวนอกจากโลกที่มีการค้นพบว่ามีร่องรอยของน้ำอยู่บนดาว ไททันมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าดาวบริวารของโลกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และมีมวลมากกว่าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในระบบสุริยะ รองจากดาวบริวารแกนีมีดของดาวพฤหัสบดี และมีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดซึ่งคือ ดาวพุธ (ถึงแม้ว่าจะมีมวลน้อยกว่าเพียงครึ่งเดียวก็ตาม) ผู้คนได้รู้ว่าไททันเป็นดาวบริวารดวงแรกของดาวเสาร์ หลังจากที่ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2198 (ค.ศ. 1655) โดยคริสตียาน เฮยเคินส์ (Christiaan Huygens) นักดาราศาสตร์ชาวดัตช์ ไททันประกอบด้วยน้ำ น้ำแข็ง และหินเป็นหลัก ด้วยความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศของไททัน ทำให้เราไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับพื้นผิวของมันมากนัก จนกระทั่งยานอวกาศ "กัสซีนี-เฮยเคินส์" (Cassini–Huygens) ได้เดินทางไปถึงในปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) รวมถึงการค้นพบทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนเหลว บริเวณขั้วของดาวโดยดาวเทียม ลักษณะของพื้นผิวนั้น ทางธรณีวิทยาถือว่ายังค่อนข้างใหม่ ถึงแม้ว่าจะประกอบด้วยภูเขาและภูเขาไฟน้ำแข็ง (cryovolcano) ก็ตาม ชั้นบรรยากาศของไททันประกอบด้วยไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่ สภาพอากาศจะมีเมฆมีเทนและอีเทน ลมและฝน ซึ่งทำให้เกิดสภาพพื้นผิวที่มีลักษณะคล้ายกับโลกของเรา เช่น ทะเลทราย และแนวชายฝั่ง หมวดหมู่:ดาวบริวารของดาวเสาร์ หมวดหมู่:วัตถุทางดาราศาสตร์ที่ค้นพบในปี พ.ศ. 2198.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และไททัน (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ไททัน (เทพปกรณัม)

ทพไททัน เป็นเทพสิบสององค์ที่เรืองอำนาจในช่วงยุคทอง (Golden Age) และถูกล้มล้างอำนาจไปโดยเทพโอลิมปัส (Olympian).

ใหม่!!: ดาวเสาร์และไททัน (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

ไดโอนี

อนี (Διώνη) เป็นดาวบริวารของดาวเสาร์ ค้นพบโดย โจวันนี โดเมนีโก กัสซีนี ในปี ค.ศ. 1684 เป็นชื่อจากไททัน ไดโอนีของเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และไดโอนี · ดูเพิ่มเติม »

เสาร์

ร์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาการสำรวจระบบสุริยะ

นี่คือ เส้นเวลาการสำรวจระบบสุริยะ เรียงตามวันปล่อยยานอวก.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และเส้นเวลาการสำรวจระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะ

้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดวงจันทร์ในระบบสุริยะ ดังรายการต่อไปนี้ แสดงขั้นตอนการค้นพบเทหวัตถุใหม่เรียงตามลำดับในประวัติศาสตร์;ความหมายของสี สัญลักษณ์สีในตารางแสดงความหมายถึงดาวเคราะห์และดวงจันทร์บริวารของมัน ดังต่อไปนี้;ดาวเคราะห์;ดาวเคราะห์แคระ หรือดาวที่น่าจะเป็นดาวเคราะห์แคร.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และเส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาของอนาคตไกล

ำหรับแผนภาพเส้นเวลาสเกลลอการิทึมของเหตุการณ์เหล่านี้ ดูที่.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และเส้นเวลาของอนาคตไกล · ดูเพิ่มเติม »

เอชดี 169830 บี

อชดี 169830 บี (HD 169830 b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่มีมวล 3 เท่าของดาวพฤหัสบดี เนื่องจากเป็นมวลระดับสูง มันมีแนวโน้มมากที่สุดของดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ คล้ายกับดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ในระบบสุริยจักรวาลของเราเอง โคจรอยู่รอบ ๆ ดาวฤกษ์ของมันทุก ๆ 262 วัน.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และเอชดี 169830 บี · ดูเพิ่มเติม »

เอนเซลาดัส

อนเซลาดัส (Enceladus) หรือ Saturn II เป็นดาวบริวารขนาดใหญ่อันดับที่ 6 ของดาวเสาร์ ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเชื้อสายเยอรมันนาม วิลเลียม เฮอร์เชล เมื่อ..

ใหม่!!: ดาวเสาร์และเอนเซลาดัส · ดูเพิ่มเติม »

เฮเลนี (ดาวบริวาร)

ลนี (Ἑλένη) เป็นดาวบริวารของดาวเสาร์ ค้นพบโดย Laques และLecacheuxในปี..

ใหม่!!: ดาวเสาร์และเฮเลนี (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

เจอราร์ด ปีเตอร์ ไคเปอร์

อราร์ด ปีเตอร์ ไคเปอร์ (Gerard Peter Kuiper) ชื่อเกิดคือ แคร์ริต ปีเตอร์ เกยเปอร์ (Gerrit Pieter Kuiper; 7 ธันวาคม พ.ศ. 2448 — 23 ธันวาคม พ.ศ. 2516) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวดัตช์สัญชาติอเมริกัน เป็นผู้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยในแถบไคเปอร์ รวมทั้งเทหวัตถุและสภาพของเทหวัตถุมากมาย ซึ่งช่วยขยายความเข้าใจในระบบสุริยะและดาวเคราะห์ในระบบสุร.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และเจอราร์ด ปีเตอร์ ไคเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เคปเลอร์-16บี

ปเลอร์-16บี (Kepler-16b) หรือชื่อเดิมคือ เคปเลอร์-16 (เอบี)-บี เป็นดาวเคราะห์นอกระบบมันเป็นดาวเคราะห์มวลดาวเสาร์ประกอบด้วยก๊าซและหินครึ่งหนึ่งและน้ำแข็ง โคจรรอบระบบดาวคู่ เคปเลอร์-16 ด้วยระยะเวลา 229 วัน เป็นครั้งแรกที่ยืนยันตัวอย่างที่ชัดเจนในดาวเคราะห์รอบดาวฤกษ์คู่ ดาวเคราะห์ที่โคจรรอบไม่หนึ่ง แต่สองดาว ดาวเคราะห์ดวงนี้ถูกค้นพบโดยใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศต่างประเทศ คือยานอวกาศเคปเลอร์ของนาซ่า นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถตรวจจับดาวเคราะห์ดวงโดยใช้วิธีการขนส่งตอนที่พวกเขาสังเกตเห็นแสงสลัวของหนึ่งในดาวของระบบแม้ในขณะที่คนอื่นๆ ไม่ได้กระไรแล้ว มองจากโลกดาวเคราะห์จะหยุดผ่านหน้า ดาวดวงหนึ่งเร็วที่สุดเท่าที่ในปี ค.ศ. 2014 และจะหยุดข้ามดาวสองและสว่างในปี ค.ศ. 2018 หลังจากนั้นดาวเคราะห์ดวงนี้จะยังคงใช้วิธีการตรวจสอบไม่พบการขนส่งไปจนถึงปี ค.ศ. 2042 ดาวเคราะห์ดวงนี้โคจรอยู่บนขอบด้านนอกของเขตอาศัยได้ แต่มันอาจเป็นไปได้ก๊าซยักษ์ที่มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ -100 ถึง -70 ° C (-150 ถึง -94 ° F).

ใหม่!!: ดาวเสาร์และเคปเลอร์-16บี · ดูเพิ่มเติม »

เซนทอร์ (ดาวเคราะห์น้อย)

ซนทอร์ (Centaur) คือวัตถุคล้ายดาวเคราะห์ขนาดเล็กในระบบสุริยะรอบนอกที่มีวงโคจรไม่แน่นอน ตั้งชื่อตามเผ่าพันธุ์เซนทอร์ในตำนานปรัมปรา เนื่องจากมันมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างดาวเคราะห์น้อยกับดาวหาง วงโคจรของเซนทอร์ตัดหรืออาจตัดกับวงโคจรของดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ในระบบ และมีช่วงอายุที่เปลี่ยนแปลงอยู่หลายล้านปี วัตถุคล้ายเซนทอร์ดวงแรกที่ค้นพบคือ 944 ฮิดัลโก ในปี..

ใหม่!!: ดาวเสาร์และเซนทอร์ (ดาวเคราะห์น้อย) · ดูเพิ่มเติม »

เนบิวลาปู

นบิวลาปู (บัญชีการตั้งชื่อ M1, NGC 1952 หรือ Taurus A) เป็นซากซูเปอร์โนวาและเนบิวลาลมพัลซาร์ในกลุ่มดาววัว เนบิวลานี้ได้รับการสังเกตโดยจอห์น เบวิส ในปี..

ใหม่!!: ดาวเสาร์และเนบิวลาปู · ดูเพิ่มเติม »

S/2007 S 2

S/2007 S 2 เป็นดาวบริวารของดาวเสาร์ การค้นพบได้มีการประกาศโดย Scott S. Sheppard, David C. Jewitt, Jan Kleyna และ Brian G. Marsden วันที่ 1 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ดาวเสาร์และS/2007 S 2 · ดูเพิ่มเติม »

1 E+13 m²

1 E+13 m² เป็นอันดับของขนาดของสิ่งที่มีพื้นที่ระหว่าง 10 ล้าน ถึง 100 ล้านตารางกิโลเมตร ---- พื้นที่ขนาดน้อยกว่า 10 ล้านตารางกิโลเมตร ---- ทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 10 ล้าน ตร.กม. สหภาพโซเวียต ก่อนการล่มสลาย มีพื้นที่ 22 ล้าน ตร.กม. ดวงจันทร์ มีพื้นที่ 38 ล้าน ตร.กม. มหาสมุทรแอตแลนติก มีพื้นที่ 77 ล้าน ตร.กม.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และ1 E+13 m² · ดูเพิ่มเติม »

1 E+16 m²

1 E+16 m² เป็นอันดับของขนาดของสิ่งที่มีพื้นที่ระหว่าง 10,000 ถึง 100,000 ล้านตารางกิโลเมตร ---- พื้นที่ขนาดน้อยกว่า 1 หมึ่นล้านตารางกิโลเมตร ---- ดาวเสาร์มีพื้นที่ 43,000 ล้านตารางกิโลเมตร ดาวพฤหัสบดีมีพื้นที่ 61,000 ล้านตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และ1 E+16 m² · ดูเพิ่มเติม »

1 E12 m

ำหรับการเปรียบเทียบอันดับของขนาด (อังกฤษ: orders of magnitude) หน้านี้เป็นเป็นรายชื่อความยาวตั้งแต่ 1 Tm (1,000,000,000 กม.) ถึง 10 Tm (10,000,000,000 กม.) (1012 และ 1013 ม.) ---- ความยาวน้อยกว่า 1012 เมตร ----.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และ1 E12 m · ดูเพิ่มเติม »

1 E4 m

ำหรับการเปรียบเทียบอันดับของขนาด (อังกฤษ: orders of magnitude) หน้านี้เป็นเป็นรายชื่อความยาวที่อยู่ระหว่าง 10 กม. และ 100 กม.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และ1 E4 m · ดูเพิ่มเติม »

1 E5 m

ำหรับการเปรียบเทียบอันดับของขนาด (อังกฤษ: orders of magnitude) หน้านี้เป็นเป็นรายชื่อความยาวที่อยู่ระหว่าง 100 กม. และ 1,000 กม.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และ1 E5 m · ดูเพิ่มเติม »

1 E6 m

ำหรับการเปรียบเทียบอันดับของขนาด (อังกฤษ: orders of magnitude) หน้านี้เป็นเป็นรายชื่อความยาวตั้งแต่ 1 Mm (1,000 กม.) ถึง 10 Mm (10,000 กม.) (106 และ 107 ม.) ---- ความยาวน้อยกว่า 106 เมตร ----.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และ1 E6 m · ดูเพิ่มเติม »

1 E8 m

ำหรับการเปรียบเทียบอันดับของขนาด (อังกฤษ: orders of magnitude) หน้านี้เป็นเป็นรายชื่อความยาวตั้งแต่ 100 Mm (100,000 กม.) ถึง 1 Gm (1,000,000 กม.) (108 และ 109 ม.) ---- ความยาวน้อยกว่า 108 เมตร ----.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และ1 E8 m · ดูเพิ่มเติม »

11 มิถุนายน

วันที่ 11 มิถุนายน เป็นวันที่ 162 ของปี (วันที่ 163 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 203 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และ11 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

12 พฤศจิกายน

วันที่ 12 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 316 ของปี (วันที่ 317 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 49 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และ12 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

14 มกราคม

วันที่ 14 มกราคม เป็นวันที่ 14 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 351 วันในปีนั้น (352 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ดาวเสาร์และ14 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

15 ตุลาคม

วันที่ 15 ตุลาคม เป็นวันที่ 288 ของปี (วันที่ 289 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 77 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และ15 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

18 ธันวาคม

วันที่ 18 ธันวาคม เป็นวันที่ 352 ของปี (วันที่ 353 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 13 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และ18 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

2001 จอมจักรวาล (ภาพยนตร์)

2001 จอมจักรวาล (2001: A Space Odyssey) เป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากนิยายวิทยาศาสตร์ในชุด จอมจักรวาล ของ อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก เรื่อง 2001 จอมจักรวาล เกี่ยวกับการเดินทางไปยังดาวเสาร์ของมนุษย์ในปี ค.ศ. 2001 ออกฉายในปี ค.ศ. 1968 กำกับโดยสแตนลีย์ คูบริก แต่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อเรื่องเล็กน้อย จากดาวเสาร์ในฉบับนิยายเป็นดาวพฤหัสบดี ด้วยเหตุผลด้านเทคนิคที่ไม่สามารถสร้างฉากดาวเสาร์ขึ้นมาได้ บทภาพยนตร์เขียนคู่ไปกับฉบับนิยาย ได้รับการยกย่องอย่างสูงในฐานะแบบฉบับของภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลออสการ์ สาขา Visual Effects ค.ศ. 1968 และยังเป็นหนึ่งในสิบภาพยนตร์ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล จากการสำรวจของ Sight & Sound ในปี..

ใหม่!!: ดาวเสาร์และ2001 จอมจักรวาล (ภาพยนตร์) · ดูเพิ่มเติม »

2001 จอมจักรวาล (นวนิยาย)

2001 จอมจักรวาล (2001: A Space Odyssey) เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ในชุด จอมจักรวาล ของ อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก เกี่ยวกับการเดินทางไปยังดาวเสาร์ของมนุษย์ในปี ค.ศ. 2001 นวนิยายเรื่องนี้ อาร์เทอร์ ซี.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และ2001 จอมจักรวาล (นวนิยาย) · ดูเพิ่มเติม »

25 มีนาคม

วันที่ 25 มีนาคม เป็นวันที่ 84 ของปี (วันที่ 85 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 281 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดาวเสาร์และ25 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

4

4 (สี่) เป็นจำนวน ตัวเลข และเป็นชื่อของสัญลักษณ์ภาพ เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 3 (สาม) และอยู่ก่อนหน้า 5 (ห้า).

ใหม่!!: ดาวเสาร์และ4 · ดูเพิ่มเติม »

7

7 (เจ็ด) เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 6 (หก) และอยู่ก่อนหน้า 8 (แปด).

ใหม่!!: ดาวเสาร์และ7 · ดูเพิ่มเติม »

79 ซีตัส บี

79 ซีตัส บี (หรือที่รู้จักกันในชื่อ เอชดี 16141 บี) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ในวงโคจรดาวฤกษ์ 79 ซีตัส ในกลุ่มดาววาฬ โดยจะโคจรไปรอบดาวฤกษ์ 79 ซีตัส ทุกๆ 75 วัน การค้นพบดาวเคราะห์ดวงนี้พร้อมกับดาวเอชดี 46375 บี เมื่อ 29 มีนาคม..

ใหม่!!: ดาวเสาร์และ79 ซีตัส บี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Saturn

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »