โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฌ็อง กาลแว็ง

ดัชนี ฌ็อง กาลแว็ง

็อง กาลแว็ง (Jean Calvin) หรือจอห์น คาลวิน (John Calvin) เป็นนักเทววิทยาศาสนาคริสต์และศิษยาภิบาลชาวฝรั่งเศสสมัยการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ แนวคิดทางเทววิทยาที่กาลแว็งพัฒนาขึ้นเรียกว่าลัทธิคาลวิน ซึ่งแพร่หลายอยู่ในหลายนิกาย เช่น คริสตจักรปฏิรูป คริสตจักรคองกริเกชันแนล เพรสไบทีเรียน เป็นต้น เดิมกาลแว็งเป็นนักกฎหมายที่มีแนวคิดแบบมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และได้ถอนตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกในปี..

17 ความสัมพันธ์: บัญญัติ 10 ประการพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัลการจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนยัน ฮุสลัทธิทำลายรูปเคารพลัทธิคาลวินสงครามศาสนาของฝรั่งเศสอาสนวิหารแซ็ง-ปีแยร์ฮุลดริช ซวิงลีธุลีปริศนาคาลวินแองกลิคันคอมมิวเนียนแซแนกาผู้ลูกโปรเตสแตนต์เพรสไบทีเรียนเรลิก

บัญญัติ 10 ประการ

ระบัญญัติ 10 ประการ หรือ บทบัญญัติ 10 ประการ (Ten Commandments; עשרת הדיברות; ܥܣܪܐ ܦܘܩܕܢܐ; Δέκα εντολές) คือรายการคำสอนและข้อปฏิบัติตามคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งเชื่อว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานแก่วงศ์วานอิสราเอล ผ่านทางโมเสส ที่ภูเขาซีนาย บัญญัตินี้สลักไว้บนแผ่นหิน 2 แผ่น บัญญัติ 10 ประการใช้ในศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห์ ในภาษายิดดิช ใช้คำว่า Aseret ha-Dvarîm עשרת הדברים ในภาษาฮีบรูและภาษาฮีบรูมิซนะห์ ใช้คำว่า Aseret ha-Dibrot עשרת הדברות ซึ่งทั้งสองคำหมายถึง บัญญัติ 10 ประการ และมีการใช้ในภาษากรีก ซึ่งแปลมาจากภาษาฮีบรูว่า δέκα λόγοι (dekalogoi) หมายถึง คำสิบคำ (the ten words) อีกด้ว.

ใหม่!!: ฌ็อง กาลแว็งและบัญญัติ 10 ประการ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 1 (Charles I; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 — 30 มกราคม ค.ศ. 1649) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์สจวต รวมทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: ฌ็อง กาลแว็งและพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล

การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล (Episcopal polity /ɪˈpɪs.kə.pəl/) เป็นการปกครองคริสตจักรรูปแบบหนึ่งที่มีโครงสร้างเป็นลำดับชั้นบังคับบัญชา โดยมีบิชอปหรือมุขนายกเป็นผู้นำของคริสตจักรในระดับท้องถิ่น โครงสร้างเช่นนี้มีมาตั้งแต่สมัยคริสตจักรยุคโบราณ ซึ่งสืบทอดมาเป็นคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคันคอมมิวเนียน ทั้งนี้บางคริสตจักรที่ไม่ได้สืบสายมาจากสายนี้แต่รับวิธีการบริหารเช่นนี้มาก็มี คำว่า อิปิสโคปัล มาจากภาษากรีก επίσκοπος (อีปิสโคปอส) แปลว่าผู้ปกครองดูแล ซึ่งเป็นศัพท์ที่มีที่มาเดียวกับคำว่า bishop ในภาษาอังกฤษ คริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอีปิสโคปัลจะมีบิชอปหรือมุขนายกเป็นผู้ปกครอง แบ่งการปกครองออกเป็นมุขมณฑล ที่ประชุมร่วม หรือซิโนด บิชอปทำหน้าที่ประธานทั้งในศาสนาและการเมือง และประกอบพิธีสำคัญ เช่น การบวช การยืนยันความเชื่อ และการอภิเษก หลาย ๆ คริสตจักรถือว่าบิชอปเป็นตำแหน่งที่มีการสืบต่อจากอัครทูตของพระเยซู จึงเป็นผู้มีสิทธิอำนาจในการปกครองคริสตจักร และถือว่าการปกครองโดยบิชอปเป็นวิธีการบริหารคริสตจักรที่ถูกต้องตามที่ระบุในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ ในบางคริสตจักรได้แบ่งบิชอปหรือมุขนายกออกเป็นหลายชั้นหลายประเภท เช่น แบ่งมุขนายกออกเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลและมุขนายกเกียรตินาม มุขนายกแต่ละประเภทยังแบ่งออกเป็นมุขนายกและอัครมุขนายก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนบของแต่ละคริสตจักร บิชอปทั้งหลายจะร่วมสามัคคีธรรมกันในรูปของสภาหรือซิโนด สภามักมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับบิชอปในการดูแลเขตปกครองของตน (ตัวอย่างเช่น สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย) ตั้งแต่มีการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ ชาวโปรเตสแตนต์ส่วนใหญ่ก็เปลี่ยนไปใช้วิธีการปกครองแบบอื่น ได้แก่ แบบเพรสไบทีเรียน แบบคองกริเกชันนาลิสต์ ซึ่งเป็นผลจากแนวคิดของฌ็อง กาลแว็ง นักปฏิรูปศาสนาชาวฝรั่ง.

ใหม่!!: ฌ็อง กาลแว็งและการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล · ดูเพิ่มเติม »

การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียน

การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียน (Presbyterian polity) คือการจัดระเบียบองค์การคริสตจักรแบบหนึ่ง ที่ปกครองโดยสมัชชาเพรสไบเทอร์หรือผู้ปกครอง คริสตจักรท้องถิ่นแต่ละแห่งจะปกครองโดยกลุ่มผู้ปกครองที่ได้รับเลือกมาที่เรียกว่า “คณะธรรมกิจ” (session) หรือ “consistory” หรือ “church board” กลุ่มคริสตจักรในท้องถิ่นก็จะมีสมัชชาที่สูงกว่าเป็นสภาผู้อาวุโสที่เรียกว่า “เพรสไบเทอรี” (presbytery) หรือ “คลาสสิส” (classis) เพรสไบเทอรีอาจจะรวมกันเป็น “ซิโนด” (synod) หรือสภา ซิโนดทั่วประเทศก็มักจะรวมตัวกันเป็น “สมัชชาใหญ่” (general assembly) การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนถูกพัฒนาขึ้นเพื่อปฏิเสธวิธีการปกครองที่อาศัยลำดับชั้นบังคับบัญชาโดยมุขนายกองค์เดียว (ซึ่งเรียกว่าการจัดระเบียบองค์การแบบอีปิสโคปัล) แต่ต่างจากการจัดระเบียบองค์การแบบคองกริเกชันนาลิสต์ (Congregationalist polity) ที่แบ่งการปกครองคริสตจักรออกเป็นคองกริเกชันโดยแต่ละคองกริเกชันเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนแตกต่างจากระบบอื่นตรงที่อำนาจการปกครองที่มาจากทั้งเบื้องบนและเบื้องล่าง ระบบการปกครองนี้วิวัฒนาการขึ้นที่เจนีวาภายใต้ฌ็อง กาลแว็ง และนำมาใช้ในสกอตแลนด์โดยจอห์น น็อกซ์หลังจากการไปลี้ภัยอยู่ที่นั่น การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนถือเป็นระบบที่สัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับการปฏิรูปศาสนาในสวิตเซอร์แลนด์และในสกอตแลนด์ และคริสตจักรปฏิรูป และคริสตจักรเพรสไบทีเรียน.

ใหม่!!: ฌ็อง กาลแว็งและการจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ยัน ฮุส

ัน ฮุส ยัน ฮุส (Jan Hus) หรือ จอห์น ฮัส (John Hus, John Huss; ประมาณ ค.ศ. 1369 – 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1415) เป็นนักปรัชญาและบาทหลวงชาวเช็ก ถือเป็นบุคคลแรก ๆ ที่มีแนวคิดในการปฏิรูปศาสน.

ใหม่!!: ฌ็อง กาลแว็งและยัน ฮุส · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิทำลายรูปเคารพ

การปฏิรูปศาสนาเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่มหาวิหารนักบุญมาร์ติน เมืองยูเทรกต์ (Cathedral of Saint Martin, Utrecht)http://www.domkerk.nl/domchurch/history.html The birth and growth of Utrecht (ที่มาและความเจริญเติบโตของอูเทรชท์) ลัทธิทำลายรูปเคารพ (Iconoclasm) เป็นแนวคิดและการปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีการใช้รูปเคารพ การทำลายศิลปะหรือรูปสัญลักษณ์ทางศาสนา การทำลายสัญลักษณ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่สัญลักษณ์ทางศาสนา หรือ การทำลายอนุสาวรีย์โดยจงใจภายในสังคมใดสังคมหนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นผลจากการกระทำเพื่อศาสนาหรือการเมือง การกระทำเช่นนี้มักจะเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเปลี่ยนแปลงทางศาสนาหรือทางการเมืองภายในสังคมเดียวกัน ลัทธิทำลายรูปเคารพตรงกันข้ามกับ "ลัทธิบูชารูปเคารพ" (Iconodule).

ใหม่!!: ฌ็อง กาลแว็งและลัทธิทำลายรูปเคารพ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคาลวิน

ลัทธิคาลวิน (Calvinism) ขนบปฏิรูป (Reformed tradition) หรือ เทววิทยาปฏิรูป เป็นเทววิทยาศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ที่ถือแนวคำสอนและการปฏิบัติตามการตีความของฌ็อง กาลแว็ง และนักเทววิทยาอื่น ๆ ช่วงการปฏิรูปศาสนา ลัทธิคาลวินแตกหักกับคริสตจักรโรมันคาทอลิก จึงนับเป็นฝ่ายโปรเตสแตนต์ แต่ก็ต่างจากโปรเตสแตนต์สายอื่น ๆ เช่น ลูเทอแรน ในประเด็นต่าง ๆ เช่น พระเยซูในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ หลักบังคับในการนมัสการ การบังคับใช้กฎของพระเจ้ากับคริสตชน การเรียกเทววิทยาสายนี้ว่า "ลัทธิคาลวิน" ค่อนข้างคลาดเคลื่อน เพราะในความเป็นจริง เป็นเทววิทยาที่มีแนวคิดหลากหลาย ไม่ได้จำกัดเฉพาะกับฌ็อง กาลแว็งผู้ก่อตั้งเพียงคนเดียว นักเทววิทยากลุ่มนี้ถูกฝ่ายลูเทอแรนเรียกว่า "ลัทธิคาลวิน" แต่ในภายในสายมักใช้คำว่า คณะปฏิรูป มากกว่า นับแต่มีการโต้แย้งอาร์มิเนียน ฝ่ายปฏิรูปก็แบ่งออกเป็นสองสาย คือ สายคาลวิน และ สายอาร์มิเนียน แต่ปัจจุบันมักใช้คำว่า คณะปฏิรูป ในเชิงไวพจน์กับลัทธิคาลวินมากกว่า นักเทววิทยาสายปฏิรูปที่มีบทบาทสำคัญในยุคต้น ๆ ได้แก่ ฌ็อง กาลแว็ง มาร์ทิน บูเคอร์ ไฮน์ริช บุลลิงเงอร์ และปีเอโตร มาร์ตีเร แวร์มิกลี จุดเด่นของลัทธิคาลวินมีอยู่ 5 ประเด็น ที่เป็นที่รู้จักที่สุดคือความเชื่อเรื่องเทวลิขิตและมนุษย์เสื่อมทรามโดยสิ้นเชิง ประเด็น 5 ข้อของลัทธิคาลวิน (5 Points of Calvinism; TULIP) ได้แก.

ใหม่!!: ฌ็อง กาลแว็งและลัทธิคาลวิน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามศาสนาของฝรั่งเศส

หตุการณ์สังหารหมู่วันเซนต์บาร์โธโลมิว สงครามศาสนาของฝรั่งเศส (French Wars of Religion) เป็นสงครามกลางเมืองฝรั่งเศส ระหว่างค.ศ. 1562 ถึง ค.ศ. 1598 ระหว่างฝ่ายคาทอลิก นำโดยตระกูลกีส (Guise) กับกลุ่มอูเกอโนต์ (Huguenots) หรือโปรเตสแตนต์ในฝรั่งเศส นำโดยตระกูลบูร์บง ผลคือฝรั่งเศสเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่จากราชวงศ์วาลัวส์ เป็นราชวงศ์บูร์บง และเสรีภาพทางศาสนาของผู้นับถือโปรเตสแตนต์ในฝรั่งเศสตามพระราชกฤษฎีกาแห่งนองซ์ออกโดยพระเจ้าอองรีที่ 4.

ใหม่!!: ฌ็อง กาลแว็งและสงครามศาสนาของฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแซ็ง-ปีแยร์

้านหน้าของอาสนวิหารแซ็ง-ปีแยร์ อาสนวิหารแซ็ง-ปีแยร์แห่งเจนีวา (Cathédrale Saint-Pierre de Genève) เป็นอาสนวิหารนิกายโปรเตสแตนต์ประจำนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สร้างขึ้นเมื่อราว..

ใหม่!!: ฌ็อง กาลแว็งและอาสนวิหารแซ็ง-ปีแยร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮุลดริช ซวิงลี

ลดริช ซวิงลี ฮุลดริช ซวิงลี (Huldrych Zwingli; 1 มกราคม ค.ศ. 1484 – 11 ตุลาคม ค.ศ. 1531) หรือ อุลริช ซวิงลี (Ulrich Zwingli) เป็นศิษยาภิบาลและนักเทววิทยาศาสนาคริสต์ชาวสวิส และเป็นผู้นำในการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ในสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: ฌ็อง กาลแว็งและฮุลดริช ซวิงลี · ดูเพิ่มเติม »

ธุลีปริศนา

ลีปริศนา เป็นนิยายแฟนตาซีไตรภาค ประพันธ์โดย ฟิลิป พูลแมน ประกอบด้วยมหันตภัยขั้วโลกเหนือ (ค.ศ. 1995) มีดนิรมิต (ค.ศ. 1997) และสู่เส้นทางมรณะ (ค.ศ. 2000) โดยได้รับการแปลกว่า 40 ภาษา และจัดจำหน่ายหนังสือได้กว่า 15 ล้านเล่ม ผลงานทั้งสามได้รับรางวัลเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สู่เส้นทางมรณะ ซึ่งได้รับรางวัลหนังสือวิทเบรดประจำปี..

ใหม่!!: ฌ็อง กาลแว็งและธุลีปริศนา · ดูเพิ่มเติม »

คาลวิน

ลวิน หรือ แคลวิน (Calvin) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ฌ็อง กาลแว็งและคาลวิน · ดูเพิ่มเติม »

แองกลิคันคอมมิวเนียน

แองกลิคันคอมมิวเนียน (Anglican Communion) เป็นองค์การระหว่างประเทศของคริสตจักรระดับชาติและระดับภูมิภาคที่ถือนิกายแองกลิคัน มีการร่วมสมานฉันท์กับคริสตจักรแห่งอังกฤษในฐานะเป็นคริสตจักรแม่ในคอมมิวเนียน มีอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีเป็นประธานไพรเมต การร่วมสมานฉันท์ในที่นี้หมายถึงมีข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดหลักความเชื่อ และชาวแองกลิคันทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ในคริสตจักรใด ๆ ในคอมมิวเนียนได้ สมาชิกของแองกลิคันคอมมิวเนียนในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 80 ล้านคนทั่วโลก นับว่าเป็นนิกายในศาสนาคริสต์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามรองจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกและคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และแม้จะอยู่ในแองกลิคันคอมมิวเนียนด้วยกันก็ไม่ใช่ทุกคริสตจักรในคอมมิวเนียนนี้ที่ใช้ชื่อแองกลิคัน เช่น คริสตจักรแห่งไอร์แลนด์ คริสตจักรสกอตติชอีปิสโคปัล คริสตจักรอีปิสโคปัล (สหรัฐ) เป็นต้น บางคริสตจักรก็เรียกตนแองว่าแองกลิคันเพราะถือว่าสืบสายมาจากคริสตจักรในอังกฤษ เช่น คริสตจักรแองกลิคันแห่งแคนาดา แต่ละคริสตจักรมีสิทธฺิ์กำหนดหลักความเชื่อ แนวพิธีกรรม และกระบวนการทางนิติบัญญัติเป็นของตนเอง แต่โดยมากจะถือตามคริสตจักรแห่งอังกฤษ ทุกคริสตจักรมีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล มีไพรเมตเป็นประมุข อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีเป็นประมุขทางศาสนาของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่ในคริสตจักรอื่น ๆ คงเป็นที่ยอมรับเฉพาะในฐานะประมุขเชิงสัญลักษณ์ของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลก ในบรรดาไพรเมตในนิกายแองกลิคันจึงถือว่าอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีเป็น บุคคลอันดับหนึ่งในบรรดาผู้ที่เท่าเทียมกัน (Primus inter pares) ชาวแองกลิคันถือว่าแองกลิคันคอมมิวเนียนเป็นคริสตจักรที่เป็นหนึ่งเดียว ศักดิ์สิทธิ์ สากล และสืบมาจากอัครทูต มีทั้งความเป็นคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ ศาสนิกชนบางคนจึงถือว่าแองกลิคันเป็นนิกายคาทอลิกที่ไม่ยอมรับพระสันตะปาปา หรือเป็นนิกายโปรเตสแตนต์แบบหนึ่งแม้จะไม่มีนักเทววิทยาโดดเด่นอย่างคริสตจักรอื่น เช่น มาร์ติน ลูเทอร์ จอห์น น็อกซ์ ฌ็อง กาลแว็ง ฮุลดริช สวิงลีย์ หรือจอห์น เวสลีย์ สำนักงานแองกลิคันคอมมิวเนียนมีเลขาธิการคือศาสนาจารย์ แคนันเคนเนท เคียรันเป็นหัวหน้.

ใหม่!!: ฌ็อง กาลแว็งและแองกลิคันคอมมิวเนียน · ดูเพิ่มเติม »

แซแนกาผู้ลูก

รูปแกะสลักโบราณครึ่งตัวของแซแนกาผู้ลูก (พิพิธภัณฑ์โบราณคดี เบอร์ลิน) แซแนกาผู้ลูก มีชื่อเต็มว่า ลูกิอุส อันไนอุส แซแนกา (Lvcivs Annaevs Seneca; ประมาณ พ.ศ. 140 - พ.ศ. 608) เป็นนักเขียน เจ้าลัทธิสโตอิกโรมัน นักปรัชญา รัฐบุรุษ นักเขียนบทละคร และมีงานหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นนักเขียนเรื่องขำขัน บุรุษแห่งยุคเงินของวรรณกรรมละติน (Silver Age of Latin literature).

ใหม่!!: ฌ็อง กาลแว็งและแซแนกาผู้ลูก · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: ฌ็อง กาลแว็งและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เพรสไบทีเรียน

็อง กาลแว็ง นิกายเพรสไบทีเรียนราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 431 (Presbyterianism) เป็นหนึ่งในนิกายในศาสนาคริสต์ฝ่ายโปรเตสแตนต์ที่มีต้นกำเนิดที่สกอตแลนด์ ยึดถือแนวคิดทางเทววิทยาแบบลัทธิคาลวิน และมีการจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียน หลักเทววิทยาแบบเพรสไบทีเรียนเน้นเรื่องอำนาจอธิปไตยของพระเจ้า สิทธิอำนาจของคัมภีร์ไบเบิล และการรับพระคุณจากพระเจ้าได้โดยการศรัทธาในพระเยซูเท่านั้น ในสกอตแลนด์วิธีการปกครองคริสตจักรของเพรสไบทีเรียนได้รับการรับประกันตามพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 นิกายเพรสไบทีเรียนสมัยใหม่สืบเค้าไปได้ถึงการปฏิรูปศาสนาในสกอตแลนด์ คริสตจักรท้องถิ่นแต่ละแห่งปกครองโดยคณะธรรมกิจซึ่งมาจากตัวแทนของคริสตจักรนั้น ในทางทฤษฎีนิกายนี้ไม่มีการแต่งตั้งบิชอป แต่มีการสถาปนาโดยการเลือกตั้งคณะผู้ปกครองขึ้นเพื่อทำหน้าที่อภิบาลคริสต์ศาสนิกชนหรือสมาชิกคริสตจักร รวมไปถึงการตัดสินใจต่าง ๆ ในคริสตจักร มีมัคนายกทำหน้าที่ดูแลสมาชิกและครอบครัวและส่วนมากดูแลเรื่องการเงินของคริสตจักร ผู้ปกครองและมัคนายกจะมีวาระการประจำการ วาระละ 2-3 ปี แล้วแต่คริสตจักรนั้น ๆ จะกำหนด ตำแหน่งผู้ปกครองเมื่อได้รับการสถาปนาแล้วจะอยู่ในศาสนศักดิ์นั้นตลอดชีพ นิกายเพรสไบทีเรียนมีต้นกำเนิดมาจากการปฏิรูปศาสนาในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งมีฌ็อง กาลแว็งเป็นหนึ่งในนักปฏิรูปคนสำคัญ คริสตจักรปฏิรูปส่วนมากสืบมีวิธีการปกครองที่สามารถสืบย้อนไปได้ทั้งแบบเพรสไบทีเรียนและคองกรีเกชันแนล ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 คริสตจักรเพรสไบทีเรียนหลายแห่งเริ่มมีบทบาทในขบวนการคริสต์ศาสนสัมพันธ์ เช่น การตั้งสภาคริสตจักรสากล บางคริสตจักรในนิกายนี้ยังเริ่มหันมาทำงานร่วมกับคริสตจักรปฏิรูปกลุ่มอื่น ๆ บ้างก็เข้าร่วมกลุ่มกับนิกายอื่นเลย เช่น คริสตจักรคองกรีเกชันแนล ลูเทอแรน แองกลิคัน และเมทอดิสต.

ใหม่!!: ฌ็อง กาลแว็งและเพรสไบทีเรียน · ดูเพิ่มเติม »

เรลิก

รลิก (relic) คือชิ้นส่วนร่างกายของนักบุญหรือบุคคลที่เป็นที่นับถือ หรือศาสนวัตถุโบราณอื่นๆ ที่มีการเก็บรักษาไว้ให้ศาสนิกชนได้บูชา หรือเป็นเครื่องระลึกถึง ความเชื่อเกี่ยวกับเรลิกมีความสำคัญในหลายศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู ลัทธิเชมัน ฯลฯ คำว่า relic มาจาก ภาษาละติน “reliquiae” แปลว่าสิ่งที่หลงเหลืออยู่ และคำว่า “reliquary” หมายถึงที่เก็บรักษาเรลิกซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้ หรือศาสนสถานสถานที่เช่นมหาวิหารหรือวั.

ใหม่!!: ฌ็อง กาลแว็งและเรลิก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

จอห์น คาลวิน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »