โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลัทธิคาลวิน

ดัชนี ลัทธิคาลวิน

ลัทธิคาลวิน (Calvinism) ขนบปฏิรูป (Reformed tradition) หรือ เทววิทยาปฏิรูป เป็นเทววิทยาศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ที่ถือแนวคำสอนและการปฏิบัติตามการตีความของฌ็อง กาลแว็ง และนักเทววิทยาอื่น ๆ ช่วงการปฏิรูปศาสนา ลัทธิคาลวินแตกหักกับคริสตจักรโรมันคาทอลิก จึงนับเป็นฝ่ายโปรเตสแตนต์ แต่ก็ต่างจากโปรเตสแตนต์สายอื่น ๆ เช่น ลูเทอแรน ในประเด็นต่าง ๆ เช่น พระเยซูในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ หลักบังคับในการนมัสการ การบังคับใช้กฎของพระเจ้ากับคริสตชน การเรียกเทววิทยาสายนี้ว่า "ลัทธิคาลวิน" ค่อนข้างคลาดเคลื่อน เพราะในความเป็นจริง เป็นเทววิทยาที่มีแนวคิดหลากหลาย ไม่ได้จำกัดเฉพาะกับฌ็อง กาลแว็งผู้ก่อตั้งเพียงคนเดียว นักเทววิทยากลุ่มนี้ถูกฝ่ายลูเทอแรนเรียกว่า "ลัทธิคาลวิน" แต่ในภายในสายมักใช้คำว่า คณะปฏิรูป มากกว่า นับแต่มีการโต้แย้งอาร์มิเนียน ฝ่ายปฏิรูปก็แบ่งออกเป็นสองสาย คือ สายคาลวิน และ สายอาร์มิเนียน แต่ปัจจุบันมักใช้คำว่า คณะปฏิรูป ในเชิงไวพจน์กับลัทธิคาลวินมากกว่า นักเทววิทยาสายปฏิรูปที่มีบทบาทสำคัญในยุคต้น ๆ ได้แก่ ฌ็อง กาลแว็ง มาร์ทิน บูเคอร์ ไฮน์ริช บุลลิงเงอร์ และปีเอโตร มาร์ตีเร แวร์มิกลี จุดเด่นของลัทธิคาลวินมีอยู่ 5 ประเด็น ที่เป็นที่รู้จักที่สุดคือความเชื่อเรื่องเทวลิขิตและมนุษย์เสื่อมทรามโดยสิ้นเชิง ประเด็น 5 ข้อของลัทธิคาลวิน (5 Points of Calvinism; TULIP) ได้แก.

37 ความสัมพันธ์: ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ฟรันซ์ มาร์คฟรีดริช วิลเฮล์ม ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์คฟรีดริชที่ 5 ผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนตฟร็องซัว ราวายักฟร็องซัว เดอ ซาลพฟัลซ์-ซไวบรึคเคินพระราชกฤษฎีกานองซ์พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสพิธีขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนมิกโลช โฮร์ตีรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติฮังการีราชอาณาจักรฮังการี (ค.ศ. 1920–1946)ลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1500 ถึง ค.ศ. 1599สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษสหรัฐสงครามกลางเมืองอังกฤษสงครามสามสิบปีออกัสตินแห่งฮิปโปอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญอูเกอโนต์ฌ็อง กาลแว็งฌ็อง-ปอล มาราคริสตจักรปฏิรูปคาลวินตัวแบบนอร์ดิกตูร์แนประวัติศาสตร์เยอรมนีแบร์นาร์ กาซเนิฟว์โรแบร์โต เบลลาร์มีโนโปรเตสแตนต์เพรสไบทีเรียนเอรัสมุสเนเฟช

ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์

ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ (Frank-Walter Steinmeier; เกิด 5 มกราคม ค.ศ. 1956) เป็นประธานาธิบดีเยอรมนีตั้งแต่ 19 มีนาคม..

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันซ์ มาร์ค

ฟรันซ์ มาร์ค (Franz Marc) เป็นศิลปินในกระแสลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1880 ในเมือง มิวนิก (Munich) พ่อของมาจากครอบครัวที่เป็นทาสรับใช้ที่อยู่ทางตอนบนของรัฐบาวาเรีย ก่อนพ่อของเขาจะเลือกประกอบอาชีพเป็นจิตรกร พ่อของเขาได้เป็นนักกฎหมาย แม่ของเขามาจากครอบครัวชาวฝรั่งเศสในแคว้นอาลซัส ถึงแม้ว่าพ่อของเขานับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่มาร์คนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ เพราะเขาได้รับการเลี้ยงดูจากแม่ของเขา และได้รับอิทธิพลทางความคิดจากลัทธิคาลวินตั้งแต่เด็ก และแม่ของเขาตั้งใจให้เขาได้เป็นบาทหลวง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมาร์คโตขึ้น เขาได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองมิวนิก ในสาขาวิชา วรรณกรรม ในปี 1899 ต่อมาเมื่อเขาได้รับการฝึกเป็นทหารเกณฑ์ แต่เมื่อเขาฝึกเสร็จแล้วเขาได้ย้ายมหาวิทยาลัยที่เขาเรียนวรรณกรรม ไปเข้าโรงเรียนสอนศิลปะในเมืองมิวนิกเช่นกัน โดยได้รับการสอนจากวิลเฮล์ม ฟอน ดี.

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและฟรันซ์ มาร์ค · ดูเพิ่มเติม »

ฟรีดริช วิลเฮล์ม ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค

ฟรีดริช วิลเฮล์ม ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค (Friedrich Wilhelm; Frederick William I, Elector of Brandenburg) (16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1620 - 29 เมษายน ค.ศ. 1688) ฟรีดริช วิลเฮล์มเป็นเจ้าชายผู้คัดเลือกของบรันเดินบวร์ค และดยุกแห่งปรัสเซียตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและฟรีดริช วิลเฮล์ม ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

ฟรีดริชที่ 5 ผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนต

ฟรีดริชที่ 5 ผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนต หรือพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งโบฮีเมีย (Friedrich V, Frederick V, Elector Palatine; 26 สิงหาคม ค.ศ. 1596 - 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1632) เป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนต และเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมีย ในพระนามว่า "พระเจ้าฟรีดริชที่ 1" (Fridrich Falcký) ระหว่างปี ค.ศ. 1619 ถึงปี ค.ศ. 1620 อันเป็นระยะเวลาอันสั้นที่ทำให้เรียกกันว่า "พระราชาแห่งเหมันต์" (Zimní král) พระเจ้าฟรีดริชเสด็จพระราชสมภพที่ตำหนักล่าสัตว์ใกล้อัมแบร์กที่โอเบอร์พฟาลซ์ พระองค์เป็นพระโอรสและทายาทของฟรีดริชที่ 4 ผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนตและหลุยส์ ยูเลียนาแห่งนัสเซาพระราชธิดาของวิลเลียมที่ 1 แห่งออเรนจ์ และ ชาร์ลอตต์เดอบูร์บอง พระองค์ทรงเป็นผู้คงแก่เรียน รหัสยิก และผู้ถือลัทธิคาลวิน ต่อมาฟรีดริชสืบครองรัฐผู้คัดเลือกพาลาทิเนตเป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกในปี ค.ศ. 1610 ฟรีดริชทรงเป็นผู้สร้าง สวนพฤกษชาติพาเลไทน์ อันมีชื่อเสียงที่ไฮเดลแบร์ก.

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและฟรีดริชที่ 5 ผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนต · ดูเพิ่มเติม »

ฟร็องซัว ราวายัก

ฟร็องซัว ราวายัก (François Ravaillac; ค.ศ. 1578 – 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1610) เป็นชาวฝรั่งเศสซึ่งเป็นนักการ (factotum) อยู่ที่ราชสำนักเมืองอ็องกูแล็ม (Angoulême) และเป็นครู (tutor) ในบางโอกาส เขาถือนิกายโรมันคาทอลิกอย่างสุดโต่ง และปลงพระชนม์พระเจ้าอ็องรีที่ 4 (Henry IV) พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส ใน..

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและฟร็องซัว ราวายัก · ดูเพิ่มเติม »

ฟร็องซัว เดอ ซาล

นักบุญฟร็องซัว เดอ ซาล (Saint François de Sales; 21 สิงหาคม ค.ศ. 1567 – 28 ธันวาคม ค.ศ. 1622) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวฝรั่งเศส ได้รับแต่งตั้งให้เป็นบิชอปแห่งเจนีวา ผลงานที่สำคัญของท่านคือการดึงชาวเมืองชาเบลส์ซึ่งไปนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ลัทธิคาลวินให้หันกลับมานับถือนิกายโรมันคาทอลิกได้สำเร็จ นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างสรรค์วรรณกรรมไว้มากมายซึ่งมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความศรัทธาในคริสต์ศาสนานิกายคาทอลิก จนต่อมาท่านได้รับยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักร และเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ และนักเขียน.

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและฟร็องซัว เดอ ซาล · ดูเพิ่มเติม »

พฟัลซ์-ซไวบรึคเคิน

ฟัลซ์-ซไวบรึคเคิน (Pfalz-Zweibrücken) หรือ พาลาทิเนต-ซไวบรึคเคิน (Palatinate-Zweibrücken) เป็นอดีตอาณาจักรเคานต์ที่เดิมเป็นรัฐในเครือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ปกครองโดยเคานต์แห่งพฟัลซ์ พฟัลซ์-ซไวบรึคเคินก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1182 และมาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1801.

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและพฟัลซ์-ซไวบรึคเคิน · ดูเพิ่มเติม »

พระราชกฤษฎีกานองซ์

ระราชกฤษฎีกานองซ์เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1598 พระราชกฤษฎีกานองซ์ (Édit de Nantes; Edict of Nantes) เป็นพระราชกฤษฎีกาที่พระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ทรงตราขึ้นเมื่อวันที่ 13 เมษายน..

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและพระราชกฤษฎีกานองซ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 1 (Charles I; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 — 30 มกราคม ค.ศ. 1649) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์สจวต รวมทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย

ระเจ้าฟรีดริชที่ 2 (เยอรมัน: Friedrich II.; อังกฤษ: Frederick II หรือ พระเจ้าฟรีดริชมหาราช (24 มกราคม ค.ศ. 1712 - 17 สิงหาคม ค.ศ. 1786 เป็นพระมหากษัตริย์ปรัสเซียจากราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น โดยทรงครองราชย์ระหว่างปีค.ศ. 1740 จนถึงปีค.ศ. 1786 พระองค์ทรงเป็นลำดับที่สามและ ‘กษัตริย์ในปรัสเซีย(King in Prussia)’ องค์สุดท้าย ก่อนที่จะฉลองพระอิสรยยศขึ้นเป็น ‘กษัตริย์แห่งปรัสเซีย(King of Prussia)’ หลังจากที่ได้รับดินแดนทางประวัติศาสตร์ดั้งเดิมของปรัสเซีย นอกจากนั้นก็ยังทรงดำรงตำแหน่งผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบวร์กในพระนามว่า “ฟรีดริชที่ 4” และทรงได้รับสมญานามว่า ‘พระเจ้าฟรีดริชมหาราช’ และมีพระนามเล่นว่า ‘เจ้าฟริทซ์แก่(der Alte Fritz)” พระเจ้าฟรีดริชทรงมีความสนพระทัยทางศิลปะตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์และทรงพยายามหนีจาการควบคุมจากพระบิดาครั้งหนึ่งแต่ไม่สำเร็จ พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 พระราชบิดาทรงเข้มงวดจนได้รับสมญานามว่า “กษัตริย์ทหาร” เมื่อยังทรงพระเยาว์ฟรีดริชทรงถูกบังคับให้ดูการประหารชีวิตอย่างทารุณของพระสหายที่ทรงรู้จักกันมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ในปีแรกทรงโจมตีจักรวรรดิออสเตรียและยึดครองบริเวณไซลีเซีย ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศโปแลนด์ปัจจุบันซึ่งเป็นดินแดนยึดครองที่มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานในการขยายดินแดนของปรัสเซียและเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ราชอาณาจักรปรัสเซีย ในบั้นปลายของชีวิตพระเจ้าฟรีดริชทรงรวมอาณาจักรต่าง ๆ ที่เคยเป็นราชรัฐเล็กของปรัสเซียเข้าด้วยกันรวมทั้งดินแดนที่ทรงได้มาจากการแบ่งแยกโปแลนด์ พระเจ้าฟรีดริชทรงเป็นผู้สนับสนุนการปกครองระบบที่มีพื้นฐานมาจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม ทรงติดต่อสื่อสารกับวอลแตร์ นักปรัชญาเป็นเวลาราวห้าสิบปี และมีความสนิทสนมกันมากแต่ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์ก็เต็มไปด้วยความขัดแย้งโดยตลอด พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ๆ คือการปรับปรุงระบบการบริหารราชการและข้าราชการ และยังทรงสนับสนุนเสรีภาพของการนับถือศาสนา ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปินและนักปรัชญา เมื่อสิ้นพระชนม์ร่างของพระองค์ถูกฝังอยู่ที่พระราชวังที่โปรดปรานที่วังซองส์ซูซิที่เมืองพอทสดัม เมื่อสิ้นพระชนม์ บัลลังก์ตกไปเป็นของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 พระราชนัดดาเพราะพระองค์เองไม่มีพระราชโอรส ฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 เป็นพระโอรสของเจ้าชายเอากุสท์ วิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย พระอนุชาของพระเจ้าฟรีดริชเอง.

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส (Louis XVI de France, หลุยส์แซซเดอฟร็องส์; 5 กันยายน ค.ศ. 1754 – 21 มกราคม ค.ศ. 1793) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ ในช่วงต้นของสมัยใหม่ พระบิดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 คือ เจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส ผู้เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวและทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ซึ่งสิ้นพระชนม์ในปี..

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พิธีขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์

ระราชาธิบดีวิลเลมที่ 2 แห่งเนเธอร์แลนด์ ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2383 พระราชินีแม็กซิมาในพิธีขึ้นครองราชย์ เดือนเมษายน พ.ศ. 2556 การขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์ (Inhuldiging van de Nederlandse monarch; Inauguration of the Dutch monarch) คือพิธีการสืบทอดราชบัลลังก์และเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการของพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์ ซึ่งพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะขึ้นประทับบนบังลังก์ ตรัสคำปฏิญาณต่อรัฐธรรมนูญ และทรงรับคำถวายบังคมจากสมาชิกรัฐสภาเนเธอร์แลน.

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและพิธีขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียน

การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียน (Presbyterian polity) คือการจัดระเบียบองค์การคริสตจักรแบบหนึ่ง ที่ปกครองโดยสมัชชาเพรสไบเทอร์หรือผู้ปกครอง คริสตจักรท้องถิ่นแต่ละแห่งจะปกครองโดยกลุ่มผู้ปกครองที่ได้รับเลือกมาที่เรียกว่า “คณะธรรมกิจ” (session) หรือ “consistory” หรือ “church board” กลุ่มคริสตจักรในท้องถิ่นก็จะมีสมัชชาที่สูงกว่าเป็นสภาผู้อาวุโสที่เรียกว่า “เพรสไบเทอรี” (presbytery) หรือ “คลาสสิส” (classis) เพรสไบเทอรีอาจจะรวมกันเป็น “ซิโนด” (synod) หรือสภา ซิโนดทั่วประเทศก็มักจะรวมตัวกันเป็น “สมัชชาใหญ่” (general assembly) การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนถูกพัฒนาขึ้นเพื่อปฏิเสธวิธีการปกครองที่อาศัยลำดับชั้นบังคับบัญชาโดยมุขนายกองค์เดียว (ซึ่งเรียกว่าการจัดระเบียบองค์การแบบอีปิสโคปัล) แต่ต่างจากการจัดระเบียบองค์การแบบคองกริเกชันนาลิสต์ (Congregationalist polity) ที่แบ่งการปกครองคริสตจักรออกเป็นคองกริเกชันโดยแต่ละคองกริเกชันเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนแตกต่างจากระบบอื่นตรงที่อำนาจการปกครองที่มาจากทั้งเบื้องบนและเบื้องล่าง ระบบการปกครองนี้วิวัฒนาการขึ้นที่เจนีวาภายใต้ฌ็อง กาลแว็ง และนำมาใช้ในสกอตแลนด์โดยจอห์น น็อกซ์หลังจากการไปลี้ภัยอยู่ที่นั่น การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนถือเป็นระบบที่สัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับการปฏิรูปศาสนาในสวิตเซอร์แลนด์และในสกอตแลนด์ และคริสตจักรปฏิรูป และคริสตจักรเพรสไบทีเรียน.

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและการจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียน · ดูเพิ่มเติม »

มิกโลช โฮร์ตี

วิเตซ มิกโลช โฮร์ตี แห่งน็อจบาญอ (nagybányai Horthy Miklós,; Nikolaus Horthy Ritter von Nagybánya) เป็นพลเรือเอกและรัฐบุรุษชาวฮังการี เขาดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแห่งราชอาณาจักรฮังการีในสมัยระหว่างสงคราม.

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและมิกโลช โฮร์ตี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติฮังการี

รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติฮังการี (Nemzeti Összefogás Kormánya) เป็นรัฐบาลนิยมนาซีของพรรคแอร์โรว์ครอสส์โดยยึดอำนาจจากมิกโลช ฮอร์ตีผู้สำเร็จราชการแห่งราชอาณาจักรฮังการีในปฏิบัติการพันแซร์เฟาสท์ ในวันที่ 15 ตุลาคม 1944 และ แฟแร็นตส์ ชาลอชี ได้ขึ้นเป็นผู้นำฮังการีโดยยุคนี้ชาวยิวกว่า 8,000 คน รวมทั้งผู้หญิงและเด็กถูกเนรเทศออกจากฮังการีและส่งเข้าค่ายกักกันเอาชวิทซ.

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรฮังการี (ค.ศ. 1920–1946)

ราชอาณาจักรฮังการี (ค.ศ. 1920–ค.ศ. 1946) (ฮังการี: Magyar Királyság) เป็นราชอาณาจักรในปี..

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและราชอาณาจักรฮังการี (ค.ศ. 1920–1946) · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1500 ถึง ค.ศ. 1599

ลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อังกฤษระหว่างปี..

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1500 ถึง ค.ศ. 1599 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (Elizabeth I of England หรือ Virgin Queen หรือ Gloriana หรือ Good Queen Bess -- 7 กันยายน พ.ศ. 2076 -- 24 มีนาคม พ.ศ. 2146) และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ ตั้งแต่ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 จนเสด็จสวรรคต บางครั้งพระองค์ก็ทรงได้รับพระฉายานามว่า "ราชินีพรหมจารี" (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ) สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตรีย์พระองค์ที่ 5 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ผู้ประสูติที่พระราชวังกรีนิช เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์ บุลิน พระมเหสีพระองค์ที่ 2 ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยการบั่นพระเศียรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระชนมายุได้เพียงเกือบ 3 พรรษา จากนั้นพระองค์ก็ทรงถูกประกาศว่าเป็นพระราชธิดานอกกฎหมาย เมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 สวรรคตราชบัลลังก์อังกฤษก็ตกไปเป็นของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 พระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีและสมเด็จพระราชินีเจน ซีมัวร์ พระมเหสีองค์ที่ 3 เมื่อเสด็จสวรรคตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงมอบราชบัลลังก์แก่เลดีเจน เกรย์ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาสองพระองค์ออกจากสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ แต่ในที่สุดเจ้าหญิงแมรีก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ผู้ทรงเป็นโรมันคาทอลิก ในรัชสมัยของราชินีนาถแมรีเจ้าหญิงอลิซาเบธทรงถูกจำขังอยู่ปีหนึ่งในข้อสงสัยว่าทรงมีส่วนร่วมในการสนับสนุนฝ่ายก่อการโปรเตสแตนต์ หลังจากเสด็จสวรรคตของพระเชษฐภคินีสมเด็จพระราชินีนาถแมรี เจ้าหญิงอลิซาเบธก็เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงตั้งพระทัยที่จะปกครองโดยมีที่ปรึกษาราชการผู้มีคุณธรรม พระองค์ทรงไว้วางพระทัยในกลุ่มที่ปรึกษาที่ทรงไว้วางใจที่นำโดยวิลเลียม เซซิล บารอนแห่งเบอร์ลีย์ที่ 1 สิ่งแรกที่ทรงกระทำในฐานะพระราชินีนาถคือการสนับสนุนการก่อตั้งสถาบันโปรเตสแตนต์อังกฤษ ซึ่งมีพระองค์เองเป็น “ประมุขสูงสุด” (Supreme Governor) นโยบายทางศาสนาของพระองค์เป็นนโยบายที่ดำเนินตลอดมาในช่วงรัชสมัยการปกครอง และต่อมาวิวัฒนาการมาเป็น “นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์” ในปัจจุบัน ในระหว่างที่ครองราชย์ก็เป็นที่หวังกันว่าพระองค์จะทรงเสกสมรส แต่แม้ว่ารัฐบาลจะยื่นคำร้องหลายครั้ง และ การทรงทำความรู้จักกับกับคู่หมายหลายคนพระราชินีนาถอลิซาเบธก็มิได้ทรงทำการเสกสมรสกับผู้ใด สาเหตุที่ไม่ทรงยอมเสกสมรสก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เมื่อมีพระชนมายุสูงขึ้นพระองค์ก็ทรงมีชื่อเสียงจากการเป็น “พระราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์” และเกิดลัทธินิยมของผู้ติดตามนโยบายดังว่าที่เฉลิมฉลองกันด้วยภาพเหมือน, เทศกาล และ วรรณกรรมร่วมสมัย ในด้านการปกครองพระราชินีนาถอลิซาเบธทรงดำเนินนโยบายที่เป็นสายกลางมากกว่าพระราชบิดา พระอนุชา และ พระเชษฐภคินีStarkey, 5.

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอังกฤษ

“หนูเห็นพ่อครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?” โดย วิลเลียม เฟรดเดอริค ยีมส์ (William Frederick Yeames) เป็นภาพรัฐสภาถามลูกชายของฝ่ายนิยมกษัตริย์ระหว่างสงครามกลางเมือง สงครามกลางเมืองอังกฤษ (English Civil War; ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) เป็นสงครามกลางเมืองของอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ที่ต่อเนื่องกันหลายครั้งระหว่างฝ่ายรัฐสภา และฝ่ายกษัตริย์นิยม สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646; ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1648 ถึงปี ค.ศ. 1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ฝ่ายหนึ่งและผู้สนับสนุนรัฐสภายาวอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ครั้งที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1651 เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามกลางเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาที่ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 ผลของสงครามกลางเมืองครั้งที่สองนำไปสู่การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1, การลี้ภัยของพระราชโอรสพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และการเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษจากระบอบพระมหากษัตริย์ไปเป็นระบบเครือจักรภพแห่งอังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1653 และต่อจากนั้นไปเป็นระบบรัฐผู้พิทักษ์ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ระหว่างปี ค.ศ. 1653 ถึงปี ค.ศ. 1659 เอกสิทธิ์ในการนับถือคริสต์ศาสนาของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ในอังกฤษสิ้นสุดลงด้วยการรวม การปกครองโดยโปรเตสแตนต์ (Protestant Ascendancy) ในไอร์แลนด์ ในด้านรัฐธรรมนูญสงครามครั้งนี้เป็นการวางรากฐานว่าการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ไม่สามารถทำได้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่อันที่จริงแล้วปรัชญานี้ก็มิได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังจนกระทั่งถึงสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปลายคริสต์ศตวรรษ.

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามสามสิบปี

งครามสามสิบปี (Thirty Years' War) (ค.ศ. 1618 - ค.ศ. 1648) สงครามสามสิบปีเป็นสงครามที่ก่อความเสียหายไว้มากที่สุดสงครามหนึ่งของประวัติศาสตร์ยุโรป สงครามส่วนใหญ่สู้รบกันในดินแดนเยอรมนีและมีผู้เข้าร่วมสงครามจากเกือบทุกประเทศในยุโรป อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในสงครามที่ยาวนานที่สุดครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ต้นเหตุของความขัดแย้งและจุดประสงค์ของผู้เข้าร่วมมีความซับซ้อนและมีเหตุผลในการทำสงครามของฝ่ายต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เมื่อเริ่มแรกการต่อสู้เกิดจากความขัดแย้งระหว่างโปรเตสแตนต์และโรมันคาทอลิกในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ความขัดแย้งการทางอำนาจทางการเมืองภายในจักรวรรดิก็เป็นส่วนสำคัญด้วย ในที่สุดสงครามก็ขยายออกไปเป็นความขัดแย้งของอาณาบริเวณต่างๆ ทั่วยุโรป สงครามสามสิบปีเป็นสงครามที่ต่อเนื่องมาจากสงครามความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสกับราชวงศ์ฮับส์บูร์กในการเป็นมหาอำนาจในยุโรปและในที่สุดก็บานปลายไปเป็นสงครามที่ไม่มีเหตุผลใดเกี่ยวข้องกับศาสนา การต่อสู้ส่วนใหญ่ในสงครามสามสิบปีเป็นการต่อสู้โดยกองทัพทหารรับจ้างที่ทำความเสียหายอย่างใหญ่หลวงมาสู่บริเวณที่มีการต่อสู้ และก่อให้เกิดความอดอยากและโรคระบาดจนส่งผลให้จำนวนประชากรของรัฐต่าง ๆ ในเยอรมนี กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ และอิตาลีลดลงไปเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังก่อให้เกิดการสูญเสียอำนาจในหลายบริเวณ ความขัดแย้งที่เป็นสาเหตุของการต่อสู้ก็ไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากนี้การที่สงครามมีค่าจ่ายทางการทหารเป็นจำนวนมาก ส่งผลทำให้รัฐที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ต้องล้มละลายในช่วงท้ายของสงคราม สงครามสามสิบปียุติลงด้วยสนธิสัญญามึนสเตอร์ (Treaty of Münster) ที่เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลี.

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและสงครามสามสิบปี · ดูเพิ่มเติม »

ออกัสตินแห่งฮิปโป

นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป (Augustine of Hippo) เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและออกัสตินแห่งฮิปโป · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ

ระมหากษัตริย์เป็นผลสำเร็จ • ล่าง: จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) ลงชื่อในรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาท่ามกลางสภาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อ..

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

อูเกอโนต์

อูเกอโนต์ (huguenots) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนาของคริสเตียน (โปรเตสแตนต์) ฝรั่งเศสผู้นับถือขนบปฏิรูป คำนี้ใช้เรียกสมาชิกคริสตจักรปฏิรูปแห่งฝรั่งเศสตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1500 ถึงประมาณปี 1800 คำนี้มีจุดกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส อูเกอโนต์เป็นคริสเตียนฝรั่งเศสซึ่งมาจากทางเหนือของประเทศฝรั่งเศสเป็นหลัก ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากงานเขียนของนักเทววิทยาในต้นคริสต์ทศวรรษ 1500 และผู้สนับสนุนขนบปฏิรูปของนิกายโปรเตสแตนต์ ซึ่งขัดกับประชากรส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเยอรมันนับถือนิกายลูเทอแรนในอาลซัส มอแซลและมงเบลียาร์ ฮันส์ ฮิลเลอร์แบรนด์ (Hans Hillerbrand) ในสารานุกรมนิกายโปรเตสแตนต์อ้างว่าชุมชนอูเกอโนต์มีประชากรมากถึงร้อยละ 10 ของประชากรฝรั่งเศสในวันก่อนการสังหารหมู่วันนักบุญบาร์โทโลมิว โดยลดลงเหลือร้อยละ 7–8 เมื่อประมาณปี 1600 และยิ่งลดลงหลังการเบียดเบียนอย่างหนักซึ่งเริ่มต้นอีกหลังพระราชกฤษฎีกาฟงแตนโบลโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส จำนวนของอูเกอโนต์สูงสุดประมาณเกือบสองล้านคนในปี 1562 โดยส่วนใหญ่กระจุกอยู่ส่วนใต้และตะวันตกของประเทศฝรั่งเศส เมื่ออูเกอโนต์มีอิทธิพลและแสดงออกซึ่งศรัทธาของพวกตนอย่างเปิดเผยมากขึ้น ความเป็นปรปักษ์ของคาทอลิกก็เติบโตขึ้นด้วย แม้มีการผ่อนปรนทางการเมืองและพระราชกฤษฎีกาการยอมรับความต่างทางศาสนาจากพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส มีความขัดแย้งทางศาสนาหลายครั้งตามมา เรียก สงครามศาสนาฝรั่งเศส ซึ่งสู้รบกันเป็นพัก ๆ ตั้งแต่ปี 1562 ถึง 1598 อูเกอโนต์มีแฌน ดาเบร (Jeanne d'Albret) และพระราชโอรส อนาคตพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส และเจ้ากองเด สงครามยุติด้วยพระราชกฤษฎีกานองซ์ ซึ่งให้อัตตาณัติศาสนา การเมืองและทหารพอสมควรแก่อูเกอโนต์ กบฏอูเกอโนต์ในคริสต์ทศวรรษ 1620 ทำให้มีการเลิกเอกสิทธิ์ทางการเมืองและทางทหารของพวกเขา พวกเขายังคงไว้ซึ่งบทบัญญัติทางศาสนาของพระราชกฤษฎีกานองซ์จนถึงรัชกาลพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระองค์ค่อย ๆ เพิ่มการเบียดเบียนอูเกอโนต์จนทรงตราพระราชกฤษฎีกาฟงแตนโบล (ปี 1685) ยุติการรับรองนิกายโปรเตสแตนต์ใด ๆ ตามกฎหมายในประเทศฝรั่งเศสและบีบให้อูเกอโนต์เข้ารีตหรือหลบหนีในระลอกดราโกนาเดอ (dragonnades) รุนแรง พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำให้ประชากรอูเกอโนต์ฝรั่งเศส 800,000 ถึง 900,000 คนลดเหลือ 1,000 ถึง 1,500 คน กระนั้น อูเกอโนต์จำนวนเล็กน้อยยังเหลือรอดและเผชิญการเบียดเบียนต่อเนื่องมาถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เสด็จสวรรคตในปี 1774 ลัทธิคาลวินในฝรั่งเศสเกือบสูญสิ้นทั้งหมด การเบียดเบียนคริสเตียนยุติลงอย่างเป็นทางการด้วยพระราชกฤษฎีกาแวร์ซาย (พระราชกฤษฎีกาการยอมรับความต่างทางศาสนา) ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงลงพระปรมาภิไธยในปี 1787 สองปีให้หลัง ประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมืองปี 1789 ให้คริสเตียนได้รับสิทธิเท่าเทียมเป็นพลเมืองAston, Religion and Revolution in France, 1780–1804 (2000) pp 245–50 ผู้อพยพอูเกอโนต์จำนวนมากอพยพไปยังรัฐโปรเตสแตนต์อย่างอังกฤษ เวลส์ สกอตแลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ สาธารณรัฐดัตช์ รัฐผู้คัดเลือกบรันเดนบูร์กและรัฐผู้คัดเลือกพาลาทิเนตในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดัชชีปรัสเซีย หมู่เกาะแชนเนล ตลอดจนไอร์แลนด์ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นคาทอลิกแต่โปรเตสแตนต์ควบคุม พวกเขายังแพร่ไปยังอาณานิคมแหลมดัตช์ในแอฟริกาใต้ หมู่เกาะอินเดียตะวันออกดัตช์ แคริบเบียน นิวเนเธอร์แลนด์และอาณานิคมอังกฤษหลายแห่งในทวีปอเมริกาเหนือ ครอบครัวจำนวนน้อยไปยังรัสเซียที่นับถือออร์โธด็อกซ์และควิเบกที่นับถือคาทอลิก ปัจจุบัน อูเกอโนต์ส่วนใหญ่กลืนเข้าสู่สังคมและวัฒนธรรมต่าง ๆ แต่ชุมชนหลงเหลือกามีซาร์ (Camisards) ในเทือกเขาซีเวน (Cévennes) สมาชิกของคริสตจักรโปรเตสแตนต์รวมฝรั่งเศส สมาชิกฝรั่งเศสของคริสตจักรปฏิรูปโปรเตสแตนต์อาลซัสและลอแรนซึ่งส่วนใหญ่เป็นเยอรมัน ตลอดจนกลุ่มอูเกอโนต์ในประเทศอังกฤษและออสเตรเลียยังคงความเชื่อของพวกตนและการเรียกชื่ออูเกอโนต.

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและอูเกอโนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง กาลแว็ง

็อง กาลแว็ง (Jean Calvin) หรือจอห์น คาลวิน (John Calvin) เป็นนักเทววิทยาศาสนาคริสต์และศิษยาภิบาลชาวฝรั่งเศสสมัยการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ แนวคิดทางเทววิทยาที่กาลแว็งพัฒนาขึ้นเรียกว่าลัทธิคาลวิน ซึ่งแพร่หลายอยู่ในหลายนิกาย เช่น คริสตจักรปฏิรูป คริสตจักรคองกริเกชันแนล เพรสไบทีเรียน เป็นต้น เดิมกาลแว็งเป็นนักกฎหมายที่มีแนวคิดแบบมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และได้ถอนตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกในปี..

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและฌ็อง กาลแว็ง · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง-ปอล มารา

็อง-ปอล มารา (Jean-Paul Marat) เป็นนักทฤษฎีการเมือง แพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส มีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเขียนบทความทางการเมืองฝ่ายซ้ายจัดลงในหนังสือพิมพ์ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เขาเป็นหนึ่งในสื่อมวลชนหัวซ้ายจัดที่สุดในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เขาเป็นกระบอกเสียงให้สำคัญแก่พวกซ็อง-กูว์ล็อต (ชนชั้นกลางและล่าง) ผ่านใบปลิว ป้ายประกาศ หนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ ลามีดูว์เปิปล์ ("สหายของประชาชน") ซึ่งช่วยทำให้เขามีเส้นสายกับกลุ่มลามงตาญในสโมสรฌากอแบ็ง ซึ่งกลุ่มนี้ก้าวขึ้นมามีอำนาจในเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและฌ็อง-ปอล มารา · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักรปฏิรูป

ริสตจักรปฏิรูปราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 415-6 (Reformed churches) เป็นกลุ่มผู้นับถือศาสนาคริสต์ในนิกายโปรเตสแตนต์ที่มีปรัชญาคล้ายคลึงกับลัทธิคาลวิน ที่มีต้นตอที่เกี่ยวข้องกับลัทธิที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะคริสตจักรปฏิรูปสวิสเซอร์แลนด์ที่นำโดยฮุลดริช ซวิงลี (Huldrych Zwingli) และหลังจากนั้นไม่นานนักก็เผยแพร่ไปทั่วยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันกลาง แต่ละชาติที่ระบบปฏิรูปเผยแพร่เข้าไปต่างก็ก่อตั้งระบบการปกครองลัทธิของตนเองขึ้น ลัทธิบางลัทธิก็ขยายตัวไปทั่วโลกและบางลัทธิก็แบ่งย่อยต่อไปอีก การสั่งสอนปรัชญาคาลวินก็คงติดตามลัทธิเหล่านี้ไปด้วยที่สะท้อนให้เห็นจากปรัชญาของแต่ละลัทธิ แต่ในบางกรณีก็มีได้เป็นปรัชญาหลักของลัทธิอีกต่อไป จากการสำรวจในปี..

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและคริสตจักรปฏิรูป · ดูเพิ่มเติม »

คาลวิน

ลวิน หรือ แคลวิน (Calvin) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและคาลวิน · ดูเพิ่มเติม »

ตัวแบบนอร์ดิก

งของประเทศนอร์ดิก ตัวแบบนอร์ดิก หรือ ทุนนิยมแบบนอร์ดิก หรือ ประชาธิปไตยสังคมนิยมแบบนอร์ดิก (Nordic model, Nordic capitalismThe Nordic Way, Klas Eklund, Henrik Berggren and Lars Trägårdh.) หมายถึงนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมที่สามัญในประเทศกลุ่มนอร์ดิก รวมทั้งเดนมาร์ก ฟินแลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และสวีเดน ซึ่งรวมระบบทุนนิยมตลาดเสรี กับรัฐสวัสดิการและการร่วมเจรจาต่อรองของแรงงานในระดับประเทศ เป็นตัวแบบที่เริ่มได้ความสนใจหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้ประเทศต่าง ๆ จะต่างกันอย่างสำคัญ แต่ก็มีลักษณะบางอย่างเหมือนกัน รวมทั้ง.

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและตัวแบบนอร์ดิก · ดูเพิ่มเติม »

ตูร์แน

ตูร์แน (Tournai) หรือ โดร์นิก (Doornik) เป็นเมืองในเขตวัลลูน มณฑลแอโน และเขตเทศบาลหนึ่งของเบลเยียม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงบรัสเซลส์ไปประมาณ 85 กิโลเมตร ตัวเมืองมีแม่น้ำสเกลต์พาดผ่านกลางเมือง เมืองตูร์แนยังเป็นที่ตั้งของมุขมณฑลตูร์แน (Diocese of Tournai) อีกด้วย ตูร์แนเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์แห่งเบลเยียม คู่กับอาร์ลงและตองเคอเรน อันเป็นเมืองสำคัญส่วนหนึ่งของเคาน์ตีฟลานเดอร์ (Comté de Flandre) ตั้งแต่สมัยยุคกลาง โดยเป็นที่ตั้งของหอระฆังที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเบลเยียม และอาสนวิหารแม่พระแห่งตูร์แน ซึ่งทั้งสองแห่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก โดยมหาวิหารนั้นเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ของยุคกลางที่ผสมผสานกันด้วยสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และกอทิกอย่างสวยงาม พร้อมทั้งหอคอยขนาดใหญ่จำนวนห้าหออันเป็นเอกลักษณ์สำคัญและเป็นที่มาของชื่อเล่นของตูร์แนว่า "เมืองแห่งหอระฆังทั้งห้า".

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและตูร์แน · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์เยอรมนี

ประวัติศาสตร์เยอรมนี เริ่มต้นด้วยการต้านทานการยึดครองโดยชาวโรมันของชนเจอร์มานิค ซึ่งเมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลายชนชาติเยอรมันก็กลายเป็นกลุ่มชนผู้มีอำนาจในยุโรปเข้าแทนที่ชาวโรมัน จนนำไปสู่กำเนิดจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ จักรวรรดิที่ 1 ในสมัยกลาง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ธำรงอยู่กว่าพันปีแต่ก็เป็นเพียงจักรวรรดิที่มองไม่เห็น เพราะรัฐต่าง ๆ ในเยอรมันร้อยกว่ารัฐต่างแยกตัวเป็นอิสระจากพระจักรพรรดิ จนนโปเลียนยกเลิกจักรวรรดินี้ไปกลายเป็นสมาพันธรัฐเยอรมัน เป็นกลุ่มของรัฐต่าง ๆ จนราชอาณาจักรปรัสเซียสามารถรวมประเทศเยอรมนีได้โดยการนำของบิสมาร์ก ก็กลายเป็นจักรวรรดิเยอรมัน หรือ จักรวรรดิที่ 2 แต่ด้วยการปฏิวัติล้มระบอบกษัตริย์หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทำให้เยอรมนีกลายเป็นสาธารณรัฐไวมาร์ แต่ถูก อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำลัทธินาซียึดอำนาจเปลี่ยนเป็นระบอบเผด็จการและแผ่ขยายดินแดนไปทั่วยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สองหรือ จักรวรรดิที่ 3 แต่ฮิตเลอร์พ่ายแพ้สงคราม เยอรมนีจึงถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือ เยอรมนีตะวันออก และ เยอรมนีตะวันตก จนรวมกันกลายเป็นประเทศเยอรมนีอีกครั้งใน ค.ศ. 1990.

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและประวัติศาสตร์เยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แบร์นาร์ กาซเนิฟว์

แบร์นาร์ กาซเนิฟว์ (Bernard Cazeneuve) เป็นนักการเมืองชาวฝรั่งเศสจากพรรคสังคมนิยม ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสคนที่ 171 ภายใต้ประธานาธิบดีฟร็องซัว ออล็องด์ ตั้งแต่เดือนธันวาคม..

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและแบร์นาร์ กาซเนิฟว์ · ดูเพิ่มเติม »

โรแบร์โต เบลลาร์มีโน

นักบุญโรแบร์โต เบลลาร์มีโน (San Roberto Bellarmino; 4 ตุลาคม ค.ศ. 1542 – 17 กันยายน ค.ศ. 1621) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกคณะเยสุอิตชาวอิตาลี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระคาร์ดินัลและอาร์ชบิชอปแห่งกาปัว เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปคาทอลิก และตอบโต้นิกายโปรเตสแตนต์ เช่น ลูเทอแรน และลัทธิคาลวิน เพื่อปกป้องนิกายคาทอลิก ได้แต่งหนังสือเกี่ยวกับคำสอนคาทอลิกซึ่งยังคงใช้มาจนทุกวันนี้ ต่อมาท่านจึงได้รับยกย่องให้เป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักร.

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและโรแบร์โต เบลลาร์มีโน · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เพรสไบทีเรียน

็อง กาลแว็ง นิกายเพรสไบทีเรียนราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 431 (Presbyterianism) เป็นหนึ่งในนิกายในศาสนาคริสต์ฝ่ายโปรเตสแตนต์ที่มีต้นกำเนิดที่สกอตแลนด์ ยึดถือแนวคิดทางเทววิทยาแบบลัทธิคาลวิน และมีการจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียน หลักเทววิทยาแบบเพรสไบทีเรียนเน้นเรื่องอำนาจอธิปไตยของพระเจ้า สิทธิอำนาจของคัมภีร์ไบเบิล และการรับพระคุณจากพระเจ้าได้โดยการศรัทธาในพระเยซูเท่านั้น ในสกอตแลนด์วิธีการปกครองคริสตจักรของเพรสไบทีเรียนได้รับการรับประกันตามพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 นิกายเพรสไบทีเรียนสมัยใหม่สืบเค้าไปได้ถึงการปฏิรูปศาสนาในสกอตแลนด์ คริสตจักรท้องถิ่นแต่ละแห่งปกครองโดยคณะธรรมกิจซึ่งมาจากตัวแทนของคริสตจักรนั้น ในทางทฤษฎีนิกายนี้ไม่มีการแต่งตั้งบิชอป แต่มีการสถาปนาโดยการเลือกตั้งคณะผู้ปกครองขึ้นเพื่อทำหน้าที่อภิบาลคริสต์ศาสนิกชนหรือสมาชิกคริสตจักร รวมไปถึงการตัดสินใจต่าง ๆ ในคริสตจักร มีมัคนายกทำหน้าที่ดูแลสมาชิกและครอบครัวและส่วนมากดูแลเรื่องการเงินของคริสตจักร ผู้ปกครองและมัคนายกจะมีวาระการประจำการ วาระละ 2-3 ปี แล้วแต่คริสตจักรนั้น ๆ จะกำหนด ตำแหน่งผู้ปกครองเมื่อได้รับการสถาปนาแล้วจะอยู่ในศาสนศักดิ์นั้นตลอดชีพ นิกายเพรสไบทีเรียนมีต้นกำเนิดมาจากการปฏิรูปศาสนาในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งมีฌ็อง กาลแว็งเป็นหนึ่งในนักปฏิรูปคนสำคัญ คริสตจักรปฏิรูปส่วนมากสืบมีวิธีการปกครองที่สามารถสืบย้อนไปได้ทั้งแบบเพรสไบทีเรียนและคองกรีเกชันแนล ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 คริสตจักรเพรสไบทีเรียนหลายแห่งเริ่มมีบทบาทในขบวนการคริสต์ศาสนสัมพันธ์ เช่น การตั้งสภาคริสตจักรสากล บางคริสตจักรในนิกายนี้ยังเริ่มหันมาทำงานร่วมกับคริสตจักรปฏิรูปกลุ่มอื่น ๆ บ้างก็เข้าร่วมกลุ่มกับนิกายอื่นเลย เช่น คริสตจักรคองกรีเกชันแนล ลูเทอแรน แองกลิคัน และเมทอดิสต.

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและเพรสไบทีเรียน · ดูเพิ่มเติม »

เอรัสมุส

อรัสมุส เมื่อ พ.ศ. 2066 วาดโดยฮันส์ ฮอลไบน์ (ผู้ลูก) เดซีเดริอุส เอรัสมุส โรเตโรดามุส (Desiderius Erasmus Roterodamus) หรือ เดซีเดริอุส เอรัสมุส แห่งรอตเทอร์ดามเอรัสมุส เป็นชื่อเมื่อเขารับศีลล้างบาป โดยตั้งตามนักบุญเอรัสม.

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและเอรัสมุส · ดูเพิ่มเติม »

เนเฟช

นเฟช (נֶפֶש) เป็นคำที่ปรากฏในคัมภีร์ฮีบรูของศาสนายูดาห์ หมายถึง "ชีวิต" ซึ่งมีอยู่ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ซึ่งจะสิ้นสุดลงเมื่อผู้นั้นตาย เนเฟชตามความเข้าใจของศาสนายูดาห์และพยานพระยะโฮวาจึงไม่ใช่วิญญาณอมตะ ศาสนาคริสต์ได้พัฒนาความเชื่อนี้ต่อมาว่าเนเฟชหรือ "พซีเค" ในภาษากรีกเป็นวิญญาณอมตะ จะดำรงอยู่ต่อไปแม้ว่าร่างกายจะแตกสลายไปแล้วก็ตาม นิกายโปรเตสแตนต์ฝ่ายลัทธิคาลวินเชื่อว่าวิญญาณเป็นอมตะ และยังมีความรู้สึกอยู่ตลอดแม้ตายไปแล้ว แต่ฝ่ายลูเทอแรนว่าวิญญาณเป็นมตะ จะหลับใหลไปจนกว่าบรรดาผู้ตายจะคืนชีพ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เชื่อว่าวิญญาณจะไปอยู่ที่แดนผู้ตาย ส่วนนิกายโรมันคาทอลิกเชื่อว่าผู้ที่ยังไม่ได้รับการชำระให้บริสุทธิ์จะต้องไปอยู่ในแดนชำระก่อน เมื่อบริสุทธิ์แล้วจึงขึ้นสวรรค์ต่อไป ตั้งแต่สังคายนาลาเตรันครั้งที่ห้า คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าผู้ไม่เชื่อว่าวิญญาณเป็นอมตะเป็นพวกนอกรีต.

ใหม่!!: ลัทธิคาลวินและเนเฟช · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ลัทธิคาลวินิสม์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »