โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซุนเหลียง

ดัชนี ซุนเหลียง

พระเจ้าซุนเหลียง เป็นพระราชโอรสองค์เล็กในพระเจ้าซุนกวนและครองราชย์ต่อจากซุนกวน ตอนแรกอำนาจตกอยู่กับจูกัดเก๊กจึงให้ซุนจุ้นจัดการสังหารจูกัดเก๊กเสีย เมื่อซุนจุ้นเสียชีวิตอำนาจก็ตกอยู่กับซุนหลิมจึงตั้งใจจะสังหารซุนหลิมเสียแต่ซุนหลิมจับได้เสียก่อนจึงบังคับให้สละราชสมบัติและให้ซุนฮิวโอรสองค์ที่หกของพระเจ้าซุนกวนขึ้นครองราชย์แทนและให้พระเจ้าซุนเหลียงเป็นอ๋อง ต่อมาถูกลดตำแหน่งเป็นพระยาและเนรเทศไปที่ชายแดนจึงตรอมใจและฆ่าตัวตาย หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:จักรพรรดิในยุคสามก๊ก.

19 ความสัมพันธ์: ยุคสามก๊กรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก (ซ)รายพระนามจักรพรรดิจีนลำดับเหตุการณ์สำคัญในสามก๊กสามก๊กจักรพรรดินีพานจักรพรรดินีกวนฮุ่ยเจี๋ยจูกัดกิ๋นจูกัดเก๊กง่อก๊กซุนกวนซุนหลิมซุนฮิว (ง่อก๊ก)ซุนจุ๋นซุนโหซุนโฮซุนเต๋งเตงฮอง

ยุคสามก๊ก

แผ่นที่แสดงอาณาเขตของแต่ละก๊กในปี พ.ศ. 805 (Wei-วุย) (Wu-ง่อ) (Shu-จ๊ก) สามก๊ก (ค.ศ. 220–280; Three Kingdoms) เป็นไตรภาคีระหว่างรัฐวุย (魏) จ๊ก (蜀) และง่อ (吳) หลังการหมดอำนาจโดยพฤตินัยของราชวงศ์ฮั่นในจีน นำสู่การเริ่มหกราชวงศ์ (六朝) แต่ละรัฐปกครองโดยจักรพรรดิซึ่งอ้างการสืบราชสันตติวงศ์โดยชอบจากราชวงศ์ฮั่น ในความหมายทางวิชาการอย่างเคร่งครัด ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อตั้งรัฐวุยใน..

ใหม่!!: ซุนเหลียงและยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

ลในยุคสามก๊ก แสดงรายชื่อของบุคคลในประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก รายชื่อนี้แสดงชื่อไทย อังกฤษ และจีน ของแต่ละคน บุคคลเหล่านี้นำไปสู่วรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊ก เนื่องจากสามก๊กภาษาไทย อ่านชื่อคนด้วยสำเนียงฮกเกี้ยน แต่ภาษาอังกฤษอ่านแบบภาษาจีนกลาง การออกเสียงจึงไม่เหมือนกัน.

ใหม่!!: ซุนเหลียงและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก (ซ)

ต่อไปนี้เป็นรายชื่อของบุคคลในประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊กที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ซ รายชื่อนี้แสดงชื่อตามสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ชื่อในภาษาจีนกลาง ชื่อในอักษรโรมัน และชื่อเขียนเป็นตัวอักษรจีน กรณีเป็นชื่อบุคคลที่ไม่ปรากฏในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) จะแสดงเฉพาะชื่อในภาษาจีนกลาง ชื่อในอักษรโรมัน และชื่อเขียนเป็นตัวอักษรจีน.

ใหม่!!: ซุนเหลียงและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก (ซ) · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดิจีน

รายพระนามจักรพรรดิจีน รวมถึงรัชทายาทของประเทศจีนที่มีชื่อต่างๆ จากยุคโบราณ จนถึงราชวงศ์ชิง การปกครองมักจะถือกรรมสิทธิ์คือ กษัตริย์ (Chinese: 王 Wáng) มีการแบ่งแยกจีนในรัฐต่อสู้กันแยกเป็นสัดส่วน รายพระนามจักรพรรดิจีน มี ดังนี้ สำหรับลิงก์เหล่านี้เพื่อดูว่าเหล่าราชวงศ์มีความสัมพันธ์กัน ไดแก่ พระราชตระกูลของจักรพรรดิจีนในยุคโบราณ → พระราชตระกูลของจักรพรรดิจีนในช่วงต้น → พระราชตระกูลของจักรพรรดิจีนในช่วงกลาง → พระราชตระกูลของจักรพรรดิจีนในช่วงปล.

ใหม่!!: ซุนเหลียงและรายพระนามจักรพรรดิจีน · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในสามก๊ก

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในสามก๊ก แสดงลำดับเหตุการณ์ในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์จีนเรื่องสามก๊ก โดยเรียงลำดับตามเหตุการณ์ในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) และระบุปีที่เกิดเหตุการณ์เป็นพุทธศักราช (พ.ศ.) เหตุการณ์บางเหตุการณ์อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แต่มีระบุไว้ในวรรรณกรรม.

ใหม่!!: ซุนเหลียงและลำดับเหตุการณ์สำคัญในสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: ซุนเหลียงและสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีพาน

ักรพรรดินีพาน หรือ จักรพรรดินีพัว (Empress Pan, ? – ค.ศ. 252) จักรพรรดินีแห่งราชวงศ์ง่อและเป็นพระพันปีใน พระเจ้าซุนเหลียง จักรพรรดิองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ง่อพระนางนับเป็นจักรพรรดินีองค์แรกและองค์เดียวใน พระเจ้าซุนกวน ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ง่อโดยพระนางได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดินีภายหลังจากพระโอรสคือ ซุนเหลียง ได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาท หลังจากพระเจ้าซุนกวนเสด็จสวรรคตใน..

ใหม่!!: ซุนเหลียงและจักรพรรดินีพาน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีกวนฮุ่ยเจี๋ย

ักรพรรดินีกวนฮุ่ยเจี๋ย (Empress Quan Huijie, ? – ?) จักรพรรดินีองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ง่อและเป็นจักรพรรดินีพระองค์เดียวใน พระเจ้าซุนเหลียง จักรพรรดิองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ง่อ เมื่อ พระเจ้าซุนกวน ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ง่อเสด็จสวรรคตใน..

ใหม่!!: ซุนเหลียงและจักรพรรดินีกวนฮุ่ยเจี๋ย · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดกิ๋น

จูกัดกิ๋น (Zhuge Jin) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นพี่ชายแท้ ๆ คนโตของขงเบ้ง รับราชการเป็นขุนนางฝ่ายบุ๋นอยู่กับ ซุนกวน ในตอนต้นของศึกเซ็กเพ็ก ระหว่างที่ขงเบ้งมาที่กังตั๋งเพื่อยุยงให้ซุนกวนและจิวยี่ออกรบ เพราะทัพของโจโฉยกมาตั้งที่ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำแยงซีเกียง โดยมีเจตนาเพื่อจะมายึดครองกังตั๋ง จูกัดกิ๋นได้เกลี่ยกล่อมให้ขงเบ้งมาสวามิภักดิ์กับซุนกวนด้วยเหตุผลที่ว่าเพื่อพี่น้องจะได้อยู่ร่วมกัน แต่ก็ไม่สำเร็จ กลับเป็นฝ่ายโดนขงเบ้งเกลี้ยกล่อมมาให้มาฝ่ายเล่าปี่เสียเอง และหลังจากที่เล่าปี่ยึดเสฉวนได้แล้ว ซุนกวนได้สั่งให้จูกัดกิ๋นไปทวงเกงจิ๋วที่เล่าปี่เคยสัญญาไว้ว่า "ถ้ายึดเสฉวนเมื่อไหร่จะยกเกงจิ๋วให้ทันที" เล่าปี่ได้ยกเมืองคืนไป 3 เมือง คือเมือง เลงเหลง, ฮุยเอี๋ยงและเตียงสา โดยเล่าปี่ได้ให้หนังสือถึงกวนอูเพื่อให้กวนอูคืนเมืองทั้งสาม แต่เมื่อจูกัดกิ๋นไปถึงเกงจิ๋วกวนอูกับไม่ยอมคืนสามเมืองให้ จึงกลับหาซุนกวน ซุนกวนจึงต่อว่าจูกัดกิ๋นว่า "ท่านวิ่งกลับมาครั้งนี้ก็ด้วยอุบายของขงเบ้งทั้งสิ้น" ในตอนที่ขงเบ้งยกทัพบุกเขากิสานครั้งที่ 5 ได้มีหนังสือไปยังพระเจ้าซุนกวนเพื่อให้ยกทัพง่อก๊กไปตีวุยก๊กด้วยเป็นการประสานการโจมตีพร้อมกัน ก็เป็นจูกัดกิ๋นและลกซุนเป็นแม่ทัพใหญ่ที่ยกไป ร้อนถึงพระเจ้าโจยอยต้องยกทัพมาเองจากลกเอี๋ยงเพื่อต้านทัพ เพราะสุมาอี้ แม่ทัพใหญ่ก็ติดพันศึกอยู่กับขงเบ้งที่เขากิสาน ท้ายที่สุดทัพของพระเจ้าโจยอยก็ได้รับชัยชนะทำเอาขงเบ้งถึงกับตกใจ จูกัดกิ๋นมีบุตรชายชื่อจูกัดเก๊ก ซึ่งภายหลังได้เป็นราชครูและแม่ทัพใหญ่ของง่อก๊กในรัชสมัยพระเจ้าซุนเหลียง แทนจูกัดกิ๋นผู้เป็นบิดา จูกัดกิ๋นเสียชีวิตในปี พ.ศ. 784 รวมอายุได้ 67 ปี จูกัดกิ๋น จูกัดกิ๋น.

ใหม่!!: ซุนเหลียงและจูกัดกิ๋น · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเก๊ก

จูกัดเก๊ก (Zhuge Ke) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก บุตรชายคนโตของจูกัดกิ๋น ขุนพลเอกแห่งง่อก๊ก มีรูปลักษณ์พิเศษ คือใบหน้าที่ยาว แต่ก็มีเป็นคนมีสติปัญญา ไหวพริบ ทั้งยังมีความมั่นใจในตัวเองสูงมาก ดังปรากฏเป็นเรื่องเล่า เมื่อครั้งยังเด็ก จูกัดกิ๋น ผู้บิดาได้พาจูกัดเก๊กเข้าเฝ้าพระเจ้าซุนกวนในวังหลวง พระเจ้าซุนกวนทอดพระเนตรเห็นว่า จูกัดเก๊กหน้ายาวเหมือนโล่ จึงได้นำโล่ทองคำหรือลา เข้ามาในงาน แล้วเขียนที่หน้าโล่ว่า "จูกัดเก๊ก" เป็นที่ขบขันของเหล่าขุนนางเป็นอันมาก แต่จูกัดเก๊กมิได้มีอารมณ์โกรธขึ้ง กลับวางท่านิ่งสงบ แล้วเขียนเพิ่มต่อข้อความลงในโล่นั้นว่า "โล่ของจูกัดเก๊ก" หรือ "ลาของจูกัดเก๊ก" เป็นการแสดงถึงสติปัญญา ไหวพริบที่น่าทึ่ง พระเจ้าซุนกวนจึงพระราชทานโล่ หรือลานั้นให้เป็นของจูกัดเก๊ก ทั้งยังโปรดปรานชุบเลี้ยงนับตั้งแต่บัดนั้น แต่ในท่ามกลางความน่ายินดีนั้น จูกัดกิ๋นผู้เป็นบิดากลับมีความกังวลใจถึงบุตรผู้นี้ และได้กล่าวว่า "บุตรคนนี้จะนำภัยพิบัตมาให้วงศ์ตระกูล" หลังพระเจ้าซุนกวนสวรรคต ด้วยสติปัญญา ชื่อเสียงเป็นที่นับถือ จูกัดเก๊กก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นอุปราชควบด้วยตำแหน่งราชครูประจำราชสำนักของพระเจ้าซุนเหลียง ฮ่องเต้องค์ที่สองแห่งง่อก๊ก กองทัพวุยก๊ก ภายใต้การนำของ สุมาเจียว ฉวยโอกาสที่พระเจ้าซุนกวนสวรรรคต อันเป็นช่วงผลัดเปลี่ยนราชบัลลังก์บุกโจมตีง่อก๊ก จูกัดเก๊กได้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ ร่วมผสานงานของขุนพลผู้เฒ่าเตงฮอง โจมตีกองทัพวุยก๊กแตกพ่ายกลับไปที่เมืองตังหิน จากนั้นฉวยโอกาสบุกโจมตีเข้าไปในดินแดนวุยก๊ก ประชิดด่านซินเสีย แต่ด้วยความมั่นใจจนเกินไป จนเป็นการตัดสินใจการศึกที่ผิดพลาดของจูกัดเก๊กเอง ทำให้กองทัพง่อก๊กต้องกลอุบายของแม่ทัพวุยก๊กจนต้องพ่ายยับเยินกลับมา เมื่อกลับมาถึงแคว้นพร้อมกับความอัปยศ จูกัดเก๊กโยนความผิด ปัดความรับผิดชอบในการทำศึกพ่ายแพ้ไปที่แม่ทัพนายกอง และที่ปรึกษา ให้พิจารณาสั่งประหารขุนพลไปหลายคน ทั้งยังเข้ากุมอำนาจเด็ดขาด แต่งตั้งญาติพีน้อง คนสนิทเข้ามามีอำนาจในราชสำนัก สร้างความไม่พอใจให้กับเชื้อพระวงศ์ ราชนิกูลของตระกูลซุน และขุนนางทั้งปวง รวมทั้งพระเจ้าซุนเหลียงเป็นอย่างมาก แม่ทัพทหารม้า ซุนจุ๋น และน้องชายซุนหลิม จึงวางแผนลวงจูกัดเก๊กมาสังหารในงานกินเลี้ยงภายในวังหลวงสำเร็จ ซุนจุ๋นประกาศโทษจูกัดเก๊กเป็นกบฏต่อราชบัลลังก์ ยังผลไปถึงญาติพี่น้องในตระกูลจูกัด ต้องถูกประหารถึงสามชั่วโคตร คำกล่าวของจูกัดกิ๋นจึงปรากฏเป็นจริงอย่างไม่ผิดเพี้ยน สมดังคำกล่าวที่ว่า "ไม่มีใครรู้จักบุตรได้ดีเท่ากับบิดา" นั่นเอง จูกัดเก๊ก จูกัดเก๊ก.

ใหม่!!: ซุนเหลียงและจูกัดเก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ง่อก๊ก

ง่อก๊ก หรือ ตั้งอู๋ (東吳) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก ปกครองโดยพระเจ้าซุนกวน ในระหว่างปี พ.ศ. 765 - พ.ศ. 823 (ปี ค.ศ. 222-280) ง่อก๊กครอบครองพื้นที่ทางด้านตะวันออกของประเทศจีน ทางบริเวณตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี ซึ่งคือพื้นที่บริเวณรอบ ๆ เมืองหนานจิงในปัจจุบัน ง่อก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 4 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ซุน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: ซุนเหลียงและง่อก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ซุนกวน

ระเจ้าซุนกวน (181 — 252) หรือ พระเจ้าหวูต้าตี้ เป็นตัวละครในวรรณกรรม จีน อิง ประวัติศาสตร์ เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ผู้ก่อตั้งและพระมหากษัตริย์ของง่อก๊ก (吳) หนึ่งในสามอาณาจักรของยุคสามก๊ก ซุนกวนเป็นบุตรคนที่สองของซุนเกี๋ยน และเป็นน้องชายของซุนเซ็ก เมื่อซุนเซ็กพี่ชายตายไปจึงได้ขึ้นครองเมืองกังตั๋งแทนด้วยวัยแค่ 18 ปี แม้ซุนกวนจะไม่ปรากฏความสามารถในการรบเหมือนผู้พี่แต่มีความสามารถในการปกครองสูงมาก มารดาของซุนกวนได้ตายไปก่อนหน้านี้ ผู้ที่เลี้ยงซุนกวนขึ้นมา คือ ง่อก๊กไท่ ผู้มีศักดิ์เป็นน้าของซุนกวน ซึ่งซุนกวนนับถือง่อก๊กไท่ผู้นี้เสมือนแม่แท้ ๆ ของตัว ซุนกวนมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว มีตาสีเขียว หนวดเคราแดง เมื่อขึ้นครองเมืองแต่ยังเล็ก จึงได้รับฉายาว่า "ทารกตาเขียว" ซึ่งในบรรดาผู้นำก๊กทั้ง 3 นั้น ซุนกวนเป็นผู้มีอายุน้อยที่สุด แม้ตอนที่โจโฉยกทัพไปรบกับง่อก๊กของซุนกวนในศึกหับป๋า ซุนกวนก็บัญชาการรบอย่างแข็งขัน จนโจโฉที่แม้แต่เป็นศัตรูยังเอ่ยปากชมว่า "ถ้าจะได้บุตร ต้องได้บุตรอย่างซุนกวน" ซุนกวนมีน้องสาวอยู่นางหนึ่ง เป็นบุตรสาวของง่อก๊กไท่ ชื่อว่าซุนซางเซียงแต่เรียกกันว่า ซุนฮูหยิน ซึ่งต่อมาในภายหลังได้แต่งงานกับเล่าปี่ เป็นภรรยาคนที่ 3 ของเล่าปี่ ซุนกวนออกอุบายให้นางกลับคืนมาง่อก๊ก โดยเชิญนางให้เร่งรีบกลับมาพร้อมอาเต๊าโดยที่เล่าปี่ไม่รู้ แต่ขงเบ้งอ่านอุบายออก จึงให้จูล่งเร่งรีบเดินทางติดตามไป เมื่อถึงเรือของนางก็กระโดดขึ้นเรือขอให้นางกลับไป แต่นางไม่ยอม จูล่งจึงให้นางไปได้แต่อาเต๊า บุตรของเล่าปี่ต้องอยู่ ท้ายที่สุดอาเต๊าก็ได้กลับไปจ๊กก๊ก และเมื่อซุนฮูหยินทราบเมื่อกลับไปถึงว่านี่เป็นอุบายของพี่ชาย ก็เศร้าโศกเสียใจ ท้ายที่สุดนางก็ตรอมใจตาย ซุนกวน เองก็ปรารถนาก็จะเป็นใหญ่ในแผ่นดินเช่นเดียวกับโจโฉและเล่าปี่ เมื่อตอนที่เล่าปี่มาที่ง่อก๊กเพื่อที่จะสมรสกับซุนฮูหยิน แต่ซุนกวนได้ให้คนคอยซุ่มทำร้ายเล่าปี่อยู่เป็นระยะ ๆ เล่าปี่ก็รู้ทันและได้จูล่งแก้สถานการณ์ให้ เมื่อออกมาจากงานได้รำพันถอดถอนหายใจถึงชะตากรรมตัวเอง และได้เจอหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่ง เล่าปี่อธิษฐานว่าหากตนจะได้เป็นใหญ่ ขอให้ใช้กระบี่ฟันหินนี้ให้แตกเป็น 2 ท่อน ก็ปรากฏว่าฟันหินได้ขาดจริง ๆ ซุนกวนเห็นดังนั้นจึงอธิษฐานบ้าง ก็ปรากฏว่าสามารถฟันหินได้แตกเช่นกัน และทั้งคู่จึงได้ขี่ม้าออกชมทัศนียภาพของง่อก๊กด้วยกัน แต่นโยบายในการทำสงครามของซุนกวนจะไม่ประกาศเป็นศัตรูกับก๊กใหญ่อีก 2 ก๊ก นั้นอย่างเต็มที่ แต่จะผูกไมตรีกับทุกก๊กที่จะเป็นประโยชน์กับตัวเอง ดังจะเห็นว่า ซุนกวนเองแม้จะผูกไมตรีกับจ๊กก๊ก แต่ก็หาทางจะกำจัดเล่าปี่อยู่เสมอ ๆ ถ้ามีโอกาส และซุนกวนเองก็เป็นสาเหตุการตายของกวนอู โดยซุนกวนออกอุบายทำให้จับกวนอูได้ จากนั้นจึงตัดหัวกวนอูส่งไปให้โจโฉ ซึ่งทำให้ทั้งเล่าปี่และเตียวหุยแค้นซุนกวนมาก และทั้งเตียวหุยและเล่าปี่ก็ต้องมาตายด้วยการมาแก้แค้นให้กวนอูทั้งสิ้น และต่อมาใน ปี..252 พระเจ้าซุนกวนสวรรคต รวมเวลาเสวยราชย์อยู่ได้ 24 ปี ภายหลังพระเจ้าซุนกวนสวรรคตไปแล้ว พระโอรสก็ได้ขึ้นเป็นผู้นำก๊กต่อ แต่สภาพภายในง่อก๊กไม่แข็งแกร่งเหมือนเก่า ขุนนางแตกแยกกันเอง จนนำมาสู่การล่มสลายของก๊กในที.

ใหม่!!: ซุนเหลียงและซุนกวน · ดูเพิ่มเติม »

ซุนหลิม

ซุนหลิม (Sun Chen, ค.ศ. 231 – ค.ศ. 258) ชื่อรองว่า จื่อถง เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแห่งง่อก๊กในรัชสมัย พระเจ้าซุนเหลียง – พระเจ้าซุนฮิว ซุนหลิมเกิดเมื่อ..

ใหม่!!: ซุนเหลียงและซุนหลิม · ดูเพิ่มเติม »

ซุนฮิว (ง่อก๊ก)

พระเจ้าซุนฮิว เป็นตัวละครหนึ่งในเรื่อง สามก๊ก ปรากฏในตอนท้ายของเรื่อง พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่หกในพระเจ้าซุนกวน ร่วมมือกับซุนหลิมชิงราชสมบัติจากพระเจ้าซุนเหลียงได้สำเร็จ หลังจากครองง่อก๊กได้ไม่นานก็ระแวงซุนหลิมว่าจะชิงบัลลังก์จึงจับซุนหลิมประหารชีวิตเสีย ต่อมาวุยก๊กจะมาบุกก็ตื่นตระหนกจนสิ้นพระชนม์ลงหลังจากครองราชย์ได้ 7 ปี และแต่งตั้งให้พระเจ้าซุนโฮปกครองง่อก๊กแทน และง่อก๊กก็ต้องล่มสลายลงในสมัยนี้เอง หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:ราชวงศ์จิ้น หมวดหมู่:จักรพรรดิในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: ซุนเหลียงและซุนฮิว (ง่อก๊ก) · ดูเพิ่มเติม »

ซุนจุ๋น

ซุนจุ๋น (ค.ศ. 219 — ค.ศ. 256) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในรัชสมัย พระเจ้าซุนเหลียง จักรพรรดิองค์ที่ 2 และ พระเจ้าซุนฮิว จักรพรรดิองค์ที่ 3 แห่ง ราชวงศ์ง่อ ในช่วงปลายของ ยุคสามก๊ก ซุนจุ๋นเกิดเมื่อ..

ใหม่!!: ซุนเหลียงและซุนจุ๋น · ดูเพิ่มเติม »

ซุนโห

ซุนโห (Sun He, ค.ศ. 224 — ค.ศ. 253) มีพระนามรองว่า จื่อเซี่ยว เป็นรัชทายาทองค์ที่ 2 แห่ง ง่อก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก ซุนโหประสูติเมื่อ..

ใหม่!!: ซุนเหลียงและซุนโห · ดูเพิ่มเติม »

ซุนโฮ

ซุนโฮ (Sun Hao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งง่อก๊ก ได้ชื่อว่าเป็นฮ่องเต้ที่เป็นทรราชย์มากที่สุดผู้หนึ่งจนอาณาจักรล่มสลาย เป็นราชโอรสในพระเจ้าซุนเหลียง ราชโอรสในพระเจ้าซุนกวน ขึ้นครองราชย์หลังจากที่ พระเจ้าสุมาเอี๋ยนหลังจากที่กลืนจ๊กก๊กไปแล้ว ก็หมายจะถล่มง่อก๊ก พระเจ้าซุนฮิวตกพระทัยจนประชวรและสิ้นพระชนม์ลง บรรดาขุนนางง่อก๊กครั้นเมื่อถวายพระศพพระเจ้าซุนฮิวเสร็จแล้ว ก็มีความเห็นตรงกันว่า ควรเชิญซุนเปียน ราชบุตรขึ้นครองราชย์สืบไปตามประเพณี แต่บั้นเฮ็กและเตียวเป๋าขุนนางผู้ใหญ่ คัดค้านเพราะมีความเห็นว่า ถ้าเป็นซุนเปียนเกรงว่าบ้านเมืองจะไปไม่รอด จึงเห็นว่าควรทูลเชิญซุนโฮ ผู้เป็นราชนัดดาในพระเจ้าซุนกวนขึ้นครองราชย์จะสมกว่า เพราะมีสติปัญญาเฉียบแหลมกว่า จึงมีพิธีราชาภิเษกขึ้นในวันขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนเก้า เมื่อได้ครองราชย์แล้ว พระเจ้าซุนโฮก็สถาปนาซุนเปียนเป็นเจ้าเจี๋ยงอ๋อง ให้ขุนพลเตงฮองเป็นต้ายสุมา จากนั้นก็ทรงมีพฤติกรรมวิปริต มิได้ตั้งอยู่ในธรรม ทรงฟังแต่คำของยิมหุน ขันทีในวัง เอียงเหียงและเตียวเป๋าได้เข้าไปทูลห้ามเตือนหลายต่อหลายครั้ง พร้อมกล่าวว่า ถ้าพระองค์ขืนประพฤติองค์เช่นนี้ ไม่ช้าแผ่นดินนี้จะต้องตกเป็นของสุมาเอี๋ยนอย่างแน่นอน พระเจ้าซุนโฮกริ้ว จึงสั่งให้ประหารขุนนางทั้งสอง จากนั้นมาก็ไม่มีใครกล้าเพ็ดทูลห้ามปรามอีกเลย วันหนึ่ง พระเจ้าซุนโฮแปรพระราชฐานจากกังตั๋ง ไปประทับอยู่ยังเมืองบู๊เฉียง ก็ทรงใช้จ่ายพระราชทรัพย์ในการสร้างพระราชวังแห่งใหม่อย่างฟุ่มเฟื่อย จากการขูดรีดภาษีราษฎร พร้อมเสพสมกามากับเด็กสาววัยรุ่นมากมาย ต่อมาได้ทรงให้โหรหลวงทำนายดวงชะตา โหรทำนายว่า ต่อไปภายภาคหน้า พระเกียรติยศจะขจรขจายไปถึงลกเอี๋ยง พระเจ้าสุมาเอี๋ยนต้องมาสยบกับแทบพระบาท พระเจ้าซุนโฮดีพระทัยนัก จึงฮึกเหิมหมายจะบุกตีนครลกเอี๋ยง จึงเรียกบรรดาขุนนางมาประชุมถึงการบุกไปตีลกเอี๋ยง หอกหยก ขุนนางคนหนึ่งจึงทูลคัดค้านไปพร้อมกับสั่งสอนพระองค์ให้ตั้งมั่นอยู่ในธรรม ทำนุบำรุงราษฎร บ้านเมืองจะดีกว่า พระเจ้าซุนโฮทรงกริ้วไล่หอกหยกออกจากราชการ พร้อมกับดึงดันแต่งตั้งให้ลกข้องเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกทัพไปประชิดเมืองซงหยง ปากทางเข้าอาณาจักรไต้จิ้น พระเจ้าสุมาเอี๋ยน จึงมีบัญชาให้เอียวเก๋า เจ้าเมืองซงหยงตั้งพร้อมเตรียมรับศึก เอียวเก๋าเป็นผู้มีเมตตาธรรม ไม่ชอบออกทัพจับศึก จึงคิดผูกไมตรีกับลกข้อง ท้ายที่สุดลกข้องก็ปลาบปลื้มในน้ำใจเอียวเก๋า มีหนังสือไปยังพระเจ้าซุนโฮว่า ทางฝ่ายนี้มิได้คิดร้ายขออย่าได้สู้รบกันเลย พระเจ้าซุนโอก็กริ้ว สั่งปลดลกข้องออกจากตำแหน่ง และยกให้ซุนอี้เป็นแม่ทัพแทน ในเวลานั้น ขุนนางคนใดไม่เห็นด้วยกับพระองค์ ก็จะถูกปลดหรือถูกประหารชีวิตไปหมดสิ้น ทางฝ่ายเอียวเก๋า เมื่อทราบว่าลกข้องถูกปลดออกจากแม่ทัพใหญ่แล้ว มีหนังสือทูลไปยังพระเจ้าสุมาเอี๋ยน เป็นเวลาที่เหมาะสมแล้วที่จะบุกตีง่อก๊ก แต่กาอุ้นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไม่เห็นด้วย เอียวเก๋าจึงเดินทางกลับลกเอี๋ยง และลาออกจากราชการ ไปพักอาศัยอยู่ยังบ้านเดิม จนกระทั่งสิ้นชีวิต ก่อนสิ้นชีวิตเอียวเก๋าได้กราบทูลว่า บัดนี้เห็นควรแต่งตั้ง เตาอี้ เป็นแม่ทัพใหญ่ทำการนี้แทน ท้ายที่สุดเตาอี้ก็สามารถเอาชนะง่อก๊กได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 823 แผ่นดินจีนจึงควบรวมเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง หลังจากแตกแยกเป็นสามก๊กนานถึง 60 ปี สำหรับ พระเจ้าซุนโฮ ทอดพระเนตรความพ่ายแพ้ของอาณาจักรพระองค์เองบนกำแพงเมือง และได้ทรงยอมแพ้ ถวายบรรณาการแด่พระเจ้าสุมาเอี๋ยน พระเจ้าสุมาเอี๋ยนก็แต่งตั้งให้เป็นอุ้ยเบ้งเฮา ขุนนางง่อก๊กทั้งหลายก็แต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกันไป เป็นอันอวสานของอาณาจักรง่อ หรือ อู๋ ที่ดำรงมานานกว่า 58 ปี (พ.ศ. 765- พ.ศ. 823) หลังจากนั้นอีกต่อมา 4 ปี พระเจ้าซุนโฮก็สวรรคตด้วยพระชนมายุ 43 พรรษา ครองราชย์ได้ 12 ปี.

ใหม่!!: ซุนเหลียงและซุนโฮ · ดูเพิ่มเติม »

ซุนเต๋ง

ซุนเต๋ง (Sun Deng, ค.ศ. 209 — ค.ศ. 241) มีพระนามรองว่า จื่อเกา (Zhigao) เป็นรัชทายาทแห่ง ง่อก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก ซุนเต๋งประสูติเมื่อ..

ใหม่!!: ซุนเหลียงและซุนเต๋ง · ดูเพิ่มเติม »

เตงฮอง

ตงฮอง (Ding Feng) เป็นแม่ทัพแห่งง่อก๊ก ชาวเมืองโลกั๋ง มักจะได้รับมอบหมายงานพร้อมกับชีเซ่ง เช่นในตอนที่จิวยี่สั่งให้ไปฆ่าขงเบ้ง(แต่ไม่สำเร็จ) และในตอนที่สกัดขบวนของเล่าปี่และซุนฮูหยินที่ยกกลับเกงจิ๋ว (แต่ไม่สำเร็จเพราะไม่กล้าสังหารซุนฮูหยิน) สมัยยังหนุ่มเขามีชื่อเสียงจากการต่อสู้ในกองทัพอยู่เรื่อย ๆ ว่าเป็นคนที่กล้าหาญที่สุดในกองทัพ เตงฮองมีความดีความชอบมากมายในศึกหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่สุดคือการต่อต้านการโจมตีของ จูกัดเอี๋ยนแห่งวุยก๊ก หลังจากซุนฮิวขึ้นเป็นฮ่องเต้ต่อจากซุนเหลียง เตงฮองได้ช่วยซุนฮิวสังหารซุนหลิม ผู้สำเร็จราชการที่คุกคามฮ่องเต้ ทำให้เขาได้รับตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ รูปเตงฮองจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: ซุนเหลียงและเตงฮอง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระเจ้าซุนเหลียง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »