โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จุลพยาธิวิทยา

ดัชนี จุลพยาธิวิทยา

ลพยาธิวิท.

7 ความสัมพันธ์: พยาธิกายวิภาคกายวิภาคศาสตร์มิญชวิทยารายการสาขาวิชาโรคอัลไซเมอร์เนื้องอกชนิดเซลล์กลมสีน้ำเงินขนาดเล็กเนื้อเยื่อ

พยาธิกายวิภาค

วิทยากายวิภาค (Anatomical Pathology) เป็นวิชาว่าด้วยการเรียนรู้ร่างกายของมนุษย์โดยละเอียด เพื่อใช้วิเคราะห์สาเหตุแห่งความตายว่าเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บทั่วไป อาวุธประเภทใด ภาวะความผิดปกติของร่างกายหรือบาดแผลตามร่างกายอาจใช้บ่งบอกความผิดปกติที่เกิดขึ้นก่อนหรือหลังความตาย สิ่งที่ทำให้เกิดความตาย เช่น ตายก่อนจมน้ำ หรือ จมน้ำตาย โดนวางยาหรือฆ่าตัวตายเอง เป็นต้น ลักษณะทางกายภาพของศพจะช่วยบอกเริ่มต้นว่าเป็นการตายธรรมดาหรือฆาตกรรม อันนำไปสู่การพิสูจน์ค้นหาผู้กระทำความผิดและนำไปลงโทษโดยตำรวจ นักนิติพยาธิวิทยากายวิภาค (FORENSIC PATHOLOGY) จึงต้องมีความเชี่ยวชาญด้านกายภาพ พยาธิสภาพ ลักษณะโรคและบาดแผลที่ทำให้เกิดบาดเจ็บหรือตาย เพราะความเห็นของพวกเขาจะเป็นประโยชน์ต่อตำรวจในการแยกแยะคดีอย่างเหมาะสม ส่วนใหญ่มักจะเป็นพยาธิแพทย์ด้านนิติเวชศาสตร์ซึ่งกฎหมายกำหนดหน้าที่ในการให้ความเห็นสาเหตุและพฤติการณ์ของการตายของเหยื่อไว้ ปัจจุบันแพทย์ด้านนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการระบุสาเหตุและพฤติการณ์การตาย จากนั้นจึงนำไปสู่การพิสูจน์ยืนยันความเห็นนั้นด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สาขาอื่นได้ นอกจากนั้นศาสตร์ด้านพยาธิวิทยากายวิภาคยังเน้นความรู้ด้านการบ่งชี้ความปกติหรือไม่ปกติของศพ เพศ เนื่องจากบางครั้งศพอาจอยู่ในสภาพเน่าเปื่อย มีแค่โครงกระดูก ยากจะบอกเบื้องต้นได้ว่าคนตายเป็นเพศใด อายุเท่าไร สาเหตุการตายจากโรค สารเคมี บาดแผลในหรือนอกร่างกาย นักพยาธิวิทยากายวิภาคจะเป็นผู้ชี้ชัดได้ว่า ศพเป็นเพศชายหรือหญิง ผ่านการผ่าตัดแปลงเพศหรือไม่ มีการเสริมแต่งส่วนใดในร่างกายที่มิใช่ธรรมชาติ โครงกระดูกบอกได้ว่าเป็นเพศชายหรือหญิง โดยอาจดูจากโหนกคิ้ว กระดูกเชิงกราน ก็ได้ ล้วนเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้พนักงานสอบสวนนำไปใช้สืบหาสาเหตุการตายและพยานหลักฐานต่อไปเพื่อนำผู้กระทำความผิดไปลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม.

ใหม่!!: จุลพยาธิวิทยาและพยาธิกายวิภาค · ดูเพิ่มเติม »

กายวิภาคศาสตร์

หัวใจและปอดของมนุษย์ ภาพจากหนังสือ ''Gray's Anatomy'' กายวิภาคศาสตร์ (anatomia, มาจาก ἀνατέμνειν ana: การแยก และ temnein: การตัดเปิด) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต คำนี้หมายรวมถึงกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (human anatomy), กายวิภาคศาสตร์สัตว์ (animal anatomy หรือ zootomy) และกายวิภาคศาสตร์พืช (plant anatomy หรือ phytotomy) ในบางแง่มุมกายวิภาคศาสตร์ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับวิชาคัพภวิทยา (embryology), กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative anatomy) และคัพภวิทยาเปรียบเทียบ (phylogenetics หรือ comparative embryology) โดยมีรากฐานเดียวกันคือวิวัฒนาการ (evolution) กายวิภาคศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็นมหกายวิภาคศาสตร์ (gross anatomy หรือ macroscopic anatomy) และจุลกายวิภาคศาสตร์ (microscopic anatomy) มหกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จุลกายวิภาคศาสตร์เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคขนาดเล็กซึ่งต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ มิญชวิทยา (histology) ซึ่งเป็นการศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อ และวิทยาเซลล์ (cytology) ซึ่งเป็นการศึกษาเซลล์ กายวิภาคศาสตร์มีประวัติศาสตร์เป็นเวลายาวนาน มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับวิธีการศึกษาที่พัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่การศึกษาจากสัตว์ไปจนถึงการชำแหละ (dissect) ศพมนุษย์ จนกระทั่งพัฒนาเทคนิคที่อาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในศตวรรษที่ 20 วิชากายวิภาคศาสตร์นั้นต่างจากพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology หรือ morbid anatomy) หรือจุลพยาธิวิทยา (histopathology) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะทางมหภาคและจุลภาคของอวัยวะที่เป็นโร.

ใหม่!!: จุลพยาธิวิทยาและกายวิภาคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มิญชวิทยา

A stained histologic specimen, sandwiched between a glass microscope slide and coverslip, mounted on the stage of a light microscope. ภาพเนื้อเยื่อปอดย้อมด้วยสีฮีมาทอกซีลิน (Hematoxylin) และอีโอซิน (Eosin) ผู้ป่วยรายนี้มีอาการของโรคถุงลมโป่งพอง (emphysema) มิญชวิท.

ใหม่!!: จุลพยาธิวิทยาและมิญชวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

รายการสาขาวิชา

รายชื่อสาขาวิชา หรือ สาขาการศึกษา (Field of study) หมายถึงสาขาความรู้ หรือ การวิจัยที่เปิดสอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คำว่า สาขาวิชา ได้รับการนิยามและยอมรับโดย วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และโดยสมาคมผู้รู้ (learned societies) และโดยภาควิชาหรือคณะวิชาที่บุคคลผู้อยู่ในสาขาวิชานั้นๆ สังกัด โดยปกติ สาขาการศึกษาต่างๆ มักมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชาแตกออกไป เส้นแบ่งระหว่างสาขาย่อยมักยังมีความคลุมเครือและมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ในยุโรปสมัยกลางซึ่งขณะนั้นยังมีการแบ่งคณะวิชาออกเป็น 4 คณะหรือสายวิชา ได้แก่เทววิทยา การแพทย์ ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และศิลปะ โดยคณะวิชาหลังมีสถานะไม่สูงเท่า 3 สาขาแรก การแบ่งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสมัยนั้นมีรากสืบทอดมาจากขบวนการแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร (Secularization) ของมหาวิทยาลัยซึ่งเกิดขึ้นราวสมัยกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2390 - พ.ศ. 2440) โดยได้เพิ่มวิชาภาษาศาสตร์ที่ไม่ใช่คลาสสิก วรรณคดี และวิชาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและวิศวกรรมศาสตร์เสริมเข้าไปในหลักสูตรแบบประเพณีโบราณ ในต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2475) ได้มีการเพิ่มสาขาวิชาใหม่ๆ เช่น การศึกษา สังคมวิทยา และจิตวิทยา ในมหาวิทยาลัยต่างๆ และในช่วงประมาณ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2523) ได้เกิดปรากฏการณ์ "การระเบิด" ของสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เน้นเนื้อหาเฉพาะเจาะจง เช่น สื่อศึกษา สตรีศึกษา และชนผิวดำศึกษา สาขาใหม่ๆ เหล่านี้จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับอาชีพและวิชาชีพต่างๆ เช่น การพยาบาล การจัดการโรงพยาบาล การราชทัณฑ์ และหลังสุดก็ได้เห็นสาขาวิชาที่เป็นลักษณะ "สหสาขาวิชา" เช่น ชีวเคมี และ ธรณีฟิสิกส์เกิดเพิ่มขึ้นและได้รับการยอมรับว่าสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวางขึ้น เครื่องหมายดอกจัน * แสดงเป็นหมายเหตุว่าสาขาวิชานั้นยังเป็นที่ถกเถียงถึงสถานภาพว่าควรนับไว้ในสายวิชาใด เช่น วิชามานุษยวิทยา และวิชาภาษาศาสตร์ควรจัดไว้ในกลุ่มสังคมศาสตร์ หรือ มนุษยศาสตร์ เป็นที่สังเกตได้ว่าบางท่าน โดยเฉพาะนักทฤษฎีวิจารณ์มักให้ความสำคัญในการบ่งชี้การจัดกลุ่มที่เข้มงวดในทุกสายวิชา รวมทั้งความชัดเจนของโครงสร้างของแนวคิดโดยรวมของแต่ละวิชาซึ่งยังเป็นถกเถียงได้มากสำหรับบางคน.

ใหม่!!: จุลพยาธิวิทยาและรายการสาขาวิชา · ดูเพิ่มเติม »

โรคอัลไซเมอร์

รคอัลซไฮเมอร์ หรือ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease หรือ AD) เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด โรคนี้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อว่า อาลอยส์ อัลซไฮเมอร์ (Alois Alzheimer) และถูกตั้งชื่อตามท่าน โรคนี้จัดเป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หายและจัดเป็นอาการป่วยระยะสุดท้าย โดยทั่วไปแล้วสามารถวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี แต่ก็พบโรคอัลไซเมอร์ชนิดหนึ่งคือ โรคอัลไซเมอร์ชนิดเกิดเร็ว (early-onset Alzheimer's) ซึ่งเกิดในคนอายุน้อยแต่มีความชุกของโรคน้อยกว่า ประมาณการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2549 มีประชากรราว 26.6 ล้านคนทั่วโลกที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และจะเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าใน พ.ศ. 2593ประมาณการณ์ความชุกใน..

ใหม่!!: จุลพยาธิวิทยาและโรคอัลไซเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เนื้องอกชนิดเซลล์กลมสีน้ำเงินขนาดเล็ก

นื้องอกชนิดเซลล์กลมสีน้ำเงินขนาดเล็ก (small-round-blue-cell tumor (SRBCT), small-blue-round-cell tumor (SBRCT), small-round-cell tumor (SRCT)) เป็นคำที่ใช้เรียกมะเร็งชนิดใดๆ ที่ผลการตรวจชิ้นเนื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์เห็นเป็นเซลล์กลมขนาดเล็ก ติดสีน้ำเงินด้วยการย้อมแบบ H&E เนื้องอกเหล่านี้มักพบในเด็กมากว่าในผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นเซลล์ที่ไม่มีการจำแนกประเภท (undifferentiate) การที่ย้อมติดสีน้ำเงินเนื่องจากเซลล์แต่ละเซลล์มีสัดส่วนของนิวเคลียสมาก จึงมีซัยโตพลาสซึมน้อ.

ใหม่!!: จุลพยาธิวิทยาและเนื้องอกชนิดเซลล์กลมสีน้ำเงินขนาดเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อ

นื้อเยื่อ ในทางชีววิทยาคือกลุ่มของเซลล์ที่ทำหน้าที่ร่วมกันในสิ่งมีชีวิต วิชาการศึกษาเนื้อเยื่อ เรียกว่า มิญชวิทยา (Histology) หรือ จุลกายวิภาคศาสตร์ (Microanatomy) หรือหากเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรคเรียกว่า จุลพยาธิวิทยา (histopathology) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อโดยทั่วไปคือ แท่งขี้ผึ้ง (wax block), สีย้อมเนื้อเยื่อ (tissue stain), กล้องจุลทรรศน์แบบแสง (optical microscope) ซึ่งต่อมามีการพัฒนาเป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopy), immunofluorescence, และการตัดตรวจเนื้อเย็นแข็ง (frozen section) เป็นเทคนิคและความรู้ใหม่ที่เพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เราสามารถตรวจพยาธิสภาพ เพื่อการวินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้.

ใหม่!!: จุลพยาธิวิทยาและเนื้อเยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

HistopathologicHistopathologyมิญชพยาธิวิทยา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »