โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เนื้อเยื่อ

ดัชนี เนื้อเยื่อ

นื้อเยื่อ ในทางชีววิทยาคือกลุ่มของเซลล์ที่ทำหน้าที่ร่วมกันในสิ่งมีชีวิต วิชาการศึกษาเนื้อเยื่อ เรียกว่า มิญชวิทยา (Histology) หรือ จุลกายวิภาคศาสตร์ (Microanatomy) หรือหากเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรคเรียกว่า จุลพยาธิวิทยา (histopathology) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อโดยทั่วไปคือ แท่งขี้ผึ้ง (wax block), สีย้อมเนื้อเยื่อ (tissue stain), กล้องจุลทรรศน์แบบแสง (optical microscope) ซึ่งต่อมามีการพัฒนาเป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopy), immunofluorescence, และการตัดตรวจเนื้อเย็นแข็ง (frozen section) เป็นเทคนิคและความรู้ใหม่ที่เพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เราสามารถตรวจพยาธิสภาพ เพื่อการวินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้.

152 ความสัมพันธ์: บอนสีชั้นสแคโฟโปดาชั้นปลากระดูกแข็งบาดแผลชีววิทยาชีววิทยาการเจริญชีวิตช่องรูปไข่ช็อกพยาธิวิทยาพริกพันธุศาสตร์เชิงแสงกระเพาะอาหารกรดยูริกกลุ่มอาการหลงผิดว่าตายังคงอยู่กล้ามเนื้อกะพรุนน้ำจืดกายวิภาคศาสตร์พืชกายวิภาคศาสตร์มนุษย์การกำซาบการรับรู้รสการรัดหนังยางการลดลงของอุณหภูมิร่างกายหลังตายการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังการจัดการทาลัสซีเมียการถ่ายโอนสัญญาณการทำให้ไวการขาดโฟเลตการขาดเลือดเฉพาะที่การตัดเนื้อออกตรวจการตายเฉพาะส่วนการปลูกถ่ายอวัยวะการเจริญเกินการเน่าเปื่อยกาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์ฝีภาพเคลื่อนไหวติดตามหพยาธิวิทยามะหาดมะเร็งปอดมิญชวิทยารอยเขียวช้ำหลังตายระบบเส้นใยของเซลล์รายชื่อโครงสร้างทางกายวิภาคมนุษย์ร่างกายมนุษย์ลักษณะปรากฏลิสแซมฟิเบียวิทยาภูมิคุ้มกันวิทยาต่อมไร้ท่อวิตามินบี12...วงศ์กิ้งก่าคาเมเลี่ยนวงศ์ปลากระเบนหางสั้นวงศ์ปลากระเบนธงวงศ์ปลาอินทรีวงศ์ปูบกศักย์สนามไฟฟ้าเฉพาะที่สถาปัตยกรรมทางเซลล์หมวกรากหลอดเลือดดำหายใจเร็วกว่าปกติหนอนตัวแบนหน่วยรับรสอกหักอวัยวะอะพอพโทซิสอะฮัด อิสราฟิลอันดับกิ้งก่าและงูอันดับจระเข้อาการปวดต่างที่อาหารแมวอินซูลินองคชาตของมนุษย์ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ผลทางประสาทชีวภาพของการออกกำลังกายผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียวผำจอตาจุลพยาธิวิทยาธีโอดอร์ โมเรลขิงข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรมความจำอาศัยเหตุการณ์ความเจ็บปวดความเจ็บปวดที่เกิดจากจิตใจคัพภวิทยาคาร์นิทีนคางคกซูรินาม (สกุล)ตัวกระตุ้นตัวกระตุ้นอันตรายตัวรับรู้สารเคมีตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดตัวรับแรงกลตุ่มรับรสซากซุยโยะ-มะรุปลากระดูกอ่อนปลายรัฟฟินีปลายประสาทรับร้อนปลายประสาทเมอร์เกิลปลาสิงโตปลาที่มีครีบเป็นพู่ปลาฉลามอาบแดดปลาปอดปลาปอดอเมริกาใต้ปลาไม่มีขากรรไกรปวดศีรษะปอดช้ำปูมะพร้าวนีมาโทดาน้ำลายน้ำอสุจิน้ำเหลืองแพทย์มือใหม่ หัวใจเกินร้อยแกมมา-กลูตามิลทรานสเฟอเรสแม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพแอแนบอลิซึมแผลเป็นโรคภูมิต้านตนเองโรคระบบหายใจโรคอัลไซเมอร์โรคคอตีบโรคเสื่อมโลหิตจางโปรตีนเซลล์เดียวโนซิเซ็ปชันไตรไอโอโดไทโรนีนเฟอร์ริตินเพาล์ เอร์ลิชเพนกวินจักรพรรดิเกลือแร่เม็ดพาชีเนียนเม็ดเลือดแดงเยื่อบุช่องท้องเยื่อคลุมเทสโทสเตอโรนเซลล์ประสาทเนื้อขาวเนื้องอกไม่ร้ายเนื้อตายเหตุขาดเลือดเนื้อตายเน่าเนื้อเยื่อบุผิวเนื้อเยื่อท่อลำเลียงเนื้อเยื่อคัพภะเนื้อเยื่อประสาทเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเนื้อเยื่อเจริญBurst fractureCYP3A4ICD-10 บทที่ 18: อาการ อาการแสดง และความผิดปกติที่พบจากการตรวจทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอกSelective serotonin re-uptake inhibitorsThe China StudyTm ขยายดัชนี (102 มากกว่า) »

บอนสี

อนสี เป็นไม้ประดับที่มีใบสวยงามและเป็นไม้มงคล มีสีสันที่หลากหลายแปลกตาและเป็นเอกลักษณ์ จนได้รับการยกย่องว่าเป็น "ราชินีแห่งไม้ใบ"(Queen of the Leafy Plants).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและบอนสี · ดูเพิ่มเติม »

ชั้นสแคโฟโปดา

ั้นสแคโฟโปดา (ชั้น: Scaphopoda) เป็นหนึ่งในชั้นของไฟลัมมอลลัสคาที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน ซึ่งสัตว์ในชั้นนี้พบมีอยู่มายาวนานกว่า 240 ล้านปีมาแล้ว โดยพบหลักฐานในซากดึกดำบรรพ์ ปัจจุบันพบแล้วประมาณ 1,000 ชนิด ซึ่งเรียกกันในชื่อสามัญว่า หอยงาช้าง หรือ หอยฟันช้าง(Tusk Shell) ทุกชนิดจะอาศัยอยู่ภายใต้พื้นทรายใต้ทะเล มีรูปร่างโดยรวม คือ เปลือกมีรูปร่างคล้ายฝักดาบซามูไรหรืองาของช้าง มีลักษณะเรียวยาว โค้งตรงกลางเล็กน้อย หน้าตัดเป็นทรงค่อนข้างกลม มีช่องเปิดที่ปลายสุดของทั้งสองด้านซึ่งด้านหนึ่งจะใหญ่กว่าอีกด้านเสมอ มีขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิเมตรจนถึง 15 เซนติเมตร ศัพท์คำว่า Scaphopoda นั้น สามารถแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า "เท้าเป็นจอบ" (shovel-footed) มีลักษณะโครงสร้างคือ ไม่มีตา ไม่มีเส้นเลือด ไม่มีแม้กระทั่งอวัยวะสำคัญอย่าง หัวใจ โดยเลือดจะถูกสูบโดยแรงดันน้ำภายในเนื้อเยื่อจากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเท้าที่มีรูปร่างคล้ายจอบ ที่ใช้ขุดเจาะเพื่อแทรกเปลืองลงวางตัวดิ่งในพื้นทราย มีอวัยวะพิเศษคล้ายหนวดเล็ก ๆ รอบ ๆ ปากด้านล่างเรียกว่า "captacula" ทำหน้าที่ดักจับอาหารเข้าสู่ปากเพื่อบดเคี้ยวและย่อยสลาย แล้วพ่นทิ้งออกอีกทางเป็นของเสีย เปลือกของหอยงาช้าง นั้น ผู้หญิงในอินเดียนแดงเผ่าลาโคตาใช้ทำเครื่องประดับสำหรับตกแต่งเสื้อผ้าหรือชุดที่สวมใส่เช่นเดียวกับขนของเม่น.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและชั้นสแคโฟโปดา · ดูเพิ่มเติม »

ชั้นปลากระดูกแข็ง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและชั้นปลากระดูกแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

บาดแผล

แผล เป็นคำเรียกลักษณะของการฉีกขาดของเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในร่างกาย (Disruption of the anatomical continuity of tissur) ซึ่งอาจเกิดจากการได้รับแรงกระแทกจากของแข็ง (Mechanical Forces) หรืออาจเกิดจากของมีคม บาดแผลจึงกลายเป็นสิ่งที่ตามมาของการเกิดอาการบาดเจ็บ (Trauma) การเกิดบาดแผลภายในร่างกาย ถ้าบาดแผลได้รับจากการทำร้ายร่างกายหรือเกิดจากการกระทำของผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ถึงกับเสียชีวิต บาดแผลจะกลายเป็นหลักฐานในการชี้ชัดถึงสาเหตุการตาย และเป็นหลักฐานสำคัญในการมัดตัวผู้กระทำความผิดในคดีฆาตกรรม ในทางอาชญากรรม บาดแผลอาจเป็นเครื่องบ่งชี้เจตนาของผู้กระทำความผิด ถ้าบาดแผลที่ปรากฏตามร่างกายสาหัสและโหดเหี้ยมเพียงใด ก็จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนาในการกระทำภายในจิตใจของผู้กระทำความผิด เพราะฉะนั้นในการวินิจฉัยบาดแผลที่ปรากฏตามร่างกาย ก็จะเป็นการวินิฉัยจิตใจของผู้กระทำความผิดด้วย ว่ามีเจตนา มุ่งร้ายหรือป้องกันตัวเองจากภัยอันตรายอย่างไร.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและบาดแผล · ดูเพิ่มเติม »

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ชีววิทยาการเจริญ

"Views of a Fetus in the Womb", (มุมมองของทารกในมดลูก) วาดโดย เลโอนาร์โด ดา วินชี, ประมาณ ค.ศ. 1510-1512. The subject of prenatal development is a major subset of developmental biology. ชีววิทยาการเจริญ (Developmental biology) เป็นการศึกษากระบวนการที่สิ่งมีชีวิตเจริญและเติบโต ชีววิทยาการเจริญในสมัยใหม่จะเน้นการศึกษาเกี่ยวกับการควบคุมทางพันธุกรรมต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ และการเกิดสัณฐาน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดเนื้อเยื่อ, อวัยวะ และกายวิภาคศาสตร์.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและชีววิทยาการเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

ชีวิต

ีวิต คือสถานะที่แยกสิ่งมีชีวิตหรืออินทรีย์ออกจากสิ่งไม่มีชีวิตหรืออนินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว สิ่งมีชีวิตเติบโตผ่านกระบวนการสันดาป การสืบพันธุ์และ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดสามารถพบได้ในชีวมณฑลของโลก ส่วนประกอบทั่วไปของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ - พืช สัตว์ เห็ดรา โพรทิสต์ อาร์เคีย และ แบคทีเรีย - คือ เซลล์ที่มีส่วนของน้ำและคาร์บอนเป็นหลัก และ เซลล์แหล่านี้ถูกเรียบเรียงอย่างซับซ้อนตามข้อมูลจากหน่วยพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการสันดาป เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต ตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว และ มีการปรับตัวและวิวัฒนาการโดยการผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ สิ่งที่มีคุณสมบัติเหล่านี้เท่านั้นที่ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ชีวิต คือ หน่วยที่ต้องใช้พลังงาน มีคุณสมบัติทั้งกายภาพและชีวภาพดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ช่องรูปไข่

องรูปไข่ (oval window, fenestra vestibuli) เป็นช่องที่ปิดด้วยเนื้อเยื่อจากหูชั้นกลางไปยังโพรงหน้า (vestibule) ของหูชั้นใน แรงดันเสียงจากหูชั้นนอกที่มากระทบกับแก้วหูที่ต้นหูชั้นกลาง จะวิ่งไปตามกระดูกหู (ossicle) 3 ท่อน (โดยชิ้นสุดท้ายเป็นกระดูกโกลน) เข้าไปในหูชั้นใน โดยช่องรูปไข่จะเป็นตัวเชื่อมหูชั้นกลางและหูชั้นในที่อยู่ชิดกับกระดูกโกลน แรงสั่นที่มาถึงช่องรูปไข่ จะขยายเกินกว่า 10 เท่า จากที่เข้ามากระทบแก้วหู ซึ่งแสดงกำลังขยายเสียงของหูชั้นกลาง ช่องเป็นรูปไข่ (หรือรูปไต) ระหว่างโพรงแก้วหู (tympanic cavity) และโพรงหน้าของหูชั้นใน เส้นผ่าศูนย์กลางด้านยาวของมันอยู่ในแนวราบโดยโค้งขึ้นตรงริม และเชื่อมอยู่กับฐานของกระดูกโกลน โดยวงรอบฐานของกระดูกมีเอ็นวงแหวนยึดอยู่กับขอบของช่อง ช่องรูปไข่มีเนื้อที่ประมาณ 2.5 มม2.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและช่องรูปไข่ · ดูเพิ่มเติม »

ช็อก

วะช็อก (shock, circulatory shock) เป็นภาวะทางการแพทย์ซึ่งอันตรายและมีอันตรายถึงชีวิต เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในระยะแรกส่วนใหญ่ทำให้มีระดับออกซิเจนในเนื้อเยื่อต่างๆ ไม่เพียงพอ ทำให้เนื้อเยื่อเหล่านี้ทำงานได้ไม่ปกติKumar, Vinay; Abbas, Abul K.; Fausto, Nelson; & Mitchell, Richard N. (2007).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและช็อก · ดูเพิ่มเติม »

พยาธิวิทยา

วิทยา เป็นการศึกษาและวินิจฉัยโรคจากการตรวจอวัยวะ, เนื้อเยื่อ, เซลล์, สารคัดหลั่ง, และจากทั้งร่างกายมนุษย์ (จากการชันสูตรพลิกศพ) พยาธิวิทยายังหมายถึงการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของการดำเนินโรค ซึ่งหมายถึงพยาธิวิทยาทั่วไป (General pathology) พยาธิวิทยาทางการแพทย์แบ่งออกเป็น 2 สาขาหลักๆ ได้แก่ พยาธิกายวิภาค (Anatomical pathology) และพยาธิวิทยาคลินิก (Clinical pathology) นอกจากการศึกษาในคนแล้ว ยังมีการศึกษาพยาธิวิทยาในสัตว์ (Veterinary pathology) และในพืช (Phytopathology) ด้วย วิชาพยาธิวิทยามักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพยาธิหรือปรสิตเนื่องจากมีคำที่พ้องรูปกัน ซึ่งในความเป็นจริงวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพยาธิคือวิชาปรสิตวิทยา (Parasitology) ส่วนผู้ที่มีอาชีพทางด้านพยาธิวิทยาเรียกว่าพยาธิแพท.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและพยาธิวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

พริก

right right พริก เป็นพืชในวงศ์ Solanaceae สกุล Capsicum ชื่อภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers, chili, chile หรือ chilli มาจากคำภาษาสเปน ว่า chile โดยส่วนมากแล้ว ชื่อเหล่านี้มักหมายถึง พริกที่มีขนาดเล็ก ส่วนพริกขนาดใหญ่ที่มีรสอ่อนกว่าจะเรียกว่า Bell Pepper ในสหรัฐอเมริกา Pepper ในประเทศอังกฤษและไอร์แลนด์, capsicum ในประเทศอินเดียกับออสเตรเลีย และ Paprika ในประเทศทวีปยุโรปหลายประเทศ พริกชนิดต่าง ๆ มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีปลูกกันในหลายประเทศทั่วโลก เพราะพริกเป็นเครื่องเทศที่สำคัญชื่อหนึ่ง และยังมีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพรด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและพริก · ดูเพิ่มเติม »

พันธุศาสตร์เชิงแสง

การแสดงออก เช่น Cre-Recombinase หรือ Adeno-Associated-Virus (3) การใช้อุปกรณ์ที่ส่องแสงไฟเพื่อควบคุมการทำงานของเซลล์และ/หรือการใช้ตัวรับรู้ในการบันทึกการทำงานของเซลล์ พันธุศาสตร์เชิงแสง (Optogenetics) เป็นเทคนิคทางชีววิทยาซึ่งใช้แสงเพื่อควบคุมเซลล์ในเนื้อเยื่อที่ยังมีชีวิตอยู่โดยเฉพาะนิวรอน โดยจะเป็นเซลล์ที่ได้ดัดแปลงพันธุกรรมให้แสดงออกช่องไอออนที่ไวแสง เป็นวิธีปรับเปลี่ยนระบบประสาทในประสาทวิทยาศาสตร์ ที่ผสมเทคนิคต่าง ๆ จากทัศนศาสตร์ (optics) และพันธุศาสตร์ เพื่อควบคุมและเฝ้าสังเกตการทำงานของเซลล์ประสาทเดี่ยว ๆ ภายในเนื้อเยื่อที่ยังมีชีวิตอยู่ (in vivo) แม้กระทั่งภายในสัตว์ที่เคลื่อนไวได้ และเพื่อวัดผลที่ได้จากการควบคุมปรับเปลี่ยนในเวลาจริง ตัวทำปฏิกิริยาสำคัญที่ใช้ในศาสตร์นี้ก็คือโปรตีนไวแสง เพราะการควบคุมเซลล์ประสาทจะทำด้วยตัวกัมมันต์ (optogenetic actuators) เช่น channelrhodopsin, halorhodopsin, และ microbial rhodopsin ในขณะที่การบันทึกแสงเนื่องจากการทำงานของเซลล์จะทำด้วยตัวรับรู้ (optogenetic sensors) ที่ใช้กับ calcium (GCaMP) กับการปล่อยสารสื่อประสาทจากถุงเล็ก (synapto-pHluorin) กับสารสื่อประสาท (GluSnFRs) หรือกับความต่างศักย์ข้ามเยื่อหุ้มเซลล์ (Arc Lightning, ASAP1) โดยการควบคุมและการบันทึกข้อมูลจะจำกัดอยู่ที่เซลล์ประสาทซึ่งดัดแปลงพันธุกรรม และจะจำกัดที่และเวลาโดยเฉพาะเพราะต้องอาศัยแสง.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและพันธุศาสตร์เชิงแสง · ดูเพิ่มเติม »

กระเพาะอาหาร

กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่น ๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหาร.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและกระเพาะอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

กรดยูริก

กรดยูริก (Uric acid) เป็นสารประกอบเฮเทอโรไซคลิก (heterocyclic) ที่มีคาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน และไฮโดรเจน โดยมีสูตรเคมีเป็น C5H4N4O3 มันมีรูปแบบทั้งเป็นไอออนและเกลือที่เรียกว่าเกลือยูเรต (urate) และเกลือกรดยูเรต (acid urate) เช่น ammonium acid urate กรดยูริกเป็นผลของกระบวนการสลายทางเมแทบอลิซึมของนิวคลีโอไทด์คือพิวรีน (purine) และเป็นองค์ประกอบปกติของปัสสาวะ การมีกรดยูริกในเลือดสูงอาจทำให้เกิดโรคเกาต์ และสัมพันธ์กับโรคอื่น ๆ รวมทั้งโรคเบาหวาน และนิ่วในไตที่เกิดจาก ammonium acid urate.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและกรดยูริก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการหลงผิดว่าตายังคงอยู่

กลุ่มอาการหลงผิดว่าตายังคงอยู่ (Phantom eye syndrome, ตัวย่อ PES) รวมความเจ็บปวดที่ตาและการเกิดประสาทหลอนทางตา หลังจากที่เอาตาข้างใดข้างหนึ่งออกโดยการควักลูกตา (enucleation) หรือการควักเนื้อในลูกตา (evisceration).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและกลุ่มอาการหลงผิดว่าตายังคงอยู่ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

กะพรุนน้ำจืด

กะพรุนน้ำจืด หรือ แมงกะพรุนน้ำจืด (Freshwater jellyfish) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในพวกแมงกะพรุนที่อยู่ในชั้นไฮโดรซัว ต่างจากแมงกะพรุนที่พบในทะเลที่ส่วนมากจะอยู่ในชั้นไซโฟซัว ใช้ชื่อสกุลว่า Craspedacusta (/คราส-พี-ดา-คัส-ต้า/).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและกะพรุนน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

กายวิภาคศาสตร์พืช

การวิภาคศาสตร์พืช เป็นวิชาที่ศึกษากายวิภาคศาสตร์ภายในพืช โดยดั้งเดิมรวมถึงวิชาสัณฐานวิทยาพืชซึ่งอธิบายถึงลักษณะทางกายภาพและโครงสร้างภายนอกของพืช ปัจจุบันสองวิชานี้ได้ถูกแยกออกจากกันตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ส่งผลให้วิชากายวิภาคศาสตร์พืชนี้ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างภายในของพืชเท่านั้น ปัจจุบันวิชากายวิภาคศาสตร์พืชมักศึกษาในระดับเซลล์ของพืช และรวมถึงการศึกษาเนื้อเยื่อและวิชาการใช้กล้องจุลทรรศน.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและกายวิภาคศาสตร์พืช · ดูเพิ่มเติม »

กายวิภาคศาสตร์มนุษย์

รูปแสดงระบบกล้ามเนื้อของมนุษย์ในลักษณะธรรมชาติ จากหนังสือ ''Fabrica'' โดยแอนเดรียส เวซาเลียส กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (Human anatomy) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่เน้นทางด้านการศึกษาโครงสร้างต่างๆที่ประกอบกันเป็นร่างกายของมนุษย์ และเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็นสี่สาขาหลัก ได้แก่ มหกายวิภาคศาสตร์ (Gross anatomy) จุลกายวิภาคศาสตร์ (Histology) ประสาทกายวิภาคศาสตร์ (Neuroanatomy) และกายวิภาคศาสตร์การเจริญเติบโต (Developmental anatomy) ในปัจจุบันการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์จะเน้นไปในด้านการประยุกต์ใช้ และการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านอณูชีววิทยามาใช้ในการศึกษากายวิภาคศาสตร์ในระดับเซลล์และเนื้อเยื่อ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

การกำซาบ

การกำซาบ (perfusion) ในทางสรีรวิทยาคือกระบวนการขนส่งสารอาหารของเลือดแดงจากหลอดเลือดแดงไปยังแขนงหลอดเลือดฝอยในเนื้อเยื่อ การทดสอบการกำซาบเพื่อดูว่าเลือดไปเลี้ยงยังอวัยวะต่างๆ เพียงพอหรือไม่นั้นเป็นหนึ่งในการคัดแยกผู้ป่วยเพื่อจำแนกตามความสาหั.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและการกำซาบ · ดูเพิ่มเติม »

การรับรู้รส

ตุ่มรับรส (Taste bud) รส หรือ รสชาติ (Taste, gustatory perception, gustation) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสาทสัมผัสหนึ่งในห้า (นับตามโบราณ) โดยเป็นความรู้สึกที่ได้จากระบบรู้รส (gustatory system) รสเป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อสารในปากก่อปฏิกิริยาเคมีกับเซลล์รับรส (taste receptor cell) ที่อยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ในช่องปากโดยมากที่ลิ้น รสพร้อม ๆ กับกลิ่น และการกระตุ้นที่ประสาทไทรเจมินัล (ซึ่งทำให้รู้เนื้ออาหาร ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ) จะเป็นตัวกำหนดความอร่อยของอาหารหรือสารอื่น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ระบบรู้รสจะตรวจจับโมเลกุลอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น โดยมากที่ละลายในน้ำหรือไขมันได้ ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากระบบรู้กลิ่นและระบบรับความรู้สึกทางกาย จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหาร ปริมาณ และความปลอดภัยของสิ่งที่เข้ามาในปาก มีรสชาติหลัก ๆ 5 อย่างคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอุมะมิ ซึ่งรู้ผ่านวิถีประสาทที่แยกจากกัน ส่วนการรับรู้รสแบบผสมอาจเกิดขึ้นที่เปลือกสมองส่วนการรู้รสโดยประมวลข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้นจากหน่วยรับรสหลัก ๆ การรับรู้รสจะเริ่มตั้งแต่สารที่มีรสทำปฏิกิริยากับน้ำลายซึ่งท่วมตุ่มรับรสที่อยู่บนโครงสร้างต่าง ๆ เช่นปุ่มลิ้น ทำให้โมเลกุลรสมีโอกาสทำปฏิกิริยากับหน่วยรับรสที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรสซึ่งอยู่รวมตัวกันที่ตุ่มรับรส รสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส ส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในเซลล์รับรส ในที่สุดเซลล์รับรสก็จะลดขั้วแล้วส่งสัญญาณกลิ่นผ่านใยประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง สมองก็จะประมวลผลข้อมูลรสซึ่งในที่สุดก็ทำให้รู้รส รสพื้นฐานจะมีส่วนต่อความรู้สึกอร่อยของอาหารในปาก ปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งกลิ่น ที่ตรวจจับโดยเยื่อบุผิวรับกลิ่นในจมูก, เนื้ออาหาร ที่ตรวจจับโดยตัวรับแรงกล และประสาทกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นต้น, อุณหภูมิที่ตรวจจับโดยปลายประสาทรับร้อน, ความเย็น (เช่นที่ได้จากเมนทอล) กับรสเผ็สที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมี, รูปลักษณ์ที่ปรากฏของอาหาร ที่เห็นได้ผ่านเซลล์รับแสงในจอตา, และสภาพทางจิตใจเอง เพราะเรารู้ทั้งรสที่เป็นอันตรายและมีประโยชน์ รสพื้นฐานทั้งหมดสามารถจัดเป็นไม่น่าพอใจ (aversive) หรือทำให้อยากอาหาร (appetitive) ความขมช่วยเตือนว่าอาจมีพิษ ในขณะที่ความหวานช่วยระบุอาหารที่สมบูรณ์ด้วยพลังงาน สำหรับมนุษย์ การรู้รสจะเริ่มลดลงราว ๆ อายุ 50 ปี เพราะการเสียปุ่มลิ้นและการผลิตน้ำลายที่น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมักทานรสจัดขึ้นเทียบกับเด็ก เช่น ต้องเติมเกลือ เติมพริกเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อผู้มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาธำรงดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย มนุษย์สามารถรู้รสแบบผิดปกติเพราะเป็นโรค dysgeusia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ได้รู้รสได้เหมือน ๆ กัน สัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถรู้รสแป้ง (ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถ) แมวไม่สามารถรู้รสหวาน และสัตว์กินเนื้อหลายอย่างรวมทั้งหมาไฮยีน่า ปลาโลมา และสิงโตทะเลต่างก็ได้เสียการรู้รสชาติอาจถึง 4 อย่างจาก 5 อย่างที่บรรพบุรุษของพวกมันรู้.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและการรับรู้รส · ดูเพิ่มเติม »

การรัดหนังยาง

การรัดหนังยาง (rubber band ligation ตัวย่อ RBL) เป็นการรักษาโรคริดสีดวงทวารแบบภายในทุกระดับขั้นในแผนกผู้ป่วยนอก มีอุปกรณ์หลายอย่างที่แพทย์สามารถใช้เพื่อปฏิบัติการ รวมทั้งอุปกรณ์โลหะแบบดั้งเดิม, endoscopic banding, และ CRH O'Regan System โดยทั้งหมดจะรัดหนังยางที่ฐานของหัวริดสีดวงเพื่อตัดเลือดซึ่งส่งไปที่หัว ริดสีดวงก็จะหดตัวลง เนื้อเยื่อก็จะตายภายในไม่กี่วันแล้วหลุดออกเมื่อขับถ่ายตามปกติ โดยที่คนไข้อาจจะไม่สังเกตเห็นเลย การรัดหนังยางเป็นการรักษาริดสีดวงที่นิยม เพราะมีโอกาสเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัด และใช้เวลาฟื้นตัวน้อยกว่า เป็นวิธีที่ได้ผลดีและดำเนินการได้โดยหลายวิธี ถ้าทำด้วย CRH O’Regan System มันจะสัมพันธ์กับอัตราการเกิดอีกที่ 5% ภายใน 2 ปี การรักษานี้อาจทำโดยแพทย์โรคทางเดินอาหาร แพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หรือศัลยแพทย์ทั่วไป.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและการรัดหนังยาง · ดูเพิ่มเติม »

การลดลงของอุณหภูมิร่างกายหลังตาย

การลดลงของอุณหภูมิร่างกายหลังตาย (Algor Mortis) เป็นการเปลี่ยนแปลงหลังการตายตามธรรมชาติอย่างหนึ่งของร่างกายมนุษย์ เมื่อตายลงด้วยอุบัติเหตุ ฆาตกรรมหรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ฯลฯ อุณหภูมิของร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ คืออุณหภูมิภายในร่างกายจะค่อย ๆ ลดลงตามลำดับเช่น ตามปกติอุณหภูมิของร่างกายมนุษย์จะอยู่ที่อุณหภูมิประมาณ 36-37 องศาเซลเซียส เมื่อตายลงอุณหภูมิเฉลี่ยของร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยปกติหลังจากเสียชีวิต อุณหภูมิของร่างกายจะลดลงเฉลี่ย 1 องศาเซลเซียสต่อชั่วโมง ซึ่งการลดลงของอุณหภูมิร่างกายมนุษย์ อาจจะช่วยให้แพทย์ทางนิติเวชและพนักงานสอบสวน สามารถนำไปใช้ในการคำนวณเพื่อหาระยะเวลาการตายได้.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและการลดลงของอุณหภูมิร่างกายหลังตาย · ดูเพิ่มเติม »

การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง

การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (Spinal fusion, spondylodesis, spondylosyndesis) เป็นเทคนิคทางศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์เพื่อเชื่อมข้อกระดูกสันหลังสองข้อหรือมากกว่านั้น ซึ่งสามารถทำได้ที่กระดูกสันหลังส่วนคอ ส่วนอก และส่วนเอว เพื่อกันข้อกระดูกที่เชื่อมกันไม่ให้เคลื่อนไหว มีวิธีการเชื่อมกระดูกหลายอย่าง แต่ละอย่างจะมีการปลูกถ่ายกระดูก (bone grafting) ไม่ว่าจะมาจากคนไข้เอง (autograft) ได้จากผู้บริจาค (allograft) หรือจากกระดูกเทียม เพื่อช่วยเชื่อมกระดูกที่เกี่ยวข้อง และบ่อยครั้งจะต้องใช้อุปกรณ์อื่น ๆ (รวมทั้งสกรู แผ่นวัสดุ หรือกรง) เพื่อยึดกระดูกให้อยู่กับที่ในขณะที่กระดูกปลูกถ่ายเชื่อมข้อกระดูกเข้าด้วยกัน การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังทำมากที่สุดเพื่อบรรเทาความปวดและแรงกดต่อไขสันหลัง ที่เกิดเมื่อหมอนกระดูกสันหลัง (กระดูกอ่อนระหว่างข้อกระดูก) เสื่อม (degenerative disc disease) อาการทางแพทย์อื่น ๆ ที่รักษาด้วยวิธีนี้รวมทั้งช่องไขสันหลังตีบ กระดูกสันหลังเคลื่อน กระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังหัก กระดูกสันหลังคด และหลังโกง เหมือนกับการผ่าตัดอื่น ๆ ภาวะแทรกซ้อนอาจรวมทั้งการติดเชื้อ การเสียเลือด และความเสียหายต่อประสาท การเชื่อมยังเปลี่ยนการเคลื่อนไหวปกติของกระดูกสันหลัง ซึ่งสร้างภาระมากขึ้นกับข้อกระดูกเหนือและใต้ข้อที่เชื่อมเข้าด้วยกัน ดังนั้น ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวก็คือกระดูกที่มีภาระมากขึ้นจะเสื่อม.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

การจัดการทาลัสซีเมีย

* สำหรับทาลัสซีเมียอย่างอ่อน คนไข้ที่มีลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ไม่จำเป็นต้องรักษาหรือดูแลหลังจากได้วินิจฉัยแล้ว แต่คนไข้ทาลัสซีเมียแบบบีตาควรทราบว่า สภาพของตนสามารถวินิจฉัยผิดว่าเป็นภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กซึ่งสามัญได้ และควรปฏิเสธการรักษาแบบลองยาเสริมเหล็ก (iron supplement) แม้ว่าการขาดธาตุเหล็กอาจเกิดขึ้นได้เมื่อตั้งครรภ์หรือมีเลือดออกเรื้อรัง เมื่อมีครอบครัว ควรปรึกษาแพทย์เรื่องโรคทางพันธุกรรมทุกอย่าง โดยเฉพาะถ้าลูกเสี่ยงมีโรคแบบรุนแรงที่ป้องกันได้.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและการจัดการทาลัสซีเมีย · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายโอนสัญญาณ

วิถีการถ่ายโอนสัญญาณหลัก ๆ (แบบทำให้ง่าย) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในเซลล์ การถ่ายโอนสัญญาณ หรือ การแปรสัญญาณ (signal transduction) เป็นกระบวนการทางเคมีหรือทางกายภาพโดยเป็นลำดับการทำงาน/ลำดับเหตุการณ์ในระดับโมเลกุล ที่โมเลกุลส่งสัญญาณ (ปกติฮอร์โมนหรือสารสื่อประสาท) จะเริ่มการทำงาน/ก่อสภาพกัมมันต์ของหน่วยรับ ซึ่งในที่สุดมีผลให้เซลล์ตอบสนองหรือเปลี่ยนการทำงาน โปรตีนที่ตรวจจับสิ่งเร้าโดยทั่วไปจะเรียกว่า หน่วยรับ (receptor) แม้ในบางที่ก็จะใช้คำว่า sensor ด้วย ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการจับของลิแกนด์กับหน่วยรับ (คือการพบสัญญาณ) จะก่อลำดับการส่งสัญญาณ (signaling cascade) ซึ่งเป็นลำดับเหตุการณ์ทางเคมีชีวภาพตามวิถีการส่งสัญญาณ (signaling pathway) เมื่อวิถีการส่งสัญญาณมากกว่าหนึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับกันและกัน นี่ก็จะกลายเป็นเครือข่าย เป็นการประสานการตอบสนองของเซลล์ บ่อยครั้งโดยเป็นการส่งสัญญาณแบบร่วมกัน ในระดับโมเลกุล การตอบสนองเช่นนี้รวม.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและการถ่ายโอนสัญญาณ · ดูเพิ่มเติม »

การทำให้ไว

การทำให้ไว หรือการไวสิ่งเร้า (Sensitization) เป็นการเรียนรู้แบบ non-associative ที่การได้รับสิ่งเร้าเดียวซ้ำ ๆ จะมีผลเป็นการตอบสนองเช่นรู้สึกเจ็บ ในระดับที่มากขึ้น ๆ การไวสิ่งเร้าบ่อยครั้งเป็นการตอบสนองเพิ่มต่อสิ่งเร้าทั้งหมวด นอกเหนือจากสิ่งเร้าเดียวที่ได้ซ้ำ ๆ ยกตัวอย่างเช่น การได้รับสิ่งเร้าที่ทำให้เจ็บซ้ำ ๆ อาจทำให้บุคคลตอบสนองต่อเสียงดังมากขึ้น.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและการทำให้ไว · ดูเพิ่มเติม »

การขาดโฟเลต

การขาดโฟเลต (Folate deficiency) ก็คือเมื่อร่างกายมีระดับกรดโฟลิกที่ต่ำ โฟเลตซึ่งรู้จักอีกอย่างหนึ่งว่า วิตามินบี9 มีบทบาทในการสังเคราะห์ adenosine, guanine, และ thymidine ซึ่งเป็นส่วนของการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ อาการขาดโฟเลตบ่อยครั้งเห็นยาก ภาวะเลือดจางเหตุขาดโฟเลต (folate deficiency anemia) เป็นอาการที่พบในภายหลัง มีอาการเป็นเม็ดเลือดแดงที่โตผิดปกติ (megaloblast) เพราะไม่มีกรดโฟลิกพอในร่างก.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและการขาดโฟเลต · ดูเพิ่มเติม »

การขาดเลือดเฉพาะที่

ในทางการแพทย์ การขาดเลือดเฉพาะที.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและการขาดเลือดเฉพาะที่ · ดูเพิ่มเติม »

การตัดเนื้อออกตรวจ

การตัดเนื้อสมองออกตรวจ การตัดเนื้อออกตรว.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและการตัดเนื้อออกตรวจ · ดูเพิ่มเติม »

การตายเฉพาะส่วน

การตายของเนื้อเยื่อหลังจากเกิดแผลไหม้อย่างรุนแรง การตายเฉพาะส่วน (มาจากภาษา Nekros ตาย) เป็นการตายของเซลล์และเนื้อเยื่อซึ่งจะมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องตามมาอย่างมาก ได้แก่การบวมของเซลล์, การย่อยสลายโครมาติน, และการเสื่อมสภาพของเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ ในระยะต่อมาจะเกิดการย่อยสลายดีเอ็นเอ, การเกิดช่องว่าง (vacuolation) ของเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (endoplasmic reticulum), การสลายของออร์แกเนลล์, และเกิดการสลายเซลล์ หลังจากเยื่อหุ้มเซลล์แตกสลายจะมีการปล่อยองค์ประกอบภายในเซลล์ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ กระบวนการดังกล่าวแยกออกจากการเปลี่ยนแปลงหลังการตาย (Postmortem change) และจากการคงสภาพเนื้อเยื่อโดยฟอร์มาลินมานะ ทวีวิศิษฎ์ (บรรณาธิการ), พยาธิวิทยาพื้นฐาน.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและการตายเฉพาะส่วน · ดูเพิ่มเติม »

การปลูกถ่ายอวัยวะ

Cosmas and Damian miraculously transplant the (black) leg of a Moor onto the (white) body of Justinian. Ditzingen, 16th century (Organ transplantation) เป็นการย้ายอวัยวะจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง หรือ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในผู้ป่วยคนเดียวกัน เพื่อแทนที่อวัยวะที่เสียหายหรือขาดไป การอุบัติขึ้นของ regenerative medicine ทำให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรสามารถสร้างหรือปลูกอวัยวะจากเซลล์ของคนไข้เอง (เซลล์ต้นกำเนิด หรือเซลล์ที่แยกมาจากอวัยวะที่เสื่อม) การปลูกถ่ายอวัยวะและ/หรือเนื้อเยื่อที่ถูกปลูกถ่ายลงในตัวของเจ้าของเองเรียกว่า การปลูกถ่ายด้วยออโทกราฟท์ (autotranplantation) การเปลี่ยนถ่ายที่กระทำจากคนสู่คนหรือสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันเรียกว่า การปลูกถ่ายด้วยแอลโลกราฟท์ (allotranplantation) การปลูกถ่ายด้วยอวัยวะจากสัตว์ชนิดอื่นเรียกว่า การปลูกถ่ายด้วยซีโนกราฟท์ (xenotransplantation) ในปัจจุบันอวัยวะที่สามารถปลูกถ่ายได้ ได้แก่ หัวใจ ไต ตา ตับ ปอด ตับอ่อน ลำไส้เล็ก และ ต่อมไทมัส เนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายได้ ได้แก่ กระดูก เอ็น กระจกตา ผิวหนัง ลิ้นหัวใจ และหลอดเลือดดำ ทั่วโลกมีการปลูกถ่ายไตมากที่สุด ตามมาด้วยตับและหัวใจ ส่วนเนื้อเยื่อ ได้แก่ กระจกตาและเนื้อเยื่อกระดูกและเอ็น อวัยวะบางอย่างเช่นสมองไม่สามารถปลูกถ่ายได้ ผู้บริจาคอวัยวะอาจมีชีวิตอยู่หรือสมองตายแล้ว เนื้อเยื่ออาจทำให้กลับคืนเหมือนเดิมได้ เช่นจากผู้บริจาคที่หัวใจตายมากว่า 24 ชั่วโมงนับจากหัวใจหยุดเต้น อวัยวะนั้นไม่เหมือนเนื้อเยื่อที่ส่วนใหญ่ (ยกเว้นกระจกตา) สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานสุดถึง 5 ปี นั่นหมายความว่าสามารถทำเป็นธนาคารอวัยวะได้ การปลูกถ่ายนำไปสู่ประเด็นทางจริยธรรมมากมายซึ่งรวมถึง การนิยามการตาย การอนุญาตให้ใช้อวัยวะเพื่อการปลูกถ่ายเมื่อไรและอย่างไร และการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับอวัยวะสำหรับปลูกถ่าย ยังมีประเด็นทางจริยธรรมอื่นๆอีกเช่น การทัวร์ปลูกถ่ายและประเด็นสังคมธุรกิจการค้าอวัยวะ ปัญหาเด่นๆได้แก่ การลักลอบค้าขายอวัยวะ การปลูกถ่ายอวัยวะหรือเนื้อเยื่อเป็นหนึ่งในสาขาวิชาการแพทย์สมัยใหม่ที่ซับซ้อนและท้าทาย กุญแจสำคัญคือปัญหาการปฏิเสธการปลูกถ่ายอวัยวะนั้นเนื่อจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งอาจนำไปสู่การปลูกถ่ายที่ล้มเหลวและจำเป็นต้องนำอวัยวะนั้นออกจากผู้รับโดยทันที การปฏิเสธการปลูกถ่ายอวัยวะนั้นสามารถลดได้โดยการจัดกลุ่มสายเชื้อ (serotyping) เพื่อหาผู้บริจาคและผู้รับที่เหมาะสมที่สุดและโดยการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressant drug).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและการปลูกถ่ายอวัยวะ · ดูเพิ่มเติม »

การเจริญเกิน

การเจริญเกิน (hyperplasia) เป็นคำทั่วไปหลายถึงการเพิ่มจำนวนของเซลล์ในอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่มากกว่าปกติ การเจริญเกินอาจทำให้เกิดการเพิ่มขนาดของอวัยวะได้และบางครั้งก็ถูกใช้ในความหมายใกล้เคียงกันกับ benign neoplasia หรือ benign tumor (เนื้องอกชนิดไม่ร้าย) การเจริญเกินเป็นการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นที่อาจกลายเป็นเนื้องอกได้ที่พบบ่อย ในระดับย่อยๆ นั้นเซลล์แต่ละเซลล์จะมีลักษณะปกติเพียงแต่มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น บางครั้งเซลล์อาจมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ (hypertrofia) การเจริญเกินนั้นแตกต่างจากการโตเกิน (hypertrophy) ตรงที่การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในการโตเกินนั้นจะทำให้เซลล์มีขนาดใหญ่ขึ้น ในขณะที่การเจริญเกินนั้นเซลล์จะมีจำนวนมากขึ้น.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและการเจริญเกิน · ดูเพิ่มเติม »

การเน่าเปื่อย

การเน่าเปื่อย (Decomposition) เป็นการเปลี่ยนแปลงหลังการตายตามธรรมชาติอย่างหนึ่งของร่างกายสิ่งมีชีวิต เมื่อเกิดการตายและหัวใจหยุดเต้น ร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลังการตายตามลำดับก่อนหลัง โดยเกิดรอยเขียวช้ำหลังตาย สภาพแข็งทื่อหลังตาย การลดลงของอุณหภูมิร่างกายหลังตายและเกิดการเน่าเปื่อยในลำดับสุดท้าย ซึ่งการเน่าเปื่อยของร่างกาย จะเกิดจากการสลายตัวของเนื้อเยื่อภายในร่างกายโดยมีหลักการเน่าเปื่อยสองประการคือ การสลายตัวเองและการเน่าสล.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและการเน่าเปื่อย · ดูเพิ่มเติม »

กาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์

แสดงต้นไม้บรรพชีวินวิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลังทำใน ปี ค.ศ. 1879 (ของ Ernst Haeckel) ประวัติวิวัฒนาการของสปีชีส์ต่าง ๆ ได้รับการพรรณนาว่าเป็นต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ โดยมีสาขาต่าง ๆ มากมายแยกออกจากลำต้นต้นเดียว แม้ว่าข้อมูลที่ใช้สร้างต้นไม้นี้จะล้าสมัยแล้ว แต่ก็ยังแสดงหลักการบางอย่างที่ต้นไม้ที่ทำขึ้นในปัจจุบันอาจจะทำให้เห็นได้ไม่ชัดเจน "พุ่มไม้" ด้านบนขวาสุดเป็นพวกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมทั้งมนุษย์ กาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์ (timeline of human evolution) แสดงเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในกระบวนการวิวัฒนาการของมนุษย์และของบรรพบุรุษมนุษย์ ซึ่งรวมคำอธิบายสั้น ๆ เกี่ยวกับสัตว์บางประเภท บางสปีชีส์ หรือบางสกุล ซึ่งอาจจะเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ บทความไม่มุ่งจะแสดงกำเนิดของชีวิตซึ่งกล่าวไว้ในบทความกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต แต่มุ่งจะแสดงสายพันธุ์ที่เป็นไปได้สายหนึ่งที่ดำเนินมาเป็นมนุษย์ ข้อมูลของบทความมาจากการศึกษาในบรรพชีวินวิทยา ชีววิทยาพัฒนาการ (developmental biology) สัณฐานวิทยา และจากข้อมูลทางกายวิภาคและพันธุศาสตร์ การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์เป็นส่วนสำคัญของมานุษยวิท.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและกาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ฝี

ฝี เป็นกลุ่มของหนองซึ่งเป็นซากเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล (neutrophil) ที่ตายแล้วสะสมอยู่ภายในโพรงของเนื้อเยื่อซึ่งเป็นกระบวนการของการติดเชื้อ มักมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียหรือปรสิต หรือเกิดจากสิ่งแปลกปลอมภายนอกอื่นๆ เช่น เศษวัสดุ กระสุน หรือเข็มทิ่ม ฝีเป็นกระบวนการตอบสนองของเนื้อเยื่อในร่างกายต่อเชื้อโรคเพื่อจำกัดการแพร่กระจายไม่ให้ไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย จุลชีพก่อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายจะมีการทำลายเซลล์ที่ตำแหน่งนั้น ทำให้เกิดการหลั่งสารพิษ สารพิษจะกระตุ้นกระบวนการอักเสบ ซึ่งทำให้มีเม็ดเลือดขาวจำนวนมากเข้ามาในบริเวณที่เชื้อโรคบุกรุกและเกิดการไหลเวียนของเลือดในบริเวณนั้นมากขึ้น โครงสร้างของฝีภายนอกจะประกอบด้วยผนังหรือแคปซูลล้อมรอบ ซึ่งเกิดจากเซลล์ปกติข้างเคียงมาล้อมเพื่อจำกัดไม่ให้หนองไปติดต่อยังส่วนอื่นๆ อย่างไรก็ตามแคปซูลที่ล้อมรอบโพรงหนองนั้นอาจทำให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถเข้ามากำจัดเชื้อแบคทีเรียหรือจุลชีพก่อโรคในหนองนั้นได้ ฝีมีความแตกต่างจากหนองขัง (empyema) ในแง่ที่ว่าหนองขังเป็นกลุ่มของหนองในโพรงที่มีมาก่อนอยู่แล้ว แต่ฝีเป็นโพรงหนองที่สร้างขึ้นมาภายหลังการติดเชื้อ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและฝี · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเคลื่อนไหวติดตา

ลิปตัวอย่างที่สร้างภาพลวง หลังจากดูมันแล้ว ให้จ้องดูที่อื่นนิ่ง ๆ ต่อ ภาพเคลื่อนไหวติดตา หรือ ผลหลังจากเห็นการเคลื่อนไหว (motion aftereffect, MAE) เป็นภาพลวงตาที่ประสบหลังจากมองสิ่งเร้าทางตาซึ่งกำลังเคลื่อนที่ด้วยตาที่มองนิ่ง ๆ สักระยะหนึ่ง (จากเป็นสิบ ๆ มิลลิวินาทีจนเป็นนาที ๆ) แล้วต่อจากนั้นหันไปจ้องวัตถุที่อยู่นิ่ง ๆ สิ่งเร้าที่อยู่นิ่ง ๆ ซึ่งมองต่อมา จะดูเหมือนกำลังเคลื่อนไปทางตรงกันข้ามกับวัตถุแรกซึ่งเคลื่อนที่จริง ๆ เป็นปรากฏการณ์ที่เชื่อว่า เป็นผลของการปรับตัวทางประสาทต่อการเคลื่อนไหว ตัวอย่างที่อาจเกิดจริง ๆ ก็คือ ถ้าดูน้ำตกประมาณนาทีหนึ่ง แล้วดูหินข้าง ๆ ที่อยู่นิ่ง ๆ หินจะดูเหมือนกำลังเคลื่อนที่ขึ้นข้างบนอย่างน้อย ๆ การเคลื่อนที่ขึ้นที่เป็นภาพลวงเป็นภาพเคลื่อนไหวติดตา ตัวอย่างนี้เรียกเป็นภาษาอังกฤษโดยเฉพาะว่า waterfall illusion (ภาพลวงตาเหตุน้ำตก) อีกตัวอย่างก็คือ เมื่อมองตรงกลางวงก้นหอยที่กำลังหมุนเป็นเวลาหลายวินาที ก้นหอยอาจจะดูหมุนเข้าในหรือหมุนออกนอก ต่อมาเมื่อมองอะไรที่อยู่นิ่ง ๆ มันก็จะหมุนกลับไปในทิศตรงกันข้าม ตัวอย่างนี้เรียกในภาษาอังกฤษโดยเฉพาะว่า spiral aftereffect (ผลหลังจากเห็นก้นหอย).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและภาพเคลื่อนไหวติดตา · ดูเพิ่มเติม »

มหพยาธิวิทยา

มหพยาธิวิทยา (Gross pathology) หมายถึงลักษณะแสดงในระดับมหัพภาค (หรือระดับตาเปล่า) ของโรคที่เกิดในอวัยวะ, เนื้อเยื่อ และช่องตัว ศัพท์ดังกล่าวใช้กันทั่วไปในวิชาพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology) เพื่อหมายถึงการตรวจเพื่อวินิจฉัยหาข้อมูลในชิ้นเนื้อตัวอย่างหรือการชันสูตรพลิกศพ (autopsy).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและมหพยาธิวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

มะหาด

มะหาด เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae ต้นกำเนิดจากภูมิภาคเอเชียใต้ นิยมปลูกเอาไว้ใช้ประโยชน์ทุกส่วนของต้น สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทราย, ดินร่วนปนทราย, ดินร่วน และ ดินเหนียว มีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีมาก ชอบบริเวณที่มีความชื้นสูงและแสงแดดเข้าถึงได้น้อย มักขึ้นกระจายตามป่าดิบทั่วไป.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและมะหาด · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งปอด

รคมะเร็งปอด (lung cancer) เป็นโรคซึ่งมีการเจริญของเซลล์ในเนื้อเยื่อปอดอย่างควบคุมไม่ได้ การเจริญนี้นำไปสู่การแพร่กระจาย มีการรุกรานเข้าไปในเนื้อเยื่อข้างเคียงและแทรกซึมเข้าไปในอวัยวะนอกปอด มะเร็งปอดส่วนใหญ่เป็นมะเร็งชนิดเยื่อบุ เจริญมาจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการตายของผู้เสียชีวิต 1.3 ล้านรายทั่วโลกใน..

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและมะเร็งปอด · ดูเพิ่มเติม »

มิญชวิทยา

A stained histologic specimen, sandwiched between a glass microscope slide and coverslip, mounted on the stage of a light microscope. ภาพเนื้อเยื่อปอดย้อมด้วยสีฮีมาทอกซีลิน (Hematoxylin) และอีโอซิน (Eosin) ผู้ป่วยรายนี้มีอาการของโรคถุงลมโป่งพอง (emphysema) มิญชวิท.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและมิญชวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

รอยเขียวช้ำหลังตาย

รอยเขียวช้ำหลังตาย ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและรอยเขียวช้ำหลังตาย · ดูเพิ่มเติม »

ระบบเส้นใยของเซลล์

ระบบเส้นใยในยูคาริโอต สีแดงคือไมโครฟิลาเมนต์, สีเขียวคือไมโครทูบูล และสีน้ำเงินคือนิวเคลียส ระบบเส้นใยภายในเซลล์ (cytoskeleton) เป็นโปรตีนขนาดเล็กที่มารวมตัวกันเป็นเส้นใย ซึ่งมีบทบาทในการเคลื่อนที่และการรวมตัวของเซลล์เป็นเนื้อเยื่อ พบในยูคาริโอตเท่านั้น.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและระบบเส้นใยของเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อโครงสร้างทางกายวิภาคมนุษย์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและรายชื่อโครงสร้างทางกายวิภาคมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ร่างกายมนุษย์

ร่างกายมนุษย์ เป็นโครงสร้างทั้งหมดของมนุษย์ ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิดที่รวมกันเป็นเนื้อเยื่อซึ่งรวมกันเป็นระบบอวัยวะ สิ่งเหล่านี้คงภาวะธำรงดุลและความอยู่รอดของร่างกายมนุษย์ ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยศีรษะ, คอ, ลำตัว (ซึ่งรวมถึงอกและท้อง), แขนและมือ, ขา และเท้า การศึกษาร่างกายมนุษย์เชื่อมโยงกับกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา มิญชวิทยา และคัพภวิทยา ร่างกายมีความแตกต่างทางกายวิภาคแบบต่าง ๆ สรีรวิทยามุ่งไปที่ระบบและอวัยวะของมนุษย์และการทำงานของอวัยวะ หลายระบบและกลไกมีปฏิกิริยาต่อกันเพื่อคงภาวะธำรงดุล โดยมีระดับที่ปลอดภัยของสารต่าง ๆ เช่น น้ำตาลและออกซิเจนในเลือ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและร่างกายมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ลักษณะปรากฏ

ตาสีเทาแท้ ในสิ่งมีชีวิต ลักษณะปรากฏ หรือ ฟีโนไทป์ หรือ ลักษณะสืบสายพันธุ์ (phenotypic trait, trait) เป็นรูปแบบฟิโนไทป์หนึ่งโดยเฉพาะที่สามารถสังเกตเห็นได้ ซึ่งกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างยีนกับสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต ยกตัวอย่างเช่น สีตาเป็นลักษณะหนึ่ง (character) ของสิ่งมีชีวิต ในขณะที่ตาสีดำ สีฟ้า สีน้ำตาล เป็นต้น จะเป็น "ลักษณะปรากฏ/ลักษณะสืบสายพันธุ์" (trait) กล่าวอีกอย่างก็คือ เป็นลักษณะปรากฏทางกายหรือทางพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างจีโนไทป์และสิ่งแวดล้อมในช่วงพัฒนาการ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและลักษณะปรากฏ · ดูเพิ่มเติม »

ลิสแซมฟิเบีย

ลิสแซมฟิเบีย (ชั้นย่อย: Lissamphibia) เป็นชั้นย่อยของสัตว์มีกระดูกสันหลังในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibia) โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lissamphibia จากการศึกษาทางด้ายภายวิภาคศาสตร์และระดับโมเลกุลพบว่า ลิสแซมฟิเบียเป็นวิวัฒนาการเดี่ยวแยกจากสัตว์สี่เท้ากลุ่มอื่นที่ดำรงชีวิตและสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน กล่าวคือ เมื่อระยะเวลาราว 30 ล้านปีมาแล้ว ที่ได้มีสัตว์สี่เท้าถือกำเนิดขึ้นมา เป็นช่วงปลายยุคคาร์บอนิเฟอรัส ซึ่งช่วงนี้มีความสำคัญมากกับวิวัฒนาการของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกลุ่มแรก รวมทั้งวิวัฒนาการของสัตว์กลุ่มแอมนิโอต เนื่องจากในช่วงนี้หลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์สี่ขาหลายกลุ่มปะปนกัน เช่น เทมโนสปอนเดิล, แอนธราโคซอร์, แอมนิโอตกลุ่มแรก เป็นต้น ปัจจุบัน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั้งหมดที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ต่างก็เป็นลิสแซมฟิเบียทั้งหมด คือ Anura, Caudata และGymnophiona และเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในยุคพาลีโอโซอิกตอนปลายอีกด้ว.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและลิสแซมฟิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาภูมิคุ้มกัน

วิทยาภูมิคุ้มกัน หรือ วิทยาอิมมูน (immunology) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ที่ครอบคลุมความรู้เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันในสิ่งมีชีวิต โดยมีเนื้อหาครอบคลุมกลไกการทำงานทางสรีรวิทยาของระบบภูมิคุ้มกันทั้งในสภาพร่างกายที่ปรกติและเมื่อเกิดพยาธิสภาพขึ้น พยาธิสภาพอาจจะเกิดจากสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกเช่น เชื้อโรคหรือจากสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ (allergen) รวมทั้งโรคที่มีความผิดปรกติทางระบบภูมิคุ้มกันเช่น โรคภูมิคุ้มกันต่อต้านร่างกายตัวเอง (autoimmune) โรคภูมิคุ้มกันไวผิดปรกติ (hypersensitivity) โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (immunodeficiency) ภาวะการต่อต้านอวัยวะใหม่ (graft rejection) เป็นต้น นอกจากนี้วิชาภูมิคุ้มกันวิทยายังได้ศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับหน้าที่และคุณสมบัติต่างๆ ของระบบภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะการทำงานของแอนติบอดี ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญทางด้านวิทยาศาสตร์เช่น ในทางการแพทย์ใช้แอนตีบอดีในการวินิจฉัยจากปริมาณสารที่พบในโรคหรือสภาวะบางจากพลาสมาหรือเนื้อเยื่อ และทางการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้นำมาใช้ในการวัดปริมาณของโปรตีนในตัวอย่างทางชีวภาพต่างๆ หมวดหมู่:ชีววิทยา.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและวิทยาภูมิคุ้มกัน · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาต่อมไร้ท่อ

วิทยาต่อมไร้ท่อ (endocrinology; มาจากภาษากรีกโบราณ ἔνδον, endon, "ภายใน"; κρίνω, krīnō, "แยก"; และ -λογία, -logia) เป็นสาขาหนึ่งของชีววิทยาและแพทยศาสตร์ว่าด้วยระบบต่อมไร้ท่อ โรคของระบบต่อมไร้ท่อ และการหลั่งสิ่งที่เรียก ฮอร์โมน นอกจากนี้ยังศึกษาบูรณาการและการเจริญ การเพิ่มจำนวน การเติบโตและการเปลี่ยนไปทำหน้าที่เฉพาะ (differentiation) และกัมมันตภาพทางจิตวิทยาหรือพฤติกรรมของเมแทบอลิซึม การเจริญเติบโต การทำหน้าที่ของเนื้อเยื่อ การหลับ การย่อย การหายใจ การขับถ่าย อารมณ์ ความเครียด การหลั่งน้ำนม การเคลื่อนไหว การสืบพันธุ์และการรับรู้สัมผัสที่เกิดจากฮอร์โมน สาขาเฉพาะทางได้แก่ วิทยาต่อมไร้ท่อพฤติกรรมและวิทยาต่อมไร้ท่อเปรียบเทียบ ระบบต่อมไร้ท่อประกอบด้วยหลายต่อมในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรงโดยไม่ผ่านระบบท่อ ฮอร์โมนมีหน้าที่และกลไกการออกฤทธิ์หลายอย่าง ฮอร์โมนชนิดหนึ่งมีผลหลายอย่างต่ออวัยวะเป้าหมาย และในทางกลับกัน อวัยวะเป้ามายหนึ่งอาจได้รับผลจากฮอร์โมนมากกว่าหนึ่งชนิด หมวดหมู่:ระบบต่อมไร้ท่อ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและวิทยาต่อมไร้ท่อ · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินบี12

วงแหวง corrin ที่เป็นโครงสร้างประกอบของวิตามิน methylcobalamin (ดังที่แสดง) เป็นรูปแบบของวิตามินบี12 อย่างหนึ่ง แต่ก็ยังคล้ายกับรูปแบบอื่น ๆ ของวิตามิน ปรากฏเป็นผลึกสีแดงซึ่งละลายน้ำเป็นสีแดงเข้ม วิตามินบี12 (12, cobalamin) เป็นวิตามินละลายน้ำได้ที่เป็นกุญแจสำคัญในการทำงานเป็นปกติของสมองกับระบบประสาท และการสร้างเม็ดเลือดแดง เป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามินบี 8 อย่าง ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมแทบอลิซึมในเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายมนุษย์ โดยมีผลเฉพาะต่อการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ เมแทบอลิซึมของกรดไขมันและกรดอะมิโน ไม่มีเห็ดรา พืช หรือสัตว์ (รวมทั้งมนุษย์) ที่สามารถสร้างวิตามินบี12ได้ มีแต่สิ่งมีชีวิตประเภทแบคทีเรียและอาร์เคียที่มีเอนไซม์เพื่อสังเคราะห์มันได้ แหล่งของวิตามินที่ได้พิสูจน์แล้วเป็นผลิตภัณฑ์สัตว์รวมทั้งเนื้อ ปลา ผลิตภัณฑ์นม และอาหารเสริม แต่ก็มีงานวิจัยที่แสดงว่า ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่มาจากสัตว์บางอย่างอาจเป็นแหล่งธรรมชาติของวิตามินได้ เพราะอยู่ร่วมกับแบคทีเรีย (bacterial symbiosis) วิตามินบี12 เป็นวิตามินที่ใหญ่ที่สุด มีโครงสร้างซับซ้อนที่สุด และสามารถสังเคราะห์โดยหมักแบคทีเรีย (bacterial fermentation-synthesis) แล้วใช้เสริมอาหารและเป็นวิตามินเสริม วิตามินบี12 เป็นกลุ่มสารประกอบที่มีโครงสร้างเคมีเกี่ยวข้องกัน (หรือที่เรียกว่า vitamer) ซึ่งมีฤทธิ์ทางชีวภาพ และมีธาตุโคบอลต์ (Co) ที่ไม่สามัญทางเคมี-ชีวภาพ อยู่ตรงกลางวงแหวนเชิงระนาบแบบ tetra-pyrrole ที่เรียกว่าวงแหวน corrin (ดูรูป) ซึ่งสามารถผลิตได้โดยแบคทีเรีย hydroxocobalamin แต่ร่างกายสามารถแปรรูปแบบวิตามินไปในแบบต่าง ๆ ได้ วิตามินค้นพบโดยความสัมพันธ์ของมันกับโรคภาวะเลือดจางเหตุขาดวิตามินบี12 (pernicious anemia) ซึ่งเป็นโรคภูมิต้านตนเอง และมีผลทำลายเซลล์ผนัง (parietal cell) ที่มีหน้าที่หลั่งไกลโคโปรตีน คือ intrinsic factor ในกระเพาะอาหาร เซลล์เหล่านี้ยังมีหน้าที่หลั่งกรดย่อยอาหารในกระเพาะอีกด้วย เพราะว่า intrinsic factor จำเป็นต่อการดูดซึมวิตามินตามปกติ การขาดโปรตีนนี้เพราะโรค จึงทำให้ขาดวิตามินบี12 ยังมีรูปแบบการขาดวิตามินแบบเบากว่าอื่น ๆ ที่ผลติดตามทางชีวเคมีก็ปรากฏชัดแล้ว.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและวิตามินบี12 · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กิ้งก่าคาเมเลี่ยน

วงศ์กิ้งก่าคาเมเลี่ยน (Chameleon) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่า ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและวงศ์กิ้งก่าคาเมเลี่ยน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระเบนหางสั้น

วงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Freshwater stingray, River stingray, Short-tail stingray) เป็นปลากระเบนวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Potamotrygonidae โดยคำว่า "Potamotrygon" เป็นภาษากรีก (Ποταμός; potamos) แปลว่า "แม่น้ำ" และภาษากรีกคำว่า "trygon" แปลว่า "ปลากระเบน" พบกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ มีรูปร่างกลมคล้ายจานข้าวหรือแผ่นซีดี หางมีขนาดสั้นเมื่อเทียบกับปลากระเบนในวงศ์อื่น ๆ พบทั้งหมด 4 สกุล ในหลายชนิด (ดูในเนื้อหาข้างล่าง) บางชนิดหางสั้นมากจนดูขัดกับขนาดลำตัว เช่น ชนิด Paratrygon aiereba มีขนาดแตกต่างออกไปตามชนิด ตั้งแต่มีขนาดไม่เกิน 2 ฟุต เช่น ชนิด Potamotrygon hystrix ไปจนถึงขนาดหนึ่งเมตร เช่น P. motoro มีสีสันด้านบนลำตัวและหางสวยงาม บางชนิดมีสีลำตัวเป็นสีดำ และมีลวดลายเป็นลายจุดสีขาว เช่น P. leopoldi หรือ P. henlei ในบางชนิดมีสีพื้นเป็นสีเหลือง และมีลวดลายสีดำทำให้แลดูคล้ายลายเสือ เช่น P. menchacai ทั้งนี้ลวดลายและสีสันแตกต่างออกไปตามแต่ละตัว ซึ่งในบางครั้งขึ้นอยู่กับถิ่นที่อยู่อาศัยด้วย ทำให้ในชนิดเดียวกัน ยังมีหลายสี หลายลวดลาย อีกด้วย สันนิษฐานว่าเป็นไปเพื่อใช้ในการพรางตัวกับให้กลมกลืนกับสภาพพื้นน้ำ บริเวณโคนหางมีเงี่ยงแข็งอยู่ 2 ชิ้น ใช้สำหรับป้องกันตัว ซึ่งเงี่ยงนี้มีพิษและมีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อเยื่อของสิ่งที่ถูกแทง เคยมีมนุษย์เสียชีวิตมาแล้วจากการโดนเงี่ยงนี้แทงโดยไม่ระมัดระวังตัว เพราะเสียเลือดมาก โดยชาวพื้นเมืองในอเมริกาใต้เรียกว่า "Chucho de rio" แปลว่า "สุนัขทะเล" โดยปรกติหากินตามพื้นน้ำ ไม่ค่อยขึ้นมาหากินบนผิวน้ำนัก ในพื้นถิ่นถูกใช้เป็นอาหารและตกเป็นเกมกีฬา จากสีสันที่สวยงามและขนาดของลำตัวที่ไม่ใหญ่และหางที่ไม่ยาวเกินไปนัก จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งพบว่า ปลากระเบนในวงศ์นี้สามารถผสมพันธุ์และออกลูกได้ง่ายกว่าปลากระเบนในวงศ์อื่น สามารถผสมพันธุ์และออกลูกในตู้กระจกได้เลย โดยสามารถให้ลูกครั้งละ 4-5 ตัว ถึง 20 ตัว ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของพ่อแม่ปลาและสายพันธุ์ จึงทำให้ได้รับความนิยมมาก ในบางครั้งมีการผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อให้เกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ สีสันและลวดลายใหม่ ที่ไม่สามารถระบุชื่อทางวิทยาศาสตร์ได้ด้วย ซึ่งปลากระเบนในวงศ์นี้เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด แตกต่างไปจากปลากระเบนในวงศ์ปลากระเบนธง ที่พบในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยเพียงบางชนิดเท่านั้น และด้วยความที่พบการแพร่กระจายพันธุ์เฉพาะแหล่งน้ำในทวีปอเมริกาใต้เท่านั้น จึงทำให้มีการสันนิษฐานเรื่องธรณีสัณฐานของโลกว่า ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณที่เป็นทวีปอเมริกาใต้และแม่น้ำอเมซอนเคยเป็นทะเลมาก่อน ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา และปลากระเบนที่เป็นบรรพบุรุษของวงศ์นี้ก็ได้เข้ามาอยู่อาศัย และวิวัฒนาการจนสามารถอยู่ในน้ำจืดสนิทได้.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและวงศ์ปลากระเบนหางสั้น · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระเบนธง

วงศ์ปลากระเบนธง (Whipray) เป็นวงศ์ของปลากระเบนวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dasyatidae (/แด-ซี-แอท-อิ-ดี้/) พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ไม่มีครีบหลัง ส่วนครีบอกแผ่กว้างรอบตัว ปากอยู่ด้านล่าง ตาอยู่ด้านบน มีช่องน้ำเข้า 1 คู่อยู่ด้านหลัง มีขากรรไกรและฟันที่แข็งแรงจำนวนมากเรียงติดต่อกันเป็นแถว ใช้ขบกัดสัตว์เปลือกแข็งซึ่งเป็นอาหารหลักได้ดี ผิวหนังเรียบนิ่มไม่มีเกล็ด ยกเว้นบริเวณกลางหลัง มีส่วนหางที่ยาวเหมือนแส้ ซึ่งคนโบราณนิยมตัดหางมาทำเป็นแส้ เรียกว่า "แส้หางกระเบน" ที่โคนหางมีเงี่ยงแหลมอยู่ 1-2 ชิ้น (พบมากสุดถึง 4 ชิ้น) ที่อาจยาวได้ถึง 31 เซนติเมตร เป็นอาวุธใช้สำหรับป้องกันตัว มีพิษแรง มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6 และเมื่อหักไปแล้วงอกใหม่ได้ มักมีผู้ถูกแทงบ่อย ๆ เพราะไปแตะถูกเข้าโดยไม่ระวัง เช่น เท้าไปถูกเข้าระหว่างที่ปลาฝังตัวอยู่ใต้ทราย ขณะที่เดินบริเวณหาด เพราะมีพฤติกรรมมักฝังตัวอยู่ใต้พื้นทราย โดยโผล่มาแค่ส่วนตาและเงี่ยงหางเท่านั้น จากการที่มีตาอยู่ด้านบนแต่ปากอยู่ด้านล่างทำให้ไม่สามารถมองเห็นอาหารได้เวลาจะกิน จึงมีอวัยวะรับกลิ่นและอวัยวะรับคลื่นไฟฟ้าในการบอกตำแหน่งของอาหาร แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัว โดยมีการสืบพันธุ์ในฤดูหนาว ตัวผู้จะว่ายน้ำตามประกบตัวเมียอย่างใกล้ชิดและมักกัดบริเวณขอบลำตัวของตัวเมีย เมื่อจะผสมพันธุ์ตัวผู้จะว่ายไปอยู่ด้านบนแล้วปล่อยน้ำเชื้อเข้าสู่ตัวเมีย โดยส่วนมากจะออกลูกคราวละ 5-10 ตัว ในเลือดของปลาวงศ์นี้มีสารประกอบของยูเรีย จึงมีกลิ่นคล้ายปัสสาว.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและวงศ์ปลากระเบนธง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาอินทรี

วงศ์ปลาอินทรี (Mackerels, Tunas, King mackerels) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scombridae มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวเพรียวยาวเป็นทรงกระสวย นัยน์ตากลมโต มีครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยตอนหลังมีลักษณะแข็งและมีขนาดเล็ก มีครีบท้องและครีบก้น กล้ามเนื้อก่อนถึงโคนหางมีเนื้อเยื่อขวางอยู่เรียกว่า "คีล" (Keel) โคนครีบหางกิ่วเล็กแต่แข็งแรง มีครีบแบ่งเป็นแฉก 2 แฉกเว้าลึก ครีบท้องขนานยาวไปกับความยาวลำตัว มีขนาดความยาวแตกต่างกันตั้งแต่ 20 เซนติเมตร ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร บางสกุลอาจมีลวดลายตามความยาวหรือแนวลำตัว ในปากมีฟันและกรามที่แข็งแรง มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ในทะเลเปิดในเขตอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่น ในปลาขนาดเล็กกินแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า และในปลาขนาดใหญ่จะไล่กินปลาขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร ว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็ว เพราะใช้ครีบและหางแนบกับลำตัวเมื่อว่ายน้ำ โดยมีสถิติสูงสุดที่บันทึกได้คือ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยปลาในวงศ์นี้ เป็นที่รู้จักกันในชื่อสามัญภาษาไทยโดยรวมกัน คือ ปลาทู, ปลาโอ, ปลาทูน่า และปลาอินทรี เป็นต้น เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นปลาที่มนุษย์ใช้ในการบริโภค ทั้งปรุงสุดหรืออาหารกระป๋อง รวมทั้งทำอาหารสัตว์ และตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย ปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 55 ชนิด 15 สกุล และแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (Thunnus thynnus) ที่มีรายงานยาวเต็มที่ที่เคยพบคือ 458 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 684 กิโลกรัม.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและวงศ์ปลาอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปูบก

ปูบก (Land crab) เป็นวงศ์ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกปูวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Gecarcinidae ปูในวงศ์ปูบก มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายกับปูทั่วไป เพียงแต่จะไม่มีหนามรอบกระดอง และรอบดวงตา มีขาเดินที่แข็งแรง และมีกรงเล็บขนาดใหญ่ เนื่องจากดำรงชีวิตอยู่บนบก จึงมีอวัยวะช่วยหายใจแตกต่างไปจากปูวงศ์อื่น โดยจะหายใจจากอากาศโดยตรง จึงมีเหงือกเป็นขุย มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงจำนวนมากคล้ายกับถุงลมในสัตว์บก และมีระบบขับถ่ายที่แตกต่างไปจากปูวงศ์อื่น คือ มีกระบวนการเปลี่ยนของเสียจากแอมโมเนีย ให้กลายเป็นกรดยูริก เก็บไว้ในเนื้อเยื่อ แตกต่างไปจากปูทั่วไปที่จะถ่ายลงน้ำ แต่การขยายพันธุ์ ปูตัวเมียก็จะไปวางไข่ทิ้งไว้ในน้ำ และลูกปูจะเลี้ยงตัวเองและพัฒนาตัวในน้ำในระยะต้น ก่อนที่จะขึ้นมาใช้ชีวิตอยู่บนบก ปูบก ดำรงชีวิตอยู่ในป่า หรือป่าชายหาดใกล้ชายหาด กินเศษซากอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ รวมถึง ใบไม้และสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหารได้ด้วย ปูบก สามารถแบ่งได้เป็นสกุลต่าง ๆ ได้ 6 สกุล ดังนี้ (บางข้อมูลแบ่งเพียง 3).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและวงศ์ปูบก · ดูเพิ่มเติม »

ศักย์สนามไฟฟ้าเฉพาะที่

ักย์สนามไฟฟ้าเฉพาะที่ (local field potential ตัวย่อ LFP) เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า-สรีรภาพที่เกิดจากกระแสไฟฟ้ารวมกันจากเซลล์ประสาทใกล้ ๆ ภายในเนื้อเยื่อประสาทในปริมาตรที่จำกัด คือ ความต่างศักย์จะเกิดข้ามปริภูมินอกเซลล์เนื่องจากศักยะงานและ Graded potential ของนิวรอนใกล้ ๆ โดยจะมีค่าหรือระดับต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับระดับการสื่อสารผ่านไซแนปส์ คำว่า ศักย์ (Potential) หมายถึงศักย์ไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า โดยเฉพาะที่บันทึกได้ด้วยไมโครอิเล็กโทรดที่ฝังลงภายในเยื่อเซลล์ประสาทโดยปกติในสมองของสัตว์ที่ได้รับยาชา หรือภายในแผ่นเนื้อเยื่อสมองบาง ๆ ที่เลี้ยงไว้นอกกาย (in vitro).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและศักย์สนามไฟฟ้าเฉพาะที่ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมทางเซลล์

ปัตยกรรมทางเซลล์ หรือ ไซโทอาร์คิเทกเชอร์ (cytoarchitecture, cytoarchitectonics จากคำกรีกโบราณ "κύτος" แปลว่า เซลล์ และ "αρχιτεκτονική" แปลว่า สถาปัตยกรรม) หมายถึงการจัดระเบียบของเซลล์อย่างเฉพาะเจาะจงในเนื้อเยื่อโดยเฉพาะในเปลือกสมอง หรือเป็นการศึกษาองค์ประกอบทางเซลล์ของเนื้อเยื่อในร่างกายด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งใช้โดยเฉพาะกับการศึกษาระบบประสาทกลาง นี่เป็นวิธีการหนึ่งในการแจงส่วนสมอง คือการตัดส่วนของสมองแล้วแต้มสีด้วยสารเคมี เพื่อดูว่าเซลล์ประสาทจัดเป็นชั้น ๆ อย่างไร ส่วนการศึกษาการแบ่งใยประสาท (โดยหลักคือแอกซอน) ออกเป็นชั้น ๆ เรียกว่า myeloarchitectonics (จากคำกรีกโบราณ "μυελός" แปลว่า ไขกระดูก และ "αρχιτεκτονική" แปลว่า สถาปัตยกรรม) เป็นวิธีการที่ใช้ประกอบกับไซโทอาร์คิเทกเชอร.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและสถาปัตยกรรมทางเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

หมวกราก

หมวกราก เป็นเนื้อเยื่อส่วนหนึ่งบริเวณปลายราก หมวกรากประกอบด้วยสตาโตไซต์ซึ่งมีช่องว่างภายใน ถ้าหมวกรากถูกตัดออกไป รากจะเจริญเติบโตแบบไร้ทิศทาง หมวกรากช่วยปกป้องเนื้อเยื่อเจริญในพืช หมวกรากจะหลั่งสารบางอย่างเพื่อช่วยให้รากสามารถงอกทะลุดินได้สะดวก.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและหมวกราก · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดดำ

ในระบบไหลเวียนโลหิต หลอดเลือดดำ (vein) เป็นหลอดเลือดที่นำพาเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ หน้าที่หลักของหลอดเลือดดำคือการขนส่งเลือดที่มีออกซิเจนต่ำจากเนื้อเยื่อกลับเข้าสู่หัวใจ ยกเว้นหลอดเลือดดำจากปอด (pulmonary vein) และหลอดเลือดดำอัมบิลิคัล (umbilical vein) ที่ขนส่งเลือดที่มีออกซิเจนสูง.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและหลอดเลือดดำ · ดูเพิ่มเติม »

หายใจเร็วกว่าปกติ

อาการหายใจเร็วกว่าปกติ (hyperventilation หรือ overbreathing) หมายถึงสภาวะที่มีการหายใจเร็วหรือลึกเกินความจำเป็น ก่อให้เกิดอาการหน้ามืดหรืออาการอื่นๆ มักมีสาเหตุมาจากความกังวล อาการหายใจเร็วกว่าปกติอาจเป็นการตอบสนองต่อภาวะเลือดเป็นกรดเมตะบอลิก (metabolic acidosis) ซึ่งเป็นสภาวะที่ส่งผลต่อค่า pH ในเลือดต่ำลง ผลข้างเคียงนี้มิได้เกิดขึ้นจากการขาดออกซิเจนหรืออากาศของผู้ป่วยตามที่มักเข้าใจกัน หากแต่ว่าอาการหายใจเร็วกว่าปกตินี่เองทำให้ระดับความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดต่ำลงกว่าระดับปกติ อันเป็นผลให้ค่า pH ในกระแสเลือดสูงขึ้น (ทำให้เลือดมีสภาวะเป็นเบสมากขึ้น) ทำให้เส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงสมองหดตัว ขัดขวางการส่งถ่ายออกซิเจนและโมเลกุลอื่นที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาท - Online interactive oxygen delivery calculator that mimics hyperventilation อาการหายใจเร็วกว่าปกติอาจทำให้เกิดอาการชาหรือรู้สึกยิบๆ ที่มือ ขาหรือริมฝีปาก อาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ แน่นหน้าอก พูดจาติดขัด ตื่นกลัว มึนงง หรือหมดสติ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเสมอไป.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและหายใจเร็วกว่าปกติ · ดูเพิ่มเติม »

หนอนตัวแบน

หนอนตัวแบน หรือ แพลทีเฮลมินธิส เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลักษณะเด่นคือ เป็นไฟลัมแรกที่มีสมมาตรแบบซ้ายขวา ลำตัวแบนจากบนลงล่าง (dorso-ventrally) ลักษณะคล้ายริบบิ้น ผิวลำตัวอ่อนนิ่ม ยกเว้นพวกที่เป็นปรสิตจะมีคิวติเคิลหนา พบประมาณ 25000 ชนิด จัดอยู่ในสัตว์กลุ่มที่ไม่มีช่องว่างลำตัวที่แท้จริง (Accoelomate) กลุ่มใหญ่ที่สุด สามารถพบได้ทั้งในทะเล น้ำจืด บนบก ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตแบบปรสิต (parasitic) บางวงศ์ดำรงชีวิตอิสระ (free living) ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และสั้น ยกเว้นพยาธิตัวตืด ขนาดและความยาวแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด พบยาวที่สุดกว่า 20 เมตร.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและหนอนตัวแบน · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยรับรส

หน่วยรับรส (taste receptor) เป็นหน่วยรับความรู้สึกประเภทหนึ่ง อยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์รับรส และอำนวยให้รู้รส เมื่ออาหารหรือสารอื่น ๆ เข้ามาในปาก โมเลกุลของอาหารที่ละลายอยู่ในน้ำลายจะจับกับหน่วยรับรสในช่องปากและในที่อื่น ๆ ซึ่งก่อปฏิกิริยาภายในเซลล์ และในที่สุดทำให้เซลล์หลั่งสารสื่อประสาท อำนวยให้เกิดกระแสประสาทส่งไปยังสมอง แล้วทำให้รู้รส ระบบรับรสมีหน้าที่หลักเกี่ยวกับสารอาหาร มนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถรับรู้รสหลัก ๆ ได้ 5 อย่างคือ รสเค็ม เปรี้ยว หวาน ขม และอุมะมิ หน่วยรับรสสามารถแบ่งออกเป็นแบบทั่ว ๆ ไปสองหมู่คือ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและหน่วยรับรส · ดูเพิ่มเติม »

อกหัก

อกหัก คือวลีทั่วๆไปที่ใช้อธิบายความเจ็บปวดทางอารมณ์อย่างรุนแรง หรือความเจ็บปวดจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักจากการตาย, การหย่าร้าง, การโยกย้ายที่อยู่, ถูกปฏิเสธ ฯลฯ คำๆนี้เป็นคำที่มีใช้มาแต่โบราณและถูกใช้อย่างกว้างขวาง อย่างน้อยก็มีการกล่าวถึงในวรรณคดีเรื่องรามายณะของอินเดีย ซึ่งถูกแต่งในช่วง..

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและอกหัก · ดูเพิ่มเติม »

อวัยวะ

อวัยวะ เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อที่มีหน้าที่คล้ายกัน พืชและสัตว์ต้องพึ่งอวัยวะหลายชิ้นในระบบอวัยวะ หน้าที่ของระบบอวัยวะมักจะมีหน้าที่ทับซ้อนกัน เช่น ไฮโปทาลามัส (hypothalamus) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ทั้งในระบบประสาท (nervous system) และระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ทำให้การศึกษาทั้งสองระบบมักจะทำร่วมกันเรียกว่า ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ (neuroendocrine system) เช่นเดียวกันกับ ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (musculoskeletal system) ซึ่งเป็นความเกี่ยวข้องกันระหว่างระบบกล้ามเนื้อ (muscular system) และ ระบบโครงกระดูก (skeletal system).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและอวัยวะ · ดูเพิ่มเติม »

อะพอพโทซิส

ตัดขวางของตับหนูแสดงเซลล์ที่ตายแบบอะพอพโทซิส (ลูกศร) อะพอพโทซิส เป็นรูปแบบหนึ่งของการตายของเซลล์แบบที่มีการโปรแกรมไว้แล้ว (programmed cell death) ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีซึ่งทำให้เซลล์ตายอย่างมีลักษณะที่เฉพาะ หรือกล่าวอย่างจำเพาะคือเป็นชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่ทำให้เซลล์มีสัณฐานวิทยาเปลี่ยนแปลงหลายรูปแบบ เช่น การบวมของเซลล์ (blebbing), การเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุ้มเซลล์เช่นการเหี่ยวของเซลล์, นิวเคลียสแตกเป็นชิ้นส่วน, โครมาตินหนาตัวขึ้น, และดีเอ็นเอแตกเป็นท่อน กระบวนการกำจัดเศษซากเซลล์ก็จะไม่ทำให้เกิดการกระตุ้นให้เนื้อเยื่อข้างเคียงเกิดความเสียหายซึ่งต่างจากการตายแบบการตายเฉพาะส่วนหรือเนโครซิส (necrosis) อะพอพโทซิสเป็นการตายที่เกิดขึ้นตามปกติในกระบวนการเจริญพัฒนาของสิ่งมีชีวิต ซึ่งต่างจากการตายเฉพาะส่วนที่เกิดจากการบาดเจ็บของเซลล์แบบเฉียบพลัน อะพอพโทซิสเกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปร่างและอวัยวะของเอ็มบริโอ เช่นการเจริญของนิ้วมือและนิ้วเท้าเนื่องจากเซลล์ที่อยู่ระหว่างนิ้วอะพอพโทซิสไป ทำให้นิ้วทั้งห้าแยกออกจากกัน โดยเฉลี่ยแล้วในผู้ใหญ่จะมีเซลล์ราว 5 หมื่นล้านถึง 7 หมื่นล้านเซลล์ตายแบบอะพอพโทซิสทุกวัน และในเด็กอายุ 8-14 ปีจะมีเซลล์ตายราว 2 หมื่นล้านถึง 3 หมื่นล้านเซลล์ต่อวัน งานวิจัยเกี่ยวกับการตายแบบอะพอพโทซิสมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 ทำให้มีการค้นพบการตายแบบอะพอพโทซิสที่ผิดปกติในโรคต่างๆ หากอะพอพโทซิสเกิดขึ้นมากเกินไปจะทำให้เกิดการฝ่อของอวัยวะ เช่นในภาวะการขาดเลือดเฉพาะที่ (ischemic damage) ในขณะที่การตายแบบอะพอพโทซิสที่ไม่เพียงพอทำให้เกิดเซลล์ที่เพิ่มจำนวนอย่างควบคุมไม่ได้ เช่นมะเร็ง.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและอะพอพโทซิส · ดูเพิ่มเติม »

อะฮัด อิสราฟิล

อะฮัด อิสราฟิล (Ahad Israfil) เป็นผู้เคราะห์ร้ายถูกยิงด้วยปืนที่มาจากเมืองเดตัน รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นกรณีที่น่าอัศจรรย์เพราะรอดชีวิตมาได้จากความบาดเจ็บที่ทำลายซีกสมองของเขาเกือบทั้งหมดซีกหนึ่ง คือ ในปี..

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและอะฮัด อิสราฟิล · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกิ้งก่าและงู

อันดับกิ้งก่าและงู (Lizard and Snake) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ ใช้ชื่อว่า Squamata (/สะ-ควอ-มา-ตา/) นับเป็นอันดับที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดและพบได้หลากหลายกว้างขวางมากที่สุด โดยอันดับนี้แบ่งได้เป็น 2 อันดับย่อย คือ Lacertilia หรือ อันดับย่อยกิ้งก่า กับ Serpentes หรือ อันดับย่อยงู การที่รวมสัตว์เลื้อยคลานทั้ง 2 ประเภทนี้ไว้ด้วยกัน เหตุเพราะมีโครงสร้างบางอย่างที่ร่วมกันถึง 70 ประการ โดยงูนั้นมีวิวัฒนาการมาจากกิ้งก่าในวงศ์ Amphisbaenidae ที่มีการลดรูปของขา นอกจากนั้นแล้วยังมีกล้ามเนื้อ, กระดูก, กะโหลก, อวัยวะถ่ายอสุจิที่เป็นถุงพีนิสคู่ แต่มีความแตกต่างกันทางด้านสรีระ พฤติกรรม และการทำงานของโครงสร้างอวัยวะ ทั้งกิ้งก่าและงูมีเกล็ดปกคลุมลำตัว โดยมีปริมาณ ลักษณะ และจำนวนที่ปกคลุมอวัยวะแต่ละส่วนแตกต่างกันตามลักษณะทางอนุกรมวิธาน กิ้งก่าบางชนิดมีกระดูกในชั้นหนังซ้อนอยู่ใต้เกล็ดซึ่งไม่มีในงู พื้นผิวลำตัวของกิ้งก่ามีต่อมผิวหนังไม่มากแต่บริเวณด้านหน้าช่องเปิดทวารร่วมและทางด้านในของต้นขาหลังของกิ้งก่าหลายชนิดมีต่อมผิวหนังค่อนข้างมาก ซึ่งสังเคราะห์สารเคมีเพื่อใช้ในการกำหนดอาณาเขตและหน้าที่ประการต่าง ๆ ซึ่งจำนวนต่อมดังกล่าวนี้อีกทั้งตำแหน่งที่ตั้งแตกต่างกันระหว่างเพศ โดยตัวผู้จะมีมากกว่าและใหญ่กว่า ซึ่งต่อมดังกล่าวนี้ยังใช้เป็นลักษณะในการจำแนกประเภทอีกด้วย กิ้งก่าและงูหลายชนิดสามารถปล่อยท่อนหางให้หลุดจากลำตัวเพื่อหนีเอาตัวรอดจากศัตรูได้ เช่น ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) บางตัวอาจหลุดได้หลายครั้งในช่วงชีวิต เหตุที่หลุดและงอกใหม่ได้เนื่องจากลักษณะการเรียงตัวของกล้ามเนื้อกับเนื้อเยื่อที่เกี่ยวพันซึ่งอาจมีตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เมื่อหางหลุดไปแล้วอาจงอกขึ้นมาใหม่สั้นกว่าเดิมหรือใช้เวลานานกว่าจะเท่าเดิม เพราะมีแกนเป็นแท่งกระดูกอ่อนทดแทนปล้องของกระดูกสันหลังแทน แต่ส่วนของงูแล้วเมื่อหลุดไปแล้วไม่อาจงอกใหม่ได้ กิ้งก่าในหลายวงศ์ ได้ลดรูปของขาลงจนหดเล็กสั้นจนดูเหมือนไม่มีขา รวมทั้งนิ้วด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ในการอาศัยอยู่ในโพรงดิน เช่น จิ้งเหลนด้วง เป็นต้น อวัยวะถ่ายอสุจิของตัวผู้ของกิ้งก่าและงูจะมีลักษณะเป็นถุงพีนิสอยู่ทางด้านท้ายของช่องเปิดทวารร่วม พื้นผิวด้นนอกจะเป็นร่องเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงตัวอสุจิเข้าสู่ช่องทวารร่วมของตัวเมียขณะผสมพันธุ์ ซึ่งถุงนี้มีลักษณะเป็นหนามและเป็นสันซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของถุง ซึ่งลักษณะรูปร่างและหนามของถุงนี้จะแตกต่างกันไปตามวงศ์ เช่น กิ้งก่าในวงศ์เหี้ย (Varanidae) มีแท่งกระดูกอยู่ภายในถุงเพื่อเสริมให้มั่นคงขณะผสมพันธุ์ ขณะเดียวกันในตัวเมียก็มีกระดูกดังกล่าว แต่มีขนาดเล็กมาก ขยายพันธุ์ได้ด้วยการวางไข่และตกลูกเป็นตัว ซึ่งปริมาณและจำนวนที่ออกมาแตกต่างกันไปตามวงศ์, สกุล และชนิด แต่ในส่วนของกิ้งก่าแล้วมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ตกลูกเป็นตัว อีกทั้งยังมีบางส่วนที่เกิดได้โดยไม่ผ่านการผสมพันธุ์ด้วย เช่น ในวงศ์เหี้ย, Leiolepidinae หรือ แย้ หรืองูในวงศ์ Typhlopidae.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและอันดับกิ้งก่าและงู · ดูเพิ่มเติม »

อันดับจระเข้

อันดับจระเข้ (Crocodile, Gharial, Alligator, Caiman) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานโบราณที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crocodilia หรือ Crocodylia ที่รู้จักกันดีในชื่อของ "จระเข้" โดยอันดับนี้ปรากฏขึ้นมาบนโลกมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียส (84 ล้านปีมาแล้ว) จนถึงปัจจุบัน เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ มีแผ่นแข็งและหนาปกคลุมลำตัวคล้ายเกล็ด แผ่นแข็งที่ปกคลุมลำตัวด้านหลังมีกระดูกชิ้นใหญ่อยู่ในชั้นหนังซึ่งในหลายชนิดมีกระดูกในชั้นหนังทางด้านท้องด้วย แผ่นแข็งของวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีแอ่งทำหน้าที่รับรู้ความรู้สึกสัมผัสได้ ส่วนของปลายหัวยื่นยาวและมีฟันอยู่ในแอ่งของขากรรไกร ตามีแผ่นหนังโปร่งใสคลุมทับขณะดำน้ำ หางมีขนาดใหญ่ ขามีขนาดใหญ่แต่สั้นและแข็งแรงและมีแผ่นหนังเรียกว่าพังผืดยิดติดระหว่างนิ้ว ใช้ในการว่ายน้ำ ในวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีต่อมขจัดเกลืออยู่บนลิ้น เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ แบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ (ดูในตาราง) ปัจจุบันพบทั้งหมด 25 ชนิด แต่ในบางข้อมูลอาจจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกันหมด แต่แบ่งออกมาเป็นวงศ์ย่อย โดยเฉพาะความสัมพันธ์กันระห่างสกุล Tomistoma กับ สกุล Gavialis เพราะการวิเคราะห์ทางกายภาคจัดว่า Tomistoma นั้นอยู่ในวงศ์ Crocodylidae แต่การวิเคราะห์ทางโมเลกุล พบว่าใกล้เคียงกับสกุล Gavialis ที่อยู่ในวงศ์ Gavialidae มากกว่า (ในบางข้อมูลอาจจะยังจัดให้อยู่ในวงศ์ Crocodylidae) เป็นสัตว์กินเนื้อ ที่หากินในน้ำเป็นหลัก จึงมีสภาพของร่างกายใช้ชีวิตได้ดีเมื่ออยู่ในน้ำ กล่าวคือ ช่องเปิดจมูกอยู่ทางด้านบนตรงส่วนปลายสุดของส่วนหัวที่ยื่นยาวและช่องเปิดจมูกมีแผ่นลิ้นปิดได้อยู่ใต้น้ำ อุ้งปากมีเพดานปากทุติยภูมิเจริญขึ้นมาจึงแยกปากออกจากโพรงจมูกได้สมบูรณ์ โพรงจมูกทางด้านท้ายสุดของเพดานปากทุติยภูมิมีแผ่นลิ้นปิดเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้สามารถหายใจได้เมื่ออยู่ในน้ำขณะที่คาบอาหารอยู่ นอกจากนี้แล้วยังมีแผ่นเยื่อแบ่งแยกช่องอกออกจากช่องท้องซึ่งแผ่นเยื่อนี้ทำหน้าที่เหมือนกะบังลมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่เจริญจากเนื้อเยื่อที่ต่างกัน ปอดจึงมีถุงลมที่เจริญกว่าปอดของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับอื่น การแลกเปลี่ยนก๊าซจึงมีประสิทธิภาพสูงกว่า หัวใจมี 4 ห้องและมีลักษณะโครงสร้างคล้ายคลึงกับหัวใจของสัตว์ปีก ซึ่งเป็นสัตว์ในชั้นที่วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานจำพวกไดโนเสาร์เช่นกัน แต่การปะปนกันของเลือดยังคงเกิดขึ้นบ้างทางช่องตรงตำแหน่งที่หลอดเลือดแดงซีสทีมิกซ้ายและหลอดเลือดแดงซิสทีมิกขวาทอดข้ามกัน และสามารถควบคุมการไหลเวียนของเลือดให้ไปเฉพาะสมองได้ขณะดำน้ำ ขณะอยู่บนบกแม้ไม่คล่องเท่าอยู่ในน้ำ แต่ก็เดินหรือวิ่งได้ดี โดยจะใช้ขายกลำตัวขึ้น และมีรายงานว่า จระเข้น้ำจืดออสเตรเลีย (Crocodylus johnsoni) สามารถกระโดดเมื่ออยู่บนบกได้ด้วย ภาพของสัตว์ในอันดับจระเข้ชนิดต่าง ๆ เมื่อเทียบกับมนุษย์ (สีแดง & สีส้ม-สูญพันธุ์ไปแล้ว) ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ในดินหรือทรายริมตลิ่งที่ปะปนด้วยพืชจำพวกหญ้าหรือวัชพืชต่าง ๆ ปกคลุม หรือในบางพื้นที่อาจวางไข่ในแหล่งน้ำหรือพื้นที่เปิดโล่ง ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแลไข่จนกระทั่งฟักออกมา ซึ่งมีความรักและผูกพันต่อลูกมาก ซึ่งเป็นลักษณะการดูแลลูกของสัตว์ในอันดับอาร์โคซอร์ เช่นเดียวกับสัตว์ปีกและไดโนเสาร์ การกำหนดเพศของตัวอ่อนขึ้นอยู่กับปัจจัยทางอุณหภูมิ อาหารส่วนมากเป็นสัตว์น้ำ แต่ก็อาจจะกินสัตว์อย่างอื่นหรือแม้กระทั่งสัตว์ที่ใหญ่กว่าได้ โดยมีมักหากินในเวลากลางคืน โดยลากลงไปในน้ำและใช้วิธีกดให้เหยื่อจมน้ำตายก่อนแล้วจึงกิน นับเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีประสิทธิภาพในการล่าเหยื่อสูงมากจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก และพบได้จนถึงแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าโกงกาง แม้ส่วนใหญ่จะอาศัยและหากินในน้ำจืดเป็นหลักก็ตาม.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและอันดับจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

อาการปวดต่างที่

อาการปวดต่างที่ (Referred pain, reflective pain) เป็นความเจ็บปวดต่างที่จากส่วนร่างกายซึ่งได้รับสิ่งเร้าอันก่อความเจ็บปวด ตัวอย่างหนึ่งก็คือ อาการปวดเค้นหัวใจ (angina pectoris) ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (หัวใจวาย) แต่มักจะทำให้รู้สึกปวดคอ ไหล่ และหลัง ไม่ใช่ที่อกซึ่งเป็นแหล่งปัญหา แต่องค์การมาตรฐานนานาชาติ (รวมทั้ง International Association for the Study of Pain) ก็ยังไม่ได้นิยามคำนี้ ดังนั้น ผู้เขียนต่าง ๆ อาจใช้คำโดยความหมายที่ไม่เหมือนกัน มีการกล่าวถึงอาการเช่นนี้ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1880 แล้ว แม้จะมีวรรณกรรมในเรื่องนี้เขียนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่กลไกการทำงานของมันก็ยังไม่ชัดเจน ถึงจะมีสมมติฐานต่าง.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและอาการปวดต่างที่ · ดูเพิ่มเติม »

อาหารแมว

แมวกำลังกินอาหารแมวชนิดเม็ด อาหารแมว คืออาหารที่ผลิตหรือปรุงแต่งขึ้นให้แมวกิน แมวมีความต้องการสารอาหารเฉพาะทาง ในกระบวนการผลิตนั้น สารอาหารบางอย่าง เช่น วิตามินหลายชนิด และกรดอะมิโน ลดคุณภาพได้จากอุณหภูมิ ความดัน และการปรุงแต่งด้วยสารเคมี ดังนั้นสารอาหารนี้จึงถูกเพิ่มหลังผลิตเสร็จเพื่อไม่ให้แมวขาดสารอาหาร | Perry T. What's really for dinner? The truth about commercial pet food.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและอาหารแมว · ดูเพิ่มเติม »

อินซูลิน

ผลึกของอินซูลิน อินซูลิน (อังกฤษ: Insulin) มาจากภาษาละติน insula หรือ "island" - "เกาะ" เนื่องจากการถูกสร้างขึ้นบน "ไอส์เล็ตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์" ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ในตับอ่อน) คือฮอร์โมนชนิดอนาโบลิกโพลีเพบไทด์ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสารตัวกระทำในคาร์โบไฮเดรทชนิดโฮมีโอสตาซิส มีผลต่อการเผาผลาญไขมันเปลี่ยนการทำงานของตับให้ทำหน้าที่เก็บหรือปลดปล่อยกลูโคส และทำให้เกิดการทำงานของลิพิด (ไขมัน) ในเลือดและในเนื้อเยื่ออื่น เช่นไขมันและกล้ามเนื้อ ปริมาณของอินซูลินที่เวียนอยู่ในร่างกายมีผลกระทบสูงมากในวงกว้างในทุกส่วนของร่างกาย ในวงการแพทย์ อินซูลินถูกใช้ในการรักษาโรคเบาหวานบางชนิด คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 1 ต้องอาศัยอินซูลินจากนอกร่างกาย (เกือบทั้งหมดใช้วิธีฉีดเข้าใต้ผิวหนัง) เพื่อช่วยให้รอดชีวีตจากการขาดฮอร์โมน คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 จะต่อต้านอินซูลิน หรือ ผลิตอินซูลินน้อย หรือทั้งสองอย่าง ผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 บางรายต้องการอินซูลินเฉพาะเมื่อยาอื่นที่ใช้รักษาอยู่ไม่เพียงพอในการควบคุมระดับกลูโคสในเลือด อินซูลิน ประกอบด้วยกรดอะมิโน 51 ชนิดรวมกันอยู่ และมีน้ำหนักโมเลกุล 5808 Da โครงสร้างของอินซูลิน ผันแปรเล็กน้อยตามชนิดของสัตว์ อินซูลินที่มีแหล่งมาจากสัตว์จะแตกต่างกันในเชิงขีดความสามารถในการควบคุมพลังการทำงาน (เช่น การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท) ในมนุษย์ อินซูลินจากสุกรมีความคล้ายคลึงกับอินซูลินของมนุษย์มากที.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและอินซูลิน · ดูเพิ่มเติม »

องคชาตของมนุษย์

องคชาตของมนุษย์เป็นอวัยวะสืบพันธุ์เพศชายภายนอก และยังทำหน้าที่เป็นท่อปัสสาวะ มีส่วนหลักคือ ส่วนราก (Root / Radix) ส่วนลำตัว (Corpus) และส่วนเนื้อเยื่อบุผิวขององคชาต รวมถึงหนังบริเวณก้าน และหนังหุ้มปลายซึ่งห่อหุ้มส่วนหัวขององคชาต (Glans) ด้วย ส่วนลำตัวขององคชาตเกิดจากเนื้อเยื่อสามต้น ประกอบด้วยกล้ามเนื้อคอร์ปัส คาเวอร์โนซัม (Corpus cavernosum) สองมัดที่ด้านบน และกล้ามเนื้อคอร์ปัส สปอนจิโอซัม (Corpus spongiosum) ซึ่งอยู่ระหว่างกลางของกล้ามเนื้อส่วนแรก ท่อปัสสาวะของมนุษย์เพศชายจะผ่านกลางต่อมลูกหมาก ที่ซึ่งเชื่อมกับท่อฉีดอสุจิ และจากนั้นจะผ่านไปที่องคชาต โดยท่อปัสสาวะจะทอดตัวข้ามกล้ามเนื้อคอร์ปัส สปอนจิโอซัม และออกสู่รูเปิดบริเวณรูปัสสาวะ (Meatus) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณปลายของส่วนหัวองคชาต โดยทำหน้าที่เป็นทางผ่านของทั้งปัสสาวะและการหลั่งของน้ำอสุจิ การพัฒนาขององคชาตโดยส่วนใหญ่จะมาจากเนื้อเยื่อเดียวกันในตัวอ่อน เช่นเดียวกับคริตอริสของเพศหญิง ผิวหนังโดยรอบขององคชาตและท่อปัสสาวะ ก็มาจากเนื้อเยื่อตัวอ่อนเดียวกันกับที่จะพัฒนาไปเป็นแคมเล็กของเพศหญิง การแข็งตัวคือการแข็งและสูงขึ้นขององคชาต ซึ่งจะเกิดขึ้นในขณะมีอารมณ์ทางเพศ แต่ก็ยังสามารถเกิดขึ้นในขณะที่ไม่มีอารมณ์ทางเพศได้เช่นกัน รูปแบบการเปลี่ยนแปลงส่วนหัวองคชาตที่พบได้บ่อยที่สุดคือ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ โดยเป็นการนำส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดของหนังหุ้มปลายออกไปด้วยเหตุผลทางวัฒนธรรม ศาสนา และไม่บ่อยนักด้วยเหตุผลทางการแพทย์ ซึ่งยังมีการถกเถียงกันในเรื่องของการขลิบหนังหุ้มปลายโดยรอบ ขณะที่ผลจากการศึกษาที่แตกต่างกัน ความคิดเห็นส่วนใหญ่ระบุว่าขนาดขณะแข็งตัวขององคชาตโดยความยาวอยู่ที่ประมาณ 12.9–15 ซม.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและองคชาตของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์

อร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (Thyroid-stimulating hormone ตัวย่อ TSH หรือรู้จักกันว่า thyrotropin, thyrotropic hormone, hTSH จาก human TSH) เป็นฮอร์โมนต่อมใต้สมองที่กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้ผลิตไทรอกซิน (thyroxine, T4) และจากนั้น ไทรไอโอโดไทโรนีน (triiodothyronine, T3) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นกระบวนการเมแทบอลิซึมในเนื้อเยื่อเกือบทุกอย่างในร่างกาย TSH เป็นฮอร์โมนไกลโคโปรตีนที่สังเคราะห์โดยและหลั่งออกจากเซลล์สร้างฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (thyrotrope) ในต่อมใต้สมองด้านหน้า (anterior pituitary gland) ซึ่งควบคุมหน้าที่การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ โดยมีนักวิชาการคู่หนึ่ง (Bennett M. Allen, Philip E. Smith) พบว่า ต่อมใต้สมองมีสารกระตุ้นต่อมไทรอยด์เป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ผลทางประสาทชีวภาพของการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายมีผลมากต่อโครงสร้าง หน้าที่การทำงาน และการรู้คิดของสมอง งานวิจัยในมนุษย์จำนวนมากแสดงว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิก (จากเบาถึงหนักที่ใช้กระบวนการสร้างพลังงานโดยออกซิเจน) โดยอย่างน้อย 30 นาทีทุกวันปรับปรุงการทำงานของสมอง โดยปรับหน้าที่การรู้คิด (cognitive function) การแสดงออกของยีน และสภาพพลาสติกทางประสาท (neuroplasticity) และพฤติกรรมที่มีผลดี ผลที่ได้ในระยะยาวรวมทั้งการเกิดเซลล์ประสาท (neurogenesis) ที่เพิ่มขึ้น, การทำงานทางประสาทที่ดีขึ้น (เช่นในการส่งสัญญาณแบบ และ BDNF), การรับมือกับความเครียดที่ดีขึ้น, การควบคุมพฤติกรรมที่ดีขึ้น, ความจำชัดแจ้ง (declarative) ความจำปริภูมิ (spatial) ความจำใช้งาน (working) ที่ดีขึ้น, และการปรับปรุงทางโครงสร้างและหน้าที่ของโครงสร้างสมองและวิถีประสาทที่สัมพันธ์กับการควบคุมการรู้คิดและความจำ ผลการออกกำลังกายต่อความรู้คิดอาจช่วยการเรียนหนังสือในนักเรียนนักศึกษา เพิ่มผลิตผลการทำงาน ช่วยรักษาการทำงานของสมองในคนแก่ ป้องกันหรือบำบัดความผิดปกติทางประสาทแบบต่าง ๆ และปรับปรุงคุณภาพชีวิตโดยทั่วไป คนที่ออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอ (เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายน้ำ และขี่จักรยาน) ได้คะแนนดีกว่าเมื่อตรวจสอบการทำงานทางประสาทจิตวิทยาที่วัดหน้าที่การรู้คิดบางอย่าง เช่น การควบคุมการใส่ใจ การหยุดพฤติกรรมอัตโนมัติเพื่อทำสิ่งที่ได้ผลกว่า (inhibitory control) ความยืดหยุ่นทางการรู้คิด ความจำใช้งานในด้านการอัพเดตและความจุ ความจำชัดแจ้ง ความจำปริภูมิ และความเร็วในการประมวลข้อมูล การออกกำลังกายแบบแอโรบิกยังเป็นยาแก้ซึมเศร้าและยาทำให้ครึ้มใจอีกด้วย ดังนั้น การออกกำลังกายให้สม่ำเสมอจะปรับปรุงอารมณ์และความภูมิใจในตนเอง (self-esteem) ให้ดีขึ้นโดยทั่วไป.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและผลทางประสาทชีวภาพของการออกกำลังกาย · ดูเพิ่มเติม »

ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว

ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว คือ ผลไม้ที่มีเปลือกแข็งห่อหุ้มเนื้อเยื่อ (เนื้อผลไม้) และเมล็ดพันธุ์ไว้ภายใน โดยเมื่อแบ่งตามชนิดของผลไม้ตามเปลือกและการแตกของผลแล้วได้ 2 ประเภท คือ ผลแห้งและผลไม่แตก เช่น มะพร้าว ทุเรียน เป็นต้น และอีกประเภทหนึ่ง คือ ผลสดที่มีเปลือกหนาและเหนียว เช่น แตงโม แคนตาลูป เป็นต้น.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว · ดูเพิ่มเติม »

ผำ

แหน, ไข่น้ำ, ไข่ขำ หรือ ผำ เป็นพืชมีดอกที่มีขนาดเล็กที่สุด จัดอยู่ในวงศ์ Lemnaceae สกุล Wolffia อาศัยลอยอยู่บนผิวน้ำ อาจลอยอยู่เป็นกลุ่มล้วน ๆ หรือลอยปนกับพืชชนิดอื่น ๆ เช่น แหน แหนแดง ก็ได้ มีรูปร่างรี ๆ ค่อนข้างกลม มีขนาดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร แต่ละต้นมีสีเขียว ไม่มีราก ไม่มีใบ ต้นประกอบด้วยเซลล์ชนิดพาเรงคิมาเป็นส่วนใหญ่ มีช่องอากาศแทรกอยู่ระหว่างเซลล์ ทำให้เห็นเป็นฟองน้ำ และช่วยให้มีการลอยตัวอยู่ในน้ำได้ ไม่มีเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่นำน้ำและอาหาร มีช่องให้อากาศเข้าออกได้อยู่ทางบนของต้น ไข่แหนกระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ในทวีปแอฟริกากลาง ทางใต้ในเกาะมาดากัสการ์ และในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะบริเวณเขตศูนย์สูตรใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังพบในประเทศบราซิล ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศออสเตรเลียด้ว.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและผำ · ดูเพิ่มเติม »

จอตา

ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เรตินา หรือ จอตา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" หรือ จอประสาทตา (retina, พหูพจน์: retinae, จากคำว่า rēte แปลว่า ตาข่าย) เป็นเนื้อเยื่อมีลักษณะเป็นชั้น ๆ ที่ไวแสง บุอยู่บนผิวด้านในของดวงตา การมองเห็นภาพต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นได้โดยอาศัยเซลล์ที่อยู่บนเรตินา เป็นตัวรับและแปลสัญญาณแสงให้กลายเป็นสัญญาณประสาทหรือกระแสประสาท ส่งขึ้นไปแปลผลยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพต่างๆได้ คือ กลไกรับแสงของตาฉายภาพของโลกภายนอกลงบนเรตินา (ผ่านกระจกตาและเลนส์) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับฟิลม์ในกล้องถ่ายรูป แสงที่ตกลงบนเรตินาก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางเคมีและไฟฟ้าที่เป็นไปตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การส่งสัญญาณประสาทโดยที่สุด ซึ่งดำเนินไปยังศูนย์ประมวลผลทางตาต่าง ๆ ในสมองผ่านเส้นประสาทตา ในสัตว์มีกระดูกสันหลังในช่วงพัฒนาการของเอ็มบริโอ ทั้งเรตินาทั้งเส้นประสาทตามีกำเนิดเป็นส่วนหนึ่งของสมอง ดังนั้น เรตินาจึงได้รับพิจารณาว่าเป็นส่วนของระบบประสาทกลาง (CNS) และจริง ๆ แล้วเป็นเนื้อเยื่อของสมอง"Sensory Reception: Human Vision: Structure and function of the Human Eye" vol.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและจอตา · ดูเพิ่มเติม »

จุลพยาธิวิทยา

ลพยาธิวิท.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและจุลพยาธิวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ธีโอดอร์ โมเรล

ีโอดอร์ กิลเบิร์ต โมเรล (22 กรกฎาคม 1886 – 26 พฤษภาคม 1948) เป็นแพทย์ชาวเยอรมันซึ่งเป็นที่รู้จักคือเป็นแพทย์ส่วนตัวของอดอล์ฟ ฮิตเลอร.โมเรลเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในประเทศเยอรมนีสำหรับการรักษาแบบนอกคอกของ.เขาได้ช่วยเหลือฮิตเลอร์เป็นประจำวันในสิ่งที่เขาทำเป็นเวลาหลายปีและอยู่เคียงข้างกับฮิตเลอร์จนถึงช่วงสุดท้ายของยุทธการที่เบอร์ลิน ธีโอดอร์ โมเรล เป็นแพทย์ที่ได้สั่งจ่ายยาให้กับฮิตเลอร์ทั้งหมดเพื่อที่จะรักษาโรคหลายโรคที่ฮิตเลอร์เป็นอยู่และฮิตเลอร์ก็ทานยาหลายเม็ดต่อวัน ซึ่งยาที่โมเรลได้จ่ายยานั้นจะมีดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและธีโอดอร์ โมเรล · ดูเพิ่มเติม »

ขิง

ง เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปหอกเกลี้ยงๆ กว้าง 1.5 - 2 ซม.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและขิง · ดูเพิ่มเติม »

ข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม

้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม (Genetically modified food controversies) เป็นความขัดแย้งกันในเรื่องการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์อย่างอื่น ๆ ที่ทำมาจากพืชดัดแปรพันธุกรรม ไม่ใช่จากพืชปลูกโดยวิธีตามที่เคยทำมาก่อน (คือแบบธรรมดา) และในเรื่องการใช้พันธุวิศวกรรมแบบอื่น ๆ ในกระบวนการผลิตอาหาร เป็นความขัดแย้งกันระหว่างผู้บริโภค เกษตรกร บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ องค์กรควบคุมของรัฐ องค์การนอกภาครัฐ และนักวิทยาศาสตร์ ข้อโต้เถียงสำคัญรวมทั้ง.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ความจำอาศัยเหตุการณ์

วามจำอาศัยเหตุการณ์ (episodic memory) เป็นความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวประวัติของตนเอง (รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่ อารมณ์ความรู้สึกที่มี และเรื่องที่เกี่ยวข้องกันอื่น ๆ) ที่สามารถระลึกได้ภายใต้อำนาจจิตใจและนำมากล่าวได้อย่างชัดแจ้ง เป็นความจำรวมประสบการณ์ต่าง ๆ ของตนในอดีต แต่ละเหตุการณ์เกิดขึ้นที่วันเวลาหนึ่ง ๆ และในสถานที่หนึ่ง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราระลึกถึงงานเลี้ยง (หรือการทำบุญ) วันเกิดเมื่ออายุ 6 ขวบได้ นี่เป็นความจำอาศัยเหตุการณ์ เป็นความจำที่ยังให้เราสามารถเดินทางกลับไปในกาลเวลา (ในใจ) เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่วันเวลานั้น ๆ และสถานที่นั้น ๆ ความจำอาศัยความหมาย (semantic memory) และความจำอาศัยเหตุการณ์รวมกันจัดอยู่ในประเภทความจำชัดแจ้ง (explicit memory) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความจำเชิงประกาศ (declarative memory) ซึ่งเป็นหนึ่งในสองประเภทหลัก ๆ ของความจำ (โดยอีกประเภทหนึ่งเป็นความจำโดยปริยาย) นักจิตวิทยาชาวแคนาดาชื่อว่าเอ็นเด็ล ทัลวิง ได้บัญญัติคำว่า "Episodic Memory" ไว้ในปี..

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและความจำอาศัยเหตุการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ความเจ็บปวด

วามเจ็บปวด (Pain) เป็นความทุกข์ทางกายที่เกิดเพราะสิ่งเร้าที่รุนแรงหรืออันตราย แต่เพราะมันเป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน ที่เป็นอัตวิสัย การนิยามมันจึงเป็นเรื่องยาก องค์การมาตรฐานสากล International Association for the Study of Pain (IASP) ได้กำหนดนิยามที่ใช้อย่างกว้างขวางว่า "ความเจ็บปวดเป็นประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสและทางอารมณ์ ที่สัมพันธ์กับโอกาสหรือการเกิดขึ้นจริง ๆ ของความเสียหายในเนื้อเยื่อ หรือที่บอกโดยใช้คำซึ่งกล่าวถึงความเสียหายเช่นนั้น" Derived from ในการวินิจฉัยทางการแพทย์ ความเจ็บปวดพิจารณาว่าเป็นอาการของโรคที่เป็นเหตุ ความเจ็บปวดปกติจะจูงใจให้บุคคลถอยตัวออกจากสถานการณ์ที่ทำให้เสียหาย ให้ปกป้องรักษาอวัยวะที่บาดเจ็บเมื่อกำลังหาย และให้หลีกเลี่ยงประสบการณ์คล้าย ๆ กันในอนาคต ความเจ็บปวดโดยมากจะหายไปเองเมื่อหมดสิ่งเร้าอันตรายและเมื่อแผล/การบาดเจ็บหายดี แต่ก็อาจคงยืนต่อไปได้ ความเจ็บปวดบางอย่างสามารถเกิดแม้เมื่อไม่มีสิ่งเร้าอันตราย ไม่มีความเสียหาย และไม่มีโรค ในประเทศพัฒนาแล้ว ความเจ็บปวดเป็นเหตุสามัญที่สุดให้คนไข้หาหมอ มันเป็นอาการสามัญที่สุดในโรคต่าง ๆ และสามารถบั่นทอนคุณภาพและความเป็นอยู่ในชีวิตของคนไข้ ยาแก้ปวดธรรมดา ๆ ใช้ได้ในกรณี 20-70% ปัจจัยทางจิตอื่น ๆ รวมทั้งการได้ความช่วยเหลือจากสังคม การสะกดจิต ความตื่นเต้น หรือเครื่องล่อความสนใจต่าง ๆ มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อความทุกข์เนื่องจากความเจ็บปว.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและความเจ็บปวด · ดูเพิ่มเติม »

ความเจ็บปวดที่เกิดจากจิตใจ

วามเจ็บปวดที่เกิดจากจิตใจ หรือ อาการปวดเหตุจิตใจ (Psychogenic pain, psychalgia) เป็นความเจ็บปวดทางกายที่ปัจจัยทางจิตใจ ทางอารมณ์ และทางพฤติกรรม อาจเป็นเหตุ เป็นตัวเพิ่ม หรือเป็นตัวเกื้อกูลให้คงยืน การปวดศีรษะ ปวดหลัง และปวดท้อง เป็นรูปแบบซึ่งสามัญที่สุดของอาการปวดเหตุจิตใจ และอาจเกิดกับบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตแม้จะน้อย แต่เกิดบ่อยกว่ากับบุคคลที่สังคมไม่ยอมรับ อกหัก เศร้าเสียใจ หรือที่ผ่านเหตุการณ์ซึ่งสร้างความทุกข์อื่น ๆ คนไข้มักมีมลทินทางสังคม เพราะทั้งแพทย์พยาบาลและบุคคลทั่วไป มักคิดว่าความเจ็บปวดแบบนี้ไม่จริง แต่ผู้ชำนาญการจะพิจารณาว่า มันไม่ได้จริงหรือเจ็บน้อยกว่าความเจ็บปวดที่มีเหตุอื่น ๆ องค์กรสากล International Association for the Study of Pain (IASP) นิยามความเจ็บปวดว่า "เป็นประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสและทางอารมณ์ ที่สัมพันธ์กับโอกาสหรือการเกิดขึ้นจริง ๆ ของความเสียหายในเนื้อเยื่อ หรือที่บอกโดยใช้คำซึ่งกล่าวถึงความเสียหายเช่นนั้น" Derived from (เพิ่มการเน้น) โดยมีหมายเหตุดังต่อไปนี้ แพทยศาสตร์จัด psychogenic pain หรือ psychalgia ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของความเจ็บปวดเรื้อรัง (chronic pain) ในชื่อว่า "persistent somatoform pain disorder" (โรคเจ็บปวดคงยืนที่มีอาการทางกาย) หรือ functional pain syndrome (อาการเจ็บปวดที่มีผลต่อสรีรภาพหรือจิตใจ) เหตุอาจสัมพันธ์กับความเครียด ความขัดแย้งทางจิตใจที่ไม่ได้ระบาย ปัญหาจิตใจ-สังคม และความผิดปกติทางจิตต่าง ๆ ผู้ชำนาญการบางพวกเชื่อว่า ความเจ็บปวดเรื้อรังชนิดนี้ มีเพื่อเป็นเครื่องล่อใจเพื่อกันอารมณ์ที่เป็นอันตราย เช่นความโกรธและความเดือดดาล ไม่ให้ปรากฏ แต่ก็เป็นเรื่องขัดแย้งกันถ้าจะสรุปว่า ความเจ็บปวดเรื้องรังล้วนเกิดจากเหตุทางจิตใจ การรักษาอาจรวมจิตบำบัด ยาแก้ซึมเศร้า ยาระงับปวด และวิธีการรักษาอื่น ๆ ที่ช่วยการเจ็บปวดเรื้อรังโดยทั่ว ๆ ไป.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและความเจ็บปวดที่เกิดจากจิตใจ · ดูเพิ่มเติม »

คัพภวิทยา

ตัวอ่อนระยะมอรูลา (Morula), ระยะ 8 เซลล์ '''1''' - มอรูลา (morula), '''2''' - บลาสตูลา (blastula) เอ็มบริโอมนุษย์ อายุครรภ์ 6 สัปดาห์หลังประจำเดือนครั้งสุดท้าย คัพภวิทยา หรือ วิทยาเอ็มบริโอ (Embryology) เป็นการศึกษาการเจริญของเอ็มบริโอ เอ็มบริโอคือขั้นหนึ่งของการเจริญของสิ่งมีชีวิตก่อนคลอดหรือออกจากไข่ หรือในพืชคือในระยะก่อนการงอก (germination) คัพภวิทยาหมายถึงการเจริญของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว (ไซโกต) และมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ หลังจากระยะแยก (cleavage) เซลล์ที่กำลังแบ่งตัว หรือมอรูลา (morula) จะกลายมาเป็นลูกบอลกลวง หรือบลาสตูลา (blastula) ซึ่งมีการเจริญของรูหรือช่องที่ปลายด้านหนึ่ง ในสัตว์ บลาสตูลาจะมีการเจริญแบ่งได้ออกเป็น 2 ทาง ทำให้สามารถแบ่งสัตว์ในอาณาจักรสัตว์ออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือหากมีการเจริญของรูในบลาสตูลา (บลาสโตพอร์ (blastopore)) กลายเป็นปากของสัตว์ จะเรียกว่าพวกโพรโตสโตม (protostome) แต่หากรูนั้นเจริญเป็นทวารหนัก จะเรียกว่าพวกดิวเทอโรสโตม (deuterostome) สัตว์พวกโพรโตสโตมได้แก่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลง หนอน และพวกหอยกับปลาหมึก ในขณะที่พวกดิวเทอโรสโตมได้แก่สัตว์ที่วิวัฒนาการสูงเช่นสัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrates) บลาสตูลาจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า แกสตรูลา (gastrula) '''1''' - บลาสตูลา (blastula), '''2''' - แกสตรูลา (gastrula) และบลาสโตพอร์ (blastopore); '''สีส้ม'''แทนเอ็กโทเดิร์ม, '''สีแดง'''แทนเอนโดเดิร์ม แกสตรูลาและบลาสโตพอร์จะเจริญไปเป็นชั้นต่างๆ 3 ชั้น (germ layers) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอวัยวะและเนื้อเยื่อในร่างกายทั้งหม.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและคัพภวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

คาร์นิทีน

ร์นิทีน เป็นสารประกอบจตุรภูมิของแอมโมเนียมที่สังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโนสองชนิดคือ ไลซีนและเมธไทโอนีน ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตคาร์นิทีนจะลำเลียงกรดไขมันจากไซโตซอลเข้าสู่ไมโทคอนเดรียระหว่างการสลายของลิพิด (ไขมัน) เพื่อใช้ในการเผาผลาญพลังงาน คาร์นิทีนถูกใช้เป็นอาหารเสริมกันอย่างกว้างขวาง เดิมคาร์นิทีนพบว่าเป็นปัจจัยในการเจริญเติบโตของหนอนนกและมีอยู่บนฉลากวิตามินบี คาร์นิทีนมีอยู่ 2 stereoisomers: Active form คือ L-carnitine ขณะที่ inactive form คือ D-carnitine.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและคาร์นิทีน · ดูเพิ่มเติม »

คางคกซูรินาม (สกุล)

งคกซูรินาม (Surinam toad) เป็นสกุลของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Aruna) ในวงศ์กบเล็บ (Pipidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Pipa (/ปี-ปา/) มีลักษณะสำคัญ คือ ลำตัวแบนราบเหมือนใบไม้ ไม่มีเล็บเหมือนสกุลอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน มีเส้นข้างลำตัวที่เจริญเป็นอย่างดี เนื่องจากใช้ชีวิตและหากินตลอดในน้ำ มีพฤติกรรมการขยายพันธุ์ ด้วยการที่ตัวผู้จะกอดรัดตัวเมียในน้ำได้หมุนตัวและกลับตัวเพื่อให้ไข่ที่รับได้การปฏิสนธิแล้วขึ้นไปติดอยู่กับผิวของตัวเมีย ต่อมาเนื้อเยื่อของผิวหนังบนหลังของตัวเมียจะแปรสภาพและเจริญขึ้นมาปกคลุมไข่แต่ละฟอง เมื่อไข่พัฒนาเป็นเอ็มบริโอแล้วจะเจริญภายในไข่ที่อยู่บนหลัง เมื่อฟักออกเป็นลูกอ๊อดแล้ว จึงจะแตกตัวออกจากหลังแม่ และใช้เวลาอีกระยะหนึ่งจึงจะพัฒนาเหมือนตัวเต็มวัย ยกเว้นในชนิดคางคกซูรินาม (Pipa pipa) ที่ลูกอ๊อดจะยังอยู่บนหลังแม่ไปจนกว่าจะกลายสภาพเหมือนตัวเต็มวัย ถูกจำแนกออกเป็น 7 ชนิด กระจายพันธุ์อยู่ในทวีปอเมริกาใต้.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและคางคกซูรินาม (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ตัวกระตุ้น

ในสรีรวิทยา ตัวกระตุ้น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stimulus ว่า "ตัวกระตุ้น" หรือ "สิ่งเร้า" หรือ ตัวเร้า หรือ สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้น (stimulus, พหูพจน์ stimuli) เป็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ตรวจจับได้โดยสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะรับรู้ความรู้สึก โดยปกติ เมื่อตัวกระตุ้นปรากฏกับตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ก็จะก่อให้เกิด หรือมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของเซลล์ ผ่านกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้สามารถรับข้อมูลทั้งจากภายนอกร่างกาย เช่นตัวรับสัมผัส (touch receptor) ในผิวหนัง หรือตัวรับแสงในตา และทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ตัวรับสารเคมี (chemoreceptors) และตัวรับแรงกล (mechanoreceptors) ตัวกระตุ้นภายในมักจะเป็นองค์ประกอบของระบบการธำรงดุล (homeostaticภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นคุณสมบัติของระบบหนึ่ง ๆ ที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในของระบบ และมักจะดำรงสภาวะที่สม่ำเสมอและค่อนข้างจะคงที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด control system) ของร่างกาย ส่วนตัวกระตุ้นภายนอกสามารถก่อให้เกิดการตอบสนองแบบทั่วระบบของร่างกาย เช่นการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight-or-flight response) การจะตรวจพบตัวกระตุ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับของตัวกระตุ้น คือต้องเกินระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน (absolute thresholdในประสาทวิทยาและจิตฟิสิกส์ ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนสัมบูรณ์ (absolute threshold) เป็นระดับที่ต่ำสุดของตัวกระตุ้นที่จะตรวจพบได้ แต่ว่า ในระดับนี้ สัตว์ทดลองบางครั้งก็ตรวจพบตัวกระตุ้น บางครั้งก็ไม่พบ ดังนั้น การจำกัดความอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับของตัวกระตุ้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจพบได้ 50% ในโอกาสทั้งหมดที่ตรวจ) ถ้าสัญญาณนั้นถึงระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน ก็จะมีการส่งสัญญาณนั้นไปยังระบบประสาทกลาง ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมสัญญาณต่าง ๆ และตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอย่างไร แม้ว่าร่างกายโดยสามัญจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น แต่จริง ๆ แล้ว ระบบประสาทกลางเป็นผู้ตัดสินใจในที่สุดว่า จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นนั้นหรือไม.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและตัวกระตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

ตัวกระตุ้นอันตราย

ตัวกระตุ้นอันตราย (noxious stimulus) เป็นปรากฏการณ์ ที่ทำให้เกิดความเสียหายในเนื้อเยื่อจริง ๆ หรืออาจจะทำให้เกิดความเสียหายในเนื้อเยื่อได้ เป็นสิ่งที่จะต้องมีก่อนที่โนซิเซ็ปชั่น (คือการส่งสัญญาณประสาทสื่อว่า มีตัวกระตุ้นอันตราย) จะเกิดขึ้นได้ และโนซิเซ็ปชั่นก็จะต้องมี ก่อนที่ความเจ็บปวดจะะเกิดขึ้นได้ ตัวกระตุ้นอันตรายอาจจะเป็นแบบเชิงกล (เช่นการหนีบ การหยิก หรือการทำเนื้อเยื่อให้ผิดรูป) เชิงเคมี (เช่นการสัมผัสกระทบกรดหรือสารระคายเคืองอย่างอื่น) หรือเชิงอุณหภูมิ (คือมีอุณหภูมิสูงหรือต่ำ ร้อนหรือเย็น) มีความเสียหายของเนื้อเยื่อบางประเภทที่ไม่มีตัวรับความรู้สึกใด ๆ ตรวจจับได้ จึงไม่เป็นเหตุของความเจ็บปวด ดังนั้น ตัวกระตุ้นอันตรายทั้งหมด จึงไม่ใช่เป็นตัวกระตุ้นที่เหมาะสม (adequate stimulus) ของโนซิเซ็ปเตอร์ ตัวกระตุ้นที่เหมาะสมของโนซิเซ็ปเตอร์จึงเรียกว่า ตัวกระตุ้นโนซิเซ็ปเตอร์ (nociceptive stimulus) ซึ่งมีนิยามว่าเป็นปรากฏการณ์ ที่ทำให้เกิดความเสียหายในเนื้อเยื่อจริง ๆ หรืออาจจะทำให้เกิดความเสียหายในเนื้อเยื่อได้ เป็นปรากฏการณ์ที่โนซิเซ็ปเตอร์ทำการถ่ายโอนในสรีรวิทยา การถ่ายโอน (Transduction) คือการเปลี่ยนตัวกระตุ้นแบบหนึ่งไปยังอีกแบบหนึ่ง การถ่ายโอนในระบบประสาทมักจะหมายถึงการส่งสัญญาณเพื่อแจ้งการตรวจพบตัวกระตุ้น โดยที่ตัวกระตุ้นเชิงกล ตัวกระตุ้นเชิงเคมี หรือเชิงอื่น ๆ ถูกเปลี่ยนเป็นศักยะงานประสาท แล้วส่งไปทางแอกซอน ไปสู่ระบบประสาทกลางซึ่งเป็นศูนย์รวบรวมสัญญาณประสาทเพื่อประมวลผลและทำการเข้ารหั.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและตัวกระตุ้นอันตราย · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับรู้สารเคมี

ในระบบประสาท ตัวรับรู้สารเคมี (chemoreceptor, chemosensor) เป็นปลายประสาทรับความรู้สึกที่ถ่ายโอนข้อมูลทางเคมีไปเป็นศักยะงานเพื่อส่งไปยังระบบประสาทกลาง โดยทั่ว ๆ ไปก็คือ เป็นตัวรับรู้สิ่งเร้าคือสารเคมีในสิ่งแวดล้อม เมื่อสิ่งเร้าในสิ่งแวดล้อมสำคัญต่อการรอดชีวิต สิ่งมีชีวิตจะต้องตรวจจับสิ่งเร้านั้นได้ และเพราะกระบวนการของชีวิตทั้งหมดมีกระบวนการทางเคมีเป็นมูลฐาน จึงเป็นเรื่องธรรมดาว่า การตรวจจับและการรับรู้สิ่งเร้าภายนอกจะเป็นปรากฏการณ์ทางเคมี แน่นอนว่า สารเคมีในสิ่งแวดล้อมสำคัญต่อการรอดชีวิต และการตรวจจับสิ่งเร้าเคมีจากภายนอก อาจเชื่อมกับการทำงานทางเคมีของเซลล์โดยตรง การรับรู้สารเคมีสำคัญในการตรวจหาสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งอาหาร ที่อยู่ สัตว์ชนิดเดียวกันรวมทั้งคู่ และสัตว์ล่าเหยื่อ ยกตัวอย่างเช่น สำหรับสัตว์ล่าเหยื่อ เหยื่ออาจจะได้ทิ้งกลิ่นหรือฟีโรโมนไว้ในอากาศหรือบนพื้นผิวที่เคยอยู่ เซลล์ที่ศีรษะ ปกติในทางเดินอากาศหรือปาก จะมีตัวรับสารเคมีบนผิวที่จะเกิดปฏิกิริยาเมื่อสัมผัสกับสารที่เป็นเป้าหมาย แล้วก็จะส่งข้อมูลทางเคมีหรือทางเคมีไฟฟ้าไปยังศูนย์ คือสมองหรือไขสันหลัง ระบบประสาทกลางก็จะตอบสนองด้วยปฏิกิริยาทางกายเพื่อล่า/หาอาหารซึ่งช่วยให้รอดชีวิต.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและตัวรับรู้สารเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด

นซิเซ็ปเตอร์ (nociceptor มาจาก nocere แปลว่า "ทำให้เจ็บ") เป็นปลายประสาทอิสระของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่ตอบสนองโดยเฉพาะต่อตัวกระตุ้นที่อาจจะทำความเสียหายต่อร่างกาย/เนื้อเยื่อ โดยส่งสัญญาณประสาทไปยังระบบประสาทกลางผ่านไขสันหลังหรือก้านสมอง กระบวนการเช่นนี้เรียกว่า โนซิเซ็ปชั่น และโดยปกติก็จะก่อให้เกิดความเจ็บปวด โนซิเซ็ปเตอร์มีอยู่ทั่วร่างกายอย่างไม่เท่ากันโดยเฉพาะส่วนผิว ๆ ที่เสี่ยงเสียหายมากที่สุด และไวต่อตัวกระตุ้นระดับต่าง ๆ กัน บางส่วนไวต่อตัวกระตุ้นที่ทำอันตรายให้แล้ว บางส่วนตอบสนองต่อสิ่งเร้าก่อนที่ความเสียหายจะเกิด ตัวกระตุ้นอันตรายดังที่ว่าอาจเป็นแรงกระทบ/แรงกลที่ผิวหนัง อุณหภูมิที่ร้อนเย็นเกิน สารที่ระคายเคือง สารที่เซลล์ในร่างกายหลั่งตอบสนองต่อการอักเสบ เป็นต้น ความรู้สึกเจ็บปวดไม่ได้ขึ้นอยู่กับสัญญาณที่โนซิเซ็ปเตอร์ส่งเท่านั้น แต่เป็นผลของการประมวลผลความรู้สึกต่าง ๆ อย่างซับซ้อนในระบบประสาทกลาง ที่ได้รับอิทธิพลจากอารมณ์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสถานการณ์ที่เกิดสิ่งเร้าและประสบการณ์ชีวิต แม้แต่สิ่งเร้าเดียวกันก็สามารถทำให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ กันในบุคคลเดียวกัน ทหารที่บาดเจ็บในสนามรบอาจไม่รู้สึกเจ็บเลยจนกระทั่งไปถึงสถานพยาบาลแล้ว นักกีฬาที่บาดเจ็บอาจไม่รู้ตัวจนกระทั่งการแข่งขันจบแล้ว ดังนั้น ความรู้สึกเจ็บปวดจึงเป็นประสบการณ์ที่เป็นอัตวิสั.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับแรงกล

ตัวรับแรงกล (mechanoreceptor) เป็นปลายประสาทรับความรู้สึกที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นแรงกล เช่น สัมผัสหรือเสียง มีตัวรับแรงกลประเภทต่าง ๆ ในระบบประสาทมากมายโดยต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ในระบบรับความรู้สึกทางกาย ตัวรับแรงกลทำให้รู้สัมผัสและอากัปกิริยาได้ (โดยมี Pacinian corpuscle เป็นตัวไวแรงกลมากที่สุดในระบบ) ในการรับรู้สัมผัส ผิวหนังที่ไม่มีขน/ผม (glabrous skin) ที่มือและเท้า ปกติจะมีตัวรับแรงกล 4 อย่างหลัก ๆ คือ Pacinian corpuscle, Meissner's corpuscle, Merkel nerve ending, และ Ruffini ending และผิวที่มีขนก็มีตัวรับแรงกล 3 อย่างเหมือนกันยกเว้น Meissner's corpuscle บวกเพิ่มกับตัวรับแรงกลอื่น ๆ รวมทั้งตัวรับความรู้สึกที่ปุ่มรากผม ในการรับรู้อากัปกิริยา ตัวรับแรงกลช่วยให้รู้ถึงแรงหดเกร็งของกล้ามเนื้อและตำแหน่งของข้อต่อ มีประเภทรวมทั้ง muscle spindle 2 ชนิด, Golgi tendon organ, และ Joint capsule ในบรรดาตัวรับแรงกลทั้งหมด เซลล์ขนในคอเคลียของระบบการได้ยินไวที่สุด โดยมีหน้าที่ถ่ายโอนคลื่นเสียงในอากาศเป็นสัญญาณประสาทเพื่อส่งไปยังสมอง แม้แต่เอ็นปริทันต์ (periodontal ligament) ก็มีตัวรับแรงกลด้วย ซึ่งช่วยให้กรามผ่อนแรงเมื่อกัดถูกวัตถุที่แข็ง ๆ งานวิจัยเรื่องตัวรับแรงกลในมนุษย์ได้เริ่มขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 ที่นักวิชาการคู่หนึ่ง (Vallbo และ Johansson) วัดปฏิกิริยาของตัวรับแรงกลที่ผิวหนังกับอาสาสมัคร ตัวรับแรงกลที่ผิวหนังรวมทั้ง Pacinian corpuscle (ป้ายที่ตรงกลางล่าง) และ Meissner’s corpuscle (ป้ายที่บนขวา) ซึ่งช่วยให้รับรู้สัมผัสที่ผิวหนัง.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและตัวรับแรงกล · ดูเพิ่มเติม »

ตุ่มรับรส

ตุ่มรับรส (Taste buds) เป็นโครงสร้างรูปลูกเลมอน/หัวกระเทียมที่ฝังอยู่ในเนื้อเยื่อบุผิวและประกอบด้วยเซลล์รับรส 40-60 เซลล์ ซึ่งก็จะมีหน่วยรับรส (taste receptor) ที่เยื่อหุ้มเซลล์อันทำให้สามารถรับรู้รสชาติ ตุ่มรับรสจะอยู่ที่ปุ่ม (papillae) ของผิวลิ้น ที่เพดานอ่อน ที่หลอดอาหารส่วนบน ที่แก้ม และที่ฝากล่องเสียง โดยเฉลี่ยแล้ว ลิ้นมนุษย์จะมีตุ่มรับรส 2,000-8,000 ตุ่ม และแต่ละตุ่มจะมีเซลล์รับรสซึ่งอยู่ร่วมกับเซลล์ค้ำจุนกับเซลล์ต้นกำเนิดที่ฐาน (basal stem cell) โครงสร้างเหล่านี้มีบทบาทในการรับรู้รสหลัก ๆ 5 อย่าง คือ เค็ม เปรี้ยว ขม หวาน และอุมะมิ ซึ่งเมื่อรวมกันก็จะเป็นรสชาติของสิ่งที่อยู่ในปาก มีข่าวลอยว่า มีส่วนต่าง ๆ ของลิ้นที่รับรสโดยเฉพาะ ๆ แต่ความจริงลิ้นทั้งหมดสามารถรับรสได้ทุกรส ผ่านช่องเล็ก ๆ ในเนื้อเยื่อของลิ้นซึ่งเรียกได้ว่า รูรับรส (taste pore) โดยอาหารบางส่วนจะละลายในน้ำลาย ท่วมรูรับรส แล้วทำให้ถูกกับหน่วยรับรส เซลล์รับรสจะเป็นตัวส่งข้อมูลที่ได้จากหน่วยรับรสและช่องไอออนกลุ่มต่าง ๆ ไปยังเปลือกสมองส่วนรับรส (gustatory cortex) ผ่านประสาทสมองคือเส้นประสาทเฟเชียล (7), เส้นประสาทลิ้นคอหอย (9), และเส้นประสาทเวกัส (10) ถึงกระนั้น ลิ้นบางส่วนก็ยังอาจไวรสหนึ่ง ๆ มากกว่ารสอื่น ๆ คือ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและตุ่มรับรส · ดูเพิ่มเติม »

ซากซุยโยะ-มะรุ

ซากซุยโยะ-มะรุ (Zuiyo-maru carcass; ニューネッシー; Nyū Nesshii; แปลว่า เนสซีใหม่) เป็นซากสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ตัวหนึ่ง ที่ถูกลากขึ้นมาจากท้องทะเลด้วยเรือประมงสัญชาติญี่ปุ่นชื่อ "ซุยโยะ-มะรุ" (瑞洋丸; Zuiyō Maru) นอกชายฝั่งของนิวซีแลนด์เมื่อปี..

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและซากซุยโยะ-มะรุ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดูกอ่อน

ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและปลากระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลายรัฟฟินี

ปลายรัฟฟินี หรือ เม็ดรัฟฟินี หรือ เม็ดกระเปาะ (Bulbous corpuscle, Ruffini ending, Ruffini corpuscle) เป็นปลายประสาทรับแรงกลแบนที่หุ้มด้วยแคปซูลรูปกระสวย โดยแคปซูลเป็นเนื้อเยื่อยึดต่อ (connective tissue) ประกอบด้วยใยคอลลาเจนที่เกี่ยวพันกับใยประสาท และเชื่อมกับใยประสาทแบบ slowly adapting type 2 (SA2) ซึ่งมีปลอกไมอีลินหนา ปรับตัวอย่างช้า ๆ (slowly adapting) และตรวจจับแรงตึง/การขยาย/การเหยียด ซึ่งช่วยให้รู้รูปร่างของวัสดุที่อยู่ในมือและรูปร่างของมือในบรรดาตัวรับแรงกลที่หุ้มปลายพิเศษ 4 อย่างที่ผิวหนัง อนึ่ง นอกจากที่ผิวหนัง ยังมีอยู่ในเอ็นยึดข้อต่อ ปลอกหุ้มข้อต่อ และเอ็นปริทันต์ (periodontal ligament) ด้วย โครงสร้างนี้มีชื่อตามนายแพทย์ชาวอิตาลีผู้ค้นพบ คือ แอนเจโล รัฟฟินี.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและปลายรัฟฟินี · ดูเพิ่มเติม »

ปลายประสาทรับร้อน

ปลายประสาทรับร้อน หรือ ตัวรับอุณหภูมิ (thermoreceptor) เป็นปลายประสาทของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกในผิวหนังและในเยื่อเมือกบางชนิด ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิหรือการแลกเปลี่ยนความร้อนได้ดีที่สุด คือ ตัวรับอุณหภูมิ ไม่ว่าจะรับเย็นหรืออุ่น จะตอบสนองต่ออุณหภูมิโดยเฉพาะ ๆ หรือต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ โดยเป็นฟังก์ชันของการแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างผิวหนังกับวัตถุที่สัมผัส และโดยหลักในพิสัยที่ไม่มีอันตราย เพราะโนซิเซ็ปเตอร์รับอุณหภูมิจะเป็นตัวส่งข้อมูลในพิสัยที่อาจเป็นอันตราย ในช่วงอุณหภูมิ 31-36°C (32-34°C) ถ้าอุณหภูมิที่ผิวหนังเปลี่ยนอย่างช้า ๆ เราจะไม่รู้สึกอะไร ถ้าต่ำกว่าช่วงนี้ เราจะรู้สึกเย็นไปจนถึงหนาวและเริ่ิมที่ 10-15°C จะรู้สึกหนาวเหน็บ (เจ็บ) และถ้าสูงกว่าช่วงนี้ เราจะรู้สึกอุ่นไปจนถึงร้อนและเริ่มที่ 45°C จะรู้สึกร้อนลวก (เจ็บ) อ้างอิง.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและปลายประสาทรับร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลายประสาทเมอร์เกิล

ปลายประสาทเมอร์เกิล ปลายประสาทเมอร์เกิล เป็นปลายประสาทรับแรงกลมีขีดเริ่มเปลี่ยนต่ำชนิดหนึ่งที่พบใต้หนังกำพร้าและที่ปุ่มรากผม (hair follicle).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและปลายประสาทเมอร์เกิล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสิงโต

ำหรับปลาสิงโตจำพวกอื่น ดูที่: ปลาย่าดุก และปลาคางคก ปลาสิงโต (Lionfishes, Turkeyfishes, Firefishes, Butterfly-cods) เป็นสกุลของปลาน้ำเค็มทะเลสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาแมงป่อง (Scorpaenidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Pterois (/เท-โร-อิส/; มาจากภาษากรีกคำว่า "πτερον" (pteron) หมายถึง "ปีก" หรือ "ครีบ").

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและปลาสิงโต · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีครีบเป็นพู่

ปลาที่มีครีบเป็นพู่ หรือ ปลาครีบเป็นพู่ (Lobe-finned fishes) เป็นปลาที่อยู่ในชั้นใหญ่ Sarcopterygii (มาจากภาษากรีกคำว่า σαρξ (sarx), "เนื้อ" และ πτερυξ (pteryx), "ครีบ") หรือในบางครั้งอาจใช้ชื่อว่า Crossopterygii (แปลว่า "Fringe-finned fish", มาจากภาษากรีก κροσσός krossos, "ชายขอบ") เป็นปลาที่มีลักษณะแตกต่างจากปลาในชั้นอื่น ๆ คือ มีเกล็ดเป็นแบบ Cosmoid มีลักษณะเฉพาะ คือ ครีบที่บริเวณหน้าอกวิวัฒนาการจากครีบธรรมดา ๆ มาเป็นเสมือนอวัยวะที่ใช้เคลื่อนไหวได้เหมือนการเดินในน้ำ โดยลักษณะของครีบจะเป็นพู่เนื้อหรือเนื้อเยื่อ มีความแข็งแรงมาก โดยมีแกนกระดูก จึงเป็นเสมือนรอยต่อของการวิวัฒนาการของปลาซึ่งเป็นสัตว์น้ำอาศัยอยู่ในน้ำได้อย่างเดียว ขึ้นมาอยู่บนบกกลายเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำก่อนจะวิวัฒนาการเป็นสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ในชั้นอื่น ๆ ต่อไป ปลาที่มีครีบเป็นพู่ ถือกำเนิดมาในยุคซิลูเรียนตอนปลาย (418 ล้านปีก่อน) ในทะเลและค่อยคืบคลานสู่แหล่งน้ำจืดที่มีลักษณะเป็นหนองหรือคลองบึง สันนิษฐานว่าการที่พัฒนาเช่นนี้ คงเป็นเพราะต้องการหนีจากปลาที่เป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ที่ครองพื้นที่ทะเลในขณะนั้น เช่น ดังเคิลออสเตียส เป็นต้น ปัจจุบัน ปลาในชั้นนี้ได้สูญพันธุ์หมดแล้ว คงเหลือไว้เพียง 2 จำพวกเท่านั้น คือ ปลาซีลาแคนท์ ที่ครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว กับปลาปอด ที่กลายมาเป็นปลาน้ำจืดอย่างถาวร และได้มีพัฒนาถุงลมที่ใช้ในการว่ายน้ำและทรงตัวเหมือนปลาทั่วไป กลายเป็นอวัยวะที่ใช้ในการหายใจคล้ายกับปอดของสัตว์บก สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เป็นอย่างดี จึงทำให้อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่คุณภาพน้ำแย่ มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและปลาที่มีครีบเป็นพู่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามอาบแดด

ปลาฉลามอาบแดด หรือ ปลาฉลามยักษ์น้ำอุ่น (basking shark) เป็นปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกปลาฉลาม นับเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ Cetorhinidae และสกุล Cetorhinus ปลาฉลามอาบแดดจัดอยู่ในอันดับ Lamniformes เช่นเดียวกับปลาฉลามขาว จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองมาจากปลาฉลามวาฬ ปลาฉลามอาบแดดมีความยาวได้ถึง 10 เมตร เท่ากับรถโดยสารสองชั้นคันหนึ่ง (ขนาดโดยเฉลี่ย 8 เมตร) มีน้ำหนักมากถึงได้ 7 ตัน เท่ากับช้างสองเชือก มีลักษณะเด่น คือ มีลำตัวสีเทาออกน้ำตาล มีปลายจมูกเป็นรูปกรวย มีปากขนาดใหญ่ มีซี่กรองเหงือกสีแดงมีลักษณะเป็นซี่คล้ายหวีหรือแปรงที่พัฒนามาเป็นอย่างดีสำหรับกรองอาหาร มีริ้วเหงือกภายนอกตั้งแต่ส่วนบนหัวถึงด้านล่างหัว ซึ่งปลาฉลามอาบแดดจะใช้ซี่กรองเหงือกนี้ในการหายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย กรองกินแพลงก์ตอนสัตว์ต่าง ๆ ผ่านซี่กรองนี้เป็นอาหารเหมือนปลาฉลามวาฬ และปลาฉลามเมกาเมาท์ จัดเป็นปลาฉลามที่มีสมองขนาดเล็ก แต่ก็มีประสาทสัมผัสโดยเฉพาะประสาทการดมกลิ่นที่ดีเยี่ยมเหมือนปลาฉลามกินเนื้อชนิดอื่น ปลาฉลามอาบแดด เป็นปลาฉลามขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ กระจายพันธุ์อยู่ในทะเลหรือมหาสมุทรเขตน้ำอุ่นทั่วโลก โดยเฉพาะรอบ ๆ เกาะอังกฤษ นับเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในเกาะอังกฤษ ปลาฉลามอาบแดดบางครั้งจะรวมตัวกันเป็นฝูงเล็ก ๆ เพื่อกินแพลงก์ตอนสัตว์บริเวณผิวน้ำ ตามสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมที่แพลงก์ตอนสัตว์จะเจริญเติบโตได้ดี คือ มีแสงแดด มีอุณหภูมิอบอุ่นที่เหมาะสม ปลาฉลามอาบแดดจะอ้าปากได้กว้าง จนกระทั่งเห็นซี่กรองภายในปากชัดเจน ไล่กินแพลงก์ตอนสัตว์ตามผิวน้ำ แต่โดยปกติจะอาศัยอยู่ในน้ำลึก และจะมีพฤติกรรมย้ายถิ่นฐานไปตามแพลงก์ตอนตามฤดูกาล ซึ่งเชื่อว่าจะว่ายตามแพลงก์ตอนไปตามกลิ่น จากการศึกษาพบว่าสามารถเดินทางได้ไกลถึง 2,000 กิโลเมตร ภายในระยะเวลา 7 วันThe Basking Shark, "Nick Baker's Weird Creatures" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและปลาฉลามอาบแดด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปอด

ปลาปอดในสวนสัตว์พาต้า ปลาปอด (Lungfish, Salamanderfish, Amphibious fish) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งที่อยู่ในชั้นย่อย Dipnoi เป็นปลาเพียงจำพวกเดียวในโลกที่ยังมีการสืบสายพันธุ์จนปัจจุบันนี้ที่หายใจด้วยอวัยวะที่คล้ายกับปอดของสัตว์ทั่วไป โดยไม่ใช้เหงือกเหมือนปลาชนิดอื่น ๆ ปลาปอดได้ชื่อว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต เพราะเป็นปลาที่ไม่ได้เปลี่ยนรูปร่างมากนักจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยปลาปอดจัดอยู่ในชั้นใหญ่ Sarcopterygii ซึ่งจะมีลักษณะเด่น คือ มีพู่เนื้อหรือเนื้อเยื่อเป็นครีบ มีครีบหางเดี่ยว มีครีบ 2 คู่ มีเกล็ดแบบ Cosmoid ซึ่งแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่น ๆ ในโลก ซึ่งปลาในกลุ่มนี้จะแยกออกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ 1.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและปลาปอด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปอดอเมริกาใต้

ปลาปอดอเมริกาใต้ (South American lungfish, American mud-fish, Scaly salamander-fish) เป็นปลาปอดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepidosiren paradoxa อยู่ในวงศ์ Lepidosirenidae จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลนี้และวงศ์นี้ ปลาปอดอเมริกาใต้ มีลักษณะโดยรวมแล้วคล้ายกับปลาปอดที่พบในทวีปแอฟริกา (Protopterus spp.) แต่จะมีรูปร่างที่เพรียวยาว เมื่อยังเล็ก จะมีพู่เหงือกเหมือนสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกซาลาแมนเดอร์ ซึ่งจะใช้อวัยวะส่วนนี้ช่วยในการหายใจ จนกระทั่งอายุได้ราว 7 สัปดาห์ อวัยวะส่วนนี้จะหายไป และจะมีสีเหลืองเป็นจุดเป็นแต้มกระจายไปทั่วลำตัว แลดูสวยงาม ปลาปอดอเมริกาใต้จัดเป็นปลาปอดโลกใหม่ ที่มีพัฒนาการจากปลาปอดในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ไม่เหมือนปลาปอดโลกเก่าอย่าง ปลาปอดออสเตรเลีย (Neoceratodus forsteri) โดยจะมีถุงลมจำนวนหนึ่งคู่ มีอวัยวะที่ทำหน้าที่คล้ายปอดของมนุษย์หนึ่งคู่ มีครีบอกและครีบส่วนล่างเป็นเส้นยาวเห็นได้ชัดเจน โดยที่ไม่มีก้านครีบ ซึ่งครีบตรงส่วนนี้เมื่อขาดไปแล้ว สามารถงอกใหม่ได้ โตเต็มที่ประมาณ 125 เซนติเมตร มีอายุสูงสุดราว 8 ปี ตามีขนาดเล็ก ปลาตัวเต็มวัยมีลำตัวสีเทาคล้ำหรือสีดำ กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ หอย, กุ้ง, ปลาขนาดเล็ก, แมลงน้ำ รวมถึงเห็ดรา ในขณะที่ยังเล็กจะกินอาหารจำพวกสัตว์เพียงอย่างเดียว พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำสาขาต่าง ๆ ที่เป็นสาขาของแม่น้ำอเมซอน เช่น แม่น้ำปารานา ขณะเดียวกันปลาปอดอเมริกาใต้ก็ตกเป็นอาหารของสัตว์ใหญ่กว่าชนิดอื่นด้วย สามารถดำรงชีวิตในแหล่งน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้เป็นอย่างดี เมื่อถึงฤดูแล้งที่น้ำแห้งขอด ปลาปอดอเมริกาใต้จะขุดหลุมลึกประมาณ 30-50 เซนติเมตร และจะใช้โคลนปิดปากหลุมไว้เพื่อการจำศีล ลดการเผาผลาญพลังงาน จนกว่าจะถึงฤดูฝนที่ปริมาณน้ำจะกลับมามากดังเดิม มีพฤติกรรมในการขยายพันธุ์ คือ พ่อแม่ปลาจะขุดหลุมลึกประมาณ 1.5 เมตร เพื่อสร้างเป็นรัง โดยที่ปลาตัวผู้จะทำหน้าที่ดูแลตัวอ่อน ตัวผู้จะเพิ่มปริมาณออกซิเจนในหลุม เพราะช่วงฤดูวางไข่ ครีบหางจะพัฒนาให้มีเส้นเลือดบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก เหงือกที่คล้ายโครงสร้างของขนนก ซึ่งจะทำหน้าที่ตรงข้ามกับเหงือก คือ จะทำหน้าที่ปล่อยออกซิเจนออกจากเลือด และรับคาร์บอนไดออกไซด์ และเนื้อเยื่อหายไปหลังจากช่วงสิ้นสุดฤดูกาลวางไข่ ปลาปอดอเมริกาใต้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่มีนิสัยไม่ดุร้ายก้าวร้าวเหมือนปลาปอดที่พบในทวีปแอฟริกา จึงสามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าในตู้เลี้ยงได้เป็นอย่างดี โดยผู้เลี้ยงสามารถให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ด้ว.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและปลาปอดอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไม่มีขากรรไกร

ปลาไม่มีขากรรไกร (Jawless fish) เป็นปลาที่อยู่ในชั้นใหญ่ Agnatha (กรีก: ไม่มีขากรรไกร) เป็นปลาในชั้นหนึ่ง ที่แตกต่างไปจากปลากระดูกแข็ง หรือ ปลากระดูกอ่อน ซึ่งเป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ทั่วไปและเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี โดยปลาในชั้นนี้จะไม่มีกรามหรือขากรรไกร แต่จะมีปากแบบวงกลมและมีฟันแหลมคมจำนวนมากอยู่รอบ ๆ ใช้สำหรับดูดเลือดและเนื้อเยื่อของปลาชนิดอื่นกินเป็นอาหาร มีลำตัวยาวเหมือนปลาไหล มีโครงสร้างของกระดูกเป็นกระดูกอ่อน พบได้ทั้งน้ำจืดและทะเล บรรพบุรุษของปลาไม่มีขากรรไกร วิวัฒนาการมาจากปลาในชั้นออสตราโคเดิร์มซึ่งสูญพันธ์ไปแล้ว ฟอสซิลที่ถูกค้นพบครั้งล่าสุด พบว่า มีอายุกว่า 500 ล้านปีมาแล้ว และฟอสซิลที่ถูกค้นพบนั้นมีความสลับซับซ้อนมาก จึงเป็นที่น่าคาดการได้ว่า ออสตราโคเดิร์ม เก่าแก่มาก และน่าจะสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ปลาไม่มีขากรรไกร สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ Petromyzontida และ Myxini ซึ่งในปัจจุบัน กลุ่ม Petromyzontida มีเหลืออยู่เพียงประเภทเดียว คือ ปลาแลมป์เพรย์ ส่วน Myxini ก็เหลือเพียงประเภทเดียวเช่นกัน คือ แฮคฟ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและปลาไม่มีขากรรไกร · ดูเพิ่มเติม »

ปวดศีรษะ

อาการปวดศีรษะคืออาการปวดซึ่งเกิดกับบริเวณใดๆ ของศีรษะและคอ ซึ่งอาจเป็นอาการของหลายๆ ภาวะที่เกิดกับศีรษะและคอ ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองนั้นไม่สามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้เนื่องจากไม่มีตัวรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด ดังนั้นอาการปวดศีรษะส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆ รอบๆ สมองที่สามารถรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้ โดยอวัยวะเหล่านี้อาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ ส่วนที่อยู่ในกะโหลกศีรษะ (หลอดเลือด เยื่อหุ้มสมอง และเส้นประสาทสมอง) และนอกกะโหลกศีรษะ (เยื่อหุ้มกระดูกของกะโหลกศีรษะ กล้ามเนื้อ เส้นประสาท หลอดเลือด เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ตา หู โพรงอากาศ และเยื่อบุ) ระบบการจำแนกประเภทอาการปวดศีรษะมีใช้อยู่หลายระบบ ระบบหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายคือระบบของ International Headache Society (สมาคมอาการปวดศีรษะนานาชาติ) วิธีการรักษาอาการปวดศีรษะขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักมีการใช้ยาแก้ปวดร่วมในการรักษาด้วยเสมอ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและปวดศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

ปอดช้ำ

ภาวะปอดช้ำ (pulmonary contusion) เป็นภาวะซึ่งมีการฟกช้ำของปอด เกิดจากการบาดเจ็บต่อทรวงอกทำให้มีการบาดเจ็บต่อหลอดเลือดฝอยจนมีเลือดและสารน้ำคั่งในเนื้อเยื่อปอด สารน้ำส่วนเกินเหล่านี้จะรบกวนกระบวนการแลกเปลี่ยนก๊าซของปอด จนอาจทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ ภาวะนี้แตกต่างจากภาวะปอดฉีกขาดซึ่งเป็นการบาดเจ็บของปอดอีกแบบหนึ่ง ตรงที่ภาวะปอดช้ำจะไม่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อปอด ภาวะปอดช้ำส่วนใหญ่เกิดจากการกระแทกแต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บจากระเบิด หรือคลื่นกระแทกที่เกิดจากการถูกทิ่มแทง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ซึ่งมีการใช้ระเบิดในการรบอย่างแพร่หลายนั้นทำให้ภาวะปอดช้ำที่เกิดจากแรงระเบิดเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในช่วงทศวรรษ 1960 ภาวะนี้เป็นที่รู้จักในคนทั่วไปมากขึ้นจากการเกิดอุบัติเหตุจราจร การใช้เข็มขัดนิรภัยและถุงลมนิรภัยช่วยลดโอกาสเกิดภาวะปอดช้ำในผู้โดยสารรถยนต์ได้ การวินิจฉัยภาวะนี้ทำได้โดยอาศัยประวัติการเกิดอุบัติเหตุ การตรวจร่างกาย และการถ่ายภาพรังสีทรวงอก อาการและอาการแสดงส่วนใหญ่เป็นผลโดยตรงจากการบาดเจ็บทางกาย เช่นอาการเจ็บหน้าอก และอาการไอเป็นเลือด รวมทั้งอาการที่เป็นผลจากการที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่น ภาวะตัวเขียว การฟกช้ำที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่หายได้เองด้วยการรักษาแบบประคับประคองซึ่งส่วนมากอาศัยการให้ออกซิเจนและการเฝ้าสังเกตอาการ อย่างไรก็ดีบางครั้งก็มีความจำเป็นต้องใช้การดูแลเป็นพิเศษแบบผู้ป่วยหนัก เช่น อาจต้องใช้การช่วยหายใจ บางครั้งอาจต้องให้สารน้ำทดแทน ซึ่งต้องทำโดยความระมัดระวังอย่างมากเนื่องจากการมีสารน้ำมากเกินสามารถทำให้ภาวะน้ำท่วมปอดนั้นแย่ลงได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ความรุนแรงมีตั้งแต่เป็นไม่มากไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ การฟกช้ำเล็กๆ อาจมีผลกระทบน้อยมากหรือแทบไม่มี อย่างไรก็ดีภาวะปอดช้ำเป็นภาวะการบาดเจ็บต่อทรวงอกที่อาจมีอันตรายถึงชีวิตที่พบบ่อยที่สุด พบเป็น 30-75% ของการบาดเจ็บต่อทรวงอกชนิดรุนแรงทั้งหมด ผู้ป่วยปอดช้ำมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 14-40% จึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยบอกว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิตหรือมีภาวะทุพพลภาพจากการบาดเจ็บนั้น ๆ หรือไม่ ผู้ป่วยปอดช้ำส่วนใหญ่มีการบาดเจ็บของระบบอื่นร่วมด้วย แม้ส่วนใหญ่การบาดเจ็บที่พบร่วมเหล่านี้จะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต แต่ก็เชื่อกันว่าภาวะปอดช้ำเป็นสาเหตุโดยตรงของการเสียชีวิตมากถึงประมาณ 1/4 - 1/2 ของทั้งหมด ผู้ป่วยที่เป็นเด็กมีโอกาสบาดเจ็บมากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากความยืดหยุ่นของกระดูกทำให้การบาดเจ็บต่อทรวงอกทั้งหมดถูกถ่ายทอดไปยังเนื้อปอดโดยไม่ถูกดูดซับไปที่ผนังทรวงอก ภาวะแทรกซ้อนของภาวะปอดช้ำได้แก่ปอดบวม และกลุ่มอาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะทุพพลภาพของระบบหายใจในระยะยาวได้ Category:การบาดเจ็บของทรวงอก Category:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ Category:โรคของปอด.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและปอดช้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปูมะพร้าว

ปูมะพร้าวขณะอยู่บนพื้น ปูมะพร้าว (Coconut crab; ชื่อวิทยาศาสตร์: Birgus latro) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด เป็นสัตว์ที่วิวัฒนาการมาจากปูเสฉวน และเป็นสัตว์ขาปล้องขนาดใหญ่ที่สุดที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน กิตติศัพท์ที่ว่าปูมะพร้าวสามารถเจาะลูกมะพร้าวด้วยก้ามอันทรงพลังนั้นเป็นที่รู้จักกันดี ในบางครั้งปูมะพร้าวถูกเรียกว่า ปูปล้น หรือ ปาล์มขโมย (เยอรมัน: Palmendieb) ทั้งนี้เนื่องจากปูมะพร้าวมักจะขโมยข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านที่ส่องประกาย อย่างเช่น หม้อ หรือถ้วยสแตนเลส บางคนเรียกปูมะพร้าวว่า ปูเสฉวนบก แต่อันที่จริงนอกจากปูมะพร้าวแล้ว ยังมีปูชนิดอื่นอีกที่จัดได้ว่าเป็นปูเสฉวนบกเช่นกัน นอกจากนี้ ปูมะพร้าวอาจมีชื่อเรียกต่างกันไปอีกในแต่ละที่ เช่น ที่เกาะกวม เรียกปูมะพร้าวว่า อายูยู.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและปูมะพร้าว · ดูเพิ่มเติม »

นีมาโทดา

นีมาโทดา หรือหนอนตัวกลม เป็นชื่อเรียกของ แขนงวิชา วิทยาศาสตร์ โดยใช้เรียก ไฟลัม ซึ่งเป็นประเภทของการแบ่งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและนีมาโทดา · ดูเพิ่มเติม »

น้ำลาย

แพทย์กำลังเก็บตัวอย่างน้ำลายของคนไข้ น้ำลาย คือสสารที่คล้ายน้ำและมักจะเป็นฟอง ถูกผลิตขึ้นในปากของมนุษย์และสัตว์อื่นๆ เป็นส่วนใหญ่ น้ำลายถูกผลิตขึ้นจากต่อมน้ำลาย น้ำลายของมนุษย์ประกอบด้วยน้ำ 98% ส่วนที่เหลือเป็นอิเล็กโทรไลต์ เมือก สารยับยั้งแบคทีเรีย และเอนไซม์ชนิดต่างๆ เอนไซม์ในน้ำลายสามารถย่อยแป้งที่อยู่ในอาหารในระดับโมเลกุล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการย่อยอาหาร น้ำลายช่วยชะล้างอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันและปกป้องไม่ให้เกิดการเน่าเสียจากแบคทีเรีย นอกจากนี้ น้ำลายยังช่วยหล่อลื่นและปกป้องฟัน ลิ้น และเนื้อเยื่ออ่อนบางภายในช่องปาก สัตว์หลายชนิดมีพัฒนาการการใช้น้ำลายเฉพาะทางมากไปกว่าการย่อยอาหาร นกนางแอ่นใช้น้ำลายที่เหนียวคล้ายยางในการสร้างรัง ซึ่งรังนกนางแอ่นนี้ใช้ทำเครื่องดื่มรังนก Marcone, M. F. (2005).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและน้ำลาย · ดูเพิ่มเติม »

น้ำอสุจิ

น้ำอสุจิ น้ำอสุจิ (Semen, seminal fluid) เป็นสารประกอบอินทรีย์เหลวที่อาจมีตัวอสุจิอยู่ ในภาษาบาลี อะ แปลว่าไม่ สุจิ หรือสุจี แปลว่าสะอาด น้ำอสุจิ จึงแปลว่า น้ำที่ไม่สะอาด เป็นน้ำที่หลั่งออกจากอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์และจากอวัยวะทางเพศอื่น ๆ ของสัตว์เพศชาย และสามารถทำการผสมพันธุ์กับไข่ของเพศหญิงได้ ในมนุษย์ น้ำอสุจิมีองค์ประกอบอื่น ๆ นอกจากตัวอสุจิ คือมีเอนไซม์ต่าง ๆ และน้ำตาลประเภทฟรุกโทส ที่ช่วยเลี้ยงตัวอสุจิให้ดำรงรอดอยู่ได้ และเป็นสื่อเพื่อที่ตัวอสุจิจะเคลื่อนที่ หรือ "ว่ายน้ำ" ไปได้ น้ำอสุจิโดยมากเกิดจากต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ seminal vesicle ว่า "ถุงน้ำอสุจิ, ถุงพักน้ำอสุจิ" (หรือมีชื่ออื่นว่า ถุงน้ำอสุจิ, ถุงพักน้ำอสุจิ) ซึ่งเป็นอวัยวะอยู่ที่เชิงกราน แต่ว่าตัวอสุจิเองสร้างจากอัณฑะ ส่วนกระบวนการที่นำไปสู่การปล่อยน้ำอสุจิเรียกว่า การหลั่งน้ำอสุจิ ในมนุษย์ น้ำอสุจิเป็นของเหลวสีขาวข้นที่หลั่งออกโดยผู้ชาย เมื่อถึงจุดสุดยอด เมื่อมีเพศสัมพันธ์ เมื่อมีการสำเร็จความใคร่ หรือเมื่อขับออกตามธรรมชาติที่เรียกว่าฝันเปียก โดยจะมีการหลั่งน้ำอสุจิแต่ละครั้งประมาณ 3-4 ซีซี มีจำนวนตัวอสุจิเฉลี่ยประมาณ 300-500 ล้านตัว.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและน้ำอสุจิ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำเหลือง

น้ำเหลือง (Lymph) คือของเหลวที่หมุนเวียนอยู่ในระบบน้ำเหลือง น้ำเหลืองเกิดขึ้นเมื่อสารน้ำแทรก (ของเหลวซึ่งมีอยู่ตามร่องของเนื้อเยื่อ) มารวมกันผ่านหลอดน้ำเหลืองฝอย แล้วถูกส่งต่อผ่านท่อน้ำเหลืองไปยังต่อมน้ำเหลืองก่อนที่ในท้ายที่สุดจะถูกผสมรวมกับเลือดที่บริเวณหลอดเลือดดำใต้กระดูกไหปลาร้าซ้ายหรือขวา องค์ประกอบของน้ำเหลืองจึงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ซึ่งทำให้เลือดและเซลล์ต่างๆสามารถแลกเปลี่ยนองค์ประกอบกับสารน้ำแทรก (ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายกับน้ำเลือดเพียงแต่ประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาว) ในกระบวนการแลกเปลี่ยนองค์ประกอบ น้ำเหลืองจะคืนโปรตีนและสารน้ำแทรกส่วนเกินไปยังกระแสเลือด น้ำเหลืองอาจจับพาแบคทีเรียไปยังต่อมน้ำเหลืองเพื่อกำจัด เซลล์มะเร็งเนื้อร้ายอาจถูกจับพาโดยน้ำเหลืองได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ น้ำเหลืองอาจจับพาไขมันจากทางเดินอาหารอีกด้ว.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและน้ำเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

แพทย์มือใหม่ หัวใจเกินร้อย

แพทย์มือใหม่ หัวใจเกินร้อย (Grey's Anatomy) เป็นรายการดราม่าโทรทัศน์อเมริกันที่เกี่ยวกับแพทย์ ซึ่งได้รับรางวัลเอ็มมี่และลูกโลกทองคำมาแล้ว โดยออกอากาศครั้งแรกที่สถานีโทรทัศน์ ABC ในช่วง Midseason Replacement ณ วันที่ 27 มีนาคม..

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและแพทย์มือใหม่ หัวใจเกินร้อย · ดูเพิ่มเติม »

แกมมา-กลูตามิลทรานสเฟอเรส

แกมมา-กลูตามิลทรานสเฟอเรส (gamma-glutamyltransferase) หรือ แกมมา-กลูตามิล ทรานสเปปทิเดส (gamme-glumatyl transpeptidase) γ-glutamyltransferase, GGT, GGTP, gamma-GT เป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย้ายหมู่ฟังก์ชันแกมมา-กลูตามิล พบในเนื้อเยื่อหลายส่วนในร่างกาย ส่วนใหญ่พบในตับ มีความสำคัญเป็นตัวบ่งชี้ในการวินิจฉัยทางการแพท.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและแกมมา-กลูตามิลทรานสเฟอเรส · ดูเพิ่มเติม »

แม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพ

แม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพ (bioelectromagnetism) หรือ ไฟฟ้าชีวภาพ (bioelectricity) หมายถึงพลังงานไฟฟ้า พลังงานแม่เหล็ก หรือสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากเซลล์ เนื้อเยื่อ หรือสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตัวอย่างนี้รวมไปถึง ศักย์ไฟฟ้าเยื่อหุ้มเซลล์ (membrane potential) และกระแสไฟฟ้าที่ไหลอยู่ในเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ซึ่งก่อให้เกิดศักยะงาน (action potential) คำนี้ไม่ควรสับสนกับ bioelectromagnetics ซึ่งเป็นการศึกษาผลกระทบของสิ่งมีชีวิตจากพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าภายนอก.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและแม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

แอแนบอลิซึม

แอแนบอลิซึมเป็นการสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่จากหน่วยขนาดเล็ก แอแนบอลิซึม (anabolism) เป็นกลุ่มวิถีเมแทบอลิซึมซึ่งสร้างโมเลกุลขึ้นจากหน่วยขนาดเล็ก ปฏิกิริยาเหล่านี้ต้องอาศัยพลังงาน ขบวนการเมแทบอลิซึม ทั้งในระดับเซลล์ อวัยวะและสิ่งมีชีวิต สามารถจำแนกได้เป็นแอแนบอลิซึมและแคแทบอลิซึม ที่มีลักษณะตรงข้ามกัน แอแนบอลิซึมได้รับพลังงานจากแคแทบอลิซึม โดยโมเลกุลขนาดใหญ่ถูกสลายลงเป็นส่วนที่เล็กกว่า และจะถูกใช้ไปในการหายใจระดับเซลล์ต่อไป ขบวนการแอแนบอลิซึมจำนวนมากใช้พลังงานจากอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (ATP) ขบวนการแอแนบอลิซึมโน้มเอียงต่อ "การเสริมสร้าง" อวัยวะและเนื้อเยื่อ ขบวนการเหล่านี้ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ตลอดจนการเพิ่มขนาดลำตัว ซึ่งเป็นขบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โมเลกุลที่ซับซ้อน ตัวอย่างขบวนการแอแนบอลิซึม ได้แก่ การเจริญเติบโตและการสะสมแร่ธาตุ (mineralization) ของกระดูกและการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ นักวิทยาต่อมไร้ท่อเดิมจำแนกฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนแอแนบอลิกหรือแคแทบอลิก ขึ้นอยู่กับส่วนของเมแทบอลิซึมที่มันไปกระตุ้น ฮอร์โมนแอแนบอลิกแบบดั้งเดิมเป็นแอแนบอลิกสเตอรอยด์ ซึ่งกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนและการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ สมดุลระหว่างแอแนบอลิซึมและแคแทบอลิซึมยังถูกควบคุมโดยจังหวะเซอร์คาเดียน ด้วยขบวนการอย่างเมแทบอลิซึมของกลูโคสที่ผันแปรให้เข้ากับคาบกิจกรรมตามปกติตลอดทั้งวันของสัตว.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและแอแนบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

แผลเป็น

แผลเป็นเป็นบริเวณเนื้อเยื่อเส้นใยซึ่งเกิดแทนผิวหนังปกติหลังเกิดการบาดเจ็บ แผลเป็นเกิดจากกระบวนการชีววิทยาซ่อมแซมบาดแผลในผิวหนัง ตลอดจนในอวัยวะและเนื้อเยื่ออื่นของร่างกาย ฉะนั้นจึงเป็นส่วนธรรมชาติของกระบวนการหาย (healing) บาดแผลแทบทุกชนิด (เช่น หลังอุบัติเหตุ โรคหรือการผ่าตัด) ล้วนส่งผลให้เกิดแผลเป็นไม่มากก็น้อย ยกเว้นรอยโรคที่เล็กมาก ๆ แต่ยกเว้นสัตว์ที่มีการเจริญทดแทนอย่างสมบูรณ์มีเนื้อเยื่อที่เจริญโดยไม่มีการสร้างแผลเป็น เนื้อเยื่อแผลเป็นประกอบด้วยโปรตีน (คอลลาเจน) ชนิดเดียวกับเนื้อเยื่อที่มันทดแทน แต่องค์ประกอบเส้นใยของโปรตีนจะต่างไป คือ แทนที่จะเป็นการจัดเรียงสานตะกร้าแบบสุ่มของเส้นใยคอลลาเจนที่พบในเนื้อเยื่อปกติ แต่ในภาวะเกิดพังผืด คอลลาเจนเชื่อมโยงข้ามและก่อเป็นการปรับแนวอย่างเป็นระเบียบในทิศทางเดียวกัน การปรับแนวของเนื้อเยื่อแผลเป็นคอลลาเจนนี้ปกติมีคุณภาพทำหน้าที่ด้อยกว่าการปรับแนวแบบสุ่มของคอลลาเจนตามปกติ ตัวอย่างเช่น แผลเป็นในผิวหนังทนทานต่อรังสีอัลตราไวโอเลตน้อยกว่า และต่อมเหงื่อและปุ่มรากขนไม่เจริญทดแทนในเนื้อเยื่อแผลเป็น กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด หรืออาการหัวใจล้ม ทำให้เกิดแผลเป็นในกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งทำให้เสียกำลังของกล้ามเนื้อและอาจทำให้หัวใจวายได้ ทว่า มีเนื้อเยื่อบางชนิด เช่น กระดูก ที่สามารถฟื้นฟูได้โดยไม่มีความเสื่อมทางโครงสร้างหรือการทำหน้าที.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและแผลเป็น · ดูเพิ่มเติม »

โรคภูมิต้านตนเอง

โรคภูมิต้านตนเอง (autoimmune disease) เกิดจากภาวะภูมิต้านตนเองที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดตอบสนองต่อสารหรือเนื้อเยื่อที่มีอยู่เป็นปกติในร่างกาย อาจเกิดกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง (เช่น ต่อมไทรอยด์อักเสบแบบภูมิต้านตนเอง) หรือเนื้อเยื่อประเภทหนึ่งๆ ในบริเวณต่างๆ (เช่น กลุ่มอาการกูดปาสเจอร์ ที่เกิดภูมิต้านตนเองต่อชั้น basement membrane ของปอดและไต) ก็ได้ หมวดหมู่:โรคภูมิต้านตนเอง.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและโรคภูมิต้านตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

โรคระบบหายใจ

รคระบบหายใจคือภาวะพยาธิสภาพใดๆ ซึ่งเกิดกับอวัยวะและเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซในสัตว์ชั้นสูง หมายรวมถึงภาวะซึ่งเกิดกับทางเดินหายใจส่วนบน หลอดลมใหญ่ หลอดลม หลอดลมฝอย ถุงลม เยื่อหุ้มปอด โพรงเยื่อหุ้มปอด และเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการหายใจ โรคระบบหายใจมีตั้งแต่เป็นน้อยหายได้เอง เช่น หวัด ไปจนถึงโรคซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น ปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรีย ลิ่มเลือดตันในปอด และมะเร็งปอด เป็นต้น วิชาซึ่งว่าด้วยโรคระบบหายใจคือ วิทยาปอด (pulmonology) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบหายใจเรียกว่า อายุรแพทย์โรคระบบหายใจ (pulmonologist, chest medicine specialist, respiratory medicine specialist, respirologist หรือ thoracic medicine specialist).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและโรคระบบหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

โรคอัลไซเมอร์

รคอัลซไฮเมอร์ หรือ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease หรือ AD) เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด โรคนี้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อว่า อาลอยส์ อัลซไฮเมอร์ (Alois Alzheimer) และถูกตั้งชื่อตามท่าน โรคนี้จัดเป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หายและจัดเป็นอาการป่วยระยะสุดท้าย โดยทั่วไปแล้วสามารถวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี แต่ก็พบโรคอัลไซเมอร์ชนิดหนึ่งคือ โรคอัลไซเมอร์ชนิดเกิดเร็ว (early-onset Alzheimer's) ซึ่งเกิดในคนอายุน้อยแต่มีความชุกของโรคน้อยกว่า ประมาณการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2549 มีประชากรราว 26.6 ล้านคนทั่วโลกที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และจะเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าใน พ.ศ. 2593ประมาณการณ์ความชุกใน..

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและโรคอัลไซเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรคคอตีบ

รคคอตีบ (diphtheria) เป็นโรคติดเชื้ออย่างหนึ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium diphtheriae อาการมีได้หลากหลายตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง ผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 2-5 วัน ในช่วงแรกมักมีอาการเจ็บคอและมีไข้ หากเป็นรุนแรงผู้ป่วยจะมีแผ่นเนื้อเยื่อสีขาวหรือสีเทาที่คอหอย ซึ่งอาจอุดกั้นทางหายใจและทำให้เกิดอาการไอเสียงก้องเหมือนในโรคกล่องเสียงอักเสบ (ครุป) ได้ อาจมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ทำให้มีคอบวม เชื้อนี้นอกจากทำให้มีอาการที่คอแล้วยังทำให้มีอาการที่ระบบอื่น เช่น ผิวหนัง ตา หรืออวัยวะเพศ ได้อีกด้วย ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เส้นประสาทอักเสบ ไตอักเสบ เกล็ดเลือดต่ำ เป็นต้น เชื้อคอตีบสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ผ่านการสัมผัสโดยตรง ผ่านวัตถุที่เปื้อนเชื้อ หรือผ่านอากาศ ผู้รับเชื้อบางรายอาจไม่มีอาการ แต่มีเชื้อในร่างกาย และสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ เชื้อ C. diphtheriae มีชนิดย่อยอยู่ 3 ชนิด แต่ละชนิดอาจทำให้มีอาการรุนแรงแตกต่างกัน อาการของโรคส่วนใหญ่เกิดจากพิษที่สร้างโดยเชื้อนี้ การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจร่างกายดูลักษณะของคอหอยของผู้ป่วย ร่วมกับการตรวจยืนยันด้วยการเพาะเชื้อ การหายจากเชื้อนี้จะไม่ได้ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อครั้งถัดไป วัคซีนโรคคอตีบเป็นวิธีป้องกันโรคนี้ที่ได้ผลดี และมีให้ใช้ในหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่แนะนำให้เด็กทั่วไปได้รับวัคซีนนี้ร่วมกับวัคซีนบาดทะยักและไอกรน 3-4 ครั้ง หลังจากนั้นควรได้รับวัคซีนคอตีบและบาดทะยักร่วมกันทุกๆ 10 ปี สามารถตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในเลือดเพื่อยืนยันการมีภูมิคุ้มกันได้ การรักษาทำได้โดยให้ยาปฏิชีวนะเช่นอีริโทรมัยซิน หรือเบนซิลเพนิซิลลิน ยาปฏิชีวนะเหล่านี้นอกจากใช้รักษาโรคแล้วยังใช้ป้องกันการเกิดโรคในผู้ที่สงสัยว่าจะได้รับเชื้อได้ด้วย ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงบางรายอาจมีทางเดินหายใจอุดกั้นรุนแรงจนต้องรับการรักษาด้วยการเจาะคอ ในปี..

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและโรคคอตีบ · ดูเพิ่มเติม »

โรคเสื่อม

รคเสื่อม (Degenerative disease) หมายถึงโรคที่มีความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะลงเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งอาจเกิดจากความชราของร่างกายตามปกติหรือจากชีวิตประจำวัน เช่น การไม่ออกกำลังกายหรือการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม โรคเสื่อมไม่สามารถติดต่อไปยังอีกคนหนึ่งได้ จึงมักกล่าวว่าโรคเสื่อมตรงข้ามกับโรคติดเชื้อ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและโรคเสื่อม · ดูเพิ่มเติม »

โลหิตจาง

ลหิตจาง หรือ ภาวะเลือดจาง ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและโลหิตจาง · ดูเพิ่มเติม »

โปรตีนเซลล์เดียว

ปรูไลนา โปรตีนเซลล์เดียว (single cell protein; SCP) เป็นโปรตีนที่ผลิตได้จากจุลินทรีย์ โดยจุลินทรีย์จะมีลักษณะการเจริญเป็นเซลล์เดียวหรือเส้นใย ไม่เกิดเป็นเนื้อเยื่อ จุลินทรีย์ที่นิยมนำมาผลิตโปรตีนเซลล์เดียวในปัจจุบันคือ สไปรูไลนา (Spirulina sp.) เพราะมีโภชนาการทางอาหารสูง และมีคุณสมบัติทางการแพทย์ เช่น ลดคลอเรสเตอรอล เพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ แก้ไขภาวะขาดแคลนอาหารในเด็ก ยับยั้งไวรัสเอดส์ เป็นต้น ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่มีการผลิตสาหร่ายในระดับทางการค้าเมื่อ..

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและโปรตีนเซลล์เดียว · ดูเพิ่มเติม »

โนซิเซ็ปชัน

นซิเซ็ปชั่น (nociception หรือ nocioception หรือ nociperception) คือ "กระบวนการทางประสาทที่เข้ารหัส และประมวลผลตัวกระตุ้นอันตราย" โดยเริ่มที่การทำงานของใยประสาทนำเข้า และเกิดขึ้นที่ทั้งระบบประสาทส่วนปลายและส่วนกลาง เพราะเหตุแห่งตัวกระตุ้นที่มีโอกาสทำเนื้อเยื่อ/ร่างกายให้เสียหาย การทำงานเริ่มต้นที่โนซิเซ็ปเตอร์ (ซึ่งบางครั้งเรียกอย่างไม่ตรงความหมายว่า ตัวรับรู้ความเจ็บปวด) ที่สามารถตรวจจับความเปลี่ยนแปลงเชิงกล เชิงอุณหภูมิ หรือเชิงเคมีที่สูงกว่าระดับขีดเริ่มเปลี่ยนของโนซิเซ็ปเตอร์ และเมื่อถึงขีดนี้แล้ว โนซิเซ็ปเตอร์ก็จะส่งสัญญาณไปยังไขสันหลังแล้วเลยไปถึงสมอง เป็นกระบวนการที่เริ่มการตอบสนองอัตโนมัติของระบบประสาทอิสระหลายอย่าง และอาจจะทำให้เกิดความเจ็บปวดอันเป็นอัตวิสัย ในสัตว์ที่รับรู้ความรู้สึกได้ โนซิเซ็ปเตอร์จะสร้างศักยะงานเป็นขบวนเพื่อตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอันตราย และความถี่ของขบวนศักยะงานนั้น จะเป็นตัวบอกระดับอันตรายของตัวกระตุ้น.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและโนซิเซ็ปชัน · ดูเพิ่มเติม »

ไตรไอโอโดไทโรนีน

ตรไอโอโดไทโรนีน (triiodothyronine), C15H12I3NO4 หรือที่รู้จักในชื่อ T3 เป็นฮอร์โมนจากต่อมไทรอ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและไตรไอโอโดไทโรนีน · ดูเพิ่มเติม »

เฟอร์ริติน

ฟอร์ริติน (Ferritin) เป็นโปรตีนในเซลล์ทั่วไปที่สะสมธาตุเหล็กและปล่อยมันอย่างเป็นระบบ โปรตีนนี้มีในสิ่งมีชีวิตเกือบทั้งหมด รวมทั้งสาหร่าย แบคทีเรีย พืชชั้นสูง และสัตว์ ในมนุษย์ มันมีหน้าที่เป็นสารบัฟเฟอร์เพื่อไม่ให้ขาดเหล็กหรือมีเหล็กเกิน และพบในเนื้อเยื่อโดยมากในรูปแบบของโปรตีนในไซโตซอล (ในไซโทพลาซึมของเซลล์) แต่ก็มีส่วนหนึ่งที่อยู่ในเลือดโดยทำหน้าที่เป็นตัวขนส่งธาตุเหล็ก ระดับเฟอร์ริตินในเลือดยังเป็นตัวชี้ทางชีวภาพ (biomarker) ของปริมาณธาตุเหล็กที่สะสมในร่างกาย และดังนั้น จึงสามารถตรวจสอบเพื่อวินิจฉัยภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก (iron-deficiency anemia) เฟอร์ริตินเป็นคอมเพล็กซ์โปรตีนรูปทรงกลมที่มีหน่วยย่อย 24 หน่วยและเป็น "โปรตีนเก็บธาตุเหล็กในเซลล์" หลักทั้งในโพรแคริโอตและยูแคริโอต โดยเก็บเหล็กในรูปแบบที่ละลายน้ำได้และไม่มีพิษ ส่วนเฟอร์ริตินที่ไม่รวมเข้ากับธาตุเหล็กก็จะเรียกว่า apoferritin.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและเฟอร์ริติน · ดูเพิ่มเติม »

เพาล์ เอร์ลิช

ล์ เอร์ลิช (Paul Ehrlich; 14 มีนาคม ค.ศ. 1854 – 20 สิงหาคม ค.ศ. 1915) เป็นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน มีผลงานในด้านวิทยาภูมิคุ้มกัน โลหิตวิทยา และเคมีบำบัด เขาค้นพบวิธีก่อนหน้าการย้อมสีกรัมเพื่อจำแนกเซลล์เม็ดเลือดต่าง ๆ มีส่วนในการพัฒนาเซรุ่มและยังเป็นผู้ตั้งทฤษฎีสายโซ่ด้านข้าง (Side-chain theory) ที่ว่าด้วยระบบภูมิคุ้มกัน เพาล์ เอร์ลิช เกิดเมื่อปี..

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและเพาล์ เอร์ลิช · ดูเพิ่มเติม »

เพนกวินจักรพรรดิ

นกวินจักรพรรดิ (Emperor Penguin) เป็นเพนกวินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาสปีชีส์ต่างๆ ที่มีถิ่นฐานอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา ตัวผู้และตัวเมียมีสีขนและขนาดใกล้เคียงกัน สูงราว และหนักระหว่าง 22–37 กิโลกรัม (48–82 ปอนด์) ขนด้านหลังสีดำตัดกันกับขนด้านหน้าตรงบริเวณท้องที่มีสีขาว อกตอนบนสีเหลืองอ่อนและค่อยๆ ไล่ลงมาจนเป็นสีขาว และบริเวณหูเป็นสีเหลืองจัด เพนกวินจักรพรรดิก็เป็นเช่นเดียวกันกับเพนกวินชนิดอื่นที่เป็นนกที่บินไม่ได้ แต่มีรูปร่างที่เพรียวและปีกที่ลู่ตามตัวแต่แข็งแบนเหมือนครีบที่เหมาะกับการเป็นสัตว์น้ำมากกว่าที่จะเป็นนก อาหารที่บริโภคส่วนใหญ่เป็นปลา และรวมทั้งสัตว์ประเภทกุ้ง-กั้ง-ปู (crustacean) เช่น ตัวเคย และ สัตว์ประเภทเซฟาโลพอดเช่นปลาหมึก เมื่อดำน้ำหาอาหารเพนกวินจักรพรรดิสามารถอยู่ใต้น้ำได้นานถึง 18 นาที และสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 535 เมตรเนื่องจากลักษณะหลายอย่างที่ช่วยในการอยู่ใต้น้ำได้นานเช่นโครงสร้างของฮีโมโกลบินที่ทำให้มีชีวิตอยู่ได้ในบรรยากาศที่มีระดับออกซิเจนต่ำ โครงกระดูกที่แน่นที่ช่วยต้านความกดดันสูง (barotrauma) และความสามารถในการลดการเผาผลาญของร่างกาย (กระบวนการสร้างและสลาย) และการปิดการทำงานอวัยวะที่ไม่จำเป็นได้ เพนกวินจักรพรรดิมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีจากการเดินทางราว 50 ถึง 120 กิโลเมตรจากฝั่งทะเลไปยังบริเวณที่ทำการผสมพันธุ์ทุกปีเพื่อที่จะไปหาคู่ ผสมพันธุ์ กกและฟักไข่ และเลี้ยงลูกนกที่เกิดใหม่ และเป็นเพนกวินชนิดเดียวที่ผสมพันธุ์ระหว่างฤดูหนาวแบบอาร์กติก แหล่งผสมพันธุ์อาจจะเป็นบริเวณกว้างใหญ่ที่มีเพนกวินอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นพันๆตัว ตัวเมียจะออกไข่ฟองเดียวทิ้งไว้ให้ตัวผู้ยืนกกระหว่างขาเป็นเวลาสองเดือนขณะที่ตัวเองเดินกลับไปทะเลเพื่อไปหาอาหารให้ตัวเองและนำกลับมาให้ลูกที่เกิดใหม่ เมื่อกลับมาทั้งพ่อและแม่ก็จะสลับกันเลี้ยงลูก อายุเฉลี่ยของเพนกวินจักรพรรดิราว 20 ปีและบางตัวอาจจะถึง 50 ปีก็ได้.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและเพนกวินจักรพรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

เกลือแร่

กลือแร่ (Dietary mineral) มีบทบาทและหน้าที่สำคัญใน ร่างกายหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย เป็นองค์ประกอบของ เซลล์เนื้อเยื่อและเส้นประสาท เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ ฮอร์โมน และวิตามิน นอกจากนี้ เกลือแร่ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อในทุกอวัยวะ จากความสำคัญและหน้าที่ ดังกล่าวนั้น จะเห็นว่า เกลือแร่เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายต้องได้ รับเพียงพอ ร่างกายจึงจะเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่และแข็งแรง อาหารทั่วไปที่เป็นแหล่งของเกลือแร่ทั้งชนิดหลักและชนิดปริมาณน้อยแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของอาหาร ตัวอย่าง เกลือแร่ที่มีความสำคัญต่อร่างกายประกอบด้วย แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไอโอดีน เหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง และโพแทสเซียม ร่างกายมีเกลือแร่ 4% ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการมีดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและเกลือแร่ · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดพาชีเนียน

ม็ดพาชีเนียน (Pacinian corpuscles) หรือ Lamellar corpuscles (เม็ดเป็นชั้น ๆ) เป็นตัวรับแรงกล (mechanoreceptor) หุ้มปลายพิเศษหลักอย่างหนึ่งในสี่อย่างที่ผิวหนังซึ่งไม่มีขน เป็นปลายประสาทที่หุ้มด้วยเซลล์ซึ่งไม่ใช่เซลล์ประสาท (schwann cell) มีลักษณะเป็นชั้น ๆ คล้ายหัวหอมที่เต็มไปด้วยน้ำในระหว่างชั้น โดยชั้นนอกสุดจะหนาเป็นพิเศษและชั้นในสุดจะต่างจากชั้นอื่น ๆ ทั้งทางกายวิภาคและทางเคมีภูมิคุ้มกัน เม็ดอยู่ในผิวหนังที่ไวต่อแรงสั่นและการเปลี่ยนแรงดัน โดยอยู่ในหนังแท้ใต้ผิวหนังประมาณ 2-3 มม.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและเม็ดพาชีเนียน · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดเลือดแดง

ซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายมนุษย์ เม็ดเลือดแดง (red blood cell, Erythrocyte: มาจากภาษากรีก โดย erythros แปลว่า "สีแดง" kytos แปลว่า "ส่วนเว้า" และ cyte แปลว่า "เซลล์") มีหน้าที่ในการส่งถ่ายออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เม็ดเลือดแดงมีขนาดประมาณ 6-8 ไมครอน มีลักษณะค่อนข้างกลม เว้าบริเวณกลางคล้ายโดนัท ไม่มีนิวเคลียส มีสีแดง เนื่องจากภายในมีสารฮีโมโกลบิน โดยในกระแสเลือดคนปกติจะพบเม็ดเลือดแดงที่เจริญเติบโตเต็มที่ (Mature red cell) มีเพียงไม่เกิน 2% ที่สามารถพบเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (Reticulocyte) ได้.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและเม็ดเลือดแดง · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อบุช่องท้อง

ื่อบุช่องท้อง (peritoneum) เป็นเนื้อเยื่อ 2 ชั้นที่คลุมอยู่โดยรอบช่องท้อง และห่อหุ้มอวัยวะภายใน เยื่อบุช่องท้องแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและเยื่อบุช่องท้อง · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อคลุม

ื่อคลุม (tectorial membrane ตัวย่อ TM) เป็นเนื้อเยื่อที่ไม่ใช่เป็นเซลล์เยื่อหนึ่งในหูชั้นใน โดยอีกเยื่อหนึ่ง (ที่เป็นเซลล์) ก็คือเยื่อกั้นหูชั้นใน (basilar membrane, BM) เยื่อคลุมอยู่เหนือ spiral limbus กับอวัยวะของคอร์ติ และทอดไปตามยาวของคอเคลียขนานกับ BM ถ้าแบ่งตามด้านกว้าง (radial) เยื่อคลุมจะมีสามเขต คือ limbal zone, middle zone และ marginal zone โดย limbal zone เป็นส่วนบางที่สุดและอยู่เหนือ auditory teeth of Huschke และมีริมในยึดอยู่กับ spiral limbus ส่วน marginal zone จะเป็นส่วนหนาสุดและแบ่งจาก middle zone โดย Hensen's Stripe เยื่อคลุมโดยทั่วไปคลุมอยู่เหนือเซลล์ขนด้านใน (inner hair cell, IHC) ที่เป็นตัวรับเสียง และเหนือเซลล์ขนด้านนอก (outer hair cells) ที่เคลื่อนไหวได้เองอาศัยไฟฟ้า เมื่อเสียงวิ่งผ่านหูชั้นใน เยื่อคลุมก็จะขยับเร้า IHC ผ่านน้ำที่ล้อมอยู่ และเร้า OHC โดยตรงที่ stereocilia อันยาวสุดของ OHC ซึ่งเป็นส่วนเชื่อมติดกับเยื่อคลุม.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและเยื่อคลุม · ดูเพิ่มเติม »

เทสโทสเตอโรน

ทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนหลักในกลุ่มฮอร์โมนเพศชายและสเตอรอยด์การสร้าง (anabolic steroid) ประเภทหนึ่งที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก มีบทบาทสำคัญในพัฒนาการของเนื้อเยื่อในระบบสืบพันธุ์ชาย เช่น อัณฑะและต่อมลูกหมาก ตลอดจนส่งเสริมลักษณะเฉพาะทางเพศทุติยภูมิ เช่น การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อกับกระดูก และการเกิดขนตัว นอกจากนั้นแล้ว ฮอร์โมนยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ต่อสุขภาพและความอยู่เป็นสุข ตลอดจนป้องกันโรคกระดูกพรุน ระดับฮอร์โมนที่ไม่พอในชาย อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ความอ่อนแอและการเสียกระดูก ฮอร์โมนอาจใช้เพื่อรักษาอวัยวะเพศชายทำงานไม่พอ (male hypogonadism) และมะเร็งเต้านมบางชนิด เนื่องจากระดับฮอร์โมนจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุ แพทย์บางครั้งจะให้ฮอร์โมนสังเคราะห์กับชายสูงอายุเพื่อแก้ปัญหาการขาด เทสโทสเตอโรนเป็นสเตอรอยด์ในกลุ่ม androstane ที่มีกลุ่มคีโทนและไฮดรอกซิลที่ตำแหน่ง 3 และ 17 ตามลำดับ ซึ่งสามารถสังเคราะห์จากคอเลสเตอรอลในหลายขั้นตอน และตับจะเปลี่ยนมันเป็นเมแทบอไลต์ที่ไม่มีฤทธิ์ ฮอร์โมนสามารถเข้ายึดและออกฤทธิ์ต่อตัวรับแอนโดรเจน (androgen receptor) ในนิวเคลียสของเซลล์ ในมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก อัณฑะเป็นอวัยวะที่หลั่งฮอร์โมนในชาย และรังไข่ในหญิงแม้ในระดับที่ต่ำกว่า ต่อมหมวกไตก็หลั่งฮอร์โมนแม้เล็กน้อยด้วย โดยเฉลี่ย ในชายผู้ใหญ่ ระดับเทสโทสเตอโรนจะอยู่ที่ 7-8 เท่าของหญิงผู้ใหญ่ เพราะฮอร์โมนมีเมแทบอลิซึมที่สูงกว่าในชาย การผลิตแต่ละวันจะมากกว่าหญิงประมาณ 20 เท่า หญิงยังไวต่อฮอร์โมนมากกว่าชายอีกด้ว.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและเทสโทสเตอโรน · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ประสาท

ซลล์ประสาท หรือ นิวรอน (neuron,, หรือ) เป็นเซลล์เร้าได้ด้วยพลัง ของเซลล์อสุจิที่ทำหน้าที่ประมวลและส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไฟฟ้าและเคมี โดยส่งผ่านจุดประสานประสาท (synapse) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อโดยเฉพาะกับเซลล์อื่น ๆ นิวรอนอาจเชื่อมกันเป็นโครงข่ายประสาท (neural network) และเป็นองค์ประกอบหลักของสมองกับไขสันหลังในระบบประสาทกลาง (CNS) และของปมประสาท (ganglia) ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง (PNS) นิวรอนที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและเซลล์ประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อขาว

นื้อขาว"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (White matter, substantia alba) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสองส่วนของระบบประสาทกลางในสมอง โดยมากประกอบด้วยเซลล์เกลียและแอกซอนหุ้มด้วยปลอกไมอิลิน ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณจากเขตหนึ่งในซีรีบรัมไปยังอีกเขตหนึ่ง และส่งสัญญาณระหว่างซีรีบรัมและศูนย์สมองอื่น ๆ ในระดับที่ต่ำกว่า เนื้อขาวของสมองที่ผ่าออกใหม่ ๆ ปรากฏเป็นสีชมพูอมขาวดังที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ก็เพราะว่าปลอกไมอิลินโดยมากทำด้วยลิพิด (ไขมัน) มีหลอดเลือดฝอยวิ่งผ่าน และที่มีสีขาวก็เพราะดองไว้ในฟอร์มาลดีไฮด์ องค์ประกอบอีกส่วนหนึ่งของสมองก็คือเนื้อเทา (ซึ่งปรากฏเป็นสีชมพูอมน้ำตาลก็เพราะหลอดเลือดฝอย) ซึ่งประกอบด้วยนิวรอน ส่วนที่สามในสมองที่ปรากฏเป็นสีที่ดูเข้มกว่า ก็เพราะมีระดับเม็ดสี melanin ที่สูงกว่าเขตรอบข้าง เป็นส่วนของ substantia nigra ที่มีนิวรอนประเภทที่ใช้โดพามีนเป็นสารสื่อประสาท ให้สังเกตว่าเนื้อขาวบางครั้งปรากฏเป็นสีเข้มกว่าเนื้อเทาเมื่อดูในสไลด์ใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ก็เพราะเหตุสีที่ย้อม ถึงแม้ว่าเนื้อขาวจะได้รับการพิจารณามานานว่าเป็นส่วนที่ไม่ได้ทำอะไร แต่จริง ๆ ก็ทำหน้าที่มีผลสำคัญต่อการเรียนรู้และการทำงานของสมอง ในขณะที่เนื้อเทาทำหน้าที่เกี่ยวกับการแปลผลและประชาน (คือการรับรู้) เนื้อขาวก็ทำหน้าที่ควบคุมการถ่ายทอดศักยะงาน ที่ประสานการสื่อสารระหว่างเขตต่าง ๆ ของสมอง.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและเนื้อขาว · ดูเพิ่มเติม »

เนื้องอกไม่ร้าย

เนื้องอกไม่ร้ายคือกลุ่มของเซลล์เนื้องอกที่ไม่มีศักยภาพที่จะรุกรานเนื้อเยื่อข้างเคียงและไม่สามารถแพร่กระจายได้ คุณสมบัติเหล่านั้นถือเป็นคุณสมบัติของมะเร็ง เพราะฉะนั้นเนื้องอกไม่ร้ายจึงถือว่าไม่ใช่มะเร็ง ส่วนใหญ่แล้วเนื้องอกไม่ร้ายจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ากว่ามะเร็ง ตัวเซลล์ของเนื้องอกมักมีการพัฒนาประเภทไปมากกว่า (ใกล้เคียงกับเซลล์ปกติมากกว่า) ส่วนใหญ่มีเปลือกเนื้อเยื่อเกี่ยวพันห่อหุ้ม หรือยังคงอยู่ภายใต้ชั้นเยื่อบุปกติ ตัวอย่างที่พบบ่อยของเนื้องอกไม่ร้ายได้แก่ไฝและเนื้องอกกล้ามเนื้อเรียบมดลูก เป็นต้น หมวดหมู่:อภิธานศัพท์แพทย์ หมวดหมู่:เนื้องอกไม่ร้าย.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและเนื้องอกไม่ร้าย · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อตายเหตุขาดเลือด

นื้อตายเหตุขาดเลือ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและเนื้อตายเหตุขาดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อตายเน่า

เนื้อตายเน่า (Gangrene) คือภาวะซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อบางส่วนของร่างกายตายไปเป็นปริมาณมาก จนเป็นภาวะซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ภาวะนี้อาจเกิดจากการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อ หรือพบในผู้ป่วยเรื้อรังจากโรคที่ส่งต่อการไหลเวียนเลือด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนนั้นๆ ทำให้เซลล์ตาย โรคเบาหวานและการสูบบุหรี่เป็นเวลานานเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเนื้อตายเน่าได้ หมวดหมู่:อาการและอาการแสดงที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและเนื้อตายเน่า · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อบุผิว

นื้อเยื่อบุผิว (Epithelium) เป็นเนื้อเยื่อพื้นฐานหนึ่งในสี่ชนิดของสัตว์ ร่วมกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อประสาท เนื้อเยื่อบุผิวบุโพรงและพื้นผิวของโครงสร้างทั่วร่างกาย และยังเกิดเป็นต่อมจำนวนมาก หน้าที่ของเซลล์บุผิวรวมไปถึงการหลั่ง การเลือกดูดซึม การป้องกัน การขนส่งระหว่างเซลล์และการตรวจจับการรู้สึก ชั้นเนื้อเยื่อบุผิวนั้นไร้หลอดเลือด ฉะนั้น เนื้อเยื่อบุผิวจึงได้รับอาหารผ่านการแพร่ของสสารจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ข้างใต้ ผ่านเยื่อฐาน เนื้อเยื่อบุผิวสามารถจัดเป็นกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อได้.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและเนื้อเยื่อบุผิว · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อท่อลำเลียง

ภาพตัดขวางของก้านขึ้นฉ่าย แสดงภาพมัดท่อลำเลียง รวมถึงโฟลเอ็มและไซเล็ม เนื้อเยื่อท่อลำเลียง (vascular tissue) เป็นเนื้อเยื่อที่พบในพืชมีท่อลำเลียง ที่สำคัญได้แก่ ไซเล็มและโฟลเอ็ม ทำหน้าที่ขนส่งน้ำ สารละลายและสารอาหารภายในต้นพืช นอกจากนี้ยังมีเนื้อเยื่อเจริญสองชนิดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อท่อลำเลียงได้แก่ วาสคิวลาร์แคมเบียมและคอร์กแคมเบียม หมวดหมู่:เนื้อเยื่อ หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์ของพืช หมวดหมู่:สรีรวิทยาของพืช.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและเนื้อเยื่อท่อลำเลียง · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อคัพภะ

อวัยวะที่เจริญมาจาก Germ layer ในแต่ละชั้น ชั้นเนื้อเยื่อคัพภะ (Germ layer) เป็นเนื้อเยื่อ (กลุ่มของเซลล์) ที่เกิดขึ้นระหว่างการเกิดเอ็มบริโอ (embryogenesis) ของสัตว์ แม้ว่ามักกล่าวถึงในแง่การเจริญในสัตว์มีกระดูกสันหลัง แต่ความจริงแล้วสัตว์ทุกชนิดที่มีวิวัฒนาการซับซ้อนกว่าฟองน้ำ มีการสร้างชั้นเนื้อเยื่อปฐมภูมิ (primary tissue layers, บางครั้งเรียกว่า primary germ layers) 2 หรือ 3 ชั้น แล้ว สัตว์ที่มีสมมาตรในแนวรัศมี เช่น ไนดาเรีย (cnidarian) หรือทีโนฟอรา (ctenophore) สร้าง germ layer ขึ้นมา 2 ชั้น ได้แก่ เอ็กโทเดิร์ม และเอนโดเดิร์ม จึงเรียกว่า ไดโพลบลาสติก (diploblastic) ส่วนสัตว์ที่มีสมมาตรแบบ 2 ด้านคือตั้งแต่หนอนตัวแบนจนถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะมีการสร้างเนื้อเยื่อชั้นที่ 3 ขึ้นมา เรียกว่า เมโซเดิร์ม จึงเรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า ไตรโพลบลาสติก (triploblastic) Germ layer จะเจริญต่อไปเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะของสัตว์ทุกชนิดผ่านกระบวนการเกิดอวัยวะ (organogenesis).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและเนื้อเยื่อคัพภะ · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อประสาท

ตัวอย่างของเนื้อเยื่อประสาท เนื้อเยื่อประสาท (Nervous tissue) เป็นหนึ่งในเนื้อเยื่อของสัตว์มีกระดูกสันหลัง เนื้อเยื่อประสาททำหน้าที่ในการติดต่อสื่อสารระหว่างส่วนต่างๆ ของร่างกาย เนื้อเยื่อนี้ประกอบด้วยเซลล์ประสาทหรือนิวรอน (neuron) ทำหน้าที่ส่งกระแสประสาท (impulse) และเซลล์เกลีย (glia หรือ neuroglia) ทำหน้าที่ช่วยในการส่งสัญญาณประสาทและให้สารอาหารต่างๆ แก่เซลล์ประสาท เนื้อเยื่อประสาทในสิ่งมีชีวิตรวมตัวกันเป็นระบบประสาท เนื้อเยื่อประสาทประกอบขึ้นมาจากเซลล์ประสาทที่มีที่มาแตกต่างกันมากมาย ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันที่แอกซอน (หรือ แกนประสาท) ซึ่งเป็นส่วนเส้นใยที่ยืดยาวออกมาจากตัวเซลล์ ทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณศักยะทำงาน (action potential signals) ไปยังเซลล์ประสาทถัดไป.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและเนื้อเยื่อประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

นื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) เป็นหนึ่งในสี่เนื้อเยื่อสัตว์พื้นฐาน (อันได้แก่ เนื้อเยื่อบุผิว, เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน, เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ, และ เนื้อเยื่อประสาท) เนื้อเยื่อนี้มีลักษณะสำคัญร่วมกันคือ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อเจริญ

นื้อเยื่อเจริญ (meristem) คือเนื้อเยื่อในพืชที่ประกอบไปด้วยเซลล์ที่ยังไม่ผ่านการเปลี่ยนสภาพ (เซลล์ที่สามารถแบ่งตัวได้) ซึ่งมักพบในตำแหน่งที่พืชมีการเจริญเติบโต โดยปกติแล้วเซลล์พืชที่ทำการแบ่งตัวแล้วจะไม่สามารถแบ่งตัวออกมาได้อีก เนื้อเยื่อเจริญจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการแบ่งตัวของเซลล์เนื่องจากประกอบไปด้วยเซลล์ใหม่ที่จะถูกนำไปขยายเนื้อเยื่อและนำไปสู่สร้างอวัยวะใหม่ เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับต้นพืช เซลล์ในเนื้อเยื่อเจริญนั้นมีรูปแบบการทำงานที่คล้ายคลึงกับเซลล์ต้นกำเนิดที่พบในสัตว์ คือมีบางเซลล์ที่ยังไม่ผ่านการเปลี่ยนสภาพ แต่สามารถที่จะทำการแบ่งเซลล์ในภายหลังได้ และเซลล์ทั้งสองประเภทยังมีขนาดเล็กและเต็มไปด้วยโปรโตพลาสซึม ทั้งยังมีแวคิวโอลที่มีขนาดเล็กมาก ส่วนไซโทพลาสซึมนั้นไม่มีพลาสติดที่ผ่านการเปลี่ยนสภาพประกอบอยู่ด้วย (คือคลอโรพลาสหรือโครโมพลาส) แม้ว่าจะโพรพลาสติดซึ่งเป็นขั้นก่อนของพลาสติดอยู่ก็ตาม เซลล์ในเนื้อเยื่อเจริญจะอัดแน่นอยู่ด้วยกันโดยไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ และจะมีผนังเซลล์ที่บางมาก การดำรงสภาพกลุ่มเซลล์เหล่านี้ต้องการสมดุลระหว่างกระบวนการที่ตรงข้ามกันสองกระบวนการคือการเริ่มสร้างอวัยวะและการแทนที่เซลล์ต้นกำเนิด เนื้อเยื่อเจริญสามารถแบ่งประเภทได้ตามตำแหน่งที่อยู่ แบ่งได้เป็น 3 ประเภทได้แก.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและเนื้อเยื่อเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

Burst fracture

burst fracture เป็นการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังแบบหนึ่งที่ลำกระดูกสันหลัง (vertebra) แตก/หักออกเนื่องจากเกิดภาระ/โหลดมากเกินที่โครงกระดูกแกน (เช่น รถชน ตกมาจากที่สูง หรือแม้แต่การชักบางอย่าง) โดยมีส่วนแหลมของลำกระดูกทิ่มเข้าไปในเนื้อเยื่อรอบ ๆ และบางครั้งเข้าไปในไขสันหลังเอง burst fracture จะจัดตาม "ความรุนแรงของการเสียรูปทรง, ความรุนแรงของอันตรายต่อช่องบรรจุไขสันหลัง, ระดับที่ลำกระดูกสั้นลง, และระดับความบกพร่องทางประสาท" เป็นการบาดเจ็บที่พิจารณาว่า รุนแรงกว่ากระดูกหักเหตุอัด (compression fracture) เพราะอาจตามด้วยความเสียหายทางประสาทในระยะยาว ซึ่งสามารถแสดงอาการทั้งหมดอย่างทันที หรือค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็นระยะเวลานาน.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและBurst fracture · ดูเพิ่มเติม »

CYP3A4

ซโทโครม P450 3A4 (Cytochrome P450 3A4; ชื่อย่อ: CYP3A4) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายมนุษย์ ส่วนใหญ่พบได้ที่ตับและลำไส้ โดยเอนไซม์นี้จะทำหน้าที่ออกซิไดซ์โมเลกุลอินทรีย์แปลกปลอมขนาดเล็ก (ซีโนไบโอติค) เช่น สารพิษ หรือยา เพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดสารแปลกปลอมเหล่านี้ออกไปได้ ยารักษาโรคส่วนใหญ่มักถูกทำให้หมดฤทธิ์ได้โดยเอนไซม์ CYP3A4 แต่ในทางตรงกันข้าม กลับมียาบางชนิดที่ถูกทำให้มีฤทธิ์ในการรักษาได้ด้วยเอนไซม์นี้ อย่างไรก็ตาม สารบางอย่าง เช่น น้ำเกรปฟรูต และยาบางชนิดอาจมีฤทธิ์รบกวนการทำงานของเอนไซม์ CYP3A4 ได้ โดยผลที่เกิดขึ้นจากอันตรกิริยาระหว่างสารเหล่านี้กับเอนไซม์ CYP3A4 อาจเพิ่มหรือลดประสิทธิภาพการรักษาของยาที่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้วยเอนไซม์ CYP3A4 ได้ CYP3A4 เป็นเอนไซม์ในกลุ่มออกซิไดซิงเอนไซม์ตระกูลไซโตโครม P450 ซึ่งเอนไซม์สมาชิกอื่นในกลุ่มเอนไซม์นี้ล้วนมีส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเปลี่ยนแปลงยาหลายชนิดที่แตกต่างกันออกไป แต่ CYP3A4 เป็นเอนไซม์มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงยาได้หลากหลายชนิดมากที่สุด CYP3A4 เป็นเอนไซม์ที่เป็นสารฮีโมโปรตีนเช่นเดียวกันกับเอนไซม์อื่นในตระกูลนี้ กล่าวคือ เป็นโปรตีนที่มีกลุ่มของฮีมซึ่งมีอะตอมของธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ ในมนุษย์ โปรตีน CYP3A4 จะถูกเข้ารหัสโดยยีน CYP3A4 ซึ่งยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 บน โครโมโซมคู่ที่ 7 โลคัส 7q21.1.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและCYP3A4 · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 18: อาการ อาการแสดง และความผิดปกติที่พบจากการตรวจทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการ

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและICD-10 บทที่ 18: อาการ อาการแสดง และความผิดปกติที่พบจากการตรวจทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการ · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก · ดูเพิ่มเติม »

Selective serotonin re-uptake inhibitors

Selective serotonin re-uptake inhibitors หรือ serotonin-specific reuptake inhibitors (ตัวย่อ SSRI, SSRIs) เป็นกลุ่มยา (class of drugs) ที่ปกติใช้เป็นยาแก้ซึมเศร้าเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า (MDD) และโรควิตกกังวล กลไกการทำงานของ SSRIs ยังเป็นเรื่องไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่า SSRI เพิ่มระดับสารสื่อประสาทเซโรโทนินนอกเซลล์ประสาทโดยจำกัดการนำไปใช้ใหม่ในเซลล์ก่อนไซแนปส์ (presynaptic) เป็นการเพิ่มระดับเซโรโทนินในช่องไซแนปส์ (synaptic cleft) ที่สามารถเข้ายึดกับตัวรับ (receptor) ของเซลล์หลังไซแนปส์ (postsynaptic) ได้ ยาแต่ละประเภทมีการเลือกสรร (selectivity) ในระดับต่าง ๆ กันต่อตัวขนส่งโมโนอะมีนประเภทอื่น ๆ แต่ SSRIs แบบบริสุทธิ์จะมีสัมพรรคภาพ (affinity) ที่อ่อนต่อโปรตีนขนส่งนอร์เอพิเนฟรินและโปรตีนขนส่งโดพามีน SSRIs เป็นยาแก้ซึมเศร้าที่แพทย์สั่งให้คนไข้มากที่สุดในประเทศหลาย ๆ ประเทศ แต่ประสิทธิผลของ SSRIs ต่อโรคซึมเศร้าในระดับอ่อนหรือปานกลางยังเป็นเรื่องขัดแย้ง.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและSelective serotonin re-uptake inhibitors · ดูเพิ่มเติม »

The China Study

หนังสือ The China Study (แปลว่า งานวิจัยในเมืองจีน, พิมพ์ปี ค.ศ. 2005) มีผู้เขียน 2 คนคือ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและThe China Study · ดูเพิ่มเติม »

Tm

TM อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อและTm · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »