โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ล

ดัชนี จอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ล

อร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ล (George Monck, 1st Duke of Albemarle; 6 ธันวาคม ค.ศ. 1608 – 3 มกราคม ค.ศ. 1670) เป็นนักการทหารและนักการเมืองชาวอังกฤษที่มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษกลับคืนให้แก่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2.

9 ความสัมพันธ์: พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษยุทธการที่วุร์สเตอร์ยุครัฐในอารักขารัฐสภายาวสงครามกลางเมืองอังกฤษสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สองสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่หนึ่งเกาะอีซาเบลา (กาลาปาโกส)

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Charles II of England; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660 รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านพิวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายแองกลิคันไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชปฏิญญาพระคุณการุญในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679 ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การลอบวางแผนโพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลการกีดกัดต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุกแห่งยอร์กพระอนุชาของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุกแห่งยอร์กขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การลอบวางแผนไรย์เฮาส์” ที่จะปลงพระองค์เองและดยุกแห่งยอร์กในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร พระเจ้าชาลส์ไม่มีพระราชโอรสธิดากับพระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซา เพราะพระนางทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระราชโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มพิวริตัน.

ใหม่!!: จอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ลและพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ

ระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ผู้ฟื้นฟูราชวงศ์ขึ้นใหม่หลังจากสงครามกลางเมือง การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ หรือ ยุคฟื้นฟู (English Restoration หรือ The Restoration) เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1660 เมื่อราชวงศ์อังกฤษ สก็อตแลนด์ และไอร์แลนด์ ได้ก่อตั้งขึ้นใหม่ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 หลังจากช่วงสงครามกลางเมืองในปี ค.ศ. 1642 - ค.ศ. 1651.

ใหม่!!: จอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ลและการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่วุร์สเตอร์

ทธการที่วุร์สเตอร์ (Battle of Worcester) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 ที่วุร์สเตอร์ในอังกฤษและเป็นยุทธการสุดท้ายของสงครามกลางเมืองอังกฤษ ที่ฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ได้รับชัยชนะต่อฝ่ายนิยมกษัตริย์ (Royalist) ที่นำโดยพระเจ้าชาลส์ที่ 2 โดยทั่วไปเป็นกองกำลังสกอตแลนด์ กองกำลังเพียง 16,000 คนของกองกำลังฝ่ายนิยมกษัตริย์ไม่สามารถต่อสู้กับกองกำลังที่มีจำนวนเหนือกว่ามาก 28,000 คนของ "กองทัพตัวแบบใหม่" (New Model Army) ของครอมเวลล์ได้จนในที่สุดก็จำต้องพ่ายแพ้.

ใหม่!!: จอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ลและยุทธการที่วุร์สเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุครัฐในอารักขา

รัฐในอารักขา (Protectorate) เป็นช่วงสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์เครือจักรภพอังกฤษซึ่งดินแดนอังกฤษและเวลส์, ไอร์แลนด์, และสกอตแลนด์ มีสถานะเป็นสาธารณรัฐ และมีผู้ปกครองเรียกว่า "เจ้าผู้อารักขา" (Lord Protector) เริ่มขึ้นใน..

ใหม่!!: จอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ลและยุครัฐในอารักขา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภายาว

การประชุมของรัฐสภายาว รัฐสภายาว (ภาษาอังกฤษ: Long Parliament) เป็นชื่อของรัฐสภาแห่งอังกฤษสมัยหนึ่งที่ถูกเรียกโดยสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1640 หลังจากที่สงครามบาทหลวง (Bishops' Wars) สิ้นสุดลง นามของสภาที่ได้รับเป็นเพราะเป็นสมัยประชุมที่ได้รับอนุมัติจากพระราชบัญญัติพิเศษเพื่อเป็นการป้องกันจากการยุบโดยมิได้รับมติเห็นชอบจากสมาชิกของรัฐสภาเอง สมาชิกของรัฐสภาก็มิได้ยุบสภานี้จนกระทั่งหลังจากสงครามกลางเมืองอังกฤษ และหลังจากสมัยไร้กษัตริย์ ในปี ค.ศ. 1660 16 March 1660 รัฐสภาเริ่มเปิดประชุมครั้งแรกในปี ค.ศ. 1640 แต่มาหยุดชะงักลงชั่วคราวในปี ค.ศ. 1649 เมื่อผู้สนับสนุน “กองทัพตัวอย่าง” ลาออก รัฐสภาหลังจากการหยุดชะงักก็กลายเป็น “รัฐสภารัมพ์” (Rump Parliament) ระหว่างสมัยการปกครองของรัฐบาลผู้พิทักษ์อังกฤษ (The Protectorate) รัฐสภารัมพ์ก็ถูกแทนด้วยการประชุมรัฐสภาอื่นๆ แต่ก็ถูกเรียกกลับมาหลังจากที่โอลิเวอร์ ครอมเวลล์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1658 โดยฝ่ายทหารเพื่อช่วยพยุงฐานะของการทหาร เมื่อไม่สำเร็จ นายพลจอร์จ มองค์ (George Monck, 1st Duke of Albemarle) ก็อนุญาตให้ผู้ที่ถูกกีดกันจากรัฐสภาในปี ค.ศ. 1649 กลับมาเข้าร่วมประชุมได้อีก เพื่อที่จะทำให้สามารถผ่านกฎหมายที่จำเป็นในการฟื้นฟูราชวงศ์และยุบรัฐสภายาวเอง ซึ่งเป็นการปูทางสำหรับรัฐสภาที่จะได้รับเลือกตั้งใหม่ที่เรียกว่า “รัฐสภาคอนเว็นท์ชั่น” (Convention Parliament).

ใหม่!!: จอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ลและรัฐสภายาว · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอังกฤษ

“หนูเห็นพ่อครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?” โดย วิลเลียม เฟรดเดอริค ยีมส์ (William Frederick Yeames) เป็นภาพรัฐสภาถามลูกชายของฝ่ายนิยมกษัตริย์ระหว่างสงครามกลางเมือง สงครามกลางเมืองอังกฤษ (English Civil War; ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) เป็นสงครามกลางเมืองของอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ที่ต่อเนื่องกันหลายครั้งระหว่างฝ่ายรัฐสภา และฝ่ายกษัตริย์นิยม สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646; ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1648 ถึงปี ค.ศ. 1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ฝ่ายหนึ่งและผู้สนับสนุนรัฐสภายาวอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ครั้งที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1651 เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามกลางเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาที่ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 ผลของสงครามกลางเมืองครั้งที่สองนำไปสู่การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1, การลี้ภัยของพระราชโอรสพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และการเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษจากระบอบพระมหากษัตริย์ไปเป็นระบบเครือจักรภพแห่งอังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1653 และต่อจากนั้นไปเป็นระบบรัฐผู้พิทักษ์ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ระหว่างปี ค.ศ. 1653 ถึงปี ค.ศ. 1659 เอกสิทธิ์ในการนับถือคริสต์ศาสนาของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ในอังกฤษสิ้นสุดลงด้วยการรวม การปกครองโดยโปรเตสแตนต์ (Protestant Ascendancy) ในไอร์แลนด์ ในด้านรัฐธรรมนูญสงครามครั้งนี้เป็นการวางรากฐานว่าการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ไม่สามารถทำได้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่อันที่จริงแล้วปรัชญานี้ก็มิได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังจนกระทั่งถึงสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปลายคริสต์ศตวรรษ.

ใหม่!!: จอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ลและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง

งครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง (Second Anglo-Dutch War; 4 มีนาคม ค.ศ. 1665 — 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1667) เป็นสงครามระหว่างอังกฤษกับ สาธารณรัฐเนเธอร์แลนด์และราชอาณาจักรเดนมาร์ก-นอร์เวย์ อังกฤษพยายามที่จะลดอิทธิพลของเนเธอร์แลนด์ในทางการค้า หลังจากที่ได้รับความสำเร็จในระยะต้นของสงครามแต่สงครามมาจบลงด้วยชัยชนะของเนเธอร์แลนด์โดยการลงนามในสนธิสัญญาเบรดา (Treaty of Breda) ในปี ค.ศ. 1667 แต่อังกฤษและฝรั่งเศสไม่พอใจในข้อตกลงซึ่งทำให้เกิดสงครามครั้งต่อไป.

ใหม่!!: จอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ลและสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่หนึ่ง

งครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่หนึ่ง (First Anglo-Dutch War หรือ First Dutch War หรือในเนเธอร์แลนด์ First English Sea-War; ค.ศ. 1652 - ค.ศ. 1654) เป็นสงครามระหว่างเครือจักรภพแห่งอังกฤษกับสาธารณรัฐเนเธอร์แลนด์ที่ต่อสู้กันทางทะเลโดยตลอดสงคราม สาเหตุของสงครามมาจากความขัดแย้งกันทางการค้าซึ่งเริ่มด้วยการที่อังกฤษขยายกองกำลังทางราชนาวีและเผยแพร่อำนาจมากยิ่งขึ้นบริเวณรอบเกาะอังกฤษ เป็นการทำให้สาธารณรัฐเนเธอร์แลนด์ต้องยอมรับความมีเอกสิทธิ์ของอังกฤษในการค้าขายกับอังกฤษและอาณานิคมของอังกฤษ.

ใหม่!!: จอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ลและสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

เกาะอีซาเบลา (กาลาปาโกส)

กาะอีซาเบลา (Isabela) เป็นเกาะใหญ่สุดของหมู่เกาะกาลาปาโกส ประเทศเอกวาดอร์ มีพื้นที่ 4,640 ตร.กม.

ใหม่!!: จอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ลและเกาะอีซาเบลา (กาลาปาโกส) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

George MonckGeorge Monck, 1st Duke of Albemarleจอร์จ มองก์จอร์จ มองค์ ดยุกแห่งอัลเบมาร์ลจอร์จ มองค์ ดยุคแห่งอาลเบอมาร์ลที่ 1

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »