โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การกลั่น

ดัชนี การกลั่น

อุปกรณ์การกลั่น การกลั่น (Distillation) เป็นกระบวนการทางเคมีอย่างหนึ่งในการแยกของเหลวผสมของสาร 2 ชนิดหรือมากกว่าโดยอาศัยคุณสมบัติจุดเดือดที่แตกต่างกัน เมื่อให้ความร้อนกับของเหลวจนอุณหภูมิถึงจุดเดือดของสารชนิดหนึ่ง สารชนิดนั้นจะระเหยออกมาเป็นไอผ่านท่อที่มีการลดอุณหภูมิทำให้เกิดการควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง วิธีนี้ใช่ในอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย ในอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากม.

18 ความสัมพันธ์: พีทีที โกลบอล เคมิคอลกรดซอร์บิกวอดก้าวิสกี้หอกลั่นอัปแซ็งต์ทรัพยากรน้ำตัวทำละลายตู้เย็นน้ำมันหอมระเหยน้ำเกลือแอฟริกากลางแอมโมเนียไฮโดรเจนโบรไมด์ไดคลอโรมีเทนเชื้อเพลิงเอทานอลเภสัชเวทเหล้ารัม

พีทีที โกลบอล เคมิคอล

ริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTT Global Chemical Public Company Limited ชื่อย่อ:GC) เป็นบริษัทด้านปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์ เกิดจากการควบบริษัท ระหว่าง บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTCH) และ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) (PTTAR) โดยได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทขึ้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2554 เพื่อก้าวขึ้นเป็นแกนนำของธุรกิจเคมีภัณฑ์ (Chemical Flagship) ของกลุ่ม ปตท.

ใหม่!!: การกลั่นและพีทีที โกลบอล เคมิคอล · ดูเพิ่มเติม »

กรดซอร์บิก

กรดซอร์บิก (sorbic acid) หรือ 2,4-กรดเฮกซะไดอีโนอิก (2,4-hexadienoic acid) เป็นสารประกอบอินทรีย์ในธรรมชาติ มีสูตรเคมีคือ C6H8O2 เป็นของแข็งไม่มีสี ละลายในน้ำและระเหิดได้เร็ว.

ใหม่!!: การกลั่นและกรดซอร์บิก · ดูเพิ่มเติม »

วอดก้า

แผนที่ประเทศที่มีประวัติศาสตร์ในการดื่มวอดก้า วอดก้า (Vodka) เป็นสุรากลั่นไม่มีสี มันเป็นของเหลวใสเกือบทั้งหมดเป็นน้ำและเอทานอลซึ่งถูกกลั่นให้บริสุทธิ์ — มักจะกลั่นหลายรอบ — จากส่วนผสมหมักอย่างกากน้ำตาลของมันฝรั่ง ธัญพืช (โดยมากเป็นข้าวไรย์หรือข้าวสาลี) หรือหัวบีท และส่วนผสมจำนวนน้อยมาก ๆ จำพวกสารแต่งรสหรือสิ่งเจือปนที่หลุดรอดไป คำว่าวอดก้ามีที่มาจากคำภาษาสลาวิกว่า "voda" (woda, вода) ซึ่งหมายถึง "น้ำ" วอดก้ามีแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน 35-70% โดยปริมาตร ซึ่งเหล้าวอดก้าของรัสเซียจะมีอยู่ 40% จากข้อมูลของพิพิธภัณฑ์วอดก้าในเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ประเทศรัสเซีย นักเคมี Dmitri Mendeleev พบว่า 38% เป็นอัตราส่วนที่ดีที่สุด แม้วอดก้าจะมีต้นกำเนิดมาจากยุโรป บริเวณประเทศโปแลนด์ ยูเครน และรัสเซีย มันก็เป็นที่นิยมดื่มในหลายแห่งทั่วโลก โดยใช้เป็นส่วนผสมในค็อกเทลสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่น ได้แก่ บรัดดีแมรี เดอะสครูไดรเวอร์ ไวต์รัสเซียน และ วอดก้ามาร์ตินี.

ใหม่!!: การกลั่นและวอดก้า · ดูเพิ่มเติม »

วิสกี้

ตัวอย่างวิสกี้สก็อต วิสกี้ (อังกฤษแบบสก๊อต: whisky/ อังกฤษแบบไอริช: whiskey) หมายถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลายชนิด ที่กลั่นจากธัญพืชซึ่งหมักเอาไว้ แล้วเก็บรักษาไว้ในถังไม้ (ปกติจะเป็นถังไม้โอ๊ก) เป็นเวลานานหลายปี ยกเว้นวิสกี้ที่ทำจากข้าวโพดในสหรัฐอเมริกาที่ไม่จำเป็นต้องเก็บรักษาดังกล่าว ธัญพืชที่ใช้ทำวิสกี้มีทั้ง ข้าวบาร์เลย์ ข้าวมอลต์ ข้าวไรย์ ข้าวสาลี และข้าวโพด เป็นต้น ต้นกำเนิดของวิสกี้ นักปะรวัติศาสตร์ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้เลยว่ามาจากสกอตแลนด์, ไอร์แลนด์ หรือ ตะวันออกกลาง.

ใหม่!!: การกลั่นและวิสกี้ · ดูเพิ่มเติม »

หอกลั่น

หอกลั่น (Distillation columns) ใช้สำหรับแยกสารผสม ที่ใช้กันมากที่สุดในภาคอุตสาหกรรม โดยส่วนใหญ่ใช้แยกน้ำมันดิบที่ประกอบไปด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดที่มี น้ำหนัก และจุดเดือด แตกต่างกัน ดังนั้นในขั้นตอนแรกจึงสามารถ แยกองค์ประกอบออกจากกันได้อย่างง่ายดาย โดยกระบวนการกลั่นลำดับส่วน หอกลั่นโดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ หอกลั่นแบบแพ๊ค (Packing Tower) และหอกลั่นแบบถาด (Tray Tower) หอกลั่นทั้งสองแบบจะเหมาะสมกับการกลั่นที่แตกต่างกันไปหอกลั่นแบบ Packing Tower ใช้ในการแยกของผสมที่มีจุดเดือดที่ไม่สูงมาก.

ใหม่!!: การกลั่นและหอกลั่น · ดูเพิ่มเติม »

อัปแซ็งต์

แก้วและช้อนที่ใช้เพื่อละลายน้ำตาลก้อนลงไปในอัปแซ็งต์ ภาพเขียน ''ภูตเขียว'' โดยอาลแบร์ แมญ็อง (ค.ศ. 1895) แสดงภาพกวีคนหนึ่งที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของภูตเขียว อัปแซ็งต์ (absinthe) เป็นเหล้าอาหนีชนิดหนึ่ง กลั่นจากสมุนไพรหลายชนิด ได้แก่ ดอกและใบของพรรณไม้ชนิด Artemisia absinthium ร่วมกับเมล็ดเทียนสัตตบุษย์, เมล็ดผักชีล้อม และสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ที่ใช้เป็นยาหรือทำอาหาร แต่เดิมจะมีสีเขียวตามธรรมชาติ แต่อาจไม่มีสีก็ได้ วรรณคดีตะวันตกเรื่องต่าง ๆ มักเรียกเหล้าชนิดนี้ว่า "เจ้าภูตเขียว" (la fée verte) ตามธรรมเนียมแล้ว อัปแซ็งต์จะถูกบรรจุขวดโดยมีปริมาณแอลกอฮอล์โดยปริมาตรในระดับสูง โดยได้รับการอธิบายว่าเป็นเครื่องดื่มกลั่นที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ร้อยละ 45–74 โดยปริมาตร แต่ตามปกติก็ถูกทำให้เจือจางด้วยน้ำก่อนบริโภค แม้ว่าบางครั้งอัปแซ็งต์จะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเหล้าหวาน (liqueur) แต่ก็ไม่มีการบรรจุอัปแซ็งต์ลงขวดโดยเติมน้ำตาลเพิ่ม ดังนั้นจึงจัดว่าเป็นเหล้า (spirit) ชนิดหนึ่ง อัปแซ็งต์มีต้นกำเนิดในรัฐเนอชาแตลของสวิตเซอร์แลนด์ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และได้รับความนิยมอย่างสูงในฐานะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในฝรั่งเศสช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ศิลปินและนักเขียนชาวปารีส แต่เนื่องจากเหล้าชนิดนี้มีความเกี่ยวข้องบางอย่างกับวัฒนธรรมโบฮีเมีย การบริโภคอัปแซ็งต์จึงถูกต่อต้านจากนักอนุรักษนิยมทางสังคมและผู้นิยมหลักการห้าม (prohibitionism) แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่านักเขียน กวี จิตรกร และนักประพันธ์ดนตรีหลายคนต่างเป็นนักดื่มอัปแซ็งต์ เช่น เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์, เจมส์ จอยซ์, ชาร์ล โบดแลร์, ปอล แวร์แลน, อาร์ตูร์ แร็งโบ, อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก, อาเมเดโอ โมดิลยานี, ปาโบล ปีกัสโซ, ฟินเซนต์ ฟัน โคค, ออสการ์ ไวลด์, มาร์แซล พรุสต์, แอลัสเตอร์ โครว์ลีย์, เอริก ซาตี, เอดการ์ แอลลัน โพ, ลอร์ด ไบรอน, อาลแฟรด ฌารี เป็นต้น, Sarasota Herald-Tribune, September 18, 2008 ในอดีต อัปแซ็งต์มักได้รับการพรรณนาว่าเป็นยาเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและสารก่อประสาทหลอนที่มีอันตรายมาก โดยเชื่อกันว่าสารประกอบเคมีชนิดหนึ่งชื่อทูโจน (thujone) เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดผลดังกล่าว เมื่อถึงปี ค.ศ. 1915 อัปแซ็งต์ถือเป็นของต้องห้ามในสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศในยุโรปซึ่งรวมถึงฝรั่งเศส, เบลเยียม, เนเธอร์แลนด์, สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย-ฮังการี แม้ว่าอัปแซ็งต์จะถูกกล่าวหาเช่นนั้น แต่ก็ไม่เคยมีการพิสูจน์ให้เห็นจริงว่ามันมีอันตรายมากกว่าเหล้าธรรมดาแต่อย่างใด ผลการวิจัยในยุคหลังแสดงให้เห็นว่าในอัปแซ็งต์มีสารทูโจนอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และสมบัติการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทของอัปแซ็งต์ (นอกเหนือจากที่มีอยู่ในแอลกอฮอล์) ก็ถูกขยายให้เกินความจริง การฟื้นฟูการผลิตอัปแซ็งต์เริ่มต้นในคริสต์ทศวรรษ 1990 หลังจากมีการประกาศใช้กฎหมายอาหารและเครื่องดื่มของสหภาพยุโรปซึ่งกำจัดอุปสรรคที่มีมายาวนานต่อการผลิตและการจำหน่าย เมื่อถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีอัปแซ็งต์เกือบ 200 ยี่ห้อได้รับการผลิตในประเทศต่าง ๆ ประมาณ 12 ประเทศ ที่เด่นที่สุดได้แก่ ฝรั่งเศส, สวิตเซอร์แลนด์, ออสเตรเลีย, สเปน และเช็กเกี.

ใหม่!!: การกลั่นและอัปแซ็งต์ · ดูเพิ่มเติม »

ทรัพยากรน้ำ

ทรัพยากรน้ำ หมายถึง แหล่งต้นตอของน้ำที่เป็นประโยชน์หรือมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์ ทรัพยากรน้ำมีความสำคัญเนื่องจากน้ำเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้มีการนำน้ำมาใช้ในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บ้านเรือน นันทนาการและกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม น้ำที่มนุษย์นำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวนั้นจะเป็นน้ำจืด แต่น้ำจืดในโลกเรามีเพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้น และปริมาณ 2 ใน 3 ของน้ำจืดจำนวนนี้เป็นน้ำแข็งในรูปของธารน้ำแข็งและน้ำแข็งที่จับตัวกันอยู่ที่ขั้วโลกทั้งสองขั้ว ปัจจุบันความต้องการน้ำมีมากกว่าน้ำจืดที่มีอยู่ในหลายส่วนของโลก และในอีกหลายพื้นที่ในโลกกำลังจะประสบปัญหาความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานของน้ำในอนาคตอันไม่ไกลนัก กรอบปฏิบัติเพื่อการจัดสรรทรัพยากรน้ำให้แก่ผู้ใช้น้ำ (ในพื้นที่ที่มีกรอบปฏิบัติแล้ว) เรียกว่า "สิทธิการใช้น้ำ" (Water rights).

ใหม่!!: การกลั่นและทรัพยากรน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวทำละลาย

ตัวทำละลาย (solvent) เป็นของเหลวที่สามารถละลาย ตัวถูกละลาย ที่เป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซได้เป็น สารละลาย ตัวทำละลายที่คุ้นเคยมากที่สุดและใช้ในชีวิตประจำวันคือน้ำ สำหรับคำจำกัดความที่อ้างถึง ตัวทำละลายอินทรีย์ (organic solvent) จะหมายถึงตัวทำละลายอีกชนิดที่เป็น สารประกอบอินทรีย์ (organic compound) และมี คาร์บอน อะตอมอยู่ด้วย โดยปกติตัวทำละลายจะมี จุดเดือด ต่ำ และระเหยง่าย หรือสามารถกำจัดโดย การกลั่นได้ โดยทั่วไปแล้วตัวทำละลายไม่ควรทำปฏิกิริยากับตัวถูกละลาย คือ มันจะต้องมีคุณสมบัติ เฉื่อย ทางเคมี ตัวทำละลายสามารถใช้ สกัด (extract) สารประกอบที่ละลายในมันจากของผสมได้ตัวอย่างที่คุ้นเคยได้แก่ การต้ม กาแฟ หรือ ชา ด้วยน้ำร้อน ปกติตัวทำละลายจะเป็นของเหลวใสไม่มีสีและส่วนใหญ่จะมีกลิ่นเฉพาะตัว ความเข้มข้นของสารละลายคือจำนวนสารประกอบที่ละลายในตัวทำละลายในปริมาตรที่กำหนด การละลาย (solubility) คือจำนวนสูงสุดของสารประกอบที่ละลายได้ในตัวทำละลาย ตามปริมาตรที่กำหนดที่ อุณหภูมิ เฉพาะ ตัวทำละลายอินทรีย์ใช้ประโยชน์ทั่วไปดังนี้.

ใหม่!!: การกลั่นและตัวทำละลาย · ดูเพิ่มเติม »

ตู้เย็น

ตู้เย็นตามบ้านทั่วไป ตู้เย็น เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำความเย็นโดยประกอบด้วยสองส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนฉนวนป้องกันความร้อน (ป้องกันไม่ให้ความร้อนไหลเข้ามา) และ ส่วนทำความเย็น (ปั๊มที่นำความร้อนออกไปสู่ภายนอกซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า) คนส่วนใหญ่ใช้ตู้เย็นเก็บอาหาร เพื่อป้องกันการเน่าเสีย เนื่องจากแบคทีเรียเติบโตช้ากว่าในอุณหภูมิต่ำ ตู้เย็นมีหลายประเภทตั้งแต่แบบที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็ง (ช่องธรรมดา) แบบที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งเล็กน้อย (ช่องแช่แข็ง, ช่องฟรีซ) ก่อนที่จะมีตู้เย็นประเทศในเขตหนาวใช้กล่องน้ำแข็ง (icebox) ในการรักษาอาหาร ช่องแช่แข็งของตู้เย็นที่ขายอยู่ทั่วไปมีอุณหภูมิประมาณ -18 °C (ประมาณ 0 °F) สำหรับตู้เย็นที่ใช้ในบ้านมักมีช่องธรรมดาและช่องแช่แข็งรวมกัน และมักใช้เครื่องทำความเย็นร่วมกัน (บางครั้งก็แยกกัน) ตู้เย็นรุ่นใหม่ ๆ มักมีเครื่องทำน้ำแข็งติดตั้งมาพร้อมกัน ตู้เย็นขนาดใหญ่รวมทั้งเครื่องทำน้ำแข็งขนาดใหญ่ในโรงงานมักใช้แก๊สแอมโมเนียซึ่งเป็นอันตรายในการทำการทำความเย็น ทำให้ไม่ปลอดภัยในการใช้ในบ้านเรือน ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1930s ที่สหรัฐอเมริกาได้สังเคราะห์สารเคมีราคาถูก ไม่เป็นพิษ ไม่ติดไฟ เช่น แก๊สฟรีออน.

ใหม่!!: การกลั่นและตู้เย็น · ดูเพิ่มเติม »

น้ำมันหอมระเหย

น้ำมันหอมระเหย (essential oil) เป็นน้ำมันที่สกัดได้มาจากพืชเช่น ส่วนดอก ใบ ผล ลำต้น มาใช้ในการบำบัดตามศาสตร์สุคนธบำบัด(Aromatherapy) ซึ่งหมายถึง การบำบัดรักษา โดยการใช้กลิ่นหอมของสารหอมในพืช โดยทั่วไปน้ำมันหอมระเหยจะถูกสกัดได้หลายรูปแบบ เช่น การกลั่น(Distillation) การสกัดโดยใช้ไขมัน (Enfleurage) การสกัดด้วยตัวทำละลาย (Solvent extraction) การบีบอัด (Expression) การใช้คาร์บอนไดออกไซด์เหลวภายใต้ความดันสูง (Supercritical fluid extraction) ซึ่งการกลั่นหลายประเภทนี้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม เครื่องสำอาง สบู่ ธูปและผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อเพิ่มความหอม และบางครั้ง ทำให้คนผ่อนคลายได้ด้ว.

ใหม่!!: การกลั่นและน้ำมันหอมระเหย · ดูเพิ่มเติม »

น้ำเกลือ

น้ำเกลือ (saline water) เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ใช้เรียกน้ำที่มีความหนาแน่นของสารละลาย เกลือ (NaCl) สูงเป็นพิเศษ ระดับความหนาแน่นของเกลือที่ใช้ในการวิจัยทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯแบ่งน้ำเกลือออกเป็นสามประเภทหลักๆด้วยกัน น้ำเกลือเบาบางมีเกลืออยู่ระหว่าง 1,000 และ 3,000 มก./ล.

ใหม่!!: การกลั่นและน้ำเกลือ · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกากลาง

สหพันธ์แอฟริกากลาง (ยกเลิก) แอฟริกากลาง เป็นดินแดนในทวีปแอฟริกา ได้ถูกนิยามไว้สองอย่างคือ Central Africa และ Middle Africa (นิยามโดยสหประชาชาติ) ประกอบด้วยประเท.

ใหม่!!: การกลั่นและแอฟริกากลาง · ดูเพิ่มเติม »

แอมโมเนีย

แอมโมเนีย เป็น สารประกอบเคมี ที่ประกอบด้วยธาตุ ไนโตรเจน และ ไฮโดรเจน โดยมี สูตรเคมี ดังนี้ NH3.

ใหม่!!: การกลั่นและแอมโมเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจนโบรไมด์

รเจนโบรไมด์ (hydrogen bromide) มีสูตรเคมีว่า HBr เป็นสารประกอบอนินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งโมเลกุลประกอบขึ้นจากธาตุสองตัว ได้แก่ ไฮโดรเจน และโบรมีน ไฮโดรเจนโบรไมด์มีสถานะเป็นแก๊สที่ภาวะมาตรฐาน และเมื่อนำไปผสมน้ำจะได้เป็นกรดไฮโดรโบรมิก ในทางกลับกันเราสามารถสกัดเอาไฮโดรเจนโบรไมด์ออกจากสารละลายดังกล่าวได้ โดยการเติมตัวดูดความชื้น (dehydration agent) เพื่อไล่น้ำออก แต่ไม่สามารถแยกได้โดยการกลั่น ถือได้ว่าไฮโดรเจนโบรไมด์และกรดไฮโดรโบมิกมีความสัมพันธ์กัน แต่ไม่ใช่สารชนิดเดียวกัน ซึ่งในบางครั้งนักเคมีอาจใช้สูตร "HBr" แทนกรดไฮโดรโบมิก พร้อมทั้งเป็นที่เข้าใจกันในหมู่นักเคมีส่วนใหญ่ แต่อาจทำให้บุคคลทั่วไปเกิดความเข้าใจผิดหรือสับสนระหว่างสารสองชนิดนี้ได้.

ใหม่!!: การกลั่นและไฮโดรเจนโบรไมด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไดคลอโรมีเทน

ลอโรมีเทน หรือ เมทิลีนคลอไรด์ (Dichloromethane หรือ Methylene chloride) คือ สารประกอบชนิดหนึ่ง มีสูตรเป็น CH2Cl2 เป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยได้ง่าย มีกลิ่นหอม มักใช้เป็นตัวทำละลาย เนื่องจากเป็นที่รู้กันว่าเป็นสารประกอบคลอโรคาร์บอนที่มีอันตรายน้อยที่สุดชนิดหนึ่ง การเตรียมไดคลอโรมีเทนสามารถทำได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1840 โดยนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อว่า อองรี วิกเตอร์ เรโญลต์ (Henri Victor Regnault) โดยแยกไดคลอโรมีเทนออกจากของผสมของคลอโรมีเทนกับคลอรีนระหว่างที่ถูกแสงอาทิต.

ใหม่!!: การกลั่นและไดคลอโรมีเทน · ดูเพิ่มเติม »

เชื้อเพลิงเอทานอล

ื้อเพลิงเอทานอล คือ เอทานอล (เอทิลแอลกอฮอล์)ชนิดเดียวกันกับที่ใช้ทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งส่วนใหญ่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ ในรูปแบบสารเติมแต่งในผลิตภัณฑ์น้ำมันเบนซิน การผลิตเชื้อเพลิงเอทานอลเพื่อใช้ในการขนส่งเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่า จากปี..

ใหม่!!: การกลั่นและเชื้อเพลิงเอทานอล · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชเวท

ัชเวท (Pharmacognosy) เป็นศาสตร์ทางเภสัชศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับยาอันมีที่มาจากแหล่งธรรมชาติ เภสัชเวทสมาคมแห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้คำจำกัดความของเภสัชเวทไว้ว่า "เป็นการศึกษาลักษณะทางกายภาพ, เคมี, ชีวเคมี และคุณสมบัติทางชีวภาพของยา, สารที่นำมาใช้เป็นยาที่มีที่มาจากธรรมชาติ และการวิจัยค้นพบยาใหม่จากแหล่งธรรมชาติ" สมุนไพรที่นำมาใช้เป็นยาได้ภายหลังผ่านกระบวนการทางเภสัชกรรมเราเรียกว่า "เครื่องยา" โดยมีการจัดจำแนกตามคุณสมบัติของเครื่องยาตามวิธีการของศาสตร์ต่างๆ อาทิ เภสัชวิทยา, กลุ่มสารเคมี, การเรียงลำดับตามตัวอักษรละตินและภาษาอังกฤษ เป็นต้น เภสัชเวทเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดศาสตร์หนึ่งของทางการแพทย์ และนับเป็นต้นกำเนิดของวิชาเภสัชศาสตร์ ในสมัยโบราณมีการใช้ยาจากธรรมชาติในการบำบัดรักษาเสียทั้งสิ้น ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งนำมาสู่การสังเคราะห์ยาจากสารเคมีทดแทนวิธีการทางธรรมชาติ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมีความนิยมการใช้ยาสมุนไพรมากขึ้น ทำให้เภสัชเวทเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่ได้รับการส่งเสริมในปัจจุบัน เภสัชเวทยังครอบคลุมไปถึงการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์เช่น ไฟเบอร์, ยาง ในการศัลยกรรมรักษา และการใช้เพื่อควบคุมภูมิคุ้มกันในร่างกาย รวมถึงการใช้เป็นสารปรุงแต่งทางเภสัชกรรม, เครื่องสำอาง.

ใหม่!!: การกลั่นและเภสัชเวท · ดูเพิ่มเติม »

เหล้ารัม

รัมชนิดต่างๆบนชั้นวางจำหน่าย รัม(Rum)เป็นสุราที่ผลิตมาจากอ้อยหรือกากน้ำตาลด้วยการหมักหรือการกลั่น พื้นที่หลักในการผลิตอยู่ที่หมู่เกาะฝั่งทะเลแคริบเบียนซึ่งปลูกอ้อยกันมาก และบางประเทศในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ รัมแยกตามความนิยมเป็น 3 ชนิดด้วยกันคือ.

ใหม่!!: การกลั่นและเหล้ารัม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »