โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กะเพรา

ดัชนี กะเพรา

กะเพรา เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขา สูง 30-60 เซนติเมตร นิยมนำใบมาประกอบอาหารคือ ผัดกะเพรา กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และ กะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว.

23 ความสัมพันธ์: พระแม่อันทาลการรับรู้รสการผัดก๋วยเตี๋ยวเรือรายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดวงศ์กะเพราสกุลกะเพรา-โหระพาสกุลฝาดหญ้าหนวดแมวหมึก (สัตว์)หอยลายอาหารตามสั่งผัดขี้เมาขนมจีน (อาหารไทย)ตัวรับความรู้สึกที่หนังตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดปลายประสาทรับร้อนแกงส้มแกงป่าแมงลักไรขาวเบาหวานเฉาก๊วย

พระแม่อันทาล

ระแม่อาณฑาฬ (आण्डाळ्) หรือพระแม่อันทาล (अंदाल) ถือเป็นอีกรูปหนึ่งแห่งองค์พระแม่ภูเทวี ตามประวัติของนาง ส่วนมากจะกล่าวถึงความซื่อสัตย์และจงรักภักดีแก่องค์พระนารายณ์ และการได้มอบชีวิตและจิตวิญญาณถวายแก่พระนารายณ.

ใหม่!!: กะเพราและพระแม่อันทาล · ดูเพิ่มเติม »

การรับรู้รส

ตุ่มรับรส (Taste bud) รส หรือ รสชาติ (Taste, gustatory perception, gustation) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสาทสัมผัสหนึ่งในห้า (นับตามโบราณ) โดยเป็นความรู้สึกที่ได้จากระบบรู้รส (gustatory system) รสเป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อสารในปากก่อปฏิกิริยาเคมีกับเซลล์รับรส (taste receptor cell) ที่อยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ในช่องปากโดยมากที่ลิ้น รสพร้อม ๆ กับกลิ่น และการกระตุ้นที่ประสาทไทรเจมินัล (ซึ่งทำให้รู้เนื้ออาหาร ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ) จะเป็นตัวกำหนดความอร่อยของอาหารหรือสารอื่น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ระบบรู้รสจะตรวจจับโมเลกุลอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น โดยมากที่ละลายในน้ำหรือไขมันได้ ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากระบบรู้กลิ่นและระบบรับความรู้สึกทางกาย จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหาร ปริมาณ และความปลอดภัยของสิ่งที่เข้ามาในปาก มีรสชาติหลัก ๆ 5 อย่างคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอุมะมิ ซึ่งรู้ผ่านวิถีประสาทที่แยกจากกัน ส่วนการรับรู้รสแบบผสมอาจเกิดขึ้นที่เปลือกสมองส่วนการรู้รสโดยประมวลข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้นจากหน่วยรับรสหลัก ๆ การรับรู้รสจะเริ่มตั้งแต่สารที่มีรสทำปฏิกิริยากับน้ำลายซึ่งท่วมตุ่มรับรสที่อยู่บนโครงสร้างต่าง ๆ เช่นปุ่มลิ้น ทำให้โมเลกุลรสมีโอกาสทำปฏิกิริยากับหน่วยรับรสที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรสซึ่งอยู่รวมตัวกันที่ตุ่มรับรส รสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส ส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในเซลล์รับรส ในที่สุดเซลล์รับรสก็จะลดขั้วแล้วส่งสัญญาณกลิ่นผ่านใยประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง สมองก็จะประมวลผลข้อมูลรสซึ่งในที่สุดก็ทำให้รู้รส รสพื้นฐานจะมีส่วนต่อความรู้สึกอร่อยของอาหารในปาก ปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งกลิ่น ที่ตรวจจับโดยเยื่อบุผิวรับกลิ่นในจมูก, เนื้ออาหาร ที่ตรวจจับโดยตัวรับแรงกล และประสาทกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นต้น, อุณหภูมิที่ตรวจจับโดยปลายประสาทรับร้อน, ความเย็น (เช่นที่ได้จากเมนทอล) กับรสเผ็สที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมี, รูปลักษณ์ที่ปรากฏของอาหาร ที่เห็นได้ผ่านเซลล์รับแสงในจอตา, และสภาพทางจิตใจเอง เพราะเรารู้ทั้งรสที่เป็นอันตรายและมีประโยชน์ รสพื้นฐานทั้งหมดสามารถจัดเป็นไม่น่าพอใจ (aversive) หรือทำให้อยากอาหาร (appetitive) ความขมช่วยเตือนว่าอาจมีพิษ ในขณะที่ความหวานช่วยระบุอาหารที่สมบูรณ์ด้วยพลังงาน สำหรับมนุษย์ การรู้รสจะเริ่มลดลงราว ๆ อายุ 50 ปี เพราะการเสียปุ่มลิ้นและการผลิตน้ำลายที่น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมักทานรสจัดขึ้นเทียบกับเด็ก เช่น ต้องเติมเกลือ เติมพริกเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อผู้มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาธำรงดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย มนุษย์สามารถรู้รสแบบผิดปกติเพราะเป็นโรค dysgeusia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ได้รู้รสได้เหมือน ๆ กัน สัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถรู้รสแป้ง (ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถ) แมวไม่สามารถรู้รสหวาน และสัตว์กินเนื้อหลายอย่างรวมทั้งหมาไฮยีน่า ปลาโลมา และสิงโตทะเลต่างก็ได้เสียการรู้รสชาติอาจถึง 4 อย่างจาก 5 อย่างที่บรรพบุรุษของพวกมันรู้.

ใหม่!!: กะเพราและการรับรู้รส · ดูเพิ่มเติม »

การผัด

การผัด มันฝรั่งผัดเบคอน และหอมใหญ่ Ddeokbokki: เค้กข้าวแบบเกาหลีผัดกับผักและหมู การผัดหอมใหญ่และพริกหยวกในกระทะแบน การผัด (Stir frying) เป็นวิธีการทำอาหารในน้ำมันและไขมัน ซึ่งเป็นเทคนิกการทำอาหารซึ่งเกิดขึ้นเป็นเวลานานกว่า 2,500 ปีมาแล้ว การผัดในอาหารไทยส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากอาหารจีน.

ใหม่!!: กะเพราและการผัด · ดูเพิ่มเติม »

ก๋วยเตี๋ยวเรือ

ก๋วยเตี๋ยวเรือ ก๋วยเตี๋ยวเรือ หรือ ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก คือก๋วยเตี๋ยวแบบไทยชนิดหนึ่ง มีรสชาติจัดจ้าน น้ำก๋วยเตี๋ยวสีข้นคล้ายก๋วยเตี๋ยวเนื้อหรือก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋น เพราะใส่เครื่องปรุงที่ต่างจากก๋วยเตี๋ยวชนิดอื่น คือ ซีอิ๊วดำ เต้าหู้ยี้ และ เครื่องเทศต่างๆ เป็นต้น อีกทั้งยังมี น้ำตก คือ เลือดวัวหรือหมูผสมกับเกลือ สำหรับปรุงใส่ในน้ำก๋วยเตี๋ยว ก๋วยเตี๋ยวเรือ มีทั้งก๋วยเตี๋ยวเนื้อ และ ก๋วยเตี๋ยวหมู เป็นก๋วยเตี๋ยวที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยมานาน ในสมัยก่อน จะขายในเรือพายตามคลอง จึงเป็นที่มาของชื่อ ชามที่ใส่จะมีลักษณะเล็ก ปัจจุบัน ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ก๋วยเตี๋ยวหันมาเปิดร้านบนบกในอาคารพาณิชย์แทน แต่ก็ยังไม่ละทิ้งสัญลักษณ์ของความเป็นก๋วยเตี๋ยวเรือ โดยจะใช้เรือตั้งอยู่หน้าร้าน และชามก็ยังใช้เป็นชามขนาดเล็กอยู่ การรับประทานก๋วยเตี๋ยวเรือ นิยมรับประทานกับกากหมูหรือแคบหมู และ ใบกะเพรา หรือ โหระพาเพื่อดับกลิ่นคาว แหล่งที่มีก๋วยเตี๋ยวเรือขึ้นชื่อ ได้แก่ รังสิต ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา และ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูม.

ใหม่!!: กะเพราและก๋วยเตี๋ยวเรือ · ดูเพิ่มเติม »

รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด

ต่อไปนี้เป็น รายชื่อคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด เรียงลำดับตามตัวอักษรของ คำที่เขียนถูก ตามที่ปรากฏในพจนานุกรมภาษาไทยหรือตามประกาศของหน่วยงานราชการไทย หมายเหตุ: การเขียนสะกดคำในนี้เป็นกรณีทั่วไป แต่ในกรณีเฉพาะ เช่น เป็นวิสามานยนาม อาทิ เป็นชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ หรือในทางร้อยกรอง สามารถเขียนสะกดคำแตกต่างได้.

ใหม่!!: กะเพราและรายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กะเพรา

วงศ์กะเพรา หรือ วงศ์มินต์ (Lamiaceae เดิมคือ Labiatae) เป็นชื่อของวงศ์พรรณไม้ของพืชดอกในอันดับแลเมียลิส ที่มีลักษณะเด่นคือ เป็นไม้พุ่มหรือไม้เถา ลำต้นเหลี่ยม ดอกออกเป็นช่อยกสูงคล้ายฉัตร หรือบ้างก็ไม่ยกสูงมาก เป็นวงศ์ของ กะเพรา โหระพา แมงลัก สะระแหน่ ยี่หร่า ลาเวนเดอร์ โรสแมรี บลูซัลเวีย ซัลเวียฮัมมิ่งเบิร์ดแดง ออริกาโน เดิมวงศ์มินต์ (Labiatae) หมายความรวมถึงพืชจำพวก สัก ผกากรอง มังกรคาบแก้ว ตรีชะวา พัดโบก และพืชอื่นๆในวงศ์สัก (Verbenaceae) ด้วย แต่ภายหลังมีการแยกเอาพืชกลุ่มนี้ไปตั้งวงศ์ใหม่เป็นวงศ์สัก.

ใหม่!!: กะเพราและวงศ์กะเพรา · ดูเพิ่มเติม »

สกุลกะเพรา-โหระพา

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: กะเพราและสกุลกะเพรา-โหระพา · ดูเพิ่มเติม »

สกุลฝาด

กุลฝาด (Lumnitzera) เป็นสกุลของไม้ป่าชายเลนในบริเวณอินโด-แปซิฟิกตะวันตก อยู่ในวงศ์ Combretaceae ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษคือ black mangrove.

ใหม่!!: กะเพราและสกุลฝาด · ดูเพิ่มเติม »

หญ้าหนวดแมว

หญ้าหนวดแมว (ชื่อพ้อง: O. grandiflorus Bold, O. stamineus Benth.) หรือ พยับเมฆ (กรุงเทพฯ), อีตู่ดง (เพชรบูรณ์), บางรัก (ประจวบคีรีขันธ์) อยู่ในวงศ์ Lamiaceae (Labiatae) ซึ่งเป็นพืชที่จัดอยู่ในพวกเดียวกับกะเพราและโหร.

ใหม่!!: กะเพราและหญ้าหนวดแมว · ดูเพิ่มเติม »

หมึก (สัตว์)

หมึก หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาหมึก เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดใหญ่ เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว และว่องไว มีหนวดรอบปาก 4-5 คู่ บนหนวดมีปุ่มดูดเรียงเป็นแถว มีหน้าที่จับเหยื่อป้อนเข้าปาก เป็นสัตว์ที่มีอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา ชั้นเซฟาโลพอดซึ่งเป็นชั้นของสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม ชั้นย่อย Coleoidea ต่างจากกลุ่มสัตว์ที่ใกล้เคียงกันคือ Nautiloidea ซึ่งมีเปลือกแข็งห่อหุ้มภายนอกร่างกาย แต่หมึกส่วนใหญ่กลับมีกระดูกหรือเปลือกอยู่ภายในเพื่อใช้ประโยชน์ในการเป็นทุ่นหรือพยุงร่างกาย ซึ่งเรียกว่า ลิ้นทะเล ยังมีบางชนิดที่ไม่มีกระดูก แต่มีกระดูกอ่อนทดแทนเพื่อใช้ในการพยุงโครงสร้างร่างกาย คำว่า Cephalopoda ซึ่งเป็นชื่อชั้นที่ใช้เรียกหมึก มาจากภาษากรีกแปลรวมกันว่า "สัตว์หัว-เท้า" (head-footed animals) เนื่องจากหมึกเป็นสัตว์ที่ไม่มีแขนขา เพียงแต่มีระยางค์ยื่นออกจากจากรอบ ๆ บริเวณปากเรียกว่า หนวด เท่านั้นเอง หมึกวิวัฒนาการมาจากมอลลัสกา ในปลายยุคแคมเบรียน หรือราว 500 ล้านปีก่อน แต่กระนั้นหมึกและหอยในยุคปัจจุบันนี้ ก็ยังมีระบบทางร่างกายหลายอย่างเหมือนกัน กล่าวคือ ระบบทางเดินอาหาร, ปาก, ฟัน และกล้ามเนื้อแบบแมนเทิล ปัจจุบัน ได้มีการค้นพบหมึกแล้วว่า 1,000 ชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ หมึกมหึมา (Mesonychoteuthis hamiltoni) ซึ่งเป็นหมึกในอันดับหมึกกล้วย อาศัยอยู่ในห้วงน้ำลึกของมหาสมุทรแอตแลนติก อาจยาวได้ถึง 14 เมตร นับเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย และเล็กที่สุดมีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตรด้วยซ้ำ เช่น หมึกในวงศ์ Idiosepiidae เป็นต้น หมึกมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการใช้เป็นอาหารมาช้านาน ในแทบทุกวัฒนธรรม หมึกถือเป็นสัตว์ทะเลที่ใช้ปรุงเป็นอาหาร ซึ่งสามารถปรุงสุดได้ทั้งสดและตากแห้ง เช่น ในอาหารไทย เช่น หมึกผัดกะเพรา หรือ หมึกย่าง เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะลิ้นทะเล ซึ่งมีแคลเซียมเป็นจำนวนมาก จึงนิยมให้นกหรือสัตว์ปีกกินเพื่อเพิ่มแคลเซียมในร่างกาย นอกจากนี้แล้ว หมึกยังมักถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะหมึกยักษ์หรือหมึกที่มีขนาดใหญ่ เช่น โจมตีใส่เรือดำน้ำนอติลุสของกัปตันนีโม ในนวนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Twenty Thousand Leagues Under the Sea เป็นต้น สำหรับหมึกที่พบในน่านน้ำไทย ได้แก่ หมึกกระดองลายเสือ (Sepia pharaonis), หมึกกล้วย (Photololigo duvauceli), หมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana), หมึกสายราชา (Octopus rex) เป็นต้น เลือดปลาหมึกมีสีน้ำเงิน.

ใหม่!!: กะเพราและหมึก (สัตว์) · ดูเพิ่มเติม »

หอยลาย

หอยลาย (Surf clam, Short necked clam, Carpet clam, Venus shell, Baby clam) เป็นหอยฝาคู่ ที่อยู่ในวงศ์หอยลาย (Veneridae) ลักษณะเปลือกมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ฝาทั้งสองฝามีขนาดเท่ากัน ผิวด้านนอกของเปลือกหอยเรียบ มีสีน้ำตาลอ่อน และมีลวดลายหยักเป็นเส้นคล้ายตาข่ายตลอดความยาวของผิวเปลือก เส้นลายหยักเหล่านี้จะมีสีน้ำตาลเข้ม ส่วนผิวเปลือกด้านในเรียบมีสีขาว ในส่วนของบานพับ ซึ่งเป็นส่วนต่อระหว่างฝาทั้งสองมีลักษณะคล้ายฟันซี่เล็ก ๆ ฝาละ 3 ซี่ พบกระจายพันธุ์ในน้ำลึกประมาณ 8.0 เมตร โดยขุดรูอยู่ใต้พื้นทรายลึกประมาณ 20 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทะเลแถบเอเชียอาคเนย์ ในประเทศไทยพบมากที่ จังหวัดชลบุรี, บางปะกง, สมุทรปราการ, ตราด, สุราษฎร์ธานี หอยลายผัดน้ำพริกเผา นับเป็นหอยลายชนิด 1 ใน 3 ชนิดในสกุล Paphia ที่พบได้ในน่านน้ำไทย และเป็นชนิดที่นิยมรับมาประทานมากที่สุด สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น ผัดน้ำพริกเผากับใบกะเพรา และนำไปแปรรูปส่งออกต่างประเท.

ใหม่!!: กะเพราและหอยลาย · ดูเพิ่มเติม »

อาหารตามสั่ง

้าวผัด หนึ่งในอาหารตามสั่งที่นิยม อาหารตามสั่ง เป็นอาหารที่ทำตามที่ลูกค้าสั่ง มักเป็นอาหารที่ใช้วัตถุดิบง่าย ๆ การทำที่ไม่ยุ่งยากมาก มีสถานที่ตั้งร้าน ที่อาจเป็นบ้านของตนเองหรือร้านเช่า มีทำเลตั้งอยู่แหล่งชุมชน หรือหมู่บ้านจัดสรร หรืออาจใกล้กับสถานที่ราชการ สำนักงาน มหาวิทยาลัย โรงเรียน ตลาด เป็นต้น วัตถุดิบของอาหาร ประเภทผักเช่น ผักคะน้า ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ข้าวโพดอ่อน แครอท มะเขือเทศ ผักชี ต้นหอม กะเพรา หอมหัวใหญ่ มะนาว มะกรูด โหระพา พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า กระเทียม หอมแดง ส่วนวัตถุดิบประเภทเนื้อสัตว์เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว กุ้ง ปลาหมึก ปลา เครื่องปรุงอาหารทั่วไปได้แก่ น้ำมันพืช น้ำมันหอย น้ำปลา ซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วดำ น้ำซอส (ถั่วเหลือง) น้ำตาลทราย เกลือป่น พริกไทยป่น ไข่ไก่ เมนูอาหารตามสั่งที่เป็นที่นิยมได้แก่ ข้าวผัดกะเพรา ไข่ดาว, ข้าวผัด, ข้าวไข่เจียว, ข้าวหมูกระเทียม, ข้าวราดผัดผัก, ถั่วฝักยาวผัดพริกแกงราดข้าว, ผัดพริกสดราดข้าว, สุกี้, ราดหน้า ผัดซีอิ๊ว.

ใหม่!!: กะเพราและอาหารตามสั่ง · ดูเพิ่มเติม »

ผัดขี้เมา

้นใหญ่ผัดขี้เมา ผัดขี้เมา เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมากในประเทศไทย โดยอาหารชนิดนี้เกิดขึ้นจากการผสมผสานอาหารแบบไทยเข้ากับอาหารของชาวจีนที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในประเทศไทย (หรือชาวไทยเชื้อสายจีน) คำว่า ขี้เมา สันนิษฐานว่า เกิดจากผู้ที่ชอบดื่มสุรามักจะหากับแกล้มจากของเหลือที่มีในตู้เย็น พบผักอะไรก็เติมลงไปได้ ไม่ใคร่จะมีสูตรแน่นอนตายตัว แต่ทำออกมาแล้วอร่อย จึงเป็นที่นิยมต่อ ๆ กันมา ผัดขี้เมาเป็นผัดก๋วยเตี๋ยวกับซอสถั่วเหลือง น้ำปลา กระเทียม เนื้อชนิดต่าง ๆ และในบางครั้งอาจจะใส่เต้าหู้ นอกจากนี้ยังใส่พริก ถั่ว และใบกะเพราหรือใบโหระพา ผัดขี้เมาได้มีวิวัฒนาการเปลี่ยนนำมาทำกับวัตถุดิบชนิดใหม่ ๆ ในบางครั้งผู้ปรุงอาจจะใช้สัตว์ทะเลและพริกไทยอ่อน นอกจากนี้ ยังมีการผัดขี้เมาโดยไม่ใส่เส้น, ผัดขี้เมาโดยใส่ข้าว และการผัดโดยใส่เส้นสปาเกตตี ซึ่งเป็นเส้นแบบอิตาลี ผัดขี้เมาจึงเป็นอาหารเผ็ดต่างจากเมื่อครั้งชาวจีนเพิ่งเข้ามาพำนักในประเทศไทยและลาว ทั้งนี้ ผัดขี้เมาจะมีความต่างจากผัดกะเพรา ผัดฉ่า ผัดเผ็ด และผัดผักรวมมิตรอยู.

ใหม่!!: กะเพราและผัดขี้เมา · ดูเพิ่มเติม »

ขนมจีน (อาหารไทย)

นมจีนน้ำยา ขนมจีน เป็นอาหารคาวชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งเป็นเส้นกลม ๆ คล้าย เส้นหมี่ รับประทานกับน้ำยา น้ำพริก เป็นต้น อาหารชนิดนี้ ภาษาเหนือเรียก "ขนมเส้น" ภาษาอีสานเรียก "ข้าวปุ้น" และภาคใต้เรียก "หนมจีน".

ใหม่!!: กะเพราและขนมจีน (อาหารไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับความรู้สึกที่หนัง

ตัวรับความรู้สึกที่หนัง (cutaneous receptor) เป็นปลายประสาทรับความรู้สึกที่พบในหนังแท้หรือหนังกำพร้า โดยเป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกทางกาย มีประเภทต่าง ๆ รวมทั้งตัวรับแรงกลที่หนัง โนซิเซ็ปเตอร์ (ความเจ็บปวด) และตัวรับอุณหภูม.

ใหม่!!: กะเพราและตัวรับความรู้สึกที่หนัง · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด

นซิเซ็ปเตอร์ (nociceptor มาจาก nocere แปลว่า "ทำให้เจ็บ") เป็นปลายประสาทอิสระของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่ตอบสนองโดยเฉพาะต่อตัวกระตุ้นที่อาจจะทำความเสียหายต่อร่างกาย/เนื้อเยื่อ โดยส่งสัญญาณประสาทไปยังระบบประสาทกลางผ่านไขสันหลังหรือก้านสมอง กระบวนการเช่นนี้เรียกว่า โนซิเซ็ปชั่น และโดยปกติก็จะก่อให้เกิดความเจ็บปวด โนซิเซ็ปเตอร์มีอยู่ทั่วร่างกายอย่างไม่เท่ากันโดยเฉพาะส่วนผิว ๆ ที่เสี่ยงเสียหายมากที่สุด และไวต่อตัวกระตุ้นระดับต่าง ๆ กัน บางส่วนไวต่อตัวกระตุ้นที่ทำอันตรายให้แล้ว บางส่วนตอบสนองต่อสิ่งเร้าก่อนที่ความเสียหายจะเกิด ตัวกระตุ้นอันตรายดังที่ว่าอาจเป็นแรงกระทบ/แรงกลที่ผิวหนัง อุณหภูมิที่ร้อนเย็นเกิน สารที่ระคายเคือง สารที่เซลล์ในร่างกายหลั่งตอบสนองต่อการอักเสบ เป็นต้น ความรู้สึกเจ็บปวดไม่ได้ขึ้นอยู่กับสัญญาณที่โนซิเซ็ปเตอร์ส่งเท่านั้น แต่เป็นผลของการประมวลผลความรู้สึกต่าง ๆ อย่างซับซ้อนในระบบประสาทกลาง ที่ได้รับอิทธิพลจากอารมณ์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสถานการณ์ที่เกิดสิ่งเร้าและประสบการณ์ชีวิต แม้แต่สิ่งเร้าเดียวกันก็สามารถทำให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ กันในบุคคลเดียวกัน ทหารที่บาดเจ็บในสนามรบอาจไม่รู้สึกเจ็บเลยจนกระทั่งไปถึงสถานพยาบาลแล้ว นักกีฬาที่บาดเจ็บอาจไม่รู้ตัวจนกระทั่งการแข่งขันจบแล้ว ดังนั้น ความรู้สึกเจ็บปวดจึงเป็นประสบการณ์ที่เป็นอัตวิสั.

ใหม่!!: กะเพราและตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด · ดูเพิ่มเติม »

ปลายประสาทรับร้อน

ปลายประสาทรับร้อน หรือ ตัวรับอุณหภูมิ (thermoreceptor) เป็นปลายประสาทของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกในผิวหนังและในเยื่อเมือกบางชนิด ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิหรือการแลกเปลี่ยนความร้อนได้ดีที่สุด คือ ตัวรับอุณหภูมิ ไม่ว่าจะรับเย็นหรืออุ่น จะตอบสนองต่ออุณหภูมิโดยเฉพาะ ๆ หรือต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ โดยเป็นฟังก์ชันของการแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างผิวหนังกับวัตถุที่สัมผัส และโดยหลักในพิสัยที่ไม่มีอันตราย เพราะโนซิเซ็ปเตอร์รับอุณหภูมิจะเป็นตัวส่งข้อมูลในพิสัยที่อาจเป็นอันตราย ในช่วงอุณหภูมิ 31-36°C (32-34°C) ถ้าอุณหภูมิที่ผิวหนังเปลี่ยนอย่างช้า ๆ เราจะไม่รู้สึกอะไร ถ้าต่ำกว่าช่วงนี้ เราจะรู้สึกเย็นไปจนถึงหนาวและเริ่ิมที่ 10-15°C จะรู้สึกหนาวเหน็บ (เจ็บ) และถ้าสูงกว่าช่วงนี้ เราจะรู้สึกอุ่นไปจนถึงร้อนและเริ่มที่ 45°C จะรู้สึกร้อนลวก (เจ็บ) อ้างอิง.

ใหม่!!: กะเพราและปลายประสาทรับร้อน · ดูเพิ่มเติม »

แกงส้ม

แกงส้ม เป็นอาหารไทย ประเภทแกงที่มีรสเปรี้ยว โดยเป็นแกงที่ใส่เนื้อสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นปลาหรือกุ้ง ผักที่ใช้อาจเป็นผักบุ้ง มะละกอ หัวไชเท้า กะหล่ำดอก ดอกแค หรือไข่เจียวชะอม ใช้น้ำพริกแกงส้มละลายน้ำ ต้มให้เดือด ใส่ผักและเนื้อสัตว์ ปรุงรสด้วยน้ำส้มมะขาม น้ำตาลปี๊บ เกลือ มีรสชาติเผ็ด หวาน เค็ม เปรี้ยว.

ใหม่!!: กะเพราและแกงส้ม · ดูเพิ่มเติม »

แกงป่า

ผักหวาน แกงป่า เป็นแกงแบบไม่ใส่กะทิ นิยมใส่เครื่องเทศจำนวนมากเพื่อปรุงกลิ่นรส โดยเฉพาะเพื่อดับกลิ่นคาวหรือกลิ่นสาบของเนื้อสัตว์ แกงป่าในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน โดยมากเป็นความแตกต่างที่เครื่องเทศในแต่ละท้องถิ่น ดังนี้.

ใหม่!!: กะเพราและแกงป่า · ดูเพิ่มเติม »

แมงลัก

แมงลัก (ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum × citriodourum) เป็นพืชล้มลุกในสกุลกะเพรา-โหระพา แมงลักมีใบเล็ก สีอ่อน บอบบาง ช้ำง่ายและเหี่ยวง่ายกว่า ชื่อสามัญเดิมเรียกกันว่า hoary basil (hoary แปลว่าผมหงอก) โดยนำมาจากลักษณะที่มีขนอ่อนสีขาวๆ บริเวณก้านใบและยอดอ่อน ต่อมาก็เปลี่ยนมาเรียกว่า lemon basil ตามลักษณะกลิ่นที่คล้ายส้ม-มะนาว ส่วนแมงลักศรแดงของไทยเรียกว่า thai lemon basil แมงลักนำไปใช้ได้ทั้งใบและเมล็ด ใบมีกลิ่นฉุน ใช้ประกอบอาหารเช่นเดียวกับกะเพราและโหระพา ส่วนมากจะใช้รับประทานกับขนมจีน หรือใส่เครื่องแกงต่างๆ ส่วนเมล็ดแมงลักใช้ทำเป็นขนมอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ เมล็ดแมงลักนำมาทำเป็นยาระบายและอาหารเสริมลดความอ้วนได้ แมงลักในประเทศไทยนั้น มี หลากหลายยี่ห้อและหลากหลายสายพันธุ์ ไม่ใช่ยี่ห้อดังยี่ห้อเดียวอย่างที่เข้าใจ ลักษณะพันธุ์ที่ดีใบต้องใหญ่พอดิบพอดี ไม่เล็กจนแคระแกร็น ดอกสีขาวเป็นชั้นๆ คล้ายฉัตร.

ใหม่!!: กะเพราและแมงลัก · ดูเพิ่มเติม »

ไรขาว

รขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Polyphagotarsonemus latus (Banks) (Broad mite) มีขนาดเล็กสามารถมองเห็นไรขาวได้โดยการมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ เป็นศัตรูพืชชีวภาพอย่างหนึ่ง มักพบระบาดหนักในฤดูฝนช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ทำให้เกิดการหยุดเจริญในพืช ได้แก่ พริก กะเพรา แตงกวา ส้มโอ ฯลฯ ส่งผลกระทบต่อพืชเศรษฐกิจจำนวนมาก.

ใหม่!!: กะเพราและไรขาว · ดูเพิ่มเติม »

เบาหวาน

รคเบาหวาน (Diabetes mellitus (DM) หรือทั่วไปว่า Diabetes) เป็นกลุ่มโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหารซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลในเลือดสูงก่อให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำและความหิวเพิ่มขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา เบาหวานอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนจำนวนมาก ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และโคม่าเนื่องจากออสโมลาร์สูงที่ไม่ได้เกิดจากคีโตน (nonketotic hyperosmolar coma) ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่ร้ายแรงรวมถึงโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ไตวาย, แผลที่เท้าและความเสียหายต่อตา เบาหวานเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์ร่างกายไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่ออินซูลินที่ผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำตาลที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานโดยการควบคุมของอินซูลิน ในเมื่ออินซูลินมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้ จึงมีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก ไตจึงขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ อันเป็นเหตุให้ปัสสาวะหวานนั้นเอง เบาหวานมีสามชนิดหลัก ได้แก.

ใหม่!!: กะเพราและเบาหวาน · ดูเพิ่มเติม »

เฉาก๊วย

ฉาก๊วยตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยม เฉาก๊วย หรือ เฉ่าก้วย เป็นอาหารหวานชนิดหนึ่ง ซึ่งแพร่หลายในประเทศจีน จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นทั้งในอาหารหวาน และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ สำหรับในประเทศไทยนั้น ถือว่าเป็นอาหารหวานระดับพื้นบ้าน เนื่องจากมีการจำหน่ายทั่วไปในชุมชนเมืองทั่วประเท.

ใหม่!!: กะเพราและเฉาก๊วย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ocimum sanctumOcimum tenuiflorumกระเพรากะเพราแดง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »