โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แมงลัก

ดัชนี แมงลัก

แมงลัก (ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum × citriodourum) เป็นพืชล้มลุกในสกุลกะเพรา-โหระพา แมงลักมีใบเล็ก สีอ่อน บอบบาง ช้ำง่ายและเหี่ยวง่ายกว่า ชื่อสามัญเดิมเรียกกันว่า hoary basil (hoary แปลว่าผมหงอก) โดยนำมาจากลักษณะที่มีขนอ่อนสีขาวๆ บริเวณก้านใบและยอดอ่อน ต่อมาก็เปลี่ยนมาเรียกว่า lemon basil ตามลักษณะกลิ่นที่คล้ายส้ม-มะนาว ส่วนแมงลักศรแดงของไทยเรียกว่า thai lemon basil แมงลักนำไปใช้ได้ทั้งใบและเมล็ด ใบมีกลิ่นฉุน ใช้ประกอบอาหารเช่นเดียวกับกะเพราและโหระพา ส่วนมากจะใช้รับประทานกับขนมจีน หรือใส่เครื่องแกงต่างๆ ส่วนเมล็ดแมงลักใช้ทำเป็นขนมอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ เมล็ดแมงลักนำมาทำเป็นยาระบายและอาหารเสริมลดความอ้วนได้ แมงลักในประเทศไทยนั้น มี หลากหลายยี่ห้อและหลากหลายสายพันธุ์ ไม่ใช่ยี่ห้อดังยี่ห้อเดียวอย่างที่เข้าใจ ลักษณะพันธุ์ที่ดีใบต้องใหญ่พอดิบพอดี ไม่เล็กจนแคระแกร็น ดอกสีขาวเป็นชั้นๆ คล้ายฉัตร.

16 ความสัมพันธ์: การรับรู้รสลาลับวงศ์กะเพราสกุลกะเพรา-โหระพาสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกหมกอ่อมขนมจีน (อาหารไทย)ครูบาศรีวิชัยตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดปลายประสาทรับร้อนนาซีอูลัมแกงส้มโอ้เอ๋วไอศกรีมเฉาก๊วย

การรับรู้รส

ตุ่มรับรส (Taste bud) รส หรือ รสชาติ (Taste, gustatory perception, gustation) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสาทสัมผัสหนึ่งในห้า (นับตามโบราณ) โดยเป็นความรู้สึกที่ได้จากระบบรู้รส (gustatory system) รสเป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อสารในปากก่อปฏิกิริยาเคมีกับเซลล์รับรส (taste receptor cell) ที่อยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ในช่องปากโดยมากที่ลิ้น รสพร้อม ๆ กับกลิ่น และการกระตุ้นที่ประสาทไทรเจมินัล (ซึ่งทำให้รู้เนื้ออาหาร ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ) จะเป็นตัวกำหนดความอร่อยของอาหารหรือสารอื่น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ระบบรู้รสจะตรวจจับโมเลกุลอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น โดยมากที่ละลายในน้ำหรือไขมันได้ ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากระบบรู้กลิ่นและระบบรับความรู้สึกทางกาย จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหาร ปริมาณ และความปลอดภัยของสิ่งที่เข้ามาในปาก มีรสชาติหลัก ๆ 5 อย่างคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอุมะมิ ซึ่งรู้ผ่านวิถีประสาทที่แยกจากกัน ส่วนการรับรู้รสแบบผสมอาจเกิดขึ้นที่เปลือกสมองส่วนการรู้รสโดยประมวลข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้นจากหน่วยรับรสหลัก ๆ การรับรู้รสจะเริ่มตั้งแต่สารที่มีรสทำปฏิกิริยากับน้ำลายซึ่งท่วมตุ่มรับรสที่อยู่บนโครงสร้างต่าง ๆ เช่นปุ่มลิ้น ทำให้โมเลกุลรสมีโอกาสทำปฏิกิริยากับหน่วยรับรสที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรสซึ่งอยู่รวมตัวกันที่ตุ่มรับรส รสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส ส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในเซลล์รับรส ในที่สุดเซลล์รับรสก็จะลดขั้วแล้วส่งสัญญาณกลิ่นผ่านใยประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง สมองก็จะประมวลผลข้อมูลรสซึ่งในที่สุดก็ทำให้รู้รส รสพื้นฐานจะมีส่วนต่อความรู้สึกอร่อยของอาหารในปาก ปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งกลิ่น ที่ตรวจจับโดยเยื่อบุผิวรับกลิ่นในจมูก, เนื้ออาหาร ที่ตรวจจับโดยตัวรับแรงกล และประสาทกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นต้น, อุณหภูมิที่ตรวจจับโดยปลายประสาทรับร้อน, ความเย็น (เช่นที่ได้จากเมนทอล) กับรสเผ็สที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมี, รูปลักษณ์ที่ปรากฏของอาหาร ที่เห็นได้ผ่านเซลล์รับแสงในจอตา, และสภาพทางจิตใจเอง เพราะเรารู้ทั้งรสที่เป็นอันตรายและมีประโยชน์ รสพื้นฐานทั้งหมดสามารถจัดเป็นไม่น่าพอใจ (aversive) หรือทำให้อยากอาหาร (appetitive) ความขมช่วยเตือนว่าอาจมีพิษ ในขณะที่ความหวานช่วยระบุอาหารที่สมบูรณ์ด้วยพลังงาน สำหรับมนุษย์ การรู้รสจะเริ่มลดลงราว ๆ อายุ 50 ปี เพราะการเสียปุ่มลิ้นและการผลิตน้ำลายที่น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมักทานรสจัดขึ้นเทียบกับเด็ก เช่น ต้องเติมเกลือ เติมพริกเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อผู้มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาธำรงดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย มนุษย์สามารถรู้รสแบบผิดปกติเพราะเป็นโรค dysgeusia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ได้รู้รสได้เหมือน ๆ กัน สัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถรู้รสแป้ง (ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถ) แมวไม่สามารถรู้รสหวาน และสัตว์กินเนื้อหลายอย่างรวมทั้งหมาไฮยีน่า ปลาโลมา และสิงโตทะเลต่างก็ได้เสียการรู้รสชาติอาจถึง 4 อย่างจาก 5 อย่างที่บรรพบุรุษของพวกมันรู้.

ใหม่!!: แมงลักและการรับรู้รส · ดูเพิ่มเติม »

ลาลับ

ลาลับ (Lalab,lalap) เป็นอาหารซุนดา ที่ประกอบด้วยผักดิบหลายชนิดกินกับน้ำพริกกะปิแบบพื้นบ้านหรือซัมบัลเตอราซี มีจุดกำเนิดที่ชวาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย แต่ดั้งเดิม อาหารชนิดนี้ปรุงจากผักที่รับประทานได้ในท้องถิ่นของซุนดา ในปัจจุบันลาลับจะประกอบด้วย กะหล่ำปลี แตงกวา ผักกาดหอม, ถั่วแขก ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ มะเขือ, แมงลัก, ผักโขม, ผักบุ้ง, ใบมันสำปะหลัง ใบมะละกอ ฟักแม้วและมะเขือพวง ในบางครั้งจะใส่ สะตอ และลูกเนียง ผักส่วนใหญ่ที่รับประทานในลาลับจะเตรียมด้วยการล้างในน้ำสะอาดแล้วรับประทานดิบ แต่บางชนิดก็นำไปต้ม นึ่งหรือผัดก่อน เช่น สะตอ อาจจะรับประทานดิบหรือผัด ส่วนฟักแม้ว ผักบุ้ง และใบมันสำปะหลัง มักจะต้มก่อน รับประทานกับซัมบัลเตอราซี ซึ่งมีรสเผ็ด ในปัจจุบัน ลาลับเป็น อาหารอินโดนีเซียที่ได้รับความนิยมทั่วประเทศ โดยรับประทานถัดจากอาหารจานหลัก เช่น ไก่ย่างหรือไก่ทอด ปลาดุกทอด ปลากระดี่ทอด หรือปลาย่าง อาหารจานนี้ใกล้เคียงกับอูลัมในมาเลเซี.

ใหม่!!: แมงลักและลาลับ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กะเพรา

วงศ์กะเพรา หรือ วงศ์มินต์ (Lamiaceae เดิมคือ Labiatae) เป็นชื่อของวงศ์พรรณไม้ของพืชดอกในอันดับแลเมียลิส ที่มีลักษณะเด่นคือ เป็นไม้พุ่มหรือไม้เถา ลำต้นเหลี่ยม ดอกออกเป็นช่อยกสูงคล้ายฉัตร หรือบ้างก็ไม่ยกสูงมาก เป็นวงศ์ของ กะเพรา โหระพา แมงลัก สะระแหน่ ยี่หร่า ลาเวนเดอร์ โรสแมรี บลูซัลเวีย ซัลเวียฮัมมิ่งเบิร์ดแดง ออริกาโน เดิมวงศ์มินต์ (Labiatae) หมายความรวมถึงพืชจำพวก สัก ผกากรอง มังกรคาบแก้ว ตรีชะวา พัดโบก และพืชอื่นๆในวงศ์สัก (Verbenaceae) ด้วย แต่ภายหลังมีการแยกเอาพืชกลุ่มนี้ไปตั้งวงศ์ใหม่เป็นวงศ์สัก.

ใหม่!!: แมงลักและวงศ์กะเพรา · ดูเพิ่มเติม »

สกุลกะเพรา-โหระพา

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: แมงลักและสกุลกะเพรา-โหระพา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

ัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชน.

ใหม่!!: แมงลักและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

หมก

หมก เป็นอาหารอีสานและอาหารลาวประเภทหนึ่ง เป็นการนำเนื้อสัตว์และผักมาเคล้ากับน้ำพริกแกง ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า ห่อด้วยใบตองทรงสูง นำไปนึ่งหรือย่างให้สุก ต้นหอมและใบแมงลักเป็นเครื่องปรุงสำคัญ บางถิ่นใส่ผักชีลาวด้วย ตัวอย่างอาหารประเภทหมก ได้แก่ หมกหน่อไม้ หมกไข่ปลา หมกหัวปลี หมกไข่มดแดง หมกปลา หมกเห็ด หมกฮวก เครื่องแกงส่วนใหญ่ประกอบด้วย พริกขี้หนูแห้ง หอมแดง ตะไคร้ซอย ใบมะกรูด บางถิ่นใส่กระชายหรือข่าด้วย หมกในอาหารอีสานต่างจากหมกในอาหารลาว โดยในอาหารอีสาน อาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่นำไปเคล้ากับเครื่องแกง ปรุงรสและทำให้สุกไม่ว่าจะย่างหรือนึ่งจะเรียกว่าหมกทั้งสิ้น ส่วนในอาหารลาวหลวงพระบางนั้น ถ้าห่อใบตองทรงสูงนำไปย่างเรียกหมก นำไปนึ่งเรียกมอกหรือเมาะ ถ้าห่อใบตองทรงแบนนำไปย่างเรียกขน.

ใหม่!!: แมงลักและหมก · ดูเพิ่มเติม »

อ่อม

อ่อมเป็นอาหารอีสานประเภทหนึ่งใช้น้ำน้อย เครื่องปรุงที่เป็นเอกลักษณ์คือผักชีลาว แมงลักและต้นหอม เนื้อสัตว์ที่ใช้ได้แก่ ไก่บ้าน ปลาดุก เนื้อวัว กบ หอยขม ซึ่งจะใส่ในปริมาณที่ไม่มากนัก การปรุงจะผัดเครื่องแกงกับเนื้อสัตว์ให้สุกก่อน แล้วเติมน้ำ พอเดือดจึงใส่ผัก มีแต่อ่อมเขียดกับอ่อมปลาที่จะไม่ผัดก่อนเพราะจะทำให้เนื้อเละ อ่อมที่ใช้เนื้อสัตว์ต่างชนิดกัน จะมีเครื่องแกงและผักต่างกันด้วย เช่น.

ใหม่!!: แมงลักและอ่อม · ดูเพิ่มเติม »

ขนมจีน (อาหารไทย)

นมจีนน้ำยา ขนมจีน เป็นอาหารคาวชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งเป็นเส้นกลม ๆ คล้าย เส้นหมี่ รับประทานกับน้ำยา น้ำพริก เป็นต้น อาหารชนิดนี้ ภาษาเหนือเรียก "ขนมเส้น" ภาษาอีสานเรียก "ข้าวปุ้น" และภาคใต้เรียก "หนมจีน".

ใหม่!!: แมงลักและขนมจีน (อาหารไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ครูบาศรีวิชัย

รูบาศรีวิชัย หรือ พระสีวิไชย พระมหาเถระซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สร้างถนนทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี..

ใหม่!!: แมงลักและครูบาศรีวิชัย · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด

นซิเซ็ปเตอร์ (nociceptor มาจาก nocere แปลว่า "ทำให้เจ็บ") เป็นปลายประสาทอิสระของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่ตอบสนองโดยเฉพาะต่อตัวกระตุ้นที่อาจจะทำความเสียหายต่อร่างกาย/เนื้อเยื่อ โดยส่งสัญญาณประสาทไปยังระบบประสาทกลางผ่านไขสันหลังหรือก้านสมอง กระบวนการเช่นนี้เรียกว่า โนซิเซ็ปชั่น และโดยปกติก็จะก่อให้เกิดความเจ็บปวด โนซิเซ็ปเตอร์มีอยู่ทั่วร่างกายอย่างไม่เท่ากันโดยเฉพาะส่วนผิว ๆ ที่เสี่ยงเสียหายมากที่สุด และไวต่อตัวกระตุ้นระดับต่าง ๆ กัน บางส่วนไวต่อตัวกระตุ้นที่ทำอันตรายให้แล้ว บางส่วนตอบสนองต่อสิ่งเร้าก่อนที่ความเสียหายจะเกิด ตัวกระตุ้นอันตรายดังที่ว่าอาจเป็นแรงกระทบ/แรงกลที่ผิวหนัง อุณหภูมิที่ร้อนเย็นเกิน สารที่ระคายเคือง สารที่เซลล์ในร่างกายหลั่งตอบสนองต่อการอักเสบ เป็นต้น ความรู้สึกเจ็บปวดไม่ได้ขึ้นอยู่กับสัญญาณที่โนซิเซ็ปเตอร์ส่งเท่านั้น แต่เป็นผลของการประมวลผลความรู้สึกต่าง ๆ อย่างซับซ้อนในระบบประสาทกลาง ที่ได้รับอิทธิพลจากอารมณ์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสถานการณ์ที่เกิดสิ่งเร้าและประสบการณ์ชีวิต แม้แต่สิ่งเร้าเดียวกันก็สามารถทำให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ กันในบุคคลเดียวกัน ทหารที่บาดเจ็บในสนามรบอาจไม่รู้สึกเจ็บเลยจนกระทั่งไปถึงสถานพยาบาลแล้ว นักกีฬาที่บาดเจ็บอาจไม่รู้ตัวจนกระทั่งการแข่งขันจบแล้ว ดังนั้น ความรู้สึกเจ็บปวดจึงเป็นประสบการณ์ที่เป็นอัตวิสั.

ใหม่!!: แมงลักและตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด · ดูเพิ่มเติม »

ปลายประสาทรับร้อน

ปลายประสาทรับร้อน หรือ ตัวรับอุณหภูมิ (thermoreceptor) เป็นปลายประสาทของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกในผิวหนังและในเยื่อเมือกบางชนิด ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิหรือการแลกเปลี่ยนความร้อนได้ดีที่สุด คือ ตัวรับอุณหภูมิ ไม่ว่าจะรับเย็นหรืออุ่น จะตอบสนองต่ออุณหภูมิโดยเฉพาะ ๆ หรือต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ โดยเป็นฟังก์ชันของการแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างผิวหนังกับวัตถุที่สัมผัส และโดยหลักในพิสัยที่ไม่มีอันตราย เพราะโนซิเซ็ปเตอร์รับอุณหภูมิจะเป็นตัวส่งข้อมูลในพิสัยที่อาจเป็นอันตราย ในช่วงอุณหภูมิ 31-36°C (32-34°C) ถ้าอุณหภูมิที่ผิวหนังเปลี่ยนอย่างช้า ๆ เราจะไม่รู้สึกอะไร ถ้าต่ำกว่าช่วงนี้ เราจะรู้สึกเย็นไปจนถึงหนาวและเริ่ิมที่ 10-15°C จะรู้สึกหนาวเหน็บ (เจ็บ) และถ้าสูงกว่าช่วงนี้ เราจะรู้สึกอุ่นไปจนถึงร้อนและเริ่มที่ 45°C จะรู้สึกร้อนลวก (เจ็บ) อ้างอิง.

ใหม่!!: แมงลักและปลายประสาทรับร้อน · ดูเพิ่มเติม »

นาซีอูลัม

นาซีอูลัม (อินโดนีเซียและnasi ulam) เป็นข้าวนึ่งที่ผสมสมุนไพรหลายอย่าง เช่น บัวบก หรือแมงลัก ผัก และเครื่องเคียงอื่น ๆ อาหารนี้เป็นอาหารของชาวมลายูที่มีความแตกต่างไปบ้างระหว่างในมาเลเซียและอินโดนีเซีย ในอินโดนีเซีย นาซีอูลัมเป็นอาหารของชาวเบอตาวีและชาวมลายูในสุมาตรา รวมทั้งชาวบาหลี ในจาการ์ตามีนาซีอูลัมสองชนิดคีอแบบน้ำของทางเหนือและตอนกลางของจาการ์ตา และแบบแห้งของทางใต้ ในอินโดนีเซีย นาซีอูลัมปรุงรสเผ็ดด้วยพริก ใส่ถั่วลิสงและมะพร้าวคั่ว อาหารที่นิยมรับประทานกับนาซีอูลัม ได้แก่ เดินเดง ออมเล็ต มันฝรั่งทอด เต้าหู้ทอด เต็มเป และข้าวเกรียบ นาซีอูลัมในมาเลเซียประกอบด้วยข้าวใส่สมุนไพรเช่น ใบพริก ใบมะม่วงหิมพานต์ หัวหอม มะพร้าวคั่ว บางครั้งใส่ปลาทอด พบได้ทั่วไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมลายู ส่วนทางตะวันออกเฉียงเหนือจะนิยมรับประทานข้าวยำหรือนาซีกราบูแทน.

ใหม่!!: แมงลักและนาซีอูลัม · ดูเพิ่มเติม »

แกงส้ม

แกงส้ม เป็นอาหารไทย ประเภทแกงที่มีรสเปรี้ยว โดยเป็นแกงที่ใส่เนื้อสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นปลาหรือกุ้ง ผักที่ใช้อาจเป็นผักบุ้ง มะละกอ หัวไชเท้า กะหล่ำดอก ดอกแค หรือไข่เจียวชะอม ใช้น้ำพริกแกงส้มละลายน้ำ ต้มให้เดือด ใส่ผักและเนื้อสัตว์ ปรุงรสด้วยน้ำส้มมะขาม น้ำตาลปี๊บ เกลือ มีรสชาติเผ็ด หวาน เค็ม เปรี้ยว.

ใหม่!!: แมงลักและแกงส้ม · ดูเพิ่มเติม »

โอ้เอ๋ว

อ้เอ๋ว หรือ โอ๊ะเอ๋ว (薁蕘) เป็นอาหารท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ต ได้จากวุ้นของเมล็ดโอ้เอ๋ว (薁蕘 หรือ 愛玉,อ้ายหยก) ซึ่งเป็นพืชจำพวกมะเดื่อชนิดหนึ่งที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ficus pumila var.

ใหม่!!: แมงลักและโอ้เอ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

ไอศกรีม

อศกรีมแบล็กวอลนัต ไอศกรีม (ice cream) หรือภาษาปากว่า ไอติม เป็นของหวานแช่แข็งชนิดหนึ่ง ได้จากการผสมส่วนผสม นำไปผ่านการฆ่าเชื้อ แล้วนั้นนำไปปั่นในที่เย็นจัด เพื่อเติมอากาศเข้าไปพร้อม ๆ กับการลดอุณหภูมิ โดยอาศัยเครื่องปั่นไอศกรีม ไอศกรีมตักโดยทั่วไปจะต้องผ่านขั้นตอนการแช่เยือกแข็งอีกครั้งก่อนนำมาขายหรือรับประทาน ไอศกรีม (อ่านว่า ไอ-สะ-กฺรีม) มาจากคำภาษาอังกฤษว่า ice-cream   พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้เขียนเป็นภาษาไทยว่า ไอศกรีม ซึ่งเป็นคำที่เขียนกันมาแต่เดิม.

ใหม่!!: แมงลักและไอศกรีม · ดูเพิ่มเติม »

เฉาก๊วย

ฉาก๊วยตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยม เฉาก๊วย หรือ เฉ่าก้วย เป็นอาหารหวานชนิดหนึ่ง ซึ่งแพร่หลายในประเทศจีน จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นทั้งในอาหารหวาน และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ สำหรับในประเทศไทยนั้น ถือว่าเป็นอาหารหวานระดับพื้นบ้าน เนื่องจากมีการจำหน่ายทั่วไปในชุมชนเมืองทั่วประเท.

ใหม่!!: แมงลักและเฉาก๊วย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ocimum x citriodorumOcimum × citriodorum

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »