โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โคลัมโบ

ดัชนี โคลัมโบ

อาคารรัฐสภาหลังเก่า ด้านหลังเป็นอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์และธนาคารแห่งซีลอน ตั้งอยู่ในย่านท่าเรือ หันหน้าสู่มหาสมุทรอินเดีย แผนที่กรุงโคลัมโบ โคลัมโบ (Colombo; කොළඹ; கொழும்பு) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงทางการค้าของประเทศศรีลังกา (เมืองหลวงอย่างเป็นทางการของศรีลังกาคือศรีชยวรรธนปุระโกฏเฏ) มีประชากร 642,163 คน (พื้นที่มหานคร: 2,234,289 คน ณ พ.ศ. 2544) มีพิกัดภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ที่ 6°54' เหนือ 79°50' ตะวันออก เชื่อกันว่าชื่อโคลัมโบมาจากชื่อภาษาสิงหลเดิมว่า โกโลนโตฏะ (Kolon thota) ซึ่งแปลว่า "ท่าเรือริมแม่น้ำแกฬณิ" หรือไม่ก็ โกละ-อัมพะ-โตฏะ (Kola-amba-thota) แปลว่า "ท่าเรือที่มีต้นมะม่วง" อิบน์ บะฏูเฏาะฮ์ นักสำรวจชาวโมร็อกโกได้เรียกว่า กะลันปุ (Kalanpu) ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 และต่อมาชาวโปรตุเกสได้เรียกว่า โกลงบู (Colombo).

6 ความสัมพันธ์: ชาวโปรตุเกสพ.ศ. 2544ภาษาสิงหลศรีชยวรรธนปุระโกฏเฏอิบน์ บะฏูเฏาะฮ์ประเทศศรีลังกา

ชาวโปรตุเกส

วโปรตุเกส (os portugueses; Portuguese people) คือชนชาติและกลุ่มชาติพันธุ์จากประเทศโปรตุเกส ทางตะวันตกของคาบสมุทรไอบีเรีย ทางตอนใต้-ตะวันตกของทวีปยุโรป ใช้ภาษาโปรตุเกส โดยมากนับถือโรมันคาทอลิก จากประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโปรตุเกสและการล่าอาณานิคมในแอฟริกา เอเชีย และทวีปอเมริกา เช่นเดียวกับการอพยพตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ทำให้มีสังคมชาวโปรตุเกสในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก.

ใหม่!!: โคลัมโบและชาวโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2544

ทธศักราช 2544 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2001 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: โคลัมโบและพ.ศ. 2544 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสิงหล

ษาสิงหล (සිංහල) เป็นภาษาของชาวสิงหล ซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศศรีลังกา เป็นภาษาในสาขาอินโด-อารยันของตระกูลอินโด-ยูโรเปียน มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษามัลดีฟส์ของประเทศมัลดีฟส์ มีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 15 ล้านคน เจ้าชายวิชายาและพรรคพวกนำชาวสิงหลอพยพเข้าสู่เกาะลังกาเมื่อราว 500 ปีก่อนพุทธศักราช วรรณคดีจำนวนมากในศรีลังกาได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา และวรรณคดีอินเดีย การติดต่อกับชาวทมิฬทำให้มีศัพท์ภาษาทมิฬปนอยู่ นอกจากนี้ยังมีคำยืมจากภาษาดัตช์ ภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษ เป็นจำนวนมากเพราะเคยถูกปกครองโดยชาติเหล่านี้ เขียนด้วยอักษรสิงหลที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี รัฐบาลศรีลังกาประกาศให้ภาษาสิงหลเป็นภาษาราชการเมื่อปี พ.ศ. 2499 และบังคับให้โรงเรียนทุกโรงเรียนสอนหนังสือด้วยภาษาสิงหล ทำให้ชาวทมิฬ ไม่พอใ.

ใหม่!!: โคลัมโบและภาษาสิงหล · ดูเพิ่มเติม »

ศรีชยวรรธนปุระโกฏเฏ

รีชยวรรธนปุระโกฏเฏ (ශ්‍රී ජයවර්ධනපුර කෝට්ටේ; ஸ்ரீ ஜயவர்த்தனபுரம் கோட்டை) หรือรู้จักกันในชื่อ ศรีชยวรรธนปุระ หรือ โกฏเฏ เป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการของประเทศศรีลังกา ตั้งอยู่ทางชานเมืองด้านตะวันออกของนครโคลัมโบ บางครั้งเรียกว่า "เขตเมืองหลวงใหม่" อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ของศรีลังกาก็ตั้งอยู่ที่นี่ด้ว.

ใหม่!!: โคลัมโบและศรีชยวรรธนปุระโกฏเฏ · ดูเพิ่มเติม »

อิบน์ บะฏูเฏาะฮ์

อะบู อับดุลลอฮ์ มุฮัมมัด อิบน์ อับดุลลอฮ์ อัลละวาตี อัฏฏ็อนญี อิบน์ บะฏูเฏาะฮ์ (أبو عبد الله محمد بن عبد الله اللواتي الطنجي بن بطوطة) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อิบน์ บะฏูเฏาะฮ์ (ابن بطوطة; กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1304 – 1368 หรือ 1369) เป็นนักสำรวจชาวโมร็อกโกและเบอร์เบอร์ เขาเป็นที่รู้จักจากบันทึกการเดินทางซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือริห์ละฮ์ ("การเดินทาง") ตลอดระยะเวลาสามสิบปี บะฏูเฏาะฮ์ได้ไปเยือนพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกมุสลิมรวมไปถึงดินแดนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มุสลิม การเดินทางของเขาได้แก่การเดินทางไปยังแอฟริกาเหนือ จะงอยแอฟริกา แอฟริกาตะวันตก และยุโรปตะวันออกในซีกโลกตะวันตก และไปยังตะวันออกกลาง เอเชียใต้ เอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีนในซีกโลกตะวันออก ซึ่งเป็นระยะทางที่มากกว่าการเดินทางของมาร์โก โปโล ถึงสามเท่า บะฏูเฏาะฮ์ถือเป็นหนึ่งในบรรดานักเดินทางที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล.

ใหม่!!: โคลัมโบและอิบน์ บะฏูเฏาะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศศรีลังกา

รีลังกา (ශ්රී ලංකා; இலங்கை) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (ශ්රී ලංකා ප්රජාතාන්ත්රික සමාජවාදී ජනරජය; இலங்கை சனநாயக சோசலிசக் குடியரசு) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย ชื่อในอดีตได้แก่ ลังกา ลังกาทวีป สิงหลทวีป และ ซีลอน ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสมัยอาณานิคมจนถึง พ.ศ. 2517 มีพรมแดนทางทะเลติดต่อกับอินเดียทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และมัลดีฟส์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้.

ใหม่!!: โคลัมโบและประเทศศรีลังกา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Colomboกรุงโคลอมโบกรุงโคลัมโบโคลอมโบ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »