โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กราวเขียว

ดัชนี กราวเขียว

กราวเขียว หรือ ตะพาบหัวกบ (Asian giant softshell turtles) เป็นสกุลของตะพาบจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pelochelys มีด้วยกันทั้งสิ้น 3 ชนิด ได้แก.

4 ความสัมพันธ์: วงศ์ย่อยตะพาบวงศ์ตะพาบตะพาบหัวกบตะพาบหัวกบลาย

วงศ์ย่อยตะพาบ

วงศ์ย่อยตะพาบ (Soft-shelled turtle) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับเต่า ในวงศ์ใหญ่ Trionychidae หรือ ตะพาบ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionychinae ลักษณะโดยรวมของตะพาบในวงศ์ย่อยนี้ คือ กระดูกฮัยโปพลาสทรอนไม่เชื่อมรวมกับกระดองท้อง และกระดองท้องไม่มีแผ่นกระดูกบริเวณต้นขา มีขนาดตั้งแต่ความยาวกระดองประมาณ 20-25 เซนติเมตร ไปจนถึง 1.5 เมตร หรือเกือบ ๆ 2 เมตร น้ำหนักนับร้อยกิโลกรัม มีพฤติกรรมหากินและอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นท้องน้ำ ว่ายน้ำเพื่อแสวงหาอาหาร เนื่องจากมีลำตัวแบนราบจึงว่ายน้ำได้ดี หรืออาจใช้วิธีการฝังตัวอยู่ใต้โคลนหรือทรายใต้พื้นน้ำเพื่อรอเหยื่อเข้ามาใกล้ บางครั้งอาจฝังตัวในแหล่งน้ำตื้นแล้วโผล่มาแค่ส่วนปลายหัวเพื่อหายใจรวมทั้งใช้ผิวหนังแลกเปลี่ยนแก๊สได้ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำ, ทะเลสาบ, คลอง มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบอาศัยอยู่ในลำธารบนภูเขาด้วย แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ, แอฟริกากลางไปจนถึงแอฟริกาตะวันตก, ทางใต้ของเอเชียไปจนถึงญี่ปุ่น และเกาะนิวกินี มีประมาณ 20 ชนิด ใน 10 สกุล ได้แก.

ใหม่!!: กราวเขียวและวงศ์ย่อยตะพาบ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ตะพาบ

วงศ์ตะพาบ (Soft-shelled turtle) เป็นวงศ์ของเต่าจำพวกหนึ่ง ที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionychidae ตะพาบ เป็นเต่าที่มีลักษณะเด่นคือ ลำตัวแบน จมูกแหลม กระดองอ่อนนิ่ม มีกระดองหลังค่อนบ้างเรียบแบน กระดองมีลักษณะเป็นหนังที่ค่อนข้างแข็งเฉพาะในส่วนกลางกระดอง แต่บริเวณขอบจะมีลักษณะนิ่มแผ่นกระดองจะปราศจากแผ่นแข็งหรือรอยต่อ ซึ่งแตกต่างจากกระดองของเต่าอย่างสิ้นเชิง ซึ่งขอบที่อ่อนนิ่มนี้เรียกว่า "เชิง" กระดองส่วนท้องหุ้มด้วยผิวหนังเรียบ มีส่วนที่เป็นกระดูกน้อยมาก กระดองจะมีรูปร่างกลมเมื่อ ยังมีขนาดเล็ก และจะรีขึ้นเล็กน้อยเมื่อโตเต็มวัยตั้งแต่คอส่วนบนไปจรดขอบกระดองจะมีตุ่มแข็งเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ คอเรียวยาวและสามารถเอี้ยวกลับมาด้านข้าง ๆ ได้ มีจมูกค่อนข้างยาวแต่มีขนาดเล็กและส่วนปลายจมูกอ่อน ตามีขนาดเล็กโปนออกมาจากส่วนหัวอย่างเห็นได้ชัด มีฟัน ขากรรไกรแข็งแรงและคม มีหนังหุ้มกระดูกคล้ายริมฝีปาก ขาทั้งสี่แผ่กว้างที่นิ้วจะมีพังพืดเชือมติดต่อกันแบบใบพายอย่างสมบูรณ์ มีเล็บเพียง 3 นิ้ว และมีหางสั้น มักอาศัยอยู่ในน้ำมากกว่าบนบก โดยตะพาบสามารถกบดานอยู่ใต้น้ำได้นานกว่าเต่า แม้จะหายใจด้วยปอด แต่เมื่ออยู่ในน้ำ ตะพาบจะใช้อวัยวะพิเศษช่วยหายใจเหมือนปลา เรียกว่า "Rasculavpharyngcal capacity" ตะพาบจัดเป็นเต่าน้ำที่จะพบได้ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืดและน้ำกร่อยในเขตร้อนทุกทวีปทั่วโลก ทั้ง อเมริกาเหนือ, แอฟริกา และเอเชีย ไปจนถึงโอเชียเนีย เมื่อจะวางไข่ ตะพาบจะคลานขึ้นมาวางไข่ในพื้นทรายริมตลิ่งริมน้ำที่อาศัย โดยขุดหลุมแบบเดียวกับเต่าทะเลและเต่าจำพวกอื่นทั่วไป ตะพาบเป็นสัตว์ที่กินสัตว์มากกว่าจะกินพืช โดยหลายชนิดมีอุปนิสัยที่ดุร้ายกว่าเต่า ตะพาบเป็นเต่าที่มนุษย์นิยมนำมาทำเป็นอาหาร โดยเฉพาะซุปในอาหารจีนและอาหารญี่ปุ่น หรืออาหารเกาหลี โดยเชื่อว่าทั้งเนื้อและกระดองเป็นเครื่องบำรุงกำลังและเสริมสมรรถนะทางเพศ โดยตะพาบชนิดที่นิยมใช้เพื่อการบริโภคนี้คือ ตะพาบไต้หวัน (Pelodiscus sinensis) ซึ่งในหลายประเทศได้มีการเพาะเลี้ยงตะพาบไต้หวันเป็นสัตว์เศรษฐกิจรวมทั้งประเทศไทยด้วย สำหรับตะพาบชนิดที่หายากที่สุดในโลก หลายข้อมูลระบุว่าคือ ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง (Rafetus swinhoei) ซึ่งเป็นตะพาบขนาดใหญ่ เป็นสัตว์พื้นเมืองที่พบได้เฉพาะในประเทศจีนและเวียดนามเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันพบเพียง 5 ตัวใน 2 ที่เท่านั้น คือที่สวนสัตว์ในประเทศจีน 4 ตัว และที่ทะเลสาบคืนดาบที่เมืองฮานอย 1 ตัว แต่ในทัศนะของ กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ นักสำรวจธรรมชาติและผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์น้ำและปลาน้ำจืดชาวไทย ที่มีผลงานค้นพบปลาน้ำจืดชนิดใหม่ของโลกหลายชนิด เห็นว่า ตะพาบชนิดที่หายากที่สุดในโลกน่าจะเป็น "กริวดาว" หรือ "ตะพาบหัวกบลายจุด" ซึ่งเป็นตะพาบที่เคยจัดให้เป็นชนิดเดียวกับตะพาบหัวกบ (Pelochelys cantorii) ซึ่งเป็นตะพาบขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย แต่ทว่า กริวดาว นั้น มีความแตกต่างจากตะพาบหัวกบ คือ มีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่บริเวณขอบกระดอง โดยที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามวัย เหมือนตะพาบหัวกบ ซึ่งถึงแม้จะเป็นตะพาบขนาดใหญ่แล้ว แต่ลายจุดนี้ยังคงเห็นได้ชัดเจน ซึ่งกิตติพงษ์ได้ระบุไว้ว่า ตะพาบแบบนี้ไม่ได้พบเห็นมานานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 หรือ..

ใหม่!!: กราวเขียวและวงศ์ตะพาบ · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบหัวกบ

ตะพาบหัวกบ (Cantor's giant soft-shelled turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตะพาบทั่วไป จัดเป็นตะพาบขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่สุดพบขนาดกระดองยาว 120 เซนติเมตร น้ำหนักถึง 50 กิโลกรัม นับว่าใหญ่ที่สุดในสกุลตะพาบหัวกบนี้ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเขียว ด้านล่างสีอ่อน หัวมีลักษณะเล็กสั้นคล้ายกบหรืออึ่งอ่าง จึงเป็นที่มาของชื่อ ตามีขนาดเล็ก เมื่อยังเล็กสีของกระดอง จะมีสีน้ำตาลปนเขียวอ่อน ๆ มีจุดเล็ก ๆ สีเหลืองกระจายทั่วไป และค่อย ๆ จางเมื่อโตขึ้น รวมทั้งสีก็จะเข้มขึ้นด้วย พบได้ทั่วไปในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงทุกภาคของประเทศไทย ในแม่น้ำสายใหญ่ โดยเฉพาะแม่น้ำโขงในภาคอีสาน ปัจจุบันเป็นตะพาบที่พบได้น้อยมาก จนถูกจัดให้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองของกรมประมง และจัดอยู่ในบัญชีประเภทที่ 2 (Appendix II) ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ หรือ ไซเตส มีอุปนิสัย ดุร้าย มักฝังตัวอยู่นิ่ง ๆ ในพื้นทรายใต้น้ำเพื่อกบดานรอดักเหยื่อ ซึ่งได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ โดยโผล่ส่วนจมูกเพื่อขึ้นมาหายใจเพียงวันละ 2–3 ครั้งเท่านั้น ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาปู่หลู่" ขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์ cantorii ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่นักสัตว์วิทยาชาวเดนมาร์ก ทีโอดอร์ เอ็ดวาร์ด แซนตอร์ และเชื่อว่ามีอายุยืนยาวได้กว่า 100 ปี ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง โดยในตัวที่กระดองมีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่บริเวณขอบกระดอง โดยที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามวัย จะถูกเรียกว่า "กริวดาว" พบได้เฉพาะภาคกลางและภาคตะวันตกของไทยเท่านั้น ซึ่งหาได้ยากมาก สันนิษฐานว่าในอดีตสามารถพบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ภาคเหนือมาจนถึงภาคกลาง.

ใหม่!!: กราวเขียวและตะพาบหัวกบ · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบหัวกบลาย

ตะพาบหัวกบลาย (New Guinea giant softshell turtle, Bibron's giant softshell turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pelochelys bibroni จัดเป็นตะพาบอยู่ในสกุลตะพาบหัวกบ (Pelochelys) มีรูปร่างคล้ายตะพาบชนิดอื่น ๆ ในสกุลเดียวกัน แต่บางตัวมีลวดลายบนกระดองคล้ายกับตะพาบในสกุล Chitra หรือตะพาบม่านลายด้วย โดยพบได้บนเกาะนิวกินี, นิวกินีตะวันตก, ปาปัวนิวกินี และทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ขนาดโตเต็มที่มีขนาดเล็กกว่าตะพาบหัวกบ (P. cantorii) ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้ในภูมิภาคอินโดจีน เล็กน้อย นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง สำหรับตัวที่มีลวดลายคล้ายกับตะพาบม่านลาย จะถูกเรียกว่า "ตะพาบม่านลายนิวกินี" สำหรับในประเทศไทยเคยมีการนำเข้ามาจำหน่ายเป็นสัตว์เลี้ยงประมาณ 10 ตัว อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะพาบหัวกบลายนั้น บางข้อมูลใช้เป็นชื่อซ้ำซ้อนกับตะพาบหัวกบชนิด P. cantorii ซึ่งเป็นคนละชนิดกัน โดยที่ชนิดหลังนี้จะพบได้ในประเทศไท.

ใหม่!!: กราวเขียวและตะพาบหัวกบลาย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Pelochelysสกุลตะพาบหัวกบ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »