โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ย่อยตะพาบ

ดัชนี วงศ์ย่อยตะพาบ

วงศ์ย่อยตะพาบ (Soft-shelled turtle) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับเต่า ในวงศ์ใหญ่ Trionychidae หรือ ตะพาบ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionychinae ลักษณะโดยรวมของตะพาบในวงศ์ย่อยนี้ คือ กระดูกฮัยโปพลาสทรอนไม่เชื่อมรวมกับกระดองท้อง และกระดองท้องไม่มีแผ่นกระดูกบริเวณต้นขา มีขนาดตั้งแต่ความยาวกระดองประมาณ 20-25 เซนติเมตร ไปจนถึง 1.5 เมตร หรือเกือบ ๆ 2 เมตร น้ำหนักนับร้อยกิโลกรัม มีพฤติกรรมหากินและอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นท้องน้ำ ว่ายน้ำเพื่อแสวงหาอาหาร เนื่องจากมีลำตัวแบนราบจึงว่ายน้ำได้ดี หรืออาจใช้วิธีการฝังตัวอยู่ใต้โคลนหรือทรายใต้พื้นน้ำเพื่อรอเหยื่อเข้ามาใกล้ บางครั้งอาจฝังตัวในแหล่งน้ำตื้นแล้วโผล่มาแค่ส่วนปลายหัวเพื่อหายใจรวมทั้งใช้ผิวหนังแลกเปลี่ยนแก๊สได้ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำ, ทะเลสาบ, คลอง มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบอาศัยอยู่ในลำธารบนภูเขาด้วย แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ, แอฟริกากลางไปจนถึงแอฟริกาตะวันตก, ทางใต้ของเอเชียไปจนถึงญี่ปุ่น และเกาะนิวกินี มีประมาณ 20 ชนิด ใน 10 สกุล ได้แก.

6 ความสัมพันธ์: กราวเขียววงศ์ตะพาบตะพาบม่านลายตะพาบจีนตะพาบแก้มแดงตะพาบไบคอลโลไซต์

กราวเขียว

กราวเขียว หรือ ตะพาบหัวกบ (Asian giant softshell turtles) เป็นสกุลของตะพาบจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pelochelys มีด้วยกันทั้งสิ้น 3 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยตะพาบและกราวเขียว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ตะพาบ

วงศ์ตะพาบ (Soft-shelled turtle) เป็นวงศ์ของเต่าจำพวกหนึ่ง ที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionychidae ตะพาบ เป็นเต่าที่มีลักษณะเด่นคือ ลำตัวแบน จมูกแหลม กระดองอ่อนนิ่ม มีกระดองหลังค่อนบ้างเรียบแบน กระดองมีลักษณะเป็นหนังที่ค่อนข้างแข็งเฉพาะในส่วนกลางกระดอง แต่บริเวณขอบจะมีลักษณะนิ่มแผ่นกระดองจะปราศจากแผ่นแข็งหรือรอยต่อ ซึ่งแตกต่างจากกระดองของเต่าอย่างสิ้นเชิง ซึ่งขอบที่อ่อนนิ่มนี้เรียกว่า "เชิง" กระดองส่วนท้องหุ้มด้วยผิวหนังเรียบ มีส่วนที่เป็นกระดูกน้อยมาก กระดองจะมีรูปร่างกลมเมื่อ ยังมีขนาดเล็ก และจะรีขึ้นเล็กน้อยเมื่อโตเต็มวัยตั้งแต่คอส่วนบนไปจรดขอบกระดองจะมีตุ่มแข็งเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ คอเรียวยาวและสามารถเอี้ยวกลับมาด้านข้าง ๆ ได้ มีจมูกค่อนข้างยาวแต่มีขนาดเล็กและส่วนปลายจมูกอ่อน ตามีขนาดเล็กโปนออกมาจากส่วนหัวอย่างเห็นได้ชัด มีฟัน ขากรรไกรแข็งแรงและคม มีหนังหุ้มกระดูกคล้ายริมฝีปาก ขาทั้งสี่แผ่กว้างที่นิ้วจะมีพังพืดเชือมติดต่อกันแบบใบพายอย่างสมบูรณ์ มีเล็บเพียง 3 นิ้ว และมีหางสั้น มักอาศัยอยู่ในน้ำมากกว่าบนบก โดยตะพาบสามารถกบดานอยู่ใต้น้ำได้นานกว่าเต่า แม้จะหายใจด้วยปอด แต่เมื่ออยู่ในน้ำ ตะพาบจะใช้อวัยวะพิเศษช่วยหายใจเหมือนปลา เรียกว่า "Rasculavpharyngcal capacity" ตะพาบจัดเป็นเต่าน้ำที่จะพบได้ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืดและน้ำกร่อยในเขตร้อนทุกทวีปทั่วโลก ทั้ง อเมริกาเหนือ, แอฟริกา และเอเชีย ไปจนถึงโอเชียเนีย เมื่อจะวางไข่ ตะพาบจะคลานขึ้นมาวางไข่ในพื้นทรายริมตลิ่งริมน้ำที่อาศัย โดยขุดหลุมแบบเดียวกับเต่าทะเลและเต่าจำพวกอื่นทั่วไป ตะพาบเป็นสัตว์ที่กินสัตว์มากกว่าจะกินพืช โดยหลายชนิดมีอุปนิสัยที่ดุร้ายกว่าเต่า ตะพาบเป็นเต่าที่มนุษย์นิยมนำมาทำเป็นอาหาร โดยเฉพาะซุปในอาหารจีนและอาหารญี่ปุ่น หรืออาหารเกาหลี โดยเชื่อว่าทั้งเนื้อและกระดองเป็นเครื่องบำรุงกำลังและเสริมสมรรถนะทางเพศ โดยตะพาบชนิดที่นิยมใช้เพื่อการบริโภคนี้คือ ตะพาบไต้หวัน (Pelodiscus sinensis) ซึ่งในหลายประเทศได้มีการเพาะเลี้ยงตะพาบไต้หวันเป็นสัตว์เศรษฐกิจรวมทั้งประเทศไทยด้วย สำหรับตะพาบชนิดที่หายากที่สุดในโลก หลายข้อมูลระบุว่าคือ ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง (Rafetus swinhoei) ซึ่งเป็นตะพาบขนาดใหญ่ เป็นสัตว์พื้นเมืองที่พบได้เฉพาะในประเทศจีนและเวียดนามเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันพบเพียง 5 ตัวใน 2 ที่เท่านั้น คือที่สวนสัตว์ในประเทศจีน 4 ตัว และที่ทะเลสาบคืนดาบที่เมืองฮานอย 1 ตัว แต่ในทัศนะของ กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ นักสำรวจธรรมชาติและผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์น้ำและปลาน้ำจืดชาวไทย ที่มีผลงานค้นพบปลาน้ำจืดชนิดใหม่ของโลกหลายชนิด เห็นว่า ตะพาบชนิดที่หายากที่สุดในโลกน่าจะเป็น "กริวดาว" หรือ "ตะพาบหัวกบลายจุด" ซึ่งเป็นตะพาบที่เคยจัดให้เป็นชนิดเดียวกับตะพาบหัวกบ (Pelochelys cantorii) ซึ่งเป็นตะพาบขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย แต่ทว่า กริวดาว นั้น มีความแตกต่างจากตะพาบหัวกบ คือ มีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่บริเวณขอบกระดอง โดยที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามวัย เหมือนตะพาบหัวกบ ซึ่งถึงแม้จะเป็นตะพาบขนาดใหญ่แล้ว แต่ลายจุดนี้ยังคงเห็นได้ชัดเจน ซึ่งกิตติพงษ์ได้ระบุไว้ว่า ตะพาบแบบนี้ไม่ได้พบเห็นมานานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 หรือ..

ใหม่!!: วงศ์ย่อยตะพาบและวงศ์ตะพาบ · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบม่านลาย

ตะพาบม่านลาย (Narrow headed softshell turtles) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกตะพาบ 3 ชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Chitra (/ชิ-ตร้า/) มีรูปร่างโดยรวมคือ เป็นตะพาบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก หัวและตามีขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่ ขนาดกระดองยาวได้ถึงเมตรเศษ น้ำหนักกว่า 120–200 กิโลกรัม กระดองแบนเรียบสีครีมหรือสีเนื้อ มีจุดเด่นที่เป็นลักษณะสำคัญ คือ มีลายสีน้ำตาลแลดูสวยงาม ที่ขนาดและลักษณะแตกต่างออกไปในช่วงวัยและชนิดพันธุ์ หัวเล็ก เท้าเป็นแผ่นผังผืด มีเล็บใหญ่แข็งแรง กรามแข็งแรงใช้สำหรับขบกัดสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็งและสัตว์มีกระดูกสันหลังบางประเภท เช่น กบหรือเขียด เป็นอาหารได้เป็นอย่างดี พบกระจายพันธุ์เฉพาะแม่น้ำขนาดใหญ่บางสายเท่านั้น ในอนุทวีปอินเดียและภูมิภาคอินโดจีน เช่น ไทย, พม่า, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ปัจจุบันจำแนกออกได้ 3 ชนิด คือ.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยตะพาบและตะพาบม่านลาย · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบจีน

ตะพาบจีน (Chinese softshell turtle) เป็นตะพาบในสกุล Pelodiscus (/เพ-โล-ดิส-คัส/) พบกระจายอยู่ในประเทศจีนและภูมิภาคเอเชียตะวันออก.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยตะพาบและตะพาบจีน · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบแก้มแดง

ตะพาบแก้มแดง (Malayan solf-shell turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย จัดเป็นตะพาบขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับสองที่พบในประเทศไทย (เล็กที่สุด คือ ตะพาบหับพม่า (Lissemys scutata)) กระดองสีเทาเข้มมีจุดสีดำทั่วไป หัวสีเทานวลมีรอยเส้นสีดำตลอดตามแนวกระดูกสันหลังจนถึงส่วนท้ายกระดอง มีสีแดงที่แก้มและข้างคอ เมื่อยังเล็กมีจุดสีดำคล้ายดวงตากระจายไปทั่วกระดองเห็นชัดเจน ตะพาบที่พบที่จังหวัดตากและกาญจนบุรีมีสีเข้มกว่าและไม่มีสีแดงที่แก้ม มีจมูกยาว หางสั้น และมีขาเล็ก จัดเป็นตะพาบเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Dogania ขนาดโตเต็มที่กระดองยาวประมาณ 1 ฟุต หนักประมาณ 15 กิโลกรัม ถิ่นที่อยู่อาศัย พบในพม่า, มาเลเซีย, บรูไน, สุมาตรา, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทยพบบ้างที่จังหวัดตาก, กาญจนบุรี และพบมากทางภาคใต้ แถบจังหวัดชุมพร และจังหวัดนครศรีธรรมราช ชอบอยู่ในห้วยหนอง คลองบึงทั่วไป และมีชุกชุมตามลำธารบนภูเขา การสืบพันธุ์ออกไข่ครั้งละ 3-7 ฟอง ปัจจุบันเป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตามประกาศของกรมประมง และสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 โดยมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "ปลาฝาดำ".

ใหม่!!: วงศ์ย่อยตะพาบและตะพาบแก้มแดง · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบไบคอลโลไซต์

ตะพาบไบคอลโลไซต์ (Bicallosite softshell turtles) เป็นสกุลของตะพาบในสกุล Rafetus (/รา-เฟ-ตุส/) เป็นตะพาบที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ในทวีปเอเชีย เป็นตะพาบขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก เมื่อโตเต็มที่น้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม มีความยาวกว่า 0.9144 เมตร และมีอายุยืนยาวได้มากกว่า 100 ปี ปัจจุบัน ได้ถูกจำแนกออกเป็น 2 ชนิด โดยอีกชนิดหนึ่งนั้น คือ ตะพาบฮหว่านเกี๊ยม (Rafetus leloii, ชื่อพ้อง R. vietnamensis) มีตัวอย่างที่มีชีวิตที่รับรู้กันในปัจจุบันเพียงตัวเดียวเท่านั้น คือ ที่ทะเลสาบฮหว่านเกี๊ยม ในประเทศเวียดนาม โดยถือเป็นชื่อพ้องรองของ ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง (Rafetus swinhoei) โดยนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยตะพาบและตะพาบไบคอลโลไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Trionychinae

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »