โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กรรมฐาน

ดัชนี กรรมฐาน

กรรมฐาน (บาลี:kammaṭṭhāna, กมฺมฏฺาน) (สันสกฤต: karmasthana) หมายถึง ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำให้เกิดสมาธิ กรรมฐานจึงเป็นสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อให้จิตสงบอยู่ได้ ไม่เที่ยวเตลิดเลื่อนลอยฟุ้งซ่าน ไปอย่างไร้จุดหมาย อย่าง อย่างไรในพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงแปลคำว่า กมฺมฏฺาน ว่า ฐานะแห่งการงาน มากไปกว่านั้นในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐพบคำว่า กมฺมฏฺาน เฉพาะในเล่มที่ 13 ข้อที่ 711 ถึง 713 เท่านั้น.

45 ความสัมพันธ์: บังสุกุลพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร)พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (ท่อน ญาณธโร)พระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล)พระสุธรรมยานเถร (อินถา อินฺทจกฺโก)พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธีพุทธมณฑลฎีกา (คัมภีร์)กรณียเมตตสูตรกสิณไฟกายคตาสติการรับมือ (จิตวิทยา)การลดความเครียดอิงสติการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทยการจัดการความเครียดการทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิการใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์รับมือภาวนามหาสติปัฏฐานสูตรรายชื่อวัดในจังหวัดปทุมธานีลายวงกตวัดพระธรรมกายวัดพระธาตุจอมแจ้ง (อำเภอพาน)วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)วัดหนองป่าพงวัดประสิทธิ์โพธิ์ชัยวิชชาธรรมกายวิปัสสนูปกิเลสศาสนาพุทธกับจิตวิทยาศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์สมเด็จพระวันรัตสายพระป่าในประเทศไทยสติ (จิตวิทยา)สติ (แก้ความกำกวม)หลวงปู่สาม อกิญฺจโนอภิญญาอสุภอสุภกรรมฐานอนุสสติฌานทักษะชีวิตตจปัญจกกรรมฐานนิมิต (กรรมฐาน)โรควิตกกังวล

บังสุกุล

ังสุกุล แปลว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น, เปื้อนฝุ่น เป็นคำใช้เรียกผ้าที่ภิกษุชักจากศพ หรือผ้าที่ทอดไว้หน้าศพ หรือผ้าที่ทอดไว้บนด้ายสายสิญจน์ หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อมาจากศพด้วยการพิจารณากรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล โดยเรียกกริยาที่พระชักผ้าหรือพิจารณาผ้าเช่นนั้นว่า ชักผ้าบังสุกุล หรือ พิจารณาผ้าบังสุกุล คำว่า "บังสุกุล" นั้น มาจากคำภาษาบาลีว่า ปํสุ (อ่านว่า ปัง-สุ) แปลว่า ฝุ่น และคำว่า กูล (อ่านว่า กู-ละ) แปลว่า เปื้อน, คลุก สมาสคำทั้งสองเข้าด้วยบทวิเคราะห์เป็น ปํสุกูล (อ่านว่า ปัง-สุ-กู-ละ) แปลว่า ผ้าที่เปื้อนฝุ่น เมื่อมาเป็นคำไทย เปลี่ยน "ปอ ปลา" เป็น "บอ ใบไม้" รัสสะ "สระ อู" ให้สั้นลง เป็น "อุ" และปรับเสียงเป็นรูปแบบภาษาไทยที่มีตัวสะกด เป็น บังสุกุล อ่านว่า บัง-สุ-กุน ดังนั้นคำว่า "บังสุกุล" จึงต้องเขียนว่า บังสุกุล เท่านั้น ไม่สามารถเขียนเป็นอย่างอื่นได้ หากเขียนเป็น บังสกุล ถือเป็นคำที่เขียนผิด อันเกิดจากการเทียบเคียงผิดกับคำว่า สกุล ที่หมายถึง ตระกูลวงศ์ ในสมัยพุทธกาลภิกษุต้องแสวงหาผ้าที่เขาทิ้งแล้วจากกองขยะหรือจากป่าช้ามาทำจีวรใช้ ผ้าเหล่านั้นส่วนใหญ่จะเปื้อนฝุ่นหรือสกปรก จึงเรียกว่าบังสุกุล.

ใหม่!!: กรรมฐานและบังสุกุล · ดูเพิ่มเติม »

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

ระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เป็นพระภิกษุนิกายเถรวาทฝ่ายมหานิกายชาวไทย ในบรรดาหมู่ผู้ศรัทธานับถือมักเรียกท่านด้วยชื่อ "หลวงพ่อวัดปากน้ำ" เนื่องจากท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันคือ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร) ท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะพระวิปัสสนาจารย์ผู้เป็นต้นกำเนิดของการปฏิบัติกรรมฐานพุทธานุสติที่เรียกว่า วิชชาธรรมกาย ซึ่งนับเป็นวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไท.

ใหม่!!: กรรมฐานและพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) · ดูเพิ่มเติม »

พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร)

ระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ เป็นพระภิกษุนิกายเถรวาทฝ่ายมหานิกาย เจ้าอาวาสวัดจันทาราม (ท่าซุง) จังหวัดอุทัยธานี มีชื่อเสียงในด้านการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานจนได้วิชามโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) หลังการมรณภาพ สังขารร่างกายของท่านมิได้เน่าเปื่อยอย่างศพของคนทั่วไป และได้มีการเก็บรักษาไว้ที่วัดท่าซุงจนถึงปัจจุบันนี้.

ใหม่!!: กรรมฐานและพระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) · ดูเพิ่มเติม »

พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (ท่อน ญาณธโร)

ระราชญาณวิสุทธิโสภณ หรือ หลวงปู่ท่อน ญาณธโร เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เจ้าอาวาสวัดศรีอภัยวัน ตำบลนาอ้อ อำเภอเมืองเล.

ใหม่!!: กรรมฐานและพระราชญาณวิสุทธิโสภณ (ท่อน ญาณธโร) · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล)

ระราชวุฒาจารย์ หรือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นพระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระ ชาวสุรินทร์ ศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่กับพระบรมวงศานุวง.

ใหม่!!: กรรมฐานและพระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล) · ดูเพิ่มเติม »

พระสุธรรมยานเถร (อินถา อินฺทจกฺโก)

ระสุธรรมยานเถร หรือ ครูบาอินทจักรรักษา เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ อดีตเจ้าอาวาสวัดน้ำบ่อหลวง จังหวัดเชียงใหม.

ใหม่!!: กรรมฐานและพระสุธรรมยานเถร (อินถา อินฺทจกฺโก) · ดูเพิ่มเติม »

พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี

ติกรรมบำบัดวิภาษวิธี (Dialectical behavior therapy ตัวย่อ DBT) เป็นจิตบำบัดที่ออกแบบเพื่อช่วยให้เปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมที่ไร้ประโยชน์ เช่น การทำร้ายตัวเอง การคิดถึงการฆ่าตัวตาย และการติดสารเสพติด วิธีนี้ช่วยให้ควบคุมอารมณ์และความคิดของตนได้มากขึ้นโดยเรียนรู้เกี่ยวกับชนวนที่จุดปฏิกิริยา และช่วยประเมินว่า จะใช้ทักษะเช่นไรในการรับมือกับลำดับเหตุการณ์ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ DBT สมมุติว่าทุกคนพยายามทำดีที่สุด แต่ว่าไม่ขาดทักษะก็ได้การเสริมแรง (reinforcement) ไม่ทางลบก็ทางบวก ที่รบกวนการดำเนินชีวิตที่ดี DBT เป็นรูปแบบดัดแปลงของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ที่นักจิตวิท.ดร.มาชา ไลน์แฮน ที่มหาวิทยาลัยวอชิงตันได้พัฒนาขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 เพื่อรักษาความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (BPD) และความคิดฆ่าตัวตายเรื้อรัง แม้ว่าผลงานวิจัยที่แสดงประสิทธิผลในการรักษาโรคอื่น ๆ จะจำกัดมาก แต่ DBT ปัจจุบันใช้รักษาโรคจิตต่าง ๆ รวมทั้งการบาดเจ็บที่กะโหลกศีรษะ (TBI) ความผิดปกติในการรับประทาน (eating disorder) และความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) (The California Psychologist, 34) มีผลงานวิจัยเล็กน้อยที่แสดงว่า DBT อาจมีผลต่อคนไข้ที่มีอาการและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับความผิดปกติทางอารมณ์เป็นสเปกตรัม (spectrum mood disorders) รวมทั้งการทำร้ายตัวเอง ส่วนงานศึกษาปี 2551 แสดงว่ามีประสิทธิผลต่อเหยื่อทารุณกรรมทางเพศ (sexual abuse) และงานปี 2542 พบผลต่อการติดสารเสพติด DBT รวมเทคนิคของ CBT ในการควบคุมอารมณ์และการตรวจสอบความจริง บวกกับการอดทนต่อความทุกข์ การยอมรับ การสำนึกรู้อย่างมีสติ โดยสืบมาจากการเจริญสติในพุทธศาสนา DBT เป็นการบำบัดแรกที่มีหลักฐานการทดลองที่แสดงว่ามีผลในการบำบัด BPD การทดลองทางคลินิกแบบสุ่มแรกของ DBT พบผลคือ ทีท่าจะฆ่าตัวตาย (suicidal gesture) การเข้าโรงพยาบาลเหตุจิตเวช และการเลิกการรักษาเอง (drop-out) ในอัตราที่ลดลง งานวิเคราะห์อภิมานงานหนึ่งพบว่า DBT มีผลปานกลาง (moderate) ในคนไข้ BPD.

ใหม่!!: กรรมฐานและพฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี · ดูเพิ่มเติม »

พุทธมณฑล

ทธมณฑล (อังกฤษ: Buddha Monthon)เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา อยู่ใน ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ 2,500 ไร่ สร้างขึ้นเพื่อฉลองวาระกึ่งพุทธกาล เมื่อ พ.ศ. 2500 มีพระพุทธรูปปางลีลาประจำพุทธมณฑล เรียกว่า พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี พระพุทธรูปนี้มีความโดดเด่นทางผ้าจีวรที่พลิ้วเหมือนจริง พระพุทธรูปนี้สร้างเสร็จและฉลอง เมื่อ พ.ศ. 2525 คราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี พุทธมณฑลในปัจจุบันนอกจากจะเป็นศูนย์รวมการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและจัดประเพณีกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปพักผ่อนได้อีกด้ว.

ใหม่!!: กรรมฐานและพุทธมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

ฎีกา (คัมภีร์)

ีกา คือวรรณกรรมภาษาบาลี ที่แต่งเพื่ออธิบายความในคัมภีร์อรรถกถาของอรรถกถาจารย์ที่ได้ไขความในพระไตรปิฎกไว้ คัมภีร์ชั้นฎีกาจัดเป็นคัมภีร์ที่มีความสำคัญรองลงมาจากคัมภีร์อรรถกถาที่ขยายความในพระไตรปิฎก เรียกว่า คัมภีร์ชั้นสาม คัมภีร์ฎีกามีความแตกต่างกับคัมภีร์อรรถกถา (คัมภีร์ชั้นสอง) ที่วัตถุประสงค์ในการแต่งฎีกานั้นทำเพื่ออธิบายเนื้อความในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา หรือฎีกาด้วยกันเอง คัมภีร์ฎีกามีผู้แต่งจำนวนมากและมีหลายคัมภีร์ ส่วนใหญ่ชื่อคัมภีร์ชั้นฎีกาจะมีคำว่า ฎีกา และตามด้วยชื่อคัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายความ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีคำ ทีปนี โชติกา ปกาสินี หรือ คัณฐิ ลงท้าย ซึ่งคำลงท้ายเหล่านั้นรวมแปลว่า ให้ความกระจ่าง (อธิบายความในอรรถกถาให้กระจ่าง) คัมภีร์ชั้นฎีกาจัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากคัมภีร์ชั้นอรรถก.

ใหม่!!: กรรมฐานและฎีกา (คัมภีร์) · ดูเพิ่มเติม »

กรณียเมตตสูตร

กรณียเมตตสูตร หรือ เมตตสูตร เป็นพระสูตรในขุททกปาฐะ ขุททกนิกาย ของพระสุตตันตปิฎก เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยการเจริญเมตตา และการปฏิบัติตนเพื่อเจริญธรรม นำไปสู่การบรรลุมรรคผลในท้ายที่สุด พระสูตรนี้มีลักษณะเป็นคาถาจำนวน 10 บท โดยมีฉันทลักษณ์เป็นแบบคีติโบราณ (Old Giti) อันเป็นฉันทลักษณ์แบบเก่าแก่ที่สุเดแบบหนึ่งในฉันทลักษณ์ภาษาบาลี ทั้งนี้ กรณียเมตตสูตร บางครั้งเรียกว่า เมตตปริตร เนื่องจากใช้สวดเป็นพระปริตร เพื่อป้องกัน คุ้มครองภยันตรายต่าง ๆ รวมอยู่ในบทสวด 7 ตำนาน หรือจุลราชปริตร และบทสวด 12 ตำนาน หรือ มหาราชปริตร อีกทั้งยังจัดเป็นมหาปริตร หรือพระปริตรซึ่งมีความสำคัญยิ่งยวด อันประกอบด้วยมงคลสูตร รัตนสูตร และกรณียมเตตสูตร.

ใหม่!!: กรรมฐานและกรณียเมตตสูตร · ดูเพิ่มเติม »

กสิณไฟ

“กสิณไฟ” เป็นกรรมฐานกองที่มีพลังมากที่สุดในการปฏิบัติสมาธิภาวนา การเพ่งกสิณไฟสามารถช่วยประคองจิตของผู้ปฏิบัติให้เกิดสมาธิจนเข้าสู่รูปฌานและอรูปฌานได้ พลังแห่งกสิณไฟนอกจากจะมีอำนาจอยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ของธรรมชาติและกฎบัญญัติบนโลกแล้ว พลังแห่งกสิณไฟยังนำมาซึ่งพลังจิตที่สามารถแทรกแซงเข้าไปในวิถีชีวิตของเราได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการบังคับธาตุทั้งสี่ (ดินน้ำ ลม ไฟ) เช่น ทำให้เกิดฝนตก ฟ้าร้อง มีลมพายุ หรือแม้กระทั่งสามารถนำไปใช้ควบคุมความคิดและจิตใจของคนเราได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง พลังอำนาจของกสิณไฟจึงสมควรนำไปใช้อย่างถูกวิธี อย่างมีความเข้าใจ เพราะหากเราไม่มีความเข้าใจในอำนาจแห่งพลังกสิณไฟแล้ว ผู้ปฏิบัติที่สำเร็จกสิณไฟอาจไม่สามารถควบคุมพลังอำนาจพิเศษจากกสิณไฟได้ และอาจนำพลังอำนาจจากกสิณไฟนั้นไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ใช้พลังอำนาจจิตจากกสิณไฟบังคับธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ หรือใช้พลังอำนาจจิตจากกสิณไฟครอบงำความรู้สึกนึกคิดและจิตใจของมนุษย์ ฯลฯ ซึ่งผลที่เกิดจากการใช้พลังอำนาจจิตจากกสิณไฟได้ก่อให้เกิดความเสียหายและสร้างความวุ่นวายต่อเพื่อนมนุษย์บนโลกเป็นอย่างมาก อันเป็นการสร้างบาปกรรมให้เกิดขึ้นจากการใช้พลังอำนาจจิตจากกสิณไฟโดยที่ผู้ฝึกกสิณไฟไม่ได้ตั้งใจ ผู้ที่ฝึกกสิณไฟจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงวิธีการควบคุมพลังอำนาจแห่งกสิณไฟ ผู้ที่ฝึกกสิณไฟจึงจำเป็นต้องให้สัจจะวาจารับศีลและปฏิญาณตนรับข้อห้ามต่างๆ กับครูบาอาจารย์ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ผู้ฝึกกสิณไฟในชั้นสูงนำเอาพลังอำนาจพิเศษจากกสิณไฟไปใช้เบียดเบียนผู้อื่น ด้วยขอบเขตของศีลห้าจะเป็นเครื่องเตือนใจของผู้ที่ฝึกกสิณไฟให้มีสติเท่าทันกิเลสทั้งปวง กล่าวกันว่าบรรดาผู้ปฏิบัติสมาธิภาวนาด้วยการเพ่งกสิณและสำเร็จกสิณ (ไฟ) ยามเมื่อตายลง ร่างกายสังขารของผู้ที่สำเร็จกสิณไฟจะสามารถลุกไหม้เผาทำลายตัวเองได้ ที่เป็นเช่นนี้ได้ก็สืบเนื่องมาจากพลังอำนาจของกสิณไฟที่พวกเขาได้เฝ้าฝึกปรือเอาไว้จนชำนิชำนาญ แม้เมื่อถึงเวลาที่พวกเขาได้ตายจากโลกนี้ พลังกสิณไฟที่อยู่ภายในจิตของผู้สำเร็จกสิณไฟจะทำหน้าที่ของตนด้วยการลุกไหม้เผาร่างกายสังขารอันเป็นก้อนธาตุทั้งสี่นี้ให้สูญสิ้นไป.

ใหม่!!: กรรมฐานและกสิณไฟ · ดูเพิ่มเติม »

กายคตาสติ

กายคตาสติ (อ่านว่า กา-ยะ-คะ-ตา-สะ-ติ) แปลว่า สติที่เป็นไปในกาย เป็นวิธีทำกรรมฐานอย่างหนึ่งในอนุสสติ ๑๐ กายคตาสติ คือการใช้สติไปรู้อวัยวะในร่างกายของตน เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ ให้เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นของไม่งาม ปฏิกูล น่าเกลียด โสโครก ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น พิจารณาไปจนเห็นความจริง จิตยอมรับความจริงได้ เกิดความเบื่อหน่าย คลายความกำหนัดยินดีในกาย ไม่ยึดมั่นถือมั่นกายต่อไป กายคตาสติ เมื่อระลึกถึงอยู่เนือง ๆ ย่อมส่งผลให้หมดความยินดียินร้าย หมดภัยและความขลาดลงได้ ใจวางอุเบกขาต่อทุกขเวทนาได้ ส่งผลให้จิตใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน บรรเทาราคะและความยึดมั่นถือมั่นในกาย ถอนความเห็นผิดว่าสวยว่างามลงได้.

ใหม่!!: กรรมฐานและกายคตาสติ · ดูเพิ่มเติม »

การรับมือ (จิตวิทยา)

ในสาขาจิตวิทยา การรับมือ (coping) เป็นการตั้งใจพยายามแก้ปัญหาส่วนตัวหรือกับคนอื่น แล้วเอาชนะ ลด หรืออดทนความเครียดหรือความรู้สึกขัดใจของตน ประสิทธิผลของความพยายามขึ้นอยู่กับรูปแบบความเครียดหรือความขัดแย้ง บุคคลอื่น และสถานการณ์อื่น ๆ กลไกการรับมือทางใจเรียกอย่างสามัญในภาษาอังกฤษว่า coping strategies (กลยุทธ์การรับมือ) หรือ coping skills (ทักษะการรับมือ) เป็นสิ่งที่ไม่รวมกลยุทธ์ใต้สำนึก (เช่น กลไกป้องกันตน) คำทั่วไปหมายถึงกลยุทธ์รับมือที่เป็นการปรับตัวที่ดี (adaptive) หรือว่าเป็นแบบสร้างสรรค์ ซึ่งก็คือ ช่วยลดความเครียด โดยกลยุทธ์บางอย่างพิจารณาว่า เป็นการปรับตัวผิด (maladaptive) คือ เพิ่มความเครียด การรับมือแบบผิด ๆ อาจจะเรียกได้ว่า เป็นการไม่รับมือ นอกจากนั้นแล้ว เป็นคำที่หมายถึงปฏิกิริยา คือเป็นการรับมือตอบสนองต่อตัวสร้างความเครียด (stressor) เทียบกับการรับมือล่วงหน้า (proactive coping) ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อดักตัวก่อความเครียดที่จะเกิดในอนาคต การรับมือส่วนหนึ่งควบคุมโดยบุคลิกภาพคือลักษณะที่เป็นนิสัย แต่ส่วนหนึ่งก็คุมโดยสถานการณ์ทางสังคม โดยเฉพาะธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมที่ก่อความเครี.

ใหม่!!: กรรมฐานและการรับมือ (จิตวิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

การลดความเครียดอิงสติ

การลดความเครียดอิงสติ หรือ การใช้สติลดความเครียด (Mindfulness-based stress reduction ตัวย่อ MBSR) เป็นโปรแกรมอิงสติออกแบบเพื่อช่วยคนที่เป็นทุกข์ เป็นโรค และมีปัญหาชีวิตอื่น ๆ ที่ยากจะรักษาเป็นเบื้องต้นในสถานที่รักษาพยาบาลเช่นโรงพยาบาล เป็นโปรแกรมที.

ใหม่!!: กรรมฐานและการลดความเครียดอิงสติ · ดูเพิ่มเติม »

การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย

ษาบาลี หรือภาษามคธ เป็นภาษาที่จารึกพระไตรปิฎก ด้วยเป็นภาษาที่คนชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลนิยมใช้กันทั่วไป จึงเป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าใช้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น หลังจากพุทธปรินิพพานมีการทำปฐมสังคายนา พระเถระได้ตกลงกันใช้ภาษาบาลีสำหรับจดจำพระไตรปิฎก พระสงฆ์สายเถรวาทจึงต้องศึกษาภาษาบาลีให้เข้าใจลึกซึ้งและสามารถเทียบเคียงสอบทานกับพระไตรปิฎกที่เก็บไว้ในสถานที่ต่างกันได้ เพื่อรักษาการแปลความหมายจากพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกให้ถูกต้องไม่บิดเบือน และหน้าที่นี้ก็เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ในประเทศไทยเช่นเดียวกันเทวประภาส มากคล้าย เปรียญ..

ใหม่!!: กรรมฐานและการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

การจัดการความเครียด

การจัดการความเครียด (Stress management) หมายถึงเทคนิคที่หลายหลากและกระบวนการจิตบำบัด (psychotherapy) ที่มุ่งควบคุมระดับความเครียด โดยเฉพาะความเครียดเรื้อรัง ปกติเพื่อปรับชีวิตประจำวันให้ดีขึ้น ในเรื่องนี้ ความเครียดหมายถึงในระดับที่มีผลลบอย่างสำคัญ หรือบางครั้งเรียกในภาษาอังกฤษว่า distress (แปลว่าความทุกข์) ซึ่งต่างจากคำว่า eustress ซึ่งหมายถึงความเครียดที่มีประโยชน์หรือมีผลบวก คำภาษาอังกฤษทั้งสองนี้เสนอโดยแพทย์ต่อมไร้ท่อทรงอิทธิพลในเรื่องความเครียด คือ น. แฮนส์ เซ็ลเยอ ความเครียดมีผลทางกายใจมากมาย ซึ่งจะต่าง ๆ กันไปตามสถานการณ์ แต่อาจรวมการมีสุขภาพแย่ลงและอารมณ์ซึมเศร้า นักจิตวิทยาแนะว่า กระบวนการจัดการความเครียดเป็นกุญแจสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับชีวิตที่มีความสุขและประสบความสำเร็จในสังคมปัจจุบัน แม้ว่าชีวิตอาจจะมีอุปสรรคมากมายที่บางครั้งยากจะรับมือ เทคนิคจัดการความเครียดสามารถช่วยบริหารความวิตกกังวลและช่วยรักษาความเป็นอยู่ที่ดี แม้ว่าบ่อยครั้งจะมองว่า ความเครียดเป็นประสบการณ์ที่เป็นอัตวิสัย (คือเป็นเรื่องทางใจ) แต่ระดับความเครียดสามารถวัดได้ทางสรีรภาพ เช่นดังที่ใช้ในเครื่องจับการโกหก (polygraph) มีเทคนิคจัดการความเครียดที่นำไปใช้ได้จริง ๆ บางอย่างสำหรับผู้ให้บริการสุขภาพและอื่น ๆ บางอย่างเพื่อให้ช่วยตนเอง ซึ่งอาจช่วยลดระดับความเครียด ให้ความรู้สึกที่ดีว่าสถานการณ์ในชีวิตควบคุมได้ และช่วยโปรโหมตความเป็นอยู่ที่ดี แต่ว่า ประสิทธิผลของเทคนิคต่าง ๆ เป็นเรื่องรู้ยาก เพราะว่ายังมีงานวิจัยในระดับจำกัด และดังนั้น จำนวนและคุณภาพของหลักฐานสนับสนุนเทคนิคต่าง ๆ จึงอาจต่างกันมาก บางอย่างยอมรับว่าเป็นการบำบัดที่มีประสิทธิผลโดยนำไปใช้ในจิตบำบัด (psychotherapy) และบางอย่างที่มีหลักฐานน้อยกว่าอาจพิจารณาว่าเป็นการรักษาทางเลือก มีองค์กรทางอาชีพต่าง ๆ ที่โปรโหมตและให้การฝึกสอนการบำบัดทั้งแบบทั่วไปและแบบทางเลือก มีแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างเกี่ยวกับการจัดการความเครียด แต่ละอย่างมีคำอธิบายกลไกการจัดการความเครียดที่ต่าง ๆ กัน ยังต้องมีงานวิจัยอีกมากเพื่อจะเข้าใจว่ากลไกไหนเป็นตัวการและเพื่อให้ได้ผลการบำบัดที่ดีขึ้น.

ใหม่!!: กรรมฐานและการจัดการความเครียด · ดูเพิ่มเติม »

การทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิ

ตสมองที่มีสีเน้นเป็นเขต anterior cingulate cortex ซึ่งทำงานเมื่อมีการเจริญกรรมฐาน การเจริญกรรมฐาน (meditation) ผลต่อการทำงานของสมอง และผลต่อระบบประสาทกลาง ได้กลายมาเป็นประเด็นงานวิจัยข้ามสาขาในประสาทวิทยาศาสตร์ จิตวิทยา และชีววิทยาประสาท (neurobiology) ในช่วงท้ายคริสต์ศตวรรษที่ 20 งานวิจัยได้พยายามที่จะกำหนดและแสดงลักษณะของการเจริญกรรมฐาน/การเจริญภาวนา/การนั่งสมาธิ แบบต่าง ๆ ผลการเจริญกรรมฐานต่อสมองมีสองแบบ คือผลต่อภาวะสมองระยะสั้นเมื่อกำลังเจริญกรรมฐาน และผลต่อลักษณะที่มีในระยะยาว ประเด็นการศึกษาบ่อยครั้งจะเป็นเรื่องการเจริญสติ ซึ่งเป็นกรรมฐานของชาวพุทธทั้งในแบบวิปัสสนา และในรูปแบบของนิกายเซน.

ใหม่!!: กรรมฐานและการทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิ · ดูเพิ่มเติม »

การใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์รับมือ

การใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์รับมือ (Music as a coping strategy) เป็นการใช้ดนตรี ไม่ว่าจะโดยฟังหรือเล่น เพื่อลดอาการของความเครียดทางกายใจ และลดตัวความเครียดเองด้วย การใช้ดนตรีรับมือกับความเครียดเป็นตัวอย่างกลยุทธ์การรับมือที่เพ่งอารมณ์ โดยมองว่าเป็นการปรับตัวที่ดี (adaptive) เพราะลดหรือกำจัดความรู้สึกที่เกิดขึ้นตอบสนองต่อความเครียด ไม่ใช่จัดการตัวก่อความเครียดโดยตรง ผู้ที่สนับสนุนการบำบัดเช่นนี้อ้างว่า การใช้ดนตรีช่วยลดระดับความเครียดที่คนไข้รู้สึก และยังลดลักษณะที่วัดได้ทางชีวภาพ เช่น ระดับฮอร์โมนอีพิเนฟรินและคอร์ติซอล ซึ่งหลั่งเมื่อเครียดอีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว โปรแกรมบำบัดด้วยดนตรียังมีหลักฐานที่ทำซ้ำได้ว่า ช่วยลดอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยระยะยาว.

ใหม่!!: กรรมฐานและการใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์รับมือ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวนา

วนา แปลว่า การเจริญ การอบรม การทำให้มีให้เป็นขึ้น หมายถึง การทำจิตใจให้สงบและทำปัญญาให้เกิดขึ้น ด้วยการฝึกฝนอบรมจิตไปตามแบบที่ท่านกำหนดไว้ ซึ่งเรียกชื่อไปต่างๆ เช่น การบำเพ็ญกรรมฐาน การทำสมาธิ การเจริญภาวนา การเจริญจิตภาวนา ภาวนา ในทางปฏิบัติท่านแบ่งไว้ ๒ แบบใหญ่ๆ คือ.

ใหม่!!: กรรมฐานและภาวนา · ดูเพิ่มเติม »

มหาสติปัฏฐานสูตร

ติปัฏฐานสูตร หรือ มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรสำคัญในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่ชาวกุรุชนบท ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ (ปัจจุบันอยู่ในกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย) สติปัฏฐานสูตรหรือมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นหนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน มหาสติปัฏฐานสูตร เมื่อพิจารณาจากพระพุทธพจน์ตอนเริ่มพระสูตร อาจกล่าวได้ว่าหลักการในพระสูตรนี้ เป็นหลักแนวปฏิบัติตรงที่เน้นเฉพาะเพื่อการรู้แจ้ง คือให้มีสติพิจารณากำกับดูสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง โดยไม่ให้ถูกครอบงำไว้ด้วยอำนาจกิเลสต่าง ๆ โดยมีแนวปฏิบัติเป็นขั้นตอน 4 ระดับ คือ พิจารณากาย, ความรู้สึก (เวทนา), จิต, และธรรมที่เกิดในจิต.

ใหม่!!: กรรมฐานและมหาสติปัฏฐานสูตร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อวัดในจังหวัดปทุมธานี

รายชื่อวัดในจังหวัดปทุมธานี.

ใหม่!!: กรรมฐานและรายชื่อวัดในจังหวัดปทุมธานี · ดูเพิ่มเติม »

ลายวงกต

“วงกตคลาสสิก” เจ็ดชั้น เขาวงกตครีตทำด้วย 2500 TeaLights การเผาไหม้ในศูนย์คริสเตียนสมาธิและจิตวิญญาณของสังฆมณฑลบูร์กที่โบสถ์ Holy Cross ใน แฟรงก์เฟิร์ต-Bornheim ลายวงกตยุคสำริดแอตแลนติก ลายวงกตในภาพวาดในถ้ำในอิตาลี วงกตบนพื้นที่มหาวิหารอาเมียงส์ในฝรั่งเศส คนอสซอส ลายวงกต หรือ ลาบรินธ์ (Labyrinth) ในตำนานเทพเจ้ากรีก “Labyrinth” (λαβύρινθος, labyrinthos) คือโครงสร้างอันซับซ้อนที่ออกแบบและสร้างโดยเดดาลัสสำหรับกษัตริย์ไมนอสแห่งครีตที่คนอสซอส โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นกับดักมิโนทอร์ที่เป็นสิ่งที่มีร่างเป็นมนุษย์หัวเป็นวัว ผู้ในที่สุดก็ถูกสังหารโดยวีรบุรุษชาวเอเธนส์เธเซียส (Theseus) เดดาลัสสร้างวงกตอย่างวกวนจนเมื่อสร้างเสร็จตนเองก็แทบจะหาทางออกมาไม่ได้ อารีอัดเน (Ariadne) ให้ความช่วยเหลือเธเซียสให้หาทางออกจากได้โดยการมอบม้วนด้ายให้ม้วนหนึ่งให้วางตามเส้นทางเพื่อที่จะเดินตามรอยด้ายกลับออกมาจากวงกตได้ ในภาษาพูดของภาษาอังกฤษ “Labyrinth” มีความหมายพ้องกับคำว่า “Maze” (วงกตปริศนา) แต่นักวิชาการร่วมสมัยให้ความแตกต่างว่า “วงกตปริศนา” หมายถึงลวดลายวกวนที่ซับซ้อนที่มีทางเข้าทางออกได้หลายทาง แต่ “ลายวงกต” จะมีทางเข้าทางออกทางเดียว และทางจะไม่แตกออกไปเป็นทางย่อยเช่นที่เกิดขึ้นในวงกตปริศนาที่นำ ที่จะนำเข้าไปยังศูนย์กลาง ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าลายวงกตจะเป็นเส้นทางที่ไม่กำกวมที่นำเข้าไปยังศูนย์กลางของวงกตและนำออกมา และไม่มีวัตถุประสงค์ที่ทำให้ยากต่อการเดินตามเส้นทางเข้าไปและออกมา แม้ว่าเหรียญครีตยุคแรกบางเหรียญจะเป็นลายวกวนซ้อน (multicursal patterns) แต่ลายวกวนเดี่ยวเจ็ดชั้นแบบคลาสสิกก็กลายมาเป็นลวดลายที่ใช้บนเหรียญส่วนใหญ่มาตั้งแต่ราว 430 ปีก่อนคริสต์ศักราช และใช้กันโดยทั่วไปในการเรียกว่าเป็นวงกต – แม้ว่าในการบรรยายจะกล่าวว่ามิโนทอร์ติดกับอยู่ในวงกตปริศนาก็ตาม แม้เมื่อลายวงกตพัฒนาซับซ้อนขึ้น แต่ลายวงกตตั้งแต่สมัยโรมันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา แต่ก็เป็นลายวกวนทางเดียว (unicursal) “วงกตปริศนา” เพิ่งเริ่มมาเป็นที่นิยมกันเมื่อใช้ในการออกแบบสวนวงกตที่นิยมกันในสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยา ลายวงกตอาจจะปรากฏเป็นลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผา, ตะกร้า, ลายสักบนร่างกาย, ลายบนผนังหรือกำแพงของคริสต์ศาสนสถาน โรมันใช้ลายวงกตในการตกแต่งบนผนัง, พื้นด้วยโมเสก ลายวงกตที่สร้างบนพื้นบางครั้งก็จะมีขนาดใหญ่พอที่จะใช้ในการเดินตามเส้นเข้าออกได้สำหรับการเดินกรรมฐาน.

ใหม่!!: กรรมฐานและลายวงกต · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธรรมกาย

วัดพระธรรมกาย เป็นวัดในสังกัดมหานิกาย ก่อตั้งเมื่อ 20 กุมภาพัน..

ใหม่!!: กรรมฐานและวัดพระธรรมกาย · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุจอมแจ้ง (อำเภอพาน)

วัดพระธาตุจอมแจ้ง (120px; Wat Phra That Chom Chaeng) ตั้งอยู่บนยอดดอยป่าซาง หมู่ 12 บ้านร่องบอน ตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่กว่า 500 ไร่ เป็นวัดเก่าแก่สำคัญที่ครูบาศรีวิชัย (ตนบุญแห่งล้านนา) เคยมาบูรณะไว้ และยังเป็นวัดที่ตั้งอยู่สูงที่สุดในอำเภอพาน มีความสูงถึง 1,350 ฟุต จากระดับน้ำทะเล ระยะทางจากถนนด้านล่างขึ้นไปยังองค์พระธาตุมีความยาวกว่า 700 เมตร ป้ายวัดพระธาตุจอมแจ้ง.

ใหม่!!: กรรมฐานและวัดพระธาตุจอมแจ้ง (อำเภอพาน) · ดูเพิ่มเติม »

วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)

วัดร่ำเปิง (140px) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 1 หมู่ 5 ถนนคันคลองชลประทาน ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นอกเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ อีกทั้งอยู่ใกล้บริเวณวัดอุโมงค์ วัดป่าแดง และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายในวัดมีพื้นที่ทั้งหมด 19 ไร่ 1 งาน 78 ตารางวา วัดร่ำเปิงยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติฯ ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ปี..

ใหม่!!: กรรมฐานและวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) · ดูเพิ่มเติม »

วัดหนองป่าพง

วัดหนองป่าพง (วัดป่าพง; Wat Nong Pah Pong) เป็นวัดป่าฝ่ายอรัญวาสี มีจุดเริ่มต้นเมื่อปี..

ใหม่!!: กรรมฐานและวัดหนองป่าพง · ดูเพิ่มเติม »

วัดประสิทธิ์โพธิ์ชัย

วัดประสิทธิ์โพธิ์ชัย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2433 เป็นวัดที่เก่าแก่มาก เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดบ้านคำบง  มี พระใบ สิริจนฺโท เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก และมีหลวงพ่อพุทธเมตตาประดิษฐานในพระอุโบสถ ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ชาวบ้านมีความเลื่อมใสและศรัทธา และยังมีวัตถุโบราณต่างๆ ของเก่าแก่คนสมัยก่อนเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา และต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2460 จึงได้ตราตั้งวัดขึ้นใหม่ชื่อว่า วัดประสิทธิ์โพธิ์ชัย นับตั้งแต่นั้นมา ปี พ.ศ. 2538 ก็ได้แต่งตั้ง พระครูภัทรโพธิคุณ (เที่ยง ภทฺทวโร) รองเจ้าคณะอำเภอห้วยผึ้ง เป็นเจ้าอาวาส รูปที่ 19   ปัจจุบันท่านเป็นคณาจารย์พระสายกรรมฐาน จบหลักสูตรอภิธรรมบัณฑิต จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ชาวบ้านให้ความศรัทธาและนับถือ   ปี พ.ศ. 2545 ท่านก็นำชาวบ้านคำบงบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถเก่าเป็นพระอุโบสถหลังใหม่มีพระสงฆ์จำพรรษาจำนวน 15 รูป ปี พ.ศ. 2553 ท่านก็ได้ติดต่อกับคณะชมรมรักพระบรมพระสารีริกธาตุแห่งประเทศไทย อัญเชิญและรับพระบรมสารีริกธาตุมาจากวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร อัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย เนปาล ศรีลังกา มาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดประสิทธิ์โพธิ์ชัย เพื่อให้พุทธบริษัท 4 ได้สักการบูชาเป็นพุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสังฆเจ้า เป็นบุญกุศลและศิริมงคลให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าในบวรพระพุทธศาสนาต่อไป หมวดหมู่:วัดในจังหวัดกาฬสินธุ์.

ใหม่!!: กรรมฐานและวัดประสิทธิ์โพธิ์ชัย · ดูเพิ่มเติม »

วิชชาธรรมกาย

ระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย วิชชาธรรมกาย เป็นวิธีเจริญกรรมฐานที่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ค้นพบในปี..2459 ต่อมาจึงแพร่หลายในประเทศไทยและขยายไปยังประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ใช้คำบริกรรมว่า "สัมมาอะระหัง" ขณะเจริญกรรมฐาน จึงเรียกสำนักกรรมฐานสายนี้ว่าสายบริกรรม สัมมา–อรหัง ถือเป็นหนึ่งในห้าสายปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตรที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาต.

ใหม่!!: กรรมฐานและวิชชาธรรมกาย · ดูเพิ่มเติม »

วิปัสสนูปกิเลส

วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ หมายถึง อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา เป็นธรรมารมณ์ที่เกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ (ตรุณวิปัสสนา) สภาพน่าชื่นชมแต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางไม่ให้ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ อย่าง คือ.

ใหม่!!: กรรมฐานและวิปัสสนูปกิเลส · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา

นาพุทธกับจิตวิทยา (Buddhism and psychology) เหลื่อมกันทั้งในทางทฤษฎีและการปฏิบัติในศตวรรษที่ผ่านมา โดยมีความเกี่ยวข้องกันหลัก ๆ 4 อย่าง คือ.

ใหม่!!: กรรมฐานและศาสนาพุทธกับจิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์

มีการเสนอเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า ศาสนาพุทธนั้นเข้ากับวิทยาศาสตร์ได้ ทำให้ศาสนาพุทธได้กลายเป็นประเด็นหนึ่งในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์ มีการอ้างว่า คำสอนทั้งทางปรัชญาทั้งทางจิตวิทยาในศาสนาพุทธ มีส่วนที่เหมือนกันกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และทางปรัชญา ยกตัวอย่างเช่น ศาสนาพุทธสนับสนุนให้ทำการตรวจสอบธรรมชาติอย่างเป็นกลาง ๆ แนวคิดที่นิยมบางอย่าง เชื่อมคำสอนศาสนาพุทธกับทฤษฎีวิวัฒนาการ ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม และทฤษฎีจักรวาลวิทยา แต่ว่า นักวิทยาศาตร์โดยมาก เห็นความแตกต่างระหว่างคำสอนทางศาสนาและเกี่ยวกับอภิปรัชญาของศาสนาพุทธ กับระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ ในปี..

ใหม่!!: กรรมฐานและศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระวันรัต

มเด็จพระวันรัต (อ่านว่า วันนะรัด) แปลว่า ผู้ยินดีในการอยู่ป่า ผู้รักการอยู่ป่า เดิมใช้คำว่า พนรัตน์ และ วันรัตน์ ซึ่งแปลว่า ป่าแก้ว ปัจจุบันเป็นราชทินนามสมเด็จพระราชาคณะรูปหนึ่งในฝ่ายธรรมยุติกนิกาย วันรัตน์ เป็นนามที่ได้มาจากลังกา สันนิษฐานตามคำแปลว่าคงเป็นสังฆนายกฝ่ายอรัญวาสี คู่กับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งเป็นสังฆนายกฝ่ายคามวาสี ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ ปรากฏนามนี้ครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ว่าพระพนรัตน์ป่าแก้วให้ฤกษ์แก่พระศรีสินในการก่อกบฏพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, นนทบุรี: ศรีปัญญา, 2553.

ใหม่!!: กรรมฐานและสมเด็จพระวันรัต · ดูเพิ่มเติม »

สายพระป่าในประเทศไทย

ในประเทศไทย สายพระป่า คือสายกรรมฐานของพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสีที่สืบทอดมาจากพระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) และพระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต พระภิกษุในสายนี้เน้นฝึกกรรมฐานควบคู่กับการรักษาพระวินัยอย่างเคร่งครั.

ใหม่!!: กรรมฐานและสายพระป่าในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

สติ (จิตวิทยา)

ในสาขาจิตวิทยาของชาวตะวันตก สติ (Mindfulness แปลตามความหมายที่ใช้ได้ว่า "ความเป็นผู้มีสติ" "สติ" และ "การเจริญสติ") เป็น "การเพ่งความใส่ใจของตนไปที่อารมณ์ ความคิด และความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยตั้งใจ โดยยอมรับ โดยไม่มีการตัดสิน" ซึ่งสามารถฝึกได้โดยวิธีปฏิบัติกรรมฐาน ที่ดัดแปลงมาจากการเจริญอานาปานสติของชาวพุทธ เป็นวิธีการที่เริ่มเกิดความนิยมในโลกตะวันตกเพราะโปรแกรม Mindfulness-based stress reduction (ตัวย่อย MBSR แปลว่า การลดความเครียดอาศัยสติ) ของ.

ใหม่!!: กรรมฐานและสติ (จิตวิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สติ (แก้ความกำกวม)

ติ (Mindfulness) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กรรมฐานและสติ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

หลวงปู่สาม อกิญฺจโน

“หลวงปู่สาม อกิญฺจโน” อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าไตรวิเวก ต.นาบัว อ.เมือง.สุรินทร์ พระป่าปฏิบัติศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่ดูลย์ อตุโล และหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม หลวงปู่สาม มีนามเดิมว่า สาม เกษแก้วสี เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 ตรงกับเดือนกันยายน..

ใหม่!!: กรรมฐานและหลวงปู่สาม อกิญฺจโน · ดูเพิ่มเติม »

อภิญญา

อภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่ง หมายถึงปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน อภิญญาในคำวัดหมายถึงคุณสมบัติพิเศษของพระอริยบุคคลซึ่งเป็นเหตุให้มีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ มี 6 อย่าง คือ.

ใหม่!!: กรรมฐานและอภิญญา · ดูเพิ่มเติม »

อสุภ

อสุภ (อ่านว่า อะสุบ, อะสุบพะ) แปลว่า ไม่งาม ไม่สวย ไม่ดี คือไม่น่าชื่นชม น่าเกลียด น่าระอา ใช้ว่า อสุภะ ก็ได้ เป็นหนึ่งใน กรรมฐาน40 แต่จะกระทำได้ไม่สูงกว่าปฐมฌาณ เพราะเป็นอารมณ์คิดพิจารณามากกว่าอารมณ์เพ่ง(เป็นอารมณ์วิปัสนามากกว่าอารมกรรมฐาน) เป็นกรรมฐานที่มุ่งกระทำต่อราคะจริต และกามารมณ์ คือ ค้นคว้าหาความจริงจากวัตถุที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ที่คนมัวเมา หลงใหลว่าสวยสดงดงาม ซึ่งเป็นการฝืนกฎแห่งความเป็นจริง เป็นเหตุของความทุกข์ไม่มีสิ้นสุด เอามาตีแผ่ให้เห็นสภาพตามความเป็นจริง ตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติสามารถจำแนกได้หลายประการ เช่น ในบุคคลผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ที่มีราคะจริตเป็นปกติ จะใช้อสุภกรรมฐานในการยับยั้ง หรือ ต่อสู้เมื่อเกิดราคะ (ราคะจริต ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ปราถนาในเรื่องเพศเสมอไป ผู้ที่ชอบสิ่งของ-ร่างกายสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อยปรุงแต่ง ก็เป็นราคะจริตเช่นกัน เพราะสภาพแท้จริงไม่ได้เป็นดังที่เห็น-ชอบ)จะทำให้อารมณ์ราคะระงับลงได้, อีกประการหนึ่งคือเพื่อให้เห็นสภาพที่แท้จริงของร่างกายตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ว่าเป็นของไม่งาม ฯลฯ ทำให้ผู้ปฏิบัติตัดความสงสัยในพระธรรม(วิจิกิจฉา)ด้วยการดูของจริง และเกิดความเข้าใจสภาพที่แท้จริงตามไตรลักษณ์จนนำไปสู่ความรู้แจ้งในการที่จะปฏิเสธการมีภพมีชาติ หรือ การมีร่างกายที่เต็มไปด้วยทุกข์อีก(สักกายทิฏฐิ), แม้ภิกษุผู้บวชในบวรพุทธศาสนาเป็นสมมติสงฆ์ หรือ ที่เป็นพระอริยะบุคคลต่ำกว่าพระอนาคามี จะใช้อสุภกรรมฐานเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการประหัตประหารราคะ ทั้งในเรื่องสัมผัสระหว่างเพศ หรือ เรื่องอื่นๆที่ข้องในกามทั้งปวง (นี่เองภิกษุผู้ปฏิบัติดี หรือ พระสุปฏิปันโนจะสามารถระงับความต้องการทางเพศลงได้ ด้วยการพิจารณาอสุภกรรมฐาน ทั้งกายของตนเองและของผู้อื่น ว่าเป็นของไม่งาม ไม่ยั่งยืน ตามสภาพความเป็นจริง) สรุปคือ อสุภกรรมฐานเป็นกรรมฐานสำหรับระงับราคะ หรือ กามารมณ์ โดยตรง ช่วยให้มองสิ่งต่างๆ ไปตามสภาพความเป็นจริง ตัดอวิชชาและมิจฉาทิฏฐิ นำไปสู่การรู้แจ้ง และพระนิพพาน ซึ่งผู้ที่เจริญเป็นพื้นฐาน แล้วเจริญวิปัสนาญาณต่อไปจะเป็นทางสู่พระอนาคามีผล และพระอรหัตผลในที่สุด อสุภ ในคำวัดใช้หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งท่านกำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้กล่าวไว้โดยรวม 10 อย่างคือ.

ใหม่!!: กรรมฐานและอสุภ · ดูเพิ่มเติม »

อสุภกรรมฐาน

อสุภกรรมฐาน แปลว่า กรรมฐานที่กำหนดอสุภะเป็นอารมณ์, กรรมฐานที่พิจารณาให้เห็นว่าเป็นของไม่งาม อสุภกรรมฐาน หมายถึงการบำเพ็ญกรรมฐานโดยการพิจารณาอสุภะหรือพิจารณาร่างกายของตนหรือของผู้อื่นว่าเป็นของไม่งาม ไม่น่ายึดมั่นถือมั่น แต่เป็นของน่าเกลียด โสโครก เช่นพิจารณาซากศพที่นอนให้เขารดน้ำก่อนใส่โลง ก่อนเผาหรือฝัง มองดูจนกระทั่งเกิดนิมิตติดตาแล้วกลับมานั่งนึกพิจารณาให้เห็นนิมิตนั้นจนเจนใจเหมือนเห็นศพจริง ภาวนาไปจนเกิดปัญญาเห็นแจ้งถึงไตรลักษณ์ อสุภกรรมฐานเป็นเครื่องกำจัดราคะ ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายรักยึดถือร่างกาย คลายความหลงรูป หลงสวย หลงงามลงได้.

ใหม่!!: กรรมฐานและอสุภกรรมฐาน · ดูเพิ่มเติม »

อนุสสติ

อนุสสติ 10 หมายถึง กรรมฐานเป็นเครื่องระลึกถึง มี 10 อย่าง ได้แก.

ใหม่!!: กรรมฐานและอนุสสติ · ดูเพิ่มเติม »

ฌาน

น (บาลี) หรือ ธยาน (สันสกฤต) หมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก.

ใหม่!!: กรรมฐานและฌาน · ดูเพิ่มเติม »

ทักษะชีวิต

ทักษะชีวิต (Life skills) เป็นสมรรถภาพในการมีพฤติกรรมที่เป็นการปรับตัวที่ดี ซึ่งช่วยให้มนุษย์รับมือกับความจำเป็น/ความต้องการและปัญหาของชีวิต หรือกล่าวอีกอย่างก็คือ เป็นสามัตถิยะทางจิต-สังคม (psychosocial competency) มีทักษะจำนวนหนึ่งที่จะได้จากการสอนหรือการปฏิบัติโดยตรงเพื่อใช้ไขปัญหาและคำถามที่มีอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ทักษะที่ว่าจะต่างกันไปขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคาดหวังของสังคม แต่ทักษะที่ช่วยให้อยู่เป็นสุข (well-being) และช่วยให้พัฒนาเป็นสมาชิกทางสังคมที่มีส่วนและก่อประโยชน์ จะพิจารณาว่าเป็นทักษะชีวิต.

ใหม่!!: กรรมฐานและทักษะชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ตจปัญจกกรรมฐาน

ตจปัญจกกรรมฐาน (อ่านว่า ตะจะปันจะกะกำมะถาน) แปลว่า กรรมฐานที่มีหนังเป็นที่ครบห้า หมายถึงการทำกรรมฐานที่กำหนดพิจารณาอวัยวะ ๕ อย่าง คือ.

ใหม่!!: กรรมฐานและตจปัญจกกรรมฐาน · ดูเพิ่มเติม »

นิมิต (กรรมฐาน)

นิมิต หมายถึงเครื่องหมายในเวลาทำกรรมฐาน คือเครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดจับเป็นอารมณ์แล้วพิจารณาจนติดตาติดใ.

ใหม่!!: กรรมฐานและนิมิต (กรรมฐาน) · ดูเพิ่มเติม »

โรควิตกกังวล

รควิตกกังวล (Anxiety disorders) เป็นกลุ่มความผิดปกติทางจิตกำหนดโดยความวิตกกังวลและความกลัว ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคตและความกลัว (fear) เป็นปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน --> ความรู้สึกเช่นนี้อาจทำให้เกิดอาการทางกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วและตัวสั่น --> มีโรควิตกกังวลหลายอย่าง รวมทั้งโรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD), โรคกลัว (phobia) ที่เฉพาะเจาะจง, โรคกลัวการเข้าสังคม (social anxiety disorder), โรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก (separation anxiety disorder), โรคกลัวที่ชุมชน (agoraphobia), และโรคตื่นตระหนก (panic disorder) --> โดยโรคจะต่าง ๆ กันตามอาการ --> แต่คนไข้มักจะมีโรควิตกกังวลมากกว่าหนึ่งชนิด โรคมีปัจจัยจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งประวัติถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก ประวัติความผิดปกติทางจิตในครอบครัว และความยากจน --> โรคมักเกิดร่วมกับความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า (MDD) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (PD) และการเสพสารเสพติด (substance use disorder) เพื่อจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค จะต้องมีอาการอย่างน้อย 6 เดือน มีความวิตกกังวลเกินเหตุ และมีปัญหาในการดำเนินชีวิต แต่ก็มีปัญหาทางจิตเวชและทางแพทย์อื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้าย ๆ กันรวมทั้งอาการไฮเปอร์ไทรอยด์, โรคหัวใจ, การเสพกาเฟอีน แอลกอฮอล์ และกัญชา, และการขาดยา (withdrawal) บางประเภท ถ้าไม่รักษา โรคมักจะไม่หาย การรักษารวมทั้งการเปลี่ยนสไตล์ชีวิต จิตบำบัด และการทานยา --> จิตบำบัดมักจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ยาเช่นยาแก้ซึมเศร้าหรือเบต้า บล็อกเกอร์ อาจช่วยให้อาการดีขึ้น คนประมาณ 12% มีโรคทุก ๆ ปี โดยเกิดในหญิงมากกว่าชาย 2 เท่า และทั่วไปเริ่มก่อนอายุ 25 ปี ประเภทโรคที่สามัญที่สุดคือโรคกลัวที่เฉพาะเจาะจงซึ่งเกิดในคน 12% และโรคกลัวการเข้าสังคม (SAD) ซึ่งเกิดในคน 10% ในช่วงหนึ่งในชีวิต --> โดยเกิดกับบุคคลอายุ 15-35 ปีมากที่สุด และเกิดขึ้นน้อยหลังถึงอายุ 55 ปี --> อัตราการเกิดดูจะสูงกว่าในสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป สีหน้าของบุคคลที่มีความวิตกกังวลเรื้อรัง.

ใหม่!!: กรรมฐานและโรควิตกกังวล · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »