เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สติ (จิตวิทยา)

ดัชนี สติ (จิตวิทยา)

ในสาขาจิตวิทยาของชาวตะวันตก สติ (Mindfulness แปลตามความหมายที่ใช้ได้ว่า "ความเป็นผู้มีสติ" "สติ" และ "การเจริญสติ") เป็น "การเพ่งความใส่ใจของตนไปที่อารมณ์ ความคิด และความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยตั้งใจ โดยยอมรับ โดยไม่มีการตัดสิน" ซึ่งสามารถฝึกได้โดยวิธีปฏิบัติกรรมฐาน ที่ดัดแปลงมาจากการเจริญอานาปานสติของชาวพุทธ เป็นวิธีการที่เริ่มเกิดความนิยมในโลกตะวันตกเพราะโปรแกรม Mindfulness-based stress reduction (ตัวย่อย MBSR แปลว่า การลดความเครียดอาศัยสติ) ของ.

สารบัญ

  1. 15 ความสัมพันธ์: พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธีกลไกทางประสาทของการเจริญสติการบำบัดด้วยการรู้อาศัยสติการรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาการลดความเครียดอิงสติการจัดการความเครียดการทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิการควบคุมอารมณ์ตนเองศาสนาพุทธกับจิตวิทยาสติ (แก้ความกำกวม)จิตวิทยาเชิงบวกทักษะชีวิตคราวซึมเศร้าโรควิตกกังวลโรควิตกกังวลไปทั่ว

พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี

ติกรรมบำบัดวิภาษวิธี (Dialectical behavior therapy ตัวย่อ DBT) เป็นจิตบำบัดที่ออกแบบเพื่อช่วยให้เปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมที่ไร้ประโยชน์ เช่น การทำร้ายตัวเอง การคิดถึงการฆ่าตัวตาย และการติดสารเสพติด วิธีนี้ช่วยให้ควบคุมอารมณ์และความคิดของตนได้มากขึ้นโดยเรียนรู้เกี่ยวกับชนวนที่จุดปฏิกิริยา และช่วยประเมินว่า จะใช้ทักษะเช่นไรในการรับมือกับลำดับเหตุการณ์ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ DBT สมมุติว่าทุกคนพยายามทำดีที่สุด แต่ว่าไม่ขาดทักษะก็ได้การเสริมแรง (reinforcement) ไม่ทางลบก็ทางบวก ที่รบกวนการดำเนินชีวิตที่ดี DBT เป็นรูปแบบดัดแปลงของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ที่นักจิตวิท.ดร.มาชา ไลน์แฮน ที่มหาวิทยาลัยวอชิงตันได้พัฒนาขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 เพื่อรักษาความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (BPD) และความคิดฆ่าตัวตายเรื้อรัง แม้ว่าผลงานวิจัยที่แสดงประสิทธิผลในการรักษาโรคอื่น ๆ จะจำกัดมาก แต่ DBT ปัจจุบันใช้รักษาโรคจิตต่าง ๆ รวมทั้งการบาดเจ็บที่กะโหลกศีรษะ (TBI) ความผิดปกติในการรับประทาน (eating disorder) และความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) (The California Psychologist, 34) มีผลงานวิจัยเล็กน้อยที่แสดงว่า DBT อาจมีผลต่อคนไข้ที่มีอาการและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับความผิดปกติทางอารมณ์เป็นสเปกตรัม (spectrum mood disorders) รวมทั้งการทำร้ายตัวเอง ส่วนงานศึกษาปี 2551 แสดงว่ามีประสิทธิผลต่อเหยื่อทารุณกรรมทางเพศ (sexual abuse) และงานปี 2542 พบผลต่อการติดสารเสพติด DBT รวมเทคนิคของ CBT ในการควบคุมอารมณ์และการตรวจสอบความจริง บวกกับการอดทนต่อความทุกข์ การยอมรับ การสำนึกรู้อย่างมีสติ โดยสืบมาจากการเจริญสติในพุทธศาสนา DBT เป็นการบำบัดแรกที่มีหลักฐานการทดลองที่แสดงว่ามีผลในการบำบัด BPD การทดลองทางคลินิกแบบสุ่มแรกของ DBT พบผลคือ ทีท่าจะฆ่าตัวตาย (suicidal gesture) การเข้าโรงพยาบาลเหตุจิตเวช และการเลิกการรักษาเอง (drop-out) ในอัตราที่ลดลง งานวิเคราะห์อภิมานงานหนึ่งพบว่า DBT มีผลปานกลาง (moderate) ในคนไข้ BPD.

ดู สติ (จิตวิทยา)และพฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี

กลไกทางประสาทของการเจริญสติ

ในสาขาจิตวิทยาของชาวตะวันตก สติ (Mindfulness) ซึ่งสามารถฝึกได้โดยการเ เป็น "การเพ่งความใส่ใจของตนไปที่อารมณ์ ความคิด และความรู้สึกในกายที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยตั้งใจ โดยยอมรับ โดยไม่ตัดสิน" เป็นการปฏิบัติที่มาจากการเจริญสติในพุทธศาสนา และสร้างความนิยมในประเทศตะวันตก.

ดู สติ (จิตวิทยา)และกลไกทางประสาทของการเจริญสติ

การบำบัดด้วยการรู้อาศัยสติ

การบำบัดด้วยการรู้อาศัยสติ หรือ การบำบัดความคิดอาศัยสติ (Mindfulness-based cognitive therapy ตัวย่อ MBCT) เป็นการบำบัดทางจิตวิทยาออกแบบเพื่อไม่ให้เกิดความซึมเศร้าอีก โดยเฉพาะในบุคคลที่เป็นโรคซึมเศร้า (MDD) เป็นการบำบัดที่มุ่งโรค MDD โดยเฉพาะ ซึ่งทำให้แตกต่างจากการบำบัดที่อาศัยสติอื่น ๆ เช่น การลดความเครียดอาศัยสติ (mindfulness-based stress reduction) ซึ่งใช้ได้กับความผิดปกติหลายอย่าง และการป้องกันการกลับติดอีกอาศัยสติ (mindfulness-based relapse prevention) ซึ่งใช้ในการติด MBCT ใช้เทคนิคของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) และเพิ่มกลยุทธ์ทางจิตวิทยาใหม่ ๆ เช่น สติ และการเจริญสติ (mindfulness meditation) และอาจจะรวมการให้การศึกษาแก่คนไข้เรื่องความซึมเศร้า การเจริญสติมุ่งที่จะสำนึกถึงความคิดและความรู้สึกทั้งหมดแล้วยอมรับ โดยไม่เข้าไปยึดติดหรือมีปฏิกิริยาต่อพวกมัน ซึ่งเป็นกระบวนการ (ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Decentering จะแปลว่า ไม่ยึดว่าเป็นตน) ที่ช่วยหยุดการติตนเอง การครุ่นคิด และอารมณ์ไม่ดี ที่ล้วนอาจเกิดขึ้นเป็นปฏิกิริยาต่อรูปแบบความคิดที่ไม่ดี โดยเหมือนกับ CBT การบำบัดนี้อาศัยทฤษฎีว่า เมื่อบุคคลที่มีประวัติซึมเศร้าเกิดความทุกข์ พวกเขาจะกลับใช้กระบวนการความคิดอัตโนมัติที่สามารถจุดชนวนภาวะซึมเศร้า (depressive episode) อีก จุดมุ่งหมายของ MBCT ก็เพื่อจะระงับกระบวนการอัตโนมัติเหล่านี้และฝึกให้คนไข้มีปฏิกิริยาน้อยลงต่อสิ่งเร้าที่เข้ามา แล้วแทนที่ด้วยการยอมรับและสังเกตสิ่งเหล่านั้นโดยไม่ตัดสินความดีไม่ดี การฝึกสติเช่นนี้ทำให้สามารถสังเกตกระบวนการอัตโนมัติที่กำลังเกิดขึ้นแล้วเปลี่ยนปฏิกิริยาของตนให้เป็นความพินิจพิจารณา ซึ่งสมมุติกันว่า เป็นส่วนของ MBCT ที่เป็นเหตุของผลต่างที่ได้ทางคลินิก นอกจากจะใช้ลดความรุนแรงของความซึมเศร้า ผลงานวิจัยยังสนับสนุนประสิทธิผลของการเจริญสติเพื่อลดความอยากสารที่บุคคลติด การติดเป็นกระบวนการที่ทำสมองส่วน prefrontal cortex (ตัวย่อ PFC) ให้อ่อนแอลง PFC ปกติจะช่วยระงับการหาความสุขในปัจจุบันเพื่อประโยชน์ในอนาคต การเจริญสติเป็นเวลา 2 อาทิตย์โดยใช้เวลาทั้งหมด 5 ชม.

ดู สติ (จิตวิทยา)และการบำบัดด้วยการรู้อาศัยสติ

การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา

การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (Acceptance and commitment therapy ตัวย่อ ACT) เป็นรูปแบบจิตบำบัดแบบหนึ่งของ การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavior therapy) หรือ clinical behavior analysis (CBA) เป็นการแทรกแซงทางจิตวิทยาที่มีหลักฐานเชิงประสบการณ์ ด้วยวิธีให้ยอมรับ (acceptance) และมีสติ โดยผสมกันต่างจากวิธีอื่น ๆ บวกกับการให้คำมั่นสัญญาและกลยุทธ์การเปลี่ยนพฤติกรรมอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นทางใจได้ วิธีนี้ในเบื้องต้นเคยเรียกว่า "comprehensive distancing" เริ่มในปี 1982 (โดย ศ.

ดู สติ (จิตวิทยา)และการรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา

การลดความเครียดอิงสติ

การลดความเครียดอิงสติ หรือ การใช้สติลดความเครียด (Mindfulness-based stress reduction ตัวย่อ MBSR) เป็นโปรแกรมอิงสติออกแบบเพื่อช่วยคนที่เป็นทุกข์ เป็นโรค และมีปัญหาชีวิตอื่น ๆ ที่ยากจะรักษาเป็นเบื้องต้นในสถานที่รักษาพยาบาลเช่นโรงพยาบาล เป็นโปรแกรมที.

ดู สติ (จิตวิทยา)และการลดความเครียดอิงสติ

การจัดการความเครียด

การจัดการความเครียด (Stress management) หมายถึงเทคนิคที่หลายหลากและกระบวนการจิตบำบัด (psychotherapy) ที่มุ่งควบคุมระดับความเครียด โดยเฉพาะความเครียดเรื้อรัง ปกติเพื่อปรับชีวิตประจำวันให้ดีขึ้น ในเรื่องนี้ ความเครียดหมายถึงในระดับที่มีผลลบอย่างสำคัญ หรือบางครั้งเรียกในภาษาอังกฤษว่า distress (แปลว่าความทุกข์) ซึ่งต่างจากคำว่า eustress ซึ่งหมายถึงความเครียดที่มีประโยชน์หรือมีผลบวก คำภาษาอังกฤษทั้งสองนี้เสนอโดยแพทย์ต่อมไร้ท่อทรงอิทธิพลในเรื่องความเครียด คือ น.

ดู สติ (จิตวิทยา)และการจัดการความเครียด

การทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิ

ตสมองที่มีสีเน้นเป็นเขต anterior cingulate cortex ซึ่งทำงานเมื่อมีการเจริญกรรมฐาน การเจริญกรรมฐาน (meditation) ผลต่อการทำงานของสมอง และผลต่อระบบประสาทกลาง ได้กลายมาเป็นประเด็นงานวิจัยข้ามสาขาในประสาทวิทยาศาสตร์ จิตวิทยา และชีววิทยาประสาท (neurobiology) ในช่วงท้ายคริสต์ศตวรรษที่ 20 งานวิจัยได้พยายามที่จะกำหนดและแสดงลักษณะของการเจริญกรรมฐาน/การเจริญภาวนา/การนั่งสมาธิ แบบต่าง ๆ ผลการเจริญกรรมฐานต่อสมองมีสองแบบ คือผลต่อภาวะสมองระยะสั้นเมื่อกำลังเจริญกรรมฐาน และผลต่อลักษณะที่มีในระยะยาว ประเด็นการศึกษาบ่อยครั้งจะเป็นเรื่องการเจริญสติ ซึ่งเป็นกรรมฐานของชาวพุทธทั้งในแบบวิปัสสนา และในรูปแบบของนิกายเซน.

ดู สติ (จิตวิทยา)และการทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิ

การควบคุมอารมณ์ตนเอง

การควบคุมอารมณ์ตนเอง (Emotional self-regulation) เป็นความสามารถในการตอบสนองทางอารมณ์ต่อประสบการณ์ในรูปแบบที่สังคมยอมรับได้แต่ยืดหยุ่นพอที่จะเป็นปฏิกิริยาแบบฉับพลัน และเป็นความสามารถในการผัดผ่อนปฏิกิริยาแบบฉับพลันถ้าจำเป็น หรือสามารถนิยามได้ว่า เป็นกระบวนการไม่ว่าจะเป็นภายนอกหรือภายในที่มีหน้าที่ตรวจสอบ ประเมิน และเปลี่ยนปฏิกิริยาทางอารมณ์ การควบคุมอารมณ์ของตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการควบคุมอารมณ์ ซึ่งรวมการควบคุมทั้งตัวเองและผู้อื่น การควบคุมอารมณ์เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนรวมทั้งการเริ่ม การยับยั้ง หรือปรับสภาพหรือพฤติกรรมในสถานการณ์หนึ่ง ๆ เช่นปรับความรู้สึกในใจที่เป็นอัตวิสัย การรู้คิด การตอบสนองทางสรีรภาพที่สัมพันธ์กับอารมณ์ (เช่นการเต้นของหัวใจหรือการทำงานทางฮอร์โมน) และพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับอารมณ์ (ไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางสีหน้า) นอกจากนั้น โดยกิจ การควบคุมอารมณ์ยังอาจหมายถึงกระบวนการต่าง ๆ เช่น การใส่ใจในงานที่กำลังทำ และการหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่คนอื่นบอก การควบคุมอารมณ์เป็นกิจที่สำคัญมากในชีวิตมนุษย์ ทุก ๆ วัน มนุษย์ได้รับสิ่งเร้ามากมายหลายอย่างที่อาจทำให้เกิดการตื่นตัว ปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม สุด ๆ หรือไม่ระวัง อาจจะทำให้เข้ากับสังคมไม่ได้ ดังนั้น ทุกคนต้องควบคุมอารมณ์ของตนในรูปแบบต่าง ๆ เกือบตลอดเวลา ในเรื่องสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ที่ผิดปกติ (emotional dysregulation) นิยามว่าเป็นความลำบากในการควบคุมอิทธิพลของความตื่นตัวทางอารมณ์ต่อรูปแบบและคุณภาพทางความคิด ทางการกระทำ และทางปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น/สิ่งอื่น บุคคลที่มีการควบคุมอารมณ์ผิดปกติจะแสดงรูปแบบการตอบสนองที่เป้าหมาย การตอบสนอง และ/หรือวิธีการแสดงออก ไม่เข้ากับสิ่งที่สังคมยอมรับได้ ยกตัวอย่างเช่น การควบคุมอารมณ์ผิดปกติสัมพันธ์อย่างสำคัญกับอาการของโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ความผิดปกติในการรับประทาน และการติดสารเสพติด การควบคุมอารมณ์ได้น่าจะสัมพันธ์กับสมรรถภาพทางสังคมและกับการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม.

ดู สติ (จิตวิทยา)และการควบคุมอารมณ์ตนเอง

ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา

นาพุทธกับจิตวิทยา (Buddhism and psychology) เหลื่อมกันทั้งในทางทฤษฎีและการปฏิบัติในศตวรรษที่ผ่านมา โดยมีความเกี่ยวข้องกันหลัก ๆ 4 อย่าง คือ.

ดู สติ (จิตวิทยา)และศาสนาพุทธกับจิตวิทยา

สติ (แก้ความกำกวม)

ติ (Mindfulness) อาจหมายถึง.

ดู สติ (จิตวิทยา)และสติ (แก้ความกำกวม)

จิตวิทยาเชิงบวก

ตวิทยาเชิงบวก (Positive psychology) เป็นสาขาย่อยใหม่ของจิตวิทยาที่ใช้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์และการแทรกแซงที่มีประสิทธิผล เพื่อช่วยให้บุคคลมีชีวิตที่น่าพอใจ โดยสร้างความเจริญก้าวหน้าสำหรับบุคคล ครอบครัว และชุมชน และค้นหาเสริมสร้างอัจฉริยภาพกับความสามารถเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุขมากยิ่งขึ้น ศาสตร์นี้เพ่งความสนใจไปที่การพัฒนาตนเองแทนที่การรักษาโรค ซึ่งมักจะเป็นจุดสนใจของจิตวิทยาสาขาอื่น ๆ เป็นวิทยาการที่ค่อนข้างใหม่ งานประชุมครั้งแรกเกี่ยวกับศาสตร์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี..

ดู สติ (จิตวิทยา)และจิตวิทยาเชิงบวก

ทักษะชีวิต

ทักษะชีวิต (Life skills) เป็นสมรรถภาพในการมีพฤติกรรมที่เป็นการปรับตัวที่ดี ซึ่งช่วยให้มนุษย์รับมือกับความจำเป็น/ความต้องการและปัญหาของชีวิต หรือกล่าวอีกอย่างก็คือ เป็นสามัตถิยะทางจิต-สังคม (psychosocial competency) มีทักษะจำนวนหนึ่งที่จะได้จากการสอนหรือการปฏิบัติโดยตรงเพื่อใช้ไขปัญหาและคำถามที่มีอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ทักษะที่ว่าจะต่างกันไปขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคาดหวังของสังคม แต่ทักษะที่ช่วยให้อยู่เป็นสุข (well-being) และช่วยให้พัฒนาเป็นสมาชิกทางสังคมที่มีส่วนและก่อประโยชน์ จะพิจารณาว่าเป็นทักษะชีวิต.

ดู สติ (จิตวิทยา)และทักษะชีวิต

คราวซึมเศร้า

ราวซึมเศร้า หรือ คราวแสดงอาการซึมเศร้า หรือ ภาวะซึมเศร้า (major depressive episode) เป็นช่วงเวลาที่มีอาการของโรคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) โดยหลักก็คือมีอารมณ์เศร้าเป็นเวลา 2 อาทิตย์หรือมากกว่านั้น และการสูญเสียความสนใจหรือความสุขในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วยอาการอื่น ๆ เช่น ความรู้สึกว่าไร้ความหมาย ไม่มีหวัง วิตกกังวล ตนไม่มีค่า ความรู้สึกผิดและ/หรือความฉุนเฉียวง่าย ความเปลี่ยนแปลงต่อความอยากอาหาร ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจำรายละเอียดหรือตัดสินใจได้ และความคิดเกี่ยวกับหรือความพยายามที่จะฆ่าตัวตาย อาการนอนไม่หลับหรือการนอนมากเกินไป (hypersomnia) ความเจ็บปวด หรือปัญหาย่อยอาหารที่แก้ไม่ได้ ก็อาจจะมีด้วย นี้เป็นคำอธิบายดังที่ใช้ในเกณฑ์วินิจฉัยทางจิตเวช ดังที่พบในคู่มือ DSM-5 และ ICD-10 ความซึมเศร้าก่อทั้งปัญหาทางอารมณ์และปัญหาทางเศรษฐกิจ ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ค่าเสียหายที่สัมพันธ์กับโรคซึมเศร้าเทียบได้กับที่เกิดจากโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และปัญหาเกี่ยวกับเจ็บหลัง และเสียหายมากกว่าโรคความดันโลหิตสูง ตามงานวิจัยหนึ่ง คราวซึมเศร้ามีสหสัมพันธ์โดยตรงกับความว่างงาน การรักษารวมทั้งการออกกำลังกาย จิตบำบัด และยาแก้ซึมเศร้า แม้ว่าในกรณีที่รุนแรง การเข้าโรงพยาบาลอาจจำเป็น มีทฤษฎีมากมายว่าความซึมเศร้าเกิดขึ้นได้อย่างไร ทฤษฎีหนึ่งก็คือว่า สารสื่อประสาทในสมองไม่สมดุล ก่อความรู้สึกว่าตนไม่มีค่าและสิ้นหวัง การสร้างภาพในสมองด้วย MRI แสดงว่า สมองของผู้ซึมเศร้าต่างจากของคนที่ไม่มีอาการ การมีประวัติของโรคในครอบครัวเพิ่มความเสี่ยง.

ดู สติ (จิตวิทยา)และคราวซึมเศร้า

โรควิตกกังวล

รควิตกกังวล (Anxiety disorders) เป็นกลุ่มความผิดปกติทางจิตกำหนดโดยความวิตกกังวลและความกลัว ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคตและความกลัว (fear) เป็นปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน --> ความรู้สึกเช่นนี้อาจทำให้เกิดอาการทางกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วและตัวสั่น --> มีโรควิตกกังวลหลายอย่าง รวมทั้งโรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD), โรคกลัว (phobia) ที่เฉพาะเจาะจง, โรคกลัวการเข้าสังคม (social anxiety disorder), โรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก (separation anxiety disorder), โรคกลัวที่ชุมชน (agoraphobia), และโรคตื่นตระหนก (panic disorder) --> โดยโรคจะต่าง ๆ กันตามอาการ --> แต่คนไข้มักจะมีโรควิตกกังวลมากกว่าหนึ่งชนิด โรคมีปัจจัยจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งประวัติถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก ประวัติความผิดปกติทางจิตในครอบครัว และความยากจน --> โรคมักเกิดร่วมกับความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า (MDD) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (PD) และการเสพสารเสพติด (substance use disorder) เพื่อจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค จะต้องมีอาการอย่างน้อย 6 เดือน มีความวิตกกังวลเกินเหตุ และมีปัญหาในการดำเนินชีวิต แต่ก็มีปัญหาทางจิตเวชและทางแพทย์อื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้าย ๆ กันรวมทั้งอาการไฮเปอร์ไทรอยด์, โรคหัวใจ, การเสพกาเฟอีน แอลกอฮอล์ และกัญชา, และการขาดยา (withdrawal) บางประเภท ถ้าไม่รักษา โรคมักจะไม่หาย การรักษารวมทั้งการเปลี่ยนสไตล์ชีวิต จิตบำบัด และการทานยา --> จิตบำบัดมักจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ยาเช่นยาแก้ซึมเศร้าหรือเบต้า บล็อกเกอร์ อาจช่วยให้อาการดีขึ้น คนประมาณ 12% มีโรคทุก ๆ ปี โดยเกิดในหญิงมากกว่าชาย 2 เท่า และทั่วไปเริ่มก่อนอายุ 25 ปี ประเภทโรคที่สามัญที่สุดคือโรคกลัวที่เฉพาะเจาะจงซึ่งเกิดในคน 12% และโรคกลัวการเข้าสังคม (SAD) ซึ่งเกิดในคน 10% ในช่วงหนึ่งในชีวิต --> โดยเกิดกับบุคคลอายุ 15-35 ปีมากที่สุด และเกิดขึ้นน้อยหลังถึงอายุ 55 ปี --> อัตราการเกิดดูจะสูงกว่าในสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป สีหน้าของบุคคลที่มีความวิตกกังวลเรื้อรัง.

ดู สติ (จิตวิทยา)และโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลไปทั่ว

รควิตกกังวลไปทั่ว (Generalized anxiety disorder ตัวย่อ GAD) หรือโรควิตกกังวลทั่วไปเป็นโรควิตกกังวลอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความกังวลที่เกินควร ควบคุมไม่ได้ และบ่อยครั้งไม่สมเหตุผล เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมักจะขวางชีวิตประจำวัน เพราะคนไข้มักคิดว่าจะมีเหตุการณ์ร้าย หรือกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับเรื่องทั่ว ๆ ไป เช่น สุขภาพ การเงิน ความตาย ปัญหาครอบครัว ปัญหากับเพื่อน ปัญหากับคนอื่น หรือปัญหาการงาน คนไข้มักจะมีอาการทางกายต่าง ๆ รวมทั้ง ความล้า อยู่ไม่สุข ปวดหัว คลื่นไส้ มือเท้าชา กล้ามเนื้อเกร็ง ปวดกล้ามเนื้อ กลืนไม่ลง มีกรดในกระเพาะมาก ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย หายใจไม่ออก ไม่มีสมาธิ สั่น กล้ามเนื้อกระตุก หงุดหงิด กายใจไม่สงบ นอนไม่หลับ หน้าหรือตัวร้อน (hot flashes) เป็นผื่น และไม่สามารถควบคุมความกังวลได้International Classification of Diseases ICD-10.

ดู สติ (จิตวิทยา)และโรควิตกกังวลไปทั่ว

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Mindfulness (psycholgy)