โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและแดเนียล โอคอนเนลล์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและแดเนียล โอคอนเนลล์

อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน vs. แดเนียล โอคอนเนลล์

อมพล อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน (Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington) เป็นทหารและรัฐบุรุษ และเป็นหนึ่งในผู้กำหนดนโยบายทางการทหารและการเมืองของอังกฤษในศตวรรษที่ 19 เขาสามารถมีชัยเหนือนโปเลียนแห่งฝรั่งเศสได้ในยุทธการที่วอเตอร์ลูในปี 1815 ซึ่งทำให้เขากลายเป็นวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกองทัพอังกฤษ และมีสมญานามว่า ดยุกเหล็ก ทั้งนี้ ในปี 2002 ชื่อของเขาอยู่ในอันดับ 15 ของชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ เกิดที่ดับลินในไอร์แลนด์ เริ่มจากการเป็นนายธงในกองทัพอังกฤษในปี 1787 โดยประจำการในไอร์แลนด์ในฐานะทหารคนสนิทของข้าหลวงใหญ่แห่งไอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาสามัญชน (สภาล่าง) ของไอร์แลนด์ และดำรงยศเป็นพันเอกในปี 1796 โดยเข้าร่วมราชการสงครามในเนเธอร์แลนด์ในช่วงสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่ง และในอินเดียในช่วงสงครามอังกฤษ-ไมซอร์ครั้งที่สี่ และจึงได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงประจำศรีรังคปัฏนาและไมซอร์ในปี 1799 และต่อมาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นพลตรีภายหลังชัยชนะเหนือจักรวรรดิมราฐาในปี 1803 เวลสลีย์เป็นผู้บัญชาการศึกคาบสมุทรในสงครามนโปเลียน และได้รับการเลื่อนขึ้นขึ้นเป็นจอมพลภายหลังสามารถนำกองทัพพันธมิตรมีชัยเหนือฝรั่งเศสได้ในยุทธการที่วิกตอเรียในปี 1813 ซึ่งตามมาด้วยการเนรเทศนโปเลียนในปีต่อมา เวลสลีย์เข้ารับตำแหน่งเป็นราชทูตประจำฝรั่งเศส และได้รับบรรดาศักดิ์เป็นดยุก ต่อมาระหว่างสมัยร้อยวันในปี 1815 กองทัพพันธมิตรของเขาร่วมกับกองทัพปรัสเซียที่นำโดยพลโทบลือเชอร์ มีชัยเหนือนโปเลียนในยุทธการที่วอเตอร์ลู ชีวิตทหารของเขานั้นเป็นที่น่ายกย่องอย่างยิ่ง จากรายงานราชการสงคราม ตลอดชีวิตทหารของเขาได้ผ่านศึกสงครามมากว่า 60 ครั้ง เขามีชื่อเสียงขึ้นมาจากการปรับตัวและใช้กลยุทธ์ในการตั้งรับข้าศึกจนสามารถมีชัยนับครั้งไม่ถ้วนเหนือข้าศึกที่มีกำลังเหนือกว่า ในขณะที่ตัวเขาเองก็ได้รับบาดเจ็บน้อยมาก เขาจึงได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้บัญชาฝ่ายตั้งรับตลอดกาล กลยุทธ์และแผนการรบของเขาจำนวนมากถูกนำไปสอนในวิทยาลัยการทหารชั้นนำของโลก ภายหลังออกจากราชการทหาร เขาก็กลับคืนสู่งานการเมือง โดยได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสองสมัยโดยสังกัดพรรคทอรี ระหว่างปี 1828 ถึง 1830 และอีกครั้งเป็นช่วงเวลาไม่ถึงเดือนในปี 1834 ต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งผู้นำในสภาขุนนาง จนกระทั่งเกษียณอายุแต่ยังคงเป็นผู้บัญชาการกองทัพอังกฤษจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม. แดนเนียล โอคอนเนลล์ (Dónal Ó Conaill, Daniel O'Connell) (6 สิงหาคม ค.ศ. 1775 - (15 พฤษภาคม ค.ศ. 1847) หรือที่รู้จักกันว่า “The Liberator” (ผู้ปลดปล่อย) หรือ “The Emancipator” (ผู้ปลดปล่อย) โอคอนเนลล์เป็นผู้นำทางการเมืองชาวไอริชของครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีบทบาทเพื่อการการปลดแอกคาทอลิก (Catholic emancipation) ซึ่งเป็นการพยายามให้ผู้นับถือโรมันคาทอลิกมีสิทธิได้รับการเลือกตั้งให้นั่งในรัฐสภาเวสต์มินสเตอร์ซึ่งโรมันคาทอลิกไม่มีสิทธิมาเป็นเวลากว่าหนึ่งร้อยปี และเป็นผู้สนับสนุนขบวนการสมาคมเพื่อการเพิกถอนการเป็นสหภาพกับอังกฤษ (Repeal Association).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและแดเนียล โอคอนเนลล์

อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและแดเนียล โอคอนเนลล์ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ดับลิน

ดับลิน

ับลิน (Dublin; ไอริช: Baile Átha Cliath) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ชื่อดับลินนั้นมาจากคำว่า Dubh Linn ซึ่งในภาษาไอริชมีความหมายว่า "สระน้ำสีดำ" (Black Pool) ดับลินมีพื้นที่ประมาณ 114.99 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 495,781 คนในเขตตัวเมือง.

ดับลินและอาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน · ดับลินและแดเนียล โอคอนเนลล์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและแดเนียล โอคอนเนลล์

อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน มี 39 ความสัมพันธ์ขณะที่ แดเนียล โอคอนเนลล์ มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.92% = 1 / (39 + 13)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและแดเนียล โอคอนเนลล์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »