โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน

ดัชนี อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน

อมพล อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน (Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington) เป็นทหารและรัฐบุรุษ และเป็นหนึ่งในผู้กำหนดนโยบายทางการทหารและการเมืองของอังกฤษในศตวรรษที่ 19 เขาสามารถมีชัยเหนือนโปเลียนแห่งฝรั่งเศสได้ในยุทธการที่วอเตอร์ลูในปี 1815 ซึ่งทำให้เขากลายเป็นวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกองทัพอังกฤษ และมีสมญานามว่า ดยุกเหล็ก ทั้งนี้ ในปี 2002 ชื่อของเขาอยู่ในอันดับ 15 ของชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ เกิดที่ดับลินในไอร์แลนด์ เริ่มจากการเป็นนายธงในกองทัพอังกฤษในปี 1787 โดยประจำการในไอร์แลนด์ในฐานะทหารคนสนิทของข้าหลวงใหญ่แห่งไอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาสามัญชน (สภาล่าง) ของไอร์แลนด์ และดำรงยศเป็นพันเอกในปี 1796 โดยเข้าร่วมราชการสงครามในเนเธอร์แลนด์ในช่วงสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่ง และในอินเดียในช่วงสงครามอังกฤษ-ไมซอร์ครั้งที่สี่ และจึงได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงประจำศรีรังคปัฏนาและไมซอร์ในปี 1799 และต่อมาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นพลตรีภายหลังชัยชนะเหนือจักรวรรดิมราฐาในปี 1803 เวลสลีย์เป็นผู้บัญชาการศึกคาบสมุทรในสงครามนโปเลียน และได้รับการเลื่อนขึ้นขึ้นเป็นจอมพลภายหลังสามารถนำกองทัพพันธมิตรมีชัยเหนือฝรั่งเศสได้ในยุทธการที่วิกตอเรียในปี 1813 ซึ่งตามมาด้วยการเนรเทศนโปเลียนในปีต่อมา เวลสลีย์เข้ารับตำแหน่งเป็นราชทูตประจำฝรั่งเศส และได้รับบรรดาศักดิ์เป็นดยุก ต่อมาระหว่างสมัยร้อยวันในปี 1815 กองทัพพันธมิตรของเขาร่วมกับกองทัพปรัสเซียที่นำโดยพลโทบลือเชอร์ มีชัยเหนือนโปเลียนในยุทธการที่วอเตอร์ลู ชีวิตทหารของเขานั้นเป็นที่น่ายกย่องอย่างยิ่ง จากรายงานราชการสงคราม ตลอดชีวิตทหารของเขาได้ผ่านศึกสงครามมากว่า 60 ครั้ง เขามีชื่อเสียงขึ้นมาจากการปรับตัวและใช้กลยุทธ์ในการตั้งรับข้าศึกจนสามารถมีชัยนับครั้งไม่ถ้วนเหนือข้าศึกที่มีกำลังเหนือกว่า ในขณะที่ตัวเขาเองก็ได้รับบาดเจ็บน้อยมาก เขาจึงได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้บัญชาฝ่ายตั้งรับตลอดกาล กลยุทธ์และแผนการรบของเขาจำนวนมากถูกนำไปสอนในวิทยาลัยการทหารชั้นนำของโลก ภายหลังออกจากราชการทหาร เขาก็กลับคืนสู่งานการเมือง โดยได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสองสมัยโดยสังกัดพรรคทอรี ระหว่างปี 1828 ถึง 1830 และอีกครั้งเป็นช่วงเวลาไม่ถึงเดือนในปี 1834 ต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งผู้นำในสภาขุนนาง จนกระทั่งเกษียณอายุแต่ยังคงเป็นผู้บัญชาการกองทัพอังกฤษจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม.

39 ความสัมพันธ์: บรัสเซลส์ชาลส์ เกรย์ เอิร์ลเกรย์ที่ 2ชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักรพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักรพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนภาษาฝรั่งเศสมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดยุทธการที่วอเตอร์ลูรอเบิร์ต พีลราชอาณาจักรไอร์แลนด์รายนามนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรวิลเลียม แลมบ์ ไวเคานต์เมลเบิร์นที่ 2วิลเลียม เกรนวิลล์ บารอนเกรนวิลล์วิทยาลัยอีตันสภาขุนนางสมัยร้อยวันสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์สงครามคาบสมุทรสงครามประสานมิตรครั้งที่หนึ่งสงครามนโปเลียนอาสนวิหารนักบุญเปาโลอ็องเฌจอมพลจอร์จ แฮมิลตัน-กอร์ดอน เอิร์ลที่ 4 แห่งแอเบอร์ดีนจักรพรรดินโปเลียนที่ 1จักรวรรดิมราฐาทอมัส ลอว์เรนซ์ข้าหลวงใหญ่แห่งไอร์แลนด์ดยุกดับลินประเทศอังกฤษนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรแกบฮาร์ด ฟอน บลือเชอร์เฟรเดอริก รอบินสัน ไวเคานต์โกดริชเอ็ดเวิร์ด สมิธ-สแตนลีย์ เอิร์ลที่ 14 แห่งดาร์บีย์เฮนรี จอห์น เทมเพิล ไวเคานต์พาลเมอร์สตันที่ 3เจ้าชายแห่งเวลส์เคนต์

บรัสเซลส์

รัสเซลส์ (Brussels), บรูว์แซล (Bruxelles) หรือ บรึสเซิล (Brussel; Brüssel) เรียกอย่างเป็นทางการว่า เขตนครหลวงบรัสเซลส์ หรือ เขตบรัสเซลส์ (All text and all but one graphic show the English name as Brussels-Capital Region.) (Région de Bruxelles-Capitale, Brussels Hoofdstedelijk Gewest) เป็นเมืองหลวงของประเทศเบลเยียม และเป็นศูนย์กลางหรือเมืองหลวงอย่างไม่เป็นทางการของสหภาพยุโรป (อียู) เขตบรัสเซลส์แบ่งการปกครองย่อยเป็นเทศบาลจำนวน 19 แห่ง รวมถึง เทศบาลนครบรัสเซลส์ (City of Brussels) ซึ่งอยู่ใจกลางเขตมีอาณาเขตเพียง 32.61 ตร.กม.

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและบรัสเซลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาลส์ เกรย์ เอิร์ลเกรย์ที่ 2

ลส์ เกรย์ เอิร์ลเกรย์ที่ 2 (Charles Grey, 2nd Earl Grey) หรือฐานันดรเดิมคือ ไวเคานต์ฮอวิก เป็นนักการเมืองและรัฐบุรุษชาวอังกฤษจากพรรควิก เขาเคยดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร, ผู้นำสภาขุนนาง, ผู้นำสภาสามัญชน, รัฐมนตรียุติธรรม, และรัฐมนตรีต่างประเทศ เขาผลักดันการปฏิรูปการเมืองให้ไปสู่ระบบการเลือกตั้งในอังกฤษและเวลส์โดยได้รับแรงสนับสนุนจากพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 และยังออกกฎหมายการเลิกทาสทั่วจักรวรรดิอังกฤษในปี 1833 นอกจากนี้เขายังเป็นผู้เผยแพร่ชาเอิร์ลเกรย์ให้เป็นที่รู้จัก.

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและชาลส์ เกรย์ เอิร์ลเกรย์ที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

ชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ

ันเดรดเกรตเตสต์บริทันส์ หรือ ชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ (100 Greatest Britons) คือรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศในปี..

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวิลเลียมที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร

ระเจ้าวิลเลียมที่ 4 (William IV) (21 สิงหาคม ค.ศ. 1765 – 20 มิถุนายน ค.ศ. 1837) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรและราชอาณาจักรฮันโนเวอร์ สมัยราชวงศ์แฮโนเวอร์ แห่งระหว่างปี..

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร (George IV of the United Kingdom หรือ George Augustus Frederick) (12 สิงหาคม ค.ศ. 1762 – 26 มิถุนายน ค.ศ. 1830) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ฮาโนเวอร์ของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ และพระเจ้าแผ่นดินแห่งฮาโนเวอร์ แห่งราชอาณาจักรฮาโนเวอร์ ระหว่างวันที่ 29 มกราคม..

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน

การให้บัพติศมาแก่ Neophytes วาดโดยมาซัชโช เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันเก็บอยู่ที่ฟลอเรนซ์ พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์ประชากรศาสตร์) พิธีบัพติศมาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 88 (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ศีลล้างบาป (ศัพท์คาทอลิก) (Baptism มาจากภาษากรีก baptismos แปลว่า การล้าง) เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ ทำขึ้นเพื่อรับ "ผู้ที่เพิ่งรับเชื่อ" เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของคริสตจักร คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ระบุว่ายอห์นผู้ให้บัพติศมาเริ่มประกอบพิธีนี้ให้สาวกของตน โดยให้ผู้รับจุ่มตัวลงในแม่น้ำลึก ถือเป็นสัญลักษณ์ของการกลับใจและรอคอยอาณาจักรสวรรค์ซึ่งกำลังจะมาถึง พระเยซูทรงรับบัพติศมาจากยอห์นในครั้งนั้นด้วย จากนั้นจึงเริ่มปฏิบัติพระภารกิจของพระองค์ ต่อมาในศาสนาคริสต์ยุคแรก ผู้ให้บัพติศมาจะให้ผู้รับเปลือยกายลงแช่ในแม่น้ำ ซึ่งมีทั้งแบบให้จุ่มทั้งตัว ยืน หรือคุกเข่าในน้ำ แล้ว "ผู้ให้บัพติศมา" จะตักน้ำรดลงบน "ผู้รับบัพติศมา" ในปัจจุบันบางคริสตจักรยังรักษาวิธีการแบบเดิม บางคริสตจักรก็ใช้วิธีเทน้ำรดลงบนหน้าผากของผู้รับสามครั้ง การเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ก็ถือว่าเป็นการรับบัพติศมาด้วย เรียกว่า "พิธีบัพติศมาด้วยเลือด" เชื่อว่ามรณสักขีนั้นได้รับความรอดแล้วแม้จะยังไม่ได้รับบัพติศมาด้วยน้ำก็ตาม คริสตจักรโรมันคาทอลิกปัจจุบันรับรอง "พิธีบัพติศมาแห่งความปรารถนา" ซึ่งหมายถึงความตั้งใจจะรับบัพติศมาแต่เสียชีวิตเสียก่อนเข้าพิธี ก็ถือว่าได้รับความรอดแล้ว คริสต์ศาสนิกชนบางนิกายประกอบพิธีบัพติศมาแก่ทารกด้วย เพราะเชื่อว่าบัพติศมาเป็นทางแห่งความรอด จนเมื่อฮุลดริช ซวิงลี นักเทววิทยาศาสนาคริสต์สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 กล่าวว่าพิธีนี้ไม่จำเป็น คริสตจักรแบปทิสต์จึงประกอบพิธีบัพติศมาแก่ผู้เชื่อเองเท่านั้น ทุกวันนี้คริสต์ศาสนิกชนหลายกลุ่ม โดยเฉพาะเควเกอร์และแซลเวชันอาร์มีถือว่าพิธีนี้ไม่จำเป็นและไม่ประกอบพิธีนี้เลย แต่กลุ่มที่ยังมีพิธีนี้อยู่ก็มีรูปแบบพิธีแตกต่างกันไป ส่วนมากรับบัพติศมา "ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" (โปรเตสแตนต์) หรือ "เดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต" (คาทอลิก) โดยถือตามพระมหาบัญชาก่อนการเสด็จขึ้นสวรรค์ของพระเยซู.

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford หรือ Oxford University) หรือเรียกอย่างง่าย ๆ ว่า อ๊อกซฟอร์ด เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยซึ่งตั้งอยู่ในเมืองอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานประวัติการก่อตั้งที่แน่นอน แต่มีหลักฐานว่าได้เริ่มสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1096 ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนเป็นอันดับสอง อ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1167 เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงห้ามมิให้นักศึกษาชาวอังกฤษไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส ภายหลังจากการพิพาทระหว่างนักศึกษาและชาวเมืองอ๊อกซฟอร์ดในปี ค.ศ. 1206 นักวิชาการบางส่วนได้หนีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งพวกเขาได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขึ้น ทั้งสอง"มหาวิทยาลัยโบราณ"มักจะถูกเรียกว่า"อ๊อกซบริดจ์" มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นจากความหลากหลายของสถ​​าบันการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงวิทยาลัยร่วมทั้ง 38 แห่ง และหน่วยงานทางวิชาการซึ่งแบ่งออกเป็นสี่แผนก แต่ละวิทยาลัยมีระบบการจัดการอย่างอิสระในการควบคุมสมาชิกรวมทั้งมีระบบโครงสร้างภายในและกิจกรรมเป็นของตนเอง มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยซึ่งมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกกระจายอยู่ทั่วใจกลางเมือง การศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ที่อ๊อกซฟอร์ดเป็นการจัดการด้วยวิธีติวเตอร์ตลอดรายสัปดาห์ไปในแต่ละวิทยาลัยและฮอลล์ต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากชั้นเรียน การบรรยาย และการปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้นโดยคณะและภาควิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดยังดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมถึงสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีระบบห้องสมุดทางวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในบริเตน อ๊อกซฟอร์ดมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก รวมถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล 28 คน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร 27 คน ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก อ๊อกซฟอร์ดเป็นแหล่งที่ตั้งของทุนการศึกษาโรดส์ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนการศึกษานานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งได้นำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมานานกว่าศตวรรษ.

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่วอเตอร์ลู

ทธการที่วอเตอร์ลู เกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน 1815 ที่ เมืองวอเตอร์ลู ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศเบลเยี่ยม, ในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของ สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลน.

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและยุทธการที่วอเตอร์ลู · ดูเพิ่มเติม »

รอเบิร์ต พีล

ซอร์ รอเบิร์ต พีล (Sir Robert Peel) เป็นนักการเมืองแห่งสหราชอาณาจักรในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีถึงสองสมัย ในปี..

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและรอเบิร์ต พีล · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรไอร์แลนด์

ราชอาณาจักรไอร์แลนด์ (ภาษาเกลลิค: Ríocht na hÉireann; ภาษาอังกฤษ: Kingdom of Ireland) เป็นชื่อที่เรียกรัฐไอร์แลนด์ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและราชอาณาจักรไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

รายนามนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร

นี่เป็นรายนามของ นายกรัฐมนตรีแห่งบริเตนใหญ่ ระหว่าง..

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและรายนามนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม แลมบ์ ไวเคานต์เมลเบิร์นที่ 2

วิลเลียม แลมบ์ ไวเคานต์เมลเบิร์นที่ 2 (William Lamb, 2nd Viscount Melbourne) หรือนามเรียกขานคือ ท่านลอร์ดเมลเบิร์น เป็นรัฐบุรุษของอังกฤษจากพรรควิก ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสองสมัย เขายังเป็นผู้อบรมสั่งสอนสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียในสมัยที่พระนางทรงพระเยาว์ ด้วยเหตุนี้พระนางจึงทรงนับถือเขาเป็นเสมือนบิดา ทำให้ลอร์ดเมลเบิร์นค่อนข้างมีอิทธิพลทางการเมืองครอบงำพระนาง แต่เขาก็ได้รับการบันทึกไว้ว่าเป็นคนดี ซื่อตรง และไม่เห็นแก่ตน ในปี 1834 เขาถูกให้ออกจากตำแหน่งโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายของสหราชอาณาจักรที่ถูกให้ออกจากตำแหน่งโดยราชสำนัก.

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและวิลเลียม แลมบ์ ไวเคานต์เมลเบิร์นที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เกรนวิลล์ บารอนเกรนวิลล์

วิลเลียม วิลด์แฮม เกรนวิลล์ บารอนเกรนวิลล์ (William Wyndham Grenville, Baron Grenville) เป็นรัฐบุรุษชาวอังกฤษจากพรรควิก ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรระหว่าง..

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและวิลเลียม เกรนวิลล์ บารอนเกรนวิลล์ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัยอีตัน

วิทยาลัยอีตัน หรือ บางครั้งเรียกสั้นๆว่า อีตัน(Eton College) เป็นโรงเรียนมัธยมชื่อดังแห่งหนึ่งของอังกฤษ รับเฉพาะนักเรียนชาย อายุระหว่าง 13-18 ปี โรงเรียนมีนักเรียนทั้งหมด 1,300 คน นักเรียนทุกคนที่เรียนที่นี่ต้องเรียนในหลักสูตรโรงเรียนประจำ การเรียนที่นี้นอกเหนือจากการเรียนแล้ว ยังต้องเรียนรู้เรื่องมารยาท บุคลิกภาพ อีกด้วย เพื่อให้นักเรียนที่นี่จบมามีคุณภาพมากที่สุด ทำให้ อีตัน ขึ้นชื่อว่า "เป็นโรงเรียนที่ผู้ดีที่สุดในโลก" และยังเป็นโรงเรียนหลวงแห่งหนึ่งของอังกฤษที่ไม่ใช่ของรัฐบาลแต่เป็นเอกชน วิทยาลัยอีตันก่อตั้งโดย พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ ในปี..

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและวิทยาลัยอีตัน · ดูเพิ่มเติม »

สภาขุนนาง

นนาง (House of Lords) เป็น สภาสูงในรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร ประกอบด้วยขุนนางมีบรรดาศักดิ์จำนวนเจ็ดถึงแปดร้อยคน ทุกคนมาจากการแต่งตั้งและสืบตระกูล ทำหน้าที่ร่วมกับกับสภาสามัญชนซึ่งเป็นสภาล่างซึ่งมีสมาชิกทั้งหมดจากการเลือกตั้ง สภาขุนนางจะแยกเป็นอิสระจากสภาสามัญชน โดยมีอำนาจถ่วงดุลและตรวจสอบการทำงานของรัฐสภา โดยเฉพาะการพิจารณาเพื่อผ่านร่างกฎหมาย โดยสภาขุนนางมีอำนาจที่จะระงับการบังคับใช้กฎหมายได้ในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้รัฐบาล สภาสามัญชน และประชาชนร่วมกันพิจารณาถึงความจำเป็นของร่างกฎหมายนั้นๆอย่างรอบคอบ สภาขุนนางยังมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ และป้องกันมิให้มีกฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ และสิทธิมนุษยชน ซึ่งในประเทศอื่นๆ จะมีศาลรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่แทน สภาชิกสภาขุนนางแบ่งเป็นสี่ประเภท คือ.

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและสภาขุนนาง · ดูเพิ่มเติม »

สมัยร้อยวัน

มัยร้อยวัน (les Cent-Jours, Hundred Days) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ สงครามประสานมิตรครั้งที่เจ็ด (War of the Seventh Coalition) เป็นช่วงเวลาที่เริ่มตั้งแต่เมื่อจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 หนีจากเกาะเอลบาขึ้นสู่แผ่นดินยุโรป เมื่อวันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและสมัยร้อยวัน · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ (United Kingdom of Great Britain and Ireland.) เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักร ในช่วงตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1801)1 มกราคม..

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามคาบสมุทร

งครามคาบสมุทร (Peninsular War) เป็นความขัดแย้งทางทหารระหว่างจักรวรรดิฝรั่งเศสของนโปเลียนกับฝ่ายพันธมิตรอันประกอบด้วยสหราชอาณาจักร, สเปน และ โปรตุเกส เพื่อแย่งชิงคาบสมุทรไอบีเรียในช่วงสงครามนโปเลียน สงครามเริ่มขึ้นเมื่อนายพลฌ็อง-อ็องด็อชแห่งฝรั่งเศสและกองทหารในบัญชาที่ยืมมาจากสเปน อาศัยช่วงที่โปรตุเกสขาดแคลนกำลัง เข้ารุกรานและยึดครองโปรตุเกสในปลายปี..

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและสงครามคาบสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

สงครามประสานมิตรครั้งที่หนึ่ง

งครามประสานมิตรครั้งที่ 1 (War of the First Coalition) เป็นส่วนหนึ่งของสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสที่เกิดขึ้นระหว่าง..

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและสงครามประสานมิตรครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามนโปเลียน

งครามนโปเลียน (Napoleonic Wars, Guerres napoléoniennes) เป็นสงครามต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับจักรวรรดิฝรั่งเศสของนโปเลียน และพันธมิตรต่าง ๆ ของยุโรป และฝ่ายพันมิตรต่อต้านที่เริ่มขึ้นราว..

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและสงครามนโปเลียน · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารนักบุญเปาโล

“อาสนวิหารนักบุญเปาโลเดิม” ก่อน ค.ศ. 1561 ที่ยังมีมณฑป อาสนวิหารนักบุญเปาโล (St Paul's Cathedral) เป็นอาสนวิหารของคริสตจักรแห่งอังกฤษ และเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งบิชอปแห่งลอนดอน สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแก่นักบุญเปาโลอัครทูต ตั้งอยู่ในนครลอนดอน ประเทศอังกฤษ อาสนวิหารที่เห็นในปัจจุบันสร้างเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเชื่อกันว่าเป็นอาสนวิหารที่ 5 ตั้งแต่สร้างอาสนวิหารกันมา ณ ที่ตั้งนี้แต่อาจจะสูงกว่านั้นถ้านับการบูรณะเข้าไปด้ว.

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและอาสนวิหารนักบุญเปาโล · ดูเพิ่มเติม »

อ็องเฌ

อ็องเฌ (Angers) เป็นเมืองในภาคตะวันตกของประเทศฝรั่งเศส ประมาณ 300 กิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้จากปารีส เมืองแห่งนี้เคยเป็นเมืองเอกของมณฑลอ็องฌูก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้และมณฑลนี้จะเรียกตัวเองว่า อ็องฌ์แว็ง เฉพาะเทศบาลเมืองอ็องเฌ (ไม่นับรวมเขตปริมณฑล) เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของภาคตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส รองจากน็องต์และแรน และมากเป็นอันดับที่ 17 ของประเท.

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและอ็องเฌ · ดูเพิ่มเติม »

จอมพล

อมพล (Field Marshal) เป็นยศทหาร ซึ่งในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นยศสูงสุดในกองทัพบกที่เกือบทุกประเทศทั่วโลกใช้ จอมพลเป็นยศที่สูงกว่าพลเอก.

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและจอมพล · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ แฮมิลตัน-กอร์ดอน เอิร์ลที่ 4 แห่งแอเบอร์ดีน

อร์จ แฮมมิลตัน-กอร์ดอน เอิร์ลที่ 4 แห่งแอเบอร์ดีน (George Hamilton-Gordon, 4th Earl of Aberdeen) เป็นนักการเมืองและนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรในคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและจอร์จ แฮมิลตัน-กอร์ดอน เอิร์ลที่ 4 แห่งแอเบอร์ดีน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1

นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิมราฐา

ักรวรรดิมราฐา (मराठा साम्राज्य;Maratha Empire) เป็นจักรวรรดิที่มีอำนาจในช่วง ค.ศ. 1674 - ค.ศ. 1818 โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของประเทศอินเดีย บางส่วนของประเทศปากีสถาน และพื้นที่บางส่วนของประเทศบังกลาเทศในปัจจุบัน มีจักรพรรดิองค์แรกคือ สมเด็จพระจักรพรรดิศิวาจี.

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและจักรวรรดิมราฐา · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส ลอว์เรนซ์

ซอร์ ทอมัส ลอว์เรนซ์ (Thomas Lawrence) เป็นจิตรกรเอกชาวอังกฤษและเป็นผู้อำนวยการคนที่สี่ของราชบัณฑิตยสถานศิลปะ เขาเกิดในบริสตอลและเริ่มวาดภาพในเมืองดีไวซิส ซึ่งบิดาของเขามีกิจการโรงแรมอยู่ที่นั่น เมื่ออายุได้สิบขวบจึงย้ายไปอาศัยยังเมืองบาธ ซึ่งที่นั่นเขาหารายได้โดยการขายภาพเขียนดินสอสี เมื่ออายุได้สิบแปดจึงย้ายไปยังกรุงลอนดอนและกลายเป็นจิตรกรลือชื่ออย่างรวดเร็วด้วยภาพวาดสีน้ำมัน จนเขาได้รับไว้วางพระราชหฤทัยให้วาดภาพของพระนางชาร์ลอตต์ในปี 1790 หลังจากนั้นเขาได้รับแต่งตั้งให้เข้าไปอยู่ในราชบัณฑิตยสถานศิลปะในปี 1791 และกลายเป็นสมาชิกเต็มตัวในปี 1704 ในช่วงเวลานี้เขากลายเป็นจิตรกรเอกของประเทศที่หาใครเทียบมิได้ไปจวบจนสิ้นชีวิตเขา ในช่วงสงครามนโปเลียนเขาถูกส่งตัวไปยังชาติพันธมิตรต่างๆ เพื่อวาดภาพผู้บัญชาการทหารในสมัยนั้นเพื่อนำภาพไปประดับในโถงวอเตอร์ลู พระราชวังวินด์เซอร.

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและทอมัส ลอว์เรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ข้าหลวงใหญ่แห่งไอร์แลนด์

วิลเลียม คาเว็นดิช ดยุคแห่งเดวอนเชอร์ที่ 4 ผู้มีตำแหน่งเป็น “ข้าหลวงใหญ่แห่งไอร์แลนด์” ระหว่างปี ค.ศ. 1756 ถึงปี ค.ศ. 1757 ข้าหลวงใหญ่แห่งไอร์แลนด์ (Lord Lieutenant of Ireland) หรือที่ในยุคกลางตอนต้นเรียกกันว่า "Judiciar" และเรียกว่า "Lord Deputy" มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นผู้แทนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ และ ประมุขของสภาปกครองของไอร์แลนด์ ระหว่างที่ไอร์แลนด์มีฐานะเป็นอาณาจักรลอร์ดแห่งไอร์แลนด์ (ค.ศ. 1171–ค.ศ. 1541), ราชอาณาจักรไอร์แลนด์ (ค.ศ. 1541–ค.ศ. 1800) และสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ (ค.ศ. 1801–ค.ศ. 1922) ตำแหน่งที่เรียกกันไปต่างๆ มักจะรู้จักกันโดยทั่วไปว่าอุปราช ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า "Vice roi" หรือ "รองพระเจ้าแผ่นดิน" โดยภรรยามีฐานะเป็น "Vicereine" แม้ว่าในยุคกลางข้าหลวงบางคนจะเป็นชาวไอร์แลนด์ แต่หลังจากนั้นมาก็เป็นชาวอังกฤษที่ได้รับแต่งตั้ง.

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและข้าหลวงใหญ่แห่งไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ดยุก

ก (duke) หรือ ดุ๊ก หรือ แฮร์ซอก (Herzog) เป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางในทวีปยุโรป เป็นตำแหน่งทางปกครองที่เป็นรองจากกษัตริย์ซึ่งปกครองดินแดนที่เรียกว่า "ดัชชี" ส่วนตำแหน่งดยุกในหมู่เกาะอังกฤษเป็นเพียงตำแหน่งที่ตั้งไว้เป็นเกียรติยศเท่านั้น ไม่มีอำนาจในทางปกครองเหมือนในประเทศยุโรปอื่นๆ ปัจจุบันตำแหน่งดยุก(ที่ไม่ใช่ราชวงศ์)ปรากฏอยู่อย่างเป็นทางการเฉพาะในสหราชอาณาจักรเท่านั้น ภริยาของดยุกมีตำแหน่งเป็น ดัชเชส (Duchess) ตามสิทธิของคู่สมรส อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ดยุกมีแต่บุตรสาว บุตรสาวจะได้ขึ้นสืบตำแหน่งแทนเมื่อดยุกถึงแก่อสัญกรรม ซึ่งบุตรสาวที่ได้สืบตำแหน่งดยุกนี้จะมีตำแหน่งเป็น ดัชเชส ด้วยเช่นกันแต่เป็นดัชเชสจากการสืบตระกูล ในกรณีนี้ สิทธิของคู่สมรสจะไม่ส่งผ่านไปยังสามี ยกตัวอย่าง ดยุกที่ 1 แห่งมาร์ลบะระ มีเพียงธิดาเท่านั้น เมื่อเขาถึงแก่อสัญกรรม ธิดาของเขาจึงขึ้นสืบตำแหน่งต่อเป็น ดัชเชสที่ 2 แห่งมาร์ลบะระ อย่างไรก็ตาม สามีของนางจะไม่มีสิทธิหรือเกียรติยศใดๆในมาร์ลบะระ เมื่อนางถึงแก่อสัญกรรม บุตรชายของนางจึงสืบตำแหน่งต่อเป็นดยุกที่ 3 แห่งมาร์ลบะระ คำว่าดยุกมาจากภาษาละตินว่า dux ซึ่งมีความหมายว่า 'ผู้นำ' คำนี้ถูกใช้ในยุคสาธารณรัฐโรมันเพื่อสื่อถึงผู้นำทางทหารที่ไม่มียศอย่างเป็นทางการ และต่อมาก็ใช้สื่อถึงผู้บัญชาการทหารประจำมณฑล.

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและดยุก · ดูเพิ่มเติม »

ดับลิน

ับลิน (Dublin; ไอริช: Baile Átha Cliath) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ชื่อดับลินนั้นมาจากคำว่า Dubh Linn ซึ่งในภาษาไอริชมีความหมายว่า "สระน้ำสีดำ" (Black Pool) ดับลินมีพื้นที่ประมาณ 114.99 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 495,781 คนในเขตตัวเมือง.

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและดับลิน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร

นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (Prime Minister of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลในสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแห่งสหราชอาณาจักร การกำหนดนโยบายและการบริหารราชการแผ่นดินต่างๆถือเป็นความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต่อพระมหากษัตริย์, รัฐสภา, พรรคการเมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถือเป็นหนึ่งในสี่อำมาตย์นายก ซึ่งหมายถึงผู้บริหารสูงสุดทั้งสี่ของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเป็น คนที่ 54 คือ เทเรซา เมย์ หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม..

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

แกบฮาร์ด ฟอน บลือเชอร์

แกบฮาร์ด เลเบอเร็คท์ ฟอน บลือเชอร์, เฟือสท์แห่งวาลชตัทท์ (Gebhard Leberecht von Blücher, Fürst von Wahlstatt) เป็นจอมพลแห่งราชอาณาจักรปรัสเซีย เขามีชื่อเสียงขึ้นมาหลังจากนำกองทัพเข้ามีชัยเหนือนโปเลียนแห่งฝรั่งเศสในยุทธการที่ไลพ์ซิจใน..

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและแกบฮาร์ด ฟอน บลือเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เฟรเดอริก รอบินสัน ไวเคานต์โกดริช

ฟรเดอริก จอห์น รอบินสัน เอิร์ลแห่งริพอน (Frederick John Robinson, Earl of Ripon) หรือบรรดาศักดิ์เดิมซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ ไวเคานต์โกดริช (Viscount Goderich) เป็นนักการเมืองและรัฐบุรุษชาวอังกฤษ เคยดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีพระคลังระหว่างปี..

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและเฟรเดอริก รอบินสัน ไวเคานต์โกดริช · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดเวิร์ด สมิธ-สแตนลีย์ เอิร์ลที่ 14 แห่งดาร์บีย์

อ็ดเวิร์ด สมิธ-สแตนลีย์ เอิร์ลแห่งดาร์บีย์ ที่ 14 (Edward Smith-Stanley, 14th Earl of Derby) เป็นนักการเมืองแห่งสหราชอาณาจักรและดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีสามสมัยในกลางคริสต์ศตวรรษที่สิบเก้า เขาถือเป็นผู้นำพรรคอนุรักษนิยมที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด และเป็นหนึ่งในผู้ผลักดันการแก้ไขระบบการเลือกตั้งในอังกฤษครั้งที่ 2 ในปี 2410 ซึ่งเป็นการให้สิทธิชนชั้นกรรมกรในการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก.

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและเอ็ดเวิร์ด สมิธ-สแตนลีย์ เอิร์ลที่ 14 แห่งดาร์บีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮนรี จอห์น เทมเพิล ไวเคานต์พาลเมอร์สตันที่ 3

นรี จอห์น เทมเพิล ไวเคานต์พาลเมอร์สตันที่ 3 (Henry John Temple, 3rd Viscount Palmerston) เป็นรัฐบุรุษและนักการเมืองชาวอังกฤษผู้ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองสมัยในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 และยังเคยเป็นรัฐมนตรีการสงคราม, รัฐมนตรีต่างประเทศ ตลอดจนรัฐมนตรีปิตุภูมิ เขามักถูกเรียกโดยชื่อเล่นว่า "แพม" หรือ "พังพอน" เขาทำงานอยู่ในรัฐบาลเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 58 ปี ตั้งแต..

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและเฮนรี จอห์น เทมเพิล ไวเคานต์พาลเมอร์สตันที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายแห่งเวลส์

้าชายแห่งเวลส์ (Prince of Wales; Tywysog Cymru) เป็นพระอิสริยยศขององค์รัชทายาทแห่งพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษหรือสหราชอาณาจักรในขณะนั้น ราชประเพณีที่มกุฏราชกุมารของราชบัลลังก์อังกฤษจะได้รับพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 อย่างไรก็ดีการไม่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงอิสริยยศนี้ไม่มีผลใดๆต่อสิทธิของผู้ที่จะสืบทอดราชบัลลังก์ บุคคลแรกที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์คือ พระเจ้าละเวลินมหาราช (Llywelyn the Great) ผู้ดำรงพระอิสริยยศนี้ในปัจจุบันคือ เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวล.

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและเจ้าชายแห่งเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เคนต์

นต์ (Kent) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร และเป็นหนึ่งใน “มณฑลรอบนครลอนดอน” (Home Counties) เคนต์มีเขตแดนติดกับอีสต์ซัสเซ็กซ์, เซอร์รีย์ และนครลอนดอนและปริมณฑล และมีปากแม่น้ำเทมส์ขวางกับเอสเซ็กซ์ มณฑลภูมิศาสตร์เคนต์ประกอบด้วยเทศบาลมณฑลเคนต์ และรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวของเมดเวย์ เคนต์ตั้งอยู่ไม่ไกลจากฝรั่งเศสที่แยกโดยช่องแคบอังกฤษและครึ่งทางระหว่างอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษl เคนต์แบ่งการปกครองเป็นสิบสามแขวง: เซเวนโอกส์, ดาร์ทฟอร์ด, เกรฟแชม, ทันบริดจ์และมอลลิง, เมดเวย์, เมดสตัน, ทันบริดจ์เวลล์ส, สเวล, แอชฟอร์ด, แคนเตอร์บรี, เชปเวย์, เธนเน็ต และ โดเวอร์โดยมีเมืองหลวงของมณฑลอยู่ที่ เมดสตัน เดิมโรเชสเตอร์ และแคนเตอร์บรี เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครแต่ปัจจุบันเมืองหลังเท่านั้นที่ยังเป็นนคร ที่ตั้งของเคนต์ระหว่างลอนดอนและแผ่นดินใหญ่ยุโรปทำให้เป็นมณฑลหน้าด่านและเป็นยุทธภูมิในความขัดแย้งหลายครั้งเช่นในระหว่างยุทธการแห่งบริเตนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เคนต์ตะวันออกได้ชื่อว่าเป็น “Hell Fire Corner” ระหว่างความขัดแย้ง ระหว่าง 800 ปีที่ผ่านมาอังกฤษพึ่งเคนต์ในด้านกองเรือ ท่าเรือซิงก์ (Cinque Ports) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 14 และอู่เรือแช็ทแธมในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 20 มีความสำคัญต่อความปลอดภัยและความมั่นคงของอังกฤษ ฝั่งทะเลฝรั่งเศสสามารถมองเห็นได้จากไวท์คลิฟฟ์สที่โดเวอร์ ในวันที่อากาศแจ่มใส เคนต์เป็นอาณาบริเวณที่มีการเกษตรกรรมในด้านสวนผลไม้และการปลูกฮอปที่ใช้ในการทำเบียร์ เคนต์ได้ชื่อว่าเป็น “สวนแห่งอังกฤษ” The Guardian 1 June 2006 BBC 1 June 2006 อุตสาหกรรมหลักของเคนต์ก็ได้แก่การทำซีเมนต์ สินค้ากระดาษ และการสร้างเรือบินแต่ความสำคัญของอุตสาหกรรมเหล่านี้ลดถอยลง ทางด้านใต้และตะวันออกขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการเกษตรกรรม.

ใหม่!!: อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันและเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Arthur WellesleyArthur Wellesley, 1st Duke of Wellingtonอาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกแห่งเวลลิงตันอาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกแห่งเวลลิงตันที่ 1อาเธอร์ เวลเลสลีย์, ดยุคแห่งเวลลิงตันที่1ดยุกแห่งเวลลิงตัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »